ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปฎิเสธอย่างงมงาย


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
ไม่มีการตอบกลับในกระทู้นี้

#1 tooyarihc

tooyarihc
  • Members
  • 10 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 19 August 2013 - 01:48 PM

ปฎิเสธอย่างงมงาย

     ต้องพิสูจน์ "ด้วยตนเอง" จนกระทั้งรู้ชัดซะก่อน "จึงจะปลงใจเชื่อ หรือ ปฎิเสธ"

 

ตามหลักกาลามสูตร

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ "พิสูจน์" ตามแนวทางของกาลามสูตร คือ "มิให้ปลงใจเชื่อหรือด่วนปฎิเสธเด็ดขาด" ในทันที เมื่อได้รับทราบข้อมูลข่าวสารด้วยวิธีการต่างๆ 10 ประการ เพราะยังอาจเกิดการผิดผลาดขึ้นได้.
     แต่ทว่า...
     ต้องพิสูจน์ "ด้วยตนเอง" จนกระทั้งรู้ชัดซะก่อน
"จึงปลงใจเชื่อ หรือ ปฎิเสธ" มิฉะนั้น จะกลายเป็นการ "เชื่ออย่างงมงาย หรือปฎิเสธอย่างงมงาย"

 

ขั้นตอนก่อนตัดสินใจเชื่อ หรือ ปฎิเสธ

     1) ต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง
 
    2) ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
     3) เชื่อ หรือ ปฎิเสธ

 

เรื่องที่ต้องพิสูจน์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

     1. เรื่องที่อยู่ในวิสัยของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป สามารถรับรู้ได้โดยตรง
     2. เรื่องที่อยู่เหนือวิสัยของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป ไม่สามารถรับรู้ได้โดยตรง

 

ปัญญา 3 ระดับ ที่ใช้ในการพิสูจน์ (เรื่องราวทั้ง 2 ประเภท)

     1) สุตมยปัญญา
     ...ปัญญาอันเกิดจากการฟังหรือการศึกษาเล่าเรียนปริยัติจากตำรับตำรา เรียกว่า
"ความรู้จำ"
     ...มีโอกาสจะเกิดความรู้ความเข้าใจที่ผิดผลาดได้มาก

     2) จินตมยปัญญา
     ...ปัญญาอันเกิดจากการพิจารณาหาเหตุผล เรียกว่า
"ความรู้คิด" แต่ก็ยังมีโอกาสผิดผลาดได้ เพราะยังเป็นการนึกคิดทำความเข้าใจด้วยปัญญาของปุถุชน ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าความรู้ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย "เกิดจากใจมิใช่สมอง" สมองเป็นเพียงตัวกลาง "เป็นเพียงเครื่องมือรับส่งข้อมูลทั้งหลายจากใจเท่านั้น"
     ...ใจที่มีกิเลสห่อหุ้มมาก มีอวิชชาคือความไม่รู้ครอบงำจิตใจมากความรู้ที่ส่งมาจากใจ "จึงเป็นความรู้ที่ตรงตามความเป็นจริงน้อยลง" มีโอกาสผิดผลาดได้มาก "เพราะใจที่ขุ่นด้วยกิเลสก็เหมือนน้ำที่ขุ่นด้วยโคลนตมมองเห็นสิ่งที่อยู่ในน้ำได้ยากนั้นเอง."

 

     3) ภาวนามยปัญญา
     ...ปัญญาอันเกิดจากการเจริญภาวนา ได้แก่ สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา
     ...เป็นความรู้จากการเห็นแจ้ง
"เหมือนเห็นของในที่แจ้ง หรือหงายของที่คว่ำ" ดังนั้นความรู้หรือความเข้าใจที่เกิดขึ้น "จึงถูกต้องตรงตามความเป็นจริง" เรียกว่า "ความรู้แจ้ง"
     ...ความรู้ทั้งหมดในพระพุทธศาสนา "ล้วนเกิดขึ้นจากการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงลงมือปฎิบัติเจริญภาวนา" จนกระทั้งเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สามารถทำลายกิเลสที่ห่อหุ้มครอบงำจิตใจให้หมดสิ้นไป ดังนั้น "ความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากใจของพระองค์ จึงถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมีประสิทธิภาพสูงสุด"

     ...เช่นกัน การที่เราบำเพ็ญเพียรทางจิต "เจริญภาวนาด้วยการทำสมาธิ" จิตใจสงบนิ่งใสสะอาด บริสุทธิ์จากกิเลส ความรู้ความอ่านทั้งหลายก็จะถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากยิ่งๆขึ้นไป ตามส่วนของระดับสมาธิที่เขาถึงและจะ "ถูกต้องสมบูรณ์ถึงขีดสุด เมื่อสามารถกำจัดกิเลสบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว"

 

วิธีพิสูจน์เรื่องราวแต่ละประเภทโดยอาศัยปัญญา 3 ระดับ

     ระดับที่ 1 รื่องที่อยู่ในวิสัยของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปสามารถรับรู้ได้โดยตรง
     ...ประเภทที่ 1 นี้ เป็นเรื่องที่สามารถรับรู้ได้ จากการสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
     ...ดังนั้น จึงสามารถพิสูจน์ได้ด้วยการอาศัยปัญญาในระดับที่ 1 และ 2 เท่านั้น คือ
"ความรู้จำ" และ "ความรู้คิด"
     ...โดยการอาศัยปัญญาใน 2 ระดับนี้ ตริตรองพิจารณาโดยอุบายแยบคาย คือ วิธีการใช้ความคิดที่เรียกว่า "โยนิโสมนสิการ"

 

     ระดับที่ 2 เรื่องที่อยู่เหนือวิสัยของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปไม่สามารถรับรู้ได้โดยตรง
     ...ประเภทที่ 2 นี้ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทั่วไปที่ปุถุชนคนธรรมดาสามัญใช้พิสูจน์กัน
"ไม่ว่าจะเป็นการครุ่นคิดพิจารณามากสักเพียงใด หรือมิว่าจะใช้วิธีการใดๆ ทางวิทยาศาสตร์ก็ตาม" เพราะไม่สามารถอาศัยปัญญาใน 2 ระดับแรกพิสูจน์ได้

 

     ระดับที่ 3 การพิสูจน์เรื่องที่อยู่เหนือวิสัย เช่น เรื่องอานุภาพบุญบาปเรื่องนรกสวรรค์ เรื่องวิสัยของผู้ได้ฌาน เรื่องอภิญญาจิต เรื่องนิพพาน เป็นต้น "เรื่องเหล่านี้สามารถพิสูจน์ได้ ด้วยวิธีการทางจิตเท่านั้น" จนเกิดปัญญาเกิดการรู้แจ้งเห็นจริง ซึ่งเป็นปัญญาในระดับที่ 3 คือ "ภาวนามยปัญญา" หรือ "ความรู้แจ้ง" นั่นเอง

ใจอยู่ที่ใด?

     ตำแหน่งที่อยู่ของใจ... อยู่ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 คือ บริเวณกึ่งกลางลำตัวสูงจากสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ ตรงตำแหน่งที่อยู่ของใจนี้ "จะมีสายใยชนิดหนึ่ง ใสสะอาดบริสุทธิ์โยงขึ้นไปผ่านสมอง แล้วไปจรดกับประสาท ตา หู จมูก ลิ้น กาย" เมื่อมีรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องกายมากระทบ "วิญญาณธาตุ หรือ ธาตุรู้ ที่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมใสบริสุทธิ์ ขนาดเท่าเม็ดโพธิ์เม็ดไทร ก็จะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาสู่ใจ"

     หากไม่มีใจ... กระบวนการเห็น การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส และการนึกคิดต่างๆ "จะไม่สมบูรณ์แม้จะมีสมองที่ดีเลิศเพียงใดก็ตาม"

 

เราจะทราบได้อย่างไรว่าวงจรนี้มีอยู่จริง

     เราอาจจะนึกถึงเหตุการณ์บางอย่าง เช่น ในบางเวลาแม้เรากำลังมองภาพที่อยู่ข้างหน้า "ทว่าจิตใจเหม่อลอยกำลังนึกคิดถึงเรื่องอื่น" สักพักหันหน้าไปทางอื่น
    
ถามว่า "เมื่อสักครู่มองอะไรอยู่"
     ตอบว่า "ไม่ทราบกำลังใจลอย"

     กรณีเช่นนี้...
     แม้จะมองไม่เห็นภาพ "แต่ทว่าวงจรของการเห็นในทางการแพทย์ถือว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว" เพราะว่าขณะที่ตาของเรามองไปข้างหน้า ภาพที่อยู่เบื้องหน้าของเรา เช่น ภาพดอกบัว "แสงได้ตกกระทบส่องเข้าตา และผ่านวงจรการเห็นจนกระทั่งถึงสมองส่วนท้ายทอยแล้ว" แต่ปรากฎว่า "เรามองไม่เห็นภาพของดอกบัว ขณะที่ใจกำลังเหม่อลอยอยู่"

 

 

นี่แสดงว่า...
ใจยังไม่พร้อมที่จะเห็นภาพนั่นเอง!
วงจรการเห็นที่แท้จริง
"จึงยังไม่เสด็จสมบูรณ์"

 

 

จากหนังสือ

 

วิทยาศาสตร์ทางใจ

- - - - - - - - - - - - -

เรียบเรียงโดย พระอาจารย์สุวิเชียร อุตฺตมพนโธ