ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ธรรมกาย?


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 DMCchild

DMCchild
  • Members
  • 270 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Singapore

โพสต์เมื่อ 24 June 2008 - 11:48 AM

ผู้รู้ช่วยให้ความรู้หน่อยค่ะ

สาธุ
ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าตั้งใจบำเพ็ญ ขอให้ตามติด ติดตาม หลวงพ่อธัมมฯ ใกล้ชิด ทั้งหยาบและละเอียดตราบวันที่สุดแห่งธรรมเทอญ...สาธุ

#2 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 24 June 2008 - 11:54 AM

ผมเริ่มจากพุทธพจน์ก่อน ก็แล้วกันนะครับ ที่เหลือ แบ่งบุญให้ท่านอื่นๆ ได้แสดงธรรมทานต่อไป

"ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ"
"ธรรมกาย คือ เรา(พระพุทธเจ้า) เราคือ ธรรมกาย"
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#3 Transparent LOVE

Transparent LOVE
  • Members
  • 109 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 June 2008 - 12:37 PM

หลักฐาน "ธรรมกาย" ในพระไตรปิฎก
จากเว็บไซด์ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
http://www.dhammakay...hmk_premise.php

ธรรมกายคืออะไร?
จากเว็บไซด์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
http://www.watpaknam.org
เลือกหัวข้อด้านบน "หลักปฏิบัติ"

happy.gif
สติ สบาย สม่ำเสมอ สังเกต
“ไม่ได้ไม่มี ไม่ดีไม่ได้ ต้องได้และดี ให้ดีที่สุด”

#4 eq072

eq072
  • Members
  • 504 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 June 2008 - 12:46 PM

http://www.dhammakay...tion_th_9.php#4

#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 June 2008 - 01:36 PM

ทราบว่ามีหลักฐานแล้ว อย่าลืมพิสูจน์นะ

เพราะเคยนำมาอ้างอิงว่ามีในพระไตรปิฎก ก็มักจะกล่าวว่า"ที่อ้างอิงมานั้นอาจเป็นคนละอย่าง(ความหมาย)กับที่ปฏิบัติ" ถ้าอย่างนี้คงยากที่จะอธิบายเพราะความเชื่อ หรือ ทิฐิที่แตกต่างกัน

หากถึงพร้อมด้วยการพิสูจน์ ก็ขอให้เข้าถึงธรรมนะ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#6 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 24 June 2008 - 03:36 PM

ต้องการหลักฐานอ้างอิงหรือครับ ไม่ต้องไปลำบากตามหาค้นหาเลยแม้แต่น้อย นั่งขัดสมาธิ หลับตา เอาใจจรดที่ศูนย์กลางกาย เดี๋ยวก็เจอหลักฐานครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#7 ผ้าขี้ริ้วหัวเราะ

ผ้าขี้ริ้วหัวเราะ
  • Members
  • 20 โพสต์
  • Location:Thailand

โพสต์เมื่อ 24 June 2008 - 05:57 PM

หลักฐานธรรมกายในพระไตรปิฎก
คำว่า "ธรรมกาย" มีปรากฏเป็นหลักฐานในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหลายแห่ง เท่าที่ปรากฏค้นพบคือ ในพระไตรปิฎก ๔ แห่ง ในอรรถกถา ๒๘ แห่ง ในฎีกา ๗ แห่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ๒ แห่ง ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ๓ แห่ง ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ๑ แห่ง ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ๑ แห่ง ในหนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ ๑ แห่ง ในที่นี้จำนำมาแสดงที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์ต่างๆ พอสังเขป
หลักฐานในพระไตรปิฎก
ในพระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย (๒๕๒๕) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย
มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" อยู่ ๔ แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพระสูตร คือ
แห่งแรก ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๙๒ ฉบับบาลี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า
"ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ"
"ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต"
จากข้อความนี้แสดงว่า ในประโยคดังกล่าว เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับสามเณรวาเสฏฐะว่า "ธรรมกาย" คือชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น สามารถจะกล่าวถึงพระนามของพระพุทธองค์ว่าคือ "พระธรรมกาย"
แห่งที่สอง ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๒ หน้า ๒๐ บรรทัดที่ ๙ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึงว่า
"...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา..."
"พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก
จากข้อความนี้แสดงว่า แม้ในพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงมีธรรมกาย ดังนั้นลักษณะที่เหมือนกันของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย คือมีธรรมกาย
แห่งที่สาม ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ บรรทัดที่ ๑ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า
"...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"
"บุคคลใดยัง "ธรรมกาย" ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี"
จากข้อความนี้แสดงว่า การที่บุคคลสามารถเห็นหรือทำ "ธรรมกาย" ให้มีในตนแล้วย่อมจะมีความปลาบปลื้มยินดี
เมื่อเปรียบเทียบทั้งสามประโยคข้างต้น กล่าวได้ว่า "ธรรมกาย" คือ ลักษณะของผู้บรรลุธรรม โดยในประโยคแรกเป็นการบรรลุธรรมหรือคุณสมบัติของผู้ตรัสรู้ธรรมในระดับของผู้ที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในประโยคที่สองเป็นระดับพระปัจเจกพุทธเจ้า ส่วนในประโยคที่สาม ระบุว่าบุคคลทั่วไปก็สามารถที่จะเข้าถึงและบรรลุธรรมหรือเห็นธรรมกายภายในตนได้
แห่งที่สี่ ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ บรรทัดที่ ๑๒ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ไว้ว่า
"สํวทฺชโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ"
"ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"
จากข้อความนี้แสดงว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พระนางมหาปชาบดีได้เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูให้พระองค์เจริญเติบโต แต่พระพุทธองค์ก็ประดุจได้เลี้ยงดูพระนางตอบแทนด้วยการทำให้ "ธรรมกาย" เกิดขึ้นในตัวของพระนาง ทั้งนี้ พระนางมหาปชาบดีเป็นพระอรหันตเถรี จึงกล่าวได้อีกว่า "ธรรมกาย" ก็เป็นลักษณะหนึ่งของการเป็นพระอรหันต์ แต่เนื่องจากพระวรกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกายของมหาบุรุษ ส่วนกายของพระนางมหาปชาบดีเป็นกายของสตรี ดังนั้นธรรมกายจึงมิใช่กายเนื้อภายนอก เมื่อเป็นเช่นนี้ "ธรรมกาย" จึงเป็นกายภายในซึ่งบุคคลผู้นั้นสามารถเห็นได้ด้วยตนเองเมื่อเข้าถึง
หลักฐานในคัมภีร์และที่มีจารึกในที่ต่างๆ
"บุคคลใดไม่มีความสงสัยว่า ตถาคตเจ้าได้หลุดพ้นจากิเลสทั้งปวงแล้ว และธรรมกายนั้นย่อมไม่มีการเกิด ไม่มีการแก่ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีการตาย คงที่แน่นอน สงบตลอดกาล บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง ถึงพร้อมด้วยพุทธคุณทั้งปวง จะนับจะประมาณมิได้ ประหนึ่งเม็ดทราบในท้องพระแม่คงคาฉะนั้น สมบูรณ์ไปด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แต่ไม่ปรากฏต่อสายตาของคนทั้งปวง "ธรรมกาย" ของพระตถาคตเจ้า เมื่อยังไม่พ้นจากกิเลสย่อมถูกกล่าวถึงในนามของตถาคตครรภะ"
"ธรรมกายนั้นย่อมเที่ยงแท้แน่นอนที่สุด เป็นสุขล้วนๆ เป็นตัวตน คือ เป็นอัตตาที่แท้จริงบริสุทธิ์ที่สุด ผู้ใดได้เห็นธรรมกายของตถาคตในลักษณะนี้แล้ว ย่อมถือว่าเห็นถูก"
(คัมภีร์ศรีมาลาเทวี สีหนาทสูตร)
"สมฺภารวิสฺตรวิภาวิตธรฺมกาย
สมฺโภคนิรฺมฺมิติวปุรฺภควานฺวิภกฺต:"
คำแปล "พระผู้มีพระภาค ผู้ประกอบด้วย "พระธรรมกาย" อันพระองค์ยังให้เกิดขึ้นแล้วอย่างเลิศ ด้วยการสั่งสม (บุญบารมี) ทั้งสัมโภคกายและนิรมาณกาย"
(ศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ จารึกเป็นภาษาสันสกฤต)
นโมวุทฺธายนิรฺมมาณ (ธรฺมสามฺโภคมูรฺตฺตเย)
ภาวาภาวทฺวยาตีโต (ทฺวยาตฺมาโยนิราตฺมกsmile.gif
คำแปล "ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระพุทธเจ้า ผู้มีนิรมาณกาย "ธรรมกาย" และสัมโภคกาย ผู้ล่วงพ้นภาวะและอภาวะทั้งสอง ผู้มีอาตมันเป็นสอง และหาอาตมันมิได้
(ศิลาจารึกที่เมืองพิมาย พิมพ์เป็นเล่มชื่อ จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗)
"...อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ ผู้ทรงพระสวัสดิภาคย์เป็นอันงามนั้น พระองค์มีพระรูปพระโฉม พระสรีรกายอันวิจิตรด้วยทวัตติงสะมหาบุรุษลักษณะ (ลักษณะสำหรับพระมหาบุรุษ ๓๒) และพระอสีตยานุพยัญชนะ ๘๐ ทัศ ประเสริฐด้วย "พระธรรมกาย" อันบริบูรณ์ด้วยแก้ว อันกล่าวแล้วคือ พระสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง..."
(คัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐)
"ธรรมกาย เป็นทางเอกที่ไร้รูป (ขันธ์ ๕) ใสสะอาด บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ขบคิดด้วยปัญญาไม่ได้ พระอาจารย์ปรากฏรูปขึ้นยามไร้รูป สร้างชื่อขึ้นยามไร้ชื่อ สร้างประโยชน์เพื่อไปมาอิสระ ไม่มีติดขัด ไม่เกี่ยวข้องแม้ใยไหมกิเลสไม่สามารถมาย้อมเกาะจิตในได้ และในยามปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง จะได้พบท่านอาจารย์ใหญ่ ปรากฏธรรมจักขุ เห็นธรรมกายที่กลมใส บริสุทธิ์"
"...มาเถอะกัลยาณมิตรทั้งหลาย เรื่องประพฤติธรรมนี้ ต้องเริ่มที่ใจของเรา ไม่ว่าเวลาใดๆ ตรึกนึกภาวนา ทำใจตนเองให้ใสบริสุทธิ์ ปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง เห็น "ธรรมกาย" ของตนเอง เห็นจากพุทธะที่อยู่ในใจของเรา ทำตนให้หลุดพ้น รักษาศีลด้วยตนเอง เริ่มต้นผิดจากนี้ไปไม่ได้..."
(คัมภีร์ ลิ่ว จู่ ถั๋น จิง วู้ ซื่อ สมัยราชวงศ์ถัง)
...สพฺพญฺญูตญาณปวรสีลํ นิพานรมฺมณํ ปวรวิลสิ
ตเกส จตูถชานาปวร ลลาต วชฺชิรสมาปตฺติ ปวรอุ...
...อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน
ติกฺขญาเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนปฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํฯ
คำแปล "พระพุทธลักษณะคือ "พระธรรมกาย" มีพระเศียรอันเประเสริฐคือ พระนิพพาน อันเป็นอารมณ์แห่งผลสมาบัติ มีพระนลาฏอันเประเสริฐ คือจตุตถฌาน มีพระอุณาโลมอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญาในมหาวชิรสมาบัติ...
พระพุทธลักษณะคือ พระธรรมกายนี้ อันโยคาวจรกุลบุตรผู้มีญานอันกล้า เมื่อปรารถนาซึ่งภาวะแห่งตน เป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า พึงระลึกเนืองๆ ฯ
(หลักศิลาจารึกพระธรรมกาย จารึกเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๒ พบที่พระเจดีย์วัดเสือ อ.เมือง จ.พิษณุโลก)
"...จึงตั้งจิตต์พิจารณาดูธรรมกายในรูปกาย ด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้"
"พระโยคาวจรผู้รู้ว่าธรรมกายดำรงอยู่ในหทัยประเทศแห่งสรรพภูติ ทำให้หมุนดังว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึงธรรมกายเป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถานอันสงบระงับ ประเสริฐเที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของธรรมกายนั้นเป็นอมตะ..."
(หนังสือพระสมถวิปัสสนากรรมฐานแบบโบราณ)

Nuttawat

#8 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 24 June 2008 - 06:33 PM

อนุโมทนา เพื่อนสมาชิกทุกท่านกับธรรมทานด้วยครับ

ยินดีที่ได้อ่านสาระธรรมจากพี่ WISH อีกครับ

#9 หยุด นิ่ง ใส

หยุด นิ่ง ใส
  • Members
  • 167 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 October 2008 - 12:16 PM

อัศจรรย์ตะวันแก้ว หาก จขกท.ได้สัมผัส เมื่อ ปี 2541 นั่นคือเครื่องรู้เฉพาะตนแล้วครับ

เขียนอย่างไร อธิบายอย่างไรให้คนที่ไม่ได้ไปเจอกับตาตัวเองก็ไม่เข้าใจ