ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

พระพุทธเจ้ากับปัญหาการเมือง


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dhamma Bot

Dhamma Bot
  • Members
  • 477 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 10:30 PM

ปัญหาการเมืองมีมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร แม้แต่ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมากๆ พระศาสดายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ก็ยังต้องมีปัญหาการเมือง ในฐานะพุทธศาสนิกชน เราจึงควรรู้เท่าทันด้วยสติและมองปัญหาการเมืองด้วยปัญญา ไม่ปล่อยใจให้หม่นหมองตามไปด้วย เป็นเสมือนจุดเย็นที่อยู่กลางเตาหลอม
ในสมัยพุทธกาลก็มีปัญหาการเมืองพอสมควรที่เด่นชัดก็มีเรื่องที่พระเจ้าอชาตศัตรูจะบุกแคว้นวัชชี ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแก้ไขด้วยการตรัสยืนยันว่าตราบใดที่เจ้าแคว้นวัชชีปฏิบัติอปริหานิยธรรม 7 ประการ ก็จะมีแต่เจริญเพียงอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมถอย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทางฝ่ายพระเจ้าอชาตศัตรูระงับการรุกรานเอาไว้เสียก่อน ส่วนอีกเรื่องก็คือเมื่อครั้งพระเจ้าวิฑูฑภะยกทัพไปทำลายศากยวงศ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปห้ามทัพด้วยพระองค์เองถึง 3 ครั้ง พอถึงครั้งที่ 4 ก็ทรงทราบว่านี่เป็นวิบากกรรมที่ใครๆก็ไม่อาจระงับได้ จึงไม่ทรงห้ามเหมือนคราวก่อน พระเจ้าวิฑูฑภะยกทัพไปฆ่าเจ้าศากยะแทบจะหมดสิ้น แล้วจึงยกทัพกลับโดยมาพักอยู่ที่ริมแม่น้ำ กรรมก็บันดาลให้เกิดฝนตกครั้งใหญ่ มีน้ำหลากท่วมมา ทำให้พระเจ้าวิฑูฑภะและส่วนหนึ่งของกองทัพโดนน้ำพัดพาไปและจมน้ำตายกันหมด เรื่องราวจะเป็นอย่างไร และพระพุทธองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร โปรดติดตามได้เลยครับ happy.gif



เรื่อง พระเจ้าอชาตศัตรูประสงค์ปราบแคว้นวัชชี

[๖๗] ข้าพเจ้า ได้ดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหิ มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปปราบปรามแคว้นวัชชี ๑- พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะพวกเจ้าวัชชีทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิ์มากอย่างนั้น มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจักถอนทำลายแคว้นวัชชีเสีย จักทำแคว้นวัชชีให้ พินาศ จักทำแคว้นวัชชีให้ถึงความย่อยยับ. ครั้งนั้นแล พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรส ของพระนางเวเทหิ ตรัสกะวัสสการพราหมณ์ ผู้เป็นมหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ว่า ขอเชิญท่านพราหมณ์จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายบังคม พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลถามถึงความไร้ พระโรคาพาธ ความคล่องพระองค์ พระกำลัง การทรงพระสำราญตามคำของ เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหิ ถวายบังคมพระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย เศียรเกล้า ทูลถามถึงความไร้พระโรคาพาธ ความคล่องพระองค์ พระกำลัง การทรงพระสำราญ และท่านจงกราบทูลอย่างนี้ด้วยว่า พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสพระนางเวเทหิ มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปปราบปรามแคว้นวัชชี พระองค์มีพระดำรัสอย่างนี้ว่า เพราะพวกเจ้าวัชชี ทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิมากอย่างนั้น มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจักถอนทำ ลายแคว้นวัชชีเสีย จักทำแคว้นวัชชีให้พินาศ จักทำแคว้นวัชชีให้ถึงความย่อยยับ และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านจงจำเอาคำ พยากรณ์นั้นให้ดี แล้วมาบอกแก่เรา เพราะว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย หาตรัส สิ่งที่ปราศจากความจริงไม่

วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ กราบทูลรับพระดำรัสพระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรส พระนางเวเทหิว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วเทียมยานทั้งหลายที่ใหญ่ ๆ แล้ว ขึ้นยานใหญ่ ๆ ๑- (คันหนึ่ง) ออกจากกรุงราชคฤห์ ด้วยยานทั้งหลายที่ใหญ่ ๆ ไปถึงภูเขาคิชฌกูฏ ไปด้วยยานตลอดพื้นที่ยานไปได้ แล้วลงจากยาน เดินเท้า ขึ้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวถ้อยคำ น่าชื่นชมควรรำลึกถึงกันแล้วจึงนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ผู้นั่งแล้ว ณ ด้านหนึ่ง ได้กราบทูลคำต่อไปนี้กะ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหิ ถวายบังคมพระยุคลบาทพระโคดม ผู้เจริญด้วยพระเศียรเกล้า ทูลถามถึงความไร้พระโรคาพาธ ความคล่อง พระองค์ พระกำลัง การทรงพระสำราญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระราชา อชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหิ มีพระราชประสงค์ จะเสด็จไปปราบปรามแคว้นวัชชี พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะพวก เจ้าวัชชีทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิ์มากอย่างนั้น มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจักถอนทำลายแคว้นวัชชีเสีย จักทำแคว้นวัชชีให้พินาศ จักทำแคว้นวัชชีให้ถึง ความย่อยยับ ดังนี้. กถาว่าด้วยอปริหานิยธรรมของเจ้าวัชชี ๗

[๖๘] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ ยืนถวายงานพัดอยู่เบื้อง พระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่าน พระอานนท์ว่า (๑) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยังประชุม กันเนือง ๆ ยังประชุมกันมากอยู่หรือ อา. ข้อนี้ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ประชุมกันเนือง ๆ ประชุมกันมาก พระเจ้าข้า พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักประชุมกันเนือง ๆ ยัง จักประชุมกันอยู่มาตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวัง ความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้ พ. (๒) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง พร้อมเพียงกันประชุมพร้อมเพียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวก เจ้าวัชชีพึงทำอยู่หรือ. อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังพร้อมเพรียงกัน ประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึง ทำ พระเจ้าข้า. พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำอยู่ตลอด กาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หา ความเสื่อมมิได้.

พ. (๓) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง ไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังสมาทาน วัชชีธรรมแบบโบราณ ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่หรือ. อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังไม่บัญญัติข้อที่ไม่ เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังสมาทานวัชชีธรรมแบบ โบราณตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่ พระเจ้าข้า. พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคย บัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานวัชชีธรรมแบบโบราณ ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้า วัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้. พ. (๔) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยัง สักการะ เคารพนับถือบูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลายและยัง เชื่อถือถ้วยคำที่ควรฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่หรือ. อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลายและยังเชื่อถ้อยคำที่ควร ฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ พระเจ้าข้า. พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะ เคารพนับถือ บูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังเชื่อถือถ้อยคำที่ควรฟัง ของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้. พ. (๕) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ฉุด คร่า ข่มเหง กักขังกุลสตรีทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลายอยู่หรือ.

อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายไม่ฉุดคร่า ข่มเหง กักขังกุลสตรีทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลาย พระเจ้าข้า. พ. ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ฉุดคร่า ข่มเหงกักขังกุลสตรี ทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้. พ. (๖) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง สักการะ เคารพนับถือบูชาเจดีย์ วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก (พระนคร) ของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังไม่ลดพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคย ทำแล้วแก่เจดีย์วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเหล่านั้นอยู่หรือ. อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์ วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังไม่มีลดหย่อนพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคยทำแล้ว แก่เจดีย์ วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเหล่านั้น พระเจ้าข้า. พ. ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายยังสักการะ เคารพนับถือบูชาเจดีย์ วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และจักยังไม่ลดหย่อนพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคยทำแล้ว แก่เจดีย์วัชชี ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเหล่านั้นอยู่หรือ. ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้. พ. (๗) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง จัดอารักขา ป้องกันและคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่าทำอย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น และพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้น ดังนี้ หรือ.

อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจัดอารักขา ป้องกัน และคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่า ทำอย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น และพระอรหันต์ ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้นดังนี้ พระเจ้าข้า. พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจักเป็นผู้จัดอารักขา ป้องกัน และคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่า ทำอย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น และพระอรหันต์ ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้น ดังนี้ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อน อานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้ ฉะนี้แล. [๖๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ สมัยหนึ่ง ตถาคตอยู่ ณ วิหารสารันททะเจดีย์ในนครเวสาลี ณ ที่นั้น ตถาคตได้แสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้แก่เจ้าวัชชีทั้งหลาย ดูก่อนท่านพราหมณ์ ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ยังจักตั้งอยู่ในเจ้าวัชชีทั้งหลายและเจ้าวัชชีทั้งหลายยังจักเห็นดี ร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อน พราหมณ์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้. ๑- ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ เจ้าวัชชีทั้งหลายประกอบด้วยอปริหานิยธรรมแม้เพียงข้อหนึ่งข้อเดียว ก็พึงหวังความเจริญได้โดยแท้ หาความเสื่อมมิได้ แต่ว่าจะกล่าวอะไร ถึงเจ้า วัชชีทั้งหลายประกอบด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ และพระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสพระนางเวเทหิ ไม่ควรทำกะเจ้าวัชชีทั้งหลายด้วยการรบ นอกจากเจรจาปรองดอง นอกจาก ทำให้แตกกันและกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญสมควรแล้ว ข้าพระองค์จะไป บัดนี้ ข้าพระองค์มีกิจมาก มีเรื่องจะพึงทำมาก. (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ดูก่อนท่านพราหมณ์ บัดนี้ ท่านจงพิจารณา เห็นเป็นกาลสมควรเถิด. ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธชื่นชม อนุโมทนาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะกลับไป.



เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ

ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรงปรารภ พระเจ้าวิฑูฑภะ พร้อมทั้งบริษัท ซึ่งถูกห้วงน้ำท่วมทับให้สวรรคตแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า"ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ" เป็นต้น. อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :- สามพระกุมารไปศึกษาศิลปะในกรุงตักกสิลา พระกุมาร ๓ พระองค์เหล่านี้ คือ " พระราชโอรสของ พระเจ้ามหาโกศล ในพระนครสาวัตถี พระนามว่าปเสนทิกุมาร, พระกุมาร ของเจ้าลิจฉวี ในพระนครเวสาลี พระนามว่ามหาลิ, โอรสของ เจ้ามัลละ ในพระนครกุสินารา พระนามว่าพันธุละ" เสด็จไปนครตักกสิลา เพื่อเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มาพบกันที่ศาลานอก พระนคร ต่างก็ถามถึงเหตุที่มา ตระกูล และพระนามของกันและกัน แล้ว เป็นพระสหายกัน ร่วมกันเข้าไปหาอาจารย์ ต่อกาลไม่นานนักก็ เรียนศิลปะสำเร็จ จึงกราบลาอาจารย์พร้อมกัน เสด็จออก (จาก กรุงตักกสิลา) ได้ไปสู่ที่อยู่ของตน ๆ. สามพระกุมารได้รับตำแหน่งต่างกัน บรรดาพระกุมารทั้ง ๓ พระองค์นั้น ปเสนทิกุมาร ทรงแสดง ศิลปะถวายพระชนก อันพระชนกทรงเลื่อมใสแล้ว (จึง) อภิเษกในราชสมบัตินั้น พระราชาทรงส่งพระราชสาสน์ไปสำนักพระอัยยิกาว่า" พระนางวาสภขัตติยา พระธิดาแห่งศากยราช ประสูติพระโอรสแล้ว, จะทรง ขนานพระนามพระกุมารนั้นว่าอย่างไร?"

ฝ่ายอำมาตย์ผู้รับพระราชสาสน์นั้นไป ค่อนข้างหูตึง. เขาไปแล้ว ก็กราบทูลแก่พระอัยยิกาของพระราชา. พระกุมารได้พระนามว่าวิฑูฑภะ พระอัยยิกานั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า " พระนางวาสภขัตติยา แม้ไม่ประสูติพระโอรส ก็ได้ครอบครองชนทั้งหมด, ก็บัดนี้ นางจักเป็นที่โปรดปรานยิ่งของพระราชา. " อำมาตย์หูตึงฟังคำว่า " วัลลภา" ไม่ค่อยชัด เข้าใจว่า " วิฑูฑภะ" ครั้นเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ก็กราบทูลว่า " ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรง ขนานพระนามพระกุมารว่า 'วิฑูฑภะ' เถิด. " พระราชาทรงดำริว่า " คำว่า 'วิฑูฑภะ' จักเป็นชื่อประจำ ตระกูลเก่าของเรา" จึงได้ทรงขนานพระนามว่า " วิฑูฑภะ. " วิฑูฑภะเสด็จเยี่ยมศากยสกุล ต่อมา พระราชาได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่วิฑูฑภกุมาร นั้น ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์นั่นแล ด้วยตั้งพระทัยว่า " จะกระทำให้ เป็นที่โปรดปรานของพระศาสดา. " วิฑูฑภะนั้น ทรงเจริญด้วยเครื่องบำรุงสำหรับกุมาร ในเวลามี พระชนม์ ๗ ขวบ ทรงเห็นของเล่นต่าง ๆ มีรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น ของกุมารเหล่าอื่น อันบุคคลนำมาจากตระกูลยาย จึงถามพระมารดาว่า " เจ้าแม่ ใคร ๆ เขาก็นำบรรณาการมาจากตระกูลยายเพื่อพวกกุมาร เหล่าอื่น, พระญาติไร ๆ ย่อมไม่ส่งบรรณาการไร ๆ มาเพื่อหม่อมฉัน (บ้างเลย), เจ้าแม่ไม่มีพระชนนีพระชนกหรือ?" ทีนั้น พระมารดาจึงลวงโอรสนั้นว่า " พ่อ เจ้าศากยะเป็นยาย ของเจ้ามีอยู่, แต่อยู่ไกล, เหตุนั้น พวกท่าน (จึง) มิได้ส่งเครื่อง บรรณาการไร ๆ มาเพื่อเจ้า. "

ในเวลามีพระชันษาครบ ๑๖ ปี พระกุมารจึงทูลพระมารดาอีก ว่า " เจ้าแม่ หม่อมฉันใคร่จะเยี่ยมตระกูลพระเจ้ายาย" แม้ถูกพระมารดา ห้ามอยู่ว่า " อย่าเลย ลูกเอ๋ย, ลูกจักไปทำอะไรในที่นั้น" ก็ยังอ้อนวอน ร่ำไป. ทีนั้น พระมารดาของพระกุมาร ก็ทรงยินยอมว่า " ถ้าอย่างนั้นก็ ไปเถิด." พวกศากยะต้อนรับวิฑูฑภะ พระกุมารกราบทูลพระราชบิดาแล้ว เสด็จออกไป พร้อมด้วย บริวารเป็นอันมาก. พระนางวาสภขัตติยาทรงส่งจดหมายล่วงหน้าไปก่อน ว่า " หม่อมฉันอยู่ในที่นี้สบายดี, พระญาติทั้งหลายอย่าแสดงโทษไร ๆ ของพระสวามีแก่พระกุมารนั้นเลย. " เจ้าศากยะทรงทราบว่าวิฑูฑภกุมารเสด็จมา ทรงปรึกษากันว่า " พวกเราไม่อาจไหว้ (วิฑูฑภกุมาร) ได้" จึงส่งพระกุมารทั้งหลาย ที่เด็ก ๆ กว่าวิฑูฑภะนั้นไปยังชนบทเสีย, เมื่อวิฑูฑภกุมารนั้นเสด็จถึง กบิลพัสดุ์บุรี, ก็ประชุมกันในท้องพระโรง, วิฑูฑภกุมารได้เสด็จไป ประทับอยู่ ณ ที่นั้น. ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะกล่าวกะพระกุมารนั้นว่า " พ่อ ผู้นี้เป็น พระเจ้าตาของพ่อ, ผู้นี้เป็นพระเจ้าลุง. " วิฑูฑภกุมารนั้น เที่ยวไหว้ เจ้าศากยะทั้งหมด มิได้เห็นเจ้าศากยะแม้องค์หนึ่งไหว้ตน (จึง) ทูลถามว่า " ทำไมหนอ จึงไม่มีเจ้าศากยะทั้งหลายไหว้หม่อมฉันบ้าง?" พวกเจ้าศากยะตรัสว่า " พ่อ กุมารที่เป็นน้อง ๆ ของพ่อเสด็จไป ชนบท (เสียหมด) แล้วทรงทำสักการะใหญ่แก่พระกุมารนั้น. พระองค์ประทับอยู่สิ้น ๒-๓ วัน ก็เสด็จออกจากพระนครด้วยบริวารเป็น อันมาก.

วิฑูฑภะกลับสู่เมืองของตน ลำดับนั้น นางทาสีคนหนึ่งแช่งด่าว่า " นี้เป็นแผ่นกระดานที่บุตร ของนางทาสีชื่อวาสภขัตติยานั่ง" ดังนี้แล้ว ล้างแผ่นกระดานที่พระกุมาร นั้นนั่งในท้องพระโรง ด้วยน้ำเจือด้วยน้ำนม. มหาดเล็กคนหนึ่ง ลืม อาวุธของตนไว้ กลับไปเอาอาวุธนั้น ได้ยินเสียงด่าวิฑูฑภกุมาร จึงถาม โทษนั้น ทราบว่า " นางวาสภขัตติยา เกิดในท้องของนางทาสีของ ท้าวมหานามศากยะ" (จึง) บอกกล่าวแก่พวกพล. ได้มีการอื้อฉาวกัน อย่างขนานใหญ่ว่า " ได้ยินว่า " พระนางวาสภขัตติยา เป็นธิดาของ นางทาสี. " วิฑูฑภะทรงอาฆาตพวกเจ้าศากยะ เจ้าวิฑูฑภะทรงสดับคำนั้น ตั้งพระหฤทัยไว้ว่า " เจ้าศากยะเหล่านั้น จงล้างแผ่นกระดานที่เรานั่งด้วยน้ำเจือด้วยน้ำนมก่อน, แต่ใน กาลที่เราดำรงราชสมบัติแล้ว เราจักเอาเลือดในลำคอของเจ้าศากยะ เหล่านั้น ล้างแผ่นกระดานที่เรานั่ง" เมื่อพระองค์เสด็จยาตราถึง กรุงสาวัตถี, พวกอำมาตย์ก็กราบทูลเรื่องทั้งหมดแด่พระราชา. พระราชาทรงพิโรธเจ้าศากยะว่า " ได้ให้ธิดานางทาสีแก่เรา" จึงรับส่งให้ริบเครื่องบริหารที่พระราชทานแก่พระนางวาสภขัตติยาและ พระโอรส, ให้พระราชทานเพียงสิ่งของอันผู้เป็นทาสและทาสีพึงได้เท่านั้น ต่อมา โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน พระศาสดาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ประทับนั่งแล้ว. พระราชาเสด็จมาถวายบังคมแล้วทูลว่า " ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข่าวลือว่า พวกพระญาติของพระองค์ประทานธิดาแห่ง นางทาสีแก่หม่อมฉัน, เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงริบเครื่องบริหารของ นางวาสภขัตติยานั้นพร้อมทั้งบุตร ให้ ๆ เพียงสิ่งของอันผู้เป็นทาสและ ทาสีควรได้เท่านั้น." พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร พวกเจ้าศากยะทำกรรมไม่สมควร, ธรรมดาเมื่อจะให้ ก็ควรให้พระธิดาที่มีชาติเสมอกัน; มหาบพิตร ก็ อาตมภาพขอทูลพระองค์ว่า 'พระนางวาสภขัตติยาเป็นพระธิดาของขัตติยราช ได้อภิเษกในพระราชมณเฑียรของขัตติยราช, ฝ่ายวิฑูฑภกุมาร ก็ ทรงอาศัยขัตติยราชนั่นแลประสูติแล้ว, ธรรมดาว่า โคตรฝ่ายมารดาจาก ทำอะไร (ได้), โคตรฝ่ายบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " โบราณกบัณฑิตทั้งหลายได้พระราชทานตำแหน่งอัครมเหสี แก่หญิงผู้ ยากจนชื่อกัฏฐหาริกา ๑-, และพระกุมารที่เกิดในท้องของนางนั้น (ก็) ถึง ก็ทีฆการายนะนั้น เที่ยวแสวงหาโทษของพระราชาด้วยคิดอยู่ว่า " ลุงของเรา ถูกพระราชาองค์นี้ ให้ตายแล้ว. " ข่าวว่า จำเดิมแต่การ ที่พันธุละผู้ไม่มีความผิดถูกฆ่าแล้ว พระราชาทรงมีวิปฏิสาร ไม่ได้รับ ความสบายพระหฤทัย ไม่ได้เสวยความสุขในราชสมบัติเลย. พระราชาสวรรคต ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงอาศัยนิคมชื่อเมทฬุปะของพวกเจ้าศากยะ ประทับอยู่. พระราชาเสด็จไปที่นั้นแล้ว ทรงให้ตั้งค่ายในที่ไม่ไกลจาก พระอารามแล้ว เสด็จไปวิหาร ด้วยบริวารเป็นอันมาก ด้วยทรงดำริว่า " จักถวายบังคมพระศาสดา" พระราชทานเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ ๑- แก่ทีฆการายนะแล้ว พระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี. พึง ทราบเรื่องทั้งหมดโดยทำนองแห่งธรรมเจติยสูตร ๒-. เมื่อพระองค์เสด็จเข้า สู่พระคันธกุฎีแล้ว ทีฆการายนะจึงถือเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์เหล่านั้น ทำ วิฑูฑภะให้เป็นพระราชา เหลือม้าไว้ตัวหนึ่ง และหญิงผู้เป็นพนักงาน อุปัฏฐากคนหนึ่ง แล้วได้กลับไปเมืองสาวัตถี. พระราชาตรัสปิยกถากับพระศาสดาแล้วเสด็จออก ไม่ทรงเห็นเสนา จึงตรัสถามหญิงนั้น ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " เราจักพา หลานไปจับวิฑูฑภะ" ดังนี้แล้ว เสด็จไปกรุงราชคฤห์ เสด็จถึงพระนคร เมื่อประตู (พระนคร) อันเขาปิดแล้วในเวลาวิกาล บรรทมแล้วในศาลาแห่งหนึ่ง ทรงเหน็ดเหนื่อยเพราะลมและแดด ได้สวรรคตในที่นั้นนั่นเอง ในเวลากลางคืน เมื่อราตรีสว่างแล้ว, ประชาชนได้ยินเสียงหญิงคนนั้น คร่ำครวญอยู่ว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ผู้จอมแห่งชาวโกศล พระองค์ไม่มี ที่พึ่งแล้ว" จึงกราบทูลแด่พระราชา. ท้าวเธอ ทรงรับสั่งให้ทำสรีรกิจ ของพระเจ้าลุง ด้วยสักการะใหญ่. พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จไปพบพระศาสดา แม้พระเจ้าวิฑูฑภะ ได้ราชสมบัติแล้ว ทรงระลึกถึงเวรนั้น ทรง ดำริว่า " เราจักยังเจ้าศากยะแม้ทั้งหมดให้ตาย" ดังนี้แล้ว จึงเสด็จออก ไปด้วยเสนาใหญ่.

ในวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นความ พินาศแห่งหมู่พระญาติแล้ว ทรงดำริว่า " เราควรกระทำญาติสังคหะ" ในเวลาเช้า เสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงสำเร็จสีหไสยาในพระคันธกุฎี ในเวลาเย็นเสด็จไปทางอากาศ ประทับ นั่งที่โคนไม้ มีเงาปรุโปร่ง ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์. แต่นั้นไป มีต้นไทรเงาสนิทต้นใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ในรัชสีมาของ พระเจ้าวิฑูฑภะ. พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็นพระศาสดา จึงเสด็จเข้า ไปเฝ้า ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะ เหตุไร พระองค์จึงประทับนั่งแล้วที่โคนไม้เงาปรุโปร่งนี้ ในเวลาร้อน เห็นปานนี้, ขอพระองค์โปรดประทับนั่งที่โคนไทร มีเงาอันสนิทนั่นเถิด พระเจ้าข้า" เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า " ช่างเถิด มหาบพิตร, ชื่อว่า เงาของหมู่พระญาติเป็นของเย็น, " จึงทรงดำริว่า " พระศาสดาจักเสด็จมาเพื่อทรงประสงค์รักษาหมู่พระญาติ" จึงถวายบังคมพระศาสดา เสด็จ กลับไปสู่เมืองสาวัตถีนั่นแล. แม้พระศาสดาก็ทรงเหาะไปสู่เชตวันเหมือน กัน. พระราชาทรงระลึกถึงโทษแห่งพวกเจ้าศากยะ เสด็จออกไปแม้ครั้ง ที่ ๒ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จกลับอีก. เสด็จ ออกไปแม้ครั้งที่ ๓ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จ กลับ. แต่เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นเสด็จออกไปในครั้งที่ ๔, พระศาสดา ทรงพิจารณาเห็นบุรพกรรมของเจ้าศากยะทั้งหลาย ทรงทราบความที่กรรม อันลามกคือการโปรยยาพิษ ในแม่น้ำของเจ้าศากยะเหล่านั้น เป็นกรรม อันใคร ๆ ห้ามไม่ได้ จึงมิได้เสด็จไปในครั้งที่ ๔. พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จ ออกไปแล้วด้วยพลใหญ่ ด้วยทรงดำริว่า " เราจักฆ่าพวกเจ้าศากยะ. " พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ ก็พระญาติทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธะชื่อว่าไม่ฆ่าสัตว์ แม้จะ ตายอยู่ก็ไม่ปลงชีวิตของเหล่าสัตว์อื่น. เจ้าศากยะเหล่านั้นคิดว่า " พวกเราฝึกหัดมือแล้ว มีเครื่องผูกสอด อันทำแล้ว หัดปรือมาก, แต่พวกเราไม่อาจปลงสัตว์อื่นจากชีวิตได้เลย, พวกเราจักแสดงกรรมของตนแล้วให้หนีไป. " เจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงมี เครื่องผูกสอดอันทำแล้ว จึงเสด็จออกเริ่มการยุทธ. ถูกศรที่เจ้าศากยะ เหล่านั้นยิงไปไปตามระหว่าง ๆ พวกบุรุษของพระเจ้าวิฑูฑภะ, ออกไป โดยช่องโล่และช่องหูเป็นต้น. พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็น จึง ตรัสว่า " พนาย พวกเจ้าศากยะย่อมตรัสว่า 'พวกเราเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์' มิใช่หรือ? ก็เมื่อเช่นนี้ ไฉนพวกเจ้าศากยะจึงยิงบุรุษของเราให้ฉิบหายเล่า. "

ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งกราบทูลพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นว่า " ข้าแต่ เจ้า พระองค์ตรวจสอบดูแล้วหรือ?" พระเจ้าวิฑูฑภะ. พวกเจ้าศากยะ ยังบุรุษของเราให้ฉิบหาย. บุรุษ. บุรุษไร ๆ ของพระองค์ ชื่อว่าตายแล้ว ย่อมไม่มี, ขอเชิญ พระองค์จงรับสั่งให้นับบุรุษเหล่านั้นเถิด. พระเจ้าวิฑูฑภะเมื่อรับสั่งให้นับดู ไม่ทรงเห็นหมดไปแม้คนหนึ่ง. ท้าวเธอเสด็จกลับจากที่นั่นแล้ว ตรัสว่า " พนาย คนเหล่าใด ๆ บอกว่า 'พวกเราเป็นเจ้าศากยะ' ท่านทั้งหลาย จงฆ่าคนเหล่านั้นทั้งหมด; แต่ จงให้ชีวิต แก่คนที่ยืนอยู่ในสำนักของเจ้าศากยะมหานาม ผู้เป็นพระเจ้าตา ของเรา. เจ้าศากยะทั้งหลายไม่เห็นเครื่องถือที่ตนพึงถือเอา บางพวกคาบหญ้า บางพวกถือไม้อ้อ ยืนอยู่, ถูกเขาถามว่า " ท่านเป็นเจ้าศากยะหรือไม่ ใช่? เพราะเหตุที่เจ้าศากยะเหล่านั้น แม้จะตายก็ไม่พูดคำเท็จ; พวกที่ ยืนคาบหญ้าอยู่แล้ว จึงกล่าวว่า " ไม่ใช่เจ้าศากยะ, หญ้า. " พวกที่ยืน ถือไม้อ้อก็กล่าวว่า " ไม่ใช่เจ้าศากยะ, ไม้อ้อ. " เจ้าศากยะเหล่านั้นและ เจ้าศากยะที่ยืนอยู่ในสำนักของท้าวมหานาม ได้ชีวิตแล้ว. บรรดาเจ้าศากยะเหล่านั้น เจ้าศากยะที่ยืนคาบหญ้า ชื่อว่า เจ้าศากยะหญ้า, พวกที่ยืนถือไม้อ้อ ชื่อว่าเจ้าศากยะไม้อ้อ. พระเจ้าวิฑูฑภะรับสั่งให้ฆ่าเจ้าศากยะอันเหลือทั้งหลาย ไม่เว้นทารก แม้ยังดื่มนม ยังแม่น้ำคือโลหิต ให้ไหลไปแล้ว รับสั่งให้ล้างแผ่นกระดาน ด้วยโลหิตในลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้น. ศากยวงศ์ อันพระเจ้าวิฑูฑภะเข้าไปตัดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น รับสั่งให้จับเจ้าศากยมหานาม เสด็จกลับแล้ว ใน เวลาเสวยกระยาหารเช้า ทรงดำริว่า " เราจักเสวยอาหารเช้า" ดังนี้แล้ว ทรงแวะในที่แห่งหนึ่ง, เมื่อโภชนะอันบุคคลนำเข้าไปแล้ว, รับสั่งให้ เรียกพระเจ้าตามา ด้วยพระดำรัสว่า " เราจักเสวยร่วมกัน. " มานะกษัตริย์ แต่กษัตริย์ทั้งหลาย ถึงจะสละชีวิต ก็ไม่ยอมเสวยร่วมกับบุตร นางทาสี; เพราะฉะนั้น ท้าวมหานามทอดพระเนตรเห็นสระ ๆ หนึ่งจึงตรัสว่า " เรามีร่างกายอันสกปรก, พ่อ เราจักอาบน้ำ. " พระเจ้าวิฑูฑภะตรัสว่า " ดีละ พระเจ้าตา เชิญพระเจ้าตาอาบเถิด. " ท้าวมหานามทรงดำริว่า " พระเจ้าวิฑูฑภะนี้ จักฆ่าเราผู้ไม่บริโภคร่วม, การตายเองของเราเท่านั้น ประเสริฐกว่า" ดังนี้แล้ว จึงทรงสยายผม สอดหัวแม่เท้าเข้าไปในผม ขอดให้เป็นปมที่ปลาย ดำลงไปในน้ำ. ด้วยเดชแห่งคุณของท้าวมหานามนั้น นาคภพก็แสดงอาการร้อน. พระยานาคใคร่ครวญว่า " เรื่องอะไรกันหนอ?" เห็นแล้วจึงมาสู่สำนัก ของท้าวมหานามนั้น ให้ท้าวมหานามประทับบนพังพาน แล้วเชิญเสด็จ เข้าไปสู่นาคภพ. ท้าวมหานามนั้นอยู่ในนาคภพนั้นนั่นแล สิ้น ๑๒ ปี. ฝ่ายพระเจ้าวิฑูฑภะประทับนั่งคอยอยู่ ด้วยทรงดำริว่า " พระเจ้าตา ของเราจักมาในบัดนี้; เมื่อท้าวมหานามนั้นชักช้าอยู่, จึงรับสั่งให้ค้น ในสระ ตรวจดูแม้ระหว่างบุรุษด้วยแสงประทีป ไม่เห็นแล้วก็เสด็จหลีก ไป ด้วยทรงดำริว่า " พระเจ้าตาจักเสด็จไปแล้ว. "

พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น เสด็จถึงแม่น้ำอจิรวดีในเวลาราตรี รับสั่งให้ ตั้งค่ายแล้ว. คนบางพวก นอนแล้วที่หาดทรายภายในแม่น้ำ, บางพวก นอนบนบกในภายนอก. แม้บรรดาพวกที่นอนแล้วในภายใน พวกที่มี บาปกรรมอันไม่ได้กระทำแล้วในก่อน มีอยู่, แม้บรรดาพวกที่นอนแล้ว ในภายนอก ผู้ที่มีบาปกรรมอันได้กระทำแล้วในก่อน มีอยู่, มดแดง ทั้งหลายตั้งขึ้นแล้ว ในที่ซึ่งคนเหล่านั้นนอนแล้ว. ชนเหล่านั้น กล่าวกันว่า " มดแดงตั้งขึ้นแล้วในที่เรานอนแล้ว, มดแดงตั้งขึ้นแล้ว ในที่เรานอนแล้ว" จึงลุกขึ้น, พวกที่มีบาปกรรมอัน ไม่ได้กระทำแล้ว ลุกขึ้นไปนอนบนบก, พวกมีบาปกรรมอันกระทำแล้ว ลงไปนอนเหนือหาดทราย. ขณะนั้น มหาเมฆตั้งขึ้น ยังฝนลูกเห็บให้ตกแล้ว. ห้วงน้ำหลากมา ยังพระเจ้าวิฑูฑภะพร้อมด้วยบริษัท ให้ถึงสมุทรนั่นแล. ชนทั้งหมด ได้ เป็นเหยื่อแห่งปลาและเต่าในสมุทรนั้นแล้ว. มหาชนยังกถาให้ตั้งขึ้นว่า " ความตายของเจ้าศากยะทั้งหลายไม่สมควรเลย, ความตายนี่ คือพวก เจ้าศากยะ อันพระเจ้าวิฑูฑภะทุบแล้ว ๆ ชื่ออย่างนี้ให้ตาย จึงสมควร ๑-." พวกเจ้าศากยะตายสมควรแก่บุรพกรรม พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย, ความ ตายอย่างนี้ ไม่สมควรแก่เจ้าศากยะทั้งหลายในอัตภาพนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ความตายที่พวกเจ้าศากยะนั่นได้แล้ว ก็ควรโดยแท้ ด้วยสามารถแห่ง กรรมลามกที่เขาทำไว้ในปางก่อน. "

ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เจ้าศากยะทั้งหลายนั่น ได้กระทำ กรรมอะไรไว้ในปางก่อน? พระศาสดา. ในปางก่อน พวกเจ้าศากยะนั่น รวมเป็นพวกเดียวกัน โปรยยาพิษในแม่น้ำ. ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายยังกถาให้ตั้งขึ้นในโรงธรรมว่า " พระเจ้าวิฑูฑภะ ยังเจ้าศากยะทั้งหลายประมาณเท่านี้ให้ตายแล้ว เสด็จมาอยู่, เมื่อมโนรถของตนยังไม่ถึงที่สุดนั่นแล, พาชนมีประมาณเท่านั้น (ไป) เกิดเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าในสมุทรแล้ว. " พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก เธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลว่า " ด้วย กถาชื่อนี้" จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมโนรถของสัตว์เหล่านี้ ยัง ไม่ถึงที่สุดนั่นแล, มัจจุราชตัดชีวิตินทรีย์แล้ว ให้จมลงในสมุทรคือ อบาย ๔ ประดุจห้วงน้ำใหญ่ ท่วมทับชาวบ้านอันหลับฉะนั้น" ดังนี้ แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :- ๓. ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ สุตฺตํ คามํ มโหโฆว มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ. " มัจจุ ย่อมพานระผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ผู้เลือกเก็บดอกไม้อยู่เที่ยวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไปฉะนั้น. " แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า พฺยาสตฺตมนสํ

สองบทว่า สุตฺตํ คามํ ความว่า ชื่อว่าการหลับด้วยสามารถแห่ง การหลับแห่งทัพพสัมภาระทั้งหลายมีฝาเรือนเป็นต้นแห่งบ้าน ย่อมไม่มี. แต่บ้านชื่อว่าเป็นอันหลับแล้ว ก็เพราะเปรียบเทียบความที่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ประมาทแล้วเพียงดังว่าหลับแล้ว; มัจจุพา (นระ) ไป ดุจห้วงน้ำ ใหญ่อันกว้างและลึก ๒-๓ โยชน์ (พัดพา) ชาวบ้านที่หลับแล้วอย่าง นั้น ไปอยู่ฉะนั้น; คือว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น ยังชาวบ้านนั้นทั้งหมด ไม่ ให้สัตว์ไร ๆ ในบรรดาสตรี บุรุษ โค กระบือ และไก่เป็นต้น เหลือ ไว้ ให้ถึงสมุทรแล้ว ทำให้เป็นภักษาของปลาและเต่าฉันใด; มัจจุราช คือความตาย พานระผู้มีใจข้องแล้วในอารมณ์ต่าง ๆ คือตัดอินทรีย์คือ ชีวิตของนระนั้น ให้จมลงในสมุทรคืออบายทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มี โสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.



#2 Soldier Class One

Soldier Class One
  • Members
  • 130 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 June 2008 - 10:15 AM

สา..................ธุครับ

เป้าหมายชีวิต คือ ที่สุดแห่งธรรม