ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

กำเนิดพระพุทธรูป


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 19 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 22 October 2006 - 01:48 PM


ตำนานการสร้างพระพุทธรูป


จากหนังสือจดหมายระหว่างทางไปอินเดียของหลวงจีนฟาเหียนได้กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพุทธรูป ดังนี้
เมื่อพระพทุธองค์เสด็จไปประทานเทศนาโปรดพระมารดาในสวรรค์พรรษาหนึ่ง พระเจ้าประเสนชิต
กรุงโกศลราช มีความรำลึกถึงพระพทุธองค์ เนื่องจากมิได้เห็นมาช้านานจึงตรัสให้นายช่างทำพระพุทธรูปขึ้น
ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ ครั้นพระพุทธองค์กลับจากสวรรค์ จึงตรัสสั่งให้รักษา
พระพุทธรูปนั้นไว้ เพื่อสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างพระพุทธรูปเมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว

ตำนานดังกล่าวยังขัดกับหลักฐานที่เจอโบราณวัตถุว่าถ้าเคยสร้างพระพุทธรูปในสมัยพุทธกาลพระเจ้าอโศก
มหาราชก็คงสร้างพระพุทธรูปเป็นเจดียวัตถุอย่างหนึ่ง แต่ในพุทธเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกฯ สร้างไว่ไม่มีพระพุทธรูป
แต่มีรูปอย่างอื่นแทน เช่น รอยพระพุทธบาท พระธรรมจักร เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าประเพณีการทำพระพุทธ-
รูปยังไม่มีในสมัยนั้น อาจเกิดขึ้นภายหลังในราวปี พ.ศ.๗๐๐ หรือ พ.ศ.๘๐๐




พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมามีรูปแบบที่ต่างไปตามสถานที่ อย่างชาวกรีกทำพระศกเป็นเส้นผมเหมือนคนสามัญชน
แต่ชาวอินเดียเห็นว่าไม่งามได้ดัดแปลงพระศกเป็นรูปก้นหอย รูปหน้าเปลี่ยนเป็นหน้าคนอินเดีย สำหรับประเทศ
อื่นๆ ที่ได้รับแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปก็ได้ดัดแปลงแก้ไขไปตามเห็นสมควรทำให้เกิดพระพุทธรูปแบบต่างๆ
ในอินเดีย ดังนี้




แบบคันธารราฐ (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๒) โดยศิลปินกรีกโรมันแค้วนคันธารราฐ
ในปากีสถาน มีลักษณะเหมือนจริง พระเกศาขมวดมุ่น, พระเนตร, พระกรรณ, พระนาสิก,
พระโอษฐ์ ตลอดจนวงพระพักตร์และริ้วจีวรมีลักษณะจริงอย่างธรรมชาติ บางครั้งมีพระมัสสุด้วย



แบบมธุรา (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๖) กำเนิดทางตอนเหนือของอินเดีย พบในสมัยเดียวกับแบบ
คันธารราฐเป็นพระพุทธรูปแบบชาวอินเดีย ไม่มีมุ่นพระเกศา ประทับอยู่บนสิงห์มีบัลลังก์ประดับด้วย
พระโพธิสัตว์ และเหล่าอุปัฏฐากที่ฐาน รูปร่างอวบอ้วนเข้มแข็งดูมีอำนาจ




แบบอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๐) กำเนิดทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียที่
เมืองอมราวดีเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่มีลักษณะแบบอุดมคติ รูปแบบได้รับอิทธิพลจากศิลปะมธุรา
ปนกับคันธารราฐ ไม่เหมือนธรรมชาติ เป็นต้นกำเนิดของการสร้างพระพุทธรูปให้กับสมัยต่อๆมา



แบบคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๒) ช่างตระกูลคุปตะเป็นผู้สร้างขึ้น ลักษณะจีวรบางแนบเนื้อ
ฐานพระพุทธรูปตกแต่งด้วยดอกบัว หรือรูปสิงห์ มีทั้งแบที่สลักด้วยหินและรูปหล่อสำริด

แบบปาละ (พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๘) กำเนิดที่แค้วนแบงกอลในสมัยราชวงศ์ปาละ เป็นรุ่นสุดท้ายของ
อินเดีย มีคติพราหมณ์ผสมอยทำให้งานศิลป์ไม่บริสทธิ์ จีวรแนบเนื้อยิ่งขึ้น มีความอ่อนไหว พระพักตร์คม โดยมี
พระขนงและพระโอษฐ์ได้รับการยกขอบคมเป็นสัน พระเนตรอยู่ในลักษณะครึ่งหลับ แสดงการภาวนา มีซุ้ม
ประภามณฑล เครื่องประดับรกรุงรังเกินงาม นิยมทำฐานสองชั้น
อินเดียได้เป็นต้นแบบในการขยายอิทธิพลไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งทำให้พระพุทธรูปแตกต่างกันไปตามศิลปะ
ที่รับเอามา

แหล่งที่มา : พระพุทธรูป , วรภัทร เครือสุวรรณ เรียบเรียง


กำเนิดพระพุทธรูป


[attachmentid=9350]


แต่เดิมนั้นพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด ศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ซึ่งมีมาก่อนศาสนาพุทธ ก็ไม่มีรูปเคารพเป็นเทวรูปเช่นกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึง หรือเป็นสัญญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขาน เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ และทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คน ถึงการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความผาสุขในหมู่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก

คราวแรกนั้นชาวพุทธก็ได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน),ตรัสรู้ พุทธคยา, ปฐมเทศนา(พาราณสี)และปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เป็นที่ระลึกบูชาคุณพระพุทธเจ้า

ล่วงมาถึงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เมื่อ 2,200 ปีก่อน หรือหลังจากการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้ามา 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งสมณะทูต จำนวน 500 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาราฐ จึงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองที่ประสิทธิประสาทวิทยาการต่าง ๆ นับว่า "เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา" แต่ก็ยังไม่มีรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน


พระพุทธชินราชพระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า เริ่มมีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 500 ถึง 550 เมื่อชาวกรีก ที่ชาวชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) เรียกชาวต่างแดนว่า "โยนา" หรือ "โยนก" โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 หรือ พระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้นคันธาราฐ (ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัฟกานิสถาน) จากนั้นพระองค์ก็แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล (Sakala) หลังจากที่ได้พบพระสงฆ์ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน จึงมีเรื่องราวแห่งการตั้งคำถามของพระเจ้ามิลินท์ต่อพระนาคเสน จนทำพระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (คำถามคำตอบปุจฉาวิสัชนา ซึ่งถูกเขียนบันทึกเป็นหนังสือและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก เรื่องนี้ก็คือ มิลินทปัญหา - The Milinda Panha or The Questions of King Minlinda) ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธาราฐ

พระพุทธรูปรูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธาราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบคันธาราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธาราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก

แหล่งที่มา http://th.wikipedia....rg/wiki/พ

DMC The only one

ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี้แหละเป็นตัวสำเร็จ
ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


คติธรรม พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

#2 จริยคุณกุลภัทร์

จริยคุณกุลภัทร์
  • Members
  • 368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 October 2006 - 03:15 PM

สาธุๆๆๆๆ

#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 12:35 AM

ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับ นักเรียนอนุบาล Ideal ด้วยครับ สาธุ ๆ ๆ

***** พระพุทธรูปจากทั่วโลก

ไฟล์แนบ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#4 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 06:58 PM

ภาพสวยๆๆทั้งนั้นเลย
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#5 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 08:34 AM

Thank you and Sathu kah happy.gif
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#6 ต้มข่าไก่

ต้มข่าไก่
  • Members
  • 193 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 08:53 AM

แต่ภาพสะท้ายเป็นภาพที่กลุ่มตอลีบัน ยิงถล่มพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนได้จัดสร้างที่เชิงเขา จนเสียหาย
เศร้าใจ แต่ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น เพราะยังได้ยินข่าวบ้านเมืองเขา ไม่สงบสุขเลย
ขอบคุณ ในธรรมทานที่มอบให้่ครับสาธุ


#7 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 07:56 PM

QUOTE
แต่ภาพสะท้ายเป็นภาพที่กลุ่มตอลีบัน ยิงถล่มพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนได้จัดสร้างที่เชิงเขา จนเสียหาย
เศร้าใจ แต่ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น เพราะยังได้ยินข่าวบ้านเมืองเขา ไม่สงบสุขเลย
ขอบคุณ ในธรรมทานที่มอบให้่ครับสาธุ



http://www.bamiyanla...rg/en/exhi.html

DMC The only one

ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี้แหละเป็นตัวสำเร็จ
ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


คติธรรม พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

#8 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 27 March 2007 - 03:30 PM

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วย สาธุ

#9 usr26982

usr26982
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 November 2008 - 11:08 AM

ในหนังสือ ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง หน้าที่ 215 บรรทัดที่ 3 นับขึ้น

ท่านพระถังซำจั๋งได้จดจารึกไว้ว่า " พระราชวังเก่าในเมืองหลวงมีวิหารใหญ่หลังหนึ่ง สูงกว่า 60 เฉียะ (คิดเอาเองภาษา

จีน) ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์องค์หนึ่ง มีฉ้ตรศิลาแขวนห้อยอยู่ พระเจ้าอุเทนราชาทรงสร้างไว้ มี

ความศักดิ์สิทธิ์มาก เปล่งรัศมีส่องสว่างเป็นนิจ "

หน้าที่ 216 บรรทัดที่ 8

ท่านพระถังซำจั๋งจดจารึกไว้ว่า "จำเดิมเมื่อพระตถาคตเจ้าทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วก็เสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดประทานพุทธมารดาเป็นระยะเวลา 3 เดือน พระเจ้าอุเทนทรงรำลึกถึงพระองค์อย่างยิ่งจึงตั้ง

พระทัยจะวาดพระรูปของพระพุทธองค์ ทรงอาราธนาพระโมคคัลลานะใช้อิทธิปาฏิหาริย์นำช่างจำหลักขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อ

ชมพระพุทธษณะ จากนั้นก็จำหลักพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้จันทน์ และเมื่อพระโลกนาถ( พระพุทธเจ้า) เสด็จกลับลงมา

พระปฏิมาองค์นี้ก็ลุกขึ้นยืนสำแดงอาการคารวะพระองค์ พระโลกนาถ ทรงทักทายรูปปฏิมาว่า "สั่งสอนกล่อม

เกลามนุษยโลกเหน็ดเหนื่อยมากใช่ไหม การอบรมกล่อมเกลาโลกด้วยพุทธรรมในยุคปลาย เป็นสิ่งที่ตถาคตหมายมั่งตั้งใจไว้ "

และในหน้าที่ 225 บรรทัดที่ 8

ท่านพระถังซำจั๋งได้จดจารึกไว้ว่า

"ที่สวนอนาถปิณฑกะผู้ซึ่งเป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระเจ้าประเสนชิตราชาสร้างถวายพระพุทธเจ้าเดิมที่สร้างเป็นอาราม แต่

บัดนี้ปรักหักพังไปมดแล้ว คงเหลือต้วเรือนและห้องหับต่างๆ ทรุดโทรมแล้ว เหลือแต่ฐานปรักหักพัง ที่ยังเหลือแข็งแรงคง

ทนอยู่เพียงสิ่งเดียวคือห้องที่ก่อด้วยอิฐ "มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน" เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จสู่ดาวดึงส์เพื่อ

แสดงธรรมเทศนาพระทานพุทธมารดานั้น พระเจ้าเประเสนชิตราชา (ประเสนทิโกศล) ทรงได้ข่าวว่าพระเจ้าอุเทนราชาทรง

จำหลักพระพุทธรุปด้วยไม้จันทน์ พระองค์จึงทรงสร้าง พระปฏิมาองค์นี้ขึ้น"

ป.ล. ถ้ายังไงท่านผู้ใดสนใจจะใคร่รู้ยิ่งๆขึ้น ก็แนะนำให้อ่านหนังสือชื่อว่า ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดิน

แดนตะวันตกของมหาราชวงค์ถัง อีกต่อหนึ่งนะคับ ข้าเจ้าก็อ่านเจอเลยเห็นว่าดีเลยเอามาสู่กันอ่าน อิอิ

จาก เด็กมหาจุฬา (มจร.)

#10 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 August 2014 - 10:42 AM

ที่ค้นหาข้อมูลดูในพระไตรปิฏกก็คงมีเพียงตำนานเพระแก่นจันทร์เท่านั้น แต่อื่นๆมีเพียงการสร้างเจดีย์เพื่อบูชาเท่านั้น 

 

*แก้ไข ตำนานเพระแก่นจันทร์  เป็นเพียงเรื่องเล่า ไม่มีในพระไตรปิฏก



#11 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 21 August 2014 - 12:19 PM

ในพระไตรปิฎกไม่มีตำนานพระแก่นจันทร์นะครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#12 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 August 2014 - 02:44 PM

ในพระไตรปิฎกไม่มีตำนานพระแก่นจันทร์นะครับ

 

แล้วเหตุใดจึงมีเรื่องที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปดาวดึง แล้วพระเจ้าประเสนธิโกศล สร้างพระพุทธรูปแก่นจันทร์ขึ้นได้ล่ะ 



#13 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 August 2014 - 02:54 PM

ความคิดเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปของ  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   "ว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดสร้างพระพุทธรูป"
คัดลอกบางส่วนจาก   หนังสือ     "อัฟกานิสถาน    แหล่งผลิตพระพุทธรูปองค์แรกในโลก"
โดย   สำนักพิมพ์มติชน   
สุจิตต์   วงษ์เทศ :  บรรณาธิการ


เรื่องที่จะเกิดมีพระพุทธรูปขึ้นนั้น    มีในหนังสือเรื่องตำนานพระแก่นจันทร์ (๑)   
กล่าวว่าเมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปประทานเทศนาโปรดพระพุทธมารดา   ค้างอยู่ในดาวดึงส์พรรษาหนึ่งนั้น    
พระเจ้าปเสนชิตกรุงโกศลราฐมิได้เห็นพระพุทธองค์ช้านานมีความรำลึกถึงจึงตรัสสั่งให้นายช่าง
ทำพระพุทธรูปขึ้นด้วยแก่นจันทร์แดงประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ    
        
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์มาถึงที่ประทับ     
พระแก่นจันทร์ลุกขึ้นปฏิสันถารพระพุทธองค์ด้วยปาฏิหาริย์    
แต่พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้พระแก่นจันทร์กลับไปยังที่ประทับเพื่อรักษาไว้เป็นตัวอย่าง
พระพุทธรูปซึ่งสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่างสร้างพระพุทธรูปเมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว     

        
ความที่กล่าวในตำนานประสงค์จะอ้างว่าพระพุทธรูปแก่นจันทร์องค์นั้นเป็นต้นแบบอย่างของพระพุทธรูป
ซึ่งสร้างกันต่อมาภายหลังหรือถ้าว่าอีกนัยหนึ่งคืออ้างว่า   พระพุทธรูปมีขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต
และเหมือนพระพุทธองค์   เพราะตัวอย่างตรงไหนจะต้องทำพระพุทธรูป    คิดทำรูปสิ่งอื่นเช่น   
รอยพระพุทธบาท   หรือพระธรรมจักรและพุทธอาสน์เป็นต้น    สมมติแทนพระพุทธรูปทุกแห่งไป      
ข้อนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า   ประเพณีที่ทำพระพุทธรูปยังไม่มีในสมัยนั้นหรือยังเป็นข้อห้ามในมัชฌิมประเทศ
จนถึงพ.ศ.   ๔๐๐*
 
       
ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าตำนานเรื่องพระแก่นจันทร์นั้นจะเกิดขึ้นต่อสมัยเมื่อมีประเพณีสร้างพระพุทธรูป
กันแพร่หลายแล้ว    ราวในพ.ศ.  ๗๐๐  หรือ  ๘๐๐   ปี    เรื่องสร้างพระพุทธรูปนักปราชญ์ในชั้นหลัง
สอบเรื่องพงศาวดารประกอบกับพิจารณาโบราณวัตถุที่ตรวจพบในอินเดียได้ความเป็นหลักฐานว่า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑   ได้แปลพิมพ์เป็นภาษาไทยแล้ว
*      ความจริงจนถึงราวพ.ศ. ๖๐๐  กว่า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
         
พระพุทธรูปเป็นของพวกโยนก  (คือฝรั่งชาติกรีก)   
ซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเริ่มคิดประดิษฐ์ขึ้นในคันธารราฐเมื่อราวพ.ศ.  ๓๗๐ *
   

มีเรื่องตำนานดังจะกล่าวต่อไป    คือครั้งพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราช   
สามารถแผ่อาณาเขตตั้งแต่ยุโรปตลอดมาจนในอินเดียข้างฝ่ายเหนือเมื่อพ.ศ.  ๒๑๗   นั้น   
ตั้งพวกโยนกที่เป็นแม่ทัพนายกองครองบ้านเมืองรักษาพระราชอาณาเขตตลอดมา    
ครั้นพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ผู้อื่นไม่สามารถจะรับรัชทายาทได้    
ราชอาณาเขตก็กลับแยกกันออกเป็นประเทศต่างๆ    ทางฝ่ายเอเชียนี้พวกโยนก
ที่เป็นเจ้าบ้านพานเมืองต่างก็ตั้งตนขึ้นเป็นอิสระหลายอาณาเขตด้วยกัน   
แล้วชักชวนชาวโยนกพรรคพวกของตนให้มาตั้งภูมิลำเนาทำมาหากิน     
เป็นมูลเหตุที่จะมีพวกโยนกมาอยู่ในแผ่นดินอินเดียตอนชายแดนข้างด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ซึ่งเรียกว่าอาณาเขตคันธารราฐ (๑)   
ในสมัยนั้นขึ้นอยู่ในประเทศบัคเตรียซึ่งแม่ทัพโยนกคนหนึ่งตั้งตัวเป็นเจ้า    
        
ครั้นต่อมาเจ้าเมืองบัคเตรียแพ้สงครามต้องตัดอาณาเขตคันธารราฐให้แก่พระเจ้าจันทรคุปต์    
ต้นราชวงศ์โมริยะ   อันเป็นองค์พระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช    แต่นั้นคันธารราฐก็ตกมาเป็น
เมืองขึ้นของมคธราฐ    เพราะฉะนั้น   เมื่อพระเจ้าอโศกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจึงให้ไปประดิษฐาน
พระพุทธศาสนาในคันธารราฐ   และพึงสันนิษฐานว่าพวกโยนกที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่  ณ  ที่นั้นคงเข้ารีต
เลื่อมใสมิมากก็น้อย    แต่เมื่อพ้นสมัยราชวงศ์โมริยะมาถึงสมัยราชวงศ์ศุงคะ     
ราชวงศ์ศุงคะมีอานุภาพน้อยไม่สามารถปกครองไปถึงคันธารราฐได้     
พวกโยนกในสร้างขึ้นแต่ในครั้งพุทธกาล    
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
*    ปัจจุบันเชื่อกันว่าราวพ.ศ.  ๖๐๐  กว่า
๑   อาณาเขตคันธารราฐเดี๋ยวนี้อยู่ในแดนประเทศอัฟกานิสถานบ้าง   อยู่ในแดนอินเดียของอังกฤษ
มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือบ้าง (ปัจจุบันนี้เป็นประเทศปากีสถาน)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
          
เดิมข้าพเจ้าเข้าใจว่าหนังสือเรื่องตำนานพระแก่นจันทร์จะเกิดขึ้นในลังกาทวีป   
แต่มาพบในหนังสือจดหมายระยะทางของหลวงจีนฟาเหียนซึ่งไปอินเดียเมื่อราวพ.ศ.  ๙๕๐ *  
กล่าวว่าเมื่อไปถึงเมืองสาวัตถี   ได้ฟังเล่าเรื่องพระเจ้าปเสนชิตให้สร้างพระพุทธรูป
ตรงกับที่กล่าวในหนังสือตำนานพระแก่นจันทร์   จึงรู้ว่าเป็นเรื่องตำนานในอินเดียมีมาแต่โบราณ
         
ถึงกระนั้นความที่กล่าวในตำนานก็ขัดกับหลักฐานที่มีโบราณวัตถุเป็นเครื่องพิสูจน์เป็นต้นว่า   
ถ้าเคยสร้างพระพุทธรูปแต่เมื่อในครั้งพุทธกาลและพระพุทธองค์ได้โปรดประทานพระบรมพุทธานุญาต
ให้สร้างกันต่อมาดังอ้างในตำนานไซร้   พระเจ้าอโศกมหาราชก็คงสร้างพระพุทธรูปเป็นเจดียวัตถุอย่างหนึ่ง
เช่นเราชอบสร้างกันในชั้นหลัง   แต่ในบรรดาพุทธเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกสร้างไว้หามีพระพุทธรูปไม่ 
  
       
ใช่แต่เท่านั้นแม้อุเทสิกะเจดีย์ที่สร้างกันเมื่อล่วงสมัยพระเจ้าอโศกแล้วจนราวพ.ศ.  ๔๐๐**   
เช่น   ลายจำหลักรูปภาพเรื่องพุทธประวัติซึ่งทำเป็นเครื่องประดับพระมหาธาตุเจดีย์ดังกล่าวมา
ในตอนก่อน   ทำแต่รูปคนอื่น                                      
      
ประเทศบัคเตรียก็ขยายอาณาเขตรุกแดนอินเดียเข้ามาโดยลำดับจนได้คันธารราฐและบ้านเมือง
ในลุ่มแม่น้ำสินธุ   มีเมืองตักศิลาไว้ในอาณาเขตโดยมากจึงรวมอาณาเขตชอบใจคนทั้งหลาย
ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (๑)      
ก็ในขณะเมื่อแรกคิดแบบพระพุทธรูปนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วหลายร้อยปี    
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
 *    พระภิกษุฟาเหียนอยู่ในประเทศอินเดียตั้งแต่พ.ศ.  ๙๔๔   จนถึง   พ.ศ.   ๙๕๔
 **   ความจริงจนถึงราวพ.ศ.  ๖๐๐  กว่า
๑    ในประกาศพระราชพิธีจรดพระนังคัลว่าชาวคันธารราฐคิดสร้างพระพุทธรูป (ปางขอฝน) ขึ้น   
และในหนังสือรัตนพิมพวงศ์ว่าเทวดานฤมิตพระพุทธรูปแก้วมรกตถวายพระนาคเสนในเมืองปาฎลีบุตร 
(ร่วมสมัยกับพระเจ้ามิลินท์)  ตรงตามตำนาน   แต่ผู้แต่งจะได้หลักฐานมาจากที่ไหนหาปรากฏไม่
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รูปพรรณสัณฐานของพระพุทธองค์จะเป็นอย่างไรก็ไม่มีตัวผู้เคยเห็น   
มีแต่คำบอกเล่ากล่าวกันสืบมาว่าเป็นเช่นนั้นๆเช่นว่ามีลักษณะอย่างมหาบุรุษในคัมภีร์ปุริสลักขณ
ของพราหมณ์    ซึ่งแต่งไว้แต่ก่อนพุทธกาลเป็นต้น   ช่างผู้คิดทำพระพุทธรูปได้อาศัยคำบอกเล่า
เช่นว่าอย่างหนึ่ง     กับอาศัยความรู้เรื่องพุทธประวัติเช่นว่าพระพุทธองค์เป็นกษัตริย์ชาวมัชฌิมประเทศ
เสด็จออกทรงผนวชเป็นสมณะเป็นต้นอย่างหนึ่ง   กับอาศัยแบบอย่างอันปรากฏอยู่ในจารีตประเพณีของ
ชาวมัชฌิมประเทศดังเช่นกิริยาที่นั่งขัดสมาธิและครองผ้ากาสาวพัสตร์เหมือนเช่นพระภิกษุซึ่งยังมีอยู่
ในสมัยนั้นเป็นต้นอีกอย่างหนึ่ง   นอกจากนั้นก็อาศัยแต่คติที่นิยมว่าดีงามในกระบวนช่างของโยนก
เป็นหลักความคิดที่ทำพระพุทธรูปขึ้นโดยรู้อยู่ว่าไม่เหมือนพระองค์พระพุทธเจ้า    
เพราะฉะนั้นที่สามารถให้คนทั้งหลายนิยมยอมนับถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าได้
ต้องนับว่าเป็นความคิดฉลาดแท้ทีเดียว       
       
ลักษณะพระพุทธรูปโบราณที่ช่างโยนกคิดทำขึ้นในคันธารราฐสังเกตเห็นได้ว่าอนุโลมตามคัมภีร์
มหาปุริสลักขณหลายข้อเป็นต้น   คือข้อว่าอุณฺณา   โลมา   ภมุกนฺตเร    ทำพระอุณาโลมไว้ที่หว่าง
พระขนงอย่างหนึ่ง   บางทีจะเอาความในบทอุณหิสสิโส   อันแปลว่าพระเศียรเหมือนทรงอุณหิส (๑)  
มาคิดอนุโลมทำให้พระเศียรพระพุทธรูปมีพระเกตุมาลาอีกอย่างหนึ่ง   แต่พระเกตุมาลาตามแบบช่างโยนก
ทำเป็นพระเกศายาวกระหมวดมุ่นเป็นเมาลีไว้บนพระเศียรอย่างพระเกศากษัตริย์เป็นแต่ไม่มีเครื่องศิราภรณ์    
ความคิดเรื่องทำพระเกตุมาลานี้ศาตราจารย์ฟูเชร์ *
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑   คำว่า   อุณหิส   แปลกันหลายอย่างว่า   กรอบหน้าบ้าง   ผ้าโพกบ้าง   มงกุฎบ้าง   
แต่รวมความเป็นอันเดียวกันว่า   เครื่องทรงที่พระเศียร
 *   นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สันนิษฐานว่าจะเกิดโดยจำเป็นในกระบวนช่างด้วยในลายจำหลักเรื่องพระพุทธประวัติมีสภาพสมณะ
ทั้งพระพุทธรูปและรูปพระภิกษุพุทธสาวก    ถ้าทำพระพุทธรูปแต่เป็นอย่างสมณะก็จะสังเกตยากว่า    
พระพุทธรูปหรือรูปพระสาวกช่างโยนกประสงค์จะให้คนดูรู้จักพระพุทธรูปได้โดยง่ายจึงถือเอาเหตุ
ที่พระพุทธองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติและเป็นสมณะโดยเพศนั้น   
ทำพระพุทธรูปให้ส่วนพระองค์ทรงครองผ้าอย่างสมณะแต่ส่วนพระเศียร
ทำให้เหมือนอย่างพระเศียรกษัตริย์     เป็นแต่ลดเครื่องศิราภรณ์ออกเสีย   

พระพุทธรูปจึงแปลกกับรูปภาพอื่นๆ   ถึงจะอยู่ปะปนกับรูปใครๆก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้า   
ความคิดข้อนี้ช่างพวกอื่นในสมัยชั้นหลังต่อมาไม่สามารถจะคิดแก้ไขไปเป็นอย่างอื่นได้
ก็ต้องเอาแบบอย่างของช่างโยนกทำต่อมา    พระพุทธรูปจึงมีพระเกตุมาลาด้วยประการฉะนี้ (๑)    
ลักษณะที่ทำตามจารีตประเพณีในมัชฌิมประเทศนั้นเช่น   อาการทรงนั่งขัดสมาธิ 
(ช่างโยนกทำนั่งขัดสมาธิเพชรอย่างเดียว)   และอาการที่ทรงครองผ้าทำทั้งอย่างห่มดองและห่มคลุม   
แต่มักชอบทำห่มคลุมจำหลักกลีบผ้าให้เหมือนจริงตามกระบวนช่างโยนก   
นอกจากที่กล่าวมาในบรรดาลักษณะซึ่งมิได้มีที่บังคับแล้ว   พวกช่างโยนก
ทำตามคติของชาวโยนกทั้งนั้น   เป็นต้นว่าดวงพระพักตร์พระพุทธรูป
ก็ทำอย่างเทวรูปที่งามของชาวโยนก (๒)   
พระรัศมีก็ทำอย่างประภามณฑลเป็นวงกลมอยู่ด้านหลังพระพุทธรูปตามแบบรัศมีของภาพโยนก    
ส่วนกิริยาท่าทางของพระพุทธรูปนั้น   เพราะทำพระพุทธรูปในลายเรื่องพระพุทธประวัติ    
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑  คำอธิบายเช่นกล่าวในหนังสือปฐมสมโพธิว่ารูปพระเศียรเป็นเช่นนั้นเองผิดธรรมดา    
    เห็นว่าจะเป็นความคิดเกิดขึ้นเมื่อมีพระพุทธรูปแล้ว
๒   คือเทวรูปอปอลโล
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธรูปซึ่งทำตรงเรื่องตอนไหนช่างก็คิดทำกิริยาท่าทางพระพุทธรูปให้เข้ากับเรื่องตอนนั้น    
เป็นต้นว่าพระพุทธรูปตรงเรื่องเมื่อก่อนเวลาตรัสรู้    ทำนั่งซ้อนพระหัตถ์เป็นกิริยาสมาธิ    
พระพุทธรูปตรงเมื่อชนะพยามารทำพระหัตถ์ขวามาห้อยที่พระเพลา  
แสดงว่าทรงชี้อ้างพระธรณีเป็นพยาน   
พระพุทธรูปตรงเมื่อประทานปฐมเทศนาทำจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลมหมายความว่า  พระธรรมจักร * 
พระพุทธรูปตรงเมื่อมหาปาฏิหาริย์ (คือ ยมกปาฏิหาริย์)  ทำเป็นพระพุทธรูปมีดอกบัวรอง     
คิดทำตามเรื่องพระพุทธประวัติทำนองดังกล่าวมานี้  (รูปที่ ๔ )  
ต่อไปตลอดจนถึงเมื่อเสด็จเข้าสู่พระนิพพานก็ทำเป็นรูปพระพุทธไสยา (รูปที่ ๕) **  
เมื่อพระพุทธรูปมีขึ้นใครเห็นก็คงชอบใจจึงเลยเป็นเหตุให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในการสร้างพระพุทธรูป
ในคันธารราฐ   แต่ความนิยมยังไม่แพร่หลายไปถึงประเทศอื่นในอินเดีย    
ด้วยอาณาเขตคันธารราฐเมื่อสมัยพระเจ้ามิลินท์ไม่กว้างขวางเท่าใดนัก   
ซ้ำเมื่อสิ้นพระเจ้ามิลินท์แล้วเชื้อวงศ์ได้ครองคันธารราฐต่อมาเพียงสัก  ๓๐  ปี
ก็เสียบ้านเมืองแก่พวกศะกะซึ่งลงมาจากกลางทวีปเอเชีย    
พวกศะกะได้ครองคันธารราฐอยู่ชั่วระยะเวลาตอนหนึ่งแล้วก็มีพวกกุษาณะ(๑)
ยกมาจากทางปลายแดนประเทศจีนชิงได้คันธารราฐจากพวกศะกะอีกเล่า   
แต่ในสมัยเมื่อพวกกุษาณะครอบครองคันธารราฐนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินในกุษาณะราชวงศ์องค์หนึ่ง  
ทรงพระนามว่า    พระเจ้ากนิษกะ    ได้ครองราชสมบัติในระหว่างพ.ศ.  ๖๖๓   จนพ.ศ.   ๗๐๕   
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 *   พระหัตถ์ซ้ายประคองทำท่ากำลังหมุน
 **   ตามการค้นคว้าในปัจจุบันเชื่อกันว่าพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์เริ่มเกิดมีขึ้น
เป็นครั้งแรกในแคว้นคันธารราฐในรัชกาลของพระเจ้ากนิษกะวงศ์กุษาณะราวพุทธศตวรรษที่ ๗   
และเป็นฝีมือของช่างกรีก – โรมัน
๑   จีนเรียกว่า   ยิวชิ   Yuel – chi
------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 

สามารถแผ่ราชอาณาเขตออกไปทางข้างเหนือและข้างใต้ได้มัชฌิมประเทศทั้งหมด
ไว้ในราชอาณาเขตเป็นพระเจ้าราชาธิราชขึ้นเหมือนอย่างพระเจ้าอโศกมหาราช   
ชะรอยเมื่อพระเจ้ากนิษกะคิดหาวิธีปกครองพระราชอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาล   
จะได้ทราบวิธีการปกครองของพระเจ้าอโศกซึ่งรวมพุทธจักรกับอาณาจักรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน    
พระเจ้ากนิษกะก็เลื่อมใสในพุทธศาสนาประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก   
ปกครองพระราชอาณาเขตตามแบบอย่างครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช     
ก็แต่พฤติการณ์ต่างๆในสมัยพระเจ้ากนิษกะผิดกันกับสมัยพระเจ้าอโศกเป็นข้อสำคัญ
อยู่หลายอย่างเป็นต้นเรื่องสร้างพุทธเจดีย์   ปรากฏว่าเจดียสถานที่เกิดขึ้นในคันธารราฐ
เมื่อครั้งพระเจ้ากนิษกะมีทั้งพระธาตุเจดีย์   บริโภคเจดีย์    แต่ภูมิประเทศต่างกัน
ด้วยพระเจ้าอโศกมหาราชตั้งราชธานีอยู่   ณ  เมืองปาฏลีบุตรในมัชฌิมประเทศอันเป็นท้องถิ่น
ที่พระพุทธเจ้าเที่ยวทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนา   มีเจดียสถานที่เนื่องต่อพระพุทธองค์
และพระพุทธประวัติเป็นเครื่องบำรุงความเลื่อมใส    

แต่พระเจ้ากนิษกะตั้งราชธานีอยู่   ณ   เมืองบุรุษบุรี (๑)  ในคันธารราฐอันเป็นปัจจันตประเทศ
ปลายแดนอินเดียซึ่งพึ่งได้รู้จักพระพุทธศาสนาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชให้ไปสั่งสอนอีกประการหนึ่ง   
พระไตรปิฎกที่รวบรวมพระธรรมวินัยมาจนถึงเวลานั้นก็เป็นภาษามคธของชาวมัชฌิมประเทศ    
แต่ชาวคันธารราฐเป็นคนต่างชาติต่างภาษาถึงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็ยาก
ที่จะเข้าใจพระธรรมวินัยได้ซึมทราบเหมือนอย่างชาวมัชฌิมประเทศ    
เพราะเหตุดังกล่าวมาเมื่อพระเจ้ากนิษกะฟื้นพระพุทธศาสนาแม้พยายามตามแบบอย่างครั้ง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------  
๑  เดี๋ยวนี้เรียกว่าเมืองเปษวาร์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------- 

พระเจ้าอโศกมหาราชทั้งในการสร้างพุทธเจดีย์    
การสังคยนาพระธรรมวินัยและให้เที่ยวสั่งสอนพระพุทธศาสนายังนานาประเทศก็ดี    
ลักษณะการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาครั้งพระเจ้ากนิษกะจึงผิดกับครั้งพระเจ้าอโศก    
จะพรรณนาแต่เป็นที่สำคัญ   เจดีย์และอุเทสิกะเจดีย์    พระธาตุเจดีย์นั้นพระเจ้ากนิษกะ
ให้เสาะหาพระบรมธาตุที่ในมัชฌิมประเทศเชิญไปสร้างพระสถูปบรรจุไว้ปรากฏอยู่หลายแห่ง    
ส่วนบริโภคเจดีย์นั้น    เพราะในคันธารราฐไม่มีสถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ได้ประทานอนุญาต
ไว้ให้เป็นพระบริโภคเจดีย์เหมือนเช่นที่มีในมัชฌิมประเทศจึงสมมติที่ตำบลต่างๆ
ซึ่งอ้างเข้าเรื่องพุทธประวัติเช่นว่าเมื่อพระพุทธองค์ยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์   
ทรงบำเพ็ญบารมีอย่างนั้นๆ  ณ   ที่ตำบลนั้นๆ   
แล้วสร้างพระพุทธเจดีย์ขึ้นเป็นบริโภคเจดีย์ (๑)  (รูปที่ ๖)    

คติอันนี้ภายหลังมาเลยสมมติต่อไปจนอ้างว่าพระอดีตพุทธเจ้าคือ   พระกกุสัณฑ    พระโกนาคมน์     
และพระกัสสป   ทั้งสามองค์ได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่ในคันธารราฐแล้วสร้างบริโภคเจดีย์
เนื่องในเรื่องประวัติของพระอดีตพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นด้วย (๒)      
เลยเป็นปัจจัยถึงคติของพวกถือลัทธิมหายานซึ่งจะกล่าวในที่อื่นต่อไปข้างหน้า    
ส่วนอุเทสิกะเจดีย์นั้นเพราะพวกโยนกได้คิดทำพระพุทธรูปขึ้นในคันธารราฐตั้งแต่ครั้งพระเจ้ามิลินท์   
------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 
๑   เรื่องบริโภคเจดีย์ในคันธารราฐกล่าวตามอธิบายในหนังสือพรรณนา
ระยะทางของหลวงจีนฟาเหียนและหลวงจีนฮ่วนเจียง   
ที่ไปถึงคันธารราฐ   เมื่อราวพ.ศ.  ๙๔๔   และพ.ศ.   ๑๑๗๓    
๒     คติ ที่ถือกันว่าคันธารราฐเป็นที่พระอดีตพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์
ได้ทรงประดิษฐานพระศาสนาปรากฏอยู่ในหนังสือพรรณนาระยะทางของหลวงจีนฮ่วนเจียงซึ่งไปถึง
คันธารราฐเมื่อพ.ศ.  ๑๑๗๓   แต่อาจจะถือกันขึ้นต่อเมื่อภายหลังรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะก็เป็นได้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 
 
พระเจ้ากนิษกะก็เป็นเชื้อชาวต่างประเทศจึงเลื่อมใสในการสร้างพระพุทธรูป     
ให้ช่างชาวโยนกที่มีฝีมือดีมาคิดทำพระพุทธรูปให้งามสง่ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน   
จึงเกิดความคิดแก้ไขแบบพุทธเจดีย์ให้มีพระพุทธรูปเป็นประธานแต่นั้นมา   
เป็นต้นว่าแต่ก่อนมาเคยจำหลักเรื่องพุทธประวัติเป็นลายประดับพระสถูป    แก้ทำเป็นซุ้มจรนำ  ๔   ทิศ
ติดกับองค์ (ระฆัง)   พระสถูปแล้วทำพระพุทธรูปให้เป็นขนาดใหญ่กิริยาต่างกันตามเค้าพระพุทธรูป
ในลายเรื่องพระพุทธประวัติในซุ้มจรนำนั้นใครเห็นก็รู้ได้ว่าเป็นพระพุทธรูปเมื่อตอนไหน    
ในเรื่องพุทธประวัติ    อันนี้น่าจะเป็นต้นเค้าที่สร้างแต่เฉพาะพระพุทธรูปตั้งเป็นประธานในเจดียสถานต่างๆ 
(อย่างวัดที่สร้างกันภายหลัง)   รูปพระโพธิสัตว์ก็สร้าง (รูปที่ ๗)   

แต่ในสมัยนั้นสร้างแต่รูปพระสักยโพธิสัตว์     เมื่อก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า *  
ความที่กล่าวมามีหลักฐานด้วยพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ของโบราณที่ค้นพบในคันธารราฐ    
โดยเฉพาะที่ทำงามอย่างยิ่งเป็นฝีมือช่างโยนกสร้างในสมัยพระเจ้ากนิษกะเป็นพื้น   ใช่แต่เท่านั้น
พระพุทธรูปโบราณที่พบทางกลางทวีปเอเชียก็ดี    ที่พบในมัชฌิมประเทศเช่นที่เมืองพาราณสี    
เมืองมถุรา   (รูปที่ ๘)    และทางฝ่ายใต้จนเมืองอมราวดี  (รูปที่  ๙)  ก็ดี   
ที่เป็นชั้นเก่าล้วนเอาแบบอย่างพระพุทธรูปคันธารราฐไปทำทั้งนั้น     
          
จึงยุติได้ว่าการสร้างพระพุทธรูปแพร่หลายต่อไปถึงนานาประเทศแต่ครั้งพระเจ้ากนิษกะบำรุง
พระพุทธศาสนาเป็นต้นมา **
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

 *   รูปพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ก็มี
 **    พระพุทธรูปแบบมถุราในชั้นเดิมไม่ได้รับอิทธิพลของศิลปะคันธารราฐเลย   
แต่เป็นแบบอินเดียแท้สันนิษฐานว่าช่างอินเดียคงจะได้ทราบข่าวว่าช่างคันธารราฐคิดทำพรพุทธรูป
เป็นมนุษย์ขึ้น   จึงคิดทำขึ้นบ้าง    ส่วนพระพุทธรูปแบบอมราวดีนั้น    
แก้ไขแบบจีวรเป็นอีกอย่างหนึ่ง   และเปลี่ยนเส้นพระเกศาเป็นขมวด


แล้วเหตุใดจึงมีเรื่องที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปดาวดึง แล้วพระเจ้าประเสนธิโกศล สร้างพระพุทธรูปแก่นจันทร์ขึ้นได้ล่ะ 

 

แก้ไข ว่าไม่มีระบุในพระไตรปิฏก แต่ระบุในเอกสารอื่นที่เขียนขึ้นทีหลัง



#14 ตะกร้าอีกใบ072

ตะกร้าอีกใบ072
  • Members
  • 152 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 21 August 2014 - 04:46 PM

แนบไฟล์  12.jpg   136.89K   27 ดาวน์โหลด



#15 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 21 August 2014 - 06:36 PM

แล้วเหตุใดจึงมีเรื่องที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปดาวดึง แล้วพระเจ้าประเสนธิโกศล สร้างพระพุทธรูปแก่นจันทร์ขึ้นได้ล่ะ 

 

เข้าใจไม่ยากหรอกครับ  ในพระพุทธศาสนามีเรื่องราวมากมาย  จริงบ้าง  แต่งบ้าง  หน้าที่ของพวกเราคือ  ศึกษา  หาแก่นแท้ให้ได้  อันไหนเป็นเรื่องเล่าสอนใจก็เก็บไว้ส่วนหนึ่ง  เรื่องไหนเป็นตำนานข่าวลือก็เก็บไว้ส่วนหนึ่ง  เอาพระไตรปิฎกเป็นหลัก    ถ้าสิ่งไหนไม่มีในพระไตรปิฎก  ก็ลองพยายามหาทางเทียบเคียงเอากับประวัติศาสตร์  

 

ตัวอย่างเช่น  พระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์  ถ้าสามารถทำได้  ทำไมสมัยพระเจ้าอโศกซึ่งตามมาภายหลังถึงไม่มีบันทึกปรากฏ    เพราะสมัยพระเจ้าอโศกมีการสร้างรูปเคารพแล้ว  แต่ก็ไม่ปรากฏพระพุทธรูปแม้แต่องค์เดียว  หลังจากยุคพระเจ้าอโศกไปแล้วหลายร้อยปี  ถึงปรากฏพระพุทธรูปจากอารยะธรรมอื่นๆ แทน

 

ส่วนเรื่องพระแก่นจันทร์นั้น  เพิ่งเริ่มมีการบันทึกเรื่องราวเมื่อพันกว่าปีมานี่เอง  ซึ่งไม่รู้ว่าตำนานจากล้านนา  กับตำนานจากพระซ่วนจาง  อย่างไหนเกิดก่อน  แต่ก็พอจะเดาได้ว่ามีแค่ 2 ทางนี้เป็นต้นเรื่อง  ส่วนใครก่อน  ใครหลัง  ใครจริง  ใครแต่ง  ก็ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์เขาว่ากันไป

 

ส่วนพวกเราชาวพุทธ  วันเปิดโลก  จัดเป็นไฮไลท์ของพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง  ถ้ามีเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  ก็น่าจะมีบันทึกเอาไว้  แต่ก็ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎก  ตอนนี้เราชาวพุทธก็อนุมานไปก่อนได้ว่า  เรื่องพระแก่นจันทร์นั้น  คงเป็นตำนานเรื่องเล่าทางพระพุทธศาสนาไปก่อนอีกเรื่องหนึ่ง  จนกว่าจะมีนักวิชาการหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ครับ


และที่สำคัญ  จะมีพระแก่นจันทร์หรือไม่มีพระแก่นจันทร์   ก็ไม่ได้ทำให้แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาเปลี่ยนแปลงไปหรอกครับ  อย่าไปใส่ใจนักเลย


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#16 อารยาดุสิต

อารยาดุสิต
  • Members
  • 104 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 21 August 2014 - 07:17 PM

      พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๓พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ข้อที่๑๒๒ หน้าที่๑๒๔

.       ...พออายุได้ ขวบ เราก็ออกบวชเป็นบรรพชิต เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปอันประเสริฐ เกิดพระบารมีทุกอย่าง มีดวงตาสีเขียวล้วน เกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสันฐานอันงดงาม ครั้งนั้น พระพิชิตมารทรงทราบว่า เรายินดีในพระพุทธรูป จึงได้ตรัสสอนเราว่าอย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียดซึ่งชนพาลชอบเล่าก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรม บัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา....

       พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๓๓สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๒๕ ขุทฺทกนิกายสฺส อปทานํ ภาค พุทฺธวํโส จรยาปิฏก ข้อที่ ๑๒๒หน้า๑๘๔

                    ... รูป สพฺพ สุภากิณฺณ          อติตฺโต วิหรามห    พุทฺธรูปรตึ ตฺวา           ตทา โอวทิ ชิโน

                อลํ วกฺกลิ กึ รูเป          รมเส พาลนนฺทิเต ฯ      โย หิ ปสฺสติ สทฺธมฺมํ        โส มํ ปสฺสติ ปณฺฑิโต

                อปสฺสมาโน สทฺธมฺมํ         มํ ปสฺปปิ ปสฺสติ ฯ    อนนฺตาทีนโว กาโย         วิสรุกฺขสมูปโม

                อาวาโส สพฺพโรคานํ        ปฺุญโช ทุกฺขสฺส เกวโล ฯ  นิพฺพินฺทิย ตโต รูเป         ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ

                ปสฺสํ ๑๐ สพฺพกิเลสานํ      สุเขนนฺตํ คมิสฺสสิ ฯ....

       ศาสตราจารย์ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์(ป่วน อินทุวงศ์)[1] แสดงทรรศนะเชิงวิจารณ์เกี่ยวกับตำนานพระแก่นจันทน์ว่า

เป็นเพียงความเชื่อของเราที่ว่าพระพุทธรูปเกิดมีขึ้นตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และเป็นพระบรมพุทธานุญาต แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะได้ตรวจสอบหลักฐานหมดแล้วทั่วอินเดีย ในครั้งพุทธกาลไม่เคยมีพระพุทธรูป แม้ล่วงมาประมาณ พ.ศ. ๓๕๐ ก็ไม่มีพระพุทธรูป จนถึงประมาณระหว่าง พ.ศ. ๓๖๕-๓๘๓ สมัยพระยามิลินท์ซึ่งเป็นชนชาติกรีกผสมอินเดีย ปกครองแคว้นคันธาระและปัญจาป พระองค์ได้สนทนาธรรมกับพระนาคเสน เกิดความเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงคิดสร้างพระพุทธรูปขึ้น โดยยึดประเพณีการสร้าง ปูชนียวัตถุของชาวมัชฌิมประเทศที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

 


[1]บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง, และ เกษม บุญศรี. (๒๕๐๐). เรื่อง

พระพุทธรูปปาง ต่างๆ. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พิมพ์ขึ้นพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคล ขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธ- ศักราช ๒๕๐๐).

*********************************************************************************************************

กราบอนุโมทนาบุญ กับท่านผู้รู้ค่ะ  และ  พระพุทธรูปแก้วใสในตัวเลิศกว่าทั้งปวง 

 



#17 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 August 2014 - 08:11 AM

หวังว่าทุกท่านที่แวะกระทู้นี้ คงได้ความรู้กันถ้วนหน้า

 

ในภาพคือ พระพุทธรูปคันธาระ กว่า ๒พันปีก่อน นำมาแสดงที่อาคาร UN ประเทศไทย เมื่อ 8 พ.ค.2555

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  IMG_1603.jpg   309.34K   2 ดาวน์โหลด

ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#18 ปีติบุญ

ปีติบุญ
  • Members
  • 153 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 August 2014 - 11:07 PM

ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ



#19 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 July 2015 - 12:45 PM

"พระเจ้าประเสนธิโกศล สร้างพระพุทธรูปแก่นจันทร์ " เป็นเพียงเรื่องเล่า และแต่งขึ้นในภายหลัง ขอยืนยันว่าไม่มีเรื่องนี้ในพระไตรปิฏกครับ ดังนั้นเรื่อง ระพุทธรูปแก่นจันทร์ จึงไม่สามารถอ้างอิงได้และเชื่อถือได้น้อย  (ถ้าใครค้นเจอในพระไตรปิฏกนำมาแสดงด้วยนะครับ)



#20 Na Kornchanok

Na Kornchanok
  • Member_Facebook
  • 24 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 July 2015 - 09:02 PM

อนุโมทนาบุญทุกท่านคะ