ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 2 คะแนน

ชีววิทยาในพระพุทธศาสนา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 33 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 04:07 PM

ปาฐกถาธรรมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทัตตชีโว ภิกขุ
เรื่อง "เราเกิดมาทำไม"
แสดงแก่สาธุชน ณ วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ครั้งที่ 1 วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2528 ครั้งที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2528
ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2529 และครั้งที่ 4 วันอาทิตยที่ 14 ธันวาคม 2529

*** คัดลอกมาเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ ธาตุ ***

ขอความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงบังเกิดแก่ท่านผู้ฟังทุกท่าน
... ฯลฯ

ชีววิทยาในพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสตร์ที่ล้ำลึก
ยากที่นักชีววิทยาในยุคปัจจุบันคนใดคนหนึ่งจะสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ เพราะพื้นฐานทางใจของเขาไม่ละเอียดพอ

ชีววิทยาที่จะกล่าวต่อไปนี้ ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดในโลกค้นพบ
มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบ แล้วทรงนำมาเปิดเผยให้แก่เราชาวโลก
เปิดเผยแล้วบางคนก็ยังตามไม่ทันเสียอีกด้วยซ้ำไป

ชาวพุทธทั้งหลายมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาชีววิทยาในพระพุทธศาสนาเพื่อจะได้เข้าใจตัวเราเองให้ถูกต้อง
ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจตัวเอง ก็ยากที่จะล่วงรู้ถึงธรรมะที่ลึกซึ้งได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
โลกทั้งโลกถ้าแยกออกไปแล้วก็จะมีแต่ธาตุ
สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ก็ประกอบด้วยธาตุ ในการสอนธรรมะสำหรับพวกที่มีพื้นฐานทางธรรมน้อย

พระองค์ก็ทรงแบ่งธาตุออกเป็น 4 ธาตุด้วยกันเท่านั้น
ซึ่งเป็นธาตุที่เราสามารถมองเห็นได้สัมผัสได้ ดังนี้คือ

1. ธาตุดิน ภาษาธรรมก็เรียกว่า "ปฐวีธาตุ"
ซึ่งแบ่งออกเป็นปฐวีธาตุภายนอก และปฐวีธาตุภายใน

ปฐวีธาตุภายนอก
ได้แก่ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ภาวะที่แข็ง ได้แก่
เหล็ก โลหะ ดีบุก เงิน แก้วเพชรนิลจินดา ศิลา เงินตรา ต้นไม้ ต้นหญ้า กรวดทราย แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา เป็นต้น

ปฐวีธาตุภายในหรือธาตุดินในตัวคน ได้แก่ ส่วนที่เป็นของแข็งในตัวเรา เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น
กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า
หรือแม้สิ่งอื่นทุกชนิดที่มีลักษณะแข็ง

2. ธาตุน้ำ ในโลกเรานี้ ธาตุน้ำ คือส่วนที่เป็นของเหลว
ภาษาธรรมก็เรียกว่า "อาโปธาตุ" แบ่งออกเป็น
อาโปธาตุภายนอก และอาโปธาตุภายใน

อาโปธาตุภายนอก ได้แก่ธรรมชาติที่เอิบอาบ ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เช่น
รสรากไม้รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมข้น เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
น้ำที่อยู่ในพื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ในอากาศ

อาโปธาตุภายใน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน เช่น ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นใดที่เอิบอาบซึมซาบไป

3. ธาตุไฟ ภาษาธรรมเรียกว่า "เตโชธาตุ"
ได้แก่ธรรมชาติที่ร้อน ธรรมชาติที่อุ่น หรืออบอุ่น แบ่งออกเป็น
เตโชธาตุภายนอก กับเตโชธาตุภายใน

เตโชธาตุภายนอก ได้แก่ธรรมชาติที่ร้อน ธรรมชาติที่อุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น ได้แก่
ไฟฟืน ไฟจากฟ้าผ่า ความร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่งกองหญ้า
ความร้อนแห่งกองขี้เถ้าความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น

เตโชธาตุภายใน ได้แก่ เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน
เตโชธาตุที่ทำให้ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มที่ถูกย่อยเป็นอย่างดี
หรือความร้อนภายในร่างกาย ความอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่นภายในร่างกาย

4. ธาตุลม หรือภาษาธรรมเรียกว่า "วาโยธาตุ"
แบ่งออกเป็นวาโยธาตุภายนอก กับวาโยธาตุภายใน

วาโยธาตุภายนอก ได้แก่ ความพัดไปพัดมา ธรรมชาติที่พัดไปมา เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นตัว แต่เคลื่อนไหวไปมาได้
เช่น ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมหนาว ลมอ่อน ๆ ลมพายุ ลมบน ลมว่าว ลมกระพือปีก ลมเป่าปาก เป็นต้น

วาโยธาตุภายใน ได้แก่ ลมในตัวคน มีทั้งลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้
ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า

ถ้าสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไมหัวใจเต้นได้ อะไรทำให้หัวใจเต้น
ถ้าฝึกสมาธิมาก ๆ ก็จะพบว่าลมที่อยู่ในตัวเราสามารถพัดให้หัวใจเต้นได้
ลมเบื้องบนพัดจากศูนย์กลางกายของเราขึ้นข้างบน

ในที่สุดก็กลายเป็นลมหายใจเข้าออก ลมที่อยู่ในลำไส้ผลักดันให้อาหารเคลื่อนตัว ลมเบื้องล่าง
พัดจากศูนย์กลางกายไปจนถึงปลายเท้า
ถ้าลมชนิดนี้ไม่พัดหรือพัดผิดปกติ จะเกิดเป็นโรคลม เป็นต้น
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 04:12 PM


จะเห็นว่าทั้งในโลกนี้และในตัวเราไม่ว่าจะเป็นวัตถุใด ๆ
ถ้านำมาวิเคราะห์แยกแยะแล้วก็จะพบว่า
ประกอบด้วยธาตุ 4 ทั้งสิ้น ไม่ว่าเทวดา มนุษย์ หรือสัตว์
นี่เป็นเพียงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ และได้ตรัสสอนเอาไว้ ซึ่งใคร ๆ ก็แย้งไม่ได้

พระองค์ได้ทรงชี้ให้ดูด้วยว่า ในส่วนที่เรียกว่า ธาตุดิน ก็มีธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ปนอยู่ด้วย
เช่น ก้อนดินแห้ง ๆ นี่แหละ ถ้าไปแยกแยะดูแล้ว ก็ปรากฏว่ามีธาตุน้ำปนอยู่

คือมีความชื้นอยู่ด้วยมีธาตุลมปนอยู่ด้วย แต่มีอยู่น้อย ถ้าเอาก้อนดินนี่ไปป่นให้แตกตัว
ก็จะพบว่ามีความร้อนปะปนอยู่ด้วย แสดงว่ามีธาตุไฟแฝงอยู่

ทำนองเดียวกัน แม้ในธาตุน้ำ หรือน้ำที่เราเห็นกันอยู่นี่แหละก็มีธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ปนอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น

น้ำในโอ่งก็มีธาตุดินปน ถ้าไม่เชื่อก็ลองเอาน้ำไปต้มดู ต้มจนแห้งแล้วจะพบว่ามีตะกอนเหลืออยู่ก้นกา
ก้นหม้อเหมือนกัน นั่นแหละคือธาตุดิน
นอกจากธาตุดินแล้ว ก็มีธาตุลมอยู่ด้วย พอต้มน้ำเดือดก็จะระเหยเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ นั่นคือธาตุลม

ขณะเดียวกันในน้ำก็มีธาตุไฟอยู่ด้วย ถ้าไม่มีธาตุไฟปนก็คงจะเย็นเสียดกระดูก แต่เพราะมีธาตุไฟ จึงไม่เย็นเสียดกระดูก
แถมบางครั้งยังอุ่นอีกด้วย เช่น ในฤดูหนาวน้ำจะอุ่นเสมอ

ในธาตุไฟก็มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม อยู่ด้วย ยกตัวอย่างไฟถ่านหรือไฟฟืนที่ลุกโชนอยู่ในเตา ก็มีธาตุดินปนอยู่
ไม่ว่าฟืนหรือถ่านพอติดไฟหมดแล้ว ก็จะเหลือขี้เถ้า นั่นแหละคือธาตุดิน
ขณะที่ไฟกำลังติดบางช่วง ก็จะมีควันลอยขึ้นไป นั่นคือธาตุน้ำกับธาตุลมปน ๆ กันอยู่
เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าขณะที่กองไฟลุก ๆ ก็ยังมีธาตุน้ำ ธาตุลมธาตุดิน ปนอยู่

ตกลงทุกสิ่งในโลกนี้ ไม่ว่าจะหยิบอะไรขึ้นมาจะมีธาตุทั้ง 4 ปนอยู่ในอัตราส่วนที่ต่างกันไป

มีข้อควรทราบอย่างหนึ่ง
คือ

การศึกษาเรื่องธาตุนี้ หลักพระพุทธาศาสนา กับวิทยาศาสตร์ตรงกันในแง่ที่ว่า
สิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วยธาตุหลายอย่างเหมือนกัน แต่จำนวนธาตุต่างกัน
พระพุทธศาสนาสอนไว้ 6 ธาตุเท่านี้ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาแล้ว

ส่วนนักวิทยาศาสตร์นับจำนวนธาตุได้หลายสิบธาตุ และมีการนับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆจนถึงร้อยกว่าธาตุแล้ว
ทั้งนี้เพราะนักวิทยาศาสตร์นับจำนวนวัตถุดิบเป็นธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุทอง ธาตุดีบุก ฯลฯ
ซึ่งทางศาสนาถือว่าธาตุเหล่านี้เป็นวัตถุผสมแล้ว ไม่ใช่ต้นธาตุจริง ๆเพราะยังสามารถนำไปแยกแยะธาตุที่ผสมอยู่ออกได้อีก

การที่พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์นับจำนวนธาตุไม่ตรงกันนั้น ไม่ใช่ความขัดแย้ง
แต่เป็นเรื่องความมุ่งหมายต่างกัน นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้เรื่องธาตุเพื่อหาวิธีนำมาใช้ผลิตวัตถุต่าง ๆ

ส่วนพระพุทธศาสนาเรียนเรื่องธาตุเพื่อนำความรู้นั้นมาอบรมจิตใจ
จึงจำเป็นต้องแยกธาตุเข้าไปให้ถึงความจริงแท้ จนกระทั่งเหลือ 6 ธาตุ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 04:26 PM

ศึกษาเรื่องธาตุ ได้ประโยชน์อะไร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนเรื่องธาตุให้พวกเราเพื่อประโยชน์อะไร
คำตอบก็คือ

เมื่อเรารู้แล้วจะได้นำมาพิจารณา ไม่ปล่อยใจให้หลงอะไรง่าย ๆ
เวลาจะไปหลงรักใครสักคน จะต้องพิจารณาแล้วพิจารณาอีก ที่น่ารักน่าหลง
เฮ้อ...ก็ไม่มีอะไร พิจารณาหลาย ๆ ครั้งแล้ว ก็เห็นมีแต่ธาตุ 4

ถ้าไม่เชื่อก็ลองเอาร่างกายไปบดดูก็จะได้ธาตุดินมาหนึ่งก้อน
ถ้าโม่ให้ละเอียด ๆ ก็จะได้น้ำเลือด น้ำหนอง เป็นธาตุน้ำไปบ้าง เป็นธาตุลมบ้าง

ถ้าร่างกายที่นำมาบดนั้น ก่อนลงมือบดยังมีชีวิตอยู่ ก็จะมีไออุ่นเป็นธาตุไฟไป
ผลสุดท้าย ที่ว่าแสนจะน่ารักก็ไม่มีอะไรมีแต่กองธาตุอยู่ 4 กอง

คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบเช่นนี้จิตก็จะคลายกำหนัดลง

ในเวลาเดียวกัน พอโกรธใครถึงกับอยากจะฆ่าแกงกัน ก็ไม่รู้จะโกรธไปทำไม
ไปโกรธทำไมกันไอ้ก้อนดิน ก้อนน้ำ ก้อนลม ก้อนไฟ
ถ้าได้พิจารณาอย่างนี้ จะโกรธใครก็ไม่โกรธ รักใครก็ไม่รัก

ถ้างั้นรักตัวเองมากขึ้นหรือก็ไม่ใช่เพราะตัวเราก็เป็นแค่ก้อนธาตุ 4 ก้อน
ถ้างั้นเกลียดตัวเองหรือ
ก็อย่าไปเกลียด เดี๋ยวจะตายเสียก่อน

แล้วงั้นต้องถนอมไหม
ต้องถนอม ถ้าไม่ถนอมก็ไม่มีโอกาสจะทำความดี

การศึกษาเรื่องธาตุยังทำให้เรามองออกอีกว่า
อ๋อ..คนเรามันก็เท่านี้ ทุกคนประกอบด้วยธาตุไม่มีใครเหนือกว่าใครตั้งแต่เกิดมา จะเหนือกว่าคนอื่นได้ก็อยู่ตรง

คุณธรรมที่เราประพฤติเพื่อกลั่นธาตุในตัวให้ใส ให้บริสุทธิ์ขึ้นมา
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 04:41 PM

ธาตุ 6

โดยทั่วไปถ้าเป็นการสอนธรรมะขั้นพื้นฐาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงแต่ทรงสอนแค่ธาตุ 4
แต่พอเจาะลึกเข้าไปในธรรมะที่ลึกซึ้งพระองค์ก็ทรงแบ่งออกเป็น 6 ธาตุ
คือนอกจากธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งเรามองเห็นแล้ว
ยังมีอากาศธาตุ และวิญญาณธาตุอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น

5. อากาศธาตุ แบ่งออกเป็น อากาศธาตุภายนอก และอากาศธาตุภายใน
อากาศธาตุภายนอกได้แก่อากาศ ความว่างเปล่า ช่องว่าง

ส่วนอากาศธาตุภายใน ได้แก่ ที่ว่างหรือช่องว่างในร่างกายเราเช่น ช่องหูช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่ม
ช่องสำหรับของกินของดื่มไหลออกเบื้องต่ำ เป็นต้น

6. วิญญาณธาตุ คือธาตุรู้ในตัวคนเรา หมายถึง "ใจ" ซึ่งมีการทำงานในลักษณะต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ถึง 4จังหวะ
จังหวะที่ 1 ใจทำหน้าที่ "เห็น" จังหวะที่ 2 ใจทำหน้าที่ "จำ"
จังหวะที่ 3 ใจทำหน้าที่ "คิด" จังหวะที่ 4 ใจทำหน้าที่ "รู้"

จังหวะที่ 1 ใจทำหน้าที่ "เห็น"
การทำงานของใจ ขั้นแรกใจจะทำงานด้วยการประสานกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วยอาการต่อไปนี้คือ
เมื่อใจของเรารับอารมณ์ที่มากระทบตา หมายความว่า
ถ้ามีภาพหรือรูปหรือวัตถุมากระทบตา ประสาทตาก็รายงานไปให้ใจ ใจก็รับภาพนั้นไว้ เราเรียกว่า "เห็น"
เมื่อใจของเรารับอารมณ์ที่มากระทบหู หมายความว่าเมื่อมีเสียงมากระทบหู ประสาทหูจะส่งไปให้ใจ
ใจก็รับรายงานเอาไว้ เรียกว่า "ได้ยิน"
พอได้ยินเสียงดังก็บอกได้ทันทีว่านี่เสียงปืน นี่เสียงนกเขาขัน นี่เสียงแก้วตกแตก

ขณะเดียวกันใจก็เปลี่ยนเสียงนั้นเป็นภาพให้เห็นอีกด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อเราได้ยินเสียง
แก้วตกแตกดังเพล้งเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ตาของเราไม่ได้เห็นแก้วตกแตกเลย
แต่สามารถ "เห็นด้วยใจ" ว่าแก้วตกแตก

แต่ถ้าเราไม่เคยเห็นวัตถุที่ทำให้เกิดเสียงนั้นมาก่อน ก็จะมีภาพปรากฏให้เราเห็นด้วยใจเหมือนกัน
แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร (ส่วนภาพที่เห็นนั้นจะชัดหรือไม่ชัดก็ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของใจ ของแต่ละบุคคล)

เมื่อใจของเรารับอารมณ์ที่มากระทบจมูก
หมายความว่าเมื่อมีกลิ่นมากระทบจมูก ประสาทจมูกก็ส่งรายงาน
ไปให้ใจทราบเราเรียกว่า "ได้กลิ่น" เช่น นี่กลิ่นทุเรียน นี่กลิ่นดอกแก้ว นี่กลิ่นดอกมะลิ

ขณะเดียวกันใจก็จะเปลี่ยนรายงานที่ได้รับให้เห็นเป็นภาพ
ฉะนั้นพอได้กลิ่นทุเรียนปั๊บก็จะเห็นเป็นลูกทุเรียนขึ้นมาปุ๊บ

เมื่อมีอาหารหรือสิ่งของมากระทบลิ้น ประสาทลิ้นก็ส่งไปรายงานให้ใจทราบ เราเรียกว่า "ลิ้มรส"
ขณะเดียวกันใจก็จะเปลี่ยนรายงานที่ได้รับให้เห็นเป็นภาพ ฉะนั้นพอได้ลิ้มรสเปรี้ยวของมะนาว ก็จะเห็นผลมะนาวในใจทันที
หรือพอได้ลิ้มรสเผ็ดของพริกขี้หนูก็จะเห็นภาพพริกขี้หนูในใจทันที ดังนี้เป็นต้น

เมื่อมีวัตถุมากระทบกาย กายก็ส่งไปให้ใจ ใจก็รับรายงานเอาไว้เรียกว่า "โผฏฐัพพะ"
แต่ส่วนมากมักจะเรียกกันว่า "สัมผัส" ขณะเดียวกันใจก็เปลี่ยนรายงานที่ได้รับนั้นให้เห็นเป็นภาพทันที
เหล่านี้เป็นอาการรับที่เกิดกับตัวเราในการรับสิ่งต่าง ๆ

ซึ่งเกิดการกระทบกันระหว่างอายตนะภายนอกอันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส
กับอายตนะภายในอันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย
คนธรรมดาย่อมไม่มีปัญญาไปรู้ไปเห็นกลไกอันนี้ได้เลย

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมาแล้ว และได้ทรงสอนต่อ ๆ กันมา
ทั้งยังทรงสอนให้ฝึกสมาธิ ผู้ที่ฝึกสมาธิได้ขั้นสูงจนสามารถเข้าถึงกายธรรมหรือธรรมกาย
ก็จะสามารถเห็นได้เช่นเดียวกับพระองค์อีกด้วย

ถ้าไปอ่านหนังสือธรรมะที่เขียนไว้แต่โบราณ แทนที่ท่านจะกล่าวถึงการทำงานของใจว่ามีหน้าที่ "รับ"เป็นประการแรก
ท่านจะใช้คำว่า "เห็น" คือ
เห็นผ่านมาทางตา เห็นผ่านมาทางหู เห็นผ่านมาทางจมูกเห็นผ่านมาทางลิ้น เห็นผ่านมาทางผิวกาย
ทุกอย่างเห็นเป็นภาพหมด ภาษาพระใช้ว่า "เวทนา"
ดังนั้น "เวทนา" ก็คืออารมณ์ของใจ

เวทนาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง มาปะทะหรือกระทบอายตนะทั้ง 5
คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกายแล้วอายตนะเหล่านี้จะส่งรายงานไปยังใจ
เมื่อใจรับไว้แล้วถ้าชอบใจจะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุข
ถ้าไม่ชอบใจ อาจจะทำให้เกิดความรู้สึก โกรธ เกลียด หรือเป็นทุกข์
และบางทีก็อาจทำให้รู้สึกเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์

จังหวะที่ 2 ใจทำหน้าที่ "จำ"
จังหวะที่ 1 ใจทำหน้าที่ "เห็น" คือ รับอารมณ์เอาไว้แล้วเปลี่ยนเป็นภาพขึ้น
จังหวะที่ 2 ก็จะเก็บภาพทั้งหมดโดยบันทึกเอาไว้ในใจเช่นเดียวกับที่กล้องถ่ายวีดีโอบันทึกภาพและเสียงไว้ในแถบฟิล์ม
หรือเหมือนเทป เรคคอร์ดที่บันทึกเสียง หรือเหมือนภาพยนตร์ที่บันทึกภาพและเสียงเอาไว้ในฟิล์ม ฉะนั้น
แต่ใจคนยังมีคุณลักษณะพิเศษกว่าโสตทัศนูปกรณ์เหล่านั้น เพราะไม่เพียงแต่บันทึกภาพกับเสียงเท่านั้น
ยังสามารถบันทึกกลิ่น รส และสัมผัสได้ด้วย การบันทึกเก็บข้อมูลไว้ในใจเช่นนี้
ก็คือการจำนั่นเอง
ภาษาธรรมใช้คำว่า "สัญญา"

เช่นกัน ธาตุในตัวของใครบริสุทธิ์มากก็สามารถจำได้ดี แม่นยำ ตรงตามความเป็นจริง
ของใครบริสุทธิ์น้อย ความจำก็ลดประสิทธิภาพลง

จังหวะที่ 3 ใจทำหน้าที่ "คิด"
เมื่อใจจำไว้แล้ว ก็ได้ข้อมูลเก็บไว้ในใจ เมื่อมีข้อมูลแล้วก็นำมาคิดพิจารณาว่า
สิ่งนี้ดี สิ่งนี้ชั่ว สิ่งนี้ผิด สิ่งนี้ถูกสิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร
เวลาคิดบางคนก็คิดไปทางฝ่ายดี บางคนก็คิดไปทางฝ่ายชั่ว

เหตุใดจึงคิดไม่เหมือนกัน
คำตอบก็คือ
แต่ละคนธาตุบริสุทธิ์ไม่เท่ากัน จึงคิดไม่เหมือนกัน
การคิดนี้ภาษาธรรมเรียกว่า "สังขาร"

คำว่า "สังขาร" มีความหมายเป็น 2 นัยคือ
(1) สังขาร หมายถึง ร่างกายของคนเราก็ได้
(2) สังขาร หมายถึง "การคิด" ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของการทำหน้าที่ของใจ (ซึ่งเป็นความหมายของสังขาร ในที่นี้)ก็ได้

จังหวะที่ 4 ใจทำหน้าที่ "รู้"
พอคิดแล้ว ก็ตัดสินใจเชื่อลงไปว่า อย่างนี้ดีจริง อย่างนี้ไม่ดีจริง อย่างนี้ผิดจริง อย่างนี้ถูกจริง คือ
เชื่อหรือรู้ได้ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ภาษาธรรมใช้คำว่า "วิญญาณ"

ดังนั้นคำว่า "วิญญาณ" จึงมีความหมายเป็น 2 อย่างคือ
(1) วิญญาณ คือ ธาตุรู้ในตัวคน ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ของธาตุที่ประกอบเป็นตัวคนเรา เราเรียกว่า วิญญาณธาตุ
(2) วิญญาณ คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นในใจของเรา เป็น 1 ใน 4ของการทำหน้าที่ของใจ เราเรียกว่า วิญญาณขันธ์

ตัวคนเราในเชิงชีววิทยาซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้ 2 ส่วน คือ กายกับใจนั้น
ถ้าแบ่งให้ละเอียดออกไปอีกก็จะได้เป็น 5 ส่วน หรือเรียกว่า ขันธ์ 5 ดังนี้

(1) กายของเราเรียกว่า รูป
(2) การเห็นของเราเรียกว่า เวทนา
(3) การจำของเราเรียกว่า สัญญา
(4) การคิดของเราเรียกว่า สังขาร
(5) การรู้ของเราเรียกว่า วิญญาณ

การแบ่งธาตุในลักษณะต่าง ๆ

การแบ่งธาตุ 6 ในพระพุทธศาสนา มีทั้งลักษณะหยาบและละเอียด
ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นการแบ่งธาตุ 6 ในลักษณะหยาบ
คือแบ่งออกเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ และธาตุวิญญาณ หรือวิญญาณธาตุ

ในลักษณะที่ละเอียดนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งไว้เป็นอีกสองนัย คือ

นัยที่หนึ่ง
แบ่งออกเป็น 6 อย่าง ดังนี้

1. สุขธาตุ ได้แก่ธาตุที่ทำให้เป็นสุข ได้แก่
ความสบายกาย สบายอารมณ์อันเกิดจากการสัมผัสเป็นกิริยาเสวยอารมณ์ที่เป็นที่สบาย
ซึ่งเกิดจากกายสัมผัสทั้ง 5 อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย

2. ทุกขธาตุ ได้แก่ธาตุที่ทำให้เป็นทุกข์ ได้แก่กิริยาเสวยอารมณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจ ซึ่งเกิดจากสัมผัสทั้ง 5

3. โสมนัสธาตุ คือความปลื้มใจต่าง ๆ

4. โทมนัสธาตุ คือความเศร้าสร้อยต่าง ๆ

5. อุเบกขาธาตุ คือความวางเฉยในอารมณ์ต่าง ๆ

6. อวิชชาธาตุ คือธาตุโง่ที่อยู่ในตัวเรา ความยิ่งนี้ถือเป็นธาตุอย่างหนึ่งทั้ง 6 ธาตุนี้ รวมกันอยู่ในวิญญาณธาตุ

*** ธาตุวิภังค์ - สุตตันตภาชนีย์ - ธาตุ ๖ นัยที่ ๓
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
http://th.wikisource...ki/๓._%...B9
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 04:58 PM

อะไรเป็นตัวควบคุมให้ธาตุบริสุทธิ์

ดังได้กล่าวแล้วว่า ธาตุในตัวคนยิ่งบริสุทธิ์เท่าใด ก็ยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น
ถ้าจะถามต่อไปอีกว่า อะไรเล่าที่เป็นตัวควบคุมให้ธาตุของคนบริสุทธิ์
คำตอบก็คือ บุญที่มีอยู่ในตัวเรานี้แหละ จะเป็นตัวควบคุมธาตุทั้ง6 ให้บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์

คือถ้าที่บุญมาก ธาตุก็จะมีความบริสุทธิ์มาก ถ้ามีบุญน้อยความบริสุทธิ์ของธาตุก็จะหย่อนลง

คนที่มีบุญมากมีความบริสุทธิ์มากก็จะมีค่ามาก หน้าตาผิวพรรณกผ่องใส ความคิดอ่านก็ดี
ความคิดสร้างสรรค์ก็ดี คิดได้รอบคอบคิดได้ลึกคิดได้กว้าง คิดได้ไกล
ต่างกับคนอื่น เพราะธาตุบริสุทธิ์กว่าคนอื่น

คนไหนธาตุในตัวไม่บริสุทธิ์ สติปัญญาก็จะหย่อน แทนที่จะคิดสร้างสรรค์ ก็จะคิดแต่เรื่องร้าย ๆ คิดทำลาย
นั่นธาตุในตัวไม่ดีทำไมจึงไม่ดี ก็เพราะบุญน้อย จึงเป็นอย่างนั้นแหละ ทำลายตัวเองบ้าง ทำลายคนอื่นบ้าง

ทำลายตัวเองเป็นไง ถ้านึกอะไรไม่ออก งั้นก็กินเหล้า เล่นไพ่ อย่างนี้ทำลายตัวเองเสียแล้ว
พอนึกออกก็ไม่สร้างสรรค์อะไร มีแต่คิดจะแกล้งชาวบ้าน ตัวเองลำบากคนเดียวไม่พอ ต้องทำให้ชาวบ้านเขา
ลำบากด้วยถึงจะสะใจ ตกลงวันหนึ่ง ๆ คิดสร้างสรรค์ไม่เป็น เป็นแต่คิดทำลาย

การกลั่นธาตุ

เราได้ทราบแล้วว่า เพราะธาตุในตัวคนแต่ละคนต่างกัน มีความบริสุทธิ์ต่างกัน มีความขุ่นมัวต่างกัน
เพราะฉะนั้นแต่ละคนในโลกนี้จึงไม่มีทางจะเท่ากัน จะเหมือนกัน
แล้วเราควรจะทำอย่างไรจึงจะประสบความสุขความเจริญกับเขาบ้าง ?

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้ชาวโลกรู้จักกลั่นธาตุในตัวให้บริสุทธิ์ผุดผ่องขึ้นมา
ตามวิธีการหรือขบวนการ ที่พระองค์ทรงค้นพบจากการตรัสรู้

ทางโลกถ้าเขาต้องการ ธาตุเงิน ทองคำ ทองแดง ตะกั่ว ดีบุก
เขาก็มีวิธีเฉพาะสำหรับถลุงให้มันบริสุทธิ์ได้
หรือถ้าต้องการผสมกันก็ผสมได้ตามสัดส่วนที่ต้องการเช่น
อาจจะเอาทองแดงมาผสมกับทองคำ กลายเป็นนาคเป็นต้น
และนาคที่ดีนั้นจะต้องผสมจากทองคำบริสุทธิ์ และทองแดงก็ต้องบริสุทธิ์

การกลั่นธาตุของนักเคมี

แร่ธาตุต่าง ๆ ถ้ายังไม่บริสุทธิ์ เขาก็ใช้วิธีถลุง ก่อนถลุงถ้ามีดินมีโคลนปน เขาจะใช้น้ำล้างเสียก่อน
พอล้างน้ำเสร็จก็เอาไฟเผา เผาแล้วเผาอีก หลอมแล้วหลอมอีก ธาตุก็จะละลายออกมาเพียงบางส่วน ยังไม่หมด
แล้วทำยังไงต่อไป บางทีเขาก็เอาด่างมากัด บางทีก็เอากรดมากัด กัดแล้วกัดอีก กัดจนหมด

ถ้ายังไม่หมดอาจจะต้องเอากลับไปเผาใหม่ ถลุงใหม่
นี่คือวิธีการทางเคมีที่ใช้ทำให้แร่ธาตุบริสุทธิ์

การทำให้ร่างกายคนบริสุทธิ์ในทางการแพทย์

ถ้าแพทย์เห็นว่าร่างกายของคนเรามีเชื้อโรค เขาก็มีวิธีทำให้บริสุทธิ์อยู่ 2 ลักษณะ คือ
(1) เอายาฆ่าเชื้อฉีดให้ หรือไม่ก็ให้รับประทานยา
(2) บำรุงร่างกายด้วยไวตามิน ด้วยอาหาร ให้ออกกำลังกาย ตลอดจนการพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้สู้กับโรคได้

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#6 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 05:04 PM

ในทางธรรม ถ้าอยากให้ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมในตัวคนบริสุทธิ์ ก็สามารถกลั่นให้บริสุทธิ์ได้เหมือนกัน

การทำให้ธาตุบริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา

ดังได้กล่าวแล้วว่าคนเรานั้นประกอบด้วย รูปกับนาม
เฉพาะรูปก็ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศ
ซึ่งเป็นเรื่องของวิชาเคมี

ส่วนนาม คือ จิตใจหรือวิญญาณธาตุ ซึ่งมีหน้าที่เห็น (เวทนา) จำ (สัญญา) คิด (สังขาร) รู้ (วิญญาณ) รวม 4 อย่าง
เมื่อเอานามไปรวมกับรูปก็ได้ 3 อย่าง เรียกว่าขันธ์ 5 เป็นเรื่องของวิชาชีววิทยา

เมื่อจิตใจคนถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส จิตใจก็จะวิปริตผันแปรไป ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็จะพลอยสกปรกผันแปรไปด้วย
จึงจำเป็นต้องกำจัดกิเลสออกไป ซึ่งท่านใช้สำนวนว่า "กลั่นธาตุให้บริสุทธิ์"

ถามว่ากลั่นด้วยอะไร
ก็ตอบว่า
ธรรมะทุกเรื่องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล้วนมีประสิทธิภาพในการถลุงธาตุกลั่นธาตุ คือ ฆ่าเชื้อกิเลสให้หมดไปได้ทั้งสิ้น

การกลั่นธาตุในพระพุทธศาสนานี้
ถ้าจะมองในฐานะนักโลหะวิทยา นักเคมี หรือนักอุตสาหกรรม
ก็กล่าวได้ว่า ธรรมะทุกข้อมีประสิทธิภาพในการถลุงธาตุกลั่นธาตุให้บริสุทธิ์ได้ทั้งสิ้น

ถ้ามองตามทัศนะของแม่บ้าน ก็กล่าวได้ว่า
ธรรมะทุกเรื่องเปรียบเสมือนน้ำที่มีประสิทธิภาพในการชำระล้างสิ่งสกปรก สิ่งปฏิกูล หรือกิเลสทั้งหลายให้หมดไป

ถ้าจะมองในฐานะแพทย์ ก็กล่าวได้ว่า
ธรรมะทุกเรื่อง เปรียบเสมือนยาที่มีประสิทธิภาพ ในการฆ่าเชื้อโรค คือฆ่าเชื้อกิเลสให้หมดไป ทั้งนี้แล้วแต่ใครจะมอง

แต่จริง ๆ แล้ว ธรรมะทุกเรื่องล้วนมีประสิทธิภาพในการกำจัดกิเลส หรือกลั่นธาตุทั้งนั้น

การรักษาศีล 5
เป็นวิธีเบื้องต้นสำหรับกลั่นธาตุ

ศีล 5 เป็นเครื่องมือชนิดแรกและสำคัญมากสำหรับกลั่นธาตุ
ทำไม ?
เพราะทันทีที่เราลงมือรักษาศีล 5 ธาตุในตัวจะถูกกลั่น
รู้ได้อย่างไร ?
คนที่ไม่มีศีลเลยนั้น พร้อมจะฆ่า พร้อมจะโกง พร้อมจะปลุกปล้ำลูกเมียใคร ๆไม่เลือกหน้า พร้อมจะโกหก ทำตัวขี้เมาหยำเป
พอลงมือรักษาศีล 5 ได้ปั๊บ ความเป็นพิษเป็นภัยทั้งหลายในตัวจะลดลงไปเยอะ
ทั้งคาวเลือด คาวโลกีย์ ทั้งกลิ่นสาปกลิ่นสาง กลิ่นเหล้า หายไป

แต่ก่อนหน้านี้ พอใครเดินผ่านก็จะได้กลิ่นสาปกลิ่นเหล้าเหม็นคลุ้งจนต้องรีบหนี
พอเลิกเหล้า แล้วรักษาศีล 5 ได้ ความเป็นพิษเป็นภัย หรือกลิ่นสาปกลิ่นเหล้าทั้งหลาย จะหายไประดับหนึ่ง
ความแสบของคนนั้นก็จะลดไปได้ระดับหนึ่ง ยังไม่หมดทีเดียว
นี่เป็นการกลั่นธาตุ ที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อของเรา

ถ้าพูดในเชิงธรรมะก็บอกว่าเมื่อก่อนนี้สมัยที่ยังไม่ได้รักษาศีล
ก็เป็นคนสารพัดพิษ มีความร้ายกาจเหมือนคนในร่างสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งท่านเรียกว่า"มนุสติรัจฉาโน"
พอรักษาศีลได้ ความร้ายกาจหมดไประดับหนึ่ง ก็เปลี่ยนเป็น "มนุสสมนุสโส"
คือคนที่เป็นคนสมคน หรือคนเต็มคน

หรือเปลี่ยนจาก "มนุสสเปโต" คือคนที่เหมือนเปรต มีลักษณะหิวไม่สร่าง พร้อมที่จะโกงชาวบ้าน มาเป็น "มนุสสมนุสโส"

หรือเปลี่ยนจาก"มนุสสนิระยะโก" คือคนที่เหมือนสัตว์นรก มาเป็น "มนุสสมนุสโส" ดังนี้เป็นต้น

ศีล 5 มีอำนาจกลั่นพิษกลั่นภัย กลั่นความแสบให้หลุดออกไปได้บางส่วน แต่ก็สามารถลดความร้ายกาจลงไปได้มาก
สำหรับอำนาจของศีล 5 นี้ ถ้ามองในเชิงการแพทย์ก็บอกว่า
การรักษาศีล 5 สามารถกำจัดเชื้อไข้ใจให้หลุดไป เลยทำให้เป็นคนเต็มคน มีสุขภาพจิตและกายสมบูรณ์ตามส่วน

ถ้ามองในเชิงนักโลหะวิทยาก็บอกว่า
พอรักษาศีล 5 ได้ ก็ทำให้ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ รวมทั้งวิญญาณธาตุ บริสุทธิ์ผ่องใสขึ้นมา

ถ้ามองอย่างแม่บ้านก็บอกว่า
การรักษาศีล 5 สามารถล้างกลิ่นคาวทั้งหลาย ไม่ว่าคาวเนื้อคาวปลา กลิ่นเหล้ากลิ่นสาปหมดไปตามส่วน
ทำให้หน้าตาผ่องใส จิตใจเบิกบาน นี่คืออำนาจของศีล 5 ซึ่งเป็นธรรมเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 05:20 PM

การกลั่นธาตุ ด้วยวิธีรักษาศีล

การรักษาศีล 5 เป็นวิธีกลั่นธาตุเบื้องต้น
ถ้ารักษาศีล 8 ได้ ธาตุก็จะถูกกลั่นให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก

รักษาศีล 8 ได้แล้ว ดีอย่างไร ?
ก็ต้องพิจารณากันทีละข้อ ๆ เริ่มตั้งแต่ศีลข้อ 6 "วิกาลโภชนา.." คือ งดเว้นอาหารหลังเที่ยงวัน

ตามธรรมดาคนที่ไม่ได้ทำงานหนัก อาหาร 2 มื้อก็พอเพียงอยู่แล้ว
ถ้ารับประทานมากเกินไป เดี๋ยวกามราคะจะกำเริบ
เพราะฉะนั้นถ้าตัดอาหารมื้อที่ 3 ฉับ ก็เท่ากับตัดเสบียงกามออกไปแล้ว เป็นการกลั่นทั้งกายกลั่น
ทั้งใจให้ กามราคะในตัวเพลาลง กามราคะจะกำเริบได้ยากขึ้น

พอมีศีลข้อที่ 7 คือ ประการหนึ่งไม่ร้องรำทำเพลง
เพลงที่เราร้องกันไปฟังดูเถอะ ทั้งในวิทยุในทีวี 99.99% คือเพลงรัก
ร้องไปได้พักเดียว ไม่ช้าก็คงจะได้ร้องไห้
ถ้าไปเจอผู้หญิงคนไหนร้องเพลงรักหงิง ๆ ถี่ ๆ ละก็ เตรียมผ้าเช็ดหน้าไว้ให้ได้เลย ไม่ช้าจะได้ใช้เช็ดน้ำตา
ถ้างดร้องเพลง ธาตุในตัวจะบริสุทธิ์ขึ้นมาอีกส่วนหนึ่งเพราะกามราคะเริ่มลดลง

อีกประการหนึ่ง คือ เว้นจากการเขียนคิ้ว ทาปาก การใส่เพชรนิลจินดา การดูการละเล่น
การเว้นจากสิ่งเหล่านี้เป็นการกลั่นธาตุ กลั่นความรู้สึกทางเพศ กลั่นความฟุ้งซ่านออกไปได้ส่วนหนึ่ง

เราเคยเรียนในวิชาเคมีว่า
กรดหรือด่างกัดโลหะบางอย่างให้บริสุทธิ์ได้
แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ศีลมากลั่นธาตุและทรงใช้ศีลข้อที่ 7
กลั่นกามราคะของคนให้ทุเลาลงไปได้อีกส่วนหนึ่ง

ศีลข้อ 8 ห้ามนอนฟูกหนา ๆ นิ่ม ๆ
เพราะนอนฟูกหนา ๆ นิ่ม ๆ แล้วใจฟุ้งซ่าน กามราคะจะกำเริบ
เพราะฉะนั้นถ้าถือศีลข้อที่ 8 ได้ นั่นหมายความว่า เรากลั่นกาย กลั่นใจของเรา ให้เริ่มใสขึ้นแล้วอีกส่วนหนึ่ง
ถ้ากลั่นไปเรื่อย ๆ ด้วยศีล กายก็จะบริสุทธิ์ แล้วใจซึ่งอาศัยอยู่ในกายก็บริสุทธิ์ตาม

เพราะฉะนั้นผู้ที่รักษาศีล 8 ได้บริบูรณ์ ย่อมสามารถกลั่นธาตุได้บริสุทธิ์มากกว่าขณะที่รักษาศีล 5 หลายเท่า
เมื่อรักษาศีล 5 ก็จะบริสุทธิ์อยู่ระดับหนึ่ง ถ้ารักษาศีล 8 ความบริสุทธิ์ก็จะเพิ่มขึ้น

ถ้ารักษาศีล 10คือบวชเป็นสามเณร ความบริสุทธิ์ก็จะเพิ่มขึ้นอีก
ยิ่งถ้าศีล 227 คือบวชเป็นพระ ความบริสุทธิ์ก็จะทวีขึ้นเป็นอันมาก ไล่ขึ้นมาตามลำดับอย่างนี้

การรักษาศีลเป็นวิธีกลั่นธาตุอย่างหนึ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะ ไว้ให้
ยิ่งรักษาศีลได้มากข้อเท่าใด
ธาตุในตัวเราก็จะถูกกลั่นให้บริสุทธิ์ได้มากขึ้นเท่านั้น
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#8 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 05:32 PM

กลั่นธาตุด้วยสมาธิ

อย่างไรก็ตามเพียงแต่รักษาศีลยังไม่พอ เพราะศีลกลั่นได้แต่กิเลสขั้นหยาบ
จะต้องตั้งใจฝึกสมาธิต่อไปอีก
เพราะสมาธิสามารถกลั่นกิเลสขั้นกลางออกไปได้
ฉะนั้นใครยิ่ง
รักษาศีลได้บริบูรณ์ ฝึกสมาธิได้มาก ก็เท่ากับกลั่นทั้งกายทั้งใจให้บริสุทธิ์ได้มากขึ้น

เมื่อกลั่นมากเข้า ๆ เป็น
ประจำ ถูกส่วนเข้าธาตุก็ยิ่งบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปตามลำดับ
จากมนุสสมนุสโส เป็นมนุสสเทโว จนถึงมนุสสพรหมโม
ตามลำดับ

มีคนบางคนแม้ยังไม่ได้บวช ก็ดูหน้าตาผิวพรรณผ่องใสเหมือนเป็นพระครั้นพอบวชแล้วก็เป็นพระที่สมพระ

คนขี้เหล้าเมายา เนื้อตัวสกปรกขมุกขมอม หน้าตาหมองคล้ำผิวพรรณไม่ผ่องใส
พอเริ่มรักษาศีล 5
ความขมุกขมอมจะลดลง
เพราะธาตุบริสุทธิ์ขึ้น
ถ้าฝึกสมาธิด้วย รักษาศีล 8 ศีล 10 จนถึงศีล 227
ธาตุก็จะถูก
กลั่นให้บริสุทธิ์ หน้าตาผิวพรรณจะผ่องใส สภาพคนขี้เหล้าเมายาจะหายไป

ที่กล่าวมานี้เฉพาะเท่าที่ตาเห็น แต่ส่วนที่เรามองไม่เห็นยังมีอีก เพราะเกิดขึ้นภายในตัว
เกิดขึ้นเอง
คือข้างนอกสดใส ข้างในก็สดใสตามด้วย ไม่ใช่อย่างชนิดที่เรียกว่า "ข้างนอกสดใส ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง"

ทำอย่างไรกลิ่นกายจึงหอม

คนที่ฝึกสมาธิมาก ๆ การที่จะคิดเรื่องร้าย ๆ เป็นไม่มี เมื่อเป็นเช่นนี้ บุญก็จะเกิดขึ้นในใจ
บุญกลับมากลั่น
ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศในตัว กลั่นมากขึ้น ๆ
ผิวพรรณวรรณะก็ผ่องใส จิตใจก็ผ่องใสโดยอัตโนมัติ นอกจากใส
แล้วยังไม่มีอันตรายกับใคร ใจก็คิดแต่เรื่องดี ๆ
แม้กลิ่นกายก็ไม่สาบไม่สาง หอมกว่ากายที่เอาแต่ถือศีลธรรมดา


อยากฝากเอาไว้สำหรับท่านที่มีกลิ่นกายย่ำแย่ เวลาไปถึงไหนพรรคพวกต้องกลั้นใจ
เพราะทนกลิ่นฉุนกึก
ไม่ไหว แม้อาบน้ำก็แล้วทายาระงับกลิ่นกายก็แล้วยังไม่หายฉุน
ขอแนะนำว่ามีวิธีแก้ไขอยู่ คือตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์
แล้วนั่งสมาธิมาก ๆ
ระวังอาหารการกินให้ดี รักษาสุขภาพ อนามัยภายนอกอย่างเคร่งครัด กลิ่นไม่สะอาดเหล่านั้นจะจางหายไปเอง

นอกจากรักษาศีลทำสมาธิแล้ว การที่เราศึกษาธรรมให้เกิดปัญญา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาทางสร้างสรรค์นึกคิดแต่สิ่งที่ดีงาม ใจสูงขึ้น
เมื่อศึกษามากขึ้น ๆ ก็ทำให้ธาตุในตัวสะอาดยิ่งขึ้นไปอีก

เพราะฉะนั้นถ้าเราสังเกตพระภิกษุผู้ตั้งใจปฏิบัติธรรม
ตั้งใจรักษาศีล ตั้งใจนั่งสมาธิ ตั้งใจศึกษาพระไตรปิฎก ตั้งใจพิจารณาธรรมอย่างดี
โดยเฉพาะท่านที่เข้าถึงธรรมกายแล้วจะเห็นว่า
แม้ท่านจะอายุมาก หรือแต่เดิมเป็นผู้มีผิวดำคล้ำ ผิวที่ดำก็จะดำอย่างมีน้ำมีนวล มีความน่ารัก น่าเคารพ น่าเข้าใกล้อยู่ในตัว
ถึงดำก็ดำผ่อง ถ้าองค์ไหนผิวขาวก็ขาวผ่องหนักขึ้นไปอีก เพราะธาตุในตัวถูกกลั่นให้ใสขึ้นทุกวัน ๆ

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#9 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 05:43 PM

โบราณท่านกล่าวว่า
ความบริสุทธิ์ของกาย วาจา ใจ เป็นที่มาแห่งรัศมี เป็นที่มาแห่งความผ่องใส

รัศมีกับความผ่องใสจะแผ่กระจายแทรกไปในทุกอณูของบรรยากาศที่เราอยู่
มันจะแทรกเข้าไปในเนื้อวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา
ใครที่มาร่วมอยู่ในที่นั้น ๆ ก็พลอยสุขกายสุขใจตามไปด้วย

ด้วยเหตุนี้คนโบราณจึงนิยมนิมนต์พระสงฆ์องค์เจ้าที่มีศีลบริสุทธิ์ ตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างดี
ให้ช่วยไปเหยียบบ้านเขาหน่อย จะได้เป็นศิริมงคล หรือไม่ก็เชิญผู้หลักผู้ใหญ่ เสนาบดี
หรือกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ ที่ทรงทศพิธราชธรรมให้เสด็จไปเยี่ยมบ้าน หรือเมืองของเขา
เพื่อว่าจะได้เป็นศิริมงคลแก่บ้านเมืองของเขา

ถ้าใครสงสัยว่าการเสด็จไปเยี่ยมเยียนนั้นเป็นศิริมงคลจริงหรือ
ก็ต้องตอบว่าเป็นจริง ๆ
เพราะธาตุในตัวของท่านเหล่านั้นกลั่นสะอาดขึ้นมาส่วนหนึ่งแล้ว
เมื่อท่านเหยียบย่างไปถึงไหน สิ่งที่ท่านเหยียบย่างไป ก็พลอยถูกกลั่นไปด้วย
ผู้ติดตาม หรือผู้ที่อาศัยอยู่ต่อไปก็ได้ตัวอย่างดี ๆ จากท่าน แล้วทำตาม นี่เป็นส่วนหยาบ ๆ

แต่ในส่วนละเอียดก็คือ
เมื่อธาตุภายนอกบริสุทธิ์แล้ว ความบริสุทธิ์นั้นจะน้อมนำให้ตัวเขา พยายามทำธาตุในตัวให้บริสุทธิ์ตามไปด้วย
เรื่องของธาตุก็ไล่กันเป็นชั้น ๆ ไปอย่างนี้

ในสมัยพุทธกาล เมื่อชาวเมืองรู้ว่าพระอรหันต์อยู่ที่ไหน เขาก็ตามไปอาราธนาให้พระอรหันต์มาในเมืองของเขา
พอมาถึงปั๊บธาตุในเมืองนั้นซึ่งเคยวิปริตแปรปรวนก็จะเริ่มสะอาด ฝนฟ้ากลับมาตกต้องตามฤดูกาลอีก

หรือตัวอย่างเมืองไพศาลี
เกิดโรคระบาดรักษาไม่หายคนตายเกือบทั้งเมือง ชาวเมืองจึงไปอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เสด็จไป
ครั้นเสด็จไปถึง โรคภัยไข้เจ็บก็หายเกลี้ยงไปหมด นี่เป็นขบวนการที่ค่อนข้างจะยืดยาวซับซ้อนเข้าใจยากสักหน่อย
ผู้ที่ไม่มีปัญญาทางธรรมสูงพอ จะตรองไม่ออก มองไม่ทะลุ

ถ้าเรารักษาศีลมาก ๆ ฝึกสมาธิมาก ๆ ปฏิบัติธรรมมาก ๆ เราจะตรองได้เป็นฉาก ๆ ไปเลย
เหตุนี้เองในสมัยโบราณ ถ้าบ้านเมืองไหนฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปู่ย่าตายายท่านจะรู้ทันทีว่า
"อ้อ ธาตุในเมืองนี้มันวิปริต แผ่นดินมันวิปริต ต้นไม้มันวิปริต บรรยากาศมันวิปริต"

ถามว่าทำไมสิ่งต่าง ๆ จึงวิปริตแปรปรวน
ก็ตอบได้ว่า
"เพราะคนในเมืองนั้นจิตใจวิปริตแปรปรวน
ธาตุของคนในเมืองนั้นพลอยวิปริตแปรปรวน เลยพลอยทำให้ดินฟ้าอากาศวิปริตแปรปรวนไปด้วย"

วิธีแก้ไขความวิปริตแปรปรวน

ถ้าดินฟ้าอากาศเกิดวิปริตแปรปรวนขึ้น คนโบราณจะมีการประชุมชาวเมืองกัน
ชักชวนให้ทุกคนตั้งใจให้ทานรักษาศีล สวดมนต์ภาวนากัน
พอทำอย่างนี้ ธาตุในตัวก็บริสุทธิ์ขึ้น บรรยากาศรอบ ๆ ตัวก็บริสุทธิ์ขึ้น ไม่ช้าฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล

รัตนสูตร
http://84000.org/tip...tem/r.ph...
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#10 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 05:55 PM

ทำไมเราจึงเกิดมา

ผู้ที่ไม่เคยศึกษาพระพุทธศาสนา มักจะเข้าใจว่าคนเราตายแล้วสูญหมด
เพราะเห็นว่าเมื่อคนตายแล้ว ร่างกายก็จะถูกนำไปฝังหรือเผา กลายเป็นเถ้าธุลีไปหมด
แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"สังขารเกิดเพราะมีอวิชชา"
ดังมีปรากฏ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรคในมหาวรรคที่ 7 เรื่อง อุปยสูตร
ว่าด้วยสังขารเกิดเพราะมีอวิชชา ดังนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กรุงสาวัตถี ทรงเรียกภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...เมื่ออวิชชาเกิด ย่อมทำให้สังขารเกิด เมื่อสังขารเกิดย่อมทำให้วิญญาณเกิด
เมื่อวิญญาณเกิด ย่อมทำให้นามรูปเกิด เมื่อนามรูปเกิด
ย่อมทำให้สพายตนะเกิด เมื่อสพายตนะเกิด ย่อมทำให้ผัสสะเกิด
เมื่อผัสสะเกิด
ย่อมทำให้เวทนาเกิด เมื่อเวทนาเกิด ย่อมทำให้ตัณหาเกิด เมื่อตัณหาเกิดย่อมทำให้อุปาทานเกิด
เมื่ออุปาทานเกิด ย่อมทำให้ภพเกิด เมื่อภพเกิด
ย่อมทำให้ชาติเกิด
เมื่อชาติเกิดย่อมทำให้ชราและมรณะเกิดฉันนั้นเหมือนกัน"


จากพุทธดำรัสที่ยกมานี้จะเห็นว่า ทุกชีวิตเกิดมาเพราะอวิชชาเป็นเหตุเหตุนี้ก็ส่งผลโยงใยกันเป็นลูกโซ่ไปจนกระทั่งถึงตาย
เมื่อตายไปแล้วอวิชชาก็ยังไม่ได้หมดไป เพราะฉะนั้นทุกชีวิตเมื่อตายไปแล้ว จะต้องเกิดอีกอย่างแน่นอน

ถ้าถามว่าอวิชชาคืออะไร
พูดอย่างง่าย ๆ
อวิชชาก็คือความหลงซึ่งเป็นเหตุให้เราไม่รู้จริง

คือไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้สาเหตุของทุกข์ ไม่รู้ว่าทุกข์นั้นมีวิธีดับได้ ไม่รู้วิธีดับทุกข์ ไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต
และไม่รู้วงจรแห่งชีวิต (ปฏิจจสมุปบาท)
เมื่อไม่รู้สิ่งเหล่านี้ ก็ปล่อยตัวปล่อยใจให้จมอยู่ในกองกิเลส ตัณหา ราคะต่าง ๆ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนยางเหนียวในเมล็ดพืช ที่จะทำให้พืชงอกเป็นต้นใหม่ขึ้นมาอีก

เมล็ดพืชเมล็ดใดที่ลีบแห้งหรือถูกทิ้งไว้นานปีจนหมดยางเหนียว ย่อมไม่สามารถงอกเป็นต้นขึ้นมาได้
ข้อนี้ฉันใด
คนที่ยังมีกิเลส ตัณหา ราคะอยู่เมื่อตายไปแล้วย่อมต้องเกิดใหม่อีก
ส่วนคนที่หมดกิเลส ตัณหาราคะแล้ว ย่อมไม่สามารถเกิดอีก ฉันนั้น
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#11 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 06:06 PM

เราเกิดมาทำไม

เราได้รู้แล้วว่า โลกเรานี้ประกอบด้วยธาตุ ตัวเราเองก็ประกอบด้วยธาตุ
การที่เราเกิดมาในชาตินี้ ก็เพื่อมากลั่นธาตุให้บริสุทธิ์ผ่องใส

เป็นเรื่องแปลกแต่จริง พอธาตุในตัวบริสุทธิ์ เรื่องความรักใคร่ในฐานะชู้สาวจะหมดไปมีแต่ความรักประเภท แม่รักลูกเข้ามาแทนที่
ดังนั้นจึงควรฝึกกันไปเรื่อย ๆ

คนที่ไม่เคยศึกษาพระพุทธศาสนา จะไม่ทราบเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต
ไม่ทราบว่าตัวเกิดมาทำไม

จากสภาพที่ได้ประสพโดยทั่ว ๆ ไปยังทำใหเข้าใจว่า คนเราตายแล้วก็สูญหมด ร่างกายถูกเผาหรือฝังกลายเป็นเถ้าธุลีไหมด
ดังนั้นขณะที่กำลังมีชีวิตอยู่ก็พยายามแสวงหาความสะดวกสบายนานาประการ

นับตั้งแต่การมีบ้านใหญ่โตหรูหรา มีรถยนต์ราคาแพง มีบริวารรับใช้มากมาย มีเครื่องอำนวยความสะดวกสบายมากมาย
มีเครื่องบันเทิงเริงรมย์มากมาย มีการรับประทานอาหารตามภัตตาคารบ่อย ๆ

เมื่อมีความคิดและความต้องการเช่นนี้ ต่างก็พยายามมุ่งหาเงินเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิต นับถือเงินเป็นพระเจ้า
ถ้าหาโดยสุจริตไม่ได้ จะต้องประพฤติทุจริต หรือทำบาปร้ายแรงสักเท่าใดก็ทำได้
มีความรู้ทางวิทยาการก้าวหน้าหรือเทคโนโลยีใด ๆ ก็ดึงออกมาใช้หมด กระทำการต่าง ๆ โดยขาดความรับผิดชอบต่อสังคม

เพราะไม่รู้ว่าตัวเกิดมาทำไม
จึงตั้งเป้าหมายชีวิตเอาเองอย่างผิด ๆ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการกระทำผิด ดังปรากฏให้เห็นเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ
นับตั้งแต่การติดยาเสพติด การค้ายาเสพติด การจี้ปล้นการฆาตกรรม การแย่งผลประโยชน์ทางการเมือง
ไปจนถึงการทำสงครามทำลายล้างประเทศชาติ และเผ่าพันธุ์

เมื่อคิดผิด ก็กลายเป็นคนมีมิจฉาทิฐิ ละโอกาสการประกอบกุศลกรรม กระทำแต่กรรมชั่วอยู่เป็นนิจ
ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่สังคมส่วนรวม หรือบางครั้งก็ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ในชีวิตนี้แล้ว
บาปกรรมยังติดตามไปถึงภพหน้าอีกด้วย

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าทุกอย่างมาแต่เหตุ ดังปรากฏใน ปฏิจจสมุปบาท
ดังนั้นผู้ทำชั่วต้องได้ชั่วเสมอ เพียงแต่ว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น

ความรู้เรื่องขันธ์ 5 และธาตุ
สามารถให้ความสว่างแก่ปัญญาของเราเป็นอย่างดี
จะมัวชักช้าอยู่ใยเล่า
จงลงมือกลั่นธาตุให้บริสุทธิ์ผ่องใสเสียแต่วันนี้เถิด เพราะไม่แน่ว่าเราจะมีชีวิตอยู่อีกนานเท่าไร
ถ้าไม่ตั้งตัวอยู่ในความประมาท รีบลงมือกลั่นธาตุไปเรื่อย ๆ
นอกจากจะทำให้ตัวเองบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นบุญกุศลแก่ตัวเอง แล้ว
ยังสามารถช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมบริสุทธิ์ผุดผ่องตามไปด้วย
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#12 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 06:38 PM

*** ขอรวบรัดมาที่ ***

วัดพระธรรมกายก็ถือหลักว่า ทุกสิ่งในโลก คำว่า
เป็นไปไม่ได้
นั้น ไม่มี
ทุกอย่างเป็นไปได้หมด

ถ้าความรู้ของเราพอ เพราะฉะนั้นเมื่อเริ่มสร้างวัด ก็คิดไม่เหมือนใคร
ถ้าคิดสร้างวัดตามแบบเก่า ๆ ป่านนี้เราคงไม่มีศาลาขนาดใหญ่ ๆ ให้สาธุชนนั่งกันสบาย
เราพยายามคิดและทำสิ่งใหม่ ๆ โดยไม่ต้องถามใคร
แต่มีหลักสำคัญที่จะต้องยึดถือความคิดและการกระทำนั้น ๆ จะต้องอยู่บนรากฐานของความดี
ถูกต้องทำนองคลองธรรม ทำอย่างนี้โลกจึงจะเจริญ

แม้ทุกวันนี้ในการเทศน์การสอน อาตมาก็พยายามที่จะคิดค้นการเทศน์การสอน ที่จะทำให้รวบรัดยิ่งขึ้น
เพื่อให้ผู้ฟังสามารถรู้และเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น พยายามจะผลิตตำรับตำราพุทธศาสตร์ให้อ่านกัน จะได้เข้าใจธรรมะกันมากขึ้น

แม้ที่สุดเวลานั่งสมาธิก็พยายามจรดนิ่งให้ได้
ใครถึงดวงปฐมพรรคแล้ว ... กายในกายแล้ว
อย่าเอาแค่มองดวงปฐมมรรค
ให้เอาใจสอดเข้าไปกลางดวงปฐมมรรค
ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุติ ดวงวิมุติญาณทัสสนะ
... ฯลฯ

อนึ่งท่านที่เข้าถึงกายในกายแล้ว อยากฝากไว้ด้วยว่า
การเข้าถึงกายทิพย์ กายพรหม หรือกายอรูปพรหมก็ตามที
ให้สอดเข้ากลางเรื่อยไปไม่หยุดอยู่แค่นั้น
ใช้กายต่าง ๆ ที่เราเข้าถึงเป็นอุปกรณ์ในการกลั่นธาตุในตัวต่อไป
ธาตุของเราจะยิ่งสะอาดในสะอาด บริสุสุทธิ์ในบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ๆ

ถ้าทำอย่างนี้จึงจะสมกับที่อุตส่าห์เสียเวลาศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม

เรื่องที่ยกมากล่าวทั้งหมดนี้ คงจะไม่ค่อยมีใครนำมาพูดกันนักหรอก
เพราะการที่จะนำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาพูดได้นั้นต้องอาศัยการปฏิบัติธรรม การฝึกสมาธิมาเป็นเวลานาน อบรมเคี่ยวเข็ญให้
และต้องได้ครูบาอาจารย์ดีจริง
เมื่อมีโอกาสได้ยินได้ฟังแล้ว อย่าฟังเปล่า ช่วยนำไปประพฤติปฏิบัติด้วย ยิ่งประพฤติปฏิบัติกันได้มากเท่าใด
เราก็จะเห็นโลกตามความเป็นจริงได้มากเท่านั้น

ทุกท่านคงจะเห็นแล้วว่า การกลั่นธาตุในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่ง จะดูเบาไม่ได้ จะมองข้ามไปไม่ได้
เพราะเราเกิดมาชาตินี้ ก็เพื่อมากลั่นธาตุนั่นเอง
กลั่นด้วยอะไร
ขบวนการกลั่นที่สูงสุดก็คือ มรรคมีองค์แปด
กลั่นหนัก ๆ เข้า จะเข้าถึงธาตุบริสุทธิ์ที่สุด จะเห็นอริยสัจ ได้ชัดเจน เมื่อถึงขั้นนั้นแล้ว ก็จะหมดกิเลสตามพระอรหันต์ไป

อาตมาหวังอย่างยิ่งว่า
ต่อแต่นี้ไปทุกท่านที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วคงจะไม่สงสัยอีกแล้วว่า
เราเกิดมาทำไม ?
และแล้วทุกท่านก็จะตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อกลั่นธาตุในตัวของท่านให้บริสุทธิ์ หมดกิเลส
สู่พระนิพพาน ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวังสารวัฏอีกต่อไป
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#13 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 06:47 PM

ปกิณกะ เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง

ดวงปฐมมรรคเป็นตัวควบคุมธาตุ

การรักษาศีล และการฝึกสมาธิยิ่งมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งสามารถกลั่นธาตุในกายของเราให้บริสุทธิ์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ในตัวของเราซึ่งประกอบด้วยธาตุนั้น เราสามารถเห็นได้แต่ธาตุหยาบ ๆ ทั้ง 4 คือธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม
แต่อากาศธาตุและวิญญาณธาตุเราไม่เห็น
ต่อเมื่อได้ฝึกสมาธิมากเข้า ๆ จนกระทั่งใจหยุดใจนิ่ง
ธาตุในตัวสะอาดพอสมควร
เมื่อหลับตาลืมตาก็จะเห็นดวงสว่างโพลงอยู่ในตัว เราเรียกดวงสว่างนี้ว่า

"ดวงปฐมมรรค"
ผู้ที่ฝึกมาอย่างดี จะพบว่าดวงปฐมมรรคในตัวของเราเป็นตัวควบคุมธาตุ ทั้งหมดในตัวเรา
ถ้าดวงปฐมมรรค
ผ่องใส ธาตุทั้ง 6 ในตัวเราก็ผ่องใสตาม ผิวพรรณวรรณะก็พลอยผ่องใสตามไปด้วย

ดวงปฐมมรรค นั้น มีดวงธาตุเป็นดวงกลม ๆ ลอยอยู่ 5 ดวง จับคู่กันอย่างนี้คือ
ดวงข้างล่างเป็นธาตุน้ำ
ข้างบนเป็นธาตุไฟ
ข้างซ้ายเป็นธาตุลม
ข้างขวาเป็นธาตุดิน

ทั้ง 4 ดวงมีเส้นโยงถึงกัน
ณ จุดตัดตรงกลาง มีดวงกลมอยู่อีกดวงหนึ่ง
เป็นดวงอากาศธาตุ
ซึ่งพอจะเขียนเป็นรูป 2 มิติได้ดังนี้
แนบไฟล์  post_8_1238777381.gif   103.1K   198 ดาวน์โหลด
ดวงกลมด้านล่างทำหน้าที่ควบคุมธาตุน้ำในตัวเรา ถ้าควบคุมไม่ดี เราก็จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับธาตุน้ำ
เช่น หวัดโรคเกี่ยวกับระบบปัสสาวะ โรคน้ำเหลืองไม่ดีเป็นต้น

ดวงกลมด้านบนเป็นธาตุไฟ ถ้าธาตุไฟดวงนี้ทำงานผิดปกติอาจจะทำให้ตัวร้อนเป็นไฟ ที่เรียกว่าเป็นไข้
หรือเกิดธาตุพิการ ความร้อนไม่พอ ตัวเย็นเฉียบพาลจะตายได้ ก็แล้วแต่กรณี

ดวงกลมด้านซ้ายเป็นธาตุลม ควบคุมระบบการหายใจ
ถ้าดวงนี้ทำงานผิดปกติ ก็จะทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับ ระบบการหายใจ หรืออาจจะหัวใจวายตายก็ได้

ดวงกลมด้านขวาเป็นธาตุดิน ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในตัวเรา

ดวงกลมตรงกลางเป็นดวงอากาศลอยอยู่ ทำหน้าที่ควบคุมช่องว่างต่าง ๆ ในตัวเรา

ตรงกลางดวงอากาศธาตุมีดวงกลม ๆ เล็ก ๆ ลอยอยู่ ขนาดเท่าตาดำของเรา เรียกว่า "วิญญาณธาตุ"
เป็นธาตุรู้อยู่ในตัวเรา ถ้าดวงวิญญาณธาตุนี้หลุดออกไปจากตัวเราเมื่อไร ก็ตาย ไม่รู้เรื่องแล้ว

ดวงกลมทั้ง 6 นี้ รวมอยู่ในดวงปฐมมรรคนี้เอง
ถ้าเรารักษาศีลมาก ๆ นั่งสมาธิมาก ๆ ศึกษาธรรมะมาก ๆ
ดวงปฐมมรรคในตัวก็ใส ธาตุในตัวก็บริสุทธิ์ การทำงานของทุกธาตุก็เป็นปกติดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
จิตใจก็ผ่องใส เพราะฉะนั้นผิวพรรณวรรณะที่ปรากฏภายนอก จึงผ่องใสตามไปด้วย
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#14 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 August 2009 - 07:14 PM

ในโลกนี้แปลกอยู่อย่างหนึ่ง
ถ้าเรามีความรู้พอ ทุกอย่างทุกคนจะกลัวเราหมด ยอมเราหมด
แต่ถ้าเรามีความรู้ไม่พอ เราก็กลัวเขาตัวอย่าง เช่น
ถ้าเรามีความรู้ความสามารถพอตัว โจรก็ไม่กล้ามายุ่งกับเรา
แต่ถ้าเรามีความรู้ความสามารถทางด้านป้องกันตัวไม่พอ โจรก็จะรังแกเรา

ถ้าเรายังไม่มีความรู้เรื่องธาตุ เมื่อมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ก็ดูว่าเป็นของแปลกไปหมด
แต่ถ้าเมื่อไรเราเข้าใจเรื่องธาตุอย่างแท้จริงโลกแล้ว
สิ่งต่าง ๆ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ในโลกนี้ไม่มีอะไรแปลกเลย
ตัวอย่าง เช่น
พระอรหันต์ ธาตุในตัวของท่านบริสุทธิ์
เมื่อท่านปรารถนากำหนดอำนาจจิตทำให้กายของท่านเบาเท่ากับใจท่านก็ทำได้

ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า
พระองค์สามารถอธิษฐานให้กายของพระองค์เบาเท่ากับใจได้
เมื่อธาตุบริสุทธิ์แล้ว จะอธิษฐาน หรือจะนึกอย่างไร ย่อมเป็นไปได้ทั้งสิ้น

คำว่า เป็นไปไม่ได้
ตัดออกไปจากความคิดได้เลย
ทุกอย่างเป็นไปได้หมด

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอธิษฐานให้ธาตุทั้งห้า ในพระวรกายเบาเท่ากับพระวิญญาณธาตุแล้ว
พระองค์ก็ทรงเหาะไปไหน ๆ ตามพระทัยปรารถนา

ในยุคนี้พอพูดถึงเรื่องเหาะ หลาย ๆ คนอาจจะไม่เชื่อ
อาตมาเคยเห็นมาหรือ
ไม่เคย
แต่เหตุที่เชื่อก็เพราะว่า เมื่อก่อนบวชอาตมามีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งเป็นฆราวาส
ท่านฝึกสมาธิมามาก ธาตุในตัวของท่านจึงบริสุทธิ์ขึ้นมากพอสมควร
ท่านเดินบนน้ำได้
ท่านเคยเดินข้ามคลองให้คนนับร้อยดู แต่เดินไปได้เพียงครึ่งคลองก็ตกตูม
ท่านก็หัวเราะหึ ๆ บอกว่าคนดูกันมาก ใจคออดวอกแวกไม่ได้
แต่เวลาอยู่ในป่า บึงขนาดใหญ่ ๆ ท่านเดินข้ามได้สบาย
การเดินแสดงให้คนมาก ๆ ดู อดนึกกระหยิ่มในใจไม่ได้ว่า
ตัวเองเก่ง
พอนึกว่าตัวเก่งธาตุในตัวจะหนักขึ้นมาทันที จึงตกตูมลงไป

จึงพออนุโลมได้ว่าเมื่อมีคนเดินบนน้ำได้
ก็น่าจะมีคนเหาะได้
เพราะฉะนั้นพระไตรปิฎกคงจะไม่โกหกเรา เพียงแต่ว่าเรายังทำกันไม่ได้ต่างหาก

เรื่องธาตุในอีกแง่มุมหนึ่ง

มีอยู่วันหนึ่ง ญาติโยมนำดอกไม้ไปถวายหลวงพ่อธัมมชโย ที่สำนักงานกัลยาณมิตร ( Dd : สมก. บางเขน )
หลวงพ่อท่านมองดูดอกไม้ต่าง ๆ ซึ่งมีดอกบัว ดอกกุหลาบ จำปี จำปา กล้วยไม้
พวงมาลัยดอกมะลิและดอกมะลิเรียงอยู่ในพาน
หลวงพ่อท่านหยิบดอกบัวกับดอกมะลิขึ้นมาพิจารณาแล้วกล่าวว่า

"ความจริงดอกมะลิกับดอกบัวนี่คล้ายกันมากนะ มีรูปร่างคล้ายหัวใจคนด้วยกันทั้งคู่
แต่ขนาดผิดกันมาก
ดอกมะลิแค่ปลายนิ้วก้อย แต่ดอกบัวโตเท่ากำปั้น"

ท่านเปรียบเทียบกันแล้วก็กล่าวต่อไปว่า
"ในดอกมะลิมีส่วนประกอบของธาตุอยู่ชนิดหนึ่งในธาตุทั้ง 5 ของมัน ที่ทำให้มันหอม หอมกว่าดอกบัว
ในดอกบัวก็มีธาตุทั้ง
5คล้าย ๆ ดอกมะลิ
แต่เรายังมีความรู้เรื่องธาตุไม่พอ ถ้าเรามีความรู้พอเราก็สามารถ นำดอกบัวให้มีกลิ่นหอม
เหมือนดอกมะลิได้
และในขณะเดียวกันเราก็สามารถทำดอกมะลิเล็ก ๆ ให้โตเท่ากับดอกบัวได้ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่
ทำได้
ที่ยังไม่ได้ทำเพราะยังมีความรู้เรื่องธาตุกันไม่พอ

แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งความรู้เราถึงขั้น ก็จะทำดอกมะลิให้โต
เท่าดอกบัว หรือทำดอกบัวให้หอมเหมือนดอกมะลิได้"

ครั้นแล้วท่านก็หยิบดอกจำปีกับจำปามาเปรียบเทียบกัน แล้วกล่าวว่า

"
ดอกจำปีกับจำปานี่รูปร่างเหมือนกัน กลิ่นก็ใกล้กัน แต่สีต่างกัน ขนาดต่างกัน
ถ้าเรามีความรู้เรื่องธาตุพอ
เราก็สามารถทำดอกจำปีให้โตเท่ากับดอกจำปาได้ เอากลิ่นดอกไม้ทั้งสองชนิดมารวมกัน
เพื่อให้หอมยิ่งขึ้น
ก็ย่อมทำได้"
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#15 แก้วใสเย็น

แก้วใสเย็น
  • Members
  • 234 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 August 2009 - 07:38 PM

กราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ
อิอิ ยังไม่ได้อ่านหรอกนะคะ ยาวมากๆ
พี่นี่เยี่ยมจริงๆ เลยนะคะ
สาธุ ค่ะ

เกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญ สร้างบารมี


#16 ตะกร้าอีกใบ

ตะกร้าอีกใบ
  • Members
  • 1297 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 August 2009 - 09:28 PM

นับว่าเป็นเรื่องใหม่ที่อ่านแล้วกระจ่างแก่ใจมากครับ
มีหลายเรื่องที่ผมไม่เคยรู้ ไม่เคยทราบ แต่บัดนี้ได้รับทราบจากกระทู้ดีๆนี้ขอขอบคุณพี่ นักเรียนอนุบาล Dd2683 ด้วยนะครับ

แต่ผมก็ยังอ่านไม่จบ หากว่าผมมีข้อสงสัยจะขอรบกวนถามพี่นักเรียนอนุบาล Dd2683 นะครับ

ขอกราบอนุโมทนาบุญนะครับ
สาธุ happy.gif omg_smile.gif laugh.gif biggrin.gif smile.gif dont_tell_anyone_smile.gif
อย่าขาดการปฏิบัติธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว
เพราะขาดแม้เพียงวันเดียว ใจเราจะหยาบ ทำให้ผังวิตกกังวลได้ช่อง

7 ส.ค. 48



#17 บ่าวอุบล

บ่าวอุบล
  • Members
  • 632 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 August 2009 - 07:50 PM

พี่งทราบว่าท่านเจ้าของกระทู้เป็นพระ ก็ขอกราบขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาบุญสำหรับธรรมทานที่ทรงคุณค่ามากๆ ครับ

#18 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 17 August 2009 - 08:58 PM

อนุโมทนา ทุกท่าน ที่แวะมาศึกษาธรรมะ ว่าด้วยเรื่อง ธาตุ นะครับ
สาธุ

ตอบ นรอ. ตะกร้าอีกใบ@ในวันใหม่
ผมเองก็ยังเป็น นักเรียนอนุบาล ที่ศึกษาธรรมะศาสตร์ อยู่เช่นกันครับ
ยังไม่สามารถตอบคำถามแบบเจาะลึก
โดยเฉพาะเรื่องสามัญญผลของการปฏิบัติธรม สมถะ วิปัสสนา กรรมฐาน

หากท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมะ ควรถามเพื่อนกัลยาณมิตรทุก ๆ ท่านดีกว่าครับ
โดยถามในกระทู้นั้น ๆ หรืออาจแตกประเด็น ตั้งกระทู้ใหม่ ที่กระดานสนทนาธรรม webbord ก็ได้ครับ

อนุโมทนา การสนทนาธรรม ล่วงหน้าครับ

ตอบ นรอ. บ่าวอุบล
ตอนนี้ผมยังอยู่ในฆราวาส ครับ

ทราบมาจากไหนหรือครับ ว่า
เจ้าของกระทู้ ( ผม )เป็นพระ
unsure.gif
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#19 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 17 August 2009 - 09:28 PM

ปกิณกะ เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องธาตุในอีกแง่มุมหนึ่ง

ความรู้เรื่องธาตุนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกรูปแบบ เช่น
แพทย์นำเรื่องธาตุไปใช้ นักการเกษตรก็นำเรื่องธาตุไปใช้ นักวิทยาศาสตร์ก็นำเรื่องธาตุไปใช้
นักอุทกศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักอุตุนิยมวิทยา
ล้วนสามารถนำความรู้เรื่องธาตุไปใช้ด้วยกันทั้งสิ้น และนักการศาสนายิ่งต้องใช้มากขึ้น

แต่ก็มีข้อแม้อยู่ว่า วิญญาณธาตุ คือ ใจของเรา ต้องมีความบริสุทธิ์
ถ้าความบริสุทธิ์ใจไม่พอ จะค้นคว้าความรู้ ความเร้นลับในสิ่งต่าง ๆ ไม่พบ จุดสำคัญอยู่ตรงนี้เอง

ในเรื่องยาต่าง ๆ ก็เหมือนกัน อยากจะฝากท่านที่เป็นแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลไว้ด้วย
ความจริงหลวงพ่อเองก็ไม่ใช่หมอแต่เนื่องจากเกิดในชนบท
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่มียามากเท่ากับปัจจุบัน ชาวบ้านจึงต้องอาศัยยาแผนโบราณ
อาตมาเองมีลุงเป็นแพทย์แผนโบราณ จึงไปช่วยโขลกยาบ้างขุดรากไม้ทำยาบ้าง
ทำมาก ๆ เข้าก็ซึมซาบเข้าไปโดยอัตโนมัติ

และได้ข้อคิดมาอย่างหนึ่งว่า การรักษาโรคของไทยหรือของจีนแต่โบราณ
แม้เขาไม่เคยเห็นว่าตัวเชื้อโรคเป็นอย่างไร แต่เขาดูอาการของโรคในลักษณะที่ว่าธาตุใดกำเริบ
ธาตุใดหย่อน ธาตุใดพิการแล้วรักษาตามอาการของธาตุที่วิปริตแปรปรวนไป เขาก็รักษาให้โรคหายขาดได้

แม้ในปัจจุบันหมอแผนโบราณก็ยังรักษาโรคในลักษณะนี้และเป็นที่ยอมรับ อย่างกว้างขวาง
จึงเห็นว่า ปู่ ย่าตา ยาย ของเราได้นำความรู้เรื่องธาตุมาใช้ในด้านการแพทย์ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว



อีกครั้งหนึ่ง
สมัยที่อาตมายังเป็นนิสิตอยู่ ได้มีโอกาสดูการแสดงของท่านหนึ่งซึ่งเป็นฆราวาส
ท่านได้แสดงต่อหน้าท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุแห่งวัดสวนโมกฯอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ด้วยการให้คนเด็ดดอกไม้หนึ่งดอกวางบนมือท่านพุทธทาส

ถ้าจำไม่ผิดคิดว่าเป็นดอกโสน
แล้วเอาผ้าเช็ดหน้าของท่านอาจารย์พุทธทาสคลุมดอกโสนนั้น

สักพักหนึ่ง เปิดผ้าออกมา ปรากฎว่า
ดอกโสนนั้นครึ่งหนึ่งยังเป็นดอกโสน แต่อีกครึ่งหนึ่งเป็นแมลงภู่

ครั้นเอาผ้าปิดใหม่ รออยู่สักครู่หนึ่ง เมื่อเปิดผ้าออกมา กลายเป็นแมลงภู่เต็มตัว ไม่มีดอกโสนอีกแล้ว
จึงจับแมลงภู่ตัวนั้นใส่ขวดเปล่า แล้วปิดจุกขวดไว้

พอตื่นเช้าขึ้นมา จุกขวดก็หลุดออก เจ้าแมลงภู่ก็เกาะอยู่ที่ปากขวดนั่นเอง
เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งมีชีวิต จึงปล่อยแมลงภู่ตัวนั้นไปเสีย

เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้อาตมาทึ่งมาก เพราะขณะนั้นยังไม่เคยมีความรู้เรื่องธาตุในพระพุทธศาสนา
แต่ถ้ารู้เรื่องธาตุแล้วจะเห็นว่าแท้จริงแล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์อะไรเลย
ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูด ไม่ได้มีเจตนาจะให้พวกเราสนใจในเรื่องของปาฏิหาริย์เลย
เพียงแต่ต้องการจะให้พวกเราได้คิดกันว่า

1. สังขารร่างกายเรานี้ทั้งเนื้อทั้งตัวก็มีแต่ธาตุ เพราะธาตุในตัวของเราบริสุทธิ์พอสมควรจึงได้เกิดเป็นคน
ถ้าปล่อยให้ธาตุในตัวของเราขุ่นมัวลงด้วยการสร้างบาปบ่อย ๆ ก็มีโอกาสจะไปเกิดเป็นเดรัจฉานหรืออาจจะตกนรกได้
ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพื่อไม่ให้ทุกคนประมาทนั่นเอง หมั่นประกอบกุศลกรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

2. ควรมองชีวิตให้เห็นตามความเป็นจริง ทุกอย่างที่เราว่าเรื่องนั้นเป็นไปไม่ได้ เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้
ก็ขอให้เลิกคิดเสีย ทั้งนี้เพราะทุกอย่างในโลกนี้ประกอบด้วยธาตุ
สิ่งที่เป็นไปไม่ได้จะไม่มีขณะใดที่ธาตุมา ประกอบกันได้สัดส่วนกับของสิ่งใด ก็จะเกิดของสิ่งนั้นขึ้นมาได้ทันที
ดังเรื่องดอกโสนกลายเป็นแมลงภู่ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้
แต่อาตมาก็ได้ประจักษ์แก่สายตาตนเองมาแล้ว
และเมื่อเรียนเรื่องธาตุแล้วก็ต้องร้องอ๋อ ว่าเป็นไปได้



ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#20 บ่าวอุบล

บ่าวอุบล
  • Members
  • 632 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 August 2009 - 02:55 PM

CODE
แต่เหตุที่เชื่อก็เพราะว่า เมื่อก่อนบวชอาตมามีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งเป็นฆราวาส
ท่านฝึกสมาธิมามาก ธาตุในตัวของท่านจึงบริสุทธิ์ขึ้นมากพอสมควร


อ่านประโยคนี้เลยเข้าใจไปเองว่าเป็นพระ เพราะใช้คำว่าอาตมา น่ะครับ happy.gif

#21 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 18 August 2009 - 05:38 PM

ในกระทู้นี้เนื้อหาสาระธรรมทั้งหมด
นำมาจากปาฐกถาธรรมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทัตตชีโว เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๒๙ ครับ

ผมเข้าใจว่า
ทีมวิชาการ ของอาศรมบัณฑิต ยังคงใช้สำนวนภาษาพูดของท่านไว้ ผสมผสานภาษาเขียนตามหลักภาษาไทย

ข้อสังเกตและสันนิษฐานส่วนตัว คือ
ครั้งที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทัตตชีโว เทศนาในยุคก่อนนี้
ท่านใช้คำสรรพนาม แทนตัวท่านเองว่า " อาตมา "
คงเพราะไม่ได้เทศนาให้ภิกษุ สามเณร แต่เทศนาให้ฆราวาส ญาติโยมฟัง ซึ่งนับว่ามีคนที่ยังไม่คุ้นเคยมากพอสมควร
ที่สำคัญท่านยังหนุ่มอยู่มาก ๆ happy.gif
จึงเลือกใช้คำสรรพนาม แทนตัวท่านเองว่า " อาตมา " ดังกล่าวครับ

ส่วนยุคหลังพ.ศ. ๒๕๓๕ ท่านเข้าสู่พระมหาเถระ พรรษากาลในสมณะเพศกว่า ๒๐ พรรษาแล้ว
การใช้แทนตัวท่านเองว่า " หลวงพ่อ "
ก็คงด้วยวัยที่สูงขึ้น และญาติโยม ที่ฟังธรรม ส่วนมากคุ้นเคยกันอยู่แล้ว
ดังนั้นการใช้แทนตัวท่านเองว่า " หลวงพ่อ "
จึงนับว่าเหมาะสมดีครับ

แม้การใช้สรรพนามแทนตัวท่าน อาจต่างกันในแต่ละยุคสมัย
แต่ที่ตรงและเสมอต้น เสมอปลาย
ที่ผมรับรู้ คือ

ควา่มกรุณา เมตตาจิต ในการแสดงธรรมของท่าน
ที่เป็นไปเพื่อความเจริญในกุศลธรรมของผู้ฟัง
ที่มุ่งเน้นเพื่อ ขัดเกลานิสัย ความประพฤติที่ย่อหย่อนในกุศลกรรมและกุศลธรรมของเหล่าศิษย์
ว่าโดยย่อ คือ มุ่งเน้นเพื่อ การละชั่ว ทำความดี กลั่นใจให้ใส


เสียงดัง ฟังชัด clear cut ชัดเจน
แต่ละถ้อยธรรมและถ้อยคำ ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทัตตชีโว
ฟังแล้วเข้าถึงจิต ถึงใจ เข้าไปอยู่ในใจได้นาน
เหมือนการรักษาโรคแบบผ่าตัดสด
จึงมีหลายท่าน / รูป อาจมีอาการข้างเคียงบ้าง เช่น
ใจมันไหว ๆ วูบ ๆ อาย ๆ เสียหน้า รู้สึกโดนตำหนิแรง ๆ สูญเสียความมั่นใจในชุมชน หรือรู้สึกขนาดเสียอนาคตเอาได้

ที่จริงถ้าน้อมรับฟังและไตร่ตรองตามคำของท่าน ด้วยความเคารพ
และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ตามคำสั่งสอนของท่าน
อนาคตที่เสีย ๆ นั่นแหละจะหมดไป
มีแต่อนาคตที่ดี เจริญงอกงามในกุศลกรรม กุศลธรรม และการสร้างบารมี

ที่บอกให้ฟังมานี้ ผมยังไม่มีวาสนาให้ท่าน ชี้ขุมทรัพย์ให้หรอกครับ happy.gif
เพียงแค่เคยอยู่ในเหตุการณ์บ้าง เคยฟังเทศน์ เคยอ่านพระธรรมเทศนาของท่านบ้าง

ขออนุโมทนา ท่านที่โชคดีมีวาสนา ให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทัตตชีโว ชี้ขุมทรัพย์
และได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ตามคำสั่งสอนของท่าน
สู่ความเจริญในกุศลกรรม กุศลธรรมและการสร้างบารมี ด้วยครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#22 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 August 2009 - 01:51 AM

ขอร่วมอนุโมทนาบุญในธรรมทานนี้ด้วยนะครับ
สาธุ สาธุ สาธุ


#23 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 24 August 2009 - 08:51 PM

เสริมเรื่อง ธาตุ

ธาตุ ๑๘

[๔] การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่า ธาตุ มีเท่าไร ธรรมที่ทรงตัวอยู่มี
๑๘ คือ
๑. จักขุธาตุ
๒. รูปธาตุ
๓. จักขุวิญญาณธาตุ
๔. โสตธาตุ
๕. สัททธาตุ
๖. โสตวิญญาณธาตุ
๗. ฆานธาตุ
๘. คันธธาตุ
๙. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๐. ชิวหาธาตุ
๑๑. รสธาตุ
๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๓. กายธาตุ
๑๔. โผฏฐัพพธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ
๑๖. มโนธาตุ
๑๗. ธัมมธาตุ
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

การบัญญัติธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่า ธาตุ ก็มี ๑๘ ตามจำนวนธรรมเหล่านี้

ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓
http://www.84000.org...h...2303&Z=2324


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
[๑๒๑] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ
๑. สุขธาตุ
๒. ทุกขธาตุ
๓. โสมนัสสธาตุ
๔. โทมนัสสธาตุ
๕. อุเปกขาธาตุ
๖. อวิชชาธาตุ
ในธาตุ ๖ นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน
ความสบายกาย ความสุขกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข เกิด
แต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขธาตุ

ทุกขธาตุ เป็นไฉน
ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
เกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส นี้
เรียกว่า ทุกขธาตุ

โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน
ความสบายใจ ความสุขใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่
เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสธาตุ

โทมนัสสธาตุ เป็นไฉน
ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่เจโตสัมผัส
นี้เรียกว่า โทมนัสสธาตุ

อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน
ความสบายใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์
ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส
นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ

อวิชชาธาตุ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ๑- ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ
นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖

http://84000.org/tip...B...2172&Z=2203

ธาตุสังยุต ประมวลเรื่องราวของธาตุ๑
สารัตถะแห่งพระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒
http://www.prasut.mb...-main-info.html

วิธีพิจารณาธาตุ ๖
ภิกษุควรจะพิจารณาธาตุ ๖ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย อากาศ และวิญญาณอย่างไร ?
ธาตุวิภังคสูตร อุ. ม. (๖๘๔-๖๘๙)
ตบ. ๑๔ : ๔๓๗-๔๔๐ ตท. ๑๔ : ๓๗๓-๓๗๕
ตอ. MLS. III : ๒๘๗-๒๘๙
http://www.84000.org/true/080.html

ธาตุธรรม
พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี
http://main.dou.us/v...s_id=187&page=4

ธรรมนิยามสูตร ๓
พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี
http://www.kalyanami...Itemid=99999999
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#24 [B]ondGaI[D]

[B]ondGaI[D]
  • Members
  • 20 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 August 2009 - 11:58 PM

อนุโมทนาบุญด้วยครับผม ยาวมากๆ

แต่จะพยายามอ่านให้จบครับ

ขอบคุณมากๆเลยครับ

#25 Poti

Poti
  • Members
  • 254 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 September 2009 - 12:17 PM

กราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ครับ สาธุ

#26 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 03 July 2010 - 02:11 AM

สาธุค่ะ ยาวมากๆ
พอดีช่วงนี้สนใจเรื่องธาตุ ไปเปิดอภิธรรมปิฎก ก็งงเล็กน้อย เหมือนเปิดโลกใหม่ไปเลย เมื่อเจอชื่อธาตุในพระพุทธศาสนา

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#27 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 03 July 2010 - 02:45 AM

ดีจริง ๆ

#28 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 06 July 2010 - 09:03 AM

สาธุ ๆ ๆ กราบอนุโมทนาบุญกับกัลยาณมิตร Dd2683ด้วยค่ะ

วันนี้ได้กลับมาทบทวนหัวข้อธรรมเรื่องธาตุอย่างช้า ๆ รู้สึกเหมือนว่าได้

นั่งฟังคุณครูไม่เล็กสอนเลยค่ะ อิ่มอกอิ่มใจ หายข้อสงสัยไปมากมายโดย

เฉพาะเรื่อง "เห็น จำ คิด รู้" นี่ clear เลย และเรื่องดวงปฐมมรรคกับธาตุธรรมต่าง ๆ


น่าจะย้ายกระทู้นี้ไปอยู่ในหมวดหมู่สมาธินะคะ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวโยงกันอย่างมากมาย

ธาตุจะดีต้องสมาธิดี สมาธิจะดีธาตุในร่างกายพื้นฐานต้องดีด้วย ฯลฯ

#29 @--แสงตะวัน--@

@--แสงตะวัน--@
  • Members
  • 723 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand

โพสต์เมื่อ 15 July 2010 - 10:05 PM

ละเอียดมากๆ ครับ ... สาธุๆ กับข้อธรรมะดีๆ นะครับ :-)

แนบไฟล์  PICT0169.JPG   801.45K   4 ดาวน์โหลด


"ชีวิตนี้อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"

#30 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 23 September 2010 - 10:48 AM

ขออนุโมทนากับการให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทั้งปวงด้วยนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ