ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

ขอถามเกี่ยวกับอาบัติของสงฆ์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 อยากมีคนอยู่กลางกาย

อยากมีคนอยู่กลางกาย
  • Members
  • 68 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 April 2008 - 05:02 PM

ผมสงสัยว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงกำหนดอาบัติที่ว่า ห้ามภิกษุน้ำกามไหลยกเว้นแต่อุบัติเหตุ

ห้ามถูกเนื้อต้องตัวผู้หญิง และ ห้ามอยู่ในที่ลับตา 2ต่อ2 กับมาตุคามด้วยครับ


๑.กุศลธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีขาวใส กายในกายขาวใสทั้งหมด เรียกว่าภาคพระ ภาคขาว ภาคบุญ

๒.อกุศลาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีดำ กายในกายดำทั้งหมด เรียกว่า ภาคมาร ภาคดำ ภาคบาป

๓.อัพยากตาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอัพยากตา เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีตะกั่วตัด กายในกายสีตะกั่วตัดทั้งหมด เรียกว่า ภาคกลาง ภาคไม่บูญไม่บาป


ทั้ง ๓ ธาตุธรรมนี้ ย่อมมีต้นธาตุ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมตลอดสาย
ต้นธาตุถือเป็นผู้บัญชาการในธาตุธรรมนั้นๆ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมในนิพพาน


#2 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 03 May 2008 - 05:07 PM

เรื่องของการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองนั้น พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เป็นสิกขาบทข้อแรกในหมวดของอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งจัดเป็นครุกาบัติ (อาบัติหนัก) ครับ สำหรับอาบัติที่จำเป็นสำหรับภิกษุผู้บวชใหม่นั้น พระอุปัชฌายอาจารย์ผู้กระทำการอุปสมบทให้ท่านจะเน้นจตุตถปาราชิกสิกขาบท อันได้แก่

๑. ภิกษุใดประกอบซึ่งเมถุนกรรมแม้ในเดรัจฉานเพศเมีย ต้องอาบัติปาราชิก

๒. ภิกษุใดทำการประหัตประหารมนุษย์ แม้จักทำด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำให้ หรือใช้ความพยายามในการพรรณนาซึ่งคุณของความตายให้แก่ผู้อื่น และมนุษย์ผู้นั้นได้กระทำซึ่งการปลงชีวิตของตนให้ตกล่วง ต้องอาบัติปาราชิก

๓. ภิกษุใดทำการลักขโมยสิ่งของที่มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไปด้วยความเจตนาจงใจ ต้องอาบัติปาราชิก

๔. ภิกษุใดอวดอุตริมนุษย์ธรรม (หมายถึง การอวดอ้างซึ่งคุณวิเศษที่ไม่มีในตนเอง) ต้องอาบัติปาราชิก


และเตรสสังฆาทิเสสาสิกขาบท ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด ๑๓ สิกขาบท แต่สำหรับภิกษุผู้บวชใหม่ท่านจะเน้น ๕ สิกขาบทแรก อันได้แก่

๑. ภิกษุมีจิตกำหนัด แกล้งทำให้นำอสุจิเคลื่อนด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่นอนหลับฝันไป ต้องสังฆาทิเสส

๒. ภิกษุลูบคลำกายของสตรีเพศด้วยจิตกำหนัด ต้องสังฆาทิเสส

๓. ภิกษุกล่าวโอมสวาท พูดจาเกี้ยวหยาบต่อสตรีเพศ ต้องสังฆาทิเสส

๔. ภิกษุพรรณาคุณของกามต่อสตรี ด้วยหมายให้สตรีนั้น บำเรอกามแก่ตน ต้องสังฆาทิเสส

๕. ภิกษุประกอบความเพียรอันชักนำ (เป็นพ่อสื่อ) ให้บุรุษและสตรีเป็นสามีภรรยากัน ต้องสังฆาทิเสส


ซึ่งพระวินัยทั้ง ๙ ประการนี้มีความจำเป็นต่อภิกษุบวชใหม่อย่างมากทีเดียว ก็ขอให้ผู้ที่มีความประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในบวรพระพุทธศาสนา พึงจดจำและบากบั่นในการบวชให้มั่น คือ ขอให้ตั้งใจบวชเป็นจริงๆ เพราะการเป็นสมณะ หากประพฤติตนดี ก็มีคุณมาก หากประพฤติชั่ว องค์พระพิชิตมารก็ตรัสตรงกันข้าม สมดังพระพุทธดำรัสที่ว่า



"ดุจใบหญ้าคามีความคม
อันบุคคลจับมาโดยปราศจากความระวังแล้ว
ย่อมบาดมือได้ ฉันใด
พรหมจรรย์ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี* ย่อมฉุดคร่า
และนำพาบุรุษผู้นั้น ไปสู่นรกได้ ฉันนั้น"

*
คำว่า "ลูบคลำไม่ดี" ในที่นี้ หมายถึง การประพฤติชั่วทั้งๆ ที่ยังครองเพศแห่งความเป็นสมณะ


และเมื่อบวชแล้วก็ขอให้ระวังเรื่องของสุภาพสตรีให้ดีนะครับ เพราะสตรีเพศถือเป็นภัยของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เรียกได้ว่าในขณะบวชหากไม่เจอได้เลยเป็นดีที่สุด หากได้พบและไม่มีกิจจำเป็นอันใด ก็ไม่พึงเข้าไปสนทนาด้วย และถ้าหากมีกิจจำเป็นต้องเข้าไปพบและสนทนาด้วย ก็พึงสนทนากับเธออย่างมีสติและอย่าพูดนาน เพราะถ้าพูดนานเกินความจำเป็น ก็อาจทำให้มีโอกาสพลั้งเผลอไปต้องอาบัติสังฆาทิเสสในอีก ๔ ข้อที่เหลือนั่นได้เช่นกันครับ อนึ่ง ผมขอเตือนไว้เสียแต่เนิ่นๆ ก่อนว่า อาบัติกองนี้ไม่อาจปลงให้กลับบริสุทธิ์ได้ด้วยวิธีปกติธรรมดานะครับ ภิกษุผู้ต้องอาบัติจะต้องไปอยู่ปริวาสกรรมเท่านั้น จึงจะพ้นและกลับบริสุทธิ์ได้ใหม่อีกครั้งครับ
[/size]
[size="3"]กระทู้ที่อาจเป็นประโยชน์; พระกับสตรีแตะต้องกันอาบัติเสมอหรือ?

"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี