ไปที่เนื้อหา


* * * * * 1 คะแนน

เห็นสมณะ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 July 2010 - 11:18 PM

มงคลที่
๒๙
เห็นสมณะ


OooOoOOoOOoOooOOo

ลาย่อมติดตามโคไป แม้ร้องว่า ตัวเราเป็นโค
แต่สี เสียง รอยเท้า ไม่เหมือนโค ฉันใด
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เดินตามหมู่ภิกษุ
ประกาศตนว่า แม้เราก็เป็นภิกษุ แต่เธอไม่มีความพอใจ
ในการสมาทานศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
แต่เดินตามภิกษุไปเท่านั้นเหมือนกัน

๑.คุณสมบัติของภิกษุที่ดี

๑.๑ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคุณสมบัติของม้าอาชาไนย ซึ่งเป็นม้าต้นของพระราชาเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของภิกษุ ๔ ประการ ได้แก่ ความซื่อตรง ความว่องไว ความอดทน และความสงบเสงี่ยม. อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๓๐๒

๑.๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะของม้าอาชาไนย เปรียบเทียบกับลักษณะของบุรุษอาชาไนย ๔ ประการ ได้แก่
ม้าอาชาไนยพอเห็นรูปเงาปฎักก็หวาดหวั่น สำนึกว่า เขาจะให้ทำงานอะไร เปรียบเหมือนบุรุษอาชาไนย ที่พอได้ยินข่าวว่า มีคนประสบทุกข์หรือตายก็สลดใจ สำนึกตัว มุ่งบำเพ็ญธรรมให้สูงยิ่งขึ้น
ม้าอาชาไนยที่ไม่กลัวเงาปฎัก และถูกแทงด้วยปฎักที่ขุมขน แต่พอถูกแทงด้วยปฎักถึงผิวหนังก็หวาดหวั่น สำนึกว่า เขาจะให้ทำงานอะไร เปรียบเหมือนบุรุษอาชาไนยที่มีญาติประสบทุกข์หรือตายก็สลดใจ สำนึกตัว มุ่งบำเพ็ญธรรมให้สูงยิ่งขึ้น
ม้าอาชาไนยที่ไม่กลัวเงาปฎัก การถูกแทงด้วยปฎักที่ขุมและผิงหนัง แต่พอถูกแทงด้วยปฎักถึงกระดูกก็หวาดหวั่น สำนึกว่า เขาจะให้ทำงานอะไร เปรียบเหมือนบุรุษอาชาไนยที่ประสบทุกข์หนักถึงสลดใจ สำนึกตัว มุ่งบำเพ็ญธรรมให้สูงยิ่งขึ้น
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก.๓๕/๓๐๓

๑.๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงคุณสมบัติของช้างต้น ๔ ประการ ได้แก่ เชื่อฟังฆ่าศัตรูได้ อดทน ไปได้ทุกแห่ง
เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของภิกษุ ๔ ประการ ได้แก่ เชื่อฟัง ฆ่ากิเลสได้ อดทน ไปนิพพานได้.

๑.๔ เนื้อที่อยู่ในป่า เมื่อเทียวอยู่ป่าใหญ่ เดินไปไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนกันฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายเข้าปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปิติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำให้มารมืด กำจัดมารไม่ให้มีทางไป แล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก. ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๔๒๘

๑.๕ ธรรมดานางนกเงือก เวลากลางวันก็เที่ยวหากินอยู่ในป่า พอถึงเวลาเย็นจึงบนไปหาเพื่อนฝูงเพื่อรักษาตัว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ก็ควรหาที่สงัดโดยลำพังผู้เดียวเพื่อให้หลุดพ้นจากสังโยชน์ เมื่อรู้สึกไม่ยินดีในความสงัด ก็ควรไปอยู่กับหมู่สงฆ์ เพื่อป้องกันจากการถูกกล่าวติเตียนในภายหลัง ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำท้าวสหบดีพรหมกกล่าวขึ้นต่อพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระภิกษุควรอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด เพื่อปลดเปลื้องจากสังโยชน์ ถ้าไม่ได้ความยินดีในที่สงัดนั้น ก็ควรไปอยู่ในหมู่สงฆ์ให้มีสติรักษาตนให้ดีอยู่เสมอ.

๑.๖ เหมือนเมฆก้อนมหึมากลั่นตัวเป็นน้ำฝน ตกกระหน่ำลงบนยอดเขาไหล ลงมาเต็มซอกเขา ลำธาร เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็มหนอง เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็มบึง เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็มแม่น้ำน้อย เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็มแม่น้ำใหญ่ เต็มแล้วก็ไหลบ่าออกมาเต็มสมุทรสาคร ฉันใด คุณ ๕ ข้อนี้คือ ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย และการปรารภความเพียร ของภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ บริบรูณ์แล้วก็จักช่วยให้คุณธรรมเริ่มต้นแต่กถาวัตถุ ๑๐ จนกระทั่งถึงอมตะพระนิพพานให้สมบรูณ์. ม.มู. (อรรถ) มก. ๑๗/๑๑๓

๑.๗ ผู้ใดพึงเป็นผู้มีกิเลสดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะ
ขุ.ธ.(โพธิ) มก.๔๐/๑๑๓

๑.๘ เหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่เสมอฝั่งเป็นธรรมดาไม่ล้นฝั่ง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เหล่าสาวกของเราก็จะไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราตถาคตบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ฉันนั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๑๘

๑.๙ บุคคลเขลา ไม่รู้โดยปกติ ไม่ชื่อว่า เป็นมุณี เพราะความเป็นผู้นิ่ง ส่วนผู้ใดเป็นบัณทิตถือธรรมอันประเสริฐ ดุจบุคคลประคองตาชั่ง เว้นบาปทั้งหลาย ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น ผู้ใดรู้อรรถทั้งสองในโลก ผู้นั้นเรากล่าวว่า เป็นมุนี เพราะเหตุนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๖๖

๑.๑๐ ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการ ได้ตามปรารถนานา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาป้องกันไว้ดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้ (เสาระเนียด , คูลึกกว้าง, ทางเดินรอบคู, อาวุธ, กองทัพ, ทหาร, กำแพง ) และอาหาร ๔ ประการ ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่ทำอันตรายได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ (ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตตะ ความเพียร สติ ปัญญา ) และเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งณาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เรากล่าว่า มารผู้มีบาปทำอันตรายอริยสาวกไม่ได้.
๑.๑๑พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงคุณสมบัตินักรบอาชีพ เปรียบเทียบกับคุณสมบัติของภิกษุซึ่งเหมือนกัน ๔ ประการ ได้แก่
๑. ฉลาดในฐานะ คือ มีศีล
๒. ยิงลูกศรไกล คือ การพิจารณาเบญจขันธ์มีรูป เป็นต้นตามความเป็นจริง
๓. ยิงไม่พลาด คือ การรู้ชัดทุกข์ เป็นต้น อันเป็นหลักอริยสัจ ๔
๔. ทำลายกองขนาดใหญ่ คือ การทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้
แต่มีความหมายต่างกัน คือ คุณสมบัติของนักรบอาชีพมีความหมายในทางโลก แต่ของภิกษุมีความหมายในทางธรรม.
อัง.จตุกก. (พุทธ) มก. ๓๕/๔๓๘

๑.๑๒ ธรรมดานาย่อมมีเหมือง ชาวนาย่อมไขน้ำออกจากเหมืองเข้าไปยังนา เพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าว ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีเหมือง คือ ความสุจริตเป็นข้อวัตรปฏิบัติ ฉันนั้น . มิลิน. ๔๖๒

๑.๑๓ ธรรมดาน้ำที่นิ่งอยู่ไม่ไหว ไม่มีผู้กวน ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยสภาวะปกติ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรละการลวงโลก การโอ้อวด การพูดเลียบเคียงเพื่อหาลวภ การพูดเหยียดคอื่นเพื่อลาภ แต่ควรเป็นผู้มีความประพฤติที่บริสุทธิ์ตามสภาวะปกติ ฉันนั้น.
มิลิน.๔๓๖

๑.๑๔ ธรรมดาดวงอาทิตย์ย่อมทำให้เกิดความร้อนแก่มวลมนุษย์ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรทำให้โลกนี้ และโลกหน้าร้อนด้วยอาจารคุณ ศีลคุณ วัตรปฏิบัติ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท.
มิลิน.๔๔๑

๑.๑๕ ธรรมดาดวงอาทิตย์ย่อมขึ้นในสุกกปักษ์ คือ ฝ่ายขาว อันได้แก่เดือนข้างขึ้นแล้วยิ่งกลมสว่างมากขึ้น ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นในอาจารคุณ ศีลคุณ วัตรปฏิบัติ อาคม อธิคม ความสงัด การสำรวมอินทรีย์ การรู้จักประมาณในการบริโภค และความเพียร ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๐

๑.๑๖ ภิกษุเหล่าใดหนักในพระสัทธรรมแล้ว และกำลังหนักในพระสัทธรรมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงามในธรรม ดุจสมุนไพรได้ปุ๋ย ฉะนั้น.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๑๖๓

๑.๑๗ องค์ ๓ ของม้าต้นของพระราชา คือ สีงาม กำลังดี มีฝีเท้า เช่นเดียวกับองค์ ๓ ของภิกษุที่เป็นนาบุญของโลก ต้องประกอบด้วย
๑. ภิกษุวรรณะงาม คือ มีศีล ] สมาทานในสิกขาบท
๒. ภิกษุเข้มแข็ง คือ มีความเพียร
๓. ภิกษุมีเชาว์ คือ รู้ทั่วถึงตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔. อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๔๘๕

๑.๑๘ องค์ ๓ แห่งพ่อค้าได้แก่ ๑. เป็นผู้มีดวงตา คือ รู้สินค้าว่าควรซื้อขายอย่างไร มองเห็นต้นทุนหรือกำไร
๒.เป็นผู้ฉลาด เข้าใจซื้อขาย
๓. ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย คือ รู้จักกันดีกับตระกูลคฤหบดีที่เป็นแหล่งเงินทุน ทั้งพึ่งพาอาศัยได้
ธรรม ๓ แห่งภิกษุได้แก่
๑.เป็นผู้มีดวงตา คือ รู้เห็นอริยสัจ ๔
๒. เป็นผู้มีความเพียร
๓. ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย คือ เข้าหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต หมั่นไต่ถามปัญหาในธรรมทั้งหลาย
อัง.ติก.(พุทธ) มก. ๓๔/๖๑


#2 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 01 August 2010 - 04:27 AM


สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนาในกุศลผลบุญของการให้ธรรมทาน

โดนใจ ดีมาก ขอนำไปประกาศบอกต่อ ๆ กันไปนะคะน้อง Sky noi

#3 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 01 August 2010 - 10:14 PM

...โอ้โห ยกหลักธรรมมาได้เข้ากับสถานการณ์มากๆ อิอิ บวชแสนพรรษา คุณค่าของสมณะ
..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#4 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 16 November 2010 - 03:43 AM

กลับมาทบทวน