ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พระพุทธศาสนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 16 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 09:35 PM

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ ๑ (๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕
ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า
“กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์”
ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆเช่นสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศนเทพวราราม
วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพน ฯ เป็นต้น
ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๙ และถือเป็นครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย ณ วัดมหาธาตุ ได้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง
ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่
ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย
ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม
ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒


รัชกาลที่ ๒ (๒๓๕๒- ๒๓๖๗)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ
ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง ๓ พระองค์
คือสมเด็จพระสังฆราช ( มี )สมเด็จพระสังฆราช ( สุก ) และสมเด็จพระสังฆราช ( สอน )

ในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ทรงจัดส่งสมณทูต ๘ รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย
แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่ ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่
ได้ขยายหลักสูตร ๓ ชั้น คือ เปรียญตรี -โท - เอก เป็น ๙ ชั้น คือชั้นประโยค ๑ - ๙


รัชกาลที่ ๓ (๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวง
เพิ่มจำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วนกว่ารัชกาลก่อน ๆ
โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง
และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชราชนัดดา และวัดเฉลิมพระเกียรติ
ได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็ก

ในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ)
ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ
ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖
แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ


รัชกาลที่ ๔ (๒๓๙๔ -๒๔๑๑)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช ๒๗ พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๒๓๙๔

ด้านการพระศาสนา ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด
เช่นวัดปทุมวนาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
และวัดราชบพิตร เป็นต้น
ตลอดจนบูรณะวัดต่าง ๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี “มาฆบูชา” ขึ้นเป็นครั้งแรก
ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้


รัชกาลที่ ๕ (๒๔๑๑ - ๒๔๕๓)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑
ทรงยกเลิกระบบทาสในเมืองไทยได้สำเร็จ ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือ
วัดวัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิมิตร
วััดจุฑาทิศราชธรรมสภา และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่น ๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก โปรดใหั้มีการเริ่มต้นการศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย
โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ
ครั้น พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม
ถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง โดยจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองขึ้น

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ ๓๙ เล่ม จำนวน ๑,๐๐๐ จบ

พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร
จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ
และต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร

ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย"
ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิดในปีเดียวกัน


รัชกาลที่ ๖ (๒๔๕๓- ๒๔๖๘)


พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์
ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางพระศาสนามาก
ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น
เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น
ถึงกับทรงอบรมสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง
ทรงโปรดให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ.
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ให้เปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียน เป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง
เรียกว่า "นักธรรม" โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ เดือนตุลาคม ๒๔๕๔
ตอนแรกเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู้ธรรม"

พ.ศ. ๒๔๖๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก
และคัมภีร์อื่น ๆ เช่นวิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา เป็นต้น


รัชกาลที่ ๗ (๒๔๖๘ - ๒๔๗๗)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ ๔๕ เล่ม จำนวน ๑,๕๐๐ ชุด
และพระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ ๕๐๐ ชุด

โปรดให้ย้ายกรมธรรมการกลับเข้ามารวมกับกระทรวงศึกษาธิการ
และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม
โดยมีพระราชดำริว่า “การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด”

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๑ กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน
ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่
เรียกว่า "ธรรมศึกษา"

ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย
เมื่อคณะราษฎร์ได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๘


รัชกาลที่ ๘ (๒๔๗๗ - ๒๔๘๙)


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชเป็นรัชกาลที่ ๘
ในขณะพระพระชนมายุ เพียง ๙ พรรษาเท่านั้น และยังกำลังทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ
จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในด้านการศาสนาได้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด ๘๐ เล่ม
เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์
และัทำต่อจนเสร็ตเมื่องานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐

๒. พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น ๑๒๕๐ กัณฑ์
เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒

พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
และกรมธรรมการเปลี่ยนเป็น กรมการศาสนา
และในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่

พ.ศ. ๒๔๘๘ มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์
ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม

พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกลอบปลงพระชนม์
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จขึ้นครองราช เป็นรัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน


สมัยรัชกาลที่ ๙ (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ สืบมา)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นราชกาลที่ ๙ สืบต่อมา
ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก
ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น
ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนี้


- ด้านการศึกษา ประชาชนได้สนใจศึกษาพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ได้มีการจัดตั้งสมาคม มูลนิธิทางพุทธศาสนาเพื่อการศึกษามากมาย
มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

พ.ศ. ๒๔๙๐ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒
ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายพระพุทธศาสนาขึ้น
เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๙๐ และเปิดการศึกษา
เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน.

ส่วนการศึกษาของพระสงฆ์ได้มีการยกระดับมาตรฐานการศึกษา
เช่นยกระดับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท
และมีนโยบายจะเปิดระดับปริญญาเอกในอนาคต
ได้มีการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยสากลทั่วไป
และได้ออกกฏหมาย พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง

โดยรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีชื่อว่า
“มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ “มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย”

ส่วนการศึกษาด้านอื่น ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ
ระดับประถมปลาย และ ม.๑ ถึง ม.๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก
ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เพื่อเปิดการสอนพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน จนได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศ.


- ด้านการเผยแผ่ ได้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศไทยได้มีองค์กรเผยแผ่ธรรมในแต่ละจังหวัด
โดยได้จัดตั้งพุทธสมาคมประจำจังหวัดขึ้น
ส่วนพระสงฆ์ได้มีบทบาทในการเผยแผ่มากขึ้น โดยใช้สื่อของรัฐ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเอาวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาภาคบังคับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ตั้งแต่ ม. ๑ ถึง ม. ๖ พระสงฆ์จึงได้มีบทบาทในการเข้าไปสอนในโรงเรียนต่าง ๆ
มีการประยุกต์การเผยแผ่ธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการบรรยาย ปาฐกถา
และเขียนหนังสืออธิบายพุทธธรรมมากขึ้น ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ในต่างประเทศได้มีการสร้างวัดไทยในต่างประเทศหลายวัด เช่น
วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นวัดไทยแห่งแรกในต่างประเทศ
ต่อจากนั้นได้มีการสร้างวัดไทยในประเทศตะวันตก คือ
วัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙
นับเป็นวัดไทยวัดแรกในประเทศตะวันตก

ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีการสร้างวัดแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอเนีย ชื่อว่า วัดไทยลอสแองเจลิส

นอกจากนั้นได้มีองค์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย ได้จัดให้มีการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศขึ้นประจำทุกปี
เพื่อส่งไปเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างประเทศ
โดยเฉพาะทางตะวันตก ปัจจุบันนี้ชาวตะวันตกได้หันมาสนใจพุทธศาสนากันมาก

ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้มีการจัดตั้งสำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น
ณ ประเทศไทย ( พ.ส.ล. ) เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธทั่วโลก


- ด้านพิธีกรรม ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีต่าง ๆ
ที่เป็นพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ ให้เป็นพิธีของรัฐบาล เรียกว่า “รัฐพิธี”
โดยให้กรม กระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้จัด

จัดให้มีงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาช่วงวันวิสาขบูชาของทุกปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์
เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนาเช่น
วันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา ณ พุทธมณฑล
ซึ่งสร้างขึ้น เมื่อคราว ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ


- ด้านวรรณกรรม
ได้มีวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมาย
มีปราชญ์ทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นหลายรูป
จึงได้เกิดวรรณกรรมทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเล่ม


ที่มาจาก http://www.geocities.com/sakyaputto

****
ที่สำคัญยิ่งอีกประการคือ การสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม วัดพระธรรมกาย
กระทั่งบังเกิดมหาธรรมกายเจดีย์ และมหารัตนวิหารคด
เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย

ไฟล์แนบ



#2 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 14 April 2006 - 07:14 PM

ขออนุญาตถามเจ้าของกระทู้หน่อยละกันนะครับ วัดประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง ๙ ได้แก่วัดอะไรบ้างครับ? (ถามแบบง่ายๆ เบๆ เลยนะเนี่ย)

#3 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 14 April 2006 - 09:23 PM

ฝนขอตอบได้ไหมค่ะถ้าผิดยังไงก็บอกฝนด้วยนะค่ะ

วัดประจำรัชกาลที่ ๑ คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
รัชกาลที่ ๒ คือ วัดอรุณราชวราราม
รัชกาลที่ ๓ คือ วัดราชโอรส
รัชกาลที่ ๔ คือ วัดราชประดิษฐ์
รัชกาลที่ ๕ คือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
รัชกาลที่ ๖ คือ วัดบวรนิเวศวิหาร
รัชกาลที่ ๗ คือ วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
รัชกาลที่ ๘ คือ วัดสุทัศน์เทพวราราม
รัชกาลที่ ๙ คือ วัดญาณสังวราราม
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#4 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 14 April 2006 - 09:40 PM

ขอแก้ไขและเพิ่มเติมดังนี้
วัดประจำรัชกาลที่ ๔ คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำรัชกาลที่ ๕ คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (ไม่ใช่วัดเบญจมบพิตรอย่างที่ใครๆ พากันเข้าใจนะครับ)
วัดประจำรัขกาลที่ ๙ คือ วัดบวรนิเวศวิหาร (เนื่องจากเป็นวัดที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชและทรงมีพระราชศรัทธาครับ)



#5 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 14 April 2006 - 09:45 PM

ค่ะขอบคุณค่ะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#6 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 17 April 2006 - 04:08 PM

ขออนุญาติ เสริมเติมนิดนึง มิได้ผิดวัตถุประสงค์ นะคร๊าบ

วัดประจำรัชกาลที่ 1 ถึง 3 ...วัดเก่า ทำใหม่
วัดประจำรัชกาลที่ 4-5 ...สร้างใหม่
วัดประจำรัชกาลที่ 6-8 ...ไม่สร้าง แต่บำรุง

มาถึงวัดประจำรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขณะนี้ยังไม่มีความแน่ชัด แต่คาดเดากันว่าน่าจะเป็นหนึ่งในสามวัดนี้ คือวัดโสธรวราราม วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร จังหวัดชลบุรี และวัดพระราม 9 กาญนาภิเษก กรุงเทพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วัดประจำรัชกาลที่ 9 คือ รัชกาลปัจจุบันก็ไม่ได้ทรงประกาศให้วัดใดเป็นวัดประจำรัชกาล เพียงแต่ทรงสร้างวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษกขึ้นเพื่อเป็นวัดตัวอย่างในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง


#7 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 17 April 2006 - 05:42 PM

ขอบคุณน้อง Ideal มากครับ ต้องขออภัยต่อทุกท่านด้วยที่ผมลืมบอกไป เพราะข้อมูลของวัดประจำรัชกาลที่ ๙ นั้น เป็นข้อมูลแบบคาดว่าครับ (ผมทรงจำข้อมูลนี้ มาตั้งแต่สมัยปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ในรายการเฉลิมพระเกียรติชุด "เย็นศิระเพราะพระบริบาล ตอน วัดประจำรัชกาล" (ยังจำได้ว่า แบ่งเป็น ๒ ตอน ตอนแรก กล่าวถึงวัดประจำรัชกาลที่ ๑-๔ ตอนที่ ๒ กล่าวถึงวัดประจำรัชกาลที่ ๕-๙ ครับ) เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกครับ)

ปล. สำหรับวัดที่ผมชอบที่สุด คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพราะภายในพระอุโบสถมีลักษณะของศิลปะที่คล้ายกันกับพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระราชวังแวร์ซายส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ประเทศฝรั่งเศส และยังมีพระพุทธอังคีรสที่สวยสดงดงาม ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถอีกด้วย


#8 Talent_book

Talent_book
  • Members
  • 95 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:นั่งสมาธิ

โพสต์เมื่อ 17 April 2006 - 11:46 PM

รัชกาลที่ ๔ กับรัชกาลที่ ๗ ทำไมวัดประจำราชกาลจึงเป็นวัดเดียวกันครับ ขออนุญาตถามนิดนึงนะครับ
..............ปล.ผมชอบธรรมกถึก จริงๆ สนทนาธรรมะเนี่ย อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ ไม่คิดไม่แปลก ยิ่งคิดยิ่งแลก สาธุ...........
ดุจแสงเทียนแสงธรรมนำชีวิต
พระอุทิศกายใจทำไมหนอ
เพียงลำพังพระเองก็สุขพอ
ใยต้องรอผองเราเข้าถึงธรรม

สุนทรพ่อ

I Love You หลายเด้อ

#9 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 18 April 2006 - 12:09 AM

การที่วัดประจำรัชกาลที่ ๗ กับวัดประจำรัชกาลที่ ๕ เป็นวัดเดียวกันนั้น มีเหตุผลอยู่ประการหนึ่งก็คือ พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถูกนำมาประดิษฐานไว้ภายใต้ฐานชุกชีหินอ่อน อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานอังคีรสครับ

#10 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 18 April 2006 - 12:26 AM

เหตุอีกประการที่ทำให้ วัดประจำรัชกาลที่7 เป็น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพราะเคยได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหญ่

เหตุที่ทำมิให้ได้สร้างวัดประจำรัชกาลขึ้นมาใหม่เพราะ ในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา เงินแผ่นดินลดลงมาก จึงไม่โปรดให้สร้างวัดประจำรัชกาลด้วยทรงเห็นว่าสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ แต่ทรงทำนุบำรุงวัดเก่าแทน


DMC The only one

ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี้แหละเป็นตัวสำเร็จ
ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


คติธรรม พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

#11 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 18 April 2006 - 01:17 AM

QUOTE
เหตุที่ทำมิให้ได้สร้างวัดประจำรัชกาลขึ้นมาใหม่เพราะ ในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา เงินแผ่นดินลดลงมาก จึงไม่โปรดให้สร้างวัดประจำรัชกาลด้วยทรงเห็นว่า สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ แต่ทรงทำนุบำรุงวัดเก่าแทน

ใช่แล้วครับ ยุคนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้รัฐต้องตัดงบประมาณแผ่นดิน อันเป็นรายจ่ายส่วนเกินออกเป็นอันมาก


#12 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 20 April 2006 - 10:48 PM

อืม สาธุ ขอบคุณทุกท่านสำหรับข้อมูลนะคะ
The Strongest is The Gentlest!

ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด

#13 Talent_book

Talent_book
  • Members
  • 95 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:นั่งสมาธิ

โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 07:35 AM

กระจ่างแท้ โมทนาบุญนะครับ ขอบคุณครับ

#14 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 12:56 AM

สำหรับผม ผมชอบวัดพระธรรมกายมากที่สุดครับ
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#15 glouy

glouy
  • Members
  • 162 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 May 2006 - 08:34 AM

ขอกราบอนุโมทนาสาธุ

#16 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 21 September 2006 - 10:43 PM

สุดยอดเลยไปเอามาจากใหนเหรอ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#17 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 20 March 2007 - 09:04 AM

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ