ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

จงรักภักดี จัดเป็นความกตัญญูหรือไม่


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 usr21582

usr21582
  • Members
  • 71 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 09:13 AM

เคยฟังธรรมเกี่ยวกับ ความกตัญญู แล้วหลวงพ่อก็กล่าว ว่าความจงรักภักดี ต่อกษัตริย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของความกตัญญูรู้คุณ

แบบนี้ใช่หรือไม่ครับ?

#2 ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
  • Members
  • 2511 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 10:24 AM

รู้คุณ ส่วนรู้คุณ
ความเชื่อที่เขาบอกต่อๆ กันมา ก็ส่วนความเชื่อ

แยกแยะให้ออก แล้วเราจะไม่หลงงมงาย ทำตามๆ กันไปโดยขาดปัญญา
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)


#3 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 10:27 AM

ความกตัญญู หมายถึง รู้ถึงอุปการคุณที่ผู้อื่นที่กระทำแก่ตน และ พยายามที่จะตอบแทนบุญคุณนั้น

เราคงรู้ดีกันอยู่แล้ว ถึงวิธีที่จะแสดงความกตัญญูต่อ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ หรือ บุคคลที่อยู่รอบๆตัวเรา

แต่ สิ่งที่อยู่ไกลตัวของเราออกไป แต่ มีบุญคุณต่อเรา อย่างหาที่สุดมิได้ ก็คือ

ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์

ซึ่ง 3 อย่างนี้ เป็นสิ่งที่เรา อาจจะไม่สามารถ ที่จะตอบแทนในรูปของ สิ่งของ เงินทอง หรือ สิ่งอื่นใด

ที่สามารถกระทำได้เหมือนอย่างเช่น บุคคลที่อยู่รอบข้างเรา

ดังนั้น ที่เราพอจะทำได้ (ตามความเข้าใจของ koonpatt นะคะ) คือ

1. ชาติ การเสียภาษี ความสามัคคี การช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติเดียวกัน ตามโอกาส และ ตามสมควร (ดังที่เราทำกันอยู่เสมอ) เช่น เกิดอุทกภัย เกิดภัยธรรมชาติที่ใด เราก็ส่งความช่วยเหลือไปให้ในรูปแบบต่างๆ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล เป็นต้น การทำหน้าที่การงานของเราอย่างเต็มที่ คนที่รับราชการ ก็มีความประพฤติดี ประพฤติชอบ ไม่ทุจริต คอรัปชั่น ผู้ที่ตำรวจก็บำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาราษฎร์ ทหารทำหน้าที่ปกป้อง และ รักษาอธิปไตยของประเทศ ประชาชนก็ไม่ทำลายสาธารณะสมบัติ รักษาความสะอาด ฯลฯ ทุกอย่างที่เราทำได้ โดยหน้าที่พลเมืองที่ดี นั่นคือ ความกตัญญูต่อชาติ

2. ศาสนา อันนี้คงไม่ต้องขยายความมาก เพราะ ทุกท่านคงรู้ดีอยู่แล้ว ก็คือการเป็นพุทธมามกะ ที่ดี
ทำนุ บำรุง พระศาสนา ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี นั่นก็เป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระศาสนา

พุทธมามกะ แปลว่า ผู้ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นของเรา หมายถึงผู้ประกาศตนว่าขอถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ หรือผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา

3. พระมหากษัตริย์ แล้วเราจะแสดงความกตัญญูต่อ พระองค์ได้อย่างไร พระองค์ท่านทรงปกครองประเทศโดยทศพิธราชธรรม ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศานา ทรงส่งเสริมการศึกษา อาชีพ และอื่นๆ อีกมากมายเหลือประมาณ ซึ่งเราอาจจะไม่ได้รับจากท่านโดยตรง แต่หากประเทศขาดพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาแล้ว ประเทศจะอยู่ได้อย่างไร ดังนั้น วิธีที่เราจะแสดงความกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ ของเรา ก็คือ ความจงรักภัคดี การรับเอาพระราชดำรัสของพระองค์ มาปฏิบัติตาม ซึ่งถ้าทุกท่าน ได้ฟัง หรือ ได้อ่าน พระราชดำรัสของพระองค์ท่านแล้ว จะรับทราบได้ถึงความหวังดี และ เมตตา ของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยเสมอมา

ดังนั้น การแสดงความกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ ที่เราทุกคนสามารถกระทำได้

โดยไม่เหลือบ่ากว่าแรงเลย คือ ความจงรักภักดีค่ะ

ขยายความ



ความจงรักภักดี หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม แล้วจะเห็นได้ว่า หมายถึงความผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือ หรือรู้คุณอย่างยิ่ง

ทศพิธราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม 10 คือ

จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้

ทศพิธราชธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ราชธรรม 10" นี้ ปรากฏอยู่ในพระสูตร ขุททกนิกาย ชาดก ปรากฏพระคาถา ดังนี้

ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ.


ขุ.ชา.28/240/86


ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการ ดังนี้

1. ทาน (ทานํ) การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย

2. ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา

3. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

4. ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

5. ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

6. ความเพียร (ตปํ) หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

8. ความไม่เบียดเบียน (อวีหึสา) การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

9. ความอดทน (ขันติ) การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย

10. ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ



มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู


ค น ต า บ อ ด ย่ อ ม ม อ ง ไ ม่ เ ห็ น โ ล ก
แ ม้ ด ว ง อ า ทิ ต ย์ จ ะ ส่ อ ง ส ว่ า ง อ ยู่ ฉั น ใ ด
ค น ใ จ บ อ ด ย่ อ ม ม อ ง ไ ม่ เ ห็ น พ ร ะ คุ ณ
แม้ จ ะ ไ ด้ รั บ ค ว า ม เ ม ต ต า ก รุ ณ า จ า ก ผู้ มี อุ ป ก า ร คุ ณ ฉั น นั้ น


ค ว า ม ก ตั ญ ญู คื อ อ ะ ไ ร ?


ความกตัญญู คือความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตามน้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดู สั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย

อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึงความรู้บุญหรือรู้อุปการะของบุญ ที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลาย ได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้นเลย และตั้งใจสร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

รวมความแล้ว กตัญญูจึงหมายถึงการรู้จักบุญคุณ อะไรก็ตามที่เป็นบุญหรือมีคุณต่อตนแล้ว ก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย คนมีกตัญญูถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจของเขาใสกระจ่างยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์รวมกันเสียอีก


สิ่ ง ที่ ค ว ร ก ตั ญ ญู

สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญู คือทุกสิ่งที่มีคุณแก่เรา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๕ ประการ ได้แก่

กตัญญูต่อบุคคล

คือใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมาก น้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้ง พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก

ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ

กตัญญูต่อสัตว์

คือสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน ขณะเดียวกันต้องเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยาก ให้ได้กินได้นอนได้พักผ่อนตามเวลา ตัวอย่างในเรื่องกตัญญูต่อสัตว์นี้มีอยู่ว่า

ในสมัยก่อนพุทธกาล วันหนึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์เสด็จประพาสอุทยาน และได้บรรทมหลับในอุทยานนั้น ขณะนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและกำลังจะฉกกัดพระองค์ เผอิญมีกระแตตัวหนึ่งเห็นเข้าแล้วร้องขึ้น พระองค์จึงสะดุ้งตื่นและไล่งูให้พ้นไป ทรงระลึกถึงคุณของกระแตว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ จึงรับสั่งให้พระราชทานเหยื่อแก่กระแตในอุทยานนั้นทุกวัน และห้ามไม่ให้ใครทำอันตรายแก่กระแตในอุทยานนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกอุทยานนั้นว่า เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน แปลว่า ป่าไผ่อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ซึ่งต่อมาก็คือ เวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานั่นเอง

กตัญญูต่อสิ่งของ

คือของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลน ไม่ทำลาย

ตัวอย่างเช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าของตั้งตัวได้ ร่ำรวย ขึ้นก็ไม่ทิ้ง ยังคิดถึงคุณของไม้คานอยู่ ถือเป็นของคู่ชีวิตช่วยเหลือตนสร้างฐานะมา จึงเลี่ยมทองเก็บไว้เป็นที่ระลึก ไว้เป็นเครื่องเตือนใจ อย่างนี้ก็มี

มีกล่าวไว้ในเตมียชาดกว่า

“อย่าว่าถึงคนที่เราได้พึ่งพาอาศัยกันเลย แม้แต่ต้นไม้ที่ได้อาศัยร่มเงา ก็หาควรจะหักกิ่งริดก้านรานใบของมันไม่ ผู้ใดพำนักอาศัยนั่งนอนใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดแล้ว ยังขืนหักกิ่งริดก้านรานใบ เด็ดยอด ขุดรากถาก เปลือก ผู้นั้นชื่อว่าทำร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้าเลวทราม จะมีแต่อัปมงคล เป็นเบื้องหน้า”

กตัญญูต่อบุญ

คือรู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์กระทั่งไปนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อม ในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

กตัญญูต่อตนเอง

คือรู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะใช้อาศัยในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงทะนุถนอมดูแลร่างกาย รักษาสุขภาพให้ดี ไม่ ทำลายด้วยการกินเหล้า เสพสิ่งเสพย์ติด เที่ยวเตร่ดึกๆ ดื่นๆ และไม่นำร่างกาย นี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ อันเป็นการทำลายตนเอง


ค ว า ม ก ตั ญ ญู จ ำ เ ป็ น อ ย่ า ง ไ ร ใ น ก า ร ส ร้ า ง ค ว า ม ดี ?

การที่คนเราจะมีความคิดใฝ่ดี ตั้งใจทำความดีสร้างสมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาความตั้งใจที่ดีนั้นไว้ โดยไม่ท้อถอยไม่เลิกกลางคัน เพราะในการทำความดีย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาขัดขวางมากมาย ไหนจะปัญหาภายนอกจากคนรอบข้าง จากสิ่งแวดล้อม ไหนจะปัญหาภายในจากกิเลสรุมล้อมประดังกันเข้ามา เราจะเอาตัวรอด ยืนหยัดสู้ปัญหาทั้งหลายที่เข้ามาผจญได้โดยไม่ท้อถอย ก็ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวใจไว้ นั่นคือความกตัญญู

ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ แม้จะยากแสนยาก ท้อถอยจะเลิกเสียก็หลาย ครั้ง เพื่อนฝูงบางคนชวนไปเที่ยวเตร่เฮฮา ดูน่าสนุกกว่ามาก แต่เมื่อนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดว่าท่านอุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่ ลำบากลำบนในการทำมาหากิน เพื่อส่งเสียให้เราได้เล่าเรียน ท่านฝากความหวังไว้กับตัวเรา อยากเห็นตัวเราได้ดีมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต พอคิดได้เท่านี้ ความกตัญญูก็จะเกิดขึ้น มีแรงสู้ มีกำลังใจ แม้จะยากแสนยาก แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อย ก็กัดฟันสู้มุมานะ ตั้งใจเรียนให้ดีให้ได้ ไม่ยอมประพฤติตัวไปในทางเสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล ให้คุณพ่อคุณแม่ครูบาอาจารย์ได้อายโดยเด็ดขาด

แม้ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ตั้งใจจะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา แน่นอนว่าในการทำงานนั้น จะต้องมีการกระทบกระทั่งกัน คนเราหลายคนก็หลายความเห็น ต่างคนก็ต่างตั้งใจดีกันทั้งนั้น แต่ความคิดความอ่านความสามารถอาจไม่เท่ากัน และบางครั้งก็เกิดทิฏฐิมานะ คิดไปว่า “ถึงแกจะหนึ่ง แต่ฉันก็แน่เหมือนกัน” ทำให้ไม่ยอมกัน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะต่างก็กำลังฝึกฝนตนเองอยู่ กิเลสในตัวก็ยังมี ยังไม่ได้หมดไป ดังนั้นถ้าไม่รู้จักควบคุมให้ดี จึงมีโอกาสขัดใจกันได้ หรือบางทีออกไปทำงานเผยแผ่ธรรมะ ก็พบกับคนที่ยังไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย พูดนินทาว่าร้าย เยาะเย้ยถากถางเอาบ้าง เพราะเหตุนี้จึงมีนักปฏิบัติธรรม นักเผยแผ่ธรรมะ รวมทั้งผู้ที่ตั้งใจทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมหลายๆ คน เบื่อหน่ายท้อถอย และเลิกราไปกลางคันอย่างน่าเสียดาย

แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเป็นพื้นใจแล้ว เมื่อความท้อถอย ความเบื่อหน่ายเอือมระอาเกิดขึ้น เพียงแต่นึกว่า ที่ตัวเราได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมะ รู้การสร้างบุญกุศล รู้วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ รู้บุญรู้บาปอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเสียสละ อุทิศชีวิตทุ่มเทค้นคว้า จนตรัสรู้หลักอริยสัจจ์ คือความจริงอันประเสริฐทั้งหลายมาสอนเรา เมื่อคิดถึงชีวิต เลือดเนื้อ ความเพียรพยายาม ที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทลงไป ตลอดระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปป์ ว่ามากมายมหาศาลเพียงใด (เวลากัปป์หนึ่งอุปมาได้กับมีภูเขาหินรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ กว้าง ๑๖ กิโลเมตร ยาว ๑๖ กิโลเมตร สูง ๑๖ กิโลเมตร ทุก ๑๐๐ ปี มีเทวดาเอาผ้าทิพย์บางเบา มาลูบครั้งหนึ่ง เมื่อใดภูเขาลูกนี้สึกหมด เรียบเสมอพื้นดิน ระยะเวลานั้นเท่ากับกัปป์หนึ่ง ; ๑ อสงไขย = ๑๐๑๔๐ คือจำนวนที่มีเลข ๑ และมีเลข ๐ ต่อท้าย ๑๔๐ ตัว) ตลอดจนคิดถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านอุตส่าห์ถ่ายทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อๆ กันมา และอบรมสั่งสอนให้เราได้ทราบได้รู้ถึงคำสอนของพระองค์ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก คิดเพียงเท่านี้ ความท้อถอยก็หาย ความเหนื่อยหน่ายก็คลาย แม้ความตายก็ไม่หวั่น เกิดกำลังใจที่จะทำความดีต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

ความกตัญญูจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง ที่จะประคองใจของเราให้ดำรงมั่นอยู่ในคุณธรรมอันยิ่งๆ ขึ้นไป


ก า ร มี ค ว า ม ก ตั ญ ญู

ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้

ทำให้สร้างคุณความดีใหม่เพิ่มได้อีก

ทำให้เกิดสติ ไม่ประมาท

ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ

ทำให้เกิดขันติ

ทำให้จิตใจผ่องใส มองโลกในแง่ดี

ทำให้เป็นที่สรรเสริญของคนดี

ทำให้มีคนอยากคบหาสมาคม

ทำให้ทั้งมนุษย์และเทวดาอยากช่วยเหลือ

ทำให้ไม่มีเวรไม่มีภัย

ทำให้ลาภผลทั้งหลายเกิดขึ้นโดยง่าย

ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย

ฯลฯ

“บุคคลผู้อกตัญญู ย่อมถึงอนิฏฐผล มีนินทาเป็นต้น ส่วนบุคคลผู้กตัญญู แม้พระ ศาสดา ก็ทรงสรรเสริญ” มังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ข้อ ๓๗๘ หน้า ๒๙๓

จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#4 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 12:18 PM

ถูกต้องครับ การจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ก็ถือเป็นความกตัญญูและเป็นการแสดงความซื่อสัตย์อย่างหนึ่งครับ ไม่ใช่แค่พระมหากษัตริย์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย ลูกน้อง แม้แต่คนในครอบครัว และผู้มีพระคุณ ก็ถือว่าเป็นความกตัญญูเช่นกัน หลายคนอาจสงสัยว่า จงรักภักดีต่อเจ้านายยังพอเข้าใจ แต่ลูกน้องต้องจงรักภักดีด้วยหรือ ในฐานะที่ผมเป็นหัวหน้างาน ผมตอบได้อย่างเต็มปากว่าสมควรอย่างยิ่ง เพราะถ้าไม่มีลูกน้องงานที่เรารับเข้ามาก็อาจจะไม่สำเร็จลุล่วงไปได้ตามที่คิด การแสดงความจงรักภักดีต่อลูกน้องก็คือการที่เรามีความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง ไม่เอารัดเอาเปรียบกับลูกน้องนั่นเองครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#5 จอมเทพ

จอมเทพ
  • Members
  • 466 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 01:14 PM

ถ้าหลวงพ่อท่านพูดมันก็จริงอยู่แล้วครับ เพราะถ้าเราไม่มีความกตัญญูอยู่ใจแล้วละก็ เราจะถวายความจงรักภัคดีต่อใครไม่ได้หรอกครับ

เพราะกษัตริย์ท่านมีพระคุณต่อแผ่นดินของเราครับ แถมยังเป้นกษตริย์ที่ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิศราชธรรมด้วยแล้วละก็ เราทุกคนก็ยิ่งควรที่จะจงรักภัคดีต่อพระองค์ท่านมิหน่ายหนีครับ
กุญแจวิเศษ

#6 Sareochris

Sareochris
  • Members
  • 207 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:-
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 19 January 2009 - 11:34 PM

ใช้หลักกาลามสูตรด้วยเสมอครับ

นั่นคือ เราต้องรู้จักพระมหากษัตริย์ ด้วยตัวเราเองอย่างแท้จริงด้วยครับ
ไม่ใช่เชื่อถือหรือไม่เชื่อถือ เพราะได้ยินตามๆกันมา

ถ้าเราจะกตัญญูต่อใคร เราก็ต้องรู้ว่า บุคคลนั้นๆดีต่อเราอย่างไร ดีจริงหรือไม่ดีจริง
การที่เราคิดแตกต่าง ไม่ใช่ว่าเราบ้าหรือผิดหรอกครับ
การมีความสงสัยและการช่างสังเกตก็เป็นลักษณะของผู้มีปัญญา เช่นกัน

เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ทรงตรัสถามพระสารีบุตรว่าเชื่อในสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสสอนไว้หรือไม่
พระสารีบุตร ท่านก็ได้ตอบไปว่า"ไม่เชื่อ"
พระภิกษุทั้งหลายได้ลุกขึ้น ต่อว่าพระสารีบุตร ที่ไม่เชื่อคำสอนของครูบาอาจารย์
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสระงับว่า"สาธุๆๆ สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญา"
แล้วจึงทรงชี้แจงแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า พระสารีบุตรนั้น เมื่อสดับฟังธรรมเสร็จแล้ว พระสารีบุตรท่านจะยังไม่ปักใจเชื่อทั้งหมด ท่านรับฟังแล้วท่านกลับไปนั่งสมาธิค้นคว้านอกรอบต่อ หลังจากทบทวนท่านจึงซาบซึ้งในพระธรรมขององค์พระชินสีห์ยิ่งขึ้นไปอีก น่นคือ สาเหตุที่ท่านได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเอตทัคคะผู้เป็นเลิศทางปัญญา

ลองคิดสิครับว่า จะมีนักเรียนอนุบาล ฝันในฝันวิทยา สักกี่คน ที่จะกลับไปเปิดอ่านพระไตรปิฎกเปรียบเทียบหลังเลิกจากที่หลวงพ่อท่านสอนแล้ว ลองกราบเรียนถาม"พระลูกชาย"กับ"อาจารย์ลูก" ท่านได้ครับ

การที่เราช่างสังเกต ตั้งคำถามและค้นคว้าประวัติศาสตร์ จะทำให้เรามีคุณธรรมของ สัปปุริสธรรม 7 นั่นคือ
-ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ นั่นคือ รู้ความเป็นมาของเหตุการณ์ต่างๆ
-ปุคคลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล นั่นคือ รู้จักตัวตนที่แท้จริงของคนๆนั้น ว่า ดีอย่างไร บกพร่องอะไร

การพิจารณาพระราชานั้น ยากครับ เราจะต้องเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริงและถูกต้องซึ่งยากมากๆครับ
เราจึงต้องกตัญญูต่อพระราชาที่ทรงทศพิธราชธรรมเท่านั้นครับ