ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การนั่งสมาธิ (meditation) จัดเป็นการสะกดจิตตนเอง (Self Hypnotism) วิธีหนื่งหรือไม่?


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 17 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dr. Prasert

Dr. Prasert
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 February 2006 - 11:04 AM

มีหลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่าการสะกดจิตร คือทำให้จิตใจว่างเปล่าและก็สู่ภาวะจิตรซื่งเราสามารถเรียกว่า ระดับไม่รับรู้สภาวะสิ่งแวดล้อมอย่างไม่สมบูรณ์ (Semi unconcious level ) ส่วนการนั่งสมาธิ ก็อยู่ในระดับ ไม่รับรู้สภาวะสิ่งแวดล้อมอย่างไม่สมบูรณ์ (Semi unconcious level ) เช่นเดียวกัน ส่วนใครที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ช่วยอธิบายให้หน่อย เพราะผมก็ไม่เคยนั่งสมาธิจนถืงจุดที่เป็น ระดับไม่รับรู้สภาวะสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ (unconcious level ) หรือจุดที่เรียกว่า การนั่งสมาธิอย่างสมบุรณ์อะไรทำนองนั้น หรือทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวกัน

#2 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 February 2006 - 11:30 AM

ยืนยันครับ...เพราะมีช่วงหนึ่งเพราะผมเคยนั่งได้ในระดับที่คุณเรียกว่าร่างกาย ไม่รับรู้สภาวะแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ แต่ความรู้สึกด้านจิตใจคือ ใจรวมเป็นหนึ่ง สงบ นิ่ง แน่น มีสติ ปลอดโปร่ง โล่งตลอดเวลาครับ

คุณเจ้าของกระทู้ต้องลองนั่งสมาธิ โดยหาจุดที่ทำความรู้สึกสบายที่สุด คือ ไม่มีทั้งความรู้สึกเครียด และไม่มีทั้งความรู้สึกเคลิ้ม แม้แต่น้อย ถ้าหาจุดตรงนั้นเจอก็ประคองความรู้สึกของใจ อย่าให้ใจกระเพื่อมไปเรื่อยๆ คุณก็จะเข้าใจสภาวะแห่งจิตที่คุณไม่เคยเจอด้วยตัวคุณเอง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมบอกได้เลยว่า การหาจุดแห่งความพอดีในการวางใจที่ผมว่า มันคงไม่ง่ายนัก บางคนหาเจอเร็ว บางคนหาเจอช้า บางคนหาเจอช้ามากๆ ต้องค่อยๆ สังเกตใจของตัวเองไปเรื่อยๆ ในการนั่งสมาธิแต่ละครั้ง เพราะแต่ละคนก็มีความพอดีของใจแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่จะทำได้ ถ้าไม่ท้อซะก่อน ทำได้ครับ...ขอยืนยัน เดินยืน นั่งยันและนอนยืน ครับผม
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#3 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 23 February 2006 - 11:53 AM

การนั่งสมาธิ ในโลกนี้แบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ๆ คือ

๑. สัมมาสมาธิ คือสมาธิที่ฝึกแล้วจิตอยู่กับตัวเองอย่างสมบรณ์ ๑๐๐% เป็นการดึงจิตที่ซัดซ่ายไปนอกตัวให้กลับมาอยู่ในตัวเองอย่างตั้งมั่น เพราะปกติของมนุษย์โดยทั่วไปจิตจะสัดส่ายกระจายไม่หยุ่ดนิ่ง ไม่รวมเป็นหนึ่งตั้งมั่น สัมมาสมาธิจะมีในพระพะทธศาสนาเท่านั้น

จิตของผู้ที่ฝึกหัดดีแล้วจะมีสติมั่นคงมาก เหมือนแมงมุมที่อยู่ตรงกลางข่ายใย มีอะไรเกิดขึ้นเจ้าแมงมุมจะทราบได้หมด เพราะอยู่ตรงกลาง

๒. มิจฉาสมาธิ คือสมาธิที่ฝึกแล้วจิตถูกส่งออกไปนอกตัว ไม่เอามาไว้ในตัว ดังนั้นเมื่อจิตไม่อยู่กับตัว ก็จะเกิดอันตรายได้ง่าย สมาธิแบบนี้ไม่ใช่สมาธิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นของพวกนอกพระพุทธศาสนา

ส่วนการสะกดจิต ทำให้ไม่มีสติ ไม่รู้สึกตัว ดั้งนั้นแค่การเริ่มต้นและปลายทางก็ต่างกันแล้ว

#4 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 23 February 2006 - 12:08 PM

ปกติจิตของมนุษย์ฟุ้งซ่านไม่สงบ ไม่ตั้งมั่น หวั่นไหวไปกับสิ่งแวดล้อมต่างรอบตัวได้ง่าย การฝึกสมาธิก็เพื่อฝึกให้จิตมี สติ สงบ ระงับ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งต่างๆ

การนั่งสมาธิ แม้จะฝึกให้จิตว่างเปล่าจากความคิดเครื่องกังวลต่างๆก็จริง แต่ต้องมีจุดตั้งมั่นแห่งจิต ไม่ใช่ปล่อยให้จิตล่องลอยโดยไม่มีจุดหมาย ซึ่งหากฝึกอย่างถูกต้องจิตต้องว่างเปล่านิวรณ์ทุกอย่าง แต่จิตก็ยังต้องมีจุดตั้งมั่นภายในตัวเพียงจุดเดียว เพือ่สติจะได้กลับมาสมบูรณ์

ซึ่งจุดที่จิตตั้งมั่นได้ดีและถูกต้อง คือต้องอยู่กับตัว อยู่ภายในตัว อยู่ณ.ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดตลอดเวลา จะทำให้มีสติ และความเป็นเป็นตัวของตัวเองอย่างสมบูรณ์ ไม่ตกอยู่ภายไต้การควบคุมของสิ่งใดๆเลย


ส่วนการสะกดจิต จิตจะไม่เป็นเป็นตัวของตัวเอง แต่ยังตกอยู่ภายใต้การกด การควบคุมจากสิ่งอื่น และไม่มีสติเป็นของตนเอง คนอื่น สิ่งอื่นควบคุมได้

#5 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 23 February 2006 - 02:26 PM

ไม่ทราบว่าใครเป็นคนนิยาม "ส่วนการนั่งสมาธิ ก็อยู่ในระดับ ไม่รับรู้สภาวะสิ่งแวดล้อมอย่างไม่สมบูรณ์ (Semi unconcious level )" คะ

ฟังดูแปลกๆ ค่ะ พระพุทธศาสนาสอนว่า การเจริญสมาธิ คือการเจริญปัญญา เจริญสติต่างหาก ไม่ใช่ขาดสติ


#6 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 February 2006 - 08:01 PM

การสะกดจิต คือ การส่งคำสั่งหรือคำพูดให้ลงไปในจิตใต้สำนึก

การทำสมาธิ คือ การฝึกจิตให้สงบจากความคิด ว่างจากคำสั่งต่างๆ ที่จะลงไปในจิตใต้สำนึก

ถ้าขาดกำลังใจ ควรหมั่นพูดให้กำลังใจตัวเองหรือสะกดจิตตนเองบ่อยๆ ครับ

แต่ถ้าสมาธิดีแล้วกำลังใจจะเกิดมีโดยสมบูรณ์ไม่ต้องพูดให้กำลังใจตนเองครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#7 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 23 February 2006 - 09:47 PM

QUOTE
ไม่ทราบว่าใครเป็นคนนิยาม "ส่วนการนั่งสมาธิ ก็อยู่ในระดับ ไม่รับรู้สภาวะสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ (Semi unconcious level)" คะ

ฟังดูแปลกๆ ค่ะ พระพุทธศาสนาสอนว่า การเจริญสมาธิ คือ การเจริญปัญญา เจริญสติต่างหาก ไม่ใช่ขาดสติ

"ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติ" => ขอถามสักนิดว่า คุณเคยศึกษาพระพุทธศาสนาในส่วนที่เป็นภาคปฏิบัติ โดยการลงมือทำด้วยตนเองแล้วหรือยังครับ? => เพราะการรู้โดยอ่านแต่เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่ทำให้หลุดพ้นนะครับ

เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ผมขอให้คุณเก็บเอาคำพูดของคุณ MiraclE...DrEaM เอาไว้ในใจนะครับ (อย่าพึ่งเชื่อ) แล้วลองสละเวลาไปปฏิบัติกัมมัฏฐานดูสักอาทิตย์หนึ่ง (อย่างจริงจังและถูกวิธี) เสียก่อน ส่วนผลที่ได้ที่เห็นจะเป็นเช่นไรนั้น ค่อยนำมาเปรียบเทียบกับคำพูดของคุณ MiraclE...DrEaM ดูว่า ตรงและเป็นจริงตามนั้นหรือไม่? จะได้เป็นการพิสูจน์ไปในตัวด้วยปัญญารู้แจ้งที่เกิดขึ้นภายในตน (ดีกว่าเชื่อ/ยึดถือตามตำรา หรือทึกทักเอาว่า น่าจะเป็นเช่นนั้น)

#8 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 24 February 2006 - 10:56 AM

สำหรับสมาธิที่ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกเลยนั้นมีอยู่ครับ แต่จัดเป็นสมาธิที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ในทางพระพุทธศาสนา คือ ไม่อาจหลุดพ้นเข้าถึงธรรมได้

ผู้ฝึกสมาธิแบบไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกได้สมบูรณ์ที่สุด ร่างกายจะนิ่งแข็ง (เพราะไม่รับรู้อารมณ์แล้ว)หรือ ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สมาธิตัวแข็ง เหมือนหุ่นที่ยืนแข็งอยู่
เราจะจับแขนขาหุ่นขยับไปมา ก็สามารถขยับได้ไปตามนั้น พอขยับเสร็จหุ่นก็จะนิ่งเหมือนเดิม

ผู้ที่ฝึกสมาธิแบบนี้ เมื่อละโลกแล้ว จะไปเกิดเป็นพรหมชั้น อสัญญีสัตตา (เพิ่งเรียนวิชชาปรโลกวิทยาใน DOU มา และครูไม่ใหญ่เคยพูดไว้) หรือที่เรียกว่า พรหมลูกฟัก
โดยตายท่าไหน ไปเป็นพรหมก็แข็งอยู่ในท่านั้น เช่น ยืนตาย ไปเป็นพรหมก็ยืนนิ่ง นั่งตาย ไปเป็นพรหมก็นั่งนิ่ง

อย่างไรก็ดี ไปเป็นพรหม ก็ถือว่า เป็นสุคติ พรหมจะมีความสุขจากสมาธิ ไม่ต้องกินอาหาร มีปีติจากสมาธิจึงอิ่มตลอดเวลา แต่สำหรับพรหมชั้นนี้ถือเป็นอาภัพสัตว์ คือ สัตว์ที่อาภัพ เพราะไม่สามารถบรรลุนิพพานในชาตินั้นได้ เนื่องจากไม่รับรู้อารมณ์ใดๆ แล้ว ต้องเป็นอย่างนี้ไปจนกว่าจะหมดบุญ จะว่าดีก็ดี จะว่าน่าสงสารก็น่าสงสารเหมือนกัน
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#9 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 24 February 2006 - 02:32 PM

อยากทราบว่า คำว่า "ไม่รับรู้สภาวะแวดล้อมอย่างสมบูรณ์" เหมือนหรือต่างกับคำว่า "มีสติ" ?

เพื่อจะได้ชี้่แจงเจ้าของกระทู้ได้อย่างชัดเจน และไม่เป็นเหตุแห่งการทะเลาะเบาะแว้ง เพราะในคคห. 5 นั้นเข้าใจว่า สองคำนี้ตรงข้ามกัน เพราะถ้ามีสติ ก็น่าจะรับรู้สภาวะแวดล้อมได้ดี จากประสบการณ์ส่วนตัว เวลาที่ใจนิ่ง ปราศจากนิวรณ์ ก็ยังรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ค่ะ

คคห. 5


#10 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 February 2006 - 03:49 PM

ฌานที่ 1 สติเกี่ยวเนื่องด้วยกายอยู่เต็มอัตราศึก แต่ใจไม่หงุดหงิดในการบริกรรมภาวนา

ฌานที่ 2 สติและความรู้ตัวภายในเริ่มเพิ่มขึ้นเพราะเริ่มตัดกระแสความยึดมั่นถือมั่นในสังขารร่างกายว่าเป็นตัวเป็นตนหรืออัตตาลงได้ จิตปล่อยวาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เริ่มเข้าใกล้ใจ มีอาการสัมผัสทางกายเบาบางลง มีความปิติ ผ่อนคลายเบาสบายเกิดขึ้น

ฌานที่ 3 สติและความรู้ตัวภายในเริ่มชัดเจนขึ้น ความรู้สึกด้วยกายเริ่มแผ่วเบาเหมือนจะไม่มีแขนขา มีความสุขเกิดขึ้นในจิต

ฌานที่ 4 สติและความรู้ตัวภายในมีกำลังแก่กล้าที่สุด ตัดอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายโดยสมบูรณ์ แม้หูก็ไม่ได้ยิน ยุงกัดก็ไม่รู้สึก คงเหลือแต่สติและจิตรู้อยู่ ณ ภายในโดยบริบูรณ์ เป็นเอกัคตารมณ์ ไม่ยินดียินร้ายเป็นอารมณ์เดียวแนบแน่น

พรหมลูกฟักนั้น แตกต่างจากการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาในฌาน 4 ตรงที่ พรหมลูกฟักตัด เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กำหนดกายไม่มี จิตไม่มี สติจึงไม่มี แม้จิตรู้ภายในก็ดับว่างหมดไม่มี และก็เข้าใจว่าอารมณ์นี้คือ นิพพาน พอตายไปด้วยสมาธิระดับนี้จึงไปเกิดเป็นพรหมลูกฟักครับ หลวงปู่เทสน์ท่านเรียกสมาธิที่ไม่รู้ตัวเลยว่า นั่งสมาธิหลับครับ

วิธีสังเกตว่าตนเองเป็นผู้มีสติจริงหรือไม่คือ?
พระอริยะเจ้าท่านจะไม่นอนหลับขาดสติครับ เป็นยังงัยครับ? มีระบุไว้ในพระวินัยปิฏก ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญภิกษุผู้นอนขาดสติ คุณลองหาอ่านดูก็ได้ครับ กล่าวคือ พระอริยเวลาท่านนอนท่านจะมีสติ ณ ภายในสมบูรณ์มีเพียง สติกับจิตรู้ล้วนๆ จิตหรือความยึดถือในร่างกายหรือเบญจขันธ์ดับไปแล้ว นั่นเองครับ

ถามว่าการฝึกสติปัฎฐานมีสติพิจารณารู้ตัวภายนอกตลอดเวลา โดยการข้ามขั้นไม่ฝึกสมาธิให้สมบูรณ์สามารถมีสติโดยไม่หลับไม่นอนได้ไหมหละครับ? ถ้าไม่ได้ขอให้รู้ตัวไว้ครับว่าเราฝึกผิดวิธีแล้วครับ ความยึดมั่นถือมั่นว่านี่คือแขนหนอ ขาหนอหายไปหรือไม่ ศีรษะหนอหายไปหรือไม่ ถ้าไม่หายไปแสดงว่าจิตยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์เต็มอัตรา เมื่อจิตไม่ปล่อยวางในเบญจขันธ์อย่างแท้จริงแล้วจะฝึกสติพิจารณาเห็นเกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมได้อย่างไรครับ ? พระอริยะเจ้าหลับไม่ขาดสติเป็นยังงัยลองทบทวนดูอีกทีนะครับ???
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#11 กำเนิดธรรม

กำเนิดธรรม
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 February 2006 - 08:23 PM

-----คำพูดที่ว่า "คงเหลือแต่สติและจิตรู้อยู่ ณ ภายในโดยบริบูรณ์ เป็นเอกัคตารมณ์ ไม่ยินดียินร้ายเป็นอารมณ์เดียวแนบแน่น"ของญาณที่ 4 นั้น
-----ถ้าเป็นพรหมลูกฟัก ก็คือ ไม่คงเหลือสติและจิตรู้ ใช่ไหมครับ

#12 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 February 2006 - 09:02 PM

QUOTE
ถ้าเป็นพรหมลูกฟัก ก็คือ ไม่คงเหลือสติและจิตรู้ ใช่ไหมครับ

ตอบ ไม่ใช่ครับ เวลาคนหลับมีสติหรือป่าวหละครับ และเวลาหลับจิตดับหรือป่าวหละครับ? คำตอบคือ จิตยังมีอยู่แต่พรหมลูกฟักหลับขาดสติจึงไม่มีตัวรู้ชั่วขณะครับ ทำให้คิดไปว่ากายไม่มีจิตไม่มีครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#13 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 25 February 2006 - 10:00 PM

Dr. Prasert doesn-t know what he is talking about
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#14 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 26 February 2006 - 01:40 AM

ขอตอบแบบขยายความคำตอบของพี่หัดฝันกับพี่ xlmen นะครับ "พรหมลูกฟัก" นั้น แต่เดิมทีเดียวในสมัยเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เป็นผู้บำเพ็ญพรตกระทั่งได้บรรลุถึงซึ่งปัญจมฌาน อันมีอารมณ์แห่งองค์ฌานเป็นอุเบกขาและเอกัคตา ซึ่งท่านเหล่านี้ มักมีคำบริกรรมในองค์ฌานว่า "อสญฺญีปิ อสญฺญีปิ" แปลว่า "ขอกูจงอย่ามีสัญญา ขอกูจงอย่ามีสัญญา" ด้วยเหตุนี้ เมื่อดับขันธ์ละอัตภาพจากความเป็นมนุษย์แล้ว จึงได้มาถืออุบัติขั้นเป็นอสัญญีสัตตาพรหม ตามตำราของพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า รูปพรหมชั้นนี้ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ หากอิริยาบถแห่งการได้บรรลุฌานนั้น เป็นไปในลักษณะใด ครั้นตายแล้ว ย่อมมาเสวยผลแห่งฌาน ด้วยอิริยาบถนั้น ดุจเดียวกัน กล่าวคือ หากได้บรรลุในอิริยาบถนั่ง ก็ต้องมาอยู่ในอิริยาบถนั่ง หากได้บรรลุในอิริยาบถนอน ก็ย่อมต้องเสวยผลด้วยอิริยาบถนอน หากได้บรรลุในอิริยาบถยืน ก็ย่อมต้องเสวยผลด้วยอิริยาบถยืน ซึ่งอิริยาบถต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนี้ จะเป็นไปตามระยะเวลาแห่งการเสวยผลทั้งสิ้นนานนับ ๕oo มหากัป ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ประทับนิ่งไม่ไหวติง คล้ายกันกับพระปฏิมากรที่ประดิษฐานในพระอุโบสถครับ

#15 กำเนิดธรรม

กำเนิดธรรม
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 February 2006 - 12:05 PM

-----นิพพาน คือจิตว่างหรือเปล่าครับ ?
-----ถ้าใช่ จะต่างกับพรมลูกฟักอย่างไรครับ เพราะพรหมลูกฟักคือจิตว่างไม่คิดอะไร
-----ผมอาจเหมือนบัวใต้น้ำนะครับ ท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะครับ

#16 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 27 February 2006 - 12:27 AM

QUOTE
-----นิพพาน คือ จิตว่างหรือเปล่าครับ ?
-----ถ้าใช่ จะต่างกับพรมลูกฟักอย่างไรครับ เพราะพรหมลูกฟักคือจิตว่างไม่คิดอะไร
-----ผมอาจเหมือนบัวใต้น้ำนะครับ ท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะครับ

เอาเป็นว่าตอนนี้ ผมขอให้พี่กำเนิดธรรมเก็บข้อสงสัยนี้ไว้ก่อนดีไหมครับ เพราะเกียรติก้องฯ เห็นว่า ไม่มีใครในที่นี้สามารถตอบได้หรอกครับ เนื่องจากเป็นคำถามที่เกินวิสัยของปุถุชนที่ยังปฏิบัติไปไม่ถึงจะตอบได้ คำถามแต่ละคำถามของพี่เป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ แต่ก่อนอื่นพี่ต้องเข้าใจด้วยว่า ความรู้ในทางพระพุทธศาสนานั้น บางอย่างไม่สามารถคาดคะเนด้นเดาด้วยความคิด หรืออาศัยหลักของตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ แต่ความรู้เหล่านั้น สามารถทำให้แจ้งได้ด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างถูกวิธี เพราะพุทธศาสตร์ คือ ศาสตร์แห่งการปฏิบัติ อันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งปวง ทั้งที่เป็นใบไม้ในกำมือและที่เป็นใบไม้ในป่าครับ

#17 laity

laity
  • Members
  • 214 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 March 2006 - 03:58 PM

ศึกษาหาคำตอบได้จาก เทปของหลวงพี่ พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ตาม link ข้างล่างได้เลยครับ ท่านเป็นกัลยารณมิตรท่านแรกของผม

http://www.kalyanami...?Catid=9&PgNo=2

ท่านตอบได้ชัด กระชับ และได้ใจความครับ ผมเคยฟังอยู่ประมาณเกือบสิบรอบ ได้ความรู้ใหม่ ๆ ทุกครั้งที่ฟัง แต่อย่าลืม นั่งสมาธิจะระหว่างฟัง หรือก่อนฟังก็ได้ จะดีมากเลยครับ
อย่าให้อุปสรรคใด ๆ มาขัดขวางในชีวิตการสร้างบารมี และ
อย่าให้ความตั้งใจที่ดี เปลี่ยนแปลงไป กับกาลเวลา
เพราะเราไม่รู้ว่า่วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร เราอาจจะอยู่หรือตาย
สิ่งที่เอาไปได้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น ฉนั้น เราต้องอยู่กับวันนี้
วันที่เราบอกตัวเองว่า วันนี้เป็นวันที่ดีที่สุด ในวันหนึ่งของชีวิตการสร้างบารมีของเรา

โอไดบะ
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

#18 usr26859

usr26859
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 November 2008 - 02:52 PM

วันแรกที่หัดนั่งสมาธิ ต้องทำอย่างไร บ้าง