ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

กสิณไฟ ต่างจาก ธรรมกาย อย่างไร?


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน

นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน
  • Members
  • 380 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 01:14 PM

กสิณไฟ ต่างกับ ธรรมกาย อย่างไร วอนผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยน่ะครับ เพราะว่าการเดินทางของฐานมีความคล้ายกันครับ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  kasin.jpg   33.28K   120 ดาวน์โหลด

เพราะเป้าหมายของพวกเราคือ "ที่สุดแห่งธรรม"

#2 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 02:18 PM

กสินไฟเป็นการฝึกสมาธิรูปแบบหนึ่งโดยการเพ่งมองเปลวไฟ ซึ่งเป็นลักษณะของการวางใจนอกตัว หรือเป็นการเพ่งจิตไปที่สิ่งๆหนึ่ง
แต่การฝึกสมาธิแบบธรรมกาย เป็นการวางใจไว้ในตัว ให้ใจอยู่กับตัวครับ

ความแตกต่างของการฝึกสมาธิโดยการเพ่งกสินกับการวางใจไว้ในตัว ผมขออุปมาดังนี้นะครับ

อาโปกสินอุปมาเหมือนนําในแก้วใสใบหนึ่ง หากนำแก้วออกหรือทำให้แก้วแตก เหลือแต่นําอย่างเดียว คิดว่านํานั้นจะยังคงสภาพเหมือนแก้วอย่างเดิมได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ใช่ไหมครับ อาโปกสินหรือการฝึกสมาธิด้วยการเพ่งมองก็เหมือนกัน เราไม่สามารถคงระดับของใจไว้ได้เท่าที่ควร หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดแวปเขามาเราก็สามารถเสียสมาธิได้ง่าย เหมือนแก้วใสไงล่ะครับ

การฝึกสมาธิแบบวางใจไว้ภายใน อุปมาเหมือนกับนําในแก้วพลาสติกหรือแก้วสแตนเลท แม้จะตกจากที่สูงก็ไม่แตกแม้นําจะหกออกจากแก้วหมดก็สามารถเติมใหม่ได้



1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#3 usr15953

usr15953
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 03:55 PM

กสินไฟกับการฝึกแบบวิชชาธรรมกาย
ความเหมือนกัน คือ มีกสินเป็นอารมณ์
ความต่างอยู่ที่กสินไฟใช้ไฟ พระอาทิตย์ แสงเทียน กับ กสินแบบวิชชาธรรมกายใช้กสินดวงแก้วหรือองค์พระ
แต่หากกำหนดใจในฐานที่ 7 เหมือนกัน ผมว่าการปฏิบัติจะได้เหมือนกัน คือ เข้าถึงพระธรรมกาย อันเป็นกายตรัสรู้เหมือนกัน
แต่หากไม่กำหนดไว้ที่ฐานที่ 7 จะไม่ผลการเข้าถึงองค์พระได้ เพราะ ฐานที่ 7 เป็นทางเอกสายเดียวเท่านั้น



#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 04:27 PM

ถ้านับตามที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านสอนในช่วงแรกๆ แล้วล่ะก็ ก็ต้องตอบเหมือนท่านอื่นๆ ที่ตอบมาน่ะครับ
แต่ถ้านับตามที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านสอนในช่วงหลังๆ แนวทางการสอนสมาธิของท่านในช่วงแรก จะเป็นเหมือนวิธีการสอนหลัก แต่ขณะเดียวกัน ก็จะเริ่มปรับการสอนให้เข้ากับจริตของคนที่มีหลากหลายน่ะครับ
เช่น บางคนหลวงปู่สอนให้นึกถึง เส้ันผม นึกไปนึกมา เส้นผมก็ใส เมื่อใจนิ่งถูกส่วน ก็เข้าถึงธรรมภายในได้เหมือนกัน ไม่ได้นึกเป็นกสินแสงสว่าง หรือกสินไฟ แต่อย่างใด กลับกลายเป็นการนึกถึง กสินดิน แทน เพราะจริตของเขาคุ้นมาอย่างนั้น เป็นต้น

ซึ่งแนวทางการสอนสมาธิ ของหลวงปู่วัดปากน้ำในช่วงหลังๆ นี่แหละครับ ที่หลวงพ่อธัมมชโย ท่านนำปรับใช้กับประสบการณ์การสอนของท่าน
คือ จะใช้วิธีการสอนแบบอาโลกกสิณที่หลวงปู่สอน เป็นแนวทางการสอนหลัก แต่ก็มีแนวทางปลีกย่อยที่หลากหลายขึ้นกับจริตของผู้คน
เช่น บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกถึง สิ่งที่ชอบ เช่น ลูกมะพร้าว-กสินดิน ไข่ดาว-กสินดิน
บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกบุญที่ได้กระทำมา เป็นบุญญานุสติ
บางคน หลวงพ่อท่านให้นึกหยดน้ำ-กสินน้ำ
บางคน หลวงพ่อท่านให้ท่องคำภาวนา เป็น ธรรมมานุสติ
บางคน หลวงพ่อท่านบอกว่า ไม่ต้องนึกอะไรเลย เป็น สุญญานุสติ มีความว่างเป็นอารมณ์ เป็นต้น
ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า แนวทางการสอนวิชชาธรรมกาย เหมือนกสินไฟ หรือเปล่า ตอบว่า ที่เหมือนก็มี ที่ไม่เหมือนก็มาก ครับ




ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#5 Thesun

Thesun
  • Members
  • 46 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:londoon,germany
  • Interests:สมาธิ

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 10:33 PM

การทำสมาธิเป้าหมายเพื่อให้ใจ หยุด แต่วิธีการเริ่มต้นนั้นมากมายถ้าในวิสุทธิมรรคก็ 40 วิธี แต่กระบวนการหลังจากใจ หยุด
เกิดเป็น ดวงปฐมมรรค แล้วนี่ซิครับเป็นการดำเนินจิตเข้าไปในทางสายกลาง เรียกว่า ทางสายกลางเป้าหมายเพื่อให้เข้าถึง
พระรัตนตรัยภายใน(พระธรรมกาย) ดังนั้นวิธีทั้งสองก็เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อให้เข้าถึงที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด(พระรัตนตรัย) วิธีการเบื้องต้นอาจแตกต่างกันบ้าง หรือเหมือนกันบ้างไม่เป็นอะไรครับ นิมิตที่ใช้ก็เพื่อให้ใจเรามีที่ยึดที่เกาะไม่ฟุ้งไปเรื่องอื่นๆ และเกิดเป็นสมาธิครับ ุุ้

เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี  สิ่งที่เราทำย่อมเป็นของเรา  ทำทั้งทีทำให้ปลื้ม


#6 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 March 2008 - 01:11 PM

QUOTE
กสิณไฟ ต่างกับ ธรรมกาย อย่างไร
- ต่างกันลิบเลย(Basic & Advance มากๆ)
- กสิณไฟ(เตโชกสิณ) เป็นหนึ่งในกสิณ10 ในวิสุทธิมรรค 40วิธี ใช้ไฟเป็นอารมณ์ หลวงพ่อทัตตะเคยเทศน์ถึงวิธีการคือจุดเทียน แล้วนำกระดาษตัดเป็นช่องวงกลม นำแสงไฟจากเปลวเทียนที่ลอดผ่านช่องวงกลมมากำหนดเป็นอารมณ์ ส่วนจะวางใจไว้ในตัวนอกตัวก็แล้วแต่ หากจะเข้าสู่เส้นทางอริยมรรคแล้วต้องวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายเท่านั้น จึงจะเข้าถึงรัตนะภายใน คือ ธรรมกาย
- ที่วัดพระธรรมกายใช้อาโลกสิณเป็นอารมณ์ วางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่7 เหนือสะดือ2นิ้วมือ
- บางครั้งพระเดชพระคุณฯก็แนะนำวิธีอื่น เพราะคนเรามีจริตที่แตกต่างกัน เช่น อานาปานสติ กำหนดว่าที่สุดของลมหายใจคือศูนย์กลางกายฐานที่7 อย่างที่คุณหัดฝันตอบ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#7 usr17721

usr17721
  • Members
  • 3 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 March 2008 - 02:00 PM

ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าจากการที่ศึกษาธรรมะและได้ปฏิบัติมา.......
กสิณไฟ กับ อาโลกกสิณ ต่างก็เป็น ๑ ใน ๑๐ ของกสิณ ๑๐ กอง
ของกรรมฐาน ๔๐ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้....
เป็นสมถกรรมฐานเหมือนกัน ใช้นิมิตเพ่ง นึก ตรึกหรือระลึกถึงเหมือนกัน
จะต่างกันที่วรรณะของกสิณที่ใช้เท่านั้น ส่วนของพระธรรมกายนั้นใช้บริกรรมนิมิต
วางไว้ที่ศูนย์กลางกลางฐานที่ ๗ แบบอื่นมักจะวางไว้ที่อื่น เช่นนอกตัวบ้างหรือ
วางไว้ภายในตัวแต่ไม่ใช้ฐานที่ ๗ เช่นหน้าผากหรือกึ่งกลางระหว่างคิ้ว,หน้าอก
เป็นต้น อารมณ์...การเข้าถึง(ไม่ใช่ขอถึงหรือพูดถึง) จะเหมือนกัน ต่างกันที่วรรณะ
ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ที่ปราถนาพุทธภูมิหรือโพธิญาณ/ผู้ที่เคยฝึกมาแล้วแต่อดีตชาติ
ก็มักจะฝึกกสิณในหลายๆกอง ทั้งกสิณไฟ อาโลกกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ ฯลฯ
ซึ่งถ้าฝึกกองใดกองหนึ่งสำเร็จแล้ว กสิณกองอื่นก็ฝึกเหมือนกัน ต่างแต่นิมิตที่ใช้เท่านั้น
ถ้าผู้ที่อยู่ในส่วนการฝึกของวิชชาธรรมกายนั้น ให็หาดูได้ในหนังสือ "คู่มือสมภาร" จะมี
รายละเอียดของการฝึกกสิณ ๑๐ กอง เดินวิชชาเข้า...ซ้อนๆกัน อันมีผลต่อการเดินสมาบัติฯ
ซึ่งพอจะกล่าวได้ว่า กสิณไฟต่างกับธรรมกาย อย่างไรนั้น.........อยู่ที่มุมมองของแต่ละบุคคล
มากกว่า....ตามความเข้าใจของข้าพเจ้านั้น(ดังที่กล่าวมาข้างต้น)ไม่ต่างกันและเป็นส่วนหนึ่ง
ของเกือบทุกวิชชา ในทุกๆสาย...ที่ต้องใช้(กรณีที่ต้องการด้านพละกำลังของสมาธิ/สมถกรรมฐาน)
ซึ่งวิชชาธรรมกายก็ได้กล่าวถึงและเป็นรายละเอียดที่ต้องเข้าถึงเหมือนกัน ในการเดินสมาบัติฯ
ของการฝึกสมาธิในชั้นสูง ต่อไป

หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยและขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
(เนื่องจากเคยเขียนข้อความลงกระทู้แล้วโดน ลบ ตบแต่งข้อความ.......
ที่เขียนมาทั้งหมดข้าพเจ้าก็ฝึกฝนอยู่ในแนววิชชาธรรมกายที่พูดหรือกล่าวมาแล้วข้างต้นด้วย)

#8 cheterk

cheterk
  • Members
  • 314 โพสต์
  • Interests:พระนิพพาน

โพสต์เมื่อ 11 March 2008 - 08:01 PM

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[354] กรรมฐาน 40 (ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต, สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา, อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต — mental exercises; subjects of meditation)
1. กสิณ 10 ดู [315]
2. อสุภะ 10 ดู [336]
3. อนุสติ 10 ดู [335]
4. อัปปมัญญา 4 ดู [161]
5. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร — perception of the loathsomeness of food)
6. จตุธาตุวัฏฐาน (กำหนดพิจารณาธาตุ 4, พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ; ธาตุมนสิการ ก็เรียก — analysis of the four elements)
7. อรูป 4 ดู [207]

กรรมฐานใดให้ได้สมาธิถึงขั้นใด ดู [99] ภาวนา 3; กรรมฐานใดเหมาะกับจริตใด ดู [262] จริต 6.

ดังนั้นผู้ถาม ถามมาว่า กสินไฟ คืออะไร ก็จะตอบได้ว่ากสิณไฟอยู่ใน กสิณ 10 มีดังนี้
[315] กสิณ 10 (วัตถุอันจูงใจ, วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ — meditation devices)
ก. ภูตกสิณ 4 (กสิณคือมหาภูตรูป —Element-Kasina)
1. ปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน, กสิณที่ใช้ดินเป็นอารมณ์ — the Earth Kasina)
2. อาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ — the Water Kasina)
3. เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ — the Fire Kasina)
4. วาโยกสิณ (กสิณคือลม — the Air Kasina: Wind Kasina)
ข. วรรณกสิณ 4 (กสิณคือสี — Color Kasina)
5. นีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว — the Blue Kasina)
6. ปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง — the Yellow Kasina)
7. โลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง — the Red Kasina)
8. โอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว — the White Kasina)
ค. กสิณอื่นๆ
9. อาโลกกสิณ (กสิณคือแสงสว่าง — the Light Kasina)
10. อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า, ช่องว่าง — the Space Kasina

สรุป เตโชกสิณ (กสิณคือไฟ — the Fire Kasina) คือแปลว่า "เพ่งไฟเป็นอารมณ์" กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้

ท่านให้จุดไฟให้ไฟลุกโชน <LI>แล้วเอาเสื่อ หรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้า <LI>ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกันกับปฐวีกสิณ <LI>การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบ ที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ <LI>ภาวนาว่า เตโชกสิณังๆ ๆ ๆ ๆ หลายๆ ร้อยพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต <LI>อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ <LI>สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้น มีรูปคล้ายผ้าแดงผืนหนา หรือ คล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทอง หรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ <LI>เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา


ส่วนหลักธรรมธรรมกาย คือ
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=14636

และวิธีฝึกคือ http://www.dhammakay...tation_th_4.php


แนะนำด้วยนะครับ