ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

แนวทางพระพุทธเจ้า ยุติปัญหาความขัดแย้ง (พุทธประวัติ)


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 April 2010 - 01:07 PM

รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ ตอนที่ ๕

ผศ.มานพ นักการเรียน
๐๔ มีนาคม ๒๕๔๙
ความหมายของพระสงฆ์
พระสงฆ์คือ หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในทางรัฐศาสตร์ พระสงฆ์หรือองค์การทางศาสนาเป็นกลุ่มทางสังคม ที่มีวัตถุประสงค์ของทางการเมือง (รวมด้วย) คือให้รัฐบาลช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของคณะสงฆ์และมีนโยบายการพัฒนาคณะสงฆ์/พระพุทธศาสนา
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองเป็นเรื่องแห่งปัจจุบันสมัย ที่ทุกคนควรเข้าไปเกี่ยวข้อง บางคนที่มีความคิดล้ำหน้ามองว่า พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการเรียกร้องสิทธิของคณะบุคคลเท่าที่ควรจะเป็น
พระสงฆ์คงเหลือบทบาทหรือพันธกิจอยู่เพียง ๒ บ และ ๒ ส คือ บ = บิณฑบาต บ =บังสุกุล ส = สังฆทาน และ ส = สวดมนต์ ซึ่งเป็นเรื่องกิจวัตรและกิจกรรมทางพิธีกรรม โดยไม่ได้ใส่ใจต่อทุกขสัจของสังคมรอบด้าน

พระพุทธเจ้ากับการเมือง
๑. กรณีห้ามการระงับข้อพิพาทไขน้ำเข้านาของพระญาติทั้ง ๒ ฝ่าย
พระพุทธเจ้าทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง เมื่อทั้ง ๒ ฝ่าย มีความตึงเครียดเผชิญหน้า รอให้มีการปะทุออกมา อันจะก่อให้เกิดความสูญเสียทำลายชีวิตผู้คน กรณีนี้คือเรื่องการห้ามหรือการระงับข้อพิพาทไขน้ำเข้านาของพระญาติทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายศากยวงศ์ซึ่งเป็นฝ่ายพระบิดา และฝ่ายโกลิยวงศ์ซึ่งเป็นฝ่ายพระมารดา พระพุทธเจ้าทรงสอบสวนไต่ถามถึงที่มาของเรื่องและทรงให้ข้อคิดแก่พวกพระญาติ
พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระญาติว่า “มหาบพิตร ทะเลาะด้วยเรื่องอะไรกัน“
“พวกข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้าข้า”
“แล้วใครจักทราบเล่า”
พวกพระญาติจึงสอบถามไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง แล้วกราบทูลว่า “ทะเลาะกันเพราะน้ำ พระเจ้าข้า”
“น้ำมีราคาเท่าไร มหาบพิตร”
“มีราคาน้อย พระเจ้าข้า”
“กษัตริย์ทั้งหลายมีราคาเท่าไร มหาบพิตร”
“ขึ้นชื่อว่ากษัตริย์ทั้งหลายประเมินค่ามิได้ พระเจ้าข้า”
“การที่พวกท่านทำให้กษัตริย์ซึ่งหาค่ามิได้ให้ฉิบหาย เพราะเหตุแห่งน้ำเพียงเล็กน้อย สมควรแล้วหรือ”
พวกพระญาติยอมรับโดยดุษณีภาพ สุดท้ายพระบรมศาสดาจึงตรัสเตือนพวกพระญาติว่า “มหาบพิตร เพราะเหตุไร พวกท่านจึงกระทำกรรมเช่นนี้ เมื่อเราไม่มีอยู่ ในวันนี้ แม่น้ำคือโลหิตจักไหลนอง พวกท่านทำกรรมไม่สมควร เป็นผู้มีเวรด้วยเวร ๕ มีความเดือดร้อนเพราะยังเต็มไปด้วยกิเลส มีความขวนขวายแสวงหากามคุณอยู่ แต่เราตถาคตมีนัยตรงกันข้าม”
๒. กรณีห้ามการทำสงคราม
อีกกรณีหนึ่ง พระเจ้าวิฑูฑภะ โอรสพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อได้ราชสมบัติแล้ว ทรงระลึกถึงเวรที่พวกศากยะก่อไว้จึงยกกองทัพไปเพื่อจะล้างแค้นพวกเจ้าศากยะที่ดูหมิ่นตน พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเสด็จไปประทับ ณ ร่มไม้ใบบางต้นหนึ่งในรัฐสักกะ ดักทางที่กองทัพพระเจ้าวิฑูฑภะจะผ่านไป
พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จไปถึงที่นั่น ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่เช่นนั้น จึงเสด็จเข้าไปถวายอภิวาทนิมนต์เสด็จไปประทับที่ร่มไม้อีกต้นหนึ่งในรัฐโกศลซึ่งมีใบหนาทึบสนิทดีกว่า แต่พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ช่างเถอะ มหาบพิตรร่มเงาของญาติเย็นสบายดี” พระเจ้าวิฑูฑภะก็ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาคุ้มครองพระญาติ จึงถวายบังคมยกกองทัพกลับกรุงสาวัตถี

เมื่อทรงนึกถึงการดูหมิ่นของพวกศากยะขึ้นมาอีก ความแค้นอาฆาตก็พุ่งขึ้นจึงยกกองทัพไปอีกถึง ๒ ครั้ง พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปประทับนั่งให้เห็นอย่างนั้น ทำให้พระองค์ต้องยกทัพกลับ ในวาระสุดท้ายพระพุทธเจ้าทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นบุพกรรมองพวกศากยะที่ทำไว้หนักนัก เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะยาตราทัพออกไปไม่เห็นพระพุทธเจ้าก็บุกทะลวงเข้าไปจนถึงกรุงกบิลพัสดุ์ แล้วสั่งให้ฆ่าพวกศากยะตายไปไม่เหลือแม้แต่ทารกที่ยังดื่มนมอยู่ก็ไม่ไว้ชีวิต แต่เหมือนพวกศากยะที่หนีรอดไปได้ด้วยกลอุบายก็มีอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย
พระเจ้าวิฑูฑภะเมื่อล้างแค้นได้สมประสงค์แล้วก็ยกทัพกลับไปพักอยู่ที่หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี เผอิญในคืนนั้นฝนตกหนักจึงเกิดน้ำหลากไหลมาท่วมกองทัพของพระเจ้าวิฑูฑภะจมน้ำตายเสียเป็นส่วนมาก พระเจ้าวิฑูฑภะเองก็สิ้นพระชนม์ในคราวนี้ด้วย เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะสิ้นพระชนม์แล้ว รัฐโกศลก็ขาดกษัตริย์จึงต้องตกอยู่ในอาณัติของพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งรัฐมคธ

ที่มา : http://www.src.ac.th....=427&Itemid=69

#2 watprakan

watprakan
  • Members
  • 30 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 April 2010 - 02:18 PM

ผู้ให้ธรรมะ เป็นทานย่อมชนะการให้ทั้งปวง

ขออนุููโมทนาบุญด้วยครับ....สาธุ biggrin.gif


#3 ดงบัง...โดรายากิ

ดงบัง...โดรายากิ
  • Members
  • 170 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 April 2010 - 02:31 PM

สาธุๆๆๆๆ

...............................

เศียรเกล้านี้ขอมอบแด่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย

#4 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 April 2010 - 06:04 AM

สาธุ ครับผม