ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

นั่งเนสัชฯ ใจไม่แข็งพอ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 16 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 @--แสงตะวัน--@

@--แสงตะวัน--@
  • Members
  • 723 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand

โพสต์เมื่อ 23 December 2009 - 08:25 PM

เริ่มอย่างไรดี ฮืม... ช่วงนี้รู้สึกตัวเองขี้เกียจเกินพอดีครับ ก็เลยพยามยามจะถือธุดงค์ เนสัชฯ
ลองไปลองมาไม่สำเร็จซักที อย่างมากก็ได้แค่คืนเดียว วันต่อมาก็หมดสภาพ

อยากถามเพื่อนๆ ครับว่า เคยลองนั่งเนสัชฯ กันแบบหลายๆ วันหรือเปล่า แล้วระหว่างถือธุดงค์เนสัชควรคิดอะไร
ตอนง่วงมากๆ ข่มใจยังไงกับความขี้เกียจ หรือท่านใดพอทราบว่าพระธุดงค์ที่เค้าถือกันตลอดพรรษาท่านปฏิบัติตัว
อย่างไรหรือครับ

ข้อสุดท้ายเวลาเพื่อนๆ รู้สึกว่าตัวเองขี้เกียจ หรือกลัวที่จะก้าวออกไปทำอะไรซักอย่างที่ควรทำ เพื่อนปรับใจกันอย่างไร
บ้างครับ nerd_smile.gif
"ชีวิตนี้อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"

#2 ศิษย์มีครู

ศิษย์มีครู
  • Members
  • 144 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 December 2009 - 08:51 PM



8 วิธีแก้ง่วงที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้กับพระโมคคัลลานะ


พระมหาโมคคัลลานะ เมื่ออุปสมบทได้ 7 วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่ป่าใกล้บ้านกัลป์ลาวาลมุตตาคาม แขวงมคธ ถูกถีนมิทธารมณ์ คือ ความง่วงเหงาเข้าครอบงำ ไม่สามารถจะทำความเพียรได้ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ สวนเภสกลาวัน ซึ่งเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่เนื้อ ใกล้เมืองสุงสุมารคิรี อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นภัคคะ ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระโมคคัลลานะ โงกง่วงอยู่ จึงทรงทำปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฏ ประหนึ่งว่าเสด็จประทับอยู่ตรงหน้า ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วงแก่เธอตามลำดับ ดังนี้

1.โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น เธอจงทำไว้ในใจซึ่งสัญญาอย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

2.ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองถึงธรรมที่ได้เรียนมาแล้ว ได้ฟังมาแล้วให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

3.ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมที่ได้เรียนได้ฟังมาแล้วให้มากจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

4.ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรยอนช่วงหูทั้งสองข้าง และลูบตัวด้วยฝ่ายมือจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

5.ถ้ายังละไม่ได้ เธอจงลุกขึ้นแล้วลูบนัยน์ตา ลูบหน้าด้วยน้ำเหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

6.ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรทำไว้ในใจถึงอาโลกสัญญา ถือ กำหนดความสว่างไว้ในใจเหมือนกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำใจให้เปิด ให้สว่าง จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

7.ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรเดินจงกรมสำรวมอินทรีย์ มีจิตใจไม่คิดไปภายนอก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

8.ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นเป็นนิตย์ เมื่อตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจะไม่ประกอบความสุขในการนอนและการเคลิ้มหลับอีกจะเป็นเหตุให้ละความง่วง ได้ พระพุทธองค์ ตรัสสอนอุบายเพื่อบรรเทาความง่วงโดยลำดับจนที่สุดถ้ายังไม่หายง่วงก็ให้นอน แต่ให้นอนอย่างมีสติ

#3 @--แสงตะวัน--@

@--แสงตะวัน--@
  • Members
  • 723 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand

โพสต์เมื่อ 23 December 2009 - 09:00 PM

"โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น เธอจงทำไว้ในใจซึ่งสัญญาอย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้"

ไม่ค่อยเข้าใจข้อแรกครับ รบกวนท่านผู้รู้ขยายความหน่อยนะครับ
"ชีวิตนี้อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"

#4 kissy

kissy
  • Members
  • 589 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 December 2009 - 09:16 PM

สาธุ....



#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 December 2009 - 10:28 PM

http://www.dmc.tv/pa...ngkol05-58.html

nerd_smile.gif ...ควรเตรียมขันธ์5 ปรับสมดุลให้พร้อม...และต้องถึงพร้อมด้วยฉันทะ...เข้าสู่อิทธิบาท4

...ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ท่าน เทอญ... nerd_smile.gif
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#6 @--แสงตะวัน--@

@--แสงตะวัน--@
  • Members
  • 723 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand

โพสต์เมื่อ 23 December 2009 - 11:10 PM

ขอบคุณท่าน Wish มากๆ เลยครับ อ่านจบแล้วเห็นว่าดีมากเลยนำ Link มา post ให้เพื่อนๆ ได้อ่านธรรมมะดีๆ จากคุณครูไม่ใหญ่ด้วยนะครับ (สงสัยผมต้องขยันอ่านให้เยอะมากกว่านี้แล้ว)

"นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าว ว่า เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้และทำด้วยหญ้า เป็นเครื่องจองจำที่มั่น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ความรักใคร่ในแก้วมณีและกุณฑล ความอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลาย เป็นเครื่องจองจำที่มั่น พาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจองจำที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่องจองจำเช่นนั้นแล้วออกบวช เป็นผู้ไม่มีความอาลัย เพราะละกามทั้งหลายได้
[/font]โลกมนุษย์เป็นดินแดนแห่งการสร้างบุญและบาป การใช้ชีวิตของตนให้อยู่บนเส้นทางใด ไม่ว่าจะเป็นทางแห่งความดีหรืออื่นๆ ย่อมขึ้นอยู่กับตัวเรา เพราะโลกมนุษย์เป็นสถานที่กลางๆ ถ้าสร้างบารมีก็จะสามารถสร้างได้เต็มที่ หากประมาทพลาดพลั้ง ไปสร้างบาปอกุศลก็เป็นกรรมที่แรงเช่นกัน เราต้องเลือกเดินบนเส้นทางที่เกิดประโยชน์ และมีคุณค่าที่สุดในแต่ละวัน เช่นเดียวกับชีวิตของพระบรมโพธิสัตว์ ที่เกิดมาทุกภพทุกชาติเพื่อสร้างบารมีเท่านั้น ดังนั้นเราควรดำรงชีวิตให้ถูกต้องร่องรอยตามวิสัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง หลาย มีวาระพระบาลีใน สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ความว่า...
นาญฺญตฺร โพชฺฌา ตปสา นาญฺญตฺร อินฺทฺริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพปฏินิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ
นอกจากปัญญาเครื่องรู้ ตบะเครื่องเผาความชั่ว นอกจากความสำรวมอินทรีย์
นอกจากความสละคืนทุกสิ่งทุกอย่าง เรามองไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย
คุณธรรมที่จะทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น และนำไปสู่การตรัสรู้ธรรม ให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่งทั้งหลาย กระทั่งรู้เท่าทันอาสวกิเลสทั้งปวง เมื่อปฏิบัติคุณธรรมเหล่านั้นแล้ว จะทำให้ใจบริสุทธิ์ ละเอียดอ่อนนุ่มนวลควรแก่การงาน ไม่ว้าวุ่นสับสนสงบนิ่ง ปัญญาเครื่องรู้จึงจะเกิดขึ้น ทำให้มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างไปตามความเป็นจริง ทั้งยังทำให้ผู้ปฏิบัติประสบความสุข ความสำเร็จในชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมอีกด้วย การที่จะทำตนให้พ้นจากกองทุกข์ได้นั้น จะต้องทำกันอย่างเอาจริงเอาจัง หากบุคคลใดมีจิตใจแน่วแน่ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำตนให้พ้นจากกองทุกข์ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เห็นว่าการบรรลุธรรมนั้น มีค่ายิ่งกว่าชีวิตของตน เมื่อมีความพากเพียรพยายามอย่างเข้มข้นเช่นนี้ สักวันหนึ่ง บุคคลนั้นย่อมประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ดังเช่นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต

*ในกรุงสาวัตถี มีบุตรของกุฎุมพี (กุ-ดุม-พี) ชื่อ ติสสะ เป็นผู้จัดได้ว่าเข้าขั้นเศรษฐี มีความเป็นอยู่สุขสบายทุกอย่าง แต่ติสสมาณพเป็นผู้มีปัญญา เมื่อใช้ชีวิตอยู่เช่นนี้ มักถามตนเองเสมอๆว่า “ชีวิตของเราต้องการอะไร หากเรามีชีวิตอยู่เช่นนี้ เท่ากับปล่อยชีวิตไปวันๆ ไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นสารที่แท้จริง” คิดดังนี้แล้ว ท่านตัดสินใจสละทรัพย์ถึง ๔๐โกฏิ ออกบวชอาศัยอยู่โดดเดี่ยวในป่าที่ห่างไกลผู้คน เนื่องจากเป็นผู้มีฐานะดี สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหาเรื่องมรดก ภริยาน้องชายท่านเกิดความโลภต้องการทรัพย์ กลัวว่าถ้าเมื่อไรพี่สามีกลับมาสมบัติจะเปลี่ยนมือ จึงส่งโจรถึง ๕๐๐คน ให้ไปฆ่าท่านที่ป่า เมื่อพวกโจรได้ค่าจ้างแล้ว ก็พากันไปล้อมท่านไว้ ท่านถามว่า "ท่านอุบาสกมาทำไมกัน" พวกโจรตอบว่า "มาฆ่าท่านน่ะสิ" ท่านคิดว่า "ตัวของเรายังไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไรเลย การตายไปโดยที่ไม่มีที่พึ่งที่ระลึกนั้น เป็นชีวิตที่ว่างเปล่า ถ้าอย่างไร ขอให้เรามีชีวิตอยู่อีกสักคืนหนึ่งเถิด เพื่อทำความเพียร" พวกโจรก็ไม่ยอม กลัวท่านจะหนีไป พระเถระจึงยกก้อนหินก้อนใหญ่ทุบกระดูกขาทั้งสองข้าง เพื่อให้พวกโจรเบาใจว่าท่านไม่หนีไปไหนแน่นอน พวกโจรเห็นดังนั้น ก็อนุโลมตามความต้องการของท่าน แต่ได้ก่อไฟนอนเฝ้าใกล้ที่จงกรม พระเถระข่มเวทนา พิจารณาถึงศีลที่บริสุทธิ์ ท่านเกิดปีติปราโมทย์ ใจเริ่มหยุดนิ่งไปตามลำดับ ท่านทำสมณธรรมตลอดคืน ครั้นเวลาล่วงไปถึงมัชฌิมยาม ความละเอียดของใจก็เพิ่มมากขึ้น ทุกขเวทนาหายเป็นปลิดทิ้ง ครั้นละยามสามใกล้อรุณขึ้น ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ทำให้พ้นทุกข์และสมปรารถนาในชีวิตตามที่ตั้งใจไว้ ที่เล่ามานี้ เป็นเรื่องราวของการยอมทิ้งชีวิต แต่ไม่ยอมทิ้งธรรม

อีกเรื่องหนึ่ง ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง ในระหว่างเข้าพรรษา มีภิกษุ ๓๐รูปปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ จึงเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปจำพรรษาอยู่ในวัดป่า โดยตั้งกติกากันว่า “เราควรทำสมณธรรมตลอดทั้งคืน ไม่ควรประมาทในทั้งสามยาม ไม่ควรที่จะมาคลุกคลีพูดคุยกัน เพราะจะทำให้ใจฟุ้งซ่าน” หลังจากนั้นต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไปบำเพ็ญเพียร ภิกษุเหล่านั้นพากันทำสมณธรรมตลอดทั้งคืน ตอนใกล้รุ่ง ก็โงกหลับไป มีเสือตัวหนึ่งมาจับภิกษุไปกิน ทีละรูปๆ ไม่มีรูปไหนร้องออกมา เพราะมีจิตที่มุ่งตรงต่อการปฏิบัติธรรม ไม่หวั่นไหว และเกรงจะไปรบกวนเพื่อนภิกษุด้วยกัน ในที่สุดภิกษุกลุ่มนั้น ถูกเสือกินไปถึง ๑๕รูป ครั้นพอถึงวันอุโบสถ ภิกษุที่เหลือต่างถามว่า “พวกเราหายไปไหนตั้งครึ่งหนึ่ง” เมื่อสอบถามกันรู้เรื่องแล้ว จึงตกลงกันว่าให้ตะโกนบอกกันถ้าเสือมา วันหนึ่ง เสือได้มาจับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ภิกษุหนุ่มจึงร้องว่า "เสือมาแล้ว" ภิกษุทั้งหลายพากันถือไม้เท้าและคบเพลิงติดตาม หวังว่าจะให้มันปล่อยภิกษุรูปนั้น แต่เสือวิ่งหนีขึ้นไปยังเขาขาด พวกภิกษุตามไปไม่ได้ เสือเริ่มกินภิกษุรูปนั้นตั้งแต่นิ้วเท้าขึ้นมา เมื่อไปช่วยไม่ได้ เพื่อนภิกษุที่เหลือต่างได้แต่ปลอบใจว่า "สัตบุรุษ ขอให้ท่านรักษาใจไว้ให้ดี บัดนี้ พวกเราช่วยเหลือท่านไม่ได้ หากท่านรักษาใจไม่ให้หวั่นไหว ท่านจะไม่ว่างเปล่าจากคุณวิเศษแน่นอน" แม้ภิกษุหนุ่มนั้น จะอยู่ในปากเสือ ก็ข่มเวทนาไว้ รักษาใจให้สงบหยุดนิ่ง พลางเจริญวิปัสสนา ตอนเสือกินถึงข้อเท้า ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน กินไปถึงหัวเข่า บรรลุเป็นพระสกทาคามี กินไปถึงท้อง บรรลุเป็นพระอนาคามี ครั้นกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ท่านได้บรรลุพระอรหัต ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงเปล่งอุทานว่า "เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความประมาทครู่หนึ่ง ทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายกับเสือ มันจับเราไว้ในกรงเล็บ พาไปไว้บนก้อนหิน แล้วกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตาม เราตั้งใจจักทำกิเลสให้สิ้นไป จึงได้สัมผัสวิมุตติอันยอดเยี่ยม"

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ชื่อ ปีติมัลลเถระ ตอนที่เป็นคฤหัสถ์ ท่านถือธงมาเกาะลังกาถึง ๓รัชกาล เข้าเฝ้าพระราชาแล้วได้รับพระราชานุเคราะห์ วันหนึ่ง ท่านเดินทางไปที่ประตูศาลาซึ่งมีที่นั่งปูด้วยเสื่อลำแพน ได้ฟังธรรมที่มีผู้แสดงในที่นั้น เป็นถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่าน ท่านจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน" ท่านทรงจำพระบาลีนั้น เกิดแรงบันดาลใจที่จะปฏิบัติธรรม จึงไปยังมหาวิหารเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท แล้วท่องมาติกาได้อย่างคล่องแคล่ว ท่านพาภิกษุ ๓๐รูปไปยังลานตำบลควปรปาลี เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ท่านได้เอาชีวิตเป็นเดิมพัน เมื่อเท้าเดินไม่ไหวก็คุกเข่าเดินจงกรมตลอดทั้งคืน [font="Verdana"]คืนนั้น มีนายพรานคนหนึ่งเห็นท่าน คิดว่าเป็นเนื้อ พุ่งหอกออกไป หอกได้ปักทะลุอก ครั้นนายพรานเห็นว่าเป็นพระ ก็ตกใจรีบเข้าไปหา พระเถระตั้งสติใจไม่เคลื่อนจากฐานที่ตั้งของใจ ท่านขอให้นายพรานชักหอกออก แล้วเอาเกลียวหญ้าอุดปากแผลไว้ แม้เลือดจะไหลไม่หยุด แต่สภาวะใจของท่านยังคงสงบนิ่งไม่กระเพื่อม ท่านตั้งใจมั่นว่าจะเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แม้ตายจะไม่ทิ้งธรรม จึงให้นายพรานจับตัวท่านนั่งบนหลังแผ่นหิน แล้วทำสมาธิเจริญวิปัสสนาจนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ณ ที่ตรงนั้น

จะเห็นได้ว่า นักปฏิบัติธรรมต้องมีใจมุ่งมั่นในการบำเพ็ญเพียร แม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม ยอมเอาชีวิตเป็นเดิมพัน โดยไม่มีข้อแม้ ข้ออ้าง หรือเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น เพราะตระหนักดีว่า ช่วงเวลาที่เกิดมาเป็นมนุษย์นั้นมีค่ามาก ควรใช้เวลาที่เหลือน้อยนิดนี้ ปรารภความเพียร เพื่อให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ให้ได้ โดยไม่ไปกังวลกับสิ่งภายนอกตัว นักปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ต้องมีหัวใจหนักแน่นเช่นนี้ ดังตัวอย่างที่ได้นำมาเป็นข้อคิด ฉะนั้น ขอให้พวกเราตั้งใจปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ ทำให้สม่ำเสมอ ให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ทุกๆคน

พระธรรมเทศนาโดย: พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)"
"ชีวิตนี้อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"

#7 ศิษย์มีครู

ศิษย์มีครู
  • Members
  • 144 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 01:58 AM

ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้
ไม่ว่าจะถูก กระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือ ไม่พึงปรารถนาก็ตาม
มีความมั่นคงหนักแน่น เหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไป
ของเสีย ของหอม ของสกปรก หรือของดีงามก็ตาม

งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงาน เล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้
นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐาน
จึงจะสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้น คือ ขันติ

ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใด เลยสำเร็จได้เลย
เพราะขันติเป็นคุณธรรมสำหรับทั้ง ต่อต้านความท้อถอยหดหู่
ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้ เกิดความขยัน และทำให้เห็นอุปสรรคต่างๆ
เป็นเครื่องท้าทาย ความสามารถ

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุกชิ้น
ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ อนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น

โดยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
"ยกเว้นปัญญาแล้ว เราสรรเสริญว่าขันติเป็นคุณธรรมอย่างยิ่ง"


ลักษณะของความอดทนที่ถูกต้อง คือ มีความอดกลั้น
เมื่อถูกคนพาลด่า ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยิน ทำหูเหมือนหูกระทะ
เมื่อเห็นอาการยั่วยุ ก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น ทำตาเหมือนตาไม้ไผ่
ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย
ให้ใส่ใจ สนใจ แต่ในเรื่องที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง
เช่น เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป



#8 ~{ TID }~

~{ TID }~
  • Members
  • 34 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 09:15 AM

สาธุครับ
ทาน ศีล ภาวนา
วินัย เคารพ อดทน

#9 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 09:34 AM

ตอบคุณ แสงตะวัน

คำว่า สัญญา นั้น ในทางพุทธ หมายถึง ความจำ น่ะครับ มาจากคำว่า "รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ" แปลว่า "สิ่งเร้า เห็น จำ คิด รู้" ซึ่งก็คือ กระบวนการทำงานของใจ นั่นเอง

ประโยคที่ว่า "หากมีสัญญา อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเกิดความง่วงขึ้น" จึงไม่ได้หมายความว่า "เราไปสัญญากับใครต่อใครแล้วง่วง" นะครับ แต่หมายความว่า “เมื่อเรานึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เราเคยจำได้อยู่ แล้วเกิดความง่วงขึ้น”

ประโยคที่ว่า “เธอจงทำในใจซึ่งสัญญาอย่างนั้นไว้มากๆ และจะละซึ่งความง่วงได้” จึงหมายความว่า
“ให้เราตั้งสตินึกถึงเรื่องนั้นๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก แล้วก็จะหายง่วงน่ะครับ”

รวมสองประโยคก็จะหมายความว่า “เมื่อเรานึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เราเคยจำได้อยู่ แล้วเกิดความง่วงขึ้น ก็ให้เราตั้งสตินึกถึงเรื่องนั้นๆ ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
เช่น นึกถึงดวงแก้วอยู่แล้วง่วง ก็ให้ตั้งสตินึกถึงดวงแก้วยิ่งขึ้นไปอีก (เพราะง่วง คือ สติหย่อน ก็ตั้งสติใหม่น่ะแหละครับ)
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#10 Daemusin

Daemusin
  • Members
  • 133 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 11:03 AM

ได้ความรู้อีกเเล้ว......สาธุ
คนที่ไม่มีปัญหาคือคนที่ไม่ได้ทำ

#11 @--แสงตะวัน--@

@--แสงตะวัน--@
  • Members
  • 723 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 05:11 PM

ฮืม มันซิยากเหมือนกันนะ
แต่ผมพอเข้าใจตัวเองแล้วว่าทำไมทำงานใหญ่ๆ ไม่เคยสำเร็จซักกะที
สงสัยเหตุผลหนึ่งก็คืออันเนื่องจาก "ขันติ" ของตนเองนี่เอง สำคัญ สำคัญ สำคัญ ขอบคุณทุกท่านครับ

แนบไฟล์  P1030391.JPG   215.46K   88 ดาวน์โหลด
"ชีวิตนี้อุทิศเพื่อพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"

#12 Ping traffic

Ping traffic
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 09:49 PM

สาธุครับ


น่าจะลองนั่งซักครั้ง

ครับ

#13 แก้วใสปิ๊ง

แก้วใสปิ๊ง
  • Members
  • 191 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 December 2009 - 12:12 AM

เคยได้นั่งเนสัชฯอยู่ไม่กี่ครั้งนะครับ...
แต่คืนที่นั่งเนสัชไม่ได้ประสบการณ์ภายในอะไรมากมาย cry_smile.gif
แต่นั่งเหมือนเอาสัจจบารมี,ขันติบารมีมากกว่าครับ
สมัยที่ได้มีโอกาสไปนั่งธรรมะที่สวนเพชรแก้วครั้งนึง
แล้วล่าสุดก็ตอนบวชรุ่น๗,๐๐๐ตำบลที่ผ่านมา
ที่เหมือนกันก็คือผมเลือกจะนั่งเนสัชฯในคืนสุดท้ายก่อนจะกลับครับ
เพราะเราไม่ต้องกังวลเรื่องภารกิจในวันสุดท้ายแล้ว
ถ้าง่วงมากก็ลุกไปเดินจงกรมหรือไปล้างหน้าล้างตา
สิ่งที่ได้ก็คือความภูมิใจความปลื้มใจครับที่เราทำสำเร็จ happy.gif
แม้หลับตาจะยังมืดอยู่ก็ตาม...ถือว่าเป็นการสั่งสมชั่วโมงหยุดนิ่ง
อนุโมทนาบุญกับคุณแสงตะวันด้วยนะคร้าบ... nerd_smile.gif

ถ้าอยากได้"จริง"จะได้...แต่ตอนจะได้ไม่"อยาก"


#14 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 December 2009 - 01:01 PM

เสริมเพื่อนกัลยาณมิตร จากข้อมูลในกระทู้เก่า
เพื่อเอื้อเฟื้อ เนสัชชิกังคัง ครับ

การนั่งสมาธิ 6 ชม ต่อวันขึ้นไปต้องทำอย่างไร
เหมือนได้ยินมาว่ามีคนนั่งสมาธิ จากเที่ยงคืนจนถึงเช้า
เลยสงสัยว่าเค้าพักผ่อนและดูแลตัวเองกันอย่างไรบ้างครับ
เผื่อจะได้นำไปปฏิบัติดูบ้าง
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=20989


อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ
ศึกษาสาเหตุ ประเภท และวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติธรรม
โดยเฉพาะการทำสมาธิ เช่น นิวรณ์ 5 ความฟุ้ง ความเครียด การลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง เป็นต้น
รวมทั้งศึกษาหลักคำสอนที่เกี่ยวข้อง
http://main.dou.us/l...t.php?id_mag=12
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#15 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 25 December 2009 - 07:54 PM



สาธุค่ะ ต้อนรับวันใหม่ ปีใหม่ ด้วยการทบทวน

ธรรมะใส ๆจากที่นี่ DMC ช่องนี้ช่องเดียว เพราะครูดี ๆ

มีที่นี่แหละ สุดยอดเลย LOVE DMC VERY MUCH.







#16 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 30 December 2009 - 09:27 PM

ไม่เคยนั่งมากกว่า 6 ชม. ติดต่อกัน ...แต่อยากร่วมแจมค่ะ

อาจจะลองเริ่มนั่งตั้งแต่ 1-2ชม. โดยไม่ลุกไปไหน (ถ้าชม.เดียวยังไม่สามารถนั่งติดต่อกันไม่ได้ การจะนั่งนานๆ คงยากน่ะค่ะ) แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มชั่วโมงขึ้นเรื่อยๆน่ะค่ะ(พอนานขั้นก็อาจต้องมีการเปลี่ยนอิริยาบทบ้าง) จาก 2 ชม. เป็น 4 , 6 จนถึง 8 หรือ 10 ชม. ไปเรื่อยๆ น่ะค่ะ
พอนั่งได้นานๆ ซักครั้งสองครั้ง ครั้งต่อๆไป ก็จะง่ายขึ้นค่ะ

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#17 Tor Cage

Tor Cage
  • Members
  • 42 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 29 January 2015 - 11:22 AM

สาธุ..สาธุ..สาธุ..