ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ศีล8 กับ นม น้ำธัญพืช ไอศครีมและช็อกโกแลท


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 14 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ป่าแก้ว

ป่าแก้ว
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2009 - 05:56 PM

อยากทราบว่ากินได้หรือไม่ได้ ในกรณีแบบไหนอย่างไรคะ เพราะเวลาวันพระถือศีล 8 แล้วกิน 4 อย่างนั้น (ไม่ได้กินทุกอย่างในวันเดียวนะคะ) คนรู้จักที่เคยบวชพระวัดแถวลพบุรี บอกว่ากินไม่ได้ ห้ามกิน ก็เลยอยากทราบรายละเอียดค่ะ จะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

#2 Kodomo_kung

Kodomo_kung
  • Members
  • 323 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 10 March 2009 - 07:18 PM

ทำไมพระพุทธเจ้าท่านต้องการให้เว้น อาหารมื้อเย็น

ก็ได้คำตอบว่า เป็นเพราะ
1. ต้องการให้เว้นจาก กาม เอื้อต่อการประพฤติพรหม์จรรย์
(เพราะพลังงานที่ได้จากอาหารมื้อเย็นนั้นมักเอาไปทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เที่ยวกลางคืน ฯลฯ ..เป็นต้น)

2. ต้องการเอื้ออำนวย ต่อการบำเพ็ญ ภาวนา
(เพราะการไม่ทานมื้อเย็นนั้นจะทำให้สบายตัว ร่างกายไม่ต้องย่อยอาหารมากเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้ง่วงนอน หรืออึดอัด ไม่เหมาะแก่การนั่งสมาธิ
และยังช่วยยืดอายุงานของการใช้สังขารด้วย เพราะการย่อยอาหารแต่ละครั้งนั้น ทำให้เกิดของเสียต่อร่างกายด้วย การทานน้อยมื้อนั้นจะทำให้
ร่างกายไม่ต้องย่อยอาหารมาก จึงทำให้ไม่มีของเสียเกิดขึ้นมาก เมื่อไม่มีของเสียมาก ก็ส่งผลให้อายุยืนขึ้น มีเวลาสร้างบารมีกันไปนานๆจ๊ะ)

3. พลังงานที่ได้รับจากอาหาร 2 มื้อ ก็เพียงพอและเหมาะสมกับนักปฏิบิติธรรมแล้ว(เพราะกิจกรรมในการใช้ชีวิตของนักปฏิบัติธรรมในแต่ละวันนั้น มีแต่นั่ง เลยไม่ต้องใช้พลังงานมากนัก
การทานน้ำปานะนั้น ก็ให้พลังงานเพียงพอต่อชีวิตนักปฏิบัติธรรมแล้ว แถมย่อยง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย)

4.เหมาะแก่การใช้ชีวิตแบบ บิณฑบาตร
(เพราะในอดีตกาล พระสงฆ์ สมณะ ชี นั้นใช้ชีวิต แบบ ต้องให้สาธุชนทำอาหารมาถวาย ถ้ามัวแต่กิน 3 มื้อ
ก็เป็นการยุ่งยาก ไม่เหมาะสมแก่ชีวิตนักปฏิบัติธรรม ซึ่งควรจะต้องเรียบง่าย ถ้ามัวแต่มาบิณฑบาตร หรือ ทำอาหาร 3 มื้อ /วัน
รวมเวลาเก็บล้าง และเตรียมภาชนะอีก ก็หมดเวลาพอดี จะเอาเวลาที่ไหนไปปฏิบัติธรรมกันล่ะ)

สรุปว่าการทานอะไรนั้นก็ต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่ามันเอื้อถึงแก่นองค์แห่งศีลไหม?
จะได้ถือศีลแบบเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าจ๊ะ

ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่

นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
(ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
(ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
(แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ขนมกุมมาส สัตตู ปลา เนื้อ คำว่า น้ำ ได้แก่
ปานะ ๘ อย่าง คือ น้ำผลมะม่วง น้ำผลหว้า
น้ำผลกล้วยมีเมล็ด น้ำผลกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำผลมะซาง น้ำผลจันทน์ น้ำรากบัว น้ำผลลิ้นจี่.

ปานะ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือน้ำผลสะคร้อ น้ำผลเล็บเหยี่ยว น้ำผลพุทรา ปานะที่ทำด้วยเปรียง
น้ำมัน น้ำข้าวยาคู น้ำนม ปานะที่ทำด้วยรส.

ไฟล์แนบ



#3 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2009 - 07:40 PM

ข้อมูลแน่นครับ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#4 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 10 March 2009 - 07:55 PM

คัดมาจาก นักเรียนอนุบาล เคยเข้าวัด

QUOTE
หากไม่เคร่งมากนัก ช๊อคโกแลตก็สามารถจัดเป็นปานะ แต่ต้องไม่มีไส้ หรือมีส่วนผสมอย่าง ในการทานช๊อคโกแคตเป็นปานะ ส่วนใหญ่เขาจะเอาไปทำให้ร้อนจนละลายเป็นของเหลวข้น แล้วดื่ม แต่บางครั้งไม่สะดวกในการจัดเตรียมก็ทานเป็นก้อนเลยก็ได้ แต่ต้องทานอย่างพอประมาณ แต่โดยมากแล้วจะไม่ทานกัน เพราะจะอนุโลมให้เฉพาะผู้ที่สุขภาพไม่ดีหรือไม่สบายทานได้เท่านั้น เช่นเป็นโรคกระเพาะ หรือผู้ที่ไม่สบายใช้ทานนิดหน่อยลองท้องก่อนทานยา มีหลายคน พอบอกว่าทานได้ก็ซัดโฮกซะอิ่มพุงกาง เลยกลายเป็นว่าศีล8ไม่ได้รักษากัน

นอกจากช๊อคโกแลตแล้ว ที่อนุโลมให้ได้ก็ยังมีมะขามเปียก มะขามป้อม ขิงดอง สมอดอง ซึ่งของพวกนี้ใช้เป็นยาช่วยระบายได้ แต่ต้องทานพอประมาณเช่นกัน

หากไม่ใช่ผลไม้ที่มีขนาดใหญ่กว่ากำมือ วิธีพิจารณาก็แค่กำมือตัวเองแล้วเทียบดูกับผล หากมีขนาดใหญ่กว่ากำมือใช้ไม่ได้ และต้องไม่มีเนื้อผลไม้ปนหรือผสมอยู่ ควรกรองเอาเนื้อออกเหลือแต่นําจะดีที่สุด โอวันตินกับชาเขียวได้

ไฟล์แนบ



#5 สุรชัย (กัปตัน)

สุรชัย (กัปตัน)
  • Members
  • 407 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2009 - 11:09 PM

ขออนุโมทนาสาธุ สำหรับข้อมูลครับ

#6 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 March 2009 - 12:57 AM

สังเกตุนะครับ ว่าไม่มีน้ำส้ม ....

และสำหรับนม .... ตอนถืิอศีล 8 ผมก็กินตอนเย็นนะึครับ

#7 Lucky Girl

Lucky Girl
  • Members
  • 653 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 11 March 2009 - 01:43 AM

ขออนุโมทนาบุญกับทุกคนตอบน่ะค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ส่วน จขกท ก็น่ารักมากค่ะ เพราะก่อนจะทำอะไร แล้วศึกษาให้เข้าใจถึงหลักการ เหตุผล อย่างนี้ แสดงถึงผู้มีดวงปัญญา ขออนุโมทนาบุญกับ จขกท ด้วยค่ะ

#8 แก้วใสปิ๊ง

แก้วใสปิ๊ง
  • Members
  • 191 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 March 2009 - 11:37 AM

ละเอียดชัดเจนดีมากครับ
ร่วมอนุโมทนาบุญทั้งจขกท.และผู้ที่
มาให้ข้อมูลทุกท่านครับ... happy.gif
"ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย"

ถ้าอยากได้"จริง"จะได้...แต่ตอนจะได้ไม่"อยาก"


#9 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 March 2009 - 02:39 PM

ขออนุญาตเพิ่มเติมค่ะ



นำมาจาก หนังสือ สรรพศาสตร์ในประไตรปิฎก ของ DOU ค่ะ
( ref: http://main.dou.us/v...s_id=308&page=5 )

ดังนี้

ยารักษาโรคในพระไตรปิฎก

ยารักษาโรคในพระไตรปิฎกเป็นยาที่ได้จากธรรมชาติโดยตรง ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติสามารถนำมาใช้เป็นตัวยาได้ทั้งหมด หากเรารู้คุณสมบัติในส่วนที่เป็นยาของมัน ครั้งหนึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาเป็นระยะทาง 1 โยชน์ เพื่อต้องการหาว่ามีสิ่งใดบ้างที่ไม่อาจจะนำมาทำเป็นยาได้ แต่ท่านไม่พบสิ่งนั้นเลย จากเรื่องนี้จึงอาจจะกล่าวได้ว่า "สรรพสิ่งในธรรมชาติสามารถนำมาทำยาได้หมด" สำหรับยาต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ คือ น้ำมูตรเน่า, เภสัช 5, สมุนไพร, เกลือ, ยามหาวิกัฏ และ กลุ่มเบ็ดเตล็ด

1) น้ำมูตรเน่า
มูตร แปลว่า น้ำปัสสาวะ คำว่า"น้ำมูตรเน่า" ก็คือน้ำมูตรนั่นเอง เพราะร่างกายของคนเราได้ชื่อว่าเป็นสิ่งเปื่อยเน่า น้ำมูตรที่ออกมาใหม่ๆ และรองเอาไว้ในทันทีทันใด ก็ได้ชื่อว่าเป็นน้ำมูตรเน่าเพราะออกมาจากร่างกายที่เปื่อยเน่า
การนำน้ำมูตรเน่ามาทำเป็นยาจะทำโดยวิธีการดองด้วยตัวยาอื่นๆ เช่น สมอ เป็นต้น จึงมักจะเรียกว่า "ยาดองน้ำมูตรเน่า" ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆได้หลายชนิด
น้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรคหลักของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งใน "นิสสัย 4Ž ที่พระภิกษุจะต้องใช้เป็นประจำ ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะบอกในวันบวชว่า "ให้อยู่โคนไม้เป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และฉันน้ำมูตรเน่าเป็นยา" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต..." และพระองค์ยังตรัสว่า น้ำมูตรเน่านั้นเป็นของหาง่าย และไม่มีโทษ

2) เภสัช 5
เภสัช 5 หมายถึง ยารักษาโรค 5 ชนิด คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และ น้ำอ้อย โดยในเบื้องต้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเพื่อรักษาโรคไข้เหลืองหรือดีซ่าน
เนยใส หมายถึง เนยที่มีลักษณะใสซึ่งทำจากน้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ เป็นต้น
เนยข้น หมายถึง เนยที่มีลักษณะข้นซึ่งทำจากน้ำนมของโค แพะ และกระบือ เป็นต้น
น้ำมัน หมายถึง น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงา เมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดมะซาง เมล็ดละหุ่ง หรือน้ำมันที่สกัดจากเปลวหรือมันของสัตว์ ได้แก่ น้ำมันเปลวหมี น้ำมันเปลวปลา น้ำมันเปลวปลาฉลาม น้ำมันเปลวหมู และ น้ำมันเปลวลา
น้ำผึ้ง หมายถึง น้ำหวานที่มีลักษณะข้นที่ผึ้งเก็บสะสมเอามาจากดอกไม้ต่างๆ
น้ำอ้อย หมายถึง น้ำหวานที่คั้นออกมาจากอ้อย



3) สมุนไพร
กลุ่มยาสมุนไพรที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมีหลายชนิด เช่น ยาสมุนไพรที่ทำจากรากไม้, น้ำฝาดของต้นไม้, ใบไม้และต้นไม้, ผลไม้ และ ยางไม้ เป็นต้น
รากไม้ ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู หน่อหวาย หน่อไม้ เหง้าบัว รากบัว หรือรากไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร
น้ำฝาด หมายถึง น้ำที่ได้จากการนำเอาส่วนต่างๆ ของต้นไม้ไปสกัดบีบหรือคั้นเอาน้ำออกมา ได้แก่ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน น้ำฝาดกระดอมหรือขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ดหรือพญามือเหล็ก น้ำฝาดกระถินพิมาน หรือน้ำฝาดชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร
ใบไม้ ได้แก่ ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอมหรือขี้กา ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย หรือใบไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร และ ต้นไม้ที่นำมาทำเป็นยา ได้แก่ ไม้จันทน์ กฤษณา กะลัมพัก ใบเฉียง แห้วหมู เป็นต้น
ผลไม้ ได้แก่ ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลโกฐ ผลกล้วย อินทผลัม หรือผลไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร
ยางไม้ ได้แก่ ยางจากต้นหิงคุ ยางที่เคี่ยวจากก้านใบและเปลือกของต้นหิงคุ ยางจากยอดตันตกะ ยางที่เคี่ยวจากใบหรือก้านตันตกะ ยางจากกำยาน หรือยางชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร


4) เกลือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัชไว้ดังนี้ คือ เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง หรือเกลือชนิดอื่นที่เป็นยาและไม่จัดว่าเป็นอาหาร
เกลือสมุทร หมายถึง เกลือที่ได้จากน้ำทะเล
เกลือดำ หมายถึง เกลือที่เป็นเศษเกลือ หรือเกลือก้นกอง เม็ดเกลือจะเล็กและมีตะกอนปนอยู่มาก เกลือชนิดนี้ปกติจะใช้เติมบ่อกุ้ง เลี้ยงปลา และปรับสภาพดินในสวนผลไม้
เกลือสินเธาว์ หมายถึง เกลือที่ได้จากดินเค็ม
เกลือดินโป่ง หมายถึง เกลือที่ทำจากดินโป่ง ดินโป่งคือแอ่งดินเค็มตามธรรมชาติ เป็นดินที่มีเกลือแร่ต่างๆ ปนอยู่ เช่น เกลือโซเดียมคลอไรด์ เกลือแคลเซียม โปตัสเซียม เป็นต้น

5) ยามหาวิกัฏ
ครั้งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุใช้ยามหาวิกัฏ 4 อย่างรักษา คือ คูถ มูตร เถ้า ดิน ต่อมาภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุดื่มน้ำเจือคูถเพื่อให้อาเจียนเอาพิษออกมา

6) กลุ่มเบ็ดเตล็ด
กลุ่มยาเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคเท่าที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก ได้แก่ ยาดองโลณโสวีรกะ ยาผง มูลโค งา ข้าวสาร ข้าวสุก น้ำข้าวใส ถั่วเขียว ธัญชาติทุกชนิด น้ำด่างทับทิม ปลา เนื้อ น้ำต้มเนื้อ และการเกด เป็นต้น
ยาดองโลณโสวีรกะ หมายถึง ยาที่ปรุงด้วยส่วนประกอบนานาชนิด เช่น มะขามป้อมสด สมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด ถั่วเขียว ข้าวสุก ผลกล้วย หน่อหวาย การเกด อินทผลัม หน่อไม้ ปลา เนื้อ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ โดยใส่เครื่องยาเหล่านี้ในหม้อ ปิดฝามิดชิด เก็บดองไว้ 1 วัน 2 วัน หรือ 3 วัน เมื่อยานี้สุกได้ที่แล้ว จะมีรสและสีเหมือนผลหว้า เป็นยาแก้โรคลม โรคไอ โรคเรื้อน โรคไข้เหลือง(ดีซ่าน) โรคริดสีดวง เป็นต้น


*****************************************

ส่วนตัวแล้วตอนแรกที่เริ่มรักษาศีล 8 เคร่งมาก
รักษาศีล 8 จาก 3 วัน / สัปดาห์
จนเป็นทุกวัน
ทำให้รู้สึกเพลียมาก แต่ไม่ยอมกินอะไรเลยที่เขาว่ากินได้
พอไปตรวจร่างกายประจำปี พบว่า เป็นโลหิตจางซะแล้ว เพราะทานน้อยเกินไป


เมื่อได้มาเปิดดู ก็พบว่า หลายอย่างที่ทรงอนุญาตให้ทานได้ในคนที่รักษาศีล 8
และ ยังเป็น เภสัช ช่วยให้แข็งแรง
จึงได้ลงมือ รับประทาน ด้วยต้องการให้เข็งแรง พอที่จะดำเนินชีวิตและทำงานทั้งทางโลกและทางธรรมต่อไปได้
เมื่อรับประทานทานตามที่ระบุไว้ว่าเป็นเภสัช ทานๆ เข้าไป
ตอนนี้ไม่ค่อยมีอาการเพลีย เหนื่อยง่ายแล้ว...
จึงได้รู้ว่า เคร่งเกินก็ไม่ดี หย่อนเกินก็ไม่ดี

ตามข้อ 2 ที่บอกว่าเป็นเภสัข 5 นั้น
ช็อคโกแลต ก็ทำมาจาก โกโก้(ก็มาจากเมล็ดพืช) และ นม น้ำตาล เนย ไขมัน ก็ย่อมรับประทานได้
พระที่เดินธุดงค์ เข้าป่า ยังอนุญาตให้ฉันก้อนน้ำตาลได้เลยค่ะ

อนุโมทนาบุญนะคะ สาธู๊
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ

#10 Regenbogen

Regenbogen
  • Members
  • 441 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 March 2009 - 03:47 PM

อนุโมทนาบุญด้วย วันไหนรักษาศีล8หรือในวันพระอุโบสถศีล โอวันตินกับผลไม้ที่ใหญ่ไม่เกินกำมือคือแอบเปิ้ลที่ใช้กินตอนเย็น ไม่ค่อยจะแน่ใจว่าผลไม้ไม่ใหญ่เกินกำมือ กินสดโดยมีเนื้อเลย

#11 Poti

Poti
  • Members
  • 254 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 March 2009 - 04:29 PM

kodomo
กล่าวถูกต้อง อาหารส่วนเกิน แค่น้ำเปล่าพอแล้ว สมัยพุทธกาลน้ำนมก็งด (เรื่องของท่านอนาถฯ)
วันพระหรือวันสำคัญ เราเอา ๘ สังเกตว่ากายจะสบาย ตื่นเช้ากว่าปกติ

#12 Happy Dream

Happy Dream
  • Members
  • 243 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 March 2009 - 08:33 PM

แล้วน้ำข้าวกล้องงอกจัดเป็นน้ำปานะด้วยหรือเปล่าคะ? อยากทราบเช่นกันค่ะ เผื่อจะนำไปถวายพระภิกษุ-สามเณร




เราให้กำลังใจใคร กำลังใจนั้นจะบังเกิดขึ้นในตัวของเรา

มันจะขยายเป็นพลังอนันต์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด และจะยิ่งสูงส่งขึ้นไปอีก



#13 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2009 - 11:16 AM

พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑

น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำ

ด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑ น้ำปานะทำด้วยผล

จันทน์หรือองุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือ

ลิ้นจี่ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ด

ข้าวเปลือก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอก

มะซาง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.


คำอธิบายจากอรรถกถา

สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบลเขียวเป็นต้น

ทำ.

ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่างอัมพปานะ.

อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟไม่ควร.


ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ ๗ ชนิด

เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผล

มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง

เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.

มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ

สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.

น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย

มะขาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอัฏฐบาน

แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม

เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.

ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย

แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม

กาลิกแท้.

ที่มา : พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ

#14 SatChu

SatChu
  • Members
  • 106 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 March 2009 - 04:30 PM

เป็นความรู้ดีครับผม

อนุโมทนาด้วยนะครับผม smile.gif

  " ปราบมาร " 


#15 ป่าแก้ว

ป่าแก้ว
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 March 2009 - 02:03 AM

ขอบคุณมากค่ะ สาธุ