ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

**น้ำ ปานะ ถ้ากินให้อิ่มจะผิดศีลข้อวิกาละหรือไม่ครับ**


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 December 2006 - 09:41 AM

คือการถือศีล8 ศีล10หรือศีล227 ข้อวิกาละโภชนา ห้ามทานอาหารหลังเที่ยงวัน จะทานได้เฉพาะน้ำปานะ มะขามป้อม และอื่นๆ รวมทั้งของที่เนื่องด้วยยา ถามว่าถ้าสิ่งต่างๆที่เขาอนุญาติให้ทานหรือดื่มได้ ถ้าเราทานหรือดื่มเพื่อให้อิ่ม จะผิดศีลข้อ วิกาละโภชนา ใหมครับ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#2 สิทฺธิกโร(V-active)

สิทฺธิกโร(V-active)
  • Members
  • 486 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:สมุทรปราการ
  • Interests:ธรรมมะ และการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 23 December 2006 - 10:04 AM

อืม..... ผมก็อยากรู้เหมือนกันครับ glare.gif



#3 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 December 2006 - 12:19 PM

ที่มา http://www.84000.org...k/bookpn02.html

ศีลข้อ ๖ วิกาลโภชนา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ
๑. วิกาโล เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนอรุณขึ้น
๒. ยาวกาลิกํ ของเคี้ยวของกินที่สงเคราะห์เข้าในอาหาร
๓. อชฺโฌหรณปฺปโยโค พยายามกลืนกิน
๔. เตน อชฺโฌหรณํ กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น
สำหรับศีลข้อนี้ ควรทราบว่า เวลาตั้งแต่อรุณขึ้นไปจนถึงเที่ยง เรียกว่า กาล คือเป็นเวลาบริโภค
อาหาร
ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น (ของวันใหม่) เรียกว่า วิกาล เป็นเวลาที่ต้องเว้นจากการบริโภค
อาหารทุกชนิด เว้นน้ำธรรมดา และน้ำดื่ม ๘ อย่าง ที่เรียกว่า ๑ อัฏฐบาน ที่มีพุทธานุญาตไว้
น้ำดื่ม ๘ อย่าง ( อัฏฐบาน ) นั้น คือ
น้ำที่ทำจากผลมะม่วง ๑ ผลหว้า ๑ ผลกล้วยมีเมล็ด ๑ ผลกล้วยที่ไม่มีเมล็ด ๑ ผลมะทราง ๑
ได้

อ้างอิง ๑-๒. พระวินัยปิฎกมหาวรรค เภสัชชขันธกะ ข้อ ๘๖ และข้อ ๒๖


ผลจันทน์ หรือผลองุ่น ๑ เง่าบัว ๑ ผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑
ต่อมาทรงมีพุทธานุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำ
ผักดอง น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด
อรรถกถาท่านสรุปว่า ในเวลาวิกาลดื่มน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด เว้นผลไม้ที่มีผลโตกว่าผลมะตูม
( บางแห่งว่าผลมะขวิด ) วิธีทำนั้นก็ต้องคั้นเอาแต่น้ำ และกรองให้ไม่มีกาก และไม่ผ่านการสุกด้วยไฟ
น้ำปานะดังกล่าวนี้เท่านั้นที่ผู้รักษาอุโบสถศีลควรดื่มในเวลาวิกาล นอกนี้ไม่ควร พึงสังเกตว่า
ไม่มีน้ำนมสดทุกชนิด คือน้ำนมของสัตว์ หรือนมที่ทำจากพืช เช่นถั่วเป็นต้น
นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงอนุญาตให้บริโภคเภสัช๒ ๕ อย่างคือ เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย รวมทั้งงบน้ำอ้อย ในเวลาวิกาล


นอกจากนี้ควรดูจุดประสงค์ของศีล ๘ ข้อนี้ด้วย

จากข้อความนี้

ถึงกระนั้น ศีลที่ยิ่งกว่า ศีล ๕ ขัดเกลากิเลส
ได้ยิ่งกว่าศีล ๕ ที่คฤหัสถ์ควรรักษาตามโอกาส
เป็นครั้งคราว ก็มีอยู่ ศีลที่กล่าวนี้คือ อุโบสถศีล หรือศีลอุโบสถ ซึ่งคฤหัสถ์ชายหญิงบางท่านรักษาในวัน
อุโบสถ สมัยก่อนท่านกำหนดวันรักษาอุโบสถศีลไว้มากกว่าวันนี้ แต่ปัจจุบันเหลือวันรักษาอุโบสถศีลเพียง
เดือนละ ๔ ครั้งในวันพระคือในวันแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำหรือ ๑๕ ค่ำ ขึ้น ๘ ค่ำและขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่บาง
ท่านก็ประพฤติยิ่งกว่านั้น โดยอาศัยแนวที่ท่านกล่าวไว้ใน อรรถกถาราชสูตร อังคุตตรนิกายติกนิบาตว่า
อุโบสถมี ๓ อย่างคือ
๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ
คือวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน คือถือเอาวันที่กำหนดไว้ในปกติอุโบสถ
เป็นหลัก แล้วเพิ่มรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง
เช่นวัน ๘ ค่ำเป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ผู้ที่จะรักษาปฏิชาครอุโบสถ ก็เริ่มรักษาตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปสิ้นสุดเอา
เมื่อสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือรักษาในวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำและ ๙ ค่ำ รวม ๓ วัน ๓ คืน
๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่าง
หนึ่ง ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว คือรักษาใน
กฐินกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อย่างหนึ่ง ถ้ายัง
ไม่อาจรักษาได้ตลอด ๑ เดือน ก็รักษาเพียงครั้งละครึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ
เดือน ๑๑ ถึงสิ้นเดือน ๑๑ อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ
ศีลอุโบสถนั้นเป็น ศีลรวม หรือ ศีลพวง คือมีองค์ประกอบถึง ๘ องค์ ถ้าขาดไปองค์ใดองค์
หนึ่งก็ไม่เรียกว่า ศีลอุโบสถ ตามพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่า
ขาดศีลอุโบสถ เพราะเหลือศีลไม่ครบองค์ของอุโบสถศีล พูดง่ายๆว่าขาดศีลองค์เดียว ขาดหมดทั้ง ๘ องค์
ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ


อ่านแล้วพึ่งสรุปได้ว่าควรนึกถึงจุดประสงค์ของศีลเป็นหลักด้วยแม้ว่าจะไม่ผิดศีล แต่ว่าไม่ถูกจุดประสงค์
คือ "ขัดเกลากิเลส"

อุปมาดั่งมีดที่มีทั้งด้านสันที่ทื่อ และด้านที่คม ควรเลือกใช้ให้ถูกจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ตามจุดประสงค์ด้วย

หยุดคือตัวสำเร็จ

#4 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 December 2006 - 01:41 PM

QUOTE
ถ้าเราทานหรือดื่มเพื่อให้อิ่ม จะผิดศีลข้อ วิกาละโภชนา ใหมครับ

ไม่ผิด หากใช้ โภชเนมัตตัญญุตา มาร่วมพิจารณา การดื่มให้พอดีอิ่มนั้น น่าจะมีคุณ คือ ถ้าปล่อยให้สังขารหิวก็อาจเป็นอุปสรรค ปล่อยให้อิ่มเกินก็จะทำให้ง่วง หรือ เกิดกำหนัดยินดีในกามได้ง่าย

อย่างไรก็ตามปกติมนุษย์เรา ต้องใช้การปรับตัวในระยะหนึ่ง หากจะปรับให้ดื่มน้ำปานะลดลงหรือไม่ดื่มเลย อาจค่อยๆพิจารณาปรับตามสภาพ ความเหมาะสมของสุขภาพในแต่ละบุคคลนั้น

ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#5 ชาร์ป

ชาร์ป
  • Members
  • 985 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี

โพสต์เมื่อ 23 December 2006 - 04:58 PM

ซัดให้อิ่มเลยนี่ ไปซื้อข้าวผัดมากินดีกว่ามั้งครับ laugh.gif

#6 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 24 December 2006 - 11:51 AM

ถ้างั้นแสดงว่า
1. น้ำผลไม้ปั่นที่มีขนาดผลโตกว่า ผลมะตูม
2. น้ำส้มกล่อง UHT ที่มีเกล็ดส้ม
3. โยเกริ์ตถ้วยที่มีธัญญาหาร หรือผลไม้ต่าง ๆ
ก็ไม่จัดเป็นปานะด้วยสิครับ

#7 light mint

light mint

    ขออนุโมทนาบุญค่ะ

  • Members
  • 1423 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:THAILAND
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 24 December 2006 - 03:01 PM

ตอนเย็นก็ดื่มปานะจนอิ่มบ่อยๆ นะ แต่ไม่ขนาดถึงกับจุกท้อง
เพราะดึกๆไปก็จะหิวนิดๆ พอดีเลย
ขออนุโมทนาบุญนะคะ สาธุ


#8 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 26 December 2006 - 11:48 AM

ตอบคุณ Jay นั่นเป็นสมัยพุทธกาลน่ะครับ ปัจจุบันมีน้ำสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมายที่สมัยพุทธกาลไม่ได้กล่าวถึง เช่น น้ำชาเชียว น้ำอัดลม โอเลี้ยง น้ำสำรอง น้ำผลไม้รวม โอวัลติน นมถั่วเหลือง ฯลฯ และอีกมากมายหลายน้ำ เพราะฉะนั้น มันก็ต้องอนุโลมไปตามยุคตามสมัยน่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#9 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 20 October 2011 - 07:55 PM

ตอบคุณ หัดฝันนะครับ happy.gif และคนอื่นๆ ที่ยังลังเลครับ

น้ำที่ไม่ทรงอนุญาต ดื่มแล้วองค์อุโบสถต้องแตกทำลาย

อกัปปิยปานะอนุโลม หรือ เครื่องดื่มที่ไม่พึงดื่ม คือ น้ำปานะที่ไม่สมควร ภิกษุดื่มในเวลาวิกาลไม่ได้ ถ้าดื่มต้องอาบัติปาจิตตย์ ได้แก่ น้ำแห่งธัญชาติ (ข้าว) ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้

น้ำแห่งมหาผล (ผลไม้ใหญ่ ) ๙ ชนิด คือ ผลตาล มะพร้าว ขนุน สาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม และ ฟักทอง

น้ำแห่งอปรัณณชาติ ได้แก่ ถั่วชนิดต่าง ๆ มีถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ และงา เป็นต้น แม้นจะต้มจะกรอง ทำเป็นเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ก็ย่อมเป็นอาบัติปาจิตตีย์

นม ท่านจัดเป็นอาหารอันประณีต ภิกษุสามเณรไม่พึงฉันยามวิกาล แม้นจะผสมกับเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ไม่ควร หากฉัน ก็ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์

ดังนั้น ผู้หวังความบริสุทธิ์ของอุโบสถมีองค์ ๘ พึงงดเว้นเครื่องดื่มที่ทรงห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายในยามวิกา

ข้อมูล : คัมภีร์อุโบสถศีล