ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 2 คะแนน

Pre Report วัดพระธรรมกาย


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 29 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 01:05 AM

คำปรารภ

สาเหตุที่ข้าพเจ้าเลือก วัด เป็นกรณีศึกษาเพราะเหตุว่า
วัด เป็นสัญลักษณ์คู่วิถีชีวิตคนไทยตั้งแต่บรรพกาล
คนทุกชนชั้นตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ ขุนนาง ผู้ดี ไพร่ พ่อค้าวานิช
ล้วนมีชีวิตที่เคยเกี่ยวข้องกับวัดทั้งนั้น

วัด จึงเป็นแหล่งชุมชนหลักคู่คนไทยตลอดมานับพันปี เพราะวัดเป็นที่ชุมนุมของชนทุกเพศวัย
ตั้งแต่ทารก เด็ก หนุ่มสาว ผู้เฒ่าคนชรา จนถึงคนตาย การเล่าเรียนศึกษา งานบวช งานแต่ง งานศพ
กิจกรรมรวมคนจนถึง งานสังสรรค์ก็เกี่ยวข้องกับ วัด

ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่สง่างาม ประณีตศิลป์ ก็เริ่มรังสรรค์มาจาก วัด
วัด จึงเกี่ยวข้องใกล้ชิดคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย
คนไทยอยู่เย็นเป็นสุข มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ก็เพราะถูกหล่อหลอมมาจาก วัด
สังคมไทยจึงสงบร่มเย็น ฝ่ามรสุมการสงคราม การเมือง รักษาเอกราชมาได้ยาวนานมาถึงทุกวันนี้

สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัด มีข้อมูลมากมายให้ศึกษา ทั้งในด้าน
จิตวิทยา การเมือง การปกครอง ศิลปะ การศึกษา วรรณกรรม มนุษย์สัมพันธ์ การแพทย์
จนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ ๒๕
โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง สังคม การสื่อสาร
อารายธรรมตะวันตกไหลบ่าถาถมสู่ชาวตะวันออก

นับแต่นั้นมา การถ่ายทอดความคิดของชาวตะวันออกก็ปรับตัว
และวิถีชีวิตก็เปลี่ยนไปตามความแปรผันของกระแสโลกาภิวัฒน์

วัด ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังคมจึงได้รับผลกระทบตามไปด้วย
แต่น่าเสียดายมีบุคลากรที่มุ่งพัฒนาวิทยาการทางโลกมีมากมาย
ทั้งนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักบริหาร นักการทหาร นักปกครอง-บ้านเมืองสังคม

ในขณะที่บุคลลากรที่มุ่งพัฒนาจิตใจและศีลธรรมคือ ภิกษุ สามเณร
ไม่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรที่ขยายเพิ่มขึ้น
อีกทั้งการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน
ก็มุ่งเน้นการพัฒนาโลกมากกว่าการพัฒนาจิตใจของคนในประเทศ

ดังนั้น วัดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงถูกละเลยจนกลายเป็นส่วนเกินของสังคม
วัด ส่วนใหญ่จึงไม่มีบทบาทมากมายต่อวิถีชีวิตของคนไทยเหมือนในอดีต คนไทยจึงไปวัดน้อยลง

แต่มีอยู่วัดหนึ่งที่เคยเป็นข่าวครึกโครมใหญ่โต ถูกสื่อมวลชนทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์
ลงข่าวโจมตีอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องกว่า 2 ปีกลับมีคนไปวัดมากขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
วัด ๆ นี้ คือ

วัดพระธรรมกาย

ปัจจุบันวัดพระธรรมกาย มีบทบาทสำคัญเป็นที่สนใจ
เป็นที่ยอมรับทั้งในสังฆมณฑล สังคมไทยและในระดับนานาชาติ
เพราะความเป็นอยู่และกิจกรรมของวัดๆนี้ ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งในด้าน

- ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาปริยัติธรรมของฝ่ายสงฆ์
- สถาบันครอบครัว มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในครอบครัว
- วงการศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับนักเรียน ครูอาจารย์ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงอุดมศึกษา

- เศรษฐกิจ คือ มีจำนวนคนมาก มีงานก่อสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่
จึงมีค่าใช้จ่ายมากมาย ทั้งค่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ข้าวของเครื่องใช้
วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง กระแสไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าสื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ
จนถึงระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนนทางหลวง ของภาครัฐที่มารองรับ

ด้านเอกชน มีหมู่บ้านจัดสรรมากมายรายรอบ โรงเรียน อาคารพาณิชย์
ตลาดสดขนาดใหญ่ (ตลาดไท ) ฯล

- การฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยอันดีงาม เช่น การยิ้ม การไหว้ กิริยาอ่อนน้อม สัมมาคารวะ เคารพตามอาวุโส ฯล
- การแลกเปลี่ยนการศึกษาระหว่างประเทศ คือ พระพม่า พระจีน พระธิเบต พระญวน
พระลังกา พระเกาหลีมาประชุมสัมมนา แลกเปลี่ยนความรู้และศึกษาวัฒนธรรม
ฯลฯ

ร่างรายงานฉบับนี้มุ่งศึกษา วัดพระธรรมกาย
ในทรรศนะที่เป็น
วัดยุคใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕
ที่มีบทบาทและผลกระทบสังคมไทยในวงกว้างและวงการศาสนาในระดับนานาชาติ
โดยอ้างอิงข้อมูลจากหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยวัดพระธรรมกายและวารสาร นิตยสารต่างๆ


ทรรศนะในรายงานนี้อยู่ในเชิงสร้างสรรค์คือ จับดีมากกว่าการจับผิด
เพื่อแสวงหาความรู้ตามความเป็นจริง ( fact )
เพื่อศึกษาสาเหตุ คือ อุดมการณ์สร้างสรรค์ของคนกลุ่มเล็กๆ แต่ทุ่มเททำงานอย่างจริงจังแล้ว
มีผลกระทบสังคมในระดับ มหภาคได้ อย่างไร
และประโยชน์สร้างสรรค์อื่นๆตาม ความรู้และประสบการณ์ของท่าน

ทรรศนะในรายงานฉบับนี้เป็นในรูปแบบนักสังเกตการณ์ (observer)
ตามข้อมูลจริงและเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น

ผู้จัดทำ

พฤศจิกายน 2546

หมายเหตุ
อธิบายเพิ่มเติมครับว่า Pre-Report นี้
เพราะกระแสข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย

ในระบบ network ไม่ตรงตามความเป็นจริงที่ผมประสบมา
ผมจึงร่างเป็นข้อมูลไว้แต่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะมีงานค้างอยู่มาก

และได้นำไปตอบกระทู้ในกระดานสนทนาอื่นมาบ้างแล้ว

ปัจจุบัน โครงการ กิจกรรมงานกุศลที่วัดพระธรรมกาย ทำขึ้นนั้นมีมากมายกว่าข้อมูลเดิมนี้
ดังนั้นข้อมูลและตัวเลขต่าง ๆ ที่ผมระบุหรือประเมินไว้ จึงไม่ใช่ตัวเลขจริงในปัจจุบันนี้ครับ

ผมเห็นว่า ข้อมูลเดิมนี้แม้ยังไม่สมบูรณ์
แต่ยังพอมีประโยชน์ต่อวิญญูชนในโลก net work
จึงนำมาให้ศึกษาอีกครั้งครับ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  wat73.jpg   34.71K   351 ดาวน์โหลด


#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 01:19 AM

บทนำ

สาเหตุ (ตัวแปรต้น independent variable)

ที่ข้าพเจ้าเลือกวัดพระธรรมกาย เป็น case study เพราะว่า

1)เป็นวัดที่มีผลกระทบ(ตัวแปรตาม dependent variable)
ต่อสังคมไทยและในระดับนานาชาติที่เห็นได้ชัดเจนมากกว่าวัดในประเทศไทยใดๆในยุคพุทธศตวรรษที่ ๒๕
สามารถพิสูจน์ตรวจสอบได้ เพราะปัจจุบันยังมีวัดพระธรรมกายอยู่ บุคคลที่ก่อตั้งก็ยังอยู่
ผู้คนจำนวนมากก็ยังไปทำความดี บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา

2)ข้าพเจ้าเคยไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่วัดพระธรรมกาย ตั้งแต่เป็นนักศึกษา
เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2531 รวมถึงเคยอบรมโครงการธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ ,

ต่อไปนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึง ปฏิกิริยาแห่งการสมเหตุและผล ( Reasonable Reaction )
หรือในที่นี้ขอเรียกว่า
ตัวแปรต้น independent variable และตัวแปรตาม dependent variable
โดยมี case study คือ วัดพระธรรมกาย ในหัวเรื่องว่า

วัดพระธรรมกาย ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕


ความเปลี่ยนแปลงของสภาพการเมือง การปกครอง
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไม่เพียงแต่ส่งผลให้สภาพสังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายเท่านั้น
ยังส่งผลให้วัดที่เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรม
ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนศีลธรรมให้ทันยุคสมัยไปด้วย

วัดพระธรรมกายเป็นวัดหนึ่งในอีกหลายหมื่นวัดที่ปรับตัว
เป็นวัดที่มีการปรับตัวขนานใหญ่จนเป็นที่รู้จักของประชาชนคนไทยมากขึ้น
และเป็นที่สนใจจากบรรดาผู้นำทางศาสนาทั่วโลก
ทั้งในด้านชื่นชมจนเลอเลิศและด้านสงสัยไม่ไว้วางใจว่า ดีจริงๆ หรือดีแตก
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่แท้จริง ทั้งแท้ทั้งจริง ( fact) ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่มีทั้งเท็จและจริง

แนบไฟล์  post_4932_1150945509_thumb.jpg   16.36K   200 ดาวน์โหลด


เมื่อกล่าวถึง วัดพระธรรมกาย
เบื้องต้นควรทราบถึงการกำเนิดวัดและประวัติย่อของผู้บุกเบิกสร้างวัดกันก่อน
เพื่อเห็นภาพรวมของวัดพระธรรมกาย ซึ่งข้าพเจ้าจะวิเคราะห์สิ่งที่น่าสนใจเป็นช่วงๆ

วัดปากน้ำภาษีเจริญ คือจุดเริ่มต้นของวัดพระธรรมกาย
โดยเริ่มจาก แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ซึ่งเหล่าศิษย์เรียกท่านว่า “ คุณยายอาจารย์ / คุณยาย ”
ผู้เป็นลูกศิษย์ของพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ
บวชเป็นแม่ชี ราวปีพ.ศ. 2480 หลังจากดั้นด้นหาครูสอนสมาธิภาวนามานานหลายปี
ตามประวัติที่บันทึกไว้ว่า

คุณยายอาจารย์ ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาฐานะดี
ณ บ้านริมฝั่งแม่น้ำนครไชยศรี จังหวัด นครปฐม

ในยามเช้าของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2452
ท่านไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ ด้วยในสมัยนั้นลูกสาวชาวบ้านทั่วไปไม่นิยมเรียนหนังสือ
เพราะถือกันว่าโตเป็นสาวก็ออกเหย้าออกเรือน แต่งงานไปอยู่บ้านสามี เป็นแม่บ้านให้สามีเลี้ยงดู

ชีวิตท่านผันแปรเมื่ออายุราว 13 ปี พ่อของท่านเสียชีวิตลง
โดยที่ท่านไม่ทันขอขมาพ่อ ตามประเพณีนิยม
จากนั้นมาท่านปรารถนาจะตามไปขอขมาพ่อให้ได้ ไม่ว่าพ่อตายแล้วจะไปอยู่ที่ได

เมื่ออายุ 26 ปีได้ข่าวจากญาติที่ไปทำงานในบางกอกว่า
หลวงพ่อวัดปากน้ำฯสอนนั่งสมาธิให้ไปนรกสวรรค์ได้
ท่านจึงลาแม่และพี่สาวไปบางกอกเพื่อทำตามความใฝ่ฝันที่ค้างใจมานานนั่นคือ
ตามหาพ่อ โดยยอมเป็นคนรับใช้ในบ้านเศรษฐีที่เป็นอุปัฏฐากของวัดปากน้ำฯ


วิเคราะห์ : ตรงนี้น่าสนใจมาก เพราะ

1)ท่านเป็นสตรี อยู่บ้านนอกมา 26 ปี ไม่เคยจากครอบครัวมาก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่รู้กำหนดว่าต้องใช้เวลากี่เดือนกี่ปี
จึงจะนั่งสมาธิไปนรกสวรรค์ตามหาพ่อที่ตายไปแล้วได้

แสดงว่า แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง
มีจิตใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็งมาก เป็นคนกล้าตัดสินใจ รู้จักตัดใจไม่อาลัยอาวรณ์
มีความมั่นใจในตนเองสูง มั่นใจว่า ตนเองไม่ไปตายดาบหน้า แต่จะไปโตดาบหน้า
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าที่จะเลือกเส้นทางชีวิตให้ตนเอง กล้าลิขิตชีวิตด้วยตนเอง
นับว่าเป็น Life Designer ที่ควรยกย่อง

2)ท่านเป็นชาวนาฐานะดี แต่ไฉนต้องยอมถึงขนาด เป็นคนรับใช้ผู้อื่นด้วย ถ้าเป็นเราล่ะ จะยอมหรือ ?
ที่ต้องไปคอยรับใช้ใครก็ไม่รู้
แสดงว่า ท่านมีอุดมการณ์มั่นคง ยอมทุกอย่างเพื่อเป้าหมายสำเร็จสมปรารถนา แล้วที่สำคัญ

3)โอกาสจะได้เรียนธรรมะจะมีหรือไม่ เพราะธรรมดาเจ้าของบ้าน มักชอบใช้งานลูกจ้างให้มากที่สุด
ยอมให้มีเวลาว่างน้อยที่สุด แม้ทำงานดูแลบ้านเสร็จ ก็ไม่แน่ว่าจะเปิดโอกาสให้ลูกจ้างไปเรียนธรรมะกับตน

แสดงว่า
ท่านต้องเป็นคนขยัน ซื่อสัตย์ อดทน รู้จักยอมคน เอาใจผู้อื่นสารพัด เพื่อให้งานสำเร็จ
ด้วยความเป็นคน ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ทำงานได้ดีเป็นที่พอใจ จนเจ้าของบ้านเอ็นดู
ไว้วางใจได้เรียนธรรมะพร้อมเจ้าของบ้านในที่สุด

ด้วยความขยันเหนื่อยทั้งทำงานดูแลบ้านอย่างดี หมั่นเพียรฝึกฝนนั่งสมาธิเจริญภาวนาจนบรรลุธรรม
ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ไปตามหาพ่อในปรโลก ความใฝ่ฝันท่านสมปรารถนา

ราวปีพ.ศ. 2480 ท่านบวชเป็นแม่ชี อยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
มีหน้าที่หลักคือ นั่งสมาธิเจริญภาวนา
จวบจนหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ มรณภาพลงเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502

ปีพ.ศ. 2506 ท่านพบกับ คุณ ไชยบูลย์ สุทธิผล
( ปัจจุบัน คือ พระราชภาวนาวิสุทธิ / ธัมมชโย ภิกขุ )

มาขอเรียนธรรมะและได้ผลการปฏิบัติธรรมดีมาก
ซึ่งต่อมาคุณไชยบูลย์ ก็ชวนเพื่อนๆและรุ่นพี่รุ่นน้องที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มาเรียนธรรมะกับคุณยายอาจารย์ ที่บ้านธรรมประสิทธิ์
ซึ่งอยู่ในเขตวัดปากน้ำฯไม่นานนักจำนวนคนมาเรียนธรรมะก็เต็มบ้าน

พ.ศ.2512 คุณ ไชยบูลย์ สุทธิผล สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ได้รับ ฉายาว่า “ ธัมมชโย ” ต่อมาเป็นเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย

จากนั้นไม่นานนักสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่เรียกกันว่า “ บ้านธรรมประสิทธิ์ ” ไม่พอการรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมที่บ้านธรรมประสิทธิ์ ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
จึงรวบรวมศิษย์หาที่ดินผืนใหม่ ซึ่งได้รับบริจาคจากเศรษฐีใจบุญ คือ
คุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี เป็นที่นาขนาด 196 ไร่
อยู่ที่ ตำบลคลองสาม อำเภอ คลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี

เมื่อวันมาฆะบูชา วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513
เริ่มบุกเบิกก่อสร้างเป็น ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม
ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดวรณีธรรมกายาราม
ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระธรรมกาย
จนถึงปัจจุบันนี้

#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 01:27 AM

วิเคราะห์

1)การนั่งสมาธิเจริญภาวนาให้บรรลุธรรม ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว
ถ้าง่ายก็คงมีคนบรรลุธรรมเต็ม บ้านเต็มเมืองแล้ว
คนส่วนมากมักเข้าใจและพูดกันว่า
การปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน เป็นเรื่องของนักบวช
ชาวบ้านอย่างเราๆมีกิเลสหนา ทำไปไม่ได้อะไร
บ้างก็ว่า
ต้องทำมาหากิน ไม่มีเวลาศึกษาธรรมะหรอก

แต่แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ทำได้ทั้งที่เป็นฆราวาส
และยังอยู่ในฐานะคนรับใช้ ทำงานบ้านสารพัด

แสดงว่า
ก )การปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ใครๆก็ทำได้ ไม่ได้สงวนสิทธิ์ให้เฉพาะนักบวช ทุกคนสามารถทำได้ เพราะ
ไม่ได้จำกัด หญิง/ชาย รวย/จน อ้วน/ผอม ผิวดำ/ขาว สวย/ขี้เหร่ ลูกจ้าง/นายจ้าง
ไม่จำกัดเชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา ภาษา เพราะเราใช้ใจ ใครมีใจก็ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานได้
คนตาบอด หูหนวกเป็นใบ้ ก็ฝึกสมาธิได้

ข ) ทุกคนมีเวลาเท่ากัน คือ 1 วัน มี 24 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการใช้เวลา การจัดสรรเวลา ของแต่ละคนมากกว่า

ค )การปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน วิปัสสนา ให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เป็น อกาลิโก ไม่จำกัดกาลสมัย
ในสมัยพุทธกาลหรือพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ใครทำถูกดี ถึงดี พอดี ก็ได้ดี แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง เป็นพยานได้

ง ) คนที่มีทั้งชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิ ฐานะร่ำรวย มียศฐาบรรดาศักดิ์
ไม่แน่ว่าจะได้การยอมรับนับถือ เคารพ เลื่อมใส จากผู้อื่นด้วยความจริงใจ
เพราะแม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ไม่มีสิ่งเหล่านี้ ท่านไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออกเขียนก็ไม่ได้
แต่มีลูกศิษย์ จำนวนมากมายที่เรียนสูงๆ จบปริญญา มีชาติตระกูล ฐานะร่ำรวย

นั่นแสดงว่า แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง
เป็นผู้ทรงศีล มีศีลาจารวัตรน่าเลื่อมใส ใครเห็นอยากเข้าใกล้ อยากสนทนาด้วย
เป็นผู้ทรงธรรม รู้ธรรมจริง จึงสามารถตอบคำถามธรรมะต่างๆ จากทุกคนได้
แม้ท่านจะไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเลยก็ตาม

น่าแปลกไหมล่ะที่บุคคลอยู่แต่ในวัดปากน้ำฯ ไม่รู้หนังสือ ไม่เคยออกไปท่องโลก
แต่กลับรู้จักโลกทั้งโลก รู้จักทุกศาสตร์ เช่น

การดูคนเป็น ไม่ต้องเรียนการดูโหงวเฮ้ง ตำรานรลักลัษณ์
แต่ดูที่ใจด้วยใจใส รู้หมดใครคิดอะไร ยังไง

รู้จักใช้คน ทั้งนักเรียน ครู นักบริหาร นักขาย ตาสี ยายสา แม่ครัว ทหาร ตำรวจ คนจนถึงคนรวย

เป็นนักบริหารงาน เวลา ทรัพยากร

รู้จักปกครองใจคน ตั้งแต่นักเรียน ครู นักบริหาร นักขาย ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี
แม่ครัว ทหาร ตำรวจ คุณหญิงคุณนาย

เป็นครูสอนคนให้เป็นคนดี ซึ่งยากกว่าการสอน
วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ

แสดงว่า แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง เป็นบุคคลอัจฉริยะ ด้วยพุทธวิธี คือ

อะไรไม่รู้ไม่เป็นไร รู้อย่างเดียวก็รู้ทั้งหมด นั่นคือ รู้แจ้งธรรมะ

แนบไฟล์  013.jpg   30.95K   78 ดาวน์โหลด


ตัวแปรต้น independent variable 1

กลุ่มคนราว 10 คน ที่รักการเจริญสมาธิภาวนา
มีผลการปฏิบัติธรรมที่มีบรมสุขจากการเข้าถึงพระธรรมกาย

มีอุดมการณ์ชัดเจนแน่วแน่ที่จะสร้างวัดด้วยการทุ่มเทชีวิตจิตใจ
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ

สร้างวัด ให้เป็นวัดที่ดีที่สุด สะอาด สงบ ร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

สร้างพระ ให้เป็นพระแท้ มีศีลาจารวัตรงดงาม สมบูรณ์ทั้งปริยัติ ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธ เทศนา

สร้างคนมาวัด ให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ รับผิดชอบตัวเองและสังคม

นำโดย แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง อายุ 60 ปี ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้า

นาย ไชยบูลย์ สุทธิผล อายุ 24 ปี นิสิต ม.เกษตรศาสตร์ ปัจจุบัน คือ พระราชภาวนาวิสุทธ์ ( ธัมมชโย ภิกขุ )

นาย เผด็จ ผ่องสวัสดิ์ อายุ 28 ปี ศิษย์เก่าม.เกษตรศาสตร์ปัจจุบัน คือ พระภาวนาวิริยะคุณ ( ทัตตชีโว ภิกขุ )

ครู ถวิล วัติรางกูล (บุญทรง) ต่อมาบวชเป็นแม่ชี วายชนม์แล้วเมื่อปลายปีพ.ศ. 2543
และนิสิตกลุ่มเล็กๆ

ตัวแปรตาม dependent variable 1

คือ สร้างความเลื่อมใสศรัทธา สามารถรวมคนใจบุญ ทั้งคนหนุ่มสาว นิสิต เศรษฐีใจบุญ
มาร่วมสร้างวัด ในอุดมคติได้สำเร็จ

แม้อุปสรรคใหญ่คือ เงินทุน ซึ่งเริ่มต้นรวมเงินได้เพียง 3,200 บาทเท่านั้น
แต่ด้วยทัศนคติที่ว่า อุปสรรค มีไว้ให้ข้าม ไม่ได้มีไว้ให้ท้อ

และการให้แง่คิดมุมที่ควรมองจาก แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง
ผู้ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ทางธรรม เมื่อคุณเผด็จถามแม่ชี จันทร์ ว่า

เรามีเงินทุนแค่นี้ จะสร้างวัดให้สำเร็จได้อย่างไร ?

คุณเด็จ ถ้าเราจะสร้างคนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม คนที่ยอมเสียสละ
อุทิศชีวิตให้พระพุทธศาสนาขึ้นมาในโลกสักคนหนึ่ง ต้องใช้เงินเท่าไร


หมดเงินไป 100 ล้าน ก็ยังไม่แน่ว่าจะได้มาสักคน

ก็ตอนนี้ ยายมีคนดีอย่างพวกคุณมานั่งอยู่ตรงหน้านี้แล้วตั้ง 11 คน
แสดงว่า ยายมีเงินทุนอยู่แล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ล้าน
เท่านี้ยังไม่พอสร้างวัดอีกหรือ ?


หรืออีกครั้งเมื่อมีผู้ถามแม่ชี จันทร์ ทำนองว่า
การสร้างต้องใช้เงินจำนวนมาก เราจะสร้างวัดได้หรือ ?

ท่านไม่ตอบทันที แต่ถามกลับว่า

ถ้าให้เงินคุณ 100 ล้านแล้วให้คุณสละชีวิต คุณเอาไหม

ไม่เอา

แต่พวกคุณตั้งใจสละชีวิตแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา งั้นยายก็มีเงินทุนเป็น 1,000 ล้านแล้ว

ซึ่งคนกลุ่มนี้ต่อมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างวัดพระธรรมกาย เผยแผ่พระพุทธศาสนา
และยังเป็น independent variable คือ เป็นต้นแบบให้ผู้อื่นดำเนินรอยตาม อีกเรือนแสน


#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 01:36 AM

ตัวแปรต้น independent variable 2

เพราะวัตถุประสงค์ การสร้างวัดให้วัดที่ดีที่สุด ทำให้เกิด

ตัวแปรตาม dependent variable 2 คือ

หลักการสร้างวัด ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ใช้หมวดธรรม #####เทส ๔ คือ

ก ) อาวาสเป็นที่สบาย คือ สถานที่ไม่ใกล้กรุงเทพฯ ไปมาสะดวก / ขนาดพื้นที่มากกว่า 50 ไร่ /
อาคารใช้งานตั้งแต่ อุโบสถ ศาลาฟังธรรม กุฎิที่พัก รูปทรงเรียบง่าย เน้นมั่นคงแข็งแรง ดูแลรักษาง่าย

ข ) อาหารเป็นที่สบาย คือ อาหารมีคุณภาพ มีคุณค่าสารอาหารครบ สะอาด ปริมาณเพียงพอ
ผลิตได้เร็ว แจกจ่ายได้เร็ว (งานที่มีสาธุชนจำนวนมาก)

ค ) บุคลคลเป็นที่สบาย คือ ภิกษุ สามเณร เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร เคร่งครัดในศีล กิริยาอ่อนน้อม
มารยาทงดงามตามแบบพุทธศาสนิกชนที่ดี มากด้วยความเคารพ 6 กตัญญูกตเวที มีวินัย
เป็นนักต้อนรับ ปฏิสันถาร ยิ้มแย้มแจ่มใส ทั้งดวงพักตร์ ดวงเนตร มีปิยะวาจา ฯล

ง ) ธรรมะเป็นที่สบาย คือ เลือกหมวดธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนาให้เหมาะกับผู้ฟัง
ปรับปรุงวิธีการเทศน์การสอน โดยใช้ภาษาพูด คำอุปมา อุปมัย ของธรรมะให้ผู้ฟังเข้าใจตามได้ง่าย
มีกำลังใจทำความดี สามารถนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

มีสื่อธรรมะประกอบการเผยแผ่ให้ทันยุคสมัย ตั้งแต่หนังสือ ภาพวาด อุปกรณ์ฉายแผ่นใสในยุคต้น
จนสู่การใช้ multimedia : /vdo/slide multivision/vcd/mp3/internet/sattlelite ในปัจจุบัน

และ dependent variable 2 ยังเป็น independent variable 3 ส่งผลให้เกิด

dependent variable 3 ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

ขนาดพื้นที่

ปีพ.ศ. 2513 196 ไร่
ปีพ.ศ.2530 ปัจจุบัน มากกว่า 2,300 ไร่


วิเคราะห์ independent variable : สาเหตุการขยายพื้นที่ จาก 196 ไร่ คือ

ก ) สถานที่เดิมคับแคบเมื่อมีสาธุชนมาร่วมงานบุญใหญ่

ข ) พื้นที่รอบวัดเริ่มมีหมู่บ้านจัดสรรมากขึ้น เริ่มมีเสียงงานมหรสพเข้ามารบกวนการปฏิบัติธรรม
จึงควรซื้อที่ดิน ปลูกสวนป่ากันเขตลดเสียงรบกวน และให้สิ่งแวดล้อมเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

ค ) แนวโน้มคนมาวัดปฏิบัติธรรมจะเพิ่มมากขึ้น

วิเคราะห์ dependent variable :

การขยายพื้นที่วัดทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านสนับสนุนและต่อต้าน

ฝ่ายต่อต้าน คือ
ก ) ผู้เช่านาเกือบ 100 ครอบครัว ที่ต้องย้ายถิ่น

การแก้ไขของทางวัด คือ

จ่ายค่าสินไหมทดแทนราคาสูง รายละกว่า 200,000 บาท มีเพียง 5-10 รายเท่านั้นที่แย้งว่าน้อยไป
ชาวนาส่วนมากนำเงินค่าสินไหมทดแทน มาชำระหนี้สินที่เกิดจากการทำนา
บางส่วนมีเงินไปซื้อที่ดินบริเวณคลอง 2 และเป็นพนักงานของวัด


รับชาวนามาเป็นพนักงานวัด เช่น ดูแลต้นไม้ สวนเพาะพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ ครัว ช่างก่อสร้าง ฯล

ข ) นักเคลื่อนไหว (mob) ที่อาสามาพิทักษ์ผลประโยชน์ให้ชาวนา

ค )นักธุรกิจจัดสรรที่ดิน สร้างหมู่บ้านจัดสรร

ข และ ค แก้ไขโดยกระบวนการยุติธรรม

ซึ่งศาลตัดสินให้ชาวนาต้องย้ายออกและดำเนินคดีกับแกนนำ
ที่ก่อความวุ่นวาย ซึ่งต่อมาทางวัดก็ถอนแจ้งความด้วยความเมตตาธรรม
และยังชวนอาสาสมัครของวัดมาช่วยรื้อถอนและขนย้ายบ้านให้ด้วย เช่น
นิสิตที่เคยอบรมธรรมทายาท ผมเองก็ไปช่วยขนย้ายด้วยครับ

ง ) สื่อมวลชน ที่หวังเพียงขายข่าวได้

ฝ่ายสนับสนุน คือ
ผู้ใจบุญที่อยากสร้างสถานที่ปฏิบัติให้สัปปายะ(เป็นที่สบาย) คือ
เจ้าของที่ดินคุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดีและบุตรี คือคุณ วรณี สุนทรเวช และสาธุชน

แนบไฟล์  PIC871.JPG   51.87K   82 ดาวน์โหลด


วิเคราะห์ dependent variable :

จากจำนวนคนที่มาวัดมาขึ้นย่อมส่งผลให้ทางวัดมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งค่าอาหาร
เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
ค่าก่อสร้างศาสนสถาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
แม้ไม่ได้รับการสนับสนุนเงินจากทางรัฐบาล

นั่นคือ มีเงินสะพัดไหลเวียนในภาคธุรกิจ ทั้งภาคเกษตรกร อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม เป็นต้น

รถบัส รับส่งสาธุชนตามจุดต่างๆ มากกว่า 50 แห่งในกรุงเทพฯและปริมณฑล

วันอาทิตย์ธรรมดา ประมาณ 60 ถึง 80 คัน
วันอาทิตย์ต้นเดือน ประมาณ 150 ถึง 250 คัน
งานสำคัญทางพุทธศาสนา ประมาณ 1,200 ถึง 1,800 คัน

หมายเหตุ : ตัวเลขข้อมูลที่ปรากฏ เป็นตัวเลขโดยประมาณที่ข้าพเจ้าประเมินจากที่ข้าพเจ้าประสบมา


วิเคราะห์ dependent variable :
ทางวัดอำนวยความสะดวกให้สาธุชนที่มาวัด โดยจัดรถบัสรับส่ง ตามจุดต่างๆ ราว 50 จุด
ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
รวมถึงชาวต่างจังหวัดที่มาวัดทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนและวันสำคัญทางพุทธศาสนา
ดังนั้นจึงมีผลต่อธุรกิจเดินรถ มีงานมีรายได้เพิ่มขึ้น


สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

สภาพชุมชน
จากเดิม บริเวณ 25 ตารางกิโลเมตร ข้างสถานีตำรวจภูธร อำคลองหลวง จ.ปทุมธานี
เป็นพื้นที่เกษตรกรรม คือ ทุ่งนาฟ้าโล่งและสวนส้ม

มีถนนลาดยางมะตอยเพียง 2 เลน มีบ้านประชาชนอยู่ไม่หนาแน่น
แต่ 18 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงจนผิดตา คือ

มีถนนทางหลวงถนนคอนกรีต 6 เลน
ถนนวงแหวนรอบนอกที่คลอง 4
มีหมู่บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์มากมาย
ตลาดสดขนาดใหญ่ คือ ตลาดไท
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตและ หอพักนักศึกษา
สนามกีฬาระดับชาติ ที่รองรับ เอเชี่ยน เกมส์ ครั้งที่ 13 ปีพ.ศ.2543
โรงพยาบาลขนาดใหญ่ รพ.ธรรมศาสตร์ คลองหลวง
ร้านค้าวัสดุก่อสร้างและร้านอาหารกลางคืนฯลฯ

ประชาชนเพิ่มขึ้น
มีประชาชนในหลายจังหวัดจากทุกภาคของประเทศหลั่งไหลเข้ามาอาศัยทำมาหากิน เช่น
พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม
แม่ค้าผัก ผลไม้
ช่างฝีมือต่างๆ
คนงานรับจ้าง
รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง
ร้านอาหาร
อาชีพชาวบ้าน
จากทำนาข้าว ทำสวนส้ม ก็เปลี่ยนมาเป็น
รับราชการ พนักงานบริษัท พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม
เพราะคนรุ่นเก่าเลิกทำนาทำสวน เด็กรุ่นใหม่ก็นิยมทำงานในเมือง

ร้านขายอาหาร และร้านสะดวกซื้อ รองรับการกินการใช้ของคนที่เพิ่มมากขึ้น
ขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง

เป็นพนักงานวัดพระธรรมกาย เช่น งานครัว งานก่อสร้าง จัดสวนดูแลต้นไม้
พนักงานธุรการ แม่บ้านดูแลความสะอาดอาคารสำนักงาน เป็นต้น

สื่อธรรมะที่ใช้เผยแผ่
2512-2542 หนังสือ-สิ่งพิมพ์/เทป/vdo/slide multivision
2543-2545 หนังสือ-สิ่งพิมพ์/เทป/vdo/slide multivision / vcd
2546 หนังสือ-สิ่งพิมพ์/เทป/vdo/slide multivision
vcd/mp3/internet www.dmc.tv/sattlelite DMC Channel

#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 02:00 AM

ต่อไปนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่เป็นรูปธรรมของวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย
เพื่อให้เห็นภาพรวมของกิจกรรมและโครงการงานกุศล
และเห็นทรรศนะคติที่มั่นคงของวัดพระธรรมกาย
( ข้อมูลเดิม พ.ศ. 2546 และมี update บางส่วน )


กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนศีลธรรมของวัดพระธรรมกาย

ก ) งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

a. โครงการสอนธรรมะในวันอาทิตย์ละวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
สถิติข้อมูล พ.ศ. 2533 ถึง พ.ย. 2541
พ.ศ. 2533 จำนวน 232,295 คน
พ.ศ. 2534 จำนวน 155,245 คน
พ.ศ. 2535 จำนวน 164,251 คน
พ.ศ. 2536 จำนวน 137,487 คน
พ.ศ. 2537 จำนวน 231,703 คน
พ.ศ. 2538 จำนวน 215,472 คน
พ.ศ. 2539 จำนวน 424,594 คน
พ.ศ. 2540 จำนวน 469,022 คน
พ.ศ. 2541 จำนวน 756,362 คน

วิเคราะห์ dependent variable :
หมวดธรรมะที่นำมาแสดง เช่น
พุทธคุณ ๓ :
บริสุทธิคุณ
คือ ไม่แสบ (รักษาศีล) ปัญญาธิคุณ คือ ไม่โง่ กรุณาธิคุณ คือ ไม่แล้งน้ำใจ
เพื่อเป็นคนดีที่โลกต้องการ
ฆราวาสธรรม ๔ : สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เพื่อดำรงชีวิตคฤหัสห์ให้อยู่ดี มีสุข
คารวะ ๖ : เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในการศึกษา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท
วุฒิธรรม ๔ : หาครูดีให้เจอ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หมั่นไปรับใช้ท่าน ทำดีตามท่าน
มงคลชีวิต : เป็นแนวทางดำเนินชีวติของมนุษย์ให้มีทุกข์น้อย มีสุขมาก
ตั้งแต่โลกียสุขถึงโลกุตตระสุข คือนิพพาน
ฯลฯ

ส่งผลให้จำนวนคนสนใจการประพฤติปฏิบัติธรรมที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมมีผลทางสังคม คือ
จำนวนคนเสพสิ่งเสพติดน้อยลง เกี่ยวข้องกับอบายมุขน้อยลง การสูญเสียทรัพย์สิน อวัยวะและชีวิต
จากอุบัติเหตุและการเบียดเบียนกันย่อมน้อยลง

ค่ารักษาพยาบาลก็น้อยลงด้วย อีกทั้งยังได้

ทรัพยากรบุคคลของสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีประสิทธิภาพ

b. โครงการอบรมธรรมทายาท บรรพชาและอุปสมบทหมู่ ( พ.ศ.2515-2541)
ระยะเวลา 30 – 60 วัน
ยุวธรรมทายาท /มัชฌิมธรรมทายาท / นักเรียนตำรวจ เตรียมทหาร / อุดมศึกษา = 16,932 คน
หากรวมถึง พ.ศ. 2546 รวมมากกว่า 20,000 คน

แนบไฟล์  Y4557604_1.jpg   38.39K   89 ดาวน์โหลด


c. โครงการอบรมธรรมทายาทหญิง ( พ.ศ.2529-2541)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา นาน 30 วัน = 2,391 คน
หากรวมถึง พ.ศ. 2546 รวมมากกว่า 5,000 คน

จำนวนสตรีที่สนใจการประพฤติปฏิบัติธรรมที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมมีผลทางสังคม คือ
จำนวนสตรีที่เข้าวัดมากขึ้น ส่งผลให้เงินบริจาคเข้าวัดมากขึ้น มีเสบียงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
เป็นการช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง

d. โครงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมแก่เยาวชน ( พ.ศ.2515-2541)
ระดับตั้งแต่ประถมศึกษา ถึงอุดมศึกษา ระยะเวลาอบรม 3-7 วัน = 115,694 คน
หากรวมถึง พ.ศ. 2546 รวมมากกว่า 130,000 คน


e. โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า 26 ครั้ง ( พ.ศ.2525-2551)
ระดับตั้งแต่ประถมศึกษา ถึงอุดมศึกษา โดยใช้หนังสือ มงคลชีวิต 38 = 11,080,455 คน

แนบไฟล์  510221_Maga_Puja_awards_10.jpg   84.73K   78 ดาวน์โหลด


f.โครงการอบรมข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน ( พ.ศ.2522-2541)
ข้าราชตำรวจ ครู กทม. กรมโยธาธิการ กรมป่าไม้ กรมชลประทาน ทหาร ตำรวจ
พนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน ระยะเวลา 3 ถึง 14 วัน = 27,882 คน

g.โครงการปฏิบัติธรรมนอกวัด ( พ.ศ.2525-2546)
ระยะเวลา 7 ถึง 14 วัน > 400 รุ่น > 33,000 คน

ง ) งานสาธารณกุศลและสังคมสงเคราะห์
a.บริจาคโลหิต ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 ถึง 2541
จำนวนคนบริจาค 15,356 คน จำนวนซีซี. 4,600,800 ซีซี.


b.ส่งเสริมและสนับสนุนงานการคณะสงฆ์และวัดต่างๆทั่วประเทศ
เช่น อบรมพระนวกะ จัดสถานที่สอบนักธรรม ธรรมศึกษา จัดถวายสังฆทาน-ไทยธรรม 30,000 วัด
จัดถวายสังฆทาน แด่ 266 วัด ชายแดนใต้กว่า 2 ปี

c.การช่วยเหลือทั่วไป เช่น
- การสนับสนุน สิ่งอุปโภค บริโภค เพื่อบรรเทาภัยน้ำท่วม
- ก่อสร้างอาคารให้ราชการ
- จัดสถานที่ประชุม สัมมนาให้หน่วยราชการ
- สนับสนุนอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีให้หน่วยราชการ


d.โครงการเฉลิมพระเกียรติ
- โครงการธุดงค์เฉลิมพระเกียรติ
- โครงการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ
- การเข้าเฝ้าถวายพระพร และทูลเกล้าฯถวายเงินโดยพระราชกุศล
- โครงการบรรพชาสามเณรแก้ว / บวชอุบาสกแก้ว / บวชอุบาสิกาแก้ว ถวายเป็นพระราชกุศล
- โครงการเฉลิมพระเกียรติร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ


ข ) งานด้านสื่อโสต-ทัศนูปกรณ์และสิ่งพิมพ์

a.โครงการผลิตหนังสือธรรมะ มากกว่า 300 เรื่อง

b.โครงการผลิตวารสารธรรมะ เช่น
- วารสาร กัลยาณมิตร รายเดือน
- วารสารพระสังฆาธิการ ราย 3 เดือน
- วารสาร Light of Peace ภาษาอังกฤษ
- จดหมายข่าวกัลยาณมิตร แจกมากกว่า 25,000 ฉบับ/เดือน
- จดหมายข่าวสหธรรมิก แจกมากกว่า 420,000 ฉบับ/ปี
- จุลสาร ข่าวดี
- วารสาร ฟ้าใส ของอาสาสมัคร
- จุลสาร อานุภาพบุญ รายเดือน
- วารสาร อยู่ในบุญ รายเดือน

c.โครงการผลิตเพลงธรรมะ มากกว่า 500 เพลง
ภาษาไทย จีนกลาง อังกฤษ อาหรับ ลาว ฯล เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้าใจคำสอนพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น
ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจึงซาบซึ้งพระธรรมคำสอน มากยิ่งขึ้น

d.โครงการจัดทำพระธรรมเทศนา กว่า 600 ชุด
ในรูปแบบ casettape / mp3 เช่น มลคลสูตร ฆราวาสธรรม ชาดก ฯล

e.โครงการจัดทำ vdo / slide multivision / vcd สารคดีธรรมะและการเทศน์สอน

f.รายการธรรมะทางสื่อสารมวลชน
- ทางวิทยุ เช่น เส้นทางสีขาว ธรรมะก่อนนิทรา ตีห้าสร้างคุณค่าชีวิต
- ทางโทรทัศน์ เช่น มิติไทย รายการพิเศษร่วมกับ บริษัทการบินไทย จำกัดเพื่อเผยแผ่เอกลักษณ์
และวัฒนธรรมไทย

#6 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 02:17 AM

สรุป รูปแบบของวัดยุคใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕

ความเปลี่ยนแปลงของสภาพการเมือง การปกครอง การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไม่เพียงแต่ส่งผลให้สภาพสังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายเท่านั้น
ยังส่งผลให้วัดที่เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรม
ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนศีลธรรมให้ทันยุคสมัยไปด้วย

วัดพระธรรมกายเป็นวัดหนึ่งในอีกหลายๆวัดที่ปรับตัว
และเป็นวัดที่มีการปรับตัวขนานใหญ่จนเป็นที่รู้จักของประชาชนคนไทยมากขึ้น
และเป็นที่สนใจจากบรรดาผู้นำทางศาสนาทั่วโลก

จากผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็น Independent variable
ส่งผลเป็น dependent variable ในด้านนามธรรม คือ

เน้นการยกระดับจิตใจ พัฒนาจิตใจมนุษย์ให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส สงบ
เยือกเย็นเป็นสุขใจ อย่างที่ไม่มีการพัฒนาใดๆเสมอเหมือน

การพัฒนาด้านจิตใจ ลงทุนง่าย ค่าใช้จ่ายน้อยมาก
เมื่อเทียบกับการลงทุนพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ค่าใช้จ่ายน้อยมาก
เมื่อเทียบกับการลงทุนพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อวกาศและการสงคราม
....แค่
- ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนใครๆ ทำใจเมตตาผู้อื่น ไม่ต้องวางแผน
ไม่ต้องซื้อหาอาวุธ ไม่ต้องๆๆๆ.....
- ไม่ยื้อแย่งทรัพย์สมบัติใคร รวมถึงทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศใดๆ
- ไม่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นโดยการแย่งคนรัก ลูกเมียคนอื่น
- ไม่พูดโกหก ไม่หลอกลวงใครๆ
- ไม่ดื่มสุรา น้ำเมาและยาเสพติดทุกชนิด

แค่ 5 ไม่ เท่านั้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย

แค่มนุษย์ร่วมแรงร่วมใจกันรักษาความปกติของมนุษย์ 5 อย่าง
หรือเรียกเป็นภาษาทางศาสนาพุทธว่า รักษาศีล ๕ ให้เป็นปกติ

ลองตรองดูเถิดว่า
โลกที่ไร้สงครามทางทหาร สงครามการเมือง สงครามเศรษฐกิจ
โลกที่ไร้ความหวาดระแวง ไม่มีใครยื้อแย่งของรัก คนรัก
ชีวิตมนุษย์ จะสุขสงบร่มเย็นเป็นสุขมากเพียงใด

ดังนั้นถ้ามนุษย์ทุกเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ มีเป้าหมายชีวิตเหมือนกันว่า
มีชีวิตอยู่อย่างมนุษย์ ไม่เบียดเบียน ไม่เอารัดเอาเปรียบใครๆ
มีชีวิตอยู่อย่างเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อแบ่งปันกันกินแบ่งปันกันใช้

เพราะทรัพยากรในโลกมีมากพอสำหรับมนุษย์ที่เป็นคนดีมีศีลธรรมเสมอ
มีชีวิตอยู่เพื่อพัฒนาจิตใจให้สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส
เน้นเข้าถึงความสุขภายในจิตใจ มากกว่าความสนุกเพลิดเพลินจากวัตถุภายนอก

เพราะตายแล้ว เอาอะไรไปไม่ได้ ทั้งเสื้อผ้า นาฬิกา ต่างหู บ้านหรู ความรู้ แม้แต่ร่างกายของตัวเอง
ไม่มีชีวิตอยู่เพื่อแค่ตัวเองและพรรคพวก มีความสุขสะดวกสบาย
แต่มีชีวิตอยู่เพื่อทำคุณประโยชน์ให้คนอื่นด้วย

การพัฒนาจิตใจ คือสิ่งที่วัดพระธรรมกายและอีกหลายหมื่นวัดทั่วสังฆมณฑลทำมายาวนาน
และยังเป็นเป้าหมายหลักในการเผยแผ่ธรรมะเสมอ เพียงแต่ต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัย

โดยเฉพาะในด้านการปกครอง การบริหาร สื่อการเรียน การสอน
และฉลาดใช้เทคโนโลยีที่มีในยุคสมัยนั้นๆมาส่งเสริมสนับสนุนการเผยแผ่ธรรมะ

แนบไฟล์  ionimagesmind.jpg   3.53K   77 ดาวน์โหลด


บทวิพากษ์

ข้าพเจ้านำตัวอย่าง มาจากบทสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ

1. วัดพระธรรมกาย ในทรรศนะของพระ1.1 พระฝ่ายที่เห็นด้วย นำมาจากวาสาร กัลยาณมิตร ปีที่ 17 ฉบับที่ 195 มีนาคม พ.ศ.2545
ฉบับจารึกประวัติศาสตร์งานจุดไฟแก้วสลายร่าง คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกา จันทร์ ขนนกยูง
- สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (บูครี) / สมเด็จพระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา(ฝ่ายธรรมยุติ)
วันนี้เป็นประสบการณ์ที่ยกใจอาตมาอย่างมาก
พิธีสลายร่างคุณยายในวันนี้ไม่เหมือนพิธีใดๆที่อาตมาเคยเห็นมาก่อน
เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง
รวมทั้งเป็นการแสดงถึงความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างน่าอัศจรรย์


- พระธรรมาจารย์นรัมปเนว อานันทะเถระ / เลขาส่วนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชราชอุธุคมะศรี
พุทธรักขิตะมหานายากาเถระ (สยามวงศ์) ประเทศศรีลังกา
งานที่จัดขึ้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 ณ มหาธรรมกายเจดีย์
แม้สมเด็จพระสังฆราชเองท่านก็มีพระประสงค์มาร่วมงานนี้ แต่ทรงพระประชวรอยู่
อาตมาในฐานะผู้แทนรู้สึกเป็นเกียรติยิ่งที่ได้มาร่วมในวันนี้
งานวันนี้ช่างยิ่งใหญ่สวยงามอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา
ภาพมหาสมาคมของภิกษุทั้งเถรวาท มหายานทั่วโลก 120,000 รูปรวมถึงฆราวาสอีกกว่าแสนคน โลกไม่
เคยประจักษ์อะไรอย่างนี้มาก่อน


- พระอาจารย์ลามะ กังเชน / ประธานองค์กรพุทธเพื่อสันติภาพโลก ประเทศอิตาลี
วันนี้เป็นวันที่น่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง เป็นการลงทุนเพื่อพระพุทธศาสนาที่ดีที่สุดในสหัสวรรษใหม่

- พระอาจารย์ ต้าเอินเจ้าอาวาสวัดมัญชูศรี มลฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน
พิธีกรรมทั้งวันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่ สง่างามมาก พระสงฆ์กว่า 120,000 รูป และสาธุชนกว่าแสนคน
เป็นพุทธสมาคมที่มีสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน
ภาพคณะสงฆ์นั่งรวมกันอย่างเป็นระเบียบประดุจเมฆสีส้มพาดเต็มท้องฟ้า
ภาพสาธุชนในชุดขาวพราวตาเหมือนเมฆขาวท่ามกลางเมฆสีส้ม
ร่วมกันนั่งสมาธิสงบนิ่งก่อนถวายมหาสังฆทานแด่เจ้าอาวาสและพระสังฆาธิการจาก 3 หมื่นวัด
เป็นภาพอัศจรรย์บนโลกมนุษย์


1.2 พระฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย

2. วัดพระธรรมกาย ในทรรศนะของประชาชน
2.1 ฝ่ายเห็นด้วย
- น.ส. อัมพวัน ศรีธรรม ม. ๖ โรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร จ.พัทลุง
พ่อแม่ของข้าพเจ้าทะเลาะกันบ่อยๆ ตัวข้าพเจ้าเองก็คุ้นเคยกับชีวิตแบบนี้
มาตั้งแต่เด็ก เมื่อ 3 ปีที่แล้วข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือมงคลชีวิต
ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้โลกมากขึ้น เนื้อหาในหนังสือชี้ให้เห็นคุณสมบัติของคนดี
การทำให้ครอบครัวมีความสุข ข้าพเจ้าปรึกษาพ่อแม่
ช่วยให้ท่านมีทัศนคติใหม่ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข
ความสัมพันธ์ครอบครัวเปลี่ยนไปในทางที่ดี จากที่เคยอยู่แบบตัวใครตัวมัน
ตอนนี้มีเรื่องอะไรทุกคนหันหน้าปรึกษากัน นำหลักธรรมและวิธีดำเนินชีวิตจากหนังสือมาใช้
- ครู อภิชญา คำจันทร์ โรงเรียนบ้านกองทูล จ.เพชรบูรณ์
โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนรักครอบครัว
ทำตัวเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่น่ารักของครูอาจารย์....


- ครูจิตรพิพัฒน์ รักสมบัติ โรงเรียนหนองมะเขือซองแมววืทยา จ.ขอนแก่น
ทางก้าวหน้า ทำให้ครูหลายท่านในโรงเรียนยึดมั่นในการรักษาศีล ๕ ลด ละ เลิกอบายมุขได้
ขออนุโมทนาในกุศลที่วัดพระธรรมกาย นิสิตและผู้สนับสนุนทุกท่าน เสียสละศาสนาและเพื่อสังคมไทย ”
...................................

2.2 ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย

3. วัดพระธรรมกาย ในทรรศนะของฝ่ายการเมือง

4. วัดพระธรรมกาย ในทรรศนะของสื่อมวลชน

1.1 ตัวอย่างสื่อมวลชนฝ่ายที่เห็นด้วย
- จากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับที่ 17,963 วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2541
หน้า 3 คอลัมน์ ปลายนิ้วนายกำแหง โดย นาย กำแหง ภริตานนท์
วัดพระธรรมกาย
เราไม่ใช่ชาวธรรมกาย แต่มีคนที่รู้จักมักคุ้น ไม่น้อยที่เป็นชาวธรรมกาย
ยืนยันตรงนี้ได้ว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนดีทั้งนั้น บาคน ดีจนคาดไม่ถึง
เคยคุยกับพวกเขาว่า ต้องเตรียมใจไว้ให้ดี สักวันหนึ่งวัดพระธรรมกายจะเจอมรสุม

เพราะในช่วงไม่กี่ปีนี้ วัดพระธรรมกายโดดเด่นจนน่าเป็นห่วง
มีการขยายเครือข่ายออกไปไม่เฉพาะในประเทศ แต่แผ่ขยายไปถึงต่างประเทศด้วย
บอกเขาไม่นาน ข่าววัดพระธรรมกายก็เปรี้ยงปร้างขึ้นมา

บางคนตั้งข้อสังเกตว่า เพราะเวลามาถึงแล้ว เป็นเวลาการถึงคิวฆ่า
ถ้ามีคำถามกับเราว่า มีความเห็นอย่างไรกับเรื่องของวัดพระธรรมกาย คงตอบสั้นๆได้แค่ว่า
การอบรมสั่งสอนให้คนเป็นคนดี ไม่ผิด การชักชวนคนให้เข้าวัด ก็ไม่ผิด
การชักชวนคนให้ทำบุญ ก็ไม่ผิด

เพราะคนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นเยาวชนการที่เข้าไปอยู่ในวัด
ต้องดีกว่าเข้าไปมั่วสุมอยู่ตามสถานเริงรมณ์แน่นอน และการเสพธรรมะ ถึงอย่างไรก็ดีกว่าเสพยาเสพติด

อย่างไรก็ตามนี่เป็นการมองจากภายนอก มองอย่างผิวเผินและใจที่เป็นกลาง
ไม่ได้รู้อะไรลึกซึ้งและก็เปิดหูไว้กว้างเพื่อรับฟังเสียงคัดค้าน

ขณะเดียวกัน ก็ไม่สู้เห็นด้วยนักกับเสียงกล่าวขานที่ว่า
ทางฝ่ายบ้านเมืองไม่เห็นทำอะไรให้จริงจังเพื่อจัดการให้เด็ดขาดกับสำนักนี้

ทั้งนี้เพราะเห็นว่า การที่จะจัดการให้เด็ดขาดหรือฆ่าใครให้ตายนั้น ต้องมีหลักฐานการกระทำความผิด
ไม่ใช่ผิดเพราะ การเสนอข่าวของสื่อมวลชนบอกว่า ผิด
ไม่ใช่ผิดเพราะ มีการแสชี้นำ หรือเพราะมีคนไม่ชอบ
ตราบใดที่ยังไม่มีหลักฐานกระทำความผิด บ้านเมืองจะไปเอาโทษไม่ได้ ....

- จากหนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2541

หน้า 6 คอลัมน์ เดินหน้าชน โดย นายโอภาส เพ็งเจริญ

ดังที่เคยบอกไปแล้วว่าไม่ใช่สาวกวัดพระธรรมกาย ไม่เคยไป ไม่เคยร่วมกิจกรรม ไม่เคยบริจาค
สตางค์สักสลึงให้กับวัดนั้น เพียงแต่เคยได้ยินชื่อเสียง เคยได้อ่านถึงกิจกรรมของวัดนี้มาเท่านั้น
แต่รู้สึกอยู่ว่ากิจกรรมของวัดนี้น่าจะดีกว่าหลายๆวัดในประเทศไทย

ไม่ใช่จะยกย่องสรรเสริญว่า ดีวิเศษที่สุดแต่เพียงสำนักเดียว วัดเดียว
วัดอื่นก็มีดี มีน่าสนใจ ที่เคยเข้าไปสัมผัส เคยเข้าร่วมกิจกรรมด้วย เช่น
วัดชลประทานรังสฤษฏ์ หรือวัดสวนแก้ว

แต่ยังมีวัดอื่นๆ พระสงฆ์ที่วัดอื่นๆอีกมากมาย ที่มีพฤติกรรมไม่น่าเลื่อมใส
กิจกรรมที่ทำอยู่ไม่มีอะไรส่อว่า จรรโลงพระพุทธศาสนา

เมื่อพิจารณาวัดพระธรรมกาย ผมยังเชื่อว่า
สิ่งที่วัดพระธรรมกายและพระของวัดนี้ดำเนินอยู่ แม้จะมีข้อบกพร่องบ้าง
แต่น่าจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่สังคมและประเทศชาติมากกว่าอีกหลายหมื่นวัด

วัดพระธรรมกาย ชวนคนเข้าวัดได้เป็นหมื่นเป็นแสนคนในแต่ละกิจกรรม
ไปทำทาน รักษาศีล ไปนั่งสมาธิ นั่งฟังธรรม ไปรับการกล่อมเกลาจิตใจ
ไม่ได้ไปขอหวยกัน ไม่ได้ไปดูดวงชะตาราศี ยังไม่เคยได้ฟังว่าที่วัดนี้ทำ

วัดพระธรรมกายสร้างศาลา สร้างเจดีย์ใหญ่โตเพราะเขามีคนไปทำกิจกรรมเยอะ ไม่เห็นจะผิดตรงไหน

วัดอื่นๆมีกี่วัดที่คนไปทำความดีรวมกันคราวละมากๆอย่างนี้
สร้างเจดีใหญ่โต ไม่ใช่ว่าเพิ่งสร้าง ได้ยินว่าเขาสร้างมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่เสร็จ
วัดพระธรรมกาย ชวนคนสร้างพระพุทธรูปประจำตัว ก็ไปพูดกันว่า
สร้างพระขาย ผมได้ยินว่า พระที่สร้างไม่มีใครเอากลับไปบ้าน
หากแต่ประดิษฐานไว้บนเจดีย์ แล้ววัดอื่นๆละ ไม่มีสร้างพระขายกันหรอกหรือ
ที่สร้างกันส่วนใหญ่นั้นสร้างขายขาด คือ
จ่ายตังค์ซื้อแล้วเอากลับบ้านด้วย พระเครื่องบางองค์ซื้อขายกันเป็นแสนๆ

บางวัดขายชุดสังฆทาน มีให้คนขายนก ขายเต่า ขายปลา
จัดสวดภาณยักษ์ บางวัดทำธูปยักษ์ ขายดอกไม้
ขายธูปเทียน ทองคำเปลว ขายผ้ายันต์ ขายน้ำหมากน้ำมนต์ มีลงโฆษณากันให้เกร่อเมือง

ในขณะที่วัดพระธรรมกาย สร้างชวนสร้างพระประจำตัว
เพื่อดึงดูดให้คนจำนวนมากเข้าวัดปฏิบัติธรรมพฤติกรรมวัดอื่น

เมื่อเทียบกับวัดพระธรรมกายแล้ว แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ผมไม่ได้เชื่อเรื่องอภินิหารอะไร เช่นเดียวกับไม่เชื่อเรื่องอภินิหารของพระของขวัญวัดพระธรรมกายด้วย
แต่ถ้าจะจัดการวัดพระธรรมกายเรื่องนี้ ก็ต้องไปจัดการวัดทั่วประเทศ

ผมไม่มีกิจการค้าวัสดุก่อสร้างให้วัดพระธรรมกายหรือวัดไหนๆ
เพราะฉะนั้น ถ้าวัดพระธรรมกายพัง ผมก็ไม่เดือดร้อนหรอก

แต่น่าเสียดายประโยชน์ที่สังคมจะได้รับจากวัดนี้
วัดพระธรรมกายสร้างอะไรใหญ่โต สวยงาม

เพราะใช้สถาปนิกออกแบบ อาคารดูใหญ่โตแข็งแรง เพราะมีวิศวกรควบคุม ทำไมไม่ชอบกัน

สังคมไทยต้องการอะไรกันแน่
ทบทวนแล้วผมก็ไม่พบคำตอบว่าอะไรดอก
แต่ออกตัวก่อนว่า ขออภัย ผมไม่ยอมเฮด้วย

แนบไฟล์  whattosee_r1_c2.gif   7.37K   77 ดาวน์โหลด


1.2 ตัวอย่างฝ่ายสื่อมวลชนที่ไม่เห็นด้วย
ข้าพเจ้าขอยกมาเฉพาะ พาดหัวข่าว ที่ดูตื่นเต้น ระทึกขวัญ เพื่อเน้นยอดขาย โดยไม่ขอระบุชื่อหนังสือพิมพ์

- แฉ ธัมมชโย มีสัญชาติมะกัน ถ้ามีปัญหาหอบสมบัติเผ่นได้เลย

วิเคราะห์ :

แนวคิดแก้ไขปัญหาสื่อมวลชนของวัดพระธรรมกาย น่ายกย่องมาก คือ ไม่โทษประชาชนและสื่อมวลชน
เพราะ
- เขาเหล่านั้นไม่เคยมาวัด ไม่เคยร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จึงเข้าใจวัดไม่ถูกต้อง
แก้ด้วยพุทธวิธี คือ ไม่สู้ (ไม่ว่าร้ายตอบโต้ ไม่ทำร้ายเขา) ไม่หนี ทำความดีเรื่อยไป

แนวทางการแก้ไขของวัดพระธรรมกาย ถูกต้อง แต่ ได้ผลช้า

คือ เมื่อมีข้อครหา กรณีวัดพระธรรมกาย

ซึ่งวัดพระธรรมกายก็แก้ไข คือ

ไม่สู้ ( ด้วยการโต้ตอบ ไม่ว่าร้ายตอบ )
ไม่หนี
มุ่งทำความดีเรื่อยไป


ตรงตามพุทธวิธี ดังครั้งที่ เหล่าเดียรถีร์ ที่เสื่อมลาภ สักการะ
วานให้ นางจิญจมาณวิกา แสร้งทำว่า ตั้งครรภ์กับพระพุทธองค์
พูดง่ายๆว่า เจตนาสร้างภาพร้ายๆให้มหาชนเข้าใจพระพุทธองค์ผิด

ซึ่งพระบรมศาสดา ก็ทรงนิ่ง ไม่สนใจ ไม่ชี้แจง
สุดท้าย เรื่องร้ายกลายเป็นดี ทั้งดีเพราะ
พระบรมศาสดา ไม่ได้ทำผิด และ บุญบารมีท่านมาก
และผู้ที่คิดร้ายต่อ ผู้ทรงศีล ทรงธรรม เช่นพระพุทธเจ้า
กรรมชั่วจึงตามสนอง รวดเร็วมากเป็นพิเศษ

หรือครั้งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ โดนข้อครหา เกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย
ประมาณว่า
ใครอยากเป็นอสูรกาย ก็ไปเรียน วิชชาธรรมกาย

ซึ่งหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ก็เฉย ๆ ไม่ได้ออกมาโต้ตอบ ชี้แจงอะไร
แล้วก็เคี่ยวเข็ญการปฏิบัติธรรม ของท่านและเหล่าศิษย์ต่อไป
สุดท้ายคำครหานี้ก็เงียบไป

แนบไฟล์  001.jpg   54.54K   197 ดาวน์โหลด


แต่ในยุคนี้ การไม่ชี้แจง ไม่ออกมาแก้ข้อกล่าวหา ตั้งแต่ต้น
กลับยิ่งทำให้ ภาพของวัดพระธรรมกาย แย่ลง
เพราะคนทั่วไปเข้าใจผิดไปว่า
การไม่ชี้แจง ไม่ออกมาแก้ข้อกล่าวหา เท่ากับว่า วัดพระธรรมกาย ยอมรับผิด
ซึ่งมันคนละเรื่องกันเลย

โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า การแก้ไขตามพุทธวิธี และครูบาอาจารย์
นั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วครับ
แต่ผลที่ได้ ต้องใช้เวลานาน กว่าที่พุทธศาสนิกชนและวิญญูชนจะเข้าใจ
ทั้งนี้เพราะ
1.บุญบารมีไม่เท่าพระพุทธองค์
2.บุญบารมีไม่เท่าหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ
3.อาจ บ่งชี้ได้บ้างว่า การทำงานใหญ่ ย่อมมีอุปสรรคมาก มีคู่แข่ง มีคู่แค้นมาก
4.ยุคสมัยนี้ ระบบการเผยแผ่ข่าวสาร ไปรวดเร็วมาก
การออกมาแก้ข้อกล่าวหา ตามข้อแท้จริง ตามสมควร

แต่ช้าไปไม่ทันการณ์
เพราะประชาชนจำนวนมาก มีภาพลบในใจซะแล้ว
การชี้แจงข้อแท้จริงภายหลังต่อสาธารณชน
จึงทำให้ดูเหมือนการแก้ตัว ของวัดพระธรรมกาย

และแม้มีพุทธสาสนิกชนที่ไปวัดพระธรรมกาย บางท่าน
มาให้ข้อมูลที่แท้จริง ก็มีบางท่านมองว่า
มาแก้ตัว ของวัดพระธรรมกาย ไปโน่น

- ถ้าโทษคนอื่นผิด คิดว่าเราไม่ผิด ก็จะไม่มีการแก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น

- ต้องโทษตนเองว่า ยังทำความดีไม่มากพอ ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง จึงมีคนเข้าใจผิด
เพราะฉะนั้นต้องแก้ไขตนเองด้วย การทำความดียิ่งๆขึ้นไป

ดังนั้นช่วงปลายปี พ.ศ. 2541-2546 จึงมีโครงการกุศลหนาแน่น เช่น
เปิดบ้านกัลยาณมิตร มากกว่า 80,000 หลัง
จัดบวชอุบาสิกาแก้ว ทั้งในและต่างประเทศ 100,000 คน
จัดบวชอุบาสกแก้ว ทั้งในและต่างประเทศ ราว 70,000 คน
จัดสอบปัญหาธรรมะ สอบพระแท้ มีภิกษุ สามเณร สอบราว 100,000 รูป 2 ครั้ง
เปิดศูนย์ปฏิบัติธรรมในต่างประเทศ ทั่วภูมิภาคทั่วโลก ให้มากยิ่งขึ้น
จัดงานการกุศลที่รวมพระและสาธุชน จำนวนหลายแสนทั้งในและต่างประเทศ
นิมนต์สงฆ์ในสังฆมณฑล คราวละมากๆ มาร่วมงานบุญที่วัดพระธรรมกาย
เช่น มารับสังฆทาน-ไทยธรรม สวดอภิธรรม งานศพแม่ชี จันทร์ ขนนกยูง

ฯลฯ

5. วัดพระธรรมกาย ในทรรศนะของชาวต่างชาติที่ได้ร่วมกิจกรรมของวัด

...................................................

แนบไฟล์  eshowtocome_02.jpg   7.88K   71 ดาวน์โหลด


6. วัดพระธรรมกาย ในทรรศนะของข้าพเจ้า

6.1 อดีตถึงปัจจุบัน
มุมมอง ของพุทธศาสนิกชนที่ไปศึกษาพระพุทธศาสนา ที่วัดพระธรรมกาย มาร่วม 20 ปี

วัดพระธรรมกาย ในทัศนะของข้าพเจ้า
ศูนย์พุทธจักร ปฏิบัติธรรม วัดพระธรรมกาย สร้างมากว่า 37 ปีแล้ว
แต่ข้าพเจ้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาที่วัดพระธรรมกาย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2531 มานี่เอง

ดังนั้นเหตุการณ์ช่วงบุกเบิกสร้างวัด และการสอนศีลธรรมในยุคทุ่งนา 196 ไร่
ข้าพเจ้ารู้จักจากเอกสารและภาพถ่ายประวัติศาสตร์
วีดีทัศน์ และฟังคนรุ่นเก่าพูดกันมาเท่านั้น

ความยากลำบาก ปัญหาอุปสรรคในสมัยนั้นข้าพเจ้าไม่ได้สัมผัสจริง

แต่ยุคบุกเบิกธุดงคสถาน บนเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ ให้เป็นพุทธสถาน ดังที่เห็นในปัจจุบัน
ข้าพเจ้าได้สัมผัสจริง

จึงเห็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในทิศทางที่ดี
ด้วยประสบการณ์จริง และความจริงที่ข้าพเจ้าพบ คือ

หมู่คณะที่สร้างวัดพระธรรมกาย และพัฒนาวัดพระธรรมกาย
ล้วนต้องเสียสละ ลำบาก เหน็ดเหนื่อย ทุ่มเทชีวิตจิตใจทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ คือ

สร้างวัดให้เป็นวัด
สร้างพระให้เป็นพระ
สร้างคนให้เป็นคนดี

เอาแค่หาข้าวหาน้ำ ให้คน มากกว่า 2,000 ชีวิต
กินแค่วันละ 2 มื้อ ทุกวันไม่มีวันหยุด

วิธีหาทรัพย์ก็ใช้ วิธีเดียว คือ
ทำตัวเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา
ซึ่งการจะให้ใครมาศรัทธาตนเองได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
สำรวจง่ายๆว่า เรากิน นอน อยู่กับตัวเองมาตลอด 24 น.หลายสิบปี
เราเลื่อมใสตนเอง แค่ไหน

กิจวัตร กิจกรรม โครงการต่างๆที่วัดพระธรรมกายจัดขึ้น
ล้วนเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมจริงๆ
ไม่ได้เสแสร้ง ทำดี เพราะอยากดัง
หวังลาภสักการะด้วยปรารถนาลามก

ลองตรองดูเถิดว่า

ถ้าต้องตื่นก่อนอรุณรุ่ง นอนดึกทุกวันไม่มีเว้นวันหยุดราชการ มากกว่า 37 ปี
ถ้าทำเพียงเพื่ออยากดังมีคนสรรเสริญ

เป็นคุณจะทำไหม

กินอาหารแค่ 2 มื้อ เช้า กลางวัน ทุกวัน ไม่มีเว้นวันหยุดราชการ มากกว่า 37 ปี
ถ้าทำเพียงเพื่ออยากดังมีคนสรรเสริญ
เป็นคุณจะทำไหม

มีเครื่องนุ่งห่มเพียงสามผืน(ไตรจีวร)
เปลี่ยนผ้าได้ปีละหนหลังกรานกฐิน
ถ้าทำเพียงเพื่ออยากดัง มีคนสรรเสริญ
เป็นคุณจะทำไหม

( ไตรจีวรครอง + ผ้าอาศัย คือ จีวรและสบง
สำหรับผลัดเปลี่ยนทำความสะอาด + 2 อังสะ แค่นั้น )

ต้องรักษาศีล ๒๒๗ เป็นอย่างน้อย มีมารยาทสงบ สง่า
ต้องทำตัวเป็นคนดีทุกวันไม่มีวันหยุด

ถ้าทำเพียงเพื่ออยากดังมีคนสรรเสริญ เป็นคุณจะทำไหม

ศาสนสถานที่สร้างมาจากแรงศรัทธามหาชน
ที่ส่วนมากไม่ใช่เศรษฐี สร้างวัด สร้างเจดีย์แล้ว
ไปเร่ขายก็ไม่ได้ ตายไปก็เอาไปไม่ได้
ต้องตกเป็นสมบัติของสงฆ์ ของแผ่นดิน

ถ้าทำเพียงเพื่ออยากดังมีคนสรรเสริญ เป็นคุณจะทำไหม

ดูอย่างวัดวาอารามในยุค อโยธยาตอนปลาย และ ยุค ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สิครับ

ผ่านมากว่า 200 ปี ก็ตกเป็นสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ร่วมบุกเบิกสร้าง ตายไปแล้วก็เอาไปด้วยมิได้
เหล่าอนุชน รุ่นหลังล้วน ขอบพระคุณ บรรพชนไทย กันถ้วนหน้า

ศาสนสถาน ที่วัดพระธรรมกาย ก็เช่นกันครับ
ทั้งอุโบสถ กุฎิพระ ธรรมสภา เจดีย์ วิหารธรรม

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ( ธมฺมชโย ภิกขุ ) และหมู่คณะ
อุตสาหะ ตรากตรำ ลำบาก ทุ่มเททั้งชีวิต
สร้างพุทธสถานถวายเป็นพุทธบูชา
และเพื่อประโยชน์แก่พุทธบริษัททั่วโลกที่จรมาจากทิศทั้ง ๔

สุดท้ายก็เป็นสมบัติของแผ่นดินไทย
ของอนุชน ลูก หลาน เหลนโหลนชาวไทยอยู่ดี

ข้าพเจ้าทราบดีว่า ทำไม คนจำนวนมากยอมสละทรัพย์ของตนเอง
ที่หามาด้วยความยากลำบาก
นำมาบริจาคทาน เรื่องได้บุญ เป็นเรื่องนามธรรมคนทั่วไปเข้าใจตามได้ยาก
แต่ดูจากรูปธรรรมได้ คือ เงินที่บริจาคกลับกลายเป็นสิ่งที่เห็น จับต้อง ลิ้มรส สัมผัสได้ ทั้ง

สิ่งก่อสร้างศาสนสถานใหญ่โตมโหฬาร
ก็เพราะมีพุทธศาสนิกชนเรือนแสน เรือนล้านมาใช้งาน นะครับ

จำนวนคนมหาศาลมาทำความดีมากขึ้น
อาหาร น้ำดื่ม จำนวนมากที่ผลิตมาเลี้ยง ค่ารถบัสรับส่งคนมาวัด ฯลฯ

ที่สำคัญที่สุดคือ

จิตใจของผู้ให้สบาย สงบ วิถีชีวิตก็ราบรื่น
ทำบุญแล้วมีความสุข ความสุขทำให้คนทำซ้ำๆๆๆ

เห็นคุณค่าของความสามัคคีของคนดีจำนวนมาก
ว่าสามารถเปลี่ยนกระแสสังคม ให้สงบ มีสุขมากขึ้น

เห็นประโยชน์ของการเป็นกำลังให้คนทำความดี

#####ทัศนคติการบริจาคทาน
จากทำตามกำลังศรัทธา มาเป็นทำเต็มกำลังศรัทธา
นอกจากตัวเองแล้ว ต้องเชิญชวนผู้เป็นที่รัก
คนที่รู้จักและไม่รู้จักมาสร้างทานบารมีด้วยกัน

ข้อเสนอที่ควรปรับปรุง

ถ้าคุณยอมรับความจริงตามคติที่ว่า nobody Perfect

ไม่มีมนุษย์(ที่ยังมีกิเลส)คนใดดีพร้อมเลอเลิศ

ก็ต้องยอมรับได้ว่า
การทำงานทุกอย่าง ไม่ว่างานเพื่อส่วนตัวหรืองานเพื่อส่วนรวม

1. ย่อมมีทั้ง คนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยแล้วต่อต้าน เฉยๆ ยังไงก็ได้
2. ย่อมมีข้อบกพร่องให้ปรับปรุงแก้ไขกันทั้งนั้น

ข้อคิดที่ผมได้คือ
1 ) บุคคลทำความดี แม้กระทำด้วยใจสุจริต
ไม่ใช่ว่าจะมีแต่คนสรรเสริญ คนนินทาก็มี ขัดขวางก็มี คนเกลียดข้ามภพข้ามชาติก็มี

2 ) เราไม่ควร อิสสา ริษยา ในการทำความดี บำเพ็ญบุญบารมีของผู้อื่น

3 ) แม้เราทำความดี ด้วยใจสุจริต ก็อย่าประมาทในเรื่องมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
คือ อย่าประมาทในการต้อนรับ ปฏิสันถาร
เพราะ ถ้าเรามีมนุษยสัมพันธ์ที่แย่กับผู้อื่น หรือไม่สำรวมปาก ไปว่าร้ายใคร
อาจเป็นการสร้างศัตรู คู่แค้น
มาคอยขัดขวางการสั่งสมความดี บุญบารมีข้ามภพข้ามชาติได้


ภัยภายนอก ไม่ร้ายเท่าภัยภายใน

เพราะภัยภายนอกหล่อหลอมให้มนุษย์ฉลาด เข้มแข็งและสามัคคีกัน

ในทรรศนะของผมนั้น พุทธศาสนิกชนที่ขยันหมั่นไปบำเพ็ญกุศลที่วัดพระธรรมกาย

เป็นมนุษย์พันธุ์ ยิ่งตี ก็ยิ่งโต
ยิ่งทุบ ก็ยิ่งช่วยหล่อหลอมสามัคคีธรรมให้เหนียวแน่น

ยิ่งโดนต่อว่า เรื่องการบำเพ็ญทาน ก็ยิ่งขยันบำเพ็ญทานบารมี

ยิ่งใครว่าร้ายวัดพระธรรมกาย ก็ยิ่งทำให้รักวัดพระธรรมกาย

ทั้งนี้ไม่ใช่ว่า
พุทธศาสนิกชนที่ขยันหมั่นไปบำเพ็ญกุศลที่วัดพระธรรมกาย
บ้าบุญ หลงบุญ อยากได้สวรรค์ วิมาน อย่างงมงาย หรอกนะครับ

แต่เป็นเพราะ สาธุชนทั้งหลายเหล่านั้น เข้าไปเห็น เข้าไปร่วมกิจกรรมงานกุศล
ด้วยใจที่เที่ยงธรรมกับหลวงพ่อธมฺมชโย ต่อเนื่องมายาวนาน
บางคน 1 ปี บางคน 10 ปี 20 ปี 30 ปี 40 ปี

ได้ขยันประพฤติ ปฏิบัติธรรม จนมั่นใจว่า
ธรรม ย่อมคอยปกปัก คุ้มครอง รักษาผู้ประพฤติธรรม

ดังนั้น ความเข้าใจผิดพลาด คลาดเคลื่อนในระบบสื่อสารมวลชน ในประเทศไทย
กลับทำให้พุทธศาสนิกชนที่ขยันหมั่นไปบำเพ็ญกุศลที่วัดพระธรรมกาย
ยิ่งต้องขยันทำความดี ควบคู่กับการเผยแผ่ธรรมะ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานกุศล
ไปให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณภัยภายนอก
ที่ช่วยหล่อหลอมหมู่คณะวัดพระธรรมกาย ให้เป็นนักสร้างบารมีที่สมบูรณืยิ่งขึ้น
ที่ช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานกุศลของหมู่คณะวัดพระธรรมกาย ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น



ที่น่ากลัวคือภายภายใน หมายถึง การแตกความสามัคคี การประพฤติตนเลวทราม
รวมถึงการคบคนชั่ว การยินดีสมาคมกับนิสัยชั่วๆที่ตนเองมีอยู่
คือ ความโลภ โกรธ หลง

วิธีและแนวทางแก้ไข ในทัศนะของข้าพเจ้า
สิ่งที่วัดพระธรรมกาย และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย
ควรปรับปรุง พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น คือ

1 ) ควร ลดการใช้ คำ ที่ง่ายต่อการก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
จากความหมายที่ต้องการจะสื่อ เช่น คำว่า รวย
เพราะโดยมาก คำจำพวกนี้ ผู้คนมักตีความไปเรื่อง โลภะ

เพราะผู้รับสาร มักคิดไปทาง ว่า
ทำความดีเพื่อปรารถนาโลกียะทรัพย์ มากกว่า โลกุตตระทรัพย์

2 ) การกล่าวสรรเสริญวิชชาธรรมกาย หรือ ครูบาอาจารย์ ในที่สาธารณะแบบ network

สมควรกล่าวแต่พองาม
เพราะในที่สาธารณะ ใครๆก็มีครูบาอาจารย์ที่เคารพ มีแนวปฏิบัติธรรม ที่คุ้นเคยอยู่
เดี๋ยวเขาไม่พอใจ ก็จะได้อมิตรได้นะครับ

และกระดานสานทนาเป็นที่สาธารณะ
เรื่องสามัญผล – ผลจากการปฏิบัติธรรม เป็นเรื่อง ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน (และหมู่ผู้รู้ด้วยกัน)

แม้สามารถตรวจสอบได้จาก ความรู้ที่ครูอาจารย์ถ่ายทอดไว้ให้
ก็อาจมีประสบการณ์ หรืออื่นๆที่ต่างกันได้

ที่ต่างกันเพราะ
ศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณทัสสนะและธาตุ-ธรรม สะอาด บริสุทธิ์ต่างกัน

เพราะระดับใจหยุด นิ่ง ต่างกัน (แม้เข้าถึงในระดับเดียวกัน)

ถ้าสนทนาธรรมกัน ในที่สาธารณะแบบนี้
ใครที่มีพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมน้อย
หรือมีแนวการปฏิบัติต่างกันจากเรา

เขาจะเกิดความไม่เข้าใจเกี่ยวกับวิชชาธรรมกายไปจนถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ
จนเกิดความเข้าใจผิด นะครับ


พระเดชพระคุณหลวงพ่อทตฺตชีโว เคยปรารภถึง
การทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบขาดความระมัดระวัง นอกจากไม่ได้ดีแล้วยังเสียด้วย เช่น

การใช้ถ้อยคำเทิดทูน ครูบาอาจารย์มากๆ มีเรื่องละเอียด อจินไตย เชิงอภินิหาร มาประกอบ

โดยที่คนทั่วไปไม่เข้าใจตามได้ วิธีแบบนี้ ง่ายที่จะ เสีย มากกว่า ได้

พูดง่าย ๆ หลวงพ่ออยู่ที่วัดดีๆ ก็มีคนหมั่นไส้ หรือเข้าใจผิดต่อ ครูบาอาจารย์ได้ง่าย

3 ) เคร่งครัดในปาติโมกข์ศีล ระวังมารยาท การปฏิสันถารต้อนรับ

4 ) หมั่นฝึกฝน หล่อหลอม ภิกษุ สามเณรและทุกคนที่มาวัด ให้เป็นคนดี
ที่กล้าทำความดีอย่างเปิดเผย สง่างามไม่ต้องอายใคร
ไม่ต้องลักลอบทำความดี
ทีคนทำชั่วเขายังไม่อายกันเลย


5 ) โครงการทุกโครงการกุศลที่ทำอยู่แล้ว ทำให้เข้มข้นยิ่งไปอีก เช่น
เทเหล้าเผายาสูบ ทางก้าวหน้า อบรมธรรมทายาททั้งในประเทศและต่างประเทศ
ถวายสังฆทาน ปัจจัยไทยธรรมแด่สังฆมณฑล
โครงการมุทิตา สักการะเปรียญธรรม ๙ ประโยค ฯลฯ

6 ) ริเริ่มโครงการทำความดีใหม่ๆ ให้ทันกระแสโลกาภิวัฒน์&กามานุวัตร
(หมุนไปตามกระแสกาม)


7 ) การประชาสัมพันธ์ fact ในผลงานและคุณประโยชน์ที่วัดพระธรรมกายทำอยู่จริง
ให้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนแก่ประชาชน สังคมไทยและคนทั่วโลก โดยอาศัย

เทคโนโลยี internet & mass media Mass communication เช่น
จัดรายการทางวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ Anniamtion 2D & 3Dเกี่ยวกับธรรมะ เช่น พุทธประวัติ ,ทสชาดก ฯล

8 ) จัดงานกุศลที่รวมหน่วยงานและบุคคลมีชื่อเสียง
มีศักยภาพในการถ่ายทอดความคิดที่เป็นสัมมาทิฏฐิ
ให้คนในสังคม ให้คนในประเทศ
ให้คนในโลกตื่นตัวทำตามได้ เช่น
หน่วยงาน UN , พสล. , ยพสล. ,
กระทรวงศึกษาธิการ กรมการศาสนา มหาเถรสมาคม มจร. ฯล

ส่วนบุคคลก็เช่น .......

แนบไฟล์  ionimagesmind.jpg   3.53K   77 ดาวน์โหลด

6.2 แนวโน้มในอนาคต

* ความเจริญและความเสื่อม
- ด้าน ปริยัติธรรม


- ด้าน ธรรมปฏิบัติ
.....................................................


- ด้าน ศาสนาสถาน
...................................

- ด้าน ศาสนทายาท
.........................................

- ด้าน ระบบสาธารณูปโภคโดยรอบวัด
.......................................................

- ด้าน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวต่างชาติ ต่างศาสนา
...................................................

- ความเจริญด้าน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
ต่อไปประเทศไทย จะมีผู้นำระดับประเทศ ภูมิภาค จังหวัด ท้องถิ่น
ที่มีความรู้ความสามารถควบคุ่คุณธรรม เช่น การรักษาศีล ๕ เป็นปกติ
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศบาล อบต. ที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา เข้าวัดฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ
นักธุรกิจ ที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา เข้าวัดฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ
ดารานักร้อง นักแสดง ที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา เข้าวัดฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ
ครูอาจารย์ ลด ละเลิก อบายมุข เป็นต้นแบบแม่พิมพ์ที่น่าเคารพ บูชา
นักเรียน นิสิต ไม่ดื่มน้ำเมา ขายยา(เสพติด) บ้าเซ๊กส์
...........................................
- ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย
.................................

#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 02:22 AM

ขอกลับมาประเด็น วัด ยุคใหม่ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ อีกนิดนะครับว่า

วัดยุคใหม่ ควรจะปรับตัวให้เหมาะสมยุค สมสมัย
โดยที่อยู่ในกรอบพระธรรมวินัยเดิม

ทั้งนี้เพื่อให้ พระธรรม คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เข้าสู่ปวงชนได้สะดวก ได้มาก และเกิดประโยชน์สูงสุด
ตั้งแต่ ก่อให้เกิดสัมมาทิฐิ ในเบื้องต้น

นำไปสู่
การละชั่วทางกาย วาจา ใจ ละอกุศลกรรมบถ 10
หมั่นทำกุศลกรรมบถ 10 บุญกิริยาวัตถุ 10 บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา / ศีล สมาธิ ปัญญา

เพื่อเป้า คือ การหมดกิเลส อาสวะ บรรลุ มรรค ผล นิพพาน
อย่างถูกต้องร่องรอยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงดำเนินไปแล้วด้วยดี


ยกตัวอย่างการปรับตัวให้เหมาะสมยุค สมสมัย วิญญูชนส่วนมากยอมรับ
โดยที่อยู่ในกรอบพระธรรมวินัยเดิม เช่น

1 ) การเผยแผ่พระธรรม ในเชิงรุก คือ

1.1 ภิกษุเข้าหามหาชนมากกว่า การตั้งรับอยู่แต่ภายในวัด เช่น

- การจัดโครงการอบรม สัมมนา ศีลธรรม คุณธรรม ในสถานการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ

- การเทศนาธรรมของภิกษุ ผ่านทางโทรทัศน์ และระบบเครือข่าย network
เช่น พระมหา สมปอง ตาลปุตฺโต
http://www.dhammadelivery.com/

- การเขียนหนังสือธรรมะ ที่ใช้ภาษาและการอธิบายธรรม
ที่ง่ายต่อความเข้าใจของผู้ที่ยังมีพื้นฐานความรู้ทางธรรมและภาษาบาลีเบื้องต้น
เช่น
ว. วชิรเมธี
http://www.google.co...q...earch&meta=

1.2 พุทธศาสนิกชน เขียนหนังสือแนวธรรมะ หรือ วรรณกรรมอิงธรรมะกันมากขึ้น
โดยใช้ภาษาและการอธิบายธรรม
ที่ง่ายต่อความเข้าใจของผู้ที่ยังมีพื้นฐานความรู้ทางธรรมและภาษาบาลีเบื้องต้น

1.3 มีการจัดสถานที่ฝึกอบรมธรรม ภาคปฏิบัติธรรม นอกวัด ทั้งในและต่างประเทศ
โดยชาวพุทธเองและชาวตะวันตกที่สนใจ practice meditation retreat program
เพื่อชาวพุทธและศาสนิกชนอื่นด้วย

เพราะ meditation เป็นของสากลที่มนุษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้
โดยไม่จำกัดชนชาติและความเชื่อทางศาสนา

2 ) การปรับให้วัด มีความน่าสนใจ มีแรงดึงดูดให้ประชาชน เดินทางมาวัดมากขึ้น เช่น

2.1 โครงการเรียนธรรมศึกษาเพื่อประชาชน โครงการเรียนพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์
การอบรมศีลธรรม การบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน การบวชอุบาสิกา สีละมาตา เป็นต้น

2.2 หลายวัดในประเทศ นอกจากเป็นสถานที่ศึกษาพระธรรม ยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาชมวัด
ในเชิงทัศนศึกษา , ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ซึ่งแต่ละวัดในประเทศ ก็มีจุดเด่น จุดน่าสนใจแตกต่างกันไป เช่น
มีเทศกาลงานบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตามประเพณีของท้องถิ่นนั้น ๆ

ยกตัวอย่าง พิธีตักบาตรดอกไม้ ของวัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี ในช่วงวันเข้าพรรษาที่ผ่านมา
หรือ แบบโครงการไหว้พระ ๙ วัด ที่มีตลอดทั้งปี เป็นต้น

จากตัวอย่าง 2 ข้อที่เอ่ยมานี้ เป็นการปรับตัวของวัด
เพื่อให้สมยุค สมสมัยทันสถานการณ์ของสังคมโลก
ตามความพร้อม เท่าที่วัดต่าง ๆ สามารถมีส่วนร่วมในชุมชน และสังคมไทยได้

แนบไฟล์  Y4301154_0.jpg   58.71K   168 ดาวน์โหลด


และจากกรณี ศึกษากิจกรรม โครงการงานกุศลต่าง ๆ
ที่วัดพระธรรมกาย จัดทำมาต่อเนื่องกว่า 37 ปี
ดังที่ยกตัวอย่างพอสังเขปในช่วงต้นไปแล้วนั้น

ผมได้ข้อคิดว่า

1 ) คุณประโยชน์ของวัดที่แท้จริง อยู่ที่

วัดทำหน้าที่เสมือนโรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาจิตใจและพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์

หากว่าโรงเรียน สถาบันการศึกษาในทางโลก ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนวิทยาการ
ให้แก่ยุวชน เยาวชนและคนในชาติ
มีความรู้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เฉพาะในภพชาตินี้แล้วไซร้

วัด สามารถทำหน้าที่พัฒนาจิตใจและพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ ให้ดีขึ้นได้

โดยการอบรมสั่งสอน มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในวัด และที่มาวัด
ตั้งแต่ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทายก ทายิกา สาธุชน

ทั้งช่วยแก้ไข ขัดเกลานิสัยไม่ดี พฤติกรรมไม่ดี ออกไปให้มากที่สุด

ทั้งพัฒนานิสัยและจิตใจ ให้สะอาด ปราศจากโทษ ปราศจากภัยกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง
รวมถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และทางประเพณี วัฒนธรรม

อบรมให้เป็นคนดี มีศีลธรรม มีความรู้ควบคู่คุณธรรม มีหิริ โอตตัปปะ

เป็นลูกดีของมารดา บิดา

เป็นคนดีของครอบครัวและสังคม และประเทศชาติ
และเป็นคนดีที่โลกต้องการในที่สุด

2 ) แต่การที่ วัด จะทำงานนั้นได้ประสบความสำเร็จ

จำเป็นต้องมีความร่วมมือและการสนับสนุน จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้เพราะ ในวัด มีภิกษุ สามเณร เป็นหลัก
และมีกรอบแห่งพระธรรมวินัย มากพอสมควร

สมัยพุทธกาล ภิกษุ เพียงเพียรบำเพ็ญสมาธิ ภาวนา และรักษาปาติโมกข์ศีล ๒๒๗ ข้อ

แต่ภิกษุในปัจจุบัน ยังต้องเรียนรู้กฎหมายอะไรอีกมากมาย
เช่น พ.ร.บ.สงฆ์

เพราะไม่อย่างนั้น
การสร้างวัด การบริหาร ปกครองดูแลสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับวัดและสมบัติสงฆ์
อาจมีความผิดกฎหมายโดยไม่เจตนา ก็เป็นได้

กลับมาที่ความร่วมมือและการสนับสนุน จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ยังพอจำได้บ้าง ว่า สมัยเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา

บ ว ร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน

มีความสัมพันธ์ ความร่วมมือและการสนับสนุน กันดีมาก

เพราะการศึกษาของสยาม หรือ ไทยในยุคเก่านั้น
มีสถานที่เรียนหนังสือ ไม่มากนัก
โรงเรียนสอนหนังสือ สมัยก่อน มีอยู่แต่ใน วัง และ วัด

โรงเรียนในวัง สำหรับ ชนชั้นและบุตรหลาน ของเหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางในวัง
ส่วนโรงเรียนใน วัด สำหรับภิกษุ สามเณรและสามัญชนทั่วไป

อีกทั้งโรงเรียนชั้นประถมศึกษา ในยุคแรก ๆ นั้น
อยู่ในเขตวัด หรือ มีพื้นที่ติดกับวัด

แม้แต่ชื่อโรงเรียน ก็ยังมีคำว่า โรงเรียนวัด ......... นำหน้าเลยครับ

ผมยังเคยเรียน วิชา หน้าที่ พลเมืองและศีลธรรม กับหลวงพ่อเจ้าอาวาส
ซึ่งท่านมาทำหน้าที่ครูสอน

ทำให้เด็ก ๆ สมัยก่อนทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย ได้ใกล้พระ คุ้นเคยกับภิกษุ
ได้ฟังธรรมจากภิกษุ อบรมสั่งสอนการทำความดี ตามสมควร
และได้เรียนรู้การวางตัวกับพระอย่างไรให้เหมาะสม
จึงมีความเคารพภิกษุมากกว่าเด็กในสมัยนี้

จากวัด คือ โรงเรียนสอนหนังสือ และวิทยาการต่าง ๆ
ทั้งในด้าน จิตวิทยา การปกครอง ศิลปะ วรรณกรรม มนุษย์สัมพันธ์ การแพทย์ ฯล

และเนื่องจาก วัด เป็นแหล่งชุมชนของชนทุกเพศวัย
ตั้งแต่ทารก เด็ก หนุ่มสาว ผู้เฒ่าคนชรา จนถึงคนตาย
การเล่าเรียนศึกษา งานบวช งานแต่ง งานศพ
งานสังสรรค์ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับ วัด

ดังนั้น ความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่าง
บ ว ร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน ในอดีตจึงแน่นแฟ้น

หากว่าในยุคปัจจุบัน มีการฟื้นฟู ความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่าง

บ้าน วัด โรงเรียน ให้แน่นแฟ้น อยู่ในวิถีชีวิตของคนในสังคมแบบเดิม

งานหลักของ วัด ในด้าน พัฒนาจิตใจและพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์ให้ดีขึ้น
ก็จะประสบความสำเร็จอย่างมีความสุขด้วยกันทั้งสังคม ทั้งประเทศ

ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า ในปัจจุบันนี้
การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ล้วนมีค่าใช่จ่าย มากพอสมควร

ตามพระธรรมวินัย นั้นภิกษุ สามเณร ห้ามประกอบอาชีพ เพื่อมีรายได้อะไร

ส่วนบ้าน หมายถึงประชาชน ก็มีรายได้พอเลี้ยงชีพ คนในครอบครัว

โรงเรียน ระบบการศึกษา ก็มีงบประมาณในการพัฒนาความรู้ของประชาชน
จากภาค รัฐบาล น้อยเกินคาด
ส่วนงบประมาณในด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม และการทหาร มีสูงมาก

ส่วนงบประมาณในด้านพัฒนาจิตใจ (ความรู้และคุณธรรม) มีน้อยมาก

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ รัฐบาลของประเทศไทย
ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาความรู้ของยุวชน เยาวชนและประชาชน น้อยมาก


ฉะนั้นลำพังความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่าง การสนับสนุนของ
บ ว ร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน จึงยังไม่มากพอ


จะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง หากว่า

รัฐบาลเอาใจใส่ ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาความรู้ของยุวชน เยาวชนและประชาชน
รวมถึงการพัฒนาจิตใจของประชาชนในประเทศ ให้มากขึ้น

เพราะความรู้ควบคู่คุณธรรม คือ รากฐานการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

ดังนั้นรัฐบาล ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อ พัฒนาความรู้ควบคู่คุณธรรม ให้มากขึ้น

แหล่งสอนความรู้ คือ โรงเรียน สถาบันการศึกษา

แหล่งสอน อบรมคุณธรรม ศีลธรรม ให้ประชาชนมี หิริ โอตตัปปะ คือ วัด

จึงเป็นการสมควรอย่ายิ่งที่รัฐบาล จัดสรรงบประมาณ
ให้กระทรวงศึกษาธิการและอุปถัมภ์สังฆณฑล ให้เหมาะสมขึ้นกว่าเดิม
เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

น่าเสียดายที่แต่ละปี รัฐจัดสรรงบประมาณหลายหมื่นล้านบาท
เพื่อแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ เช่น

งบประมาณสำหรับนักโทษ และผู้ต้องหากระทำความผิด

ลองคิดดูสิครับ
ติต่างว่า
พ่อและครอบครัวของผมหรือของคุณก็ได้ ทำงานและเสียภาษีให้รัฐ

แต่วันหนึ่งพ่อของผมหรือของคุณ ถูก ฆ่าเพื่อชิงทรัพย์
ผู้ต้องหาถูกจับ มีการไต่สวนตามกระบวนการยุติธรรม แน่นอนว่าต้องมีค่าใช้จ่าย
สุดท้ายผู้ต้องหา ยอมรับผิดว่าเป็นผู้ฆ่า
และศาลพิพากษาให้ ฆาตกร ถูกจำคุกตลอดชีวิต

สรุปว่า ทั้งงบประมาณการสร้างและบำรุงรักษาคุก
ทั้งเงินเดือนเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์
ทั้งอาหาร เสื้อผ้า ค่าน้ำ ค่าไฟ ของใช้
ที่นักโทษหรือฆาตกรที่ฆ่าคนตาย

ล้วนนำมาจากภาษีของประชาชน
แต่เรากลับต้องเอาเงินภาษีของประชาชน และครอบครัวเรา
มาอำนวยชีวิต ฆาตกรที่ฆ่าพ่อของเรา ให้มีกินอยู่
ดีไม่ดี ช่วงอยู่ในคุก ได้เรียนวิชามิจฉาชีพ พัฒนาการทำความชั่วให้ร้ายแรงขึ้น

มันน่าอดสูไหมครับ

เพราะฉะนั้น การที่รัฐบาลใช้งบประมาณ
ให้ระบบการศึกษาไปเพื่อพัฒนาความรู้ของประชาชน

ควบคู่ใช้งบประมาณอุปถัมภ์สังฆมณฑล
เพื่ออบรมคุณธรรม ศีลธรรม ให้ประชาชนมี หิริ โอตตัปปะ

รวมถึงให้ความร่วมมือโครงการสร้างสรรค์ในสังคม ในรูปแบบต่าง ๆ

เป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งแล้วครับ

แนบไฟล์  post_1376_1190817273_thumb.jpg   8.63K   77 ดาวน์โหลด


ในทรรศนะส่วนตัว มีความคิดเห็นว่า
สิ่งที่ วัด ในปัจจุบัน ควรมี คือ

1 ) ปรับปรุงและพัฒนาด้าน #####เทส ๔

ก ) อาวาสเป็นที่สบาย คือ
สถานที่ อาคารใช้งานตั้งแต่ อุโบสถ ศาลาฟังธรรม กุฎิที่พัก
เน้นมั่นคงแข็งแรง อรรถประโยชน์ เอนกประสงค์
ดูแล บำรุง รักษาง่ายประหยัดเงิน แรงงาน เวลา

ข ) อาหารเป็นที่สบาย อาหาร น้ำดื่ม มีคุณภาพ มีคุณค่าสารอาหารครบ สะอาด
ปริมาณเพียงพอ ผลิตได้เร็ว จัดหาได้สะดวก แจกจ่ายได้เร็ว
ค ) บุคลคลเป็นที่สบาย คือ ภิกษุ สามเณร ทายก ทายิกา อาสาสมัคร
เคร่งครัดในศีล กิริยาอ่อนน้อม มารยาทงดงามตามแบบพุทธศาสนิกชนที่ดี
มากด้วยความเคารพ 6 กตัญญูกตเวที มีวินัย
เป็นนักต้อนรับ ปฏิสันถาร ยิ้มแย้มแจ่มใส ทั้งดวงพักตร์ ดวงเนตร มีปิยะวาจา ฯล

ง ) ธรรมะเป็นที่สบาย คือ
เลือกหมวดธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนาให้เหมาะกับผู้ฟัง
ปรับปรุงวิธีการเทศน์การสอน
มีโยนิโสมนสิการในการใช้สื่อมัลติ มีเดียในการเผยแผ่ธรรมะ
โดยใช้ภาษาพูด คำอุปมา อุปมัย ของธรรมะให้ผู้ฟังเข้าใจตามได้ง่าย
มีกำลังใจทำความดี สามารถนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2 ) พัฒนาศาสนทายาท คือ จัดอบรมเหล่าภิกษุ สามเณรและศาสนบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ให้เคร่งครัดในปาติโมกข์ศีล ศีลของอนาคาริ หรือ
สำหรับพระสังฆาธิการ เจ้าคณะผู้ปกครองหมู่สงฆ์
ควรศึกษากฎหมายหรือ พ.ร.บ.สงฆ์และกฎหมายทางโลกที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

ส่งเสริมด้านพระปริยัติธรรม พระธรรมกถึก นักเทศน์
โดยเฉพาะส่งเสริม การปฏิบัติธรรม

3 ) พัฒนาด้านความร่วมมือกับสถานการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ ที่ต้องเกี่ยวข้อง


4 ) ให้โอกาสคฤหัสถ์หรือพุทธศาสนิกชนที่มาวัดเป็นประจำ
มีส่วนร่วมในการปรับปรุง พัฒนาวัด
ตามความรู้ ความสามารถ ตามสาขาอาชีพ ของแต่ละท่าน
แต่ก็ควรระวัง อย่าให้คฤหัสถ์ หรือกรรมการวัด เสียงดังกว่าพระ

รวมถึงให้เหล่ายุวพุทธทั้งหลาย ให้เป็นอาสาสมัครในกิจกรรมงานกุศลของวัด
แต่ละวัดควรมีชมรม อาสาสมัคร หรือ Volunteer club
เช่น นักเรียน ในโรงเรียนที่อยู่ใกล้วัดก็ได้
เพื่อเป็นการฝึกเหล่ายุวพุทธ ช่วยดูแล รักษาวัดและพระพุทธศาสนา

เหมือนที่วัดพระธรรมกาย ฝึกสาธุชน และเยาวชนที่มาวัด

บอกอานิสงส์การขวนขวายช่วยงานพระศาสนา
ในการเป็นเจ้าหน้าที่ของวัด

ฝึกไม่ให้สาธุชนและเยาวชน เอาใจตนเอง

ฝึกความเป็นผู้เสียสละ
ไม่เอาแต่ประโยชน์ส่วนตน แต่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

ฝึกความอดและทน คือ
อะไรที่อยากได้ แต่ไม่ได้ ก็ต้อง อด
อะไรที่ไม่อยากได้แต่กลับได้ ก็ต้อง ทน

เป็นฝึกการอยู่รวมกัน ทำงานเป็นทีมตั้งแต่เด็ก ๆ

ด้วยการร่วมด้วยช่วยกันจัดเตรียมงาน การต้อนรับ การเก็บงาน

เพื่อหล่อหลอมให้ทุกคนที่มาวัด เป็นเจ้าของวัดตัวจริง
เมื่อพบเห็นสิ่งใดไม่ดี ไม่เหมาะ ไม่ควร ก็มีส่วนร่วม ช่วยกันปรับปรุงแก้ไข พัฒนา

ฯลฯ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

ความเข้าใจที่บิดเบี้ยว กรณีวัดพระธรรมกาย

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=12197







#8 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 03:31 AM

ดีจังเลย ขออนุโมทนาบุญกับคุณDd2683 และทุก ๆ ท่านด้วยนะครับ...สาธุ

#9 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 08:31 AM

อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุ

#10 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 09:04 AM

ความคิดเห็นเพิ่มเติม จากคำถาม / ข้อสงสัย / ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน

ขอบคุณสำหรับคำถาม และคำตอบของคุณ ครับ

ขยายความเพิ่มเรื่อง

"ไม่สู้ ไม่หนี ทำความดีเรื่อยไป"

นโยบายของวัดพระธรรมกาย ที่อบรมศิษยานุศิษย์ในช่วงที่มีมรสุมการถูกกล่าวร้ายมีว่า

"ไม่สู้ ไม่หนี ทำความดีเรื่อยไป"

ไม่สู้ คือ ใครว่าร้ายเรา หรืออยากทำร้ายประทุษร้ายเรา
เราต้องไม่สู้ด้วยการว่าร้ายตอบ หรือ ไม่ประทุษร้ายตอบ


ไม่หนี คือ ไม่หนีห่างจากการทำความดี หรือหน้าใคร ๆ ที่ว่าร้ายเรา
เพราะเราทำความดี ( กุศลกรรมบท 10 , บุญกิริยาวัตถุ 10 ) ตามรอยพระพุทโธวาท
และพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน
ทีคนทำชั่ว ก่ออกุศลกรรมบท 10 เขาทำอย่างเปิดเผย

เราทำกุศล ทำความดี ทำไมเราต้องแอบทำความดี เหมือนลักลอบทำความดีกันด้วยล่ะครับ

( ช่วงนั้น หลายท่านเวลามาวัด ก็ไม่กล้าบอกคนรู้จักที่ว่าร้ายวัด
บางคนถึงขนาดแต่งกายเหมือนไปเที่ยว แล้วนำชุดขาวมาเปลี่ยน ที่วัด )
ดังนั้นหลวงพ่อจึงสอน ให้ทำความดีอย่างเปิดเผย

ทำความดีเรื่อยไป คือ หน้าที่ของมนุษย์ที่เกิดมา
คือ เกิดมาเพื่อสั่งสมกุศล บุญบารมีให้เต็มเปี่ยม
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าสถานการณ์ในชีวิต สถานการณ์ในบ้านเมือง ในโลกจะเป็นอย่างไร
เราต้องหมั่นสั่งสมกุศล ของเราเรื่อยไป ตราบที่เรามีชีวิตและลมหายใจอยู่


****

ส่วนความคิดเห็นของคุณ ...
ก็เชื่ออย่างที่เข้าใจไปก่อน ตามสะดวกเถิดครับ

เพราะข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์จริงที่แต่ละท่านเจอก็มีทั้งตรงกันบ้าง ต่างกันบ้าง
จริง 90 % เท็จ 10 % บ้าง
หรือ จริง 50 % เท็จ 50 % บ้าง
จริง 20 % เท็จ 80 % บ้าง เป็นต้น

ผมมีข้อคิดอย่างนี้ครับว่า
องค์กร หรือหน่วยงานใด ที่มีขนาดใหญ่ ทำงานใหญ่
ที่เกี่ยวข้องกับมหาชน สาธารณะชนที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อทางศาสนาต่างกัน

ล้วนมีปัญหาให้แก้ไขกันทั้งนั้นแหละครับ
ไม่ใช่ว่า มีปัญหาเพราะองค์กรหรือวัดหรือหน่วยงาน หรือ บุคคลทั้งหมดขององค์กรนั้น
ล้วนแต่ไม่ดี มีแต่ความชั่ว

ทั้งในหน่วยย่อยของสังคม คือ ครอบครัว มีคนแค่ 5 ถึง 10 ชีวิต
ทั้งรักและห่วงใยกัน
แต่ในแต่ละบ้านก็ยังมีปัญหาทะเลาะกันเองบ้าง มีปัญหาเศรษฐกิจ จิตใจ
ให้คอยแก้ ทุกเดือนทุกปี เลยมิใช่หรือครับ

หรือหน่วยงานที่ใหญ่ขึ้นมาอีก เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ฯล
ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ก็ล้วนทำคุณประโยชน์ให้สังคม ไม่ใช่แหล่งฝึกผู้ก่อการร้ายสักหน่อย
แต่ก็ยังมีปัญหา ให้แก้ไข ทุกเดือน ทุกปี เช่นกันครับ

หรือดูอย่างพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยะเจ้า ในสมัยพุทธกาลสิครับ

ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นภัยกับใคร ชั่วไม่ทำ ทำแต่ความดี
แล้วทำไมยังมีใคร ( เดียรถีร์ ) โจมตี นินทา ว่าร้ายได้ล่ะครับ

ดังนั้นปัญหาหลายปัญหา ที่คนแต่ละยุคสมัยวิพากษ์ วิจารณ์นั้น
ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่องค์กรหรือบุคคลที่กำลังทำความดี หรอกครับ

ความจริงอีกอย่าง คือ วัดพระธรรมกาย ยังไม่ใช่วัดที่ดีที่สุดหรอกครับ
ยังห่างไกลจากคำว่า สมบูรณ์แบบ (ferfect)
เพราะ

1 ) ศาสนบุคคล ก็ยังเป็นพุทธบริษัท ที่ยังไม่หมดกิเลส ยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล
แต่ก็ใฝ่ดี กำลังฝึกฝนตนเอง ละชั่ว ทำดี เจริญสมาธิ ภาวนา
เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง กันอยู่ครับ

2 ) ศาสนวัตถุ พุทธสถาน ธรรมสถาน สังฆสถานที่ประกอบด้วยธาตุ ๔
เราก็สร้างทำให้ดีที่สุด เท่าที่ความก้าวหน้าของวัสดุศาสตร์ อุปกรณ์ เทคโนโลจี
ที่ในแต่ละปีพ.ศ. จะทำได้
และตามปัจจัย ที่สาธุชนยินดีบริจาคไว้ รวมถึงตามการใช้งานจริง

วัดพระธรรมกาย ซึ่งจัดเป็นองค์กรการกุศล ที่มุ่งมั่นอบรมศีลธรรม สืบอายุพระพุทธศาสนา
ก็เช่นกันครับ
เนื่องจากเป็นวัดขนาดใหญ่ scale งานพระพุทธศาสนาก็มีเยอะ
ทั้งศาสนบุคคล คือ ภิกษุสงฆ์ สามเณรก็มีหลายพันชีวิตและสาธุชนก็เป็นเรือนแสน

ดังนั้นความบกพร่อง ความไม่สมบูรณ์ ก็ยังมีอยู่ เป็นเรื่องธรรมดา
และยังรอการชี้ขุมทรัพย์ คำแนะนำ เพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ๆ ครับ

โรคร้ายหรือปัญหาหลายปัญหา ในโลกนี้

หลายโรค หลายปัญหา แก้ก็หาย ไม่แก้ ไม่หาย

หลายโรค หลายปัญหา แก้ก็หาย ไม่แก้ ก็หายเองได้ (กาลเวลา จะช่วยเยียวยาให้)

หลายโรค หลายปัญหา แก้อย่างไรก็ไม่หาย
ต่อให้ใช้ more knowledge ,more human ,more money ,
more time , more comments , more conversation & advance technologies .
มากแค่ไหน ก็แก้ไม่ได้อย่างสิ้นเชิงหรอกครับ

เพราะเป็นเรื่อง กิเลส อาสวะ อวิชชา ครับ

ปัญหาที่พูดกันนี้ ถ้ามองว่าเกิดจากวัดพระธรรมกาย ก็มองได้ครับ
แต่ไม่ช่วยแก้ปัญหาสักเท่าไหร่

แต่ถ้ามองว่า

ปัญหาทุกปัญหาในโลกนี้ เกิดจาก อวิชชา อาสวะกิเลส ที่สิงในใจมนุษย์

แล้วแก้ปัญหาให้ตรงจุด แก้ที่ปฐมเหตุตามพุทธวิธี ในโอวาทปาติโมกข์
โดยเริ่มจากตนเองก่อน 1 อั๊ว 2 ลื้อ

1 คือ บำบัดทุกข์เก่า ขจัดกิเลสอาวสวะเก่าที่หมักดองในใจตนเอง

2 คือ ลื้อหรือบุคคลอื่นในทิศ ๖ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เพื่อนมนุษย์เหล่านี้ หมดอาสวะกิเลสตามเราไปด้วย

แบบนี้ดีหรือไม่ครับ

ด้วยความปรารถนาดีครับ

ธมฺมปีติ สุขํ เสติ
วิปฺปสนฺเนน เจตสา
อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม
สทา รมติ ปญฺฑิโต . . . ฯ ๗๙ ฯ


ผู้ดื่มรสพระธรรม มีใจสงบ
ย่อมอยู่เป็นสุข
บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม
ที่พระอริยเจ้าแสดงไว้เสมอ

He who imbibes the Dharma
Lives happily with the mind at rest.
The wise man ever delights
In the Dharma revealed by the Noble.


#11 100กะรัต

100กะรัต
  • Members
  • 209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 10:25 AM

ยอดเยี่ยมเลยค๊ะคุณ Dd2683 ขออนุโมทนาบุญด้วยค๊ะสาธุ

ว่าแล้วคุณ Dd2683 อย่าลืมนำข้อความเหล่านี้ไปลงที่ Web ดัง ๆ ที่เค้าเข้าใจผิดวัดเราด้วยน๊ะค๊ะ สาธุค๊ะ

100กะรัต


#12 สัมมาอะระหัง

สัมมาอะระหัง
  • Members
  • 235 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:computer,dhamma

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 10:57 AM

ร่วมอนุโมทนาบุญกับแนวทางการเผยแผ่และแก้ไขความไม่เข้าใจของท่านเจ้าของกระทู้ด้วยครับ สาธุๆๆๆ
ศีล..เป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง บุคคลใดชำระศีลให้บริสุทธิ์แล้ว จะเป็นเหตุให้เว้นจากความทุจริต จิตจะร่าเริงแจ่มใส และเป็นท่า หยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพาน

#13 สิทฺธิกโร(V-active)

สิทฺธิกโร(V-active)
  • Members
  • 486 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:สมุทรปราการ
  • Interests:ธรรมมะ และการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 03:59 PM

สาธุ อ่านจนมึนเลยอะ

#14 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 09 March 2008 - 12:24 AM

ฟ้ า ห ลั ง ฝ น ส ด ใ ส

ข้อคิดหลังสถานการณ์ กรณีที่ดินธุดงคสถานกับชาวนา

ยังจำได้ว่า
ครั้งที่ผู้เช่านาส่วนใหญ่ เข้าใจและยอมรับกฎกติกา ในระบอบกฎหมายไทย แล้วว่า

ตนเองเป็นไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ตนเองเป็นผู้เช่าที่ดินไว้ทำนา
จึงไม่มีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ในการจะขายหรือไม่ขายที่ดิน

และเมื่อเจ้าของที่ดินขายที่ดินให้ผู้อื่นไปแล้ว อีกทั้งตนเองก็ยังได้รับเงินสินไหมทดแทนที่มากพอสมควร

จึงยอมย้ายที่อยู่อาศัย ออกจากพื้นที่ดังกล่าว
โดยที่ทางมูลนิธิธรรมกาย ก็ช่วยเป็นภาระในการช่วยรื้อถอน และขนย้ายบ้านให้

ผมเองก็เป็นคนหนึ่ง ที่ช่วยการช่วยรื้อถอน และขนย้ายวัสดุ เช่น เสาไม้ คานไม้ สังกะสี

ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างบ้านแห่งใหม่ของบรรดาอดีตผู้เช่าที่ดินทำนา

แม้จะเหน็ดเหนื่อย มือและแขนได้แผล เสียเลือดจากการรื้อถอน การยกวัสดุ ไปบ้าง

แต่เมื่องานเสร็จ และการได้รับความร่วมมือและคำขอบคุณจากชาวบ้านอดีตผู้เช่าที่ดินทำนา
อีกทั้งมีบรรดาสาธุชน ธรรมทายาท ช่วยกันทำงาน ก็สนุกเหมือนกัน
และตอนที่มีน้ำดื่มเย็น ๆ จาก เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร แผนก ธรรมวารี ของวัดพระธรรมกาย
ก็รู้สึกสดชื่น ดีครับ

ความรู้สึกของวัยรุ่นคนหนึ่ง ที่ได้ทำประโยชน์ให้ผู้อื่น มันมีคุณค่ามากนะครับ


ยังจำได้ว่า
ครั้งที่มีผู้ประสงค์ร้าย บุกรุกพื้นที่สงฆ์ มาเผาหมู่กุฏิสงฆ์ ซึ่งทำด้วยโครงไม้ มุงหลังคาด้วยใบจาก

ผมจึงได้รู้ว่า หมู่สงฆ์ ที่ออกบวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ
เพื่อถางทางสู่มรรค ผล นิพพาน แล้ว

ในบางสถานการณ์ หมู่สงฆ์ต้องมี สามัคคีธรรม ในการผลัดกันเข้าเวรตอนค่ำยันฟ้าสาง
เพื่อช่วยกันดับไฟ ให้ทัน หากมีผู้ประสงค์ร้าย มาเผาหมู่กุฏิสงฆ์


แต่จะว่าไป
การที่ผู้ประสงค์ร้าย บุกรุกพื้นที่สงฆ์ มาเผาหมู่กุฏิมุงจาก
ก็เปิดโอกาสให้มีการทอดผ้าป่าเพื่อสร้างหมู่กุฎิสงฆ์ และสามเณร

ทำให้ผมได้มีส่วนร่วมตั้งกองผ้าป่า บอกบุญคนในครอบครัวและเพื่อนนักศึกษาด้วย

ยิ่งเห็นเหล่าสามเณร แบ่งทีมแข่งกันสร้างกุฎิ สร้างหมู่กุฎิสงฆ์ และสามเณร
ท่านอาบเหงื่อ ต่างน้ำ ก็ยิ่งรังเกียจคนพาล
แต่ก็เห็นบรรดาภิกษุ สามเณรที่ช่วนกันสร้างกุฎิจาก ยิ้มแย้ม เบิกบานกันดีนะครับ

แนบไฟล์  reimageskyay1.gif   10.72K   73 ดาวน์โหลด


ตอนนั้นผมนึกไม่ออกหรอกครับว่า

กิจกรรมงานกุศล เหล่านี้ ยิ่งช่วยหล่อหลอมสามัคคีธรรม
เค้นความสามารถ เจียระไนท่านให้เป็นเหล่ากอของสมณะที่ดี เป็นพระแท้ในอนาคต
เป็นศาสนทายาทที่มีคุณภาพสูง เป็นเพชรแท้ประดับไว้ในสังฆมณฑล

และเมื่อได้ไปที่ลานธรรม สนามหญ้าเขียวขจีที่โอบล้อมด้วยคูน้ำสระบัว นานาพันธุ์
เดินขึ้นไปบนเนินดิน ที่ประดิษฐานองค์พระปฏิมากร
ที่เปรียบเสมือนที่ประทับของพระบรมศาสดา อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เห็นร่องรอยการทุบองค์พระปฏิมากร ที่พระพักตร์ ลำตัว แขน ขององค์พระ
เศษปูนที่ร่วงหล่น ยังกระจัดกระจาย

ซึ่งทางวัดปล่อยไว้ ยังไม่ได้เก็บทำความสะอาด
ให้พุทธศาสนิกชน มาดูไว้เป็นอุทธาหรณ์ เป็นเครื่องเตือนใจตนเอง ถึงกฎอนิจจัง

และก็อีกแหละ เหตุการณ์ผู้ประสงค์ร้าย บุกรุกพื้นที่สงฆ์ ทุบองค์พระปฏิมากร ในครั้งนั้น
ก็ทำให้พุทธศาสนิกชน ศิษย์วัดพระธรรมกาย ปรารภเหตุสร้างมหากุศล

ด้วยการสร้างพระปฏิมากร องค์ใหม่แล้วเชิญชวนสาธุชน ร่วมสองหมื่นคน
มาร่วมขบวนอัญเชิญองค์พระปฏิมากร สีทององค์ใหม่ เพื่อประดิษฐาน บนเนินดิน ลานธรรม

ในงาน ธุดงค์ส่งท้ายปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ต้อนรับปีพุทธศักราช ๒๕๓๒

ยังจำได้ว่า
เป็นครั้งแรกที่สร้างประตูชัย ตรงทางเข้าลานธรรม
รูปแบบประตูชัย เป็นแบบประตูชัย ในปารีส แต่ลวดลายงานศิลป์ เป็นแบบพุทธศิลป์
ตอนเที่ยงคืนวันที่ 30 ธันวาคม 2531 ผมและเพื่อน ๆ ยังไปช่วยทาสีไม้อัดที่สร้างประตูชัย

เป็นครั้งแรกของวัยรุ่นที่งดเที่ยวเทศกาลปีใหม่ มาอยู่อยู่ธุดงค์ ปักกลด บนลานดินลูกรังที่เพิ่งถมไม่นาน
ได้สวดมนต์สรรเสริญคุณพระไตรรัตน์ ฟังธรรม เป็นอาสาสมัคร ออกแรงช่วยงานพระศาสนา
เป็นการใช้เวลา ที่มีคุณค่า มากกว่า การไปเที่ยวตามเทศกาลปีใหม่อย่างที่เคยทำ มากเลยครับ

ยิ่งกาลเวลาผ่านไปหลายขวบปี
เมื่อมองย้อยกลับไป จึงเห็นภาพบุคคลิก คุณลักษณะของ
พุทธศาสนิกชน ทั้ง หมู่สงฆ์ องค์สามเณร ทายก ทายิกา อุบาสก อุบาสิกา สาธุชน
ศิษย์ยานุศิษย์ของ หลวงพ่อ ธมฺมชโย หลวงพ่อ ทตฺตชีโว และคุณยายอาจารย์ จันทร์ ขนนกยูง

เป็นมนุษย์ประเภทยิ่งมีปัญหา มีอุปสรรค ก็ยิ่งช่วยเค้นศักยภาพ เค้นคุณธรรมความดี ออกมาใช้ให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป

นึก ๆ แล้ว ก็ขออนุโมทนา สาธุการ ในบุญกุศลของเจ้าของที่ดิน คือ

คุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี และบุตรี

รวมถึงคณะผู้บุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกาย ตั้งแต่ต้นจนถึงพุทธศาสนิกชนที่มาภายหลัง

ที่ได้ร่วมกำลังใจ กำลังกาย กำลังสติปัญญา กำลังทรัพย์

เพื่อพัฒนาวัดในพระพุทธชศาสนา ให้เติบโต

ได้สร้างสาธารณะประโยชน์แก่พุทธาจักรและสังมณฑล

รวมถึงทำคุณประโยชน์ให้สังคมไทย มาเกือบ 40 ปี เป็นอย่างยิ่งครับ

สาธุ สาธุ สาธุ

#15 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 09 March 2008 - 12:36 AM

เรียนให้ทุกท่านทราบครับ ว่า

ภาพที่สมาชิกนำมาลงนั้นเป็นภาพ top view ของ
มหาธรรมกายเจดีย์ ที่วัดพระธรรมกาย

ซึ่งผมเข้าใจว่าเจ้าของกระทู้ก็ทราบดีอยู่แล้ว

ส่วนว่าท่านใด แวะมาขำขัน เปรียบเทียบแบบสนุก ๆ ไปต่าง ๆ นั้น
ก็เป็นสิทธิ์ของท่านอยู่แล้ว ตามสะดวกครับ

เพียงแต่แวะมาให้ข้อคิด ว่า

สิ่งที่บางท่านขำขันนั้น เป็นศาสนาสถานในพระพุทธศาสนา
และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนหลายแสนทั่วโลก
เช่น
จุดโคมประทีปเป็นพุทธบูชา และการเวียนเทียน
ในวันมาฆะบุชาและวิสาขบูชา

และชาวบ้านหลายแสนท่าน ทั้งมีเงินมากและมีเงินน้อย ร่วมสร้างกันมาด้วยความยากลำบาก

ทั้งนี้เพื่อสร้างพุทธเจดีย์ เป็นพุทธบูชา แด่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยประดิษฐานพุทธปฏิมากร หรือ พระพุทธรูป มากกว่า 300, 000 องค์รอบเจดีย์

แนบไฟล์  etpgtgcetiya1.jpg   22.04K   165 ดาวน์โหลด


มหาธรรมกายเจดีย์ นี้ พอเรียกได้ว่า เป็น

1 ) ธาตุเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ภายในองค์พระเจดีย์นั้น ๆ

2 ) อุทเทสิกเจดีย์ เจดีย์สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป

ที่มา : http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=141

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[141] เจดีย์ 4 (สิ่งที่ก่อขึ้น, ที่เคารพบูชา, สิ่งที่เตือนใจให้ระลึกถึง, ในที่นี้หมายถึง
สถานที่หรือสิ่งที่เคารพบูชาเนื่องด้วยพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนา
เรียกเต็มว่า สัมมาสัมพุทธเจดีย์ หรือ พุทธเจดีย์
- shrine, Buddhist monument; objects of homage)

1. ธาตุเจดีย์ (เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
- a relic shrine; sepulchral or reliquary monument;
stupa enshrining the Buddha's relics)


2. บริโภคเจดีย์ (เจดีย์คือสิ่งหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย
อย่างแคบหมายถึงต้นโพธิ์ อย่างกว้างหมายถึงสังเวชนียสถาน 4
ตลอดจนสิ่งทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าเคยทรงบริโภค เช่น บาตร จีวร และบริขารอื่นๆ เป็นต้น
- things and places used by the Buddha, esp. the Bodhi tree)

3. ธรรมเจดีย์ (เจดีย์บรรจุพระธรรม เช่น บรรจุใบลานจารึกพุทธพจน์แสดงหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
- a doctrinal shrine; monument of the Teaching where inscribed palm-leaves
or tablets or scriptures are housed)

4. อุทเทสิกเจดีย์ (เจดีย์สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ได้แก่ พระพุทธรูป
- a shrine by dedication, i.e. a Buddha-image)

แนบไฟล์  imagescover_s.jpg   70.23K   174 ดาวน์โหลด


และที่ผมแปะภาพมหาธรรมกายเจดีย์ในระยะใกล้ ๆ หลายภาพ เพื่อให้ทุกท่าน เข้าใจถูกว่า

พุทธศาสนสถาน มีไว้เพื่อบำเพ็ญกุศล และเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา อีกทางหนึ่ง

หากเจ้าของกระทู้ หรือ บางท่าน ยินดีในการมองพุทธเจดีย์ เป็นเรื่องขำขัน และล้อเลียน
ในเชิงต่าง ๆ ก็ขอเชิญ ไปพิสูจน์ด้วยตนเองที่วัดพระธรรมกาย ดีกว่าครับ


หากต้องการศึกษา มหาธรรมกายเจดีย์ เพิ่มเติม ว่า

ทำไมต้องสร้างพุทธเจดีย์รูปทรงแบบนี้

ขอเชิญแวะไปที่

http://www.geocities...y/6741/sam1.htm

เบื้องหลังกว่าพันปี: มหาธรรมกายเจดีย

1. มโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ
2. แผนงานการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์
3. ส่วนประกอบและโครงสร้างของมหาธรรมกายเจดีย์
4. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพระธรรมกายประจำตัว
- การหล่อพระธรรมกายประจำตัว
- การเลือกเฟ้นสถานที่ผลิตองค์พระฯ
- ขั้นตอนต่างๆ ในการหล่อองค์พระฯ
- การจารึกรายชื่อเจ้าภาพองค์พระฯ
- การตรวจสอบคุณภาพองค์พระฯ ทุกขั้นตอน
- การประดิษฐานองค์พระฯ บนมหาธรรมกายเจดีย์
- ตำแหน่งพระธรรมกายประจำตัวของแต่ละคน

5. ระบบต่างๆ ของมหาธรรมกายเจดีย์
6. ความประทับใจของทีมงานด้านการก่อสร้าง
7. ธรรมกายเจดีย์เพื่อมวลมนุษยชาติ
8. คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับมหาธรรมกายเจดีย์
9. ประวัติทีมงานโครงการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์
10. ข้อมูลจำเพาะโครงการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์

ด้วยความปรารถนาดีครับ

#16 ใจสูง

ใจสูง
  • V-Cyber Admin
  • 282 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:อาชีพนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาค่า

โพสต์เมื่อ 09 March 2008 - 08:05 PM

อนุโมทนาบุญนะคะ เป็นข้อมูลที่ดีมากๆๆเลย

สาธุหลายๆ ค่า

ปล. ยังอ่านไม่จบ เพราะวันนี้ต้องรีบไปแล้วค่า
แต่จะมาอ่านต่อวันหลังนะคะ

#17 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 09:08 AM

Sa Thu Krub

#18 อยู่กับยาย

อยู่กับยาย
  • Members
  • 138 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 01:02 PM

อนุโมทนา สาธุด้วยค่ะ laugh.gif

#19 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 01:55 PM

ขอขยายความเรื่องที่ท่านเจ้าของกระทู้กล่าวถึง
การเจริญพุทธานุสสติ โดยระลึกถึงพระบรมศาสดา อนุตระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก่อนทานอาหารและขณะทานอาหาร ของศิษย์วัดพระธรรมกาย สักนิดนะครับ

1) แท้จริงแล้วการเจริญพุทธานุสสติ สามารถทำได้ทุกขณะเวลา และสถานที่
โดยไม่จำกัดกาละ เทศะ อยู่แล้ว


ซึ่งคุณยายอาจารย์และหลวงพ่อ ธมฺมชโย แนะนำสอนศิษยานุศิษย์ให้เจริญพุทธานุสสติกันเนือง ๆ ในทุกวัน
เพราะดำเนินรอยตามคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่ สด จนฺทสโร
เรื่อยไปตลอดจากสมมุติสงฆ์และอริยสงฆ์ ที่มีมาในอดีต

ทั้งนี้เพื่อ ให้กาย วาจา ใจของเราผูกพันกับพระพุทธวิสุทธิ์คุณ พระพุทธปัญญาธิคุณ พระพุทธมหากรุณาธิคุณ
และเพื่อตรวจสอบตนเองว่า

อกุศลธรรมใด ที่เกิดมีอยู่ในกาย วาจา ใจของเราในปัจจุบันธรรมนี้
เราต้องเพียร พยายามละ เว้นในอกุศลธรรมนั้น ๆ
ว่าโดยย่อ คือ อกุศลมูล ๓ โลภ โกรธ หลง / ราคะ โทสะ โมหะ

อกุศลธรรมใด ที่ยังไม่เกิดในกาย วาจา ใจของเรา ก็ป้องกัน ไม่ให้เกิด
และการเจริญพุทธานุสติก็เป็นวิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่สามารถป้องกันอกุศลธรรมได้
ส่วนว่าจะป้องกันได้กี่มากกี่น้อย ก็ขึ้นอยู่กับความเพียร และการฝึกตนของแต่ละคน


ส่วนกุศลธรรมใด คุณธรรมใดที่ยังไม่เกิดในกาย วาจา ใจ ของเราปัจจุบันธรรมนี้
เราต้องปลูก สร้าง หมั่นเพียรสั่งสมกุศลธรรม คุณธรรม ให้เกิดในตน
ว่าโดยย่อคือ บุญกิริยาวัตถุ ๑0 กุศลกรรมบถ ๑0 และ ๑0 นิสัยดี บารมีสิบทัส


กุศลธรรมใด คุณธรรมใดที่เรามีอยู่แล้ว ก็เพียรที่จะรักษาไว้ อุปมาเหมือนเกลือรักษาความเค็ม ฉันนั้น

กุศลธรรมใด คุณธรรมใดที่เรามีอยู่แล้ว ก็เพียรที่จะพัฒนาให้บริสุทธิ์และวิมุติ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป


2) การเจริญพุทธานุสสติ ด้วยกุศโลบาย การบูชาข้าวพระ โดยนึกน้อมด้วยจิต ถวายเป็นพุทธบูชา
นี้มิใช่เกิดจากอกุศลจิต หรือผิดในกุศลธรรมแต่อย่างใด
อ้อ การบูชาข้าวพระ เป็นพุทธบูชานั้น ไม่ใช่ว่า เพื่อเอาธาตุหยาบไปถวายเพื่อให้พุทธองค์ เสวยนะครับ
เราถวายเป็นพุทธบูชา เหมือน ถวายโคมประทีป มาลัย เป็นพุทธบูชา ฉันนั้น

หากการบูชาข้าวพระ ถวายเป็นพุทธบูชา ผิดในกุศลธรรม
หรือหากการบูชาข้าวพระ ถวายเป็นพุทธบูชา ไร้อานิสงส์ใด ๆ

ไฉนต้องมี

การจุดโคมประทีป จุดเทียน เป็นพุทธบูชา / การถวายดอกไม้ มาลัย เป็นพุทธบูชา ฯล
การบรรพชา อุปสมบทเป็นพุทธบูชา รวมถึงการทำความดีต่าง ๆ เป็นพุทธบูชา ด้วยครับ

เพราะพระบรมศาสดา ก็ทรงปรินิพพานไปแล้ว ไม่ได้ต้องการโคมประทีป หรือมาลัยอะไรอีกแล้ว


3) การเจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงพระบรมศาสดา อนุตระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในขณะทานอาหาร
ของศิษย์วัดพระธรรมกายนั้น
ช่วยให้การฉันภัตตาหารหรือทานอาหาร เป็นไปด้วยด้วยความสำรวม ไม่ทานแบบตะกระตะกราม มูมมาม

ซึ่งก็นำแบบแผนมาจาก เสขิวัตรของภิกษุในพระพุทธศาสนา นั่นเองครับ

และทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ มีพระบรมศาสดา เป็นอดีตรัชทายาทในกรุงกบิลพัสดุ์

ที่มีมารยาท งามตามแบบชาววัง เป็นต้นแบบมารยาทที่ดีงามในการทานอาหาร ให้หมู่สงฆ์อยู่แล้ว

เช่น

สำรวมตา มองเพียงอาหารในบาตรหรือภาชนะ(จาน ชาม ) ของตน
เพราะถ้าชอบมองอาหารของผู้อื่น หากผู้อื่นมีอาหารที่ประณีต หรือที่น่าทาน ดูดีกว่าเรา
ก็อาจทำให้ใจ ฟุ้ง อยากได้แบบนั้นบ้าง

หรือ การตัก การตะล่อมอาหารในบาตรหรือภาชนะ ให้กลมกล่อม ไม่ควรตักแต่ยอด ตักแบบกระจาย เรี่ยราด
ไม่ทานแบบแก้มตุ่ย เพราะตักอาหาร คำข้าวใหญ่เกินไป ไม่พูดขณะมีข้าว อาหารในปาก ฯล

คุณยายอาจารย์เคยเล่าให้ศิษย์ฟังว่า

QUOTE
เวลาหลวงพ่อ วัดปากน้ำ ฉันภัตตาหาร
ท่านจะจัดข้าว อาหาร ในบาตร หรือภาชนะให้กลมกล่อม ดูเรียบร้อยเสมอ


คือ

เมื่อตักข้าว/อาหารไปช้อนหนึ่ง อาหารในภาชนะก็ดูแหว่ง ขณะเคี้ยวคำข้าว
ท่านก็ใช้ช้อนตะล่อม จัดข้าวในภาชนะ ที่ขอบแหว่งให้กลมอยู่กลางภาชนะ ดูเรียบร้อยเหมือนเดิม

สำหรับภิกษุ ก็มักพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา กันอยู่แล้ว ว่า

อาหารเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียด โดยอาการต่างๆ เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค
คือ
อาหารก่อนที่นำเข้าปาก ก็ยังดูดี แต่เมื่อนำเข้าปาก เคี้ยวให้แหลกแล้ว
อาหารคำนั้นก็ดูเป็นของน่าเกลียด

และอาหารที่สะอาด ในทางพระพุทธศาสนานั้น
ไม่ใช่หมายว่า อาหารปราศจากเชื้อโรค

แต่หมายความว่า อาหารนั้น เราได้มาโดยอาการอย่างไร

ถ้าเราได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ลัก ขโมย
อาหารนั้นแม้จะดูเศร้าหมอง ไม่น่าทาน เหมือนอาหารชั้นเลิศ

แต่อาหารนั้นก็ถือได้ว่า สะอาด ในเชิงการพิจารณาของพุทธบริษัท ครับ

หรือพิจารณาว่า เรากินธาตุตาย เพื่อรักษาธาตุเป็น คือ
อาหารนั้น คือ ธาตุตาย
ส่วนมนุษย์ คือ ธาตุที่ยังเป็น

หรือพิจารณาว่า เราเพียงสักแต่ว่ากินธาตุ ๔ เท่านั้น
ในแง่ของโภชนาการ คือ เรากินคาร์โบโฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่
เพื่อยังชีพเท่านั้น คือ กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน

หรือพิจารณาว่า เราจะฉัน / ทาน อาหารนี้เพื่อพอประทัง ร่างกายให้เป็นอยู่ได้ พอบำบัดทุกข์ คือ ความหิว

เพื่อให้มีเรี่ยวแรงในการทำความดี เพื่อใช้ร่างกาย รูปขันธ์นี้ ให้เป็นไปเพื่อมรรค ผล นิพพาน

มิใช่ ฉัน / ทานอาหารเพื่อความสวยงามของร่างกาย หรือเพื่อให้ผิวพรรณดูงาม เป็นต้น

ภัตตาหารของทายก ทายิกา ที่น้อมนำมาถวาย จะได้มีอานิสงส์มาก มีอานิสงส์ไพบูลย์


4) กุศโลบาย การเจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ขณะทานอาหาร
ของศิษย์วัดพระธรรมกายนั้น

ก็เป็นการฝึกสติ ฝึกสมาธิ และเป็นการประคองใจให้อยู่สภาวธรรมในกุศลอย่างหนึ่ง

ทั้งนี้เพราะ ธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีกิเลส สังโยชน์ร้อยรัดอยู่นั้น
เวลากิน โดยเฉพาะอาหารที่ดูดี น่าอร่อย ใจมนุษย์ส่วนมากมักเพลินเพลิน ในการกิน ( enjoy eating )

แต่สำหรับภิกษุ และนักปฏิบัติธรรม ผู้มุ่งกำจักกิเลส และนักปฏิบัติธรรม
การ enjoy eating จะทำให้ติดรสอาหาร เดี๋ยวก็อยากกินนั่น กินนี่
เวลานั่งสมาธิ สมถะกรรมฐานก็ฟุ้งซ่านไปเรื่อย ใจสงบยาก


ดังนั้นจึงมีกุศโลบาย ไม่ให้ติดรสอาหาร เพลินเพลิน ในการกิน ด้วยการ การเจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ

เช่น ทานอหารไปก็นึกถึง พุทธปฏิมากรแก้วขาวใสไปด้วย นึกถึงดวงธรรมไปด้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ศิษย์วัดพระธรรมกาย ยังได้รับการสอนจากครูบาอาจารย์ว่า
เมื่อทานอาหารเรียบร้อยร้อย ยังมีกุศโลบายขัดเกลาใจตนเองได้อีก คือ

การแยกเศษอาหาร แยกขยะเปียก ขยะแห้ง และเช็ดทำความสะอาดภาชนะ ก่อนนำไปล้าง
อีกทั้งเป็นการบรรเทาภาระในการล้างภาชนะและบรรเทาภาระของระบบบำบัดน้ำเสีย ได้มากนะครับ

เรื่องการเช็ดภาชนะนี้ มีผลต่อนักปฏิบัติธรรมพอสมควรนะครับ
เพราะในขณะที่เราค่อยบรรจงเช็ดภาชนะ นั้น ก็ต้องประคองสติ สมาธิของเราไปด้วย
เมื่อมองเห็นภาชนะที่เคยเปื้อนเศษอาหาร ดูสะอาดเกลี้ยง ก็อุปการะใจเราให้เกลี้ยงได้นะครับ

อุปมาเหมือน
บ้านไหน ห้องใคร โต๊ะทำงานใคร รก วางของไม่เป็นระเบียบ และสกปรก
กับบ้านไหน ห้องใคร โต๊ะทำงานใคร วางของเป็นระเบียบ และดูสะอาดน่าใช้

มองเห็นด้วยตา แต่มีผลถึงใจเรา ได้นะครับ คือ
เห็นอะไรที่รกตา ไม่เป็นระเบียบ ดูสกปรก อาจทำให้อารมณ์คนในบ้าน ในที่ทำงานนั้นบูดบึ้งได้

ถ้าเห็นอะไรที่เป็นระเบียบ สะอาด โล่งตา บรรยากาศในสถานที่นั้น ๆ ก็พาสบายใจ
สกปรก กับสะอาด ยังมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานได้นะครับ
ทั้งงานทางโลก และงานทางใจ

หวังว่าผู้ใฝ่ธรรม มีความเที่ยงธรรม คงพอเข้าใจ

กุศโลบายและอานิสงส์ของการเจริญพุทธานุสติ
โดยระลึกถึงพระบรมศาสดา อนุตระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผ่านการบูชาข้าวพระ ก่อนทานอาหารและขณะทานอาหาร


ของศิษย์วัดพระธรรมกาย กันแล้วนะครับ

สุปฺปพุทธ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยส ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจ พุทฺธคตา สตีติ


แปลความว่า

สติที่ไปในพระพุทธเจ้ามีแต่สาวกของพระโคดมเหล่าใด ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน
พระสาวกของพระโคดมเหล่านั้น จะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม
ชื่อว่า ตื่น ๆ แล้วด้วยดีดังนี้


#20 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 03:53 PM

อนุโมทนาสาธุค่ะ

ข้อมูลแน่น มากๆ

#21 อนุบาลเสียงใส

อนุบาลเสียงใส
  • Members
  • 42 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 11:01 PM

สาธุ ๆๆ


#22 Thesun

Thesun
  • Members
  • 46 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:londoon,germany
  • Interests:สมาธิ

โพสต์เมื่อ 11 March 2008 - 12:48 AM

เป็นบทความที่ดีมากครับ ตรงกับความเป็นจริง ตอนนี้ ทองล้นหลัง แล้วครับ ช่วยกันขยายออกไปเรื่อยๆโดยเฉพาัะในระบบ
net work ที่คลุมโลกใบนี้อยู่

เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี  สิ่งที่เราทำย่อมเป็นของเรา  ทำทั้งทีทำให้ปลื้ม


#23 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 13 March 2008 - 09:02 AM


ส่วนการถกกัน เรื่องเล่าขาน แม่ชีวัดปากน้ำฯ ปัดระเบิด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
รวมถึงประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งนั้นและหลักฐาน ในเอกสารต่าง ๆ
เกี่ยวกับ atomic bomb ที่เรียกชื่อกันว่า fat man , little boy นั้น

ผมมองอย่างนี้ครับว่า

1 ) เหตุการณ์แท้จริงในสงครามโลกครั้งนั้น
แต่ละคนที่มาถกกันนี้ ก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง
เช่น
ไม่ได้เป็นผู้ร่วมประชุมในการวางแผนการรบ ในการสั่งการทิ้ง atomic bomb
ไมได้เป็นนักบินที่ปล่อย fat man , little boy
ฯล

รวมถึงไม่ได้เป็นคนที่อยู่ ในอาคารปฏิบัติธรรมของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ในขณะที่หลวงพ่อ สดและศิษย์ กำลังเจริญสมาธิ ภาวนาเพื่อช่วยป้องกันภัย


2 ) เราเพียงแต่อาศัยหลักฐานเอกสารบางชิ้น ซึ่งเป็นของคนอื่นบันทึกไว้ทั้งนั้น
แล้วนำหลักฐานเท่าที่พอหาได้ มาวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์กัน ก็เท่านั้นเอง

3 ) เรื่องการที่มนุษย์ มีความสามารถปัดระเบิด ได้นั้น
ผมคิดว่า มีความเป็นไปได้ ในเชิง

เป็นการอธิษฐานจิต / การกำหนดจิต / อาศัยฤทธิ์ทางใจ / อาศัยจิตตานุภาพ
อาศัยบุญญานุภาพของคนไทยในสมัยนั้น
มาป้องกันภัยอันตรายและเหตุร้ายต่าง ๆ ไม่ให้เกิดในบ้านเมืองของเท่านั้น
+ แรงบาปกรรมของชาวญี่ปุ่น ที่ก่อกรรมทำเข็ญช่วงนั้น ดึงดูดระเบิดปรมาณูมา

เป็นลักษณะป้องกัน แก้ไขเหตุร้าย
หรืออาจใช้คำว่า
เป็นการ ปัดระเบิด ด้วยจิตตานุภาพ จากการเจริญสมาธิ ภาวนา ของหลวงพ่อ สดและศิษย์
และบุญญานุภาพของคนไทยในสมัยนั้น

มาป้องกันภัยอันตรายและเหตุร้ายต่าง ๆ ไม่ให้เกิดในบ้านเมืองของเท่านั้น

ไม่ใช่การตั้งจิตอธิฐานเพื่อให้ระเบิดไปลงที่ไหน หรือต้องการให้ใครต้องตายมากมาย

นี่คือป้องกันภัยอันตราย เหตุการณ์ร้าย ด้วย บุญญานุภาพ จิตตานุภาพของผู้ที่เจริญสมาธิภาวนามามาก

แม้พระบรมโพธิสัตว์ ในคืนที่จะตรัสรู้ อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ
เมื่อหมู่มารมาผจญพระองค์ก็อาศัยบุญญานุภาพ ของบารมีสิบทัส
มาคุ้มครอง ป้องกันภัยจากหมู่มารมาผจญ เช่นกันครับ

และเนื่องจากผมไม่ได้อยู่ในยุคนั้น จึงสันนิษฐานว่า
ไม่ใช่การใช้กายมนุษย์หยาบ เหาะเหิรไปในอากาศ แล้วใช้ฝ่ามือ ปัดระเบิด แต่อย่างใด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ใช่เป็นการ ใช้ฝ่ามือมนุษย์ปัดระเบิดปรมาณู จากบางกอก ไป ฮิโรชิม่าและนางาซากิ
อย่างที่ใครเข้าใจกัน หรือใครที่พยายามโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน

เพราะก็ทราบกันอยู่ว่า ช่วงสงครามครั้งนั้น ทั้งหลวงพ่อสด และศิษย์ คือ เหล่าภิกษุและบรรดาแม่ชี
อยู่แต่ในวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อยู่แต่ในอาคารปฏิบัติธรรม ไม่ได้ออกไปแรมราตรีที่ไหน

และการที่มนุษย์ ในเมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ ต้องตายหรือมีชีวิตทรมาน
จาก atomic bomb ที่เรียกชื่อกันว่า fat man , little boy นั้น

ผมมองในเชิงว่า
เป็นผลมาจากชาวญี่ปุ่นในยุคนั้น มีวิบากกกรมเก่าในอดีตชาติ + บาปในปัจจุบันชาติ
ที่การก่อสงคราม ฆ่าฟัน บั่นทอน ทรมานชีวิตเพื่อนมนุษย์
หรือ ชาวบ้านผู้สนับสนุน หรือยินดีในสงคราม ยินดีในการแพร่อาณาจักรของตน
จึงต้องมาตายด้วยภัยสงครามดังกล่าว

สรุปว่า

QUOTE
ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ + สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

กิเลสโลภะ โทสะ โมหะ ที่แรงกล้าของมนุษย์ ต่างหาก
ที่เป็นเหตุ ผลักดันให้เกิดสงคราม ก่อเวรปาณาติบาต

และให้กำเนิดอาวุธสังหาร และระเบิดที่มีอนุภาพทำลายล้างสูง มาล้างเผาผลาญชีวิตมนุษย์กันเอง

และวิบากบาปกรรมของสัตว์โลก ก็ดึงและดูดสิ่งที่นำทุกข์ภัย มาสู่ตนเอง



ส่วนการถกกัน หลักฐานทางประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งนั้น ในเอกสารต่าง ๆ

ผมขอแค่เป็นผู้อ่านดีกว่าครับ

เพราะ ข้อแท้จริงเป็นอย่างไรในประวัติศาสตร์ สมัยที่ผมยังไม่เกิด ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์จริง
และที่ถกเถียงกันในกระทู้นี้ ใครผิด 100 % ใครถูก 100 %
ผมไม่ทราบหรอกครับ

แค่แวะมาหาความรู้เชิงประวัติศาสตร์บ้าง
แค่แวะมาสนทนา แลกเปลี่ยน นานาทรรศนะส่วนตัวเท่านั้นเอง



#24 Nida49

Nida49
  • Members
  • 456 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 March 2008 - 03:46 PM

ได้อ่านบทความที่ดี มีความรู้ สำหรับผู้ที่มาภายหลัง ไม่มีโอกาสได้ร่วมบุกเบิกในรุ่นนั้น น่าปลื้มมากเมื่อเวลามาถึงวันนี้

ขออนุโมทนาบุญกับทุกบุญเจ้าของกระทู้ ด้วยค่ะ



#25 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 26 May 2010 - 12:26 PM

กรณี mv บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีคนตั้งข้อสงสัยหรือกล่าวหาว่า

วัดพระธรรมกาย นำธรรมะมาบิดเบี้ยว เพราะมีการใช้ถ้อยคำ อธิบาย ยกตัวอย่างไม่ชัดเจน

เช่น ภาวนามัย คือ การนั่งสมาธิ
คือ มีพุทธศาสนิกชนหลาย ๆ ท่าน มองว่า การเจริญภาวนา ไม่ใช่การนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว
แบบว่า การนั่งสมาธิ ไม่ช่วยให้หมดกิเลส ได้แค่ความสงบใจ เท่านั้น
เท่าที่เคยดูวิดิทัศน์ นี้



เห็นว่าเป็นเรื่องการสอนคุณธรรม ให้ยุวชน เยาวชน เพื่อเด็ก โดยเด็กด้วยกัน
ดังนั้นการใช้ถ้อยคำ ความหมาย อาจไม่ตรง ๑๐๐ % กับตำราวิชาการทางพุทธศาสนา
แต่ถ้อยคำง่าย ๆ แบบนี้ ก็ทำให้เด็กเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ การทำความดี โดยนัยยะบุญกิริยาวัตถุ ๑๐

ผมคิดว่า ไม่ใช่ความผิดมหาศาล อย่างที่ใครกล่าวหาหรอกครับ
ลองนึกดูสิครับ ว่าการเรียนการสอนความรู้ต่าง ๆ ที่มีในโลก
เมื่อนำมาสอนเด็ก ยุวชน เยาวชน ก็มักมีการปรับภาษา ถ้อยคำ คำแปล ความหมาย
ให้ง่ายแก่ความเข้าใจของเด็ก ๆ
เช่น
ถ้าใครเคยดูภาพยนต์ เรื่อง Jurassic Park ที่มีการอธิบายเรื่อง DNA
ซึ่งเป็นความรู้ที่ซับซ้อน มีศัพท์เฉพาะทางวิชาการที่เข้าใจยาก

แต่เมื่อนำมาอธิบายให้เด็ก เขาก็ยังใช้ศัพท์เฉพาะทางวิชาการให้น้อย
และเพิ่มถ้อยคำง่าย ๆ ที่เด็กพอจะเข้าใจตามได้บ้าง +
การใช้การ์ตูน animation ประกอบด้วย

การใช้ถ้อยคำง่าย ๆ + ศิลปะการสื่อสารแบบนี้ เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้กับเด็ก ๆ มากนะครับ

ดังนั้นผมจึงคิดว่า วิดิทัศน์ สอนการทำความดี เรื่อง บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ เหมาะสมกับเด็ก ๆ แล้วครับ

ขนาดความรู้ในเชิงวิชาการ วิทยาศาสตร์ทางโลก เขายังฉลาดเลือกใช้ถ้อยคำ ภาษา
ที่เด็ก ๆ จะเข้าใจตามได้ง่าย

แล้ว ความรู้ในทางพระพุทธศาสนา เล่าครับ
เป็นเรื่อง การกระทำ ทางกาย วาจา ใจ
เป็นเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์
เป็นเรื่องนามธรรม ที่ลุ่มลึกซึ้งไปตามลำดับ

ถ้าจะสอนศีลธรรม คุณธรรมให้เด็ก ผมคิดว่า

๑ ) สมควรเลือกใช้ถ้อยคำที่ง่ายต่อความเข้าใจตามของเด็ก

๒ ) สมควรมีภาพการ์ตูน ประกอบการเรียนธรรมะ
ก็ยิ่งสร้างฉันทะในการเรียนรู้และเด็กจะเข้าใจตามได้ง่าย

๓ ) ยิ่งสมควรให้เด็ก ดำเนินรายการ ถ่ายทอดความรู้นั้นๆ ให้เด็กด้วยกันเอง
ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพครับ เพื่อให้เด็กเป็นต้นแบบที่ดี ให้เด็กด้วยกัน

เหมือนยุคนี้ หากจะแก้ไขปัญหาเยาวชน
ก็ควรให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมพูด ร่วมทำ ร่วมรณรงค์ ฟื้นฟูศีลธรรม ประเพณี วัฒนธรรม
ไม่ใช่มีแต่ผู้ใหญ่ กำนัน อบต. รมต. มาคิด มาพูด มาตั้งกฎเกณฑ์ กันเอง
แล้วสั่งให้เด็กต้องทำอย่างนั้น อย่าทำอย่างนี้

กลับมาที่การเลือกใช้ถ้อยคำ ภาษา ในการอธิบายความรู้ให้เด็ก ๆ ต่อนะครับ

ยกตัวอย่าง ถ้าคุณจะสอนลูก หลาน หรือเด็ก ๆ ว่า

จักรวาล คือ อะไร
มนุษย์เกิดมาจากไหน อย่างไร

ถ้าคุณตอบ อธิบายโดยใช้คำศัพท์เฉพาะทางวิชาการทั้งหมด
ก็คงยากต่อความเข้าใจของลูก หลานของคุณ

เชื่อว่าคุณก็คง เลือกใช้ถ้อยคำ ภาษาง่าย ๆ ในการอธิบาย ใช่ไหมครับ

หรือหากอธิบายเรื่องทางศาสนาให้ ลูก หลาน / เด็ก ๆ
เช่น เรื่องไม่ควร/งดเว้น การประพฤติผิดในกาม

ถามว่า คุณจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร จะเปิดตำราทางพุทธศาสนามากาง
แล้วอธิบายตามตัวหนังสือ หรือไม่ครับ

ดังนั้นการสอน การอธิบายเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
ข้อ ภาวนามัย คือ การนั่งสมาธิ

ผมก็เห็นด้วยว่า คำว่า ภาวนามัยนั้น มีความหมายลึกซึ้งกว่า คำว่า นั่งสมาธิ

แต่สำหรับการอธิบายให้เด็กพอเข้าใจ
ผมคิดว่า
ภาวนามัย คือ การนั่งสมาธิ
เป็นถ้อยคำที่เหมาะสมในการสอนเด็กแล้วครับ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#26 ธาตุล้วนธรรมล้วน

ธาตุล้วนธรรมล้วน
  • Members
  • 255 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2010 - 10:09 PM

กระทู้ดีๆแบบนี้ ต้องตรึงหมุดไว้นะครับ

เวปบอดร์ DMC ต้องมีระบบนี้บ้างนะครับ

ทั้งระบบเจ้าของกระทู้ล็อกกระทู้เอง และตรึงหมุดกระทู้ที่สำคัญเพื่อให้คนเข้ามาอ่านศึกษา

ต้องปรับปรุงนะครับ ไม่รู้ว่าจะแจ้งตรงไหน กับใครดีครับ ฝากไว้ด้วยความเคารพนะครับ อิอิ biggrin.gif


ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ

ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ

เราตถาคต คือธรรมกาย

#27 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 September 2010 - 01:00 PM

เพิ่มเติมข้อมูลไว้ศึกษา
เพราะมีคำถามใหม่

ต่อเนื่องจาก ความคิดเห็น #23

ขอภัยทาน เจ้าของกระทู้ ที่คคห.ก่อน ดูเหมือนไม่ได้ตอบคำถามตรง ๆ
ที่ว่า
@@แม่ชีปัดระเบิดไปลงญี่ปุ่น2ลูกนี่แม่ชีไม่บาปหรอครับ คนตายเป็นแสนเลยนะนั่นน่ะ @@

ประเด็นเรื่องชาวญี่ปุ่น ตายเรือนแสน หรือหลายแสนชีวิต
ในเหตุการณ์ที่เมือง ฮิโรชิมาและนางาซากิ โดนระเบิดนิวเคลียร์
เมื่อ ๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ( ราวปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ )

มีใครตั้งข้อสงสัย ถึง แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง กระทำปาณาติบาต ในครั้งนั้นหรือไม่
ผมมีข้อคิด ให้พิจารณาโดยย่อดังนี้ครับ


แม่ชี จันทร์ อดีตลูกสาวชาวนา จาก นครไชยศรี ท่านอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้นะครับ
ถือว่า ท่านเป็นคนบ้านนอกจริง ๆ
ดังนั้นเรื่องประเทศญี่ปุ่น อยู่ตรงไหน เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ สำคัญอย่างไร
ความเสียหายมีผลต่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ จะยุติหรือรุนแรงกว่าเดิมอย่างไร
ท่านจะทราบหรือ ?


แม่ชี จันทร์ เข้าบางกอกก็เพื่อเรียนธรรมปฏิบัติกับหลวงพ่อ สด จันทสโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ
เพราะได้ยินเพื่อนบ้านนครไชยศรี ที่เข้าบางกอก ทราบกิตติศัพท์ว่า
หลวงพ่อ สด สอนสมาธิ เข้าถึงธรรมกาย ไปนรก สวรรค์ได้
ท่านจึงอยากเข้าบางกอก ไปเรียนธรรมปฏิบัติกับหลวงพ่อ สด
โดยหวังว่า จะตามหาพ่อ ที่ตายไปแล้ว เพื่อขอขมาพ่อ เพราะก่อนพ่อตาย ท่านยังไม่ได้ขอขมาลาโทษ ตามประเพณี


แสดงว่า แม่ชี จันทร์ จิตใจดีมากพอสมควรนะครับ
ข้อน่าคิด คือ
ท่านเป็นสตรี อยู่บ้านนอกมา ๒๖ ปี ไม่เคยจากครอบครัวมาก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่รู้กำหนดว่าต้องใช้เวลากี่เดือนกี่ปี
จึงจะนั่งสมาธิไปนรกสวรรค์ตามหาพ่อที่ตายไปแล้วได้

แสดงว่า แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง
มีจิตใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็งมาก เป็นคนกล้าตัดสินใจ รู้จักตัดใจไม่อาลัยอาวรณ์
มีความมั่นใจในตนเองสูง มั่นใจว่า ตนเองไม่ไปตายดาบหน้า แต่จะไปโตดาบหน้า
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าที่จะเลือกเส้นทางชีวิตให้ตนเอง กล้าลิขิตชีวิตด้วยตนเอง
ที่ควรยกย่อง

ท่านเป็นชาวนาฐานะดี แต่ไฉนต้องยอมถึงขนาด เป็นคนรับใช้ผู้อื่นด้วย
ถ้าเป็นเราล่ะ จะยอมหรือ ?
ที่ต้องไปคอยรับใช้ใครก็ไม่รู้
แสดงว่า ท่านมีอุดมการณ์มั่นคง ยอมทุกอย่างเพื่อเป้าหมายสำเร็จสมปรารถนา

แล้วที่สำคัญ
โอกาสจะได้เรียนธรรมะจะมีหรือไม่
เพราะธรรมดาเจ้าของบ้าน มักชอบใช้งานลูกจ้างให้มากที่สุด
ยอมให้มีเวลาว่างน้อยที่สุด แม้ทำงานดูแลบ้านเสร็จ ก็ไม่แน่ว่าจะเปิดโอกาสให้ลูกจ้างไปเรียนธรรมะกับตน

แสดงว่า
แม่ชี จันทร์ ต้องเป็นคนขยัน ซื่อสัตย์ อดทน รู้จักยอมคน เอาใจผู้อื่นสารพัด เพื่อให้งานสำเร็จ
ด้วยความเป็นคน ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ทำงานได้ดีเป็นที่พอใจ จนเจ้าของบ้านเอ็นดู
ไว้วางใจได้เรียนธรรมะพร้อมเจ้าของบ้านในที่สุด

ด้วยความขยันเหนื่อยทั้งทำงานดูแลบ้านอย่างดี หมั่นเพียรฝึกฝนนั่งสมาธิเจริญภาวนาจนบรรลุธรรม
ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ไปตามหาพ่อในปรโลก ความใฝ่ฝันท่านสมปรารถนา

ราวปีพ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านบวชเป็นแม่ชี อยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
มีหน้าที่หลักคือ นั่งสมาธิเจริญภาวนา
จวบจนหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ มรณภาพเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒


ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ช่วงมีการทิ้งระเบิดปรมณูที่เมือง ฮิโรชิมาและนางาซากิ
เมื่อ ๖ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ( ราวปีพุทธศักราช ปีพ.ศ. ๒๔๘๘ )

แม่ชีจันทร์ อายุ ประมาณ ๓๖ ปี (เกิด ๑๙ มกราคม ปีพ.ศ. ๒๔๕๒ )
โกนผมแบบนักบวช ออกจากเรือน เมื่อราว ปีพ.ศ. ๒๔๘๐
รักษาศีล ๘ เป็นปรกติ และเรียนธรรมปฏิบัติกับหลวงพ่อสด มาได้ ประมาณ ๘ ปี
ท่านอยู่ในศีล ในธรรม มาระยะหนึ่งแล้ว

ดังนั้นเรื่องการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ โดยเฉพาะการฆ่ามนุษย์ หรือการทำให้มนุษย์ตายเรือนแสนชีวิต
ท่านจะทำหรือครับ ?

เคยทราบจากประวัติของท่านว่า
แม้ตัวเรือด ที่เข้ามาในมุ้ง กัดท่านเจ็บ ๆ ท่านก็ไม่ได้โกรธ ไม่ได้ฆ่าให้ตาย แต่ใช้วิธีเอาแก้วมาครอบ จับใส่กระป๋อง
แล้วนำไปปล่อย
แสดงว่า จิตใจท่าน ไม่ได้โหด อำมหิต อะไร แถมยังเอื้ออารีต่อชีวิตสัตว์เล็กสัตว์น้อย

ดังนั้นเรื่อง ปาณาติบาต ชีวิตมนุษย์เรือนแสน
จะมีเจตนาในการฆ่ามนุษย์เรือนแสน หรือครับ

ปาณาติปาตา เวระมะณี มีองค์ ๕

ปาโณ สัตว์มีชีวิต
ปาณะสัญญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
วะธะกะจิตตัง มีจิตคิดจะฆ่า
อุปักกะโม พยายามเพื่อจะฆ่า
เตนะ มะระณัง สัตว์ตายด้วยความเพียรนั้น
พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ จึงขาดจากปาณาติบาต.ฯ


แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ สด จันทสโร
ซึ่งท่านเป็นภิกษุ เป็นสมณะในพระพุทธศาสนา
เรื่องโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านย่อมศึกษามาแล้ว
โดยเฉพาะในข้อ

น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

และเท่าที่ทราบมา หลวงพ่อ สด จันทสโร อดีตเจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ท่านบวชพระอุทิศชีวิต ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาทั้งปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม มาตลอดชีวิต
เป็นที่ยอมรับในสังฆมณฑล ในสมัยนั้นกระทั่งสมัยนี้ ว่า
หลวงพ่อ สด จันทสโร เป็นพระสุปฏิปันโน

ดังนั้นถ้าแม่ชี จันทร์ ปัดลูกระเบิดแล้ว มีมนุษย์ตายเรือนแสน
หลวงพ่อ สด ท่านจะไม่ทราบหรือ ?
ไม่ตำหนิหรือ ?
ไม่ไล่ออกจากวัดปากน้ำฯหรือ ?
( ทราบว่า แม่ชี จันทร์ ได้อยู่วัดปากน้ำ กระทั่งหลวงพ่อสด ท่านละสังขาร และอยู่ต่ออีกกว่าสิบปี ก่อนที่มาสร้างศูนย์พุทธจักรฯ)

หรือใครคิดว่า ท่านสมรู้ร่วมคิดกับลูกศิษย์ หรือท่านสั่งการซะเอง

ที่จริง ในอาคารภาวนาของวัดปากน้ำฯ สมัยนั้น ไม่ได้มีแม่ชี จันทร์ นั่งสมาธิอยู่ลำพังคนเดียว
เท่าที่เคยทราบ มีหมู่สงฆ์ โดยมีหลวงพ่อ สด และแม่ชีหลาย ๆ ท่าน รวมแล้วคงมีหลายสิบชีวิต
ดังนั้นถ้าแม่ชี จันทร์ ปัดลูกระเบิดแล้ว มีมนุษย์ตายเรือนแสน
จะไม่มีผู้ทรงศีล ท่านใด ทักท้วง ห้ามปรามบ้างเชียวหรือ ?


วิบากของการเบียดเบียน ถึงฆ่า ทำลายชีวิตมนุษย์และสัตว์
ย่อมมีโรคภัยเบียดเบียนและอายุสั้น ชีวิตสั้น ตายไว ทรมานมาก ๆ
โดยเฉพาะ การฆ่า(หรือมีส่วนในการฆ่า) มนุษย์ถึงเรือนแสน ถือว่าสร้างคุรุอกุศลกรรม ครั้งใหญ่เลยนะครับ

แต่ที่ทราบมา
แม่ชี จันทร์ อายุถึง ๙๓ ปี
ระหว่างมีชีวิตหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
ท่านอยู่ในศีล ในธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้รับความครพนับถือมาตลอด
ท่านก็ละสังขารด้วยอาการสงบ

ดังนั้น ถ้าท่านเคยฆ่า(หรือมีส่วนในการฆ่า) มนุษย์ถึงเรือนแสน
อย่างที่ใครเข้าใจเอง หรือโยงกันมั่ว ๆ

ชีวิตของท่าน หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกราว ๕๔ ปี น่าจะเจอเรื่องร้าย ๆ มิใช่หรือ
แสดงว่า แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ท่านรักษาศีล ได้สะอาด ดีงามมาตลอดชีวิตนะครับ

อานิสงส์ของศีลสิกขาบทที่ ๑
ผู้รักษาศีลข้อ ๑ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยดี ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย
จากโลกนี้แล้วไปสู่สุคติ ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้อานิสงส์ ๒๓ ประการ คือ
มีร่างกายสมประกอบไม่พิการ,
มีรูปร่างสูงต่ำพอสมส่วน, มีเชาว์ว่องไว, มีเท้าถูกส่วนเหมาะเจาะ, มีท่าทางสง่าราศี,
มีองคาพยพสะอาดปราศจากตำหนิแผลไฝ, มีลักษณะอ่อนละมุนละม่อน, มีความสุขสมบูรณ์,
มีลักษณะกล้าหาญ, มีกำลังมาก, มีถ้อยคำสละสลวยเพราะพริ้ง, มีบริษัทที่ใครๆ จะทำลายไม่ได้,
มีลักษณะไม่สะดุ้งตื่นเต้นตกใจ, ไม่มีศัตรูคิดทำร้ายได้, ไม่ตายด้วยความเพียรของคนอื่น,
มีบริวารอยู่ทุกแห่งหน, มีรูปสวยงาม, มีทรวดทรงงาม, มีความเจ็บไข้น้อย, ไม่มีเรื่องเศร้าใจ,
เป็นที่รักของชาวโลก, ไม่พลัดพรากจากผู้คนและสิ่งที่รักที่ชอบใจ, มีอายุยืน

โพสท์ในพันทิป หมวดศาสนา โดยคุณ : ebusiness - [ 4 พ.ค. 48 ]

จากตัวอย่างข้อสังเกตุ ข้อคิดที่บอกมานี้
โดยส่วนตัว ผมไม่เชื่อว่า แม่ชี จันทร์ ทำปาณาติบาต มีส่วนฆ่ามนุษย์เรือนแสน

ดังนั้น บาป จึงไม่สมควรมีแก่ท่านนะครับ
ส่วนว่าท่านใด จะคิดเห็นอย่างไร ในประเด็นนี้หรือประเด็นใด ๆ
เชิญตามอัธยศัย ครับ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#28 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 15 November 2010 - 07:27 AM

ขอเพิ่มกระทู้ที่เกี่ยวข้อง กรณีแม่ชีปัดระเบิดใรสงครามโลกครั้งที่ ๒
ที่มีเพื่อนกัลยาณมิตร ร่วมแสดงความคิดเห็นที่ควรศึกษา พิจารณา ไว้ในกระทู้นี้ด้วยครับ
อนุโมทนา กัลยารมิตรทุกท่านในกระทู้ตัวอย่างนี้ด้วยครับ

เขาว่าคุณยายแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง ขนระเบิดไปทิ้งทะเลจริงไหม, ตอนสงครามโลกครั้งที่2
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=6015

คุณยายอาจารย์, ปัดระเบิด
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=4110

เรื่องของคุณยาย, เกี่ยวกับเหตุการณ์ตอนสงครามโลก
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=24167


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#29 skynoi

skynoi
  • Admin
  • 603 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 March 2015 - 03:44 PM

วัดพระธรรมกายในทัศนะของนักข่าวผู้ไปเจาะลึก! (และไม่ประสงค์ออกนาม)

http://arsramsiyaray...log-post_4.html


การกล่าวหาว่า "พระธัมมชโย"(เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย)ปาราชิก เข้าข่ายหมิ่นพระบรมราชวินิจฉัยหรือไม่?



#30 vividu

vividu
  • Members
  • 716 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Seattle, WA
  • Interests:Meditation

โพสต์เมื่อ 10 March 2015 - 06:42 AM

I don't know if I should anumotana or be against. My Thai is weak. But I will come back to reread bit by bit. So I remain neutral. Kob pra koon of Witayatan and Dhammatan from all of you who posted here. Rejoice in the merit.


8-)