ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 5 คะแนน

20 อสงไขย กับอีก 100,000 มหากัป


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 26 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 WB

WB
  • Members
  • 267 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 April 2008 - 11:57 PM

ผมไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกมั๊ยนะครับ แต่รบกวนท่านผู้รู้ให้ความกระจ่างทีนะครับ

จากข้อความที่ว่า

... ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น หนึ่งอกถาน
ร้อยอกถานกัปป์ เป็น หนึ่งมหากัปป์
ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย ...

ดังนั้น
20 อสงไขย + 100 000 มหากัปป์ = 20x(10^140) + 100,000x(100x(10^126))

หรือพูดง่ายๆ คือ
1.)
20 อสงไขย + 100 000 มหากัปป์ = 20x(10^140) + (10^133)
40 อสงไขย + 100 000 มหากัปป์ = 40x(10^140) + (10^133)
80 อสงไขย + 100 000 มหากัปป์ = 80x(10^140) + (10^133)
หน่วยเป็นอะไรไม่รุ้ น่าจะปี มั้งครับ (แต่ 1 ปีของแต่ละโลกที่เกิดขึ้น มันไม่เท่ากันนะ ... !!!)

2.)
1 อสงไขย = 1 โกฏิ มหากัปป์

3.)
1 อสงไขย์ = 10 ล้านครั้ง ที่โลกเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-สลายไป


รบกวนท่านผู้รู้(จริงๆ) ช่วยไขความกระจ่างให้ผมทีได้มั๊ยครับ ว่าผมคิด "ถูก หรือ ผิด" ครับ ขอบคุณมากนะครับ เอาแค่ถูกหรือผิดพอนะครับ ถ้าผิด รบกวนแก้ไขความเข้าใจผมใหม่ด้วยจะเป็นสิ่งที่ดีมากเลยครับ ขอบพระคุณครับ



อาร์ท

Reference: http://www.dmc.tv/fo...mp;#entry107638

#2 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2008 - 09:23 AM

1 มหากัป เรามักจะเรียกกันสั้นๆว่า 1 กัป ครับ
1 มหากัปไม่ใช่ 100 อกถานกัป ข้อมูลที่คุณเอามาเขียนมีความคลาดเคลื่อนหลายจุด
ให้กลับไปอ่านความเห็นของ bruce wayne ตาม link เดิมดูใหม่ครับ

#3 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2008 - 10:37 AM

เรื่องนี้มีการพูดคุยกันมาหลายครั้งแล้วในเวปนี้ครับ สามารถไปหาดูย้อนหลังได้ แต่จะอธิบายคร่าว ๆ ว่า อสงไขย ก็คือจำนวนนับเช่นเดียวกับการนับจำนวนทั่วไป เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน เป็นต้น ซึ่ง ๑ อสงไขยเท่ากับเขียนเลข ๑ แล้วเติมศูนย์ข้างหลังอีก ๑๔๐ ตัว ครับ การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราบำเพ็ญบารมีมาถึง ๒๐ อสงไขย กับอีกแสนมหากัป ถึงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ถ้าจะเขียนอย่างเต็ม ๆ ก็หมายถึงว่าพระองค์ได้บำเพ็ญบารมีมา ๒๐ x เลข ๑ ที่เติมศูนย์ ๑๔๐ ตัว หน่วยคือมหากัป + ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป = ๒๐ อสงไขมหากัป + ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป
สำหรับระยะเวลาของมหากัปยาวนานแค่ไหนก็ต้องดูคำอธิบายข้างล่างนี้ครับ

๑ อัตรกัป เท่ากับระยะเวลาที่อายุมนุษย์ ไขลงจากอสงไขยปีจนถึง ๑๐ ปี แล้วไขขึ้นจาก ๑๐ ปี จนถึงอสงไขยปี อีกครั้ง ครบ ๑ คู่ เรียกว่า ๑ อัตรกัป
อสงไขยปี เท่ากับเลข ๑ ตามด้วยเลขศูนย์ ๑๔๐ ตัว

๑ มหากัป ประกอบด้วย ๔ ช่วง ของจักรวาล
๑.๑ สังวัฎฏ (ช่วงที่โลกกำลังถูกทำลาย) เป็นเวลา ๖๔ อัตรกัป
๑.๒ สังวัฎฏฐายี (เป็นช่วงเวลาที่โลกมีแต่ความว่างเปล่า หลังจากจักรวาลถูกทำลาย เป็นเวลา ๖๔ อัตรกัป
๑.๓ วิวัฎฏ (ช่วงเวลาที่กำลังก่อตัวขึ้นของจักรวาล) เป็นเวลา ๖๔ อัตรกัป
๑.๔ วิวัฎฏฐายี (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) เป็นเวลา ๖๔ อัตรกัป ถ้ากัปใดมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้พระองค์จะมาบังเกิดในช่วงเวลานี้ แต่ถ้าไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังเกิดจะเรียกกัปนั้นว่าสูญกัป

๑ มหากัป จึงเท่ากับ ๒๕๖ อัตรกัป
ใน ๑ มหากัป จึงมีการทำลายเพียง ๑ ครั้ง

สรุป
๑ รอบอสงไขยปี เป็น ๑ อัตรกัป
๖๔ อัตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป
๔ อสงไขยกัป เป็น ๑ มหากัป

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้นยากเย็นแสนเข็ญและยาวนานขนาดไหน ท่านจึงกล่าวว่าการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยยาก ดังนั้นการที่เราท่านทั้งหลายมีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบเจอพระพุทธศาสนาจึงนับได้ว่าเป็นความโชคดีอย่างมหาศาลแล้วครับ ดังนั้นเราจะต้องช่วยกันปกปักรักษาพระพุทธศาสนาอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันกันเลยทีเดียว

พุทบริษัทสี่ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว

#4 หยุดนิ่ง

หยุดนิ่ง
  • Members
  • 60 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2008 - 03:50 PM

โหขอบคุนนะครับได้ความรู้มากมายแต่ อสงไขยนี่นานจริงๆเลยครับ

#5 usr21591

usr21591
  • Members
  • 75 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2008 - 05:13 PM

โอเข้าใจว่า อสงไขย คือจำนวนนับ เหมือน 1 2 3 ... ส่วนคำว่า กัปป์น่าจะเป็นนามนับ (หน่วย) เหมือน อนุวินาที เสี้ยววินาที วินาที นาที เสี้ยวนาที ... จนถึง สหวรรษ สตสหสวรรษ ... อะไรต่อมิอะไร แล้วเข้าใจต่อไปอีกว่า 1 กัปป์อาจจะมีอสงไขยปี (ย้ำอสงไขยปี) หลาย ๆ รอบก็ได้ครับ เหมือนกัปป์เราปัจจุบัน (ภัทรกัปป์) ที่จะมีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ และระยะเวลา ช่วงระหว่างแต่ละพระองค์ โลกก็ยังไม่แตก (ใช่ใหม่ครับ) ซึ่งช่วงระหว่างนี้ มนุษย์อาจมีอายุมากกว่า แสนปี หรือจนถึงอสงไขยปี อาจงง งั้นยกตัวอย่าง พระพุทธศรีอริยเมตไตร เลย... กล่าวกันว่านับแต่ที่ศาสนาของพุทธโคดม สิ้นสุดลงจนมนุษย์มีอายุขัย 10 ปี และสูงขึ้นไปจนถึง อสงไขยปี แล้วลดลงจนถึง 80,000 ปี ณ ช่วงเวลานั้น จะเป็นศาสนาของพระพุทธศรีอริยเมตไตร ... งงกันไหมครับเนี่ย... งั้นสรุปว่า อสงไขย กับ กัปป์ เป็นคำคนละสถานะกันครับ เหมือนคำว่า 2 บาท จะบอกว่า 2 กับ บาท อันเดียวกัน ไม่ใช่ ไม่ใช่แน่นอน.....
(พิมพ์เอง... ก็เริ่มงง ตัวเอง) ผิดถูกประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ทุกคน

โอเองครับ




#6 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2008 - 07:26 PM

อสงไขยเป็นจำนวนนับครับ ส่วนคำว่า กัป เป็นลักษณะนาม เหมือนอย่างที่คุณบอกมา

#7 WB

WB
  • Members
  • 267 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 April 2008 - 09:09 PM

สรุป ตามคุณ Bruce Wayne รวมกับ usr21591 ก็หมายความว่า
20 อสงไขย กับอีก 100 000 มหากัปป = 20(10^140) + 100 000 รอบที่โลกเกิดขึ้นจนกระทั่งสลายไป ถูกปะครับ ส่วนหน่วย ก็จะเป็น รอบของโลกที่เกิดขึ้น ใช่ป่าวครับ


ขอบพระคุณมากครับ

#8 tnawut

tnawut
  • Moderators
  • 2398 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Laksi
  • Interests:Internet, Computer, Electronic, Security, Merit, Meditation, อินเตอร์เน็ต, คอมพิวเตอร์, ทำบุญ, ปล่อยปลา, บูชาเจดีย์, ฝันในฝัน, DOU, หมู่บ้านปฏิบัติธรรม, บวช, บรรพชา, Web, CU, Chula

โพสต์เมื่อ 30 April 2008 - 09:49 AM

20 อสงไขย กับอีก 100 000 มหากัปป = ( 20(10^140) + 100 000 ) x ระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้นจนกระทั่งสลายไป



ถ้าสมการนี้ใกล้เคียง คงไม่มีเครื่องคำนวณชนิดใดคำนวณตัวเลขได้ คิดตามแล้วคงเป็นเรื่องที่เกินการจินตนาการ

ขออนุโมทนาบุญครับ

#9 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 April 2008 - 11:07 AM

20 อสงไขยกับอีก 100 000 มหากัป=(20(10^140)+100 000) มหากัป จึงจะถูกต้องครับ
ระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปแต่ละครั้งเรียกว่า 1 มหากัป

#10 tnawut

tnawut
  • Moderators
  • 2398 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Laksi
  • Interests:Internet, Computer, Electronic, Security, Merit, Meditation, อินเตอร์เน็ต, คอมพิวเตอร์, ทำบุญ, ปล่อยปลา, บูชาเจดีย์, ฝันในฝัน, DOU, หมู่บ้านปฏิบัติธรรม, บวช, บรรพชา, Web, CU, Chula

โพสต์เมื่อ 30 April 2008 - 11:55 AM

จากสมการ ผลรวม n(n+1)/2
สมมุติว่า แต่ละช่วงอายุคน 1 ช่วง อายุเพิ่มลด 1 ปี จะได้

ระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้นจนกระทั่งสลายไป = 256 x ( (10^140) (10^140)+1 ) / 2


ดังนั้น
20 อสงไขย กับอีก 100 000 มหากัปป = ( 20(10^140) + 100 000 ) x 256 x ( (10^140) (10^140)+1 ) / 2

อย่างที่หลวงพ่อท่านสอนว่าเป็นเรื่องอจินไตย เกินจินตนาการที่สมองเราจะคิดได้ครับ



#11 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 April 2008 - 09:14 PM

สาธุกับคุณtnawutมากๆครับ เพราะมีกระทู้เกี่ยวกับอสงไขยมามากแล้ว แต่ยังไม่มีใครให้สูตร n(n+1)/2

แรกเริ่มคนอายุอสงไขยปี ทุกๆ๑๐๐ปีอายุลดลง๑ปี จนเหลือ๑๐ปี ทุกๆ๑๐๐ปีอายุเพิ่มขึ้น๑ปี จนถึงอายุอสงไขยปี

นับเป็น๑อันตรกัป , ๒๕๖อันตรกัปเป็น๑มหากัป

คุณtnawutช่วยคำนวณออกมาเป็นตัวเลขจำนวนถ้วนๆให้หน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ

#12 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 May 2008 - 11:09 AM

พูดง่ายๆก็คือมันเป็นระยะเวลาที่นานมากๆๆ แต่เราก็ล้วนเคยเกิดมาแล้วทั้งสิ้นนับชาติไม่ถ้วน

#13 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 May 2008 - 01:56 PM

ตอบคำถามเจ้าของกระทู้ คุณwB ข้อ 1
20 อสงไขย+100 000 มหากัป= (20(10^140)+100 000) มหากัป
40****+100 000***=(40(10^140)+100 000) มหากัป
80****+100 000***=(80(10^140)+100 000) มหากัป
ข้อ 2
ให้คำตอบไม่ได้เพราะคุณไม่ได้ใส่หน่วยมาว่า อสงไขยปี เดือน หรือ วัน หรือ มหากัป ...หรือ อัน ด้าม แท่ง หลัง
แต่ถ้าจะเดาเอา คงหมายถึง 1อสงไขยมหากัป=1โกฏิมหากัป คำตอบคือ ผิด
1อสงไขยมหากัป=(10^140)มหากัป ครับ
ข้อ 3
คุณไม่ได้ใส่หน่วยมาอีกแล้ว ตรงจำนวนอสงไขย ... อสงไขยเป็นจำนวนตัวเลขที่มีค่าสูงมากมหาศาล เฉยๆ
มันต้องเติมด้วยลักษณะนาม หรือหน่วยลงไปด้วยถ้าจะถามแบบนี้ เหมือนคุณบอกว่า 100=1บาท จะไม่มีใคร
เข้าใจ ต้องเขียนว่า 100สตางค์=1บาท
ถ้าจะให้เดาคงจะหมายถึง 1 อสงไขยมหากัป=กี่ครั้งที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช่มั้ย
คำตอบก็คือ 1 อสงไขยครั้ง ครับ เพราะโลกเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 มหากัป

#14 WB

WB
  • Members
  • 267 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 May 2008 - 03:42 PM

ขอบพระคุณทุกๆคนมากครับ ตอนนี้คาดว่าเข้าใจถึงความมากมายมหาศาลแล้ว แค่นึกก็เหนื่อยถึงจำนวนชาติที่เราต้องเกิดมาสร้างบารมีจนกว่าจะถึงวันนั้นแล้วครับ เฮ้อ... สู้ๆ อนุโมทนากับทุกคนด้วยครับ

#15 tnawut

tnawut
  • Moderators
  • 2398 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Laksi
  • Interests:Internet, Computer, Electronic, Security, Merit, Meditation, อินเตอร์เน็ต, คอมพิวเตอร์, ทำบุญ, ปล่อยปลา, บูชาเจดีย์, ฝันในฝัน, DOU, หมู่บ้านปฏิบัติธรรม, บวช, บรรพชา, Web, CU, Chula

โพสต์เมื่อ 01 May 2008 - 03:53 PM

สูตร n(n+1)/2 เป็นการสมมุติการรวมตัวเลข เช่น 1 + 2 + 3 + 4 + 5+6+7+8+9+10 = 55

ผมเลยสมมุติว่า..
ถ้า 1 ชั่วอายุคน อายุเพิ่มขึ้น หรือลดลง 1 ปี เช่นรุ่นพ่อ 75 รุ่นลูก 74 รุ่นหลาน 73 การที่ช่วงอายุเพิ่มขึ้นหรือลดลง จาก 10 ปี ถึง 10^140 ระยะเวลาควรจะประมาณเท่าไหร่.. คิดว่าสูตรนี้อาจจะประมาณได้ใกล้เคียง

ลองกด excel2007 ดู
10 ==> 55
1,000 ==> 50,005,000
1,000,000 ==> 500,000,500,000 หมายเหตุ ถ้าคนมีอายุไขย 1 ล้านปี ใช้เวลา ห้าแสนล้านกับห้าแสนปี
1.00E+140 ==> 5.0000000E+279 หมายเหตุ ถ้าคนอายุไขย อสงไขยปี ใช้เวลา สิบยกกำลัง 279 ปี

ถ้าใกล้เคียง อัตรกัปป ก็ประมาณ 2 x 10E279 ปี
มหากัปป ก็ประมาณ 256 ( 2 x 10E279) ปี


อสงไขย ก็น่าจะเปรียบเหมือน Kilo = 10^3 , Mega = 10^6 , Giga = 10^9 , Tela = 10^ 12 แต่อสงไขย = 10^140


ทั้งหมดเป็นการคิดนะครับ เพื่อให้สามารถประเมินตัวเลขออกมา ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ





#16 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 May 2008 - 05:22 PM

Thank you very much, Khun Tnawut.

ตัวอย่าง เมื่ออายุขัย๙๐ปี๑๐๐ปีต่อไปก็อายุขัย๘๙ปี๑๐๐ปีต่อไปก็อายุขัย๘๘ปี๑๐๐ปีต่อไป...............

n = 10^140

n(n+1)/2 = [10^140{(10^140)+1}]/2

= {(5x10^279)+(5x10^139)}

-55 ปี เพราะไม่มีอายุขัยช่วง ๑ ถึง ๑๐ ปี, อายุขัย ๑๐ ปีต่ำสุด

คูณด้วย๑๐๐ปี, คูณด้วย๒ขาคือขาลงขาขึ้น, คูณด้วย๒๕๖อันตรกัป

ดังนั้น ๑ มหากัป = 256 x 2 x 100 x [{( 5 x 10e279 ) + ( 5 x 10e139 )} - 55 ] ปี

สรุป ๑ มหากัป = 51,200[{(5x10^279)+(5x10^139)}-55] ปี

ในที่สุดก็ได้อายุของ ๑ มหากัป เป็นหน่วย"""""ปี"""""เป็นครั้งแรก

ซึ่งจะมีประโยชน์มากทางอวกาศศาสตร์ สามารถนำไปเทียบเคียงกับอายุของกาแลคซี, ระบบสุริยะ, ฟอสซิส, ฯลฯ

หนังสือจักรวาลวิทยาของDOU, ก็จะได้มีอายุของมหากัปเป็นหน่วยปีซะที

งานนี้ต้องยกนิ้วให้ความดีความชอบกับสูตรของคุณTnawut, เก่งและดี, อนุโมทนาสาธุด้วยครับ.

#17 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 May 2008 - 08:05 PM

ที่คุณ tnawut คำนวญมาดูแล้วไม่ใช่นะครับ
1มหากัปน่าจะเป็น =256x2x100x(10^140) ปี
อายุขัยมนุษย์จะลดลง1ปีในทุกๆ100ปี ไม่ใช่ 1ชั่วอายุคน อายุขัยลดลง1ปี สำหรับกัปไขลง
จริงๆเป็นแนวคิดดีแล้ว แต่ยังไม่ใช่ สูตรที่เอามาคำนวญก็ไม่ใช่ ที่บอกว่ารุ่นพ่ออายุ75 รุ่นลูก74 รุุุุ่นหลาน73
มันไม่มีในตำราใดๆ เลย คนทุกๆคนที่เกิดมาทุกคนต้องอิงกับเวลาซึ่งเป็นค่ากลาง ไม่ใช่ไปอิงกับรุ่น
คือสำหรับกัปไขลง อย่างที่บอก
อายุมนุษย์ลดลง1ปีในทุก100ปีที่ผ่านไป เนื่องจากกิเลส
จะยกตัวอย่างให้ดูง่ายๆยุคพระพุทธเจ้าอายุขัย 100ปี แล้วเทียบกับอายุยุคปัจจุบันว่าเป็นกี่ปี โดยใช้หลักบัญญัติไตรยางค์
100 ปี อายุมนุษย์จะลดลง 1 ปี
2500ปี อายุมนุษย์จะลดลง (1x2500)/100 =25 ปี
ดังนั้น 100-25=75ปี ดังนั้นอายุมนุษย์ยุคนี้คือประมาณ75ปี จริงๆตอนนี้ก็74.5 เพราะว่าเป็นปี2551 แล้ว
ไม่แน่ใจว่าคุณเอาสูตรนั้นไปใช้จะได้ตัวเลขที่เท่าไร อย่างที่คุณ DJ คำนวญมาอายุขัย10 ปีถึง 0 ปี ใช้เวลา 55
ปีก็ไม่ถูก ต้องใช้เวลา 1000 ปี จึงถูกต้อง เพราะ 100 ปีลดลง 1ปี ดังนั้น 1000 ปี ลดลง 10 ปี
หากว่าใช้หลักการแบบนี้อายุขัยลดลงไป 10 ปี ใช้เวลาเพียง 55 ปี มันก็ผิดหลักที่ว่า 100ปี อายุขัยมนุษย์ลดลง
1 ปี
ลองมาดูเวลาที่คุณ DJ คำนวญหาอายุมหากัป สูงมากๆกว่าค่าที่เป็นจริงไปมาก
มนุษย์คนแรกของต้นกัป จะมีอายุขัย 1อสงไขยปี, อีก100ปีต่อมา คนที่เกิดขณะนั้นจะมีอายุขัย 1อสงไขย - 1ปี ,อีก 100ล้านปี คนที่เกิดขณะนั้นจะเท่ากับ 1 อสงไขย -1ล้านปี เป็นต้น

ลองมาคำนวญดู หลักทื่ว่า ต้นอันตรกัปมีอายุ 1อสงไขยปี ทุก100ปีจะลดลง 1ปี ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุขัยเหลือ
เพียง10ปีแล้วขึ้นด้วยอัตราเดิมจนมนุษย์มีอายุ 1อสงไขยปี เป็น 1 อันตรกัป

1อสงไขย=10ล้านยกกำลัง20=1ตามด้วย0ทั้งหมด140ตัว=10^140=100ตามด้วยล้าน23ตัว

วิธีคิด
ให้เอาระยะเวลาตั้งแต่อายุ1อสงไขยปีลดลงไปจนถึง 0ปี ลบออกด้วยระยะเวลาตั้งแต่อายุขัย 10ปีถึง 0ปี ก็จะได้เวลา
ตั้งแต่ 1อสงไขยปีไปจนถึงอายุ 10ปี หรือ 0.5 อันตรกัป

อายุขัยมนุษย์จะลดลง 1 ปีในทุกๆ 100 ปี
อายุขัยมนุษย์จะลดลง 1อสงไขย ปีใน (100x1อสงไขย)/1 ปี
=100อสงไขยปี ***
อายุขัยลด 1 ปีในทุก 100 ปี
อายุขัยลด 10 ปีในทุก (100x10)/1 ปี
=1,000 ปี ***
100อสงไขย-1,000 = 100 อสงไขยปี เพราะ 100อสงไขยเป็นจำนวนที่มากมายมหาศาลมาก เมื่อเทียบกับจำนวนน้อยนิดแค่ 1000 ปี เหมือนดึงหยดน้ำ้หนึ่งหยดจากห้วงมหาสมุทร ก็ไม่ได้่ทำให้มหาสมุทร
พร่องลงไป ดังนั้น 0.5อันตรกัป=100อสงไขยปี
1 อันตรกัป=2x100อสงไขยปี=200อสงไขยปี
1มหากัปมี256อันตรกัป ดังนั้น

1มหากัป=256x2x100อสงไขยปี
=256x2x100x(10^140)ปี
=51,200อสงไขยปี
=5.12(10^144)ปี
=51,200(100ตามด้วยล้าน23ครั้ง)ปี=5.12ตามด้วยล้าน24ครั้ง ปี

#18 tnawut

tnawut
  • Moderators
  • 2398 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Laksi
  • Interests:Internet, Computer, Electronic, Security, Merit, Meditation, อินเตอร์เน็ต, คอมพิวเตอร์, ทำบุญ, ปล่อยปลา, บูชาเจดีย์, ฝันในฝัน, DOU, หมู่บ้านปฏิบัติธรรม, บวช, บรรพชา, Web, CU, Chula

โพสต์เมื่อ 01 May 2008 - 11:08 PM

ช่วงเวลาไขยขึ้น คือช่วงเวลาที่อายุไขยของมนุษย์ เพิ่มจากสิบปี เป็นอสงไขยปี

QUOTE
๑ มหากัป = 256 x 2 x 100 x [{( 5 x 10e279 ) + ( 5 x 10e139 )} - 55 ] ปี

เป็นไปได้ครับ มีปัจจัยหนึ่งคือ ปัจจัยการเพิ่มลดของอายุมนุษย์ ถ้าทำบาปกันมากก็คงลดเร็ว ถ้าทำบุญมากอายุไขยก็คงเพิ่มขึ้นเร็ว


คงมากกว่า 100x(10^140) มากๆครับ เพราะถ้าสมาการนี้ ช่วง 100 ช่วงชีวิตมนุษย์ที่ อสงไขยปีก็ครบอันตรกัปปแล้ว

แต่อย่างไรก็ยาวนาน มากเสียจนคำว่าอสงขัยปีก็มากเกินจินตนาการแล้วครับ ยิ่งคิดยิ่งทึ่งในสรรพสิ่ง

ขออนุโมทนาบุญครับ

#19 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 May 2008 - 10:27 AM

(๑.)สูตรถูกต้องแล้วครับ, โจทย์เงื่อนไขคำนวณก็ถูกต้อง.

(๒.)ทำบุญบ้าง ทำบาปบ้าง ก็เจ๊าๆกันไป อายุขัยก็จะประมาณเหมือนเดิม

(๓.)การบ้านต่อไปก็น่าจะไปหาข้อมูลของอายุของสิ่งต่างๆนาๆทางวิทยาศาสตร์,อวกาศ,ดาราศาสตร์,ฯลฯ

มาเทียบเคียงดู

#20 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 02 May 2008 - 12:39 PM

โอ้โห ไม่อยู่เสียนาน ตอบกันได้ขนาดนี้ สุดยอดจริงๆ นะเนี่ย ขยายความอีกนิดว่า อสงไขย นี่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นครับ

ครั้งหนึ่ง ครูไม่ใหญ่เคยเล่าว่า อินทิรา คานธี ถามผู้เป็นพ่อว่า อสงไขย นี่เขามีไว้นับอะไร พ่อก็บอกว่า ไม่รู้เหมือนกัน
แน่นอนว่า คนทั่วๆไป ไม่มีทางรู้ได้ครับ ว่า อสงไขย มีไว้นับการสร้างบารมีของพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าน่ะครับ


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#21 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 02 May 2008 - 01:33 PM

เห็นคุยเรื่องนี้กันมาหลายครั้งแล้ว ทั้งในเวปนี้และในเวปอื่น ๆ

เท่าที่ทราบ มีการตีความหมาย ตรงกันบ้าง ต่างกันบ้าง

เนื่องจาก ผมไม่ได้เก่งทางคณิตศาสตร์ ด้านคำนวณตัวเลข red_smile.gif
จึงแค่อ่าน สูตรคำนวณและจำนวนตัวเลข ที่แต่ละท่าน คิดมาให้
ไม่ได้ลองไปคำนวณตาม หรอกครับ

แต่กระทู้นี้ มีสิ่งที่น่าสนใจเพิ่ม คือ
การคำนวณระยะเวลา ๑ มหากัป ออกมาเป็นจำนวนปีของมนุษย์

ซึ่งเท่าที่ดูสูตรที่ พี่ tnawut : มหากัปป ก็ประมาณ 256 ( 2 x 10E279) ปี

และคุณ Bruce Wayne : 1 มหากัปน่าจะเป็น =256x2x100x(10^140) ปี

และ คุณ DJ96.25PM2-3 : ๑ มหากัป = 51,200[{(5x10^279)+(5x10^139)}-55] ปี

ก็รู้สึกทึ่ง นะครับ omg_smile.gif

อย่างไรก็ตาม โดยความเห็นส่วนตัวของผมนั้น คิดว่า
แม้ ๑ มหากัป จะมีระยะเวลากี่ปีมนุษย์ ตามที่แต่ละท่าน ให้สูตรคำนวณมาดีแล้วนั้น
ผมคิดว่า
ระยะเวลาของแต่ละมหากัป นั้น สั้นยาว หรือ มีจำนวนปีมนุษย์ ไม่เท่ากันหรอกครับ
เหตุเพราะว่า
สมมุติฐานการคำนวณนั้น มีหลายวิธี คือ

๑ ๑. อ้างอิง กฎ 100 ปี อายุมนุษย์จะลดลง 1 ี ในช่วงกัปไขลง และเพิ่มขึ้น ในช่วงกัปไขขึ้น

๒.อ้างอิงกฎที่ว่าด้วย การพินาศของมหากัป นั้นเร็วช้า ต่างกันเพราะเกี่ยวเนื่อง

๒.๑ การทำกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถ ทำให้อายุมนุษย์ สั้น ยาว ต่างกัน

๒.๒ สูญกัปและอสูญกัป คือ
มหากัปที่มีการอุบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมหากัปที่ไม่มีการอุบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นี้ก็ส่งผลให้ แต่ละมหากัป สั้น ยาวไม่เท่ากัน

๒.๓ การพินาศของมหากัป ช้า เร็วต่างกัน เพราะ ความรุนแรงของ ราคะ โทสะ ของมนุษย์ในแต่ละมหากัป ต่างกัน
คือ
มหากัปใดที่พินาศด้วย ไฟบรรลัยกัลป์ เพราะแรงโทสะของมนุษย์ในมหากัปนั้น ๆ ก็ใช้เวลา ตัวเลขนึง

มหากัปใดที่พินาศด้วย น้ำบรรลัยกัลป์ เพราะแรงราคะของมนุษย์ในมหากัปนั้น ๆ ก็ใช้เวลา ตัวเลขนึง

มหากัปใดที่พินาศด้วย ลมบรรลัยกัลป์ เพราะแรงมหสะของมนุษย์ในมหากัปนั้น ๆ ก็ใช้เวลา ตัวเลขนึง
กล่าวอย่างนี้คงไม่ งง นะครับ

เพราะฉะนั้น หากใช้ สมมุติฐานการคำนวณ ต่างกัน ก็ย่อม มีผลลัพธ์ จำนวนปีมนุษย์ ไม่เท่ากันไปด้วย
นั่นส่งผลถึง
ระยะเวลาการสั่งสมบารมีของเหล่าพระบรมโพธิสัตว์ แต่ละพระองค์
แม้จะใช้เวลา o อสงไขย + แสนมหากัป เท่ากัน ก็จริง
แต่
ระยะเวลาจำนวนชาติที่เกิด จำนวนปีที่สร้างบารมีในภาวะ มนุษย์
ก็ไม่เท่ากันหรอกครับ

ทั้งนี้เพราะ
ก ) แต่ละชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในยุคที่อายุขัยเฉลี่ย ไม่เท่ากัน เช่น
ยุคอายุขัยเฉลี่ย ๑oo ปี , ๑o,ooo ปี ฯล ในแต่ละชาติ จึงสร้างบารมีได้ มาก น้อย ไม่เท่ากัน

ข ) แต่ละมหากัป สั้น ยาว ไม่เท่ากัน พูดเรื่องนี้ คงจะ งง กัน


งั้นขอเวลาผมไปอ่าน ศึกษาพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับ พรหมชาลสูตร , จักกวัตติสูตร ฯล

ได้ความ รายละเอียดอย่างไร จะมาเชิญสนทนากันต่อนะครับ

โดยจะตั้งประเด็นว่า

แต่ละมหากัป ยาวนาน เท่ากัน ในทุก ๆ มหากัป หรือ ไม่

ถ้าไม่เท่ากัน เพราะอะไร เป็นต้นครับ

ป.ล. ๑
เห็นด้วยกับคำตอบของคุณ Bruce Wayne ความคิดเห็น #13 และท่านอื่น ๆ ที่ว่า

20 อสงไขย+100 000 มหากัป= (20(10^140)+100 000) มหากัป

ป.ล. ๒
เชิญสนทนา ว่าด้วยเรื่อง มหากัป, ว่าระยะเวลาแต่ละ มหากัป เท่ากันหรือไม่ ? พิจารณาอย่างไร ?
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=15928







#22 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 May 2008 - 01:52 PM

ขอบใจมากครับคุณBruce Wayne, พูดถูกบางส่วน, ผมก็ผิดบางส่วน, ขอแก้ไขดังนี้

(๑)เส้นจำนวนแนวตั้งจาก๑๐ถึงอสงไขย = [{(5x10e279)+(5x10e139)}-55]

(๒)เส้นจำนวนแนวนอนทุกๆ๑๐๐ปีจาก๑๐ถึงอสงไขย = [100x{(10e140)-10}]

ครึ่งอันตรกัป = (๑)+(๒)

หนึ่งอันตรกัป = 2{(๑)+(๒)}

หนึ่งมหากัป = 256[2{(๑)+(๒)}]

หนึ่งมหากัป = 512x([{(5x10e279)+(5x10e139)}-55]+[100x{(10e140)-10}] ปี

คุณtnawutและคุณBruce Wayneช่วยดูให้หน่อยนะครับว่าต้องเติมอะไรอีกบ้าง ขอบคุณครับ

ปล. เห็นด้วยกับคุณDd2683ว่า แต่ละมหากัปไม่เท่ากันครับ แม้แต่ทางดาราศาสตร์เอง

อายุของเทหะวัตถุุ,กาแลคซี,ฯลฯ ก็เป็นเพียงโดยประมาณ

#23 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 May 2008 - 05:34 PM

คิดๆดูแล้ว เส้นจำนวนเวลาแนวตั้งไม่มีความหมาย(ไม่ว่าจะoverlapกันหรือต่อๆกัน)

เพราะเส้นจำนวนเวลาแนวนอนเป็นตัวควบคุมหลัก

ดังนั้น หนึ่่งมหากัป = 512[100{(10e140)-10}] ปี

= 5.12(10e144)-5120

คุณBruce Wayneถูก...ถูก...ถูก...ถูกต้องแล้วคร๊าบ ขออภัย5.12(10e144)ครั้งครับ

ส่วนเศษๆอีก5120, เอาเป็นไก่ย่างห้าดาว(กระทู้ห้าดาว)นะครับ

เพราะงานนี้ผมเล่นปล่อยไก่ให้ชีวิตสัตว์เป็นทานไปเยอะเลย ฮ่า ฮ่า ฮ่า

#24 tnawut

tnawut
  • Moderators
  • 2398 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Laksi
  • Interests:Internet, Computer, Electronic, Security, Merit, Meditation, อินเตอร์เน็ต, คอมพิวเตอร์, ทำบุญ, ปล่อยปลา, บูชาเจดีย์, ฝันในฝัน, DOU, หมู่บ้านปฏิบัติธรรม, บวช, บรรพชา, Web, CU, Chula

โพสต์เมื่อ 02 May 2008 - 08:25 PM

เดี๋ยวไปหลับตาก่อน น่าจะได้คำตอบและเหตุผลที่ดีกว่านี้ .... พรุ่งนี้มีบุญถวายกองทุนเพื่อการศึกษา มาทำบุญกันครับ

ขออนุโมทนาบุญครับ

#25 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 May 2008 - 12:27 AM

มีประเด็นของคุณ Dd2683 ที่ว่า พระโพธิสัตว์ แม้จะบำเพ็ญบารมีมาแม้ใช้เวลา 20 อสงไขย+แสนมหากัป
เท่ากันก็จริงแต่ว่าจำนวนชาติที่เกิดไม่เท่ากันนั้น ก็ไม่เห็นเป็นไร เพราะเขาจะต้องดูว่ามีบารมีเต็ม 30ทัศ ว่าเต็มรอบแล้ว
หรือไม่เป็นหลัีก ครับ ไม่ได้ดูที่จำนวนชาติที่เกิด

#26 หยุด นิ่ง ใส

หยุด นิ่ง ใส
  • Members
  • 167 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 October 2008 - 08:07 PM

20 อสงไขย+100 000 มหากัป

1 มหากัปก็คือ 1 กัป <----------------เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของโลกเรียกว่า 1 กัปป์

10 ยกกำลัง 140 มหากัปป์ = 1 อสงไขย

20 อสงไขย+100 000 มหากัป

ดังนั้น = โลกจะตั้งอยู่และดับไปจำนวน (20X10ยกกำลัง 140)+100,000 ครั้งครับ



อุปมาการดับแล้วเกิดทันที นับเวลาที่ต่อเนื่องนะครับ ไม่มีแคป ระหว่างที่กำลังรอเกิดใหม่

ผมอยากยกตัวอย่างเช่นใน 1 วัน มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน

คนที่ใช้เวลามากที่สุดในการทำงาน คือคนที่ใช้เวลา ลืมตามากกว่า
คนที่ทำงานแล้วรีบหลับนอน

ทั้ง ๆ ที่มีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน


ทำให้เห็นว่าใน 1 กัปป์ จำนวนชาติที่เกิดของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันครับ
แต่ใช้ระยะเวลา 1 กัปป์เท่ากัน


บางคนในระยะเวลา 1 กัปป์อาจเสวยสุขอยู่บนสวรรค์
ในขณะที่บางคนเกิดแล้วตายอยู่บนโลกนับภพนับชาติไม่ถ้วน

#27 หยุด นิ่ง ใส

หยุด นิ่ง ใส
  • Members
  • 167 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2008 - 12:49 PM

พอดีอ่านแล้วมีประเด็นเพิ่มว่าแต่ละกัปป์ยาวเท่ากันหรือไม่อีก
แต่ละกัปป์ยาวไม่เท่ากันครับ

ให้สังเกตุอย่างนี้ครับว่าโลกและดวงดาวต่าง ๆมีขนาดพื้นที่ไม่เท่ากันปริมาตรต่างกัน สถาพแวดล้อมก็ต่างกัน
การเกิดและการดับก็ไม่เท่ากัน เหมือนคนละหน่วย นับ รอบวงโคจรรอบดวงอาทิต์ระยะทางก็ไม่เท่ากันอีก
แต่ 1 รอบน่ะเท่ากันครับ งงมั๊ยครับ

ขนาดของโลกแต่ละดวง ทั้งในโลกอดีต และโลกปัจจุบัน ทั้งระบบสุริยะเราและ ระบบสุริยะอื่น่อีกที่นับไม่ถ้วน
มีปริมาตรต่างกัน โดยสิ้นเชิง

เอาเป็นว่าตอนนี้เราใช้หน่วยปัจจุบันของโลกที่เราอาศัยอยู่นี้นับครับ


ดังนั้น เป็นไปได้ว่าอาจมีโลกซักดวงในอนัตจักรวาล ที่มีค่า 1 กัปป์ของโลกใบนั้น

แต่เท่ากับ 20*10^140(+100,000) กัปป์ ของโลกเรา ครับ

ใช้ระยะเวลานานที่เท่ากันครับ แต่จำนวนรอบของการเกิด-ดับ ไม่เท่ากันครับ
เหมือนเฟืองในนาฬิกา ตัวแล็กและตัวใหญ่หมุนรอบไม่เท่ากัน แต่เข็มวินาที ที่หน้าปัดเดินไปพร้อมกันแล้ว

แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ทุกท่านสุดท้ายก็ไปนิพพานกันทุกคนครับ
ข้อนี้อย่าดูเบานะครับ คนส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อนี้กันเลยปล่อยเวลาให้ผ่านไปไม่ได้ทำอะไร
ไม่เชื่อว่านิพพานมีจริง แถมบางคนยังคิดว่านิพพานอยู่ไกลมากต้องเดินข้ามห้วงเวลาอันไกลโพ้นทำให้ถ้อถอยไปอีก


ผมคิดว่าทุกหนทางมีทางลัดเสมอครับ พวกท่านมาทางลัดกันแล้วครับ

อนุโมทนาด้วยครับ