ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ฌานกับสมาธิเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 23 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 02:03 PM

ฌานกับสมาธิเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
1.อะไรเป็นเหตุหรือปัจจัยให้ฌานทรงตัว?
2.อะไรเป็นเหตุหรือปัจจัยให้สมาธิทรงตัว?
3.ฌานและสมาธิมีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
4.อุปสรรคหรือเสี้ยนหนามของฌาน 1-4 คือ?
5.อุปสรรคของสมาธิคือ?

ท่านใดทราบช่วยตอบเป็นธรรมทานหน่อยครับสาธุ


#2 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 02:14 PM

สมาธิ = ความเร็วรถ
ฌาน = เกียร์
คนที่เก่งๆ คล่องๆ ก็เข้าฌาณ แบบ เกียร์ออโต้ ครับ ^_^ ขำขำ นะครับ

#3 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 02:24 PM

555+สู้ดยอด
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#4 ใสแจ๋ว

ใสแจ๋ว
  • Members
  • 49 โพสต์
  • Interests:ใสในใส ดับหยาบไปหาละเอียด

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 03:15 PM

สมาธิ เป็นบาทฐานเพื่อพัฒนาไปสู่ขั้นฌาณนะครับ สมาธิคือความตั้งมั่งของจิต เมื่อมีสมาธิมากเข้าจนเข้าขั้นอัปนาฯ ใจเริ่มละเอียดขึ้น เมื่อยกภูมิเข้าขั้นฌาณก็พัฒนาใจต่อไปให้เกิดองค์ฌาณ โดยแต่ละฌาณจิตจะมีอารมณ์ฌาณละเอียดไปเป็นลำดับ ตั้งแต่


ปฐมฌาณ อารมณ์คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกกัคตารมณ์
ทุติยฌาณ อารมณ์คือ ปีติ สุข เอกกัคตารมณ์ วิตกและวิจารณ์หายไป ใจละเอียดขึ้น
ตติยฌาณ อารมณ์คือ สุข เอกัคตารมณ์ ปีติหายไป ใจละเอียดขึ้น
จตุถฌาณ อารมณ์คือ เอกัคตารมณ์ และอุเบกขา แสดงว่าจิตรวมเป็นหนึ่งมีอารมณ์เดียวพร้อมด้วยการวางเฉย


ในทางวิชชาธรรมกาย เราสามารเดินฌาณสมาบัติได้ง่ายกว่าสมาธิแบบอื่น ขอเพียงเราเป็นวิชชา 18 กาย เมื่อถึงกายรูปพรหม เราจะสังเกตเห็นที่ก้นกายรูปพรหมจะมีแผ่นฌาณ 4 แผ่นรองรับอยู่ นั่นคือรูปฌาณทั้ง 4 แต่เรายังแค่เห็นยังไม่ได้เดินฌาณสมาบัติ เราประสงค์จะเดินฌาณสมาบัติเพียงเราส่งใจนิ่งไปที่ดวงธรรมในท้องเรา(กายรูปพรหม) สั่งใจเราว่าเราจะเดินฌาณสมาบัติ ทันใดนั้นแผ่นฌาณ 1 ก็เกิดขึ้น เราก็ใช้กายพรหมพิจารณ์อารมณ์ฌาณ เมื่อเกิดอารมณ์ฌาณชัดเจนแล้วเราก็เพิกฌาณ 1 ยกใจเข้าสู่องค์ฌาณ 2 แผ่นฌาณ 2 ก็มารองรับที่ก้นกายรูปพรหม แผ่นฌาณ 1 ก็หายไป แล้วจึงพิจารณาอารมณ์ฌาณที่ 2 ทำอย่างนี้จนครบฌาณ 4 สำคัญคือเราต้องพิจารณาอารมณ์ฌาณให้ได้ตรงตามตำรา


จะเห็นได้ว่าการเดินฌาณสมาบัติในวิชชาธรรมกายนั้น เราจะได้เห็นทั้งแผ่นฌาณ และได้รับรู้อารมณ์ฌาณควบคู่กันไป แผ่นฌาณเป็นพาหนะของกายนั้นๆ พาเราไปสู่ภพภูมิอื่นโดยอาศัยแผ่นฌาณ การเหาะเหิรเดินอากาศในสมัยก่อนก็เพราะเรื่องฌาณนี่แหละ การฝึกสมาธิแบบฤษีชีไพรก็สามารถทำฌาณได้แต่ไม่เห็นแผ่นฌาณได้แต่รับรู้อารมณ์ฌาณ


* กายรูปพรหมทั้งหยาบและละเอียดมีแผ่นฌาณ 4 แผ่น รองรับที่ก้นกายโดยธรรมชาติ

* กายอรูปพรหมทั้งหยาบและละเอียดมีแผ่นฌาณ 8 แผ่น คือรูปฌาณ 4 และอรูปฌาณ 4 รองรับที่ก้นกายโดยธรรมชาติ

* กายธรรมมีแผ่นฌาณทั้ง 8 แผ่นครบ แต่เราใช้กายธรรมเดินฌาณจะได้อารมณ์ฌาณละเอียดกว่า เพราะเป็นฌาณโลกุตตระ ไม่ใช่ฌาณโลกียะที่ใช้กายพรหมและกายอรูปพรหมเดินวิชชา


คำว่า "เดินฌาณสมาบัติ" ก็คือการเดินฌาณแบบอนุโลมปฏิโลมมากๆ เที่ยวนั่นเอง เรียกว่าเดินคล่องแคล่วจนเป็น วสี

จากนี้ผมจะลองตอบคำถามทีละข้อดูนะครับ

1.อะไรเป็นเหตุหรือปัจจัยให้ฌานทรงตัว?

ตอบ การขยันหมั่นเดินวิชชาโดยเอาใจจรดที่แผ่นฌาณอยู่ตลอดเวลา อารมณ์ฌาณก็จะเข้าสู่ใจเนืองๆ

2.อะไรเป็นเหตุหรือปัจจัยให้สมาธิทรงตัว?

ตอบ การขยันเอาใจจรดวิชชาที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตรงจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงปฐมมรรค ไม่เพียงแต่เกิดสมาธิทรงตัว แต่ยังทำให้เราเกิดสติ ทำให้เรามีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ก็คือดวงธรรมในท้องของเรานั่นเอง เข้าตำรา ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม เพียงแต่เราต้องประพฤติธรรมเนื่องๆ คือเอาใจไปจรดที่ศูนย์กลางกายเนื่องๆ นั่นเอง

3.ฌานและสมาธิมีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?

ตอบ ได้กล่าวไปแล้วตามข้อมูลข้างบนนะครับ สมาธิเป็นบาทฐานเพื่อพัฒนาใจให้ละเอียดไปสู่ขั้นฌาณ หรือจะละเอียดยิ่งกว่านี้ก็ย่อมได้

4.อุปสรรคหรือเสี้ยนหนามของฌาน 1-4 คือ?

ตอบ การไม่หมั่นเดินฌาณให้ขาวใสอยู่เสมอนั่นเอง ทำให้กิเลสเกาะกินใจจนฌาณเสื่อมถอยลงได้

5.อุปสรรคของสมาธิคือ?

ตอบ การไม่หมั่นพัฒนาใจ การไม่หมั่นต่อการจรดใจที่ศูนย์กลางกายนั่นเอง สมาธิจึงเคลื่อนจากศูนย์กลางกาย สมาธิจึงเสื่อมถอยลง


** อย่าลืมว่าเรายังไม่หมดกิเลส หน้าที่ของเราคือประคับประคองใจให้กิเลสเกาะกินน้อยที่สุด พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ใจนี้ประภัสสร(สว่างใส)แต่เศร้าหมองเพราะกิเลส(อุปกิเลส 10)ที่จรมา จะให้ใจสว่างใสดังเดิมก็ด้วยการหมั่นเจริญจิตภาวนา


#5 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 04:07 PM

อืมน่าสนใจครับ

ทดลองตอบดูก็ได้ครับ

ปัจจัยให้ฌาณทรงตัวคือ
อารมณ์เป็นหนึ่งเดียว (หยุดนิ่ง )

ปัจจัยให้สมาธิทรงตัวคือ
การสกัดกั้นนิวรณ์ 5 ได้

ฌาณกับสมาธิเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ฌาณคือผลของสมาธิที่ทำให้ใจหยุดนิ่งได้ระดับหนึ่ง

อุปสรรคของฌาณ 1- 4 คือ
วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข

อุปสรรคของสมาธิคือ นิวรณ์ 5


สาธุผู้ให้ธรรมทานท่านอื่นนะครับแลกเปลี่ยนความรู้กัน




หยุดคือตัวสำเร็จ

#6 laity

laity
  • Members
  • 214 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 04:46 PM

โทษทีครับ ยังปฏิบัติไปไม่ถึง หลวงพ่อบอกว่า นั่งนิ่ง ๆ สบาย ๆ ไม่เพ่ง ไม่จ้อง มีอะไรให้ดูก็ดูไป นั่ง ๆ นิ่ง ๆ สบาย ๆ

ขอคิดแค่ง่าย ๆ ก่อนแล้วกันครับ
อย่าให้อุปสรรคใด ๆ มาขัดขวางในชีวิตการสร้างบารมี และ
อย่าให้ความตั้งใจที่ดี เปลี่ยนแปลงไป กับกาลเวลา
เพราะเราไม่รู้ว่า่วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร เราอาจจะอยู่หรือตาย
สิ่งที่เอาไปได้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น ฉนั้น เราต้องอยู่กับวันนี้
วันที่เราบอกตัวเองว่า วันนี้เป็นวันที่ดีที่สุด ในวันหนึ่งของชีวิตการสร้างบารมีของเรา

โอไดบะ
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

#7 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 04:49 PM

QUOTE
สมาธิ = ความเร็วรถ
ฌาน = เกียร์
คนที่เก่งๆ คล่องๆ ก็เข้าฌาณ แบบ เกียร์ออโต้

เอ แปลว่า ถ้าฌานสูง เกียร์สูง ความเร็วรถ หรือสมาธิก็สูงตามใช่ไหมครับ
เก่งในการเข้าฌาน หรือเข้าเกียร์ เป็นวสี ทำอย่างไรหละครับ

โมทนาสาธุคุณใสแจ๋วด้วยครับ
คำถามคือ ถ้าบุคคลยังไม่สามารถเข้าถึงวิชชาเบื้องต้นหรือปฐมมรรค หรือยังไม่เข้าถึงวิชาเบื้องสูงได้ จะอธิบายถึงขั้นตอนการเข้าสมาธิ และเข้าถึงฌานแบบง่ายๆ ได้ยังงัยหละครับ

QUOTE
อุปสรรคของสมาธิคือ นิวรณ์ 5

โมทนาสาธุด้วยครับ ผมขอถามคุณทศพลต่อเลยนะครับ คือ ถ้าบุคคลยังไม่ละวางกามฉันทะหรือความยึดถือในร่างกาย มีจิตจดจ่ออยู่แน่วแน่อยู่ในกายมีสติจดจ่อในกายเนืองๆ ความรู้สึกไม่พรากจากกาย จะสามารถเข้าถึงสมาธิได้หรือไม่ครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#8 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 06:12 PM

สมาธิ ก็คือความสงบอ่ะครับ

ฌาณ คือระดับขั้นของความสงบ ว่าสงบแค่ไหน ก็เท่านั้นเองครับ ส่วนรายละเอียด อธิบายเป็นภาษาเขียนได้ยากครับ เป็นปัจจัตตัง และเป็นหนึ่งใน อจินไตย ครับ แค่อารมปฐมฌาน เห็นจำคิดรู้ หยุดรวมเป็นหนึ่งเดียว ยังพูดไม่ออกบอกไม่ถูก ว่าจะอธิบายยังไง
ป่วยการที่จะอธิบาย ไปถึงอารมฌานในระดับสูงๆ พูดไปก็เหมือน สอนตำราว่ายน้ำ แต่ไม่ได้ลงว่ายจริงๆ สอนแทบตายก็ว่ายไม่เป็นครับ

แต่ก็พออธิบายอารมฌานได้คร่าวๆ ดังที่หลายท่านได้แสดงมาแล้วน่ะครับ




#9 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 07:04 PM


ถ้าบุคคลยังไม่ละวางกามฉันทะหรือความยึดถือในร่างกาย มีจิตจดจ่ออยู่แน่วแน่อยู่ในกายมีสติจดจ่อในกายเนืองๆ ความรู้สึกไม่พรากจากกาย จะสามารถเข้าถึงสมาธิได้หรือไม่

ถ้ายังไม่ปล่อยวางในกามฉันทะ
มีความยึดถือในร่างกาย มีจิตจดจ่ออยู่แน่วแน่อยู่ในกายมีสติจดจ่อ
ในกายเนือง ๆ เนื่องจาก มีความพอใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
ย่อมไม่สามารถเข้าถึงสมาธิได้

เพราะการเข้าถึงความสุขจากสมาธิได้ ต้องละวางความสุขทางกามได้ด้วยครับ
เดี๋ยวอ้างอิงจะตามมาครับ


หยุดคือตัวสำเร็จ

#10 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 07:31 PM

นิวรณ์ มีความหมายถึง ธรรมอันเป็นเครื่องขัดขวางในการกระทำความดี เป็นเครื่องกั้น เครื่องห้าม ไม่ให้ ฌาณ มัคค ผล อภิญญา สมาบัติ เกิดขึ้นได้

ธรรมเหล่าใดที่ขัดขวางกุศลธรรมไม่ให้เกิดเรียกว่านิวรณ์
๑. กามฉันทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความชอบใจอยากได้ในกามคุณอารมณ์ เมื่อชอบใจและต้องการแต่ในกามคุณอารมณ์แล้ว ก็ย่อมขาดสมาธิในอันที่จะกระทำความดี คือ ทำฌาณ เจริญสติปัฎฐานให้เกิด มัคค์และผล เป็นต้น
-องค์ธรรม คือ โลภเจตสิก ในโลภมูลจิต๘

อ้างอิง
-พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังค์ภาคที่ ๑ และ อรรถกถา
ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕
-คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
ฉบับขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร)



หยุดคือตัวสำเร็จ

#11 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 08:47 PM

QUOTE
ถ้ายังไม่ปล่อยวางในกามฉันทะมีความยึดถือในร่างกาย มีจิตจดจ่ออยู่แน่วแน่อยู่ในกายมีสติจดจ่อ
ในกายเนือง ๆ เนื่องจาก มีความพอใจใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสย่อมไม่สามารถเข้าถึงสมาธิได้

โมทนาสาธุด้วยครับสา....ธุ เป็นเช่นนั้นแลครับผม
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#12 tor

tor
  • Members
  • 356 โพสต์
  • Location:BKK
  • Interests:meditation

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 09:05 PM

โอ้...จอร์จจริงๆกับทุกคำตอบ
ตามความเข้าใจของผม เรื่องความต่างก็คือ สมาธิเป็นเหตุ ผลคือฌาณ
เรื่องความเหมือนก็คือ จากนั้นฌาณก็กลายเป็นเหตุบ้าง เพื่อให้ได้ผลอย่างอื่นลุ่มลึกไปตามลำดับ
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ = กายเป็นที่พึ่งแห่งกาย

#13 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 09:48 PM

โอ้จอร์จไม่ได้นะ โอ้บุดดาดีกว่า
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#14 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 02 April 2006 - 02:07 AM

กราบอนุโมทนาเจ้าค่ะ / อนุโมทนาบุญนะคะ

กระทู้ปราบเซียนนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน
แต่ก็มีผู้รู้มาช่วยกันตอบ
มาแลกเปลี่ยนความรู้กันเยี่ยงบัณฑิต

สมาชิกที่ยังตามไม่ทัน ในธรรมะปฏิบัติก็ยังอาจจะอึ้งกิมกี่กันไป
สำหรับคำถามที่ว่า ฌาน กับ สมาธิ ต่างกันอย่างไร
เห็นด้วยกับการอธิบายอย่าง Simple ของ คุณสิริปโภที่ว่า
สมาธิ = ความเร็วรถ
ฌาน = เกียร์
คนที่เก่งๆ คล่องๆ ก็เข้าฌาณ แบบ เกียร์ออโต้

อะไรเป็นเหตุหรือปัจจัยให้ฌานทรงตัว?
เห็นด้วยเช่นกันกว่า การหยุดนิ่ง รวมจิตอยู่ที่จุดๆเดียว ที่ดีที่สุดคือ 072

การรักษาสมาธิ ก็ด้วยการสกัดกั้นนิวรณ์ก็จริง แต่ว่า
ความสว่างที่ได้จากสมาธิที่แน่นนิ่งดีแล้ว จะทำให้มีการผุดรู้ขึ้นมา "ปัญญา"
ปัญญาละเอียดมากน้อยอยู่ที่ระดับความแน่นนิ่งของสมาธิ
ปัญญาเป็นตัวฆ่านิวรณ์ ทำให้ผู้นั่งสมาธิได้รับความรู้ใหม่เข้าใจใหม่
แม้นไม่ได้เรียนปริยัติธรรมมากก่อนก็ตาม แต่ก็ถูกต้องตามปริยัติธรรม
ก็ไม่ใช่ว่ามานั่งคิดแบบวิปัสนาพิจารณาอะไร แต่เป็นภาวนามยปัญญา
เห็นแสงสว่าง ก็มีความรู้ไหลมาเอง เข้าใจได้ลึกขึ้นเองว่ามันเป็นแบบนี้
มีจิตใจผ่องใสบริสุทธิ์เพียงพอที่จะละวางนิวรณ์ในหัวข้อนั้นๆไปได้ด้วยความพอใจ

สกัดกั้นนิวรณ์ได้ก็แค่ชั่วคราว แต่ถ้านิ่งที่ 072 นานแน่วแน่พอจน
ความสว่างอันเข้มข้นปรากฏเราจะละนิวรณ์เรื่องนั้นไปได้
แล้วยิ่งนั่งสมาธิ ก็ยิ่งเห็นความสว่างเข้มข้นขึ้น
ก็ยิ่งได้ความรู้ความเข้าใจที่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆที่ละขั้น
ฆ่านิวรณ์ซ้ำๆไปจนวันนึงที่นิวรณ์บาง ใจก็เริ่มหยุดสนิท

แต่เป็นไปได้ไหม ว่านิวรณ์จะหมดได้แบบสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษจริงๆ
พระอรหันต์ ท่านไม่มีนิวรณ์เหลืออยู่เลย (ถูกปัญญาดักฆ่าก่อนรู้ตัว)
หรือว่า มีเข้ามาปุ๊บ รู้ว่ามีนิวรณ์เกิดแล้ว ก็ถูกความสว่างแห่งปัญญา (ฆ่าหลังรู้ตัว)

ขอผู้รู้ช่วยชี้แนะค่ะ... งงไหมเอ่ย



The Strongest is The Gentlest!

ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด

#15 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 02 April 2006 - 10:49 PM

ฌาน แปลว่า ความสงบนิ่งอย่างสูงสุด
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#16 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 11:16 AM

ถ้าจะให้ตอบแบบให้คนใหม่ๆ เบื้องต้นเข้าใจล่ะก็ ก็ต้องเหมือนการเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์น่ะครับ ว่า มีทั้งแบบขึ้น Basic (พื้นฐาน) และขั้น Advance (ผู้ชำนาญ)

สมาธิ ก็แบ่งเป็น 2 ขั้นเช่นกัน คือ สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา
สมถ (เหมือน Basic) คือ การฝึกใจให้สงบจนเกิดปัญญา และใจที่สงบไปเป็นขั้นๆ ต่างๆ ก็เรียกว่า ฌานนั่นเอง มีฌาน 1,2,3,4 และอรูปฌาน (ฌานอีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่รูปฌาน)
วิปัสสนา (เหมือน Avance) คือ นำปัญญาที่เกิดจากใจหยุดนั้น มาพิจารณาความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของขันธ์ 5 จนหมดกิเลส สู่สภาวนิพพาน

ดังนั้น โดยสรุปก็ตอบได้ว่า สมาธิ มีทั้ง ฌาน(สมถะ) และวิปัสสนาครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#17 ใสแจ๋ว

ใสแจ๋ว
  • Members
  • 49 โพสต์
  • Interests:ใสในใส ดับหยาบไปหาละเอียด

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 11:49 AM

สมาธิเบื้องต้นมี 3 ระดับ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปนาสมาธิ

สมาธิเบื้องต้นที่เราสามารถทำขึ้นโดยธรรมชาติ และอาจไม่รู้ตัวก็ได้เรียกว่า ขณิกสมาธิครับ เป็นสมาธิชั่วขณะหนึ่ง เรามีใจจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่สนใจเรื่องอื่นๆ เลย เช่น ตั้งใจดูแต่ละครในทีวี ตั้งใจฟังเพลง เป็นต้น

อุปจารสมาธิเป็นสมาธิที่เข้มข้นขึ้นมา ได้แก่การตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แบบรู้ตัว เป็นการรวมใจเบื้องต้นเพื่อเข้าสู่สมาธิที่ละเอียดกว่า เช่น การทำสมาธิเบื้องต้นช่วงเริ่มรวมใจ

ส่วนอัปนาสมาธิเป็นขั้นที่ใจรวมได้นิ่งที่สุด ละนิวรณ์ได้จริงๆ จนใจเข้าขั้นปฐมฌาณ เป็นเบื้องต้น

โดยส่วนใหญ่คนเราจะมีสมาธิอยู่ที่ขณิกสมาธิ เพราะเป็นไปโดยธรรมชาติ ส่วนขั้นต่อๆ มาต้องฝึกใจ อย่างจริงจังครับ

เมื่อสมาธิละเอียดขึ้น จิตเราจึงมีหน้าที่เรียนรู้พัฒนาใจแบ่งเป็น 2 แบบ คือ สมถะ และวิปัสสนา

สมถะ คือ การหยุดการนิ่งของใจที่สามารถไปใช้งานได้ เช่น รูปฌาณ 4 และ อรูปฌาณ 4 ใครทำถึงขั้นนี้ ก็จะเกิดอภิญญา คือฤทธิ์ทางใจต่างๆได้ วิธีที่จะทำให้ใจสงบถึงขั้นนี้ มีอยางน้อย 40 วิธี หรือที่เรียกว่ากัมมัฏฐาน 40 ที่พระพุทธเจ้าตรัสได้ในพระไตรปิฏก

วิปัสสนา คือ ความเห็นแจ้ง เห็นแจ้งใน ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 และอริยสัจ 4 เมื่อเห็นแจ้งแล้วก็สามารถทำลายกิเลสอุปทานให้หมดสิ้น วิปัสสนามีแต่ในพระพุทธศาสนาของเรา ลัทธิอื่นสอนได้อย่างมากแค่ขั้นสมถะนะครับ



#18 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 03 April 2006 - 04:08 PM

ตามที่คุณ Merry Mar ถามมา
"แต่เป็นไปได้ไหม ว่านิวรณ์จะหมดได้แบบสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษจริงๆ
พระอรหันต์ ท่านไม่มีนิวรณ์เหลืออยู่เลย (ถูกปัญญาดักฆ่าก่อนรู้ตัว)
หรือว่า มีเข้ามาปุ๊บ รู้ว่ามีนิวรณ์เกิดแล้ว ก็ถูกความสว่างแห่งปัญญา (ฆ่าหลังรู้ตัว)
ขอผู้รู้ช่วยชี้แนะค่ะ... งงไหมเอ่ย"

ตอบว่า ไม่ใช่ผู้รู้นะครับ แต่ยินดีนำคำของผู้รู้มาเผยแผ่ต่อไป แนวคิดเช่นนี้มีผู้ให้ความเห็นกันมากครับ บ้างก็ว่า กิเลส(นิวรณ์)ยังเกิดอยู่ แต่สติรู้ตัวเร็วมากจนดับกิเลสไปได้ทันที บ้างก็ว่า ไม่มีกิเลสหลงเหลืออยู่เลย

ซึ่งถ้าศึกษาความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกจริงๆ แบบรู้จำก่อนจะพบว่า การหมดกิเลสของพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์นั้น หมดแบบสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษจริงๆ ครับ ซึ่งครูบาอาจารย์เช่น หลวงปู่วัดปากน้ำ และหลวงพ่อธัมมชโย (ผมรู้จักคำสอนละเอียดแค่ 2 ท่านนะครับ สำหรับครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ผมไม่มีข้อมูลรายละเอียดจึงไม่ได้กล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้) ท่านล้วนสอนตรงกันว่า การหมดกิเลสนั้น หมดแบบสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#19 ใสแจ๋ว

ใสแจ๋ว
  • Members
  • 49 โพสต์
  • Interests:ใสในใส ดับหยาบไปหาละเอียด

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 04:02 PM

ยืนยันตามคำตอบของคุณหัดฝันนะครับ การหมดกิเลสต้องแบบสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ในกาย ใจ จิต วิญญาณ ใน เห็น จำ คิด รู้ ต้องไม่มีกิเลสเจือปนอยู่เลย จึงจะเป็นพระอรหันต์โดยสมบูรณ์ครับ และพระอรหันต์จะไม่กลับมาตกต่ำอีก คือพ้นแล้วพ้นเลย...

#20 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 05 April 2006 - 09:25 PM

สาธุค่ะ ขอบพระคุณ คุณหัดฝัน และคุณพี่ใสแจ๋วนะคะ

เท่าที่ทราบมานี้ ขอถามว่าเข้าใจถูกไหมนะคะ
ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างกับ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพราะว่า
การถือศีลได้ดี จนเป็นปกติธรรมชาติของจิต ก็จะเป็นอธิศีล เป็นศีลที่ป้องกันใจไม่ให้ออกจากศีล
การบำเพ็ญสมาธิภาวนา จนเป็นปกติธรรมชาติของใจ ก็จะเป็นอธิจิต เป็นพลังสมาธิจิตที่ป้องกัน
ใจไม่ให้ออกจากสมาธิได้
ดังนั้น การหมั่นทำภาวนาจนได้ปํญญา ตัดกิเลสอย่างชำนาญ (รู้ปุ๊บ ฆ่าปั๊บ กิเลศที่อ่อนกว่าก็ถูกตัดทิ้งไปเอง) จนกระทั่งเป็นอธิปัญญา คือปํญญาที่ป้องกันรักษาจิต คือสว่างจ้าตลอดเวลา โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่ามีนิวรณ์เข้ามา เพราะว่ามีอธิปัญญาแล้ว

อย่างนี้ถือว่า พระอรหันต์ คือผู้ที่มีอธิปัญญา มีปัญญาป้องกันรักษาจิตได้แล้ว ไช่ไหมคะ
ถ้ายังรู้ตัวอยู่ว่านิวรณ์หรือกิเลศเข้ามาอยู่ คือยังไม่เข้าถึงกายอรหันต์

แล้ว กายพระอรหันต์หยาบ กับละเอียด นั้นต่างกันยังไงคะ
ขอผู้รู้แนะนำด้วยค่ะ

#21 ใสแจ๋ว

ใสแจ๋ว
  • Members
  • 49 โพสต์
  • Interests:ใสในใส ดับหยาบไปหาละเอียด

โพสต์เมื่อ 09 April 2006 - 12:25 PM

ตอบคุณแมรี่ นะครับ

อริยมรรค ๘ หรือ มรรค ๘ นั้น เป็นดังนี้
๑ สัมมา วาจา วาจา ชอบ
๒ สัมมา กัมมันตะ การงาน ชอบ
๓ สัมมา อาชีวะ เลี้ยงชีพ ชอบ
(๓ อย่างนี้เป็น ศีล)

๔ สัมมา วายามะ ความเพียร ชอบ
๕ สัมมา สติ ระลึก ชอบ
๖ สัมมา สมาธิ ตั้งใจ ชอบ
(๓ อย่างนี้เป็น สมาธิ)

๗ สัมมา ทิฏฐิ ความเห็น ชอบ
๘ สัมมา สังกัปปะ ดำริ ชอบ
(๒ อย่างนี้เป็น ปัญญา)

สรุปแล้ว มรรค ๘ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญหาจึงเกิดแก่เราว่า ทำอย่างไร จึงจะเข้าถึง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค ๘

ศีล ที่ควรแก่การงานตามนัยมรรค ๘
“ปกติศีล” สภาพใจที่สำรวม ไม่ละเมิดข้อศีล เช่น ไม่คิดฆ่าสัตว์ แต่ถ้าคิดก็ระงับความคิดนั้น ศีลในลักษณะนี้ กำจัดอวิชชาไม่ได้ กำจัดทุกข์ไม่ได้ กำจัดภัยไม่ได้ กำจัดโรคไม่ได้ ปกติศีลจึงไม่มีฤทธิ์ ไม่มีอานุภาพ กิเลสไม่กลัว ศีลลักษณะนี้

“อธิศีล” คือ ศีลตามนัยมรรค ๘
เป็นการรวมใจ ระวังใจ เข้มงวดกวดขันยิ่งกว่า “ปกติศีล”
เป็นการรวมใจ ระวังใจ จนสภาพใจ ใสสะอาด เกิดความบริสุทธิ์ด้วย “ใจ” เป็นดวงแก้ว ใสสว่างโชติ ในท้องของตน คือมีใจใสเหมือนดวงแก้วมณีโชติ ใจลักษณะนี้ เป็นสภาพใจตามนัยมรรค ๘ เรียกว่า “อธิศีล” เป็นใจที่ควรแก่งาน กำจัดอวิชชาได้ กำจัดทุกข์ได้ กำจัดภัยได้ กำจัดโรคได้ เป็นใจที่มีฤทธิ์ มีเดช มีอานุภาพ

กิเลส ตัณหา อุปาทาน กลัว อธิศีล ยิ่งนัก
อธิศีล อยู่ที่ไหน กิเลสพังที่นั่น
ถ้าอยากพ้นทุกข์ อยากหมดกิเลส จงทำ อธิศีล ให้เกิดแก่ใจตน

สมาธิ คือ การตั้งใจมั่น หรือยึดมั่นอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งเพียงอย่างเดียว สมาธิที่ว่านี้เป็นสมาธิเบื้องต้น ไม่เป็นสมาธิที่ควรแก่งาน
ส่วนสมาธิ ตามนัยแห่งมรรค ๘ จำต้องประคองใจ ให้มั่นคงยิ่งขึ้น จนกระทั่งเห็นสภาพใจมั่น เป็นดวงใสด้วยใจของตน จึงเป็นสมาธิที่ควรแก่งาน ควรทำให้เป็นขึ้น ทำให้มีขึ้น

ปัญญา แปลว่าความรอบรู้ การคิดได้ นึกได้ ให้สังเกตว่าในสภาวะที่ใจเราฟุ้งซ่านเรามักนึกอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออกเกิดความสับสน
แต่เวลาที่เราอารมณ์ดี หรือขณะที่ใจเราสงบระงับ เรามักคิดอะไรได้ นึกอะไรได้ นึกอะไรออก นี่คือ ถ้าสมาธิดีทำให้ปัญญาเรือง หากสมาธิทราม ปัญญาก็อ่อน

ดังนั้น การฝึกดวงปัญญา ขึ้นอยู่กับการทำสมาธิ ถ้าดวงสมาธิเกิด ดวงปัญญาย่อมเกิดตาม เป็นอันสรุปได้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน



#22 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 08:04 PM

ผมไม่ใช่ผู้รู้นะครับ แต่ว่าจะตอบแบบสัณนิษฐานให้ผู้รู้บางท่านได้เข้ามาเฉลยอีกที
ขอบคุณคุณใสแจ๋วที่ค้นมาให้ได้เข้าใจคำว่า อธิศีล อธิปัญญา อธิจิต และความสัมพันธ์
เกี่ยวเนื่องกัน

[/quote]อย่างนี้ถือว่า พระอรหันต์ คือผู้ที่มีอธิปัญญา มีปัญญาป้องกันรักษาจิตได้แล้ว ไช่ไหมคะ
ถ้ายังรู้ตัวอยู่ว่านิวรณ์หรือกิเลศเข้ามาอยู่ คือยังไม่เข้าถึงกายอรหันต์[quote]


นิวรณ์หรือกิเลสไม่ได้หายไปไหนยังอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่สามารถเข้ามาปกคลุมจิตได้อีกแล้ว
เพราะพระอรหันต์ทำกำจัดอวิชาได้หมดแล้วเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานตลอดเวลา



#23 ใสแจ๋ว

ใสแจ๋ว
  • Members
  • 49 โพสต์
  • Interests:ใสในใส ดับหยาบไปหาละเอียด

โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 08:35 PM

ต่อคำถามของคุณแมรี่ที่ว่า แล้ว กายพระอรหันต์หยาบ กับละเอียด นั้นต่างกันยังไงคะ

ลองทำความเข้าใจเรื่องกายในกายก่อนนะครับ

พระพุทธเจ้า สอนให้เราละกิเลส สอนให้เราละสังโยชน์ แปลว่า อย่าไปเพิ่มกิเลสให้มากขึ้น ของเก่าเรายังทำให้หลุดไปไม่ได้ อย่าไปเพิ่มพูนขึ้นใหม่อีกเลย

ท่านทราบแต่ว่า กายมนุษย์ คือตัวท่าน ยังมีกิเลส เราเจริญภาวนารักษาศีลกันอย่างทุกวันนี้ เป็นการไม่เพิ่มพูนกิเลสใหม่เท่านั้น ส่วน “ของเก่า” คือกิเลสเดิมที่นอนเนื่องอยู่ใน “ใจ” นั้นมีอะไรบ้าง

และกิเลสที่อยู่ในกายละเอียดของท่าน ท่านเข้าไปสืบทราบแล้วหรือยัง การจะไปดูกิเลสในกายละเอียดอื่นๆ ถ้าดูด้วยตามนุษย์ไม่เห็น จะต้องทำ “ธรรมกาย” เป็น และใช้รู้ใช้ญาณธรรมกายตรวจจึงจะเห็นได้ รู้ได้

ฝ่ายอวิชชาได้เอากิเลสต่างๆ ตรึงติด “ใจ” ของสัตว์โลกไว้ ดังนี้

๑.กายมนุษย์ และกายมนุษย์ละเอียด(กายฝัน)
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ

๒.กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด
โลภะ โทสะ โมหะ

๓.กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด
ราคะ โทสะ โมหะ

๔.กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียด
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย

๕.ธรรมกายโคตรภูหยาบ ธรรมกายโคตรภูละเอียด
สักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส วิจิกิจฉา

๖.ธรรมกายพระโสดาหยาบ ธรรมกายพระโสดาละเอียด
ธรรมกายพระสกิทาคามีหยาบ ธรรมกายพระสกิทาคามีละเอียด
กามราคะ ปฏิฆะ

๗.ธรรมกายพระอนาคามีหยาบ ธรรมกายพระอนาคามีละเอียด
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

๘.ธรรมกายพระอรหัตต์หยาบ ธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด
ไม่มีกิเลสใดเจือปน

ส่วนที่ถามว่า แล้ว กายพระอรหันต์หยาบ กับละเอียด นั้นต่างกันยังไงคะ


ตอบว่า กายธรรมหยาบและกายธรรมละเอียดคือ มรรค 4 ผล 4 อย่างไรล่ะครับ

ที่มาของชื่อธรรมกาย

๑. ธรรมกายโคตรภูหยาบ (กายธรรม)

๒. ธรรมกายโคตรภูละเอียด (กายธรรมละเอียด)

๓. ธรรมกายพระโสดาหยาบ

๔. ธรรมกายพระโสดาละเอียด

๕. ธรรมกายพระสกิทาคามีหยาบ

๖. ธรรมกายพระสกิทาคามีละเอียด

๗. ธรรมกายพระอนาคามีหยาบ

๘. ธรรมกายพระอนาคามีละเอียด

๙. ธรรมกายพระอรหัตต์หยาบ

๑๐. ธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด


เทียบได้กับมรรค ๔ ผล ๔ ในธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ คือ

มรรค ๔ ผล ๔

๑. โสดาปัตติมรรค ๑. โสดาปัตติผล

๒. สกิทาคามิมรรค ๒. สกิทาคามิผล

๓. อนาคามิมรรค ๓. อนาคามิผล

๔. อรหัตตมรรค ๔. อรหัตตผล


คำว่า "ธรรมกายโคตรภู" นั้น เป็นธรรมกายเบื้องต้น ได้แก่ การยกสภาพจิตใจเข้าสู่ความเป็น "อารยะ" เป็นโคตรภูบุคคล หลวงพ่ออธิบายว่าใครทำได้เท่ากับ "บวชใน" คือบวชกายละเอียดด้วย ถ้าเป็นสตรีเท่ากับบวชใน แต่ถ้าเป็นบุรุษเท่ากับบวชนอกและบวชใน เป็นการบวช ๒ ชั้น (เป็นภิกษุอยู่แล้ว) กรณีนี้เองที่สตรีสามารถสร้างบารมีได้เท่าบุรุษ เพราะสตรีไม่สามารถบวชเป็นบรรพชิตได้ มีศีลได้อย่างมาก แค่ศีล ๘ แต่ถ้าจะสร้างบารมีให้ทันชาย ก็ต้องทำธรรมกายให้เป็นเท่านั้น





#24 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 12:51 AM

QUOTE
สตรีไม่สามารถบวชเป็นบรรพชิตได้ มีศีลได้อย่างมาก แค่ศีล ๘ แต่ถ้าจะสร้างบารมีให้ทันชาย ก็ต้องทำธรรมกายให้เป็นเท่านั้น


ขอขอบคุณคุณใสแจ๋วค่ะ เรื่องนี้น่าสนใจมากเลยค่ะ