ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

หุ่นยนต์ บำบัดโรค


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
ไม่มีการตอบกลับในกระทู้นี้

#1 phani

phani
  • Admin_Article_VDO
  • 425 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 20 September 2014 - 10:59 AM

หุ่นยนต์ บำบัดโรค
 
แนบไฟล์  Untitled-3.jpg   85.65K   24 ดาวน์โหลด

 

หุ่นยนต์เสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก คว้าแชมป์ประกวดสุดยอดไอเดียหุ่นยนต์การแพทย์

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า หลังจากที่ TCELS ได้จัดโครงการประกวดสุดยอด ไอเดียหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ภายใต้ชื่อ "i,MedBot 2014 : Bring Life, Brighten the World" โดยได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจไม่จำกัดเพศ วัย อายุ และการศึกษา ทั้งประเภทเดี่ยวและประเภททีม ส่งแนวคิดหุ่นยนต์ทางการแพทย์นั้น ปรากฎว่ามีผู้ส่งแนวคิดเข้าประกวดถึง 47 แนวคิด ซึ่งมีทั้ง วิศวกร นักออกแบบ นักวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักออกแบบ ตลอดจนถึงประชาชนทั่วไป

 

แนบไฟล์  43747.jpg   56.63K   21 ดาวน์โหลด

 

ดร.นเรศ กล่าวว่า คณะกรรมการรอบคัดเลือกได้พิจารณาข้อเสนอแนวคิดจากทั้งหมด 47 ทีมและคัดเลือก 10 ทีมเพื่อมานำเสนอแนวคิดในรอบชิงชนะเลิศ  เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศอีก 2 ทีม ซึ่งผลการตัดสินทีมชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม AIM Lab Mahidol จากแนวคิดหุ่นยนต์เสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติค รับเงินรางวัล 150,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม BIE KMUTT จากแนวคิด Swarm robot of autism รับเงินรางวัล 100,000 บาท และ รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Vioteche จากแนวคิดอุปกรณ์ฆ่าเชื้อช้อน-ส้อมอัตโนมัติ  รับเงินรางวัล 50,000 บาท

 

 

อย่างไรก็ตาม ดร.นเรศ กล่าวว่า แม้จะมีเพียง 3 ทีมที่ได้รับรางวัลไปในครั้งนี้ แต่ทีมที่เข้ารอบทั้ง 10 ทีม จะได้รับการผลักดันจาก TCELS ในการช่วยประสานผู้ประกอบการให้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับเจ้าของแนวคิด เพื่อขยายผลไปสู่ธุรกิจ ทั้งนี้เนื่องจากในทุก ๆ แนวคิดที่นำเสนอมา ล้วนสามารถต่อยอดไปสู่การใช้งานจริงได้ทั้งสิ้น

 

แนบไฟล์  jook.jpg   61.06K   22 ดาวน์โหลด

 

สำหรับหุ่นยนต์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติกนั้น เจ้าของแนวคิดคือ ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติและทีมวิจัย เห็นถึงปัญหาของเด็กออทิสติกที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับจำนวนนักบำบัดที่มีอยู่ ส่งผลให้เด็กมีภาวะออทิศติก สเปกตรัมบางคนอาจอาจได้รับโอกาสในการบำบัดหรือปรับพฤติกรรมไม่สม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงได้เกิดแนวคิดในการนำหุ่นยนต์เสริมกระตุ้นพัฒนาการขึ้นมา โดยมีบทบาทเป็นของเล่น เพื่อนเล่น  เป็นครูผู้สอนทักษะหรือพฤติกรรมทางสังคมให้กับเด็กออทิสติก หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นฯ ดังกล่าวมีทั้งสิ้น 4 ตัว ด้วยกัน คือ หุ่นยนต์ช่างทำ เน้นการฝึกทักษะด้านการเลียนแบบ หุ่นยนต์ตัวที่สองและสาม คือ หุ่นยนต์ช่างพูด และช่างคุย เน้นฝึกทักษะการพูด หุ่นยนต์ตัวสุดท้าย คือ หุ่นยนต์ฟ้าใส ที่ได้รวมทุกฟังก์ชันของหุ่นยนต์ 3 ตัวแรกเข้าไว้ด้วยกัน จึงสามารถเป็นเครื่องมือในการฝีกการเลียนแบบและฝึกทักษะการพูด รวมถึงการปรับพฤติกรรมเด็กไปในระหว่างการฝึกต่าง ๆ

 

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ TCELS Hotline 02-6445499 หรือ ที่ http://imedbot.tcels.or.th