ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ธรรมะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 12:24 AM

คัดลอกมาจาก

ธรรมะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

ปาฐกถาโดย ศาสตราจารย์ ยศ บุนนาค อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ แสดงที่ศาลาโรงธรรม โพธิ์ลังกา
วัดพระเชตุพนฯ พระนคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กรกฎคม ๒๕๑๐
]
........................................ ฯล
เอาละ ผมขอเข้าเรื่องเสียที ผมมีความรู้สึกว่าสำหรับหลักของวิทยาศาสตร์นั้น เราจะเห็นว่าตรงกับหลักการใหญ่ของพุทธศาสนาเลยทีเดียววิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรโดยแท้จริงให้รู้ว่าธรรมชาติของสิ่งของนี่เป็นอะไรจนถึงแก่นสุดท้าย อันนี้แหละผมว่าตรงกับหลักของพระพุทธศาสนา

แต่พุทธศาสนาไม่ใช้จะศึกษาเรื่องของแก่นแต่ละอย่างว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้นยังศึกษาไปถึงเรื่องจิตของมนุษย์อีกด้วย ทางวิทยาศาสตร์ศึกษามีวงจำกัดแต่เพียงว่า.. ของต่างๆ วัตถุต่างๆ ในธรรมชาติให้รู้จริงว่า อะไรเป็นอะไรเท่านั้น

แต่พุทธศาสนาไปไกลกว่านั้นมากทั้งวัตถุ คือ..รูปธรรมถึงนามธรรม ...และต่อไปจนถึงท้ายที่สุด
ดังนั้นหลักการซึ่งตรงกันมาก แต่วิทยาศาสตร์ไม่ลึกซึ้งไม่กว้างขวางเท่าทางวิทยาศาสตร์
ถือว่าก่อนที่จะเชื่ออะไร ก่อนที่จะถือเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ได้นั้น นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่จะศึกษาทางวิทยาศาสตร์จำเป็นจะต้องศึกษาใคร่ครวญด้วยตนเองใคร่ครวญศึกษาด้วยตนเองเท่านั้นไม่พอ ต้องทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ถ้าผลปรากฏนั้นเป็นไปอย่างที่เขาพูดหรือตามหลักการที่เขาเชื่อกันจึงจะนับถือได้ จึงจะยอมยกย่องว่าเป็นของแท้ ของจริง นั่นตามหลักการวิทยาศาสตร์

เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่านักวิทยาศาสตร์นี่ไม่ค่อยจะเชื่ออะไรโดยไม่มีเหตุผลและจะเชื่ออะไรไม่ใช่ว่าเพราะมีเหตุมีผลเท่านั้น ยังต้องทดลองปฏิบัติตามได้ด้วย และผลของการปฏิบัติตามนั้น จะต้องเป็นผลอย่างเดียวกันเสมอไปไม่ว่าที่ไหน
คืออย่างผมปฏิบัติได้ คนอื่นก็ต้องปฏิบัติได้ด้วยและผลที่ได้

ถ้าปฏิบัติอย่างเดียวกันจะต้องได้ผลเหมือนกันเสมอไปไม่มีพลาดหลักการอันนี้เป็นหลักการของวิทยาศาสตร์ เป็นหลักการใหญ่ทีเดียว จะตามเขาไปเฉยๆไม่ได้จะเชื่อเขาเพราะอาจารย์พูดไม่ได้ จะต้องลองปฏิบัติใคร่ครวญเหตุผลด้วยตนเอง ด้วยปัญญาของตนเอง ต้องทดลองปฏิบัติด้วยตนเองผลที่ได้...จะต้องเกิดขึ้นกับตนเอง แล้วจึงจะสมควรเชื่อตามเหตุผลของการปฏิบัติ และเหตุผลของทฤษฎีอันนั้น

หลักการของพระพุทธเจ้า ผมเชื่อว่าเท่าที่ผมมีความรู้น้อยๆนี้ตรงกันใช่ไหมครับ ตรงกันจริงทีเดียว ว่าก่อนที่จะทำอะไรนั้นก็อย่าเพิ่งเชื่อ รับฟัง รับทราบ แล้วก็ใคร่ครวญดู แล้วก็ทดลองปฏิบัติดู แล้วผลที่ได้มาจะประจักษ์กับตนเองว่า อันนี้จริงหรือเปล่าถ้าจริงแล้วจะนับถือหรือไม่นับถือนั้นอีกเรื่องหนึ่ง
ฉะนั้นผมจึงได้ว่าหลักการใหญ่ของพุทธศาสนานั้นตรงกับหลักการของวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันอยู่อีกอย่างหนึ่งที่จะเห็นกันได้ง่ายๆทีเดียว

ก็คือตัวพระพุทธเจ้าเองนั้นตามพุทธประวัติท่านที่อ่านมาจะเห็นได้ชัดว่าถ้าเป็นสมัยนี้ซึ่งสมัยที่วิทยาศาสตร์กำลังขึ้นหน้าอยู่ พระองค์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ผู้ประเสริฐที่สุด
เพราะว่าพระองค์ได้ปฏิบัติตามหลักการของวิทยาศาสตร์เรื่อยตลอดมา.. เริ่มต้นด้วยกำหนดเป้าหมาย แล้วก็ทดลองปฏิบัติดู โดยใช้วิธีของอาจารย์ต่างๆ ของศาสตราจารย์ต่างๆ ที่มีอยู่ขณะพุทธกาลนั้น เอามาลองปฏิบัติด้วยพระองค์เอง..

เราจะเห็นว่าทรงทำทุกสิ่งทุกอย่างบำเพ็ญทุกรกิริยา ลองตามวิธีของอาจารย์หรือตามความรู้ที่มีอยู่ทุกอย่าง เมื่อผลที่ได้ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์พระองค์ก็ต้องหา วิธีอื่น และด้วยวิธีการนั้นเองที่ทำให้พระองค์ตรัสรู้

ดังนี้ จะเห็นได้ว่า พระองค์ท่านได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับนักวิทยาศาสตร์...สมัยนี้จะต้องทำทุกๆ ปัญหาไป

ขั้นต้นก็ต้องกำหนดวัตถุประสงค์

ขั้นที่สองก็ดูว่า คนอื่น เขาทำอะไรแล้วบ้าง

ขั้นที่สามอะไรที่เห็นว่าอาจจะเป็นไปได้ก็ลองปฏิบัติดู ถ้าวิธีดำเนินการต่างๆ ที่พร่ำสอนกันมาไม่ได้ผล เราก็ต้องหาวิธีใหม่ นี้เป็นหลักการของวิทยาศาสตร์

ดังนั้นพระพุทธองค์นั้น กระผมนึกว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ประเสริฐที่สุดในโลกได้
ทีนี้ปัญหาเมื่อกี้นี้เอง ที่ผมถามท่านประธานกรรมการมูลนิธิว่า..

นักวิทยาศาสตร์ที่มีเชื่อเสียงมีประวัตินานอย่างมากก็ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเศษๆเท่านั้น และก็ไม่มีมากนัก พอจะนับตัวได้ และก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ค่อยเด่นอะไรนัก

แต่พระพุทธเจ้าของเรานี้ตั้ง ๒๕๐๐ ปีกว่ามาแล้ว ท่านไปเอาหลักการของวิทยาศาสตร์มาจากไหน เมื่อกี้นี้อาจารย์บุญมีก็ตอบผมว่า ก็ท่านเป็นสัพพัญญูนี่ ท่านรู้แจ้งเห็นจริงนี่ ท่านตรัสรู้โดยพระองค์เองนี่ ถ้าเอาเวลาเข้ามาเปรียบเทียบกันเข้าแล้ว ก็พอจะเห็นได้ว่า

วิทยาศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์นี้ล้าหลังกว่าพระพุทธศาสนาและพระพุทธเจ้าตั้ง ๑,๐๐๐ กว่าปี เพราะว่า หลักการของพระพุทธศาสนาเอง .

หลักการที่พระพุทธองค์ได้ปฏิบัติมานี้ เป็นหลักการที่นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องใช้อยู่ทุกวัน.. ทุกเวลา.. ทุกวินาที และยังจะต้องใช้ตลอดไป …




นอกจากหลักการตรงกันแล้ว ยังมีธรรมะข้ออื่นอีกหลายข้อที่เป็นธรรมะข้อใหญ่ๆ ตรงกับที่นักวิทยาศาสตร์ใช้อยู่ทุกวันนี้ เช่นในเรื่องลักษณะของพระธรรมทั่วๆไป ลักษณะ ๓ ประการ คือ

ประการที่หนึ่ง ท่านได้แสดงธรรมเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ไม่อำพราง

ประการที่สอง ประกอบด้วยเหตุผลซึ่งผู้ฟังสามารถพิจารณาเองได้

ประการที่สาม มีปาฏิหาริย์ คือเกิดผลอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติตามจะได้รับ

อันนี้เป็นหลักการของทฤษฎี กฎเกณฑ์การศึกษาการวิเคราะห์วิจัย ทางวิทยาศาสตร์เช่นกัน คือวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทฤษฎีนั้นๆ จะต้องเป็นการสามารถเพิ่มพูนความรู้ คนที่ศึกษาทางวิทยาศาสตร์จะรู้แจ้งเห็นจริง ว่าเป็นอย่างนั้นเสมอไป แล้วก็ประกอบด้วยเหตุผล เหตุผลนั้นก็เป็นไปตามหลลักการของวิทยาศาสตร์ซึ่งผู้รับไปพิจารณาเองได้ และ อย่างที่สามก็คือเกิดผลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามผู้ที่ปฏิบัติตามอย่างนั้นแล้วจะเกิดผลเช่นเดียวกันอย่างแน่นอนลักษณะทั่วๆไปของพระธรรมกับของวิทยาศาสตร์จึงตรงกันอย่างไม่มีคลาดเคลื่อนเลย

พูดถึงพระธรรมโดยทั่วไปแล้ว พระธรรมก็เหมือนกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นยังมีลักษณะทั่วไปที่ตรงกัน อีกอันหนึ่งก็คือ

ถ้าเป็นทฤษฎีเป็นกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว..ย่อมทนต่อการพิสูจน์ได้เสมอ ย่อมไม่พ้นการสมัยหรือไม่ประกอบด้วยการ
นี่ก็ตรงกับลักษณะทั่วไปของพระธรรมเหมือนกัน อีกอย่างหนึ่งที่ผมใคร่จะกล่าวถึง ก็คือกฎแห่งกรรม

กฎแห่งกรรมซึ่งเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง
ทางวิทยาศาสตร์ก็มีเหมือนกัน แต่ช้ากว่าของพุทธศาสนาราว ๒,๐๐๐ ปี.. คือกฎของเซอร์ ไอเซค นิวตัน (ผมรู้เอาเองว่า ตรงกับกฎแห่งกรรม)
นิวตันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่ง กฎนี้กล่าวโดยบทสรุปง่ายๆ ได้ดังนี้

ทฤษฎีหรือกฎอันนี้เราใช้กันทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ คือ เวลาเรากระทำอะไรไปอย่างหนึ่งหรือเราใช้พลังงานไปอย่างหนึ่งกับวัตถุสิ่งใดจะมีผลสะท้อนกลับมาในทิศทางที่ตรงกันข้าม ด้วยพลังงานเท่ากับที่เราใช้กระทำไปกับสิ่งนั้น

สมมติว่า เรากระแทกปังหรือทุบปังลงไปที่โต๊ะ ที่เราเอามือทุบโต๊ะปังนี้ ..ตามกฎของนิวตันจะอธิบายได้ว่าขณะเดียวกันกับที่เราใช้กำลัง สมมติว่า ๑๐ ปอนด์ต่อ ๑ ตารางนิ้ว ทุบปังลงไปที่โต๊ะนี่จะมีพลังงานสะท้อนขึ้นมา ๑๐ ปอนด์ต่อตารางนิ้วเท่าที่เราทุบงไป แต่ในทิศทางตรงกันข้ามกับที่เรากระทำจึงทำให้มือเราเจ็บ

และจะอธิบายหลักกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนาก็คงจะอธิบายได้กระมังว่า กรรมที่เราทุบโต๊ะทำให้มือเรารับกรรมสนองพลอยเจ็บไปด้วยอย่างนี้เป็นต้น
ผมเข้าใจว่าตรงกัน เพียงแต่ทางวิทยาศาสตร์เห็นได้ง่ายกว่ามาก
เรื่องผลที่ได้รับก็เช่นกัน อาจช้าไป อาจไม่เท่ากัน

อย่างเราเอาหัววิ่งเข้าชนกำแพงตามกฎของนิวตันจะเท่ากับกำแพงวิ่งเข้าชนหัวเราแรงเช่นกัน แต่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม ทำให้หัวเราเจ็บบางทีขณะนั้นหัวเราเจ็บไม่เท่าไรหรอกครับ เพียงแต่โน แต่ช้ำ แต่ความกระทบกระเทือนที่เกิดขึ้นภายหลังนั้น อาจมีผลสะท้อนตามมาอีกได้ เช่น โรคประสาทเป็นต้น

อย่างในกฎแห่งกรรมตามหลักพุทธศาสนา บางคนถึงได้บ่นว่าทำดีไม่ได้ดี
คำว่าได้ดีคงหมายความว่า ต้องได้ดีทันทีที่ทำ ต้องตอบสะท้อนเหมือนกับกฎของนิวตันจึงจะสมอยาก การจะไปได้ดีบ้างบางส่วนตามกาลเวลานั้นชักไม่ชอบใจ..

ในทางวิทยาศาสตร์ก็มีตัวอย่างที่พอเห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่งก็คือ.
เรื่องระเบิดเวลา พอเรากดสวิทช์ปั๊บ นั้นแหละเราทำงานแล้วครับ เรากดสวิทช์แล้ว แต่เวลานั้นก็ค่อยๆเคลื่อนไปๆไปจนถึงเวลาที่เราตั้งไว้จึงจะระเบิด ซึ่งอาจจะเป็นวันหนึ่ง หรืออาจจะไม่กี่นาที หรืออาจจะเป็นชั่วโมงๆก็ได้

ทำไมไม่ได้ผลของกรรมทันที อาจจะมาในรูปอื่นได้หลายอย่าง ทางวิทยาศาสตร์..ก็มาในรูปอื่นได้เหมือนกัน สมมติว่าเราเอาสสารเปลี่ยนเป็นพลังงาน ซึ่งเท่ากับเปลี่ยนมวลเป็นพลังงาน

แต่รวมความแล้วก็เหมือนกับหลักของพระพุทธศาสนา... คือกฎแห่งกรรม ผลสะท้อนจึงต้องมีอยู่วันยังค่ำ แต่จะสะท้อนมามากน้อยเมื่อไรเวลาเท่าไร จะต้องมีอยู่เสมอ อันนี้ก็ไปเข้าหลักใหญ่ของวิทยาศาสตร์อีกอันหนึ่ง

คือกฎที่เรียกว่า Law of Conservation of Mass (ลอร์ ออฟ คอนเซอร์เวชั่น ออฟ แมสส์)
หมายความว่ามวลของสสารนี่ไม่สูญหายอะไรไปเลย ยังคงที่อยู่เสมอ แต่อาจเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นได้

กฎอีกอันหนึ่งเขาเรียกว่า Law of Conservation of Energy (ลอร์ ออฟ คอนเซอร์เวชั่น ออฟ เอเนอร์ยี่) หมายความว่าพลังงานจะต้องมีคงที่อยู่เสมอไป ไม่หมดหายไป แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงไป

แต่เดียวนี้หลักจากไอนสไตน์ ท่านทั้งหลายคงได้ยินชื่อแล้ว เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักคำนวณชั้นยอดคนหนึ่ง เมื่อปีราวๆ ๒๔๔๘ (ค.ศ.๑๙๐๕) ได้พบความสัมพันธ์ระหว่างกฎ ๒ อันนี้ว่า

... พลังงานกับมวลของสสารเปลี่ยนกลับกลับมาได้ จากพลังงานเป็นสสารก็ได้ จากสสารเป็นพลังงานก็ได้ ทำไมผมเอาเรื่องนี้ขึ้นมาพูด ผมเพิ่งรู้เมื่อกี้นี่เองแหละครับ จากท่านอาจารย์ บุญมี เมธางกูร ประธานกรรมการอภิธรรมมูลนิธิ
.. พระพุทธเจ้าท่านทรงพระดำรัสมาตั้งนานแล้ว ตั้ง ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้วว่า พลังงานและสสารต่างก็เป็นรูป เมื่อต่างก็เป็นรูปแล้วก็ย่อมเปลี่ยนกันกลับไปกลับมาได้..

มีสมการอยู่อันหนึ่งของนายไอส์ไตน์ คือ พลังงานทั้งหมดเท่ากับน้ำหนักของสสารคูณด้วยความเร็วของแสงยกกำลังสอง

ถ้าจะเปลี่ยนมวลเป็นพลังงาน สสารหนักหนึ่งกิโล จะได้พลังงานทั้งหมดที่สหรัฐ.สามารถผลิตได้ในหนึ่งปี อะไรก็ได้ครับ หนักหนึ่งกิโลเท่านั้นแหละ หลังจากนายไอส์ไตน์ค้นพบสมการอันนี้ ๔๐ ปีเศษ จึงได้มีคนพิสูจน์ทดลองได้ในปลายสงครามโลกครั้งที่สองด้วยระเบิดปรมาณูลูกแรก แต่ลองนึกดูซิครับ ห่างกันแค่ ๒,๕๐๐ กว่าปี.. แต่มาตรงกันได้ อันนี้ผมก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน



แต่อย่างไรก็ตามแสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่

ธรรมะใหญ่อีกอันหนึ่งที่ผมเห็นว่า มีหลักวิทยาศาสตร์ใกล้กันมากก็คือที่เรียกว่า.. สังสารวัฏฏ์ หรือ วัฏฏสงสาร ทางวิทยาศาสตร์มีปฏิกิริยาชนิดหนึ่งเรียกว่า.... ปฏิกิริยาลูกโซ่ เช็นรีแอคชั่น (chain reaction)

พูดกันง่ายๆ ขออนุญาตใช้ภาษาธรรมะหน่อยนะครับ
คือว่ากรรมอีกอันหนึ่งทำให้เกิดผลอีกอันหนึ่ง
แล้วผลของอันนั้นกลับจะไปทำให้เกิดการกระทำอีกอันหนึ่ง

พูดตามภาษาเช็นรีแอคชั่น.. ของนักวิทยาศาสตร์ก็หมายความว่า

ปรมาณูหนึ่งถูกยิงด้วยลูกกระสุนปรมาณูอีกอันหนึ่ง ปรมาณูแตกออกไปเป็นอนุภาคเศษของปรมาณู.. อนุภาคที่แยกออกไปสมมติว่าเป็น ๒ อัน
๒ อันนี้มันจะไปกระแทกปรมาณูที่อยู่ใกล้หรือที่อยู่ไกลออกไปหน่อย
ทำให้แตกแยกออกไปอีกต่อเนื่องกันไป จาก ๑ เป็น ๒ จาก ๒ เป็น ๔ จาก ๔ เป็น ๘ เหมือนกับปฏิกิริยาที่เกิดในลูกโซ่

การกระทำกับห่วงลูกโซ่ห่วงหนึ่งจะมีผลสะท้อนไปถึงห่วงอื่นๆตลอดสายโซ่ผลสะท้อนจะเกิดขึ้นเรื่อยไปจนกว่าจะหมดพังงาน
บางครั้งเกิดมากจนกระทั้งไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าอันไหนทำให้เกิดในอัตราที่ควบคุมได้แล้ว และค่อยๆปล่อยออกมาแล้ว อันนั้นจะเป็นพลังงานมหาศาลที่มีประโยชน์ในทางสันติมาก

อย่างที่เราใช้พลังงานปรมาณูต่างๆในทางสันติหลายอย่างได้ทั้งในทางการแพทย์ การอุตสาหกรรมก็โดยอาศัย เชนรีแอคชั่น หรือ ปฏิกิริยาลูกโซ่นี่ให้อยู่ในระบบที่ต้องการ
ด้วยการพยายามค่อยๆปล่อยให้มันเกิดทีละน้อยๆแล้วเอาผลลพลังงานที่เกิดขึ้นนั้นไปใช้

หลักของการหลุดพ้นของพุทธศาสนาจากวัฏฏสงสารก็เหมือนกับควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ แต่ผมว่าเหนือกว่า เพระว่าการที่จะทำให้หลุดพ้นออกไปจากวัฏฏสงสารได้นั้นปฏิบัติได้ยากมาก

ทางวิทยาศาสตร์เพียงแต่ควบคุมว่า ให้มันออกมาในปริมาณที่เราต้องการ..ในเมื่อเราต้องการเท่านั้นเอง ไม่ถึงกับหลุดพ้นไป เพราะฉะนั้นจึงเพียงใกล้เคียงกัน แต่ยังอ่อนกว่ากันมาก

ท่านทั้งหลายคงจะทราบมาแล้วว่า ..มีนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกหลายคนที่มีชื่อเสียงในเรื่องวัฒนาการหรือที่ เรียกว่า อีวอลูชั่น เป็นที่รับรองกันทั่วไปว่า ในโลกนี้ ชีวิตเริ่มต้นจากพลังงาน พลังงานนั้นมารวมกันเข้าก็ก็เกิดเป็นสสาร
สสารหลายๆล้านปีเข้าก็วิวัฒนาการเป็นสัตว์เล็กๆเซลล์เดียว.. จากเซลล์เดียวนั้นก็ค่อยๆวิวัฒนาการเรื่อยๆขึ้นมา ...จนกระทั้งมาถึงมนุษย์... อันเป็นสัตว์อันประเสริฐ แล้วมนุษย์นั้นก็วิวัฒนาการต่อไป (โดยมนุษย์ไม่ค่อยจะรู้ตัวนัก) .. ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่ควบคุมบีบบังคับ

กฎนี้เป็นกฎใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์สาขาชีววิทยาทีเดียว
ผมเผอิญไปอ่านเรื่องของฝรั่งคนหนึ่ง ซึ่งสนใจในพุทธศาสนามาก แล้วมาพิจารณาด้วยตนเอง รู้สึกว่าเป็นความเห็นน่าทึ่งมาก เขาบอกว่า...

การที่สัตว์เซล์เดียวยืดตัวเข้าๆออกๆเคลื่อนที่ไป นั้นเพื่ออะไร ก็เพื่อหาอาหารที่จะไปหล่อเลี้ยงชีวิตของมัน เพื่อความเจริญเติบโต หรือว่าเพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มพวกของมันเองให้มากขึ้น
ครั้นเห็นว่าไม่เหมาะสมก็วิวัฒนาการให้มีครีบหางเป็นปลาขึ้นมา จากปลาหาอาหารลำบาก ก็มามีเท้า มีอะไรเกิดขึ้นกลายเป็นสัตว์บก สัตว์บกยังหาอาหารยากลำบกอีก ยังไม่เหมาะสมอีก ก็มีปีกขึ้นมาเป็นสัตว์บิน สัตว์บินนั้นสู้ศัตรูไม่ได้อีก.. ก็เพิ่มเกราะให้หนาขึ้นๆอีก

ทำอย่างนี้เพื่ออะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์เห็นว่า.. อันแรกอันเดียวจุดประสงค์ส่วนใหญ่ของการวิวัฒนาหรืออีวอลูชั่นนี่ ..ก็เพื่อความอยาก อยากอะไร อยากอาหาร นักวิทยาศาสตร์เขาว่าอย่างนั้น

ผมก็อยากให้เกียรติคนที่เขาพูดถึงเรื่องนี้สักหน่อย เขาเขียนไว้เลยทีเดียวว่า...
ความอยากนั้นคือตัวตัณหาของพุทธศาสนานั้นเอง

เพราะฉะนั้นตัณหานี่เองที่ทำให้เกิดกฎแห่งวิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์ แล้วก็ถ้าหมดตัณหาเมื่อไร ก็ไม่มีการวิวัฒนาการเมื่อนั้น ผมถึงได้เห็นว่าตัณหานี่ถ้าเราตัดเสียได้เมื่อไร เราก็ไม่ต้องวิวัฒนาการเมื่อนั้น

ทีนี้หลักเกณฑ์ใหญ่ของ ... อีวอลูชั่น...ที่เราคิดว่า คนมาจากลิง หรือแยกสายมาจากลิงอะไรนี่นะครับ มันวิวัฒนาการเพราะอะไร และผมค่อนข้างจะคล้อยตามไปกับนายฝรั่งคนนั้นว่า
มันสืบเนื่องมาจากตัณหาดังในพุทธศาสนามากกว่าจะเกิดขึ้นเอง เพราะว่าความอยากจะยิ่งใหญ่เนื่องจากตัณหาอยากจะกิน อยากจะครองเป็นเจ้าโลกนั่นเอง เลยทำให้ตัวของมันเองวิวัฒนาการเรื่อยๆ ขึ้นไปจนกระทั้งน้ำหนักก็มากการเคลื่อนไหวก็อุ้ยอ้าย เคยกินเพียงไม่กี่ร้อยกรัม ตัวใหญ่เข้าก็ต้องกินเป็นตัน ตัวใหญ่ขึ้นก็เป็นเป้ามากขึ้น ต้องมีการป้องกันตัวมากขึ้นจึงต้องเพิ่มเกราะให้ตัว เพิ่มร่างกายให้สูงใหญ่ เพิ่มอาวุธอะไรสำคัญๆติดตนให้มากขึ้น ทั้งนี้และทั้งนั้นเกิดมาจากตัณหาของสัตว์เหล่านั้นเอง

และที่มนุษย์เรากำลังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารนี้
ผมเห็นว่าเนื่องจากความต้องการ ความอยากทั้งสิ้น อันนี้ก็อีกนั้นแหละผมเห็นว่าตรงกัน
หลักใหญ่อีกอันหนึ่งที่ผมเห็นว่าตรงกันมากทีเดียว

เรื่องนี้ท่านผู้รู้ทั้งทางแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ได้พุดกันมาตลอดเวลา ก็คือไตรลักษณ์ หรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนิจจังนี่ ทางแพทย์ได้พูดกันมาตลอดเวลา.... และเมื่อกี้อาจารย์บุญมีก็ได้คุยให้ผมฟังว่า แพทย์หลายคนท่านก็เห็นด้วย แล้วท่านก็มาศึกษาอยู่ที่นี่ ว่าพรรค์นี้ไม่เที่ยง


ทีนี้ลองมาพิจารณาในแง่..ไม่ใช้ของแพทย์บ้างเรารู้จากแพทย์แล้วว่าร่างกายตั้งแต่เกิดมามีการเปลี่ยนแปลง
เป็นอย่างไร ผมเป็นอย่างไร ฟันฟางเป็นอย่างไร เนื้อหนังเหี่ยวย่นเป็นอย่างไร ..เราเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก

ภายในวงแพทย์ก็บอกว่า เลือดประกอบด้วย เม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาวหลายชนิด
เม็ดโลหิตแดงเปลี่ยนใน ๑๒๐ วันเปลี่ยนใหม่หมดเลย เม็ดโลหิตขาวตั้งแต่วันหนึ่งจนถึง ๑๕วัน
ก็เปลี่ยนแล้วอย่างผิวหนังทั้งหมดที่เราเห็นนี่ก็ภายใน ๑๗ วัน
เปลี่ยนหมดเลยทั้งตัวหรือกระดูกของเราที่เห็นเป็นของถาวรก็ยังเปลี่ยนอยู่เรื่อย
อย่างนี้เป็นความไม่เที่ยง ความที่ต้องผันผวนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งตรงกันกับอนิจจัง

ทีนี้มาฟังในแง่ของนักวิทยาศาสตร์ทางพลังงานปรมาณูบ้าง เราจะเห็นว่า....เรื่องอณูหรือปรมาณูนี่

พระพุทธเจ้าได้ทรงพระดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดถี่ถ้วนในชื่อของไตรลักษณ์ก่อนที่เราจะรู้เรื่องว่า ..สสารนี่มันประกอบด้วยปรมาณูหรืออณูอย่างไรตั้ง ๒,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว.. ความรู้ทางปรมาณูของเราเพิ่งมีเด่นชัดในรอบศตวรรษนี้เองเท่านั้น
สำหรับในเรื่องของอนิจจังนี้

ถ้าเรามองลงไปในลักษณะของอนุภาคที่เล็กที่สุดทางวิทยาศาสตร์ที่ยังคงรักษาคุณสมบัติของมันได้ก็คือ ปรมาณู ที่จริงมีอนุภาคเล็กลงไปกว่านั้นอีก เล็กกว่าปรมาณูอีกซึ่งเป็นองค์ประกอบของปรมาณูนั้น คิดอย่างหยาบๆเราก็ว่ามีอยู่ ๓ อัน คือ
มีอีเลคตรอน
มีโปรตรอน
มีนิวตรอน
และมีแกนเล็กๆเหมือนอย่างกับดวงอาทิตย์ในจักรวาลของดวงอาทิตย์ ซึ่งเราเรียกว่านิวเคลียส

ข้างนอกแก่นมีอีเลคตรอนโคจรอยู่ อีเลคตรอนนี้มีน้ำหนักน้อยเท่ากับประมาณ ๑ ส่วนใน ๑,๘๐๐ ส่วนเศษๆ
ของน้ำหนักของโปรตรอน คือหมายความว่า น้ำหนักของปรมาณูทั้งหมด อนุโลมได้ว่ามาจากตัวนิวเคลียส อีเลคตรอนนี้เป็นสารซึ่งมีประจุไฟฟ้าลบ ส่วนโปรตรอนนั้นประจุไฟฟ้าบวกอยู่ในนิวเคลียส ในแกนกลางของมันนี้ยังมีนิวตรอนอีก ซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้าเลย แล้วก็ทั้งหมดนี้ไม่ได้อยู่เฉยๆนะครับ เคลื่อนที่หรือหมุนอยู่ตลอดเวลา และเป็นไปอย่างมีระเบียบเสียด้วย

เหมือนอย่างพระจันทร์หรือโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ หมุนอยู่เรื่อยในวงโคจรที่มีระเบียบ นักวิทยาศาสตร์เขารู้เขาพิสูจน์มาแล้ว คุณสมบัติของการรวมตัว การแยกตัวทางเคมี ขึ้นอยู่กับอีเลคตรอนที่อยู่รอบนอกสุดของวงโคจร หัวเข็มหมุนหนึ่งหัวจะมีปรมาณูนับล้านๆปรมาณูทีเดียว

แต่ในปรมาณูนี้ ยังมีที่ว่างอีกตั้งแยะคือนอกจากแกนกลางของมันนี้กับอีเลคตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆแล้ว
ยังมีที่ว่างอีกมากทีเดียว มีความว่างคล้ายๆกับไม่มีอะไรเลย มันว่างยิ่งกว่าอะไรทั้งสิ้น

โดยหลักเกณฑ์อันนี้ ว่าคล้ายกับความว่างในสุริยจักรวาลนั่นทีเดียว ถ้าเรามองลึกลงไปอย่างพระพุทธเจ้ามอง แม้แต่ผิวหนัง แม้แต่เซลล์ๆเดียวยังประกอบด้วยปรมาณูหลายล้านปรมาณู และในปรมาณูหนึ่งๆยังมีที่ว่างอยู่อีกมากมาย ถ้าขยายปรมาณูหนึ่งให้เท่ากับลูกฟุตบอล เจ้าตัวแกนกลางที่ผมว่านิวเคลียสนั้น มันจะเท่ากับผงอันหนึ่ง ที่จะต้องส่องด้วยกล้องขยายจึงจะเห็น

เราลองคิดดูว่า อ้ายแกนกลางอันนี้มันใหญ่กว่าตัวอีเลคตรอนที่มันวิ่งอยู่ข้างนอกเกือบสองพันเท่า ดังนั้นส่วนใหญ่จึงเป็นช่องว่างทั้งนั้น ถ้ายิ่งมองให้ลึกซึ้งถึงขนาดนั้น ก็จะยิ่งเห็นความไม่เที่ยงแท้

และที่น่าอัศจรรย์ที่สุดในทัศนะของผมนั้นก็คือว่า …

ทำไมพระพุทธองค์ถึงได้ทรงตรัสรู้เรื่องนี้มาก่อนตั้งหลายพันปี แล้วทำไมพระองค์ถึงได้ทราบว่า ความไม่เที่ยงแท้ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพียงไหน เปลี่ยนแปลงอย่างเราเห็นได้… เปลี่ยนแปลงอย่างแพทย์เห็นได้ เปลี่ยนแปลงจนกระทั้งอย่างนักวิทยาศาสตร์เห็นได้ พิสูจน์ได้ ไม่ได้หยุดนิ่งละครับ วิ่งจี๋เลยทีเดียวอยู่ในนั้น และอ้ายตัวแก่นกลางก็หมุนด้วย และถ้าเอาออกมา แกนกลางนั้นก็หมดสภาพของการเป็นปรมาณู เมื่อหมดสภาพของการเป็นปรมาณู เมื่อหมดสภาพของการเป็นปรมาณูแล้วอ้ายเจ้าเซลล์ที่ประกอบด้วยหลายๆล้านปรมาณูก็หมดสภาพด้วย เพราะฉะนั้นมันมีอะไรเที่ยงล่ะ อีเลคตรอนมันถูกก่อกวนอยู่เสมอเท่าที่มันวิ่งอยู่ได้เพราะแรงดึงดูดระหว่างที่ตัวแกนของมัน และถ้าแรงดึงดูดนั้นถูกกระทบกระเทือน มันจะยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยตลอดเวลา มันจะอยู่เที่ยงคงที่ได้อย่างไร…


เพราะฉะนั้น สารที่มีกัมมันตภาพรังสี ก็หมายความว่าสารที่มันไม่ถาวรมันปล่อยรังสีออกมาเรื่อยๆแสดงว่ามันกำลังสลาย สลายแล้วมันก็เปลี่ยนเป็นอีกอันหนึ่ง จากเรเดียมมาเป็นตะกั่ว อย่างนี้และตะกั่วนี่ทีแรกนักวิทยาศาสตร์ก็คิดว่ามันถาวรแล้วละ มันไม่เปลี่ยนอีกแล้ว ที่จริงมันก็เปลี่ยนช้าๆเหมือนกัน อาจเสียเวลาตั้งล้านปีกว่าจะหมด นักวิทยาศาสตร์เข้าใจอย่างนี้ในเรื่องนี้

เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ามองในแง่วิทยาศาสตร์ก็ตรงกับคำว่าอนิจจัง ที่เรียกว่ามันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปงอยู่ทุกเมื่อ ท้ายที่สุดอาจจะกลายเป็นพลังงาน อย่างพลังงานปรมาณูที่เรานำมาใช้ ก็จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลักอีกอันหนึ่งที่ตรงกัน เรื่องนี้ผมพูดลำบากมากทีเดียว อนัตตา ความไม่มีตัวตน แต่ก็อยากฝากไว้ให้ท่านลองไปคิดดู ผมเล่าถึงโครงสร้างของปรมาณูให้ท่านทั้งหลายฟังแล้ว ท่านไปลองคิดดูเอาเองก็แล้วกัน…

เพื่อให้เห็นชัดขึ้นอีก อยากจะขยายความในเรื่องโครงสร้างของปรมาณูว่า

ถ้าแกนของปรมาณูนั้นขยายเท่าดวงอาทิตย์นะครับ เจ้าอีเลคตรอนนั่นเหมือนกับโลกเล็กๆวิ่งอยู่รอบ ดวงอาทิตย์ แล้วยังมีที่ว่างอีกเท่าไรละครับ แต่ถ้าเปรียบตามส่วนสัดแล้วที่ว่างนั้น ยังว่างมากกว่าระยะทางโลกถึงดวงอาทิตย์ เดี๋ยวนี้กี่ล้านกิโลเมตรก็ไม่ทราบ นั่นแหละถ้าเปรียบขยายอย่างเท่าดวงอาทิตย์ ทั้งหมดในที่นี้มันเป็นที่ว่างทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ในร่างกายที่เราเห็นเป็นรูปร่างนี้แหละ ที่เราเชื่อว่าเป็นรูปต่างๆ หล่อบ้าง ไม่หล่อบ้าง แก่บ้าง ไม่แก่บ้าง อะไรอย่างนี้ ถ้ามองทางแพทย์ก็เพียงแต่ไม่น่ามอง ถ้ามองอย่าง นักวิทยาศาสตร์ปรมาณูยิ่งแล้วใหญ่ มันไม่มีอะไรเย มีแต่แกนเท่านั้นแหละ อย่างนี้แล้วจะเห็นว่า มันไม่มีอะไรที่จะยึดถือเลย นี่ผมก็นึกวาดภาพในทางนั้นนะครับ แล้วผมก็อาศัยข้อคิดเห็นทางนั้น จะเห็นว่าในหลักอนิจจังก็ดี ในอนัตตาก็ดี หรือว่าสุญญตาก็ดี ถ้าจะหาเครื่องเปรียบเทียบ ถ้ารู้ทางวิทยาศาสตร์เสียบ้างละก็อ้ายที่เราจับต้อง อ้ายที่เราเห็นน่ะ เราไปจับโดนอะไรเข้าผมก็ไม่ทราบ

และอีกอันหนึ่งที่ผมเห็นว่าหลักเกณฑ์ของพุทธศาสนาเป็นหลักที่นักวิทยาศาสตร์น่าเคารพนับถือมากจริงๆก็คือว่าในศาสนาอื่นๆนั้นมักจะบังคับทีเดียวว่า จะต้องเชื่อบัญญัติอย่างไม่ต้องโต้แย้ง ไม่ต้องพิสูจน์ ต้องเชื่ออย่างรับเอาเฉยๆทีเดียว จึงเรียกเป็นคนนับถือศาสนานั้นได้

สำหรับพุทธศาสนา ไม่มีหรอกครับ มีใหคิดเอาเอง ให้ปฏิบัติด้วยตนเอง เกิดผลปฏิบัติแก่ตนเองทั้งสิ้น จะเชื่อหรือไม่เชื่ออีกเรื่องหนึ่ง แต่หลักศาสนาอื่น
ยกตัวอย่างเช่นการสร้างโลก

ในพุทธศาสนาไม่ได้บอกว่า พระพุทธเจ้าหรือพระพรหมอะไรเป็นผู้สร้าง อย่างนี้เป็นต้น แต่ในศาสนาอื่นนั้นเป็นอย่างไร
ท่านทั้งหลายคงจะเห็นแล้วว่าได้กำหนดลงไปทีเดียวว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก

เมื่อเช้านี้ท่านอธิบดีกรมการศาสนายังเล่าให้ฟังทางวิทยุ ท่านบอกว่าไปเยี่ยม..เยรูซาเล็มมา มัคคุเทศก์เขาบอกว่า ตรงนี้แหละศูนย์กลางของโลก มีลักษณะเป็นแอ่ง และแอ่งนี้เป็นที่ๆพระเยซูยันตัวผุดขึ้นมา เป็นแอ่งนิดเดียว ไม่เห็นมีอะไร เป็นหินธรรมดา
กำเนิดของโลกนั้นเท่าที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเดี๋ยวนี้ เป็นมาจากการควบแน่น หรือการรัดตรึงตัวของพลังงาน รวมทั้งแก๊ซต่างๆเข้ามาผสมกัน จนกระทั้งเกิดมาเป็นสสาร สสารหลายอย่างได้รับความร้อน ความกดดัน แสงสว่าง ความชื้น และอื่นๆกลายเป็นสัตว์เซลล์เดียวขึ้น

หลักใหญ่อยู่ที่ว่า ไม่มีใครสร้าง

แต่เกิดขึ้นมาเองด้วยอาศัยเหตุต่างๆ และวิวัฒนาการต่อไป อย่างที่กล่าวมาแล้ว
ทีนี้ท่านอาจจะถามไปอย่างที่ผมเคยถามตัวเองเสมอ ถ้าอย่างนั้นแล้วความชื้นมาจากไหน พลังงานมาจากไหน แสงสว่างมาจากไหน
คำตอบก็มีว่า โลกของเราเป็นดาวนพเคราะห์ดวงหนึ่งของดวงอาทิตย์ พลังงานและแสงสว่างเราได้จากดวงอาทิตย์ …

ถ้าถามต่อไปอีกหน่อยว่า ก็ดวงอาทิตย์ล่ะเกิดอย่างไร ก็ตอบได้อีกว่าดวงอาทิตย์อาทิตย์มันมีแก๊ซ และแกนเป็นแก๊ซที่กำลังอยู่ในภาวะที่ปั่นป่วนใหญ่ เป็นอนิจจังขนาดขยายหลายล้านๆเท่าทีเดียว คือว่าผันผวนพัวพันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปล่อยพลังงานและแสงสว่างออกมา

ถ้าถามต่อไปอีกว่า แล้วดวงอาทิตย์ละมาจากไหน แก๊ซในดวงอาทิตย์มาจากไหน ก็ตอบได้ว่า มาจากจักรวาล ดวงอาทิตย์ตั้งหลายพันเท่า ซึ่งมีตั้งหลายหมื่นจักรวาลเหลือเกิน เท่าที่ค้นพบได้เดี๋ยวนี้

ถ้าถามต่อไปอีกว่า จักรวาลอย่างนั้นน่ะมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็เลยไม่รู้จบรู้จนกัน ถ้าไม่ยอมจบและเป็นคนรู้จักกันก็พอหอมปากหอมคอ

ถ้าคนไม่รู้จักกันบางทีอาจ..จะถึงเลือดตกยางออก..นักวิทยาศาสตร์กับนักวิทยาศาสตร์นะครับ ถ้าลองถามถึงแก่นขนาดนี้แล้ว ซึ่งถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น

ทีนี้นักวิทยาศาสตร์ถืออย่างเดียว เวลาที่เขาจะอธิบายอะไรเท่าที่ความรู้และผลการทดลองที่พิสูจน์ถูกต้องพอบอกได้ในขณะนี้เป็นอย่างนี้ จากนั้นเป็นเรื่องสมมุติฐาน เป็นเรื่องยังรอการพิสูจน์ทดลองทั้งสิ้น

ฉะนั้น เราจะเห็นว่า ที่พระพุทธเจ้าไม่ได้พูดถึงว่า กำเนิดโกเป็นอย่างไร ผมก็นึกว่าดีแล้ว ท่านพูดแต่เพียงอิงไปอิงมา ท่านไม่ได้ตอบปัญหาตรงๆเลย ผมนึกว่าถูกต้องแล้ว การรู้ว่ากำเนิดโลกเป็นอย่างไร กำเนิดมนุษย์เป็นอย่างไร ไม่เป็นทางแห่งความดับทุกข์ เพราะฉะนั้นเสียเวลาเปล่าๆที่เราจะพิจารณาเรื่องนั้น

เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์เหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์รู้แค่นี้ก็บอกว่ารู้แค่นี้ ต่อไปอาจจะรู้มากขึ้นแค่ไหนอย่างไรไม่มีการยืนยัน ไม่รับรอง และไม่บังคับให้คนอื่นเชื่อถือตาม เพราะไม่เป็นข้อเท็จจริงพิสูจน์ทดองยังไม่ได้ ทีนี้บางคนก็พยายามเหลือเกินที่จะว่า ทั้งที่ท่านไม่ได้พูด ท่านอาจจะเลียบๆเคียงๆไว้ทางโน้นไว้ทางนี้

อันนี้ผมว่า ยังไม่สมควรที่จะจัดอ้างเอาเข้าไปให้เป็นพระพุทธดำรัสหรอกครับ เพราะฉะนั้นหลักการอันนี้เราจะเห็นว่าทำไมพุทธศาสนาจึงแตกต่างจากศาสนาอื่น

ทำไมศาสนาพุทธจึงตรงกับวิทยาศาสตร์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักพระธรรมใหญ่ๆที่ผมได้พูดถึงแล้ว
ต่อไปนี้ ผมก็จะพูดถึงพระสงฆ์ในพุทธศาสนา..

องค์พระสงฆ์นี้พระพุทธเจ้านั้นแหละก็เป็นพระสงฆ์องค์แรก ผมได้กล่าวแล้วว่า.. พระพุทธเจ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ประเสริฐที่สุดในโลกอย่างไร..ขอประทานอภัยด้วยนะครับ ..ถ้ามีการเกินไป แต่ผมก็จะไม่พูดอะไรมาก พระสงฆ์นี้ก็เหมือนกับว่า นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง นักวิทยาศาสตร์แรกๆได้แก่... สมเด็จพระพุทธองค์และพระอรหันต์ต่างๆพระสงฆ์ในปัจจุบันก็เท่ากับนักวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาอยู่ หรือกำลังปฏิบัติอยู่ขณะนี้นั้นเอง

เพราะอะไร เพราะว่าพระวินัยหรือศีลนั้นก็เหมือนกับกฎเกณฑ์ทฤษฎีของวิทยาศาสตร์ที่ใช้อยู่นี้ ทุกอย่างต้องมีมาตรฐาน
ทุกอย่างต้องมีระเบียบข้อบังคับ

เพราะฉะนั้นการที่มีกฎระเบียบข้อบังคับให้ท่าพิสูจน์จนกระทั้งพิสูจน์ได้แน่นอนมาหลายชั่วคนแล้วนี

#2 ป่าน072

ป่าน072
  • Members
  • 371 โพสต์
  • Location:โคราช
  • Interests:การศึกษาต่อในวิชา วิทยาศาสตร์<br />วิศวะปิโตรเคมี

โพสต์เมื่อ 23 August 2006 - 08:58 AM

เนื้อหายาวจังนะคะ
แต่ไม่น่าเชื่อนะคะ คนละขั้วจะมาเกี่ยวกันด้วย
สาธุ
เมื่อดวงตาปิดสนิมอย่างละมุน
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง

#3 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 06:47 PM

ยาวจังเลนครับ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี