ไปที่เนื้อหา


Dd2683

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 Dec 2005
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Feb 19 2011 09:02 AM
*****

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

ข้อแนะนำการตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย

25 September 2010 - 12:07 AM

กระทู้นี้ต่อยอดมาจากกระทู้ของ คุณ ตำรววจรักบุญ

เพื่อให้คำถาม คำตอบ สอดคล้องกัน ครับ



เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑

ผู้ที่ถามปัญหาเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายมีหลายประเภท


๑. ถามเพราะอยากรู้ข้อเท็จจริง ถามด้วยใจเป็นกลางไม่มีอคติต่อทางวัด

การตอบ-ให้ชี้แจงข้อมูลไป สามารถจะตอบยาวได้ แต่อย่าสอน หรือท้าทายกลับไป และควรลงท้ายด้วยการชวนมาวัด

ชวนมาทำบุญเพื่อค้ำจุนพุทธศาสนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป


๒. ถามแบบลองเชิง ว่าเราจะมีปัญญาตอบหรือไม่ หรือจะให้เหตุผลอย่างไร เป็นการทดสอบภูมิของคนวัด ว่างมงายเข้าวัดหรือเปล่า

การตอบ - ตั้งสติให้ดี ทำใจเย็นๆ ทำสีหน้าให้เบิกบาน แล้วตอบไปตรงข้อเท็จจริง
อาจตอบย้อนคำโดยเสริมคำอธิบายในทางบวก (ผู้ถามจะถามเชิงลบ)

เมื่อคำตอบของเราชอบด้วยเหตุผลทุกประการ ผู้ถามก็จะนิ่งเงียบไปเอง แม้ว่าใจจะไม่ยอมรับนัก (เพราะเสียเหลี่ยม)
แต่ก็ไม่อาจจะไปถามเพื่อหาเรื่องกับใครได้อีก

ถ้าโชคดีเจอผู้ถามที่ทิฏฐิน้อยก็จะได้มิตรเพิ่มขึ้น เพราะเขายอมแพ้ภูมิคนวัด หรือยอมรับเหตุผลของเราด้วยใจจริง
อาจแถมท้ายคำตอบด้วยการชักชวนให้ช่วยกันบำรุงพระพุทธศาสนา
แม้ว่าจะไม่ได้ผลในอนาคตนัก แต่ก็จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถามได้มากว่า
บุญที่เขาทำไว้แล้วกับวัดพระธรรมกายนั้นไม่สูญเปล่า เขาจะได้ผลบุญคุ้มค่าทีเดียว



๓. ถามแบบก่อกวน ผู้ถามมักไม่ต้องการคำตอบ

แต่จะลองดีและมีเจตนามุ่งร้าย ปรักปรำให้วัดเสียหาย
เป็นประเภทมิจฉาทิฏฐิ เกินแก้ไข

การตอบ-ถ้าไม่ตอบก็ไม่ได้จะเสียเชิง และผู้ถามจะย่ามใจ ถ้าตอบด้วยอารมณ์โกรธก็เท่ากับตกหลุมพราง
หรือติดกับดักที่เขาล่อไว้ ภาพพจน์ของคนวัดก็จะเสียหาย


วิธีตอบ ให้ตั้งเมตตาจิตให้สูง ตอบแบบใจเย็น เหมือนไม่รับรู้ต่อการยั่วยุนั้น แต่ให้รวบประเด็นในการตอบให้สั้น
เพราะการตอบแบบสาธยาย อาจเปิดช่องให้เขาหาจุดมายั่วยุต่อได้ ถึงอย่างไรเราก็ไม่อาจจะไปแก้ไขมิจฉาทิฏฐิของผู้ถามได้
ผู้ถามประเภทนี้ส่วนใหญ่รู้ข้อเท็จจริงอยู่บ้าง แต่แกล้งไม่รับรู้อาจเพราะมีใจอิจฉา
ซึ่งเป็นจุดที่แก้ไขยาก ต้องรีบยุติเหตุการณ์ อย่าต่อความ รักษาอารมณ์ให้มั่นคง และพูดด้วยถ้อยคำที่สุภาพ



ป.ล. กระทู้ที่อ้างอิง

คำถามเพื่อนำไปตอบกับคนที่ยังไม่เข้าใจ

http://dmc.tv/forum/...showtopic=23816

บุญไม่ช่วย

20 August 2010 - 07:00 PM

ที่มา โดยคุณ ประแดะ : http://www.pantip.co...9/Y9598139.html

นิทานโบราณจีน นำมาฝากกันค่ะ

เมื่อครั้งโบราณ มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง
สามีเป็นคนใจบุญประกอบแต่การกุศล ไม่ว่าภรรยาห้ามเท่าใดก็ไม่ยอมฟัง ที่สุดก็ยากจนลง
สามีจึงบอกภรรยาว่า
บัดนี้เรายากจนลงแล้ว ไม่อยากให้เจ้าได้รับความลำบากกับเรา
เราจะนำเจ้าไปขายเป็นคนใช้เขาดีกว่าจะอยู่กับเรา
เพื่อเจ้าจะได้อยู่ดีกินดีมีความสุขสบาย เจ้าอยู่กับเรานั้นไม่มีความสบาย มีแต่ความยากลำบากจนตาย
ทั้งเราก็จะเอาเงินที่ขายเจ้าไปทำบุญสร้างกุศล เพื่อเกิดใหม่เราจะได้มีความสุขสบายด้วยกัน


ส่วนภรรยาเมื่อได้ยิน สามีพูดเช่นนั้นก็ร้องไห้ ไม่ยอมไป
สามีเห็นกิริยาและได้ยินเช่นนั้นก็สงสาร แต่แสร้งทำโกรธตัดพ้อว่า
“เจ้าเป็นภรรยาจะต้องเคารพและมีความกตัญญูต่อเราผู้เป็นสามี
หากสามีประสงค์อย่างไรก็ต้องปฏิบัติตาม จึงจะเป็นภรรยาที่ดี
เราขายเจ้าเมื่อได้เงินแล้ว เราก็มิได้ไปหาความสุขอย่างไร เราจะเอาเงินที่ขายเจ้าได้ไปทำบุญต่อไป”


ภรรยาอ้อนวอนว่า
“ท่านจะนำข้าพเจ้าไปขายตกเป็นทาส ข้าพเจ้าก็จะไม่ว่าท่าน จะยอมให้ท่านขาย
แต่ขอให้ท่านนำเงินมาใช้บำรุงความสุข อย่านำไปทำบุญเลย บุญไม่เคยช่วยเราให้ได้ดีเลย


แต่สามีไม่ได้เชื่อฟังคำภรรยา เมื่อได้นำภรรยาไปขายให้เป็นคนรับใช้ของภรรยาเศรษฐีผู้หนึ่ง
ได้เงินมาจึงได้นำเงินมาทำบุญสร้างกุศลต่อไป

เวลานั้นร้อนไปถึง เทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ที่ดูแลทุกข์สุขในโลกมนุษย์
ต่างมองเห็นชายผู้นี้ตั้งหน้าประกอบกรรมทำดีตลอดมาได้ยากจนลง และต้องเอาภรรยาไปขายเป็นทาส
เมื่อได้เงินมาก็นำมาทำบุญสร้างกุศล แล้วยากจนลงอีก
จึงประชุมเทพเจ้าผู้ใหญ่ทั้งหลายเมื่อมีผู้คนพูดกันว่าเหตุใดชายผู้ใจบุญ สร้างแต่กุศล
ทำไมจึงได้รับความทุกข์ยากจนเช่นนี้

เมื่อเข้าประชุมเทพเจ้าก็สั่งให้เปิดบัญชีดู เทพยดาชั้นผู้น้อยผู้รักษาบัญชีจึงบอกว่า
“อันชายผู้นี้ชาติก่อนๆ สร้างกรรมไว้หนัก จะต้องใช้หนี้ถึงสามชาติจึงจะพ้นกรรม
ในชาตินี้จะต้องตายเพราะความอดอยากยากจน
และชาติต่อไปก็จะต้องถูกฟ้าผ่าตาย
และต่ออีกชาติก็จะตายด้วยถูกเสือกัดตาย จะต้องใช้หนี้กรรมอีกสามชาติ จึงจะพ้นทุกข์ยาก”


เทพเจ้าชั้น ผู้ใหญ่ได้พิจารณาเห็นว่ากรรมของชายผู้นี้หนัก ต้องใช้หนี้กรรมต่อไปถึงสามชาติ
ทั้งมองเห็นว่าชาตินี้ชายผู้นี้ตั้งหน้าตั้งตาสร้างแต่กรรมดี มิได้สนใจความสุขส่วนตัว
กลับต้องทนทุกข์ทรมานเมื่อมีชีวิตในโลกมนุษย์ก็เกิดเมตตาสงสาร

คิดว่าสมควรจะพิจารณาลดโทษให้เพื่อสนองที่สร้างกรรมดีตลอด
เทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่จึงประชุมตกลงกัน ให้กรรมที่จะต้องรับถึงสามชาติรวมมารับกรรมเพียงชาติเดียวในชาตินี้
ต่อไปก็ให้กรรมดีสนอง เสร็จแล้วก็สั่งให้เทพเจ้าผู้ดูแลจัดการไปตามเทวบัญชาที่ได้ตกลงเห็นชอบ

ชาย ผู้ขายภรรยายากจนอดอยากสาหัส
ขณะรอความตายอยู่ในป่านอกเมือง
จู่ๆ มีฝนตกใหญ่และฟ้าก็ผ่าลงมาที่ชายเคราะห์ร้ายซึ่งกำลังจะอดอาหารตายจนสลบ
แล้วมีเสือใหญ่ตัวหนึ่งโดดออกมากัดคอชายผู้นั้นจนขาดตายแล้วหลบหนีเข้าป่า ไป

ชาวบ้านได้เห็นผู้เคราะห์ร้ายนอนตายอยู่กลางป่า ต่างโจษกันว่าชายรับกรรมสามต่อ นับว่าเป็นผู้เคราะห์ร้ายที่สุด

เมื่อ เรื่องเข้าถึงหูภรรยา ครั้นได้ทราบว่าสามีตายอย่างทุกข์ทรมานก็เศร้าโศกเสียใจ
ขออนุญาตนายไปดูศพสามี รำพันถึงชีวิตที่ทุกข์ยากเพราะไม่เชื่อคำตักเตือนว่าการทำบุญไม่ได้เกิด ผลดีอะไรเลย

ภรรยาจัดการทำศพตามประเพณี ก่อนนำศพใส่โลงฝัง
ภรรยาได้กัดนิ้วชี้นำเลือดมาเขียนอักษรไว้ที่หน้าผากศพสามีว่า
บุญไม่ช่วย
แล้วนำไปฝัง

ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินและมเหสีได้โอรสซึ่งจะขึ้นเป็น รัชทายาท
เด็กที่คลอดเป็นชาย บนหน้าผากมีอักษรสามตัวว่า
บุญไม่ช่วย

นับแต่เกิดมาก็เอาแต่ร้องไห้ ไม่มีใครทำให้ทารกหยุดร้องได้
จนต้องปิดประกาศและตีฆ้องร้องป่าวตามที่ต่างๆ ว่า
ถ้าใครทำให้ทารกหยุดร้องไห้ได้ขออะไรก็จะให้
ทั้งยังบอกลักษณะของทารกที่มีอักษรบนหน้าผากด้วย

เมื่อภรรยาได้ทราบ จึงรู้ว่าเป็นสามีของตน
นางเข้าไปรับอาสาช่วยรักษาอาการเจ้าชาย กษัตริย์และมเหสีจึงนำทารกมาให้

ครั้นเห็นอักษร นางก็ยิ่งแน่ใจว่าเป็นสามี
นางจึงอธิษฐานแล้วเอามือลูบตัวหนังสือที่หน้าผากพลางพูดว่า
“บัดนี้บุญได้สนองท่านแล้ว หนังสือสามตัวนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะอยู่ต่อไป”
แล้วตัวอักษรก็หายสิ้นเจ้าชายหยุดร้องไห้ทันที

กษัตริย์และพระมเหสี ดีพระทัยมากและพร้อมประทานรางวัลทุกอย่างที่นางขอ
แต่นางขอเพียงเป็นพระพี่เลี้ยงใกล้ชิดเจ้าชายตลอดไป ไม่ขออะไรอีก
กษัตริย์ทรงอนุญาตแต่งตั้งให้เป็นพระพี่เลี้ยงสูงศักดิ์
พระราชทานแก้วแหวนเงินทองข้าทาสบริวารบ้านเรืองที่ดินมากมาย
เป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์และมเหสี มีอำนาจเข้าเฝ้าทุกเวลา
ทั้งเจ้าชายและพระพี่เลี้ยงก็ได้เสวยสุขด้วยกันตลอดมา

คัดมาจากเรื่อง :
กรรมในอดีต เรื่องลำดับที่ 67 ของ ท. เลียงพิบูลย์ ในหนังสือชุดกฎแห่งกรรม

รวมสุภาษิต คำคม ข้อคิด คติธรรม

17 August 2010 - 04:17 PM


ผู้นำ

ผู้อยู่เบื้องสูง ถ้าทำตัวให้เบา
คนข้างล่างจะไม่รู้สึกว่าหนัก
ผู้นำที่ทำตัวมิให้หนัก
ผู้อยู่ข้างล่างก็รู้สึกว่าเบา
และยินยอมให้เป็นผู้นำอันถาวร

ผู้ตาม
ผู้อยู่ข้างหน้า
ถ้าทำตัวให้ประหนึ่งอยู่ข้างหลัง
ผู้ที่ตามอยู่ข้างหลัง กลับจะยินดี
และผลักให้เขาไปอยู่ข้างหน้า

ปิดทอง
คนปิดทองมักเลือกปิดเศียรพระ
เพราะใจอยากให้สมองเปรื่องปราชญ์
บางคนมักเลือกปิดหน้าพระ
เพราะใจอยากให้ใบหน้าเด่นผุดผาด
บางคนเลือกปิดหน้าอกพระ
เพราะใจอยากให้จิตใจเอิบอิ่มสดใส
คนปิดทอง...จะเลือกปิดตรงไหน
ก็ขึ้นอยู่ที่ความอยากในจิตใจของเขา
แต่...คนปิดทองหลังพระ
แสดงถึงจิตใจไร้กิเลสที่บริสุทธิ์สะอาด
และโลกเราทุกวันนี้
ยังขาดอยู่อีกมาก

เหล็ก
เหล็กชิ้นเดียวจะมีค่าสักเท่าไรเชียว
ถ้าเอาไปทำเศษเหล็ก คงมีค่าสักห้าบาท
ถ้าเอาไปทำปลายปากกาคงมีค่าห้าร้อยบาท
ถ้าเอาไปทำรูปสลักคงมีค่าห้าหมื่นบาท
ถ้าเอาไปทำยอดปราสาทคงมีค่าห้าล้านบาท
ค่าของคนเราก็เช่นเดียวเหล็ก
เมื่อตอนเริ่มต้นมีค่าเท่าไรเราไม่รู้
แต่อยู่ที่ว่าเราจะเอาตัวเราไปทำเศษเหล็ก
หรือไปทำยอดปราสาท


เหนือมนุษย์
มนุษย์ธรรมดา
มองสิ่งมหัศจรรย์ที่เห็นตรงหน้า
แล้วได้แต่ถามว่า
“เป็นไปได้อย่างไร”
มนุษย์เหนือธรรมดา
ฝันถึงสิ่งมหัศจรรย์
ที่ไม่เห็นตรงหน้า
แล้วเฝ้าถามตัวเองว่า
“ทำไมจะเป็นไปไม่ได้”

รวงข้าว
รวงข้าวที่ลีบและเบา มักชูตัวสูง
แกว่งไปมาเพราะภายในกลวงไม่มีอะไร
รวงข้าวที่หนักสุกปลั่ง
จะค้อมตัวต่ำนิ่งงดงาม
เพราะภายในหนักด้วยคุณค่าและเนื้อหา
คนเรายิ่งก้าวขึ้นสูง
ถ้าทำตัวให้ยิ่งอ่อนน้อมลงต่ำ
ก็ประดุจรวงข้าว
ที่ยิ่งหนักยิ่งอร่ามงดงาม


ปรัชญาแห่งหู
ธรรมชาติสร้างทุกสิ่งไว้เหมาะสม
สร้างมนุษย์ให้มีหูสองหู
ให้มีปากหนึ่งปาก
เพราะธรรมชาติสร้างให้มนุษย์
ฟังมากกว่าพูดหนึ่งเท่า
ถ้าธรรมชาติต้องการให้มนุษย์


รู้จักพูดมากกว่าฟัง

ก็คงสร้างให้มนุษย์มีปากสองปาก
หูหนึ่งหู
อนิจจา...มนุษย์เราบางคน
ชอบทำตัวเป็นมนุษย์ประหลาด
เหมือนมีสองปากหนึ่งหู
คือชอบพูดมากกว่าชอบฟัง


ความรัก
ยิ่งหวงไว้ก็มีแต่ยิ่งหาย
ยิ่งให้เขามีแต่ยิ่งเพิ่ม
ถ้าทิ้งความรัก ถือแต่ความกล้า
ถ้าทิ้งความสมถะ ถือแต่อำนาจ
ถ้าทิ้งการอยู่ข้างหลัง ถือแต่นำหน้า
ชีวิตก็มีแต่สิ้นกับสูญ
ความรัก ความสมถะ ความถ่อมตน
ไม่เคยปราชัยในการรบครั้งสุดท้าย


ภาษาแห่งแม่น้ำ
ถ้าแม่น้ำพูดได้
แม่น้ำจะบอกว่า วันหนึ่งฉันจะกลับมา
เพราะจากแม่น้ำไหลสู่มหาสมุทร
จากมหาสมุทรกลายเป็นเมฆ
จากเมฆกลายเป็นฝน
จากฝนกลายเป็นต้นน้ำ
จากต้นน้ำไหลมาเป็นแม่น้ำ
วัฏจักรแห่งน้ำ
ก็เหมือนกับชีวิตมนุษย์
เกิด...แก่...เจ็บ...ตาย...แล้วก็เกิด
ยากจน...ร่ำรวย...แล้วก็กลับยากจน
ไร้เกียรติ...มีเกียรติ...แล้วก็กลับไร้เกียรติ
ไร้อำนาน...มีอำนาจ...แล้วก็กลับไร้อำนาจ
นี่คือภาษาแห่งแม่น้ำ

ความว่างเปล่า
เราได้ประโยชน์จากภาชนะ
ก็เพราะความว่างเปล่าตรงกลาง
เราได้ประโยชน์จากขันน้ำ
ก็เพราะความว่างเปล่าตรงกลาง
ในทุกความว่างเปล่า มักมีประโยชน์
ซ่อนเร้นอยู่
จิตใจที่ว่างเปล่า


ศูนย์อบรมฯ วัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม

13 July 2010 - 10:46 PM

เมื่อวันเสาร์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา มีโอกาสไปศูนย์การอบรมพระธรรมทายาท โครงการบวชพระเข้าพรรษา ๑๐๐,๐๐๐ รูป
ที่วัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม ต.บ้านเชี่ยน อ.หันคา จ.ชัยนาท

วัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม เดิมชื่อ วัดบ้านใหม่

ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่า วัดบ้านใหม่
ได้ประกาศตั้งวัดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๒
และเมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ มหาเถระสมาคม มีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อ เป็น วัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม
http://www.mahathera.org/detail.php?module=mati&id=254710271801&title=10

ซึ่งมีเจ้าอาวาส คือ พระเดชพระคุณ พระราชสิริชัยมุนี ( ถนอม คุณธโร ) , ปธ.
ตามประวัติพระเดชพระคุณ พระราชสิริชัยมุนี ( ถนอม คุณธโร )
ท่านได้มอบตัวเป็นศิษย์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, หลวงพ่อเกษม เขมโก และหลวงพ่อชา สุภัทโท
http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97-35491.html

และมีพระอาจารย์ ประจักษ์ ชยมงฺคโล เป็นพระอาจารย์หัวหน้าศูนย์ฯ มีจำนวนผู้สมัครบวช ๓๙ ท่าน กำลังทยอยเข้ามาเรื่อย ๆ

วัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม นับว่าสัปปายะ มากพอสมควร
มีภาพมาฝากเล็กน้อย ครับ

แนบไฟล์  ordain7.jpg   26.27K   3 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  ordain4.jpg   29.62K   3 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  head.gif   8.97K   3 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  ordain1.jpg   26.08K   3 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  438_1600x1200.jpg   280.84K   61 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  442_1600x1200.jpg   505.51K   66 ดาวน์โหลด

เนื้อหาที่เรียน ระหว่าง นักธรรม และธรรมศึกษา

27 June 2010 - 08:39 PM

มีเพื่อนถาม แต่ผมไม่มีข้อมูล จึงมาตั้งกระทู้ ขอความรู้จากกัลยาณมิตรด้วยครับ

????
อยากทราบว่าในเรื่องเนื้อหาที่เรียน ระหว่าง นักธรรม และธรรมศึกษา
มีความแตกต่าง ความละเอียดลึกซึ้งอย่างไร ???

อนุโมทนา ล่วงหน้าครับแนบไฟล์  sadhu.gif   22.04K   68 ดาวน์โหลด