ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พระพุทธศาสนากับป่าไม้


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 22 February 2006 - 11:55 AM

จากพุทธประวัติเราจะพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับป่าไม้หลายประการด้วยกันคือ
ศากยวงศ์ของพระพุทธเจ้าจัดตั้งขึ้นโดยพระราชโอรส และพระราชธิดาของพระเจ้าโอกากราช
ณ ป่าไม้สัก ใกล้ภูเขาหิมาลัย อันเป็นที่อยู่ของกบิลดาบสมาก่อน ได้สร้างเมืองขึ้นในป่าไม้สักให้ชื่อว่ากบิลพัสดุ์

โกลิยวงศ์ อันเป็นราชวงศ์ของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา ก็มีความเป็นมาเนื่องด้วยป่าไม้กระเบา
มีราชธานีชื่อ กรุงเทวทหะ
เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์จวนประสูติพระโอรส พระนางได้เดินทางเพื่อไปประสูติพระโอรส
ณ กรุงเทวทหะ แต่เมื่อไปถึง ลุมพินีวัน ซึ่งเป็นป่าที่ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ
พระนางก็ประสูติพระโพธิสัตว์ ณ ที่นั้น

ในสมัยที่ทรงพระเยาว์ พระโพธิสัตว์มักใช้เวลาส่วนหนึ่งเที่ยวจาริกไปตามป่าเชิงภูเขาหิมาลัย
จนสัตว์ป่ามีความคุ้นเคยเดินตามพระองค์ไปเป็นฝูง ด้วยความสนิทสนมคุ้นเคยเป็นที่อัศจรรย์

ตลอดระยะเวลาหกปี ที่พระโพธิสัตว์ได้เที่ยวศึกษาแสวงหาทางเพื่อความตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ได้ประทับศึกษาอยู่ในป่าต่าง ๆ แม้ในเวลาตรัสรู้ก็ทรงเลือกเอาป่าในตำบล
อุรุเวลาเสนานิคมเป็นที่บำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ภายใต้ต้น อัสสัตถพฤกษ์
แล้วประทับเสวยวิมุติสุข ณ ต้นไทร ต้นเกด ตามลำดับ

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ พระธัมมจักกัปวัตตนสูตร แก่ ปัญจวัคคีย์
ก็ทรงแสดงที่ ป่าอิสิปนมฤคทายวัน อันเป็นสวนป่า และทรงแสดงพระธรรมเทศนาอีกเป็นอันมาก
ณ ป่าอิสิปนมฤคทายวันแห่งนั้น จนเกิดพระอรหันต์ขึ้นในโลกคราวแรกติดต่อกันถึงหกสิบรูป

ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อนุบุพพิกถา และอริยสัจสี่ โปรดพระเจ้าพิมพิสาร และบริวาร
จำนวนรวมกัน ๑๒๐,๐๐๐ ท่าน ณ ลัฏฐิวัน อันเป็นป่าเช่นเดียวกัน

พระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาคือ เวฬุวัน คือป่าไผ่ที่พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์
หลังจากที่พระองค์ได้ฟังธรรมเทศนาจนบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลแล้ว

พระอารามอีกแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์คือ ชีวกัมพวัน เป็นป่าไม้มะม่วงที่หมอชีวกโกมารภัจถวายเป็นพระอาราม
สำหรับพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ และที่ในกรุงราชคฤห์นั้น
ยังมีป่าที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอีกเป็นอันมาก เช่น มัททกุจฉิมฤคทายวัน

ในแคว้นกาสี แคว้นโกศล อันเป็นที่ตั้งของพระอารามคือพระเชตวัน บุพพาราม
มีป่าเป็นอันมาก นอกจากเชตวัน คือ ป่าของเจ้าเชต ที่ท่านอนาถบิณทิกเศรษฐ
ีซื้อเพื่อสร้างเป็นพระอารามถวายพระพุทธเจ้าแล้วยังมีอันธวัน และนันทวัน ที่พระพุทธเจ้า
และพระภิกษุสงฆ์ ได้ไปพักอาศัยในป่าเหล่านั้น

ในแคว้นวัชชี และแคว้นสักกะ มีชื่อป่ามหาวันอยู่ทั้งสองแห่ง ที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงพระสูตรเป็นอันมากแก่พระภิกษุบ้าง เทวดาบ้าง พระราชา พราหมณ์
คฤหบดีบ้างในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับในป่านั้น

ตามปกติพระพุทธเจ้าจะเสด็จหลีกออกจากหมู่คณะ ไปประทับสงบอยู่ในป่าระยะสั้น ๆ
เจ็ดหรือสิบห้าวันทุกครั้งจะเสด็จเข้าไปประทับในป่า
เช่นคราวที่พระภิกษุทะเลาะกันที่เมืองโกสัมพี พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ป่า รักขิตวัน อยู่กับช้างและลิงที่เราเรียกพระพุทธรูปปางนี้ว่าปางป่าลิเลยกะ

การอยู่ป่าเป็นวัตรจัดเป็นนิสัย คือปัจจัยเครื่องอาศัยชีวิตของนักบวชในพระพุทธศาสนา
และแม้นักบวชในลัทธิอื่นก็ถือแนวเดียวกัน

พระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ในสมัยพุทธกาลล้วนแล้วแต่อาศัยอยู่ในป่าเป็นส่วนมาก
ยิ่งท่านที่ต้องการ เจริญกรรมฐาน หรือที่ใช้คำว่าเจริญสมณธรรมด้วยแล้ว เสนาสนะป่าเขา เงื้อมเขา ถ้ำ เป็นสถานที่ที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติเจริญสมณธรรม พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญป่าไว้โดยนัยต่าง ๆ เป็นอันมาก

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็ทรงปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน
คือ สวนป่าสาละของกษัตริย์มัลละ แห่งเมืองกุสินารา

ป่าไม้ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งบุญ
ในสคาถวรรค สังยุตตนิกาย พระพุทธเจ้ารับสั่งตอบเทวดาที่มากราบทูลถามว่า
"ชนเหล่าใด สร้างสวนดอกไม้ ผลไม้ ปลูกหมู่ไม้ สร้างสะพาน และให้โรงเป็นทาน
บ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์"


ป่าไม้ในฐานะที่เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์
ในพระพุทธศาสนา มีบทบัญญัติทางพระวินัยที่ห้ามมิให้พระภิกษุกระทำการอะไรเป็นการทำลายสภาพของป่า และต้นไม้ เช่น
พระภิกษุรูปใดตัดทำลายต้นไม้ ถ้าเป็นต้นไม้มีเจ้าของหวงแหน ท่านปรับอาบัติในฐานอทินนาทานคือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ถ้าเป็นการตัดกิ่งต้นไม้ของตนหรือของวัด
ท่านปรับอาบัติในข้อที่เป็นการพรากภูติคามคือ หักรานกิ่ง ใบ ดอกของต้นไม้
แม้แต่การทำลายต้นไม้ที่เป็นเมล็ดที่ปลูกได้ แง่ง กิ่งของต้นไม้ ล้วนปรับเป็นอาบัติทั้งสิ้น

และเพื่อเป็นการอนุรักษ์สภาพของป่า และต้นไม้ ได้มีบทบัญญัติทางพระวินัย
ห้ามพระภิกษุถ่ายปัสสาวะอุจจาระ บ้วนน้ำลายลงน้ำ ในของสดเขียวทั้งเล็กและใหญ่
รวมถึงการทิ้งสิ่งสกปรกลงในน้ำ
ในของสดของเขียวทั้งหลายอันเป็นหลักปฏิบัติที่ช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

ความเชื่อในเรื่องที่มีเทพารักษ์ สิงสถิตอยู่ในป่า ต้นไม้ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา จึงเป็นประโยชน์และเอื้ออำนวยที่สำคัญในการอนุรักษ์ป่า ต้นไม้

ยิ่งไปกว่านั้น พระวินัยยังกำหนดให้พระภิกษุที่สร้างกุฏิอยู่ตามป่า ไม่ให้ทำลายต้นไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และแม้แต่ได้รับอนุญาตก็ตัดทำลายเองไม่ได้ และยังต้องระมัดระวังไม่ให้กุฏิพังลงมาทับต้นไม้ในป่า

ดังนั้นวันในพระพุทธศาสนา จึงเรียกว่า อาราม แปลว่าสถานที่ทำใจให้รื่นรมย์ โดยเน้นไปที่สวนไม้ดอกไม้ผล
ไม้ที่ให้ร่มเงา
วัดหลักในพระพุทธศาสนาจึงมีคำลงท้ายว่า วัน ที่แปลว่าป่า เช่น เวฬุวัน เชตวัน ชีวกัมพวัน
และแม้แต่นิโครธาราม ก็เป็นป่าที่มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก

.....

ต้นไม้ สวน และป่า ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า

ต้นไม้ สวนและป่า ในสมัยพุทธกาลที่มีความเกี่ยวพันกับพุทธประวัติซึ่งนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ดังนี้

ต้นไม้

๑. ปาริฉัตตก์ คือต้นทองหลาง เป็นชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นที่ ๒ คือ ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในสวนนันทวัน ของพระอินทร์หรือท้าวสักะจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในพรรษาที่ ๗ ภายหลังตรัสรู้
พระพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับภายใต้ร่มไม้ปาริฉัตตก์ (หรือปาริฉัตร, ปาริชาต) ณ ดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือนพระพุทธมารดาได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผล ส่วนเทพยดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมบรรลุผลสุดที่จะประมาณ

๒. พหุปุตตนิโครธ ต้นไทรที่อยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่พหุปุตตนิโครธนี้ครั้นบวชล่วงไปแล้ว ๗ วัน
ก็ได้บรรลุพระอรหัต พระมหาสาวกมหากัสสปะ (เดิมชื่อ ปิปผลิมาณพ)
ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์

๓. ต้นพระศรีมหาโพธิ ต้นโพธิ ต้นโพธิที่พระพุทธเจ้าประทับภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิ
ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ณ ภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิแห่งนี้ นับเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ของะพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

ในรัชสมัยรัชการที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิ์จากต้นโพธิ์ตรัสรู้
ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งดินแดน ณ ที่นั้นได้เปลี่ยนชื่อมาเรียกว่า ตำบลพุทธคยา รัฐพิหาร นับเป็นการได้พันธุ์ต้นมหาโพธิ์ตรัสรู้โดยตรงครั้งแรก นำมาปลูกไว้ ณ วัดเปญจมบพิตรและวัดอัษฏางนิมิตร

๔. ต้นมุจจลินทร์ หรือต้นจิก ภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วถึงสัปดาห์ที่ ๖ ทรงประทับภายใต้ร่มเงาของต้นไม้จิกอันมีชื่อว่า มุจจลินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ ๆ กับต้นพระศรีมหาโพธิพระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมุจจลินทร์เป็นเวลา ๗ วัน โดยมีพญามุจจลินทร์นาคราชมาวางขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ จากสายลมและสายฝน
พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานแสดง ความสุขที่แท้ อันเกิดจาการไม่เบียดเบียนกัน

๕. ต้นราชยตนะ หรือต้นไม้เกต ภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วถึง สัปดาห์ที่ ๗ ทรงประทับภายใต้ร่มเงาของต้นไม้เกตอันมีชื่อว่า ราชายตนะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ใกล้ ๆ กับต้นศรีมหาโพธิ์ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยสิทุตติสุขเป็นเวลา ๗ วัน นับเป็นสัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข
ณ ที่นี้มีพ่อค้า ๒ คนนำกองเกวียนค่าขายจากแดนไกล คืออุกกลชนบท ได้ถวายเสบียงเดินทาง สัตตุผง สัตตุก้อนแด่พระพุทธเจ้าพ่อค้าทั้งสองคือ ตปุสสะ และภัลลิกะ
ได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒ คือถึงพระพุทธและพระธรรม

๖. ต้นสาละ เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในดินแดนชมพูทวี มิได้เป็นชนิดเดียวกับต้นรัง
หรือต้นสาละลังกาที่ปลูกหรือพบในประเทศไทย แต่อย่างใด
ต้นสาละเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเข้าตั้งปต่ประสูติ จนถึงปรินิพพาน
พระพุทธองค์ทรงประสูติภายใต้ต้นสาละใหญ่ ณ อุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
ยามนั้นแดดอ่อนดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี

ยามนั้นอากาศโปร่ง ต้นไม้ในป่าสาละอุทยานลุมพินีกำลังผลิตดอกออกในอ่อน
ดอกไม้นานาพรรณ กำลังเบ่งบาน ส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ
ครั้นยามสามของวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ภายใต้ร่มเงาพระศรีมหาโพธิ ภายในป่า สาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา
ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
ครั้น วันเพ็ญเดือน ๘ สองเดือนภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้
พระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละอันร่มรื่น ณ อุทยานมฤคทายวันหรืออิสิปตนมฤคทายวัน
ทางทิศเหนือใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี

ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ
ธัมมจักกัปปวันสุตร โปรดปัญจวัคคีย์ พระรัตนตรัยเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลกนี้
คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เมื่อพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ครบ ๘๐ พรรษาได้เสด็จถึงสาลวโนทยาน
หรือสวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ เป็นเวลาใกล้ค้ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช
พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น
ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยาคือเป็นการนอนครั้งสุดท้ายจนกระทั่งสังขารดับ

๗.อปชาลนิโครธ ต้นไทรที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ ภายหลังทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ประทับนั่งภายใต้ร่มเงาของอปชาลนิโครธเป็นเวลา ๗ วัน
ต้นอปชาลนิโครธอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์

๘.อัสสัตถพฤกษ์ คือต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันเป็นสถานที่ซึ่งพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๙. อานันทมหาโพธิ เป็นต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งใต้ร่มเงาได้ตรัสรู้ ได้นำเมล็ดไปปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล
โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการปลูกที่ประตูวัดพระเชตวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี แคว้นโกศล
ต้นโพธิ์นั้นเรียกว่า อานันทมหาโพธิ์ ทุกวันนี้ยังปรากฏอยู่

ทั้งนี้พระยามที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมหาวิหารนั้น
แต่ละปี พระพุทธเจ้าประทับเพียงปีละ ๓ เดือนในฤดูพรรษาส่วนอีก ๙ เดือนนอกพรรษา
พระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปสู่ที่อื่นเสียปีละ ๙ เดือน
ชาวนครสาวัตถีก็เกิดวิปฏิสารร้อนใจ ใคร่ทูลให้ประทับอยู่ตลอดปี
พระพุทธเจ้าทรงทราบความทุกข์ของชาวเมือง
จึงรับสั่งให้พระอานนท์นำเมล็ดจากต้นศรีมหาโพธิ มาปลูกไว้หน้าประตูมหาวิหารเชตวัน
เพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ เพื่อว่าสมัยใดที่พระพุทธเจ้าไม่ประทับพักอยู่
มหาชนจะได้บูชาต้นโพธิ์นั้นแทนองค์พระพุทธเจ้า


สวนและป่า


๑.ชีวกัมพวัน คือ สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ถวายเป็นสังฆาราม ด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าและปรารถนาจะเข้าเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง หมอชีวกโกมารภัจจซึ่งบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและเป็นแพทย์ประจำประองค์พระพุทธเจ้า ได้สร้างวัดถวายในสวนมะม่วงแห่งนี้ชีวกัมพวันอยู่ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ

๒.ตโปทาราม สวนซึ่งอยู่ใกล้บ่อน้ำพุร้อน ชื่อตโปทาอยู่ใกล้ภูเขาเวภารบรรพต ใกล้พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ สถานที่แห่งนี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

๓.ปาจีนวังสทายวัน ป่าปาจีนวังสทายวัน อยู่ในแคว้นเจตี เป็นที่ตั้งสำนักของพระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าพระอนุรุทธะ
พระมหาสาวกองค์หนึ่งซึ่งเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เรียนกรรมฐานได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นี้

๔. ปาวาริกัมพวัน เป็นสวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี อยู่ในเมืองนาลันทา
ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร
ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง

๕. เภสกลาวัน เป็นป่าไม้สีเสียด ใกล้เมืองสุงมารคีรีนครหลวงของแคว้นภัคคะ
ในพรรษาที่ ๘ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาอยู่ที่เภสกลาวัน

๖.ป่ามหาวัน กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นป่าใหญ่ใกล้ครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปทรงพักผ่อนระหว่าประทับอยู่ที่นิโครธาราม
ซึ่งเป็นอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์เช่นกัน
พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๑๕ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ที่นิโครธาราม

๗. ป่ามหาวัน นครเวสาลี เป็นป่าใหญ่ ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้า
ประทับจำพรรษาอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวลาลี
ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก

๘. มัททกุจฉิมิคทายวัน มีความหมายถึง ป่าเป็นที่อภัยแก่เนื้อชื่อ มัททกุจฉิ
อยู่ที่พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

๙.มิคจิรวัน ป่ารักขิตวันอยู่ในแดนบ้านปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ในพรรษาที่ ๑๐ ภายหลังจากทรงตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวัน
ด้วยทรงปลีกพระองค์จากพระสงฆ์ผู้แตกกัน ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี
พญาช้างปาริเลยกะคอยเฝ้าปรนนิบัติรับใช้พระพุทธองค์ ในป่ารักขิตวัน

๑๑.ไร่ฝ้าย ขณะพระพุทธเจ้าเสด็จแวะเข้าไปประทับพักอยู่ที่ไร่ฝ้ายแห่งหนึ่ง คณะสหาย๓๐ คน ชื่อคณะภัททวัคคีย์ได้พากันเข้ามาที่ไร่ฝ้ายแห่งนี้
เพื่อเที่ยวตามหาหญิงแพศยาผู้ลักห่อเครื่องประดับหนีไป
เมื่อได้พบพระพุทธเจ้าและได้ฟังเทศนาอนุปุพพิกถา
(เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ)

จากนั้นพระพุทธองค์ทรงเทศนาอริยสัจ ๔
(คือความจริงอย่างประเสริฐมี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
คณะภัททวัคคีย์ ทั้ง ๓๐ คนได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออุปสมบท

๑๒. ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่ม อยู่ทางทิศตะวันตดเฉียงใต้ของพระนครราชคฤห์ เชิงภูเขาปัพภาระ แคว้นมคธ ณ กาลนั้นเป็นตอนปลายของพรรษาที่ ๑ ภายหลังจากทรงตรัสรู้
พระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองแคว้นมคธพร้อมด้วยราชบริพาร ๑๑ นหุต
(๑ นหุต = ๑๐,๐๐๐ จึงเป็นจำนวนหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน)
เสด็จต้องรับพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุสาวกซึ่งเสด็จถึงพระนครราชคฤห์
ประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันบรรดาราชบริพารเหล่านี้ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา
จึงแสดงอาการกริยาต่าง ๆกัน บางพวกถวายบังคม บางพวกประนมมือ
บางพวกกล่าววาจาปราศรัย บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตน
บางพวกนิ่งอยู่พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามนำพระอุรุเวลากัสสปะ

ผู้เคยเป็นคณาจารย์ใหญ่หัวหน้าชฏิลสามพี่น้อง
เป็นผู้ที่ชาวนครราชคฤห์นับถือมากพระพุทธองค์ทรงถามว่า ทำไมจึงเลิกบูชาไฟ พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเดิม
บรรดาราชบริพารทราบแล้วก็เชื่อถือ
จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์แสดงพระเจ้าพิมพิสารและราชบริพารจำนวนมาก
เมื่อสดับพระธรรมเทศนาได้ธรรมจักษุ พระเจ้าพิมพิสารประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ณ ที่นี้

๑๓. ลุมพินีวัน เป็นสวนที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ภายใต้ต้นสาละใหญ่ ในเวลาใกล้เที่ยง
เมือวันเพ็ญเดือน ๖ วันศุกร์ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เป็นสังเวชนียสถาน ๑ ใน ๔ แห่ง
ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
(ปัจจุบันนี้ อยู่ในตำบลลุมมินเด แขวงเปชวาร์ ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดีย
ไปทางเหนือประมาณ ๖ กิโลเมตร ครึ่ง บัดนี้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสิทธารถนคร

๑๔. เวฬุวัน เป็นป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองแคว้นมคธ
อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก ภายหลังจากพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
ได้ธรรมจักษุประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ณ ลัฏฐิวัน
พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงพระราชดำริหาที่ประทับให้พระพุทธเจ้า
ทรงเห็นว่าพระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม่ไผ่เหมาะสม จึงถวายเป็นสังฆาราม พระพุทธเจ้าทรงรับและประทานพุทธานุญาตให้ภิกษุรับอารามที่ทายกถวายได้
การถวายอารมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ที่นี้ นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

๑๕.สักกะ เป็นดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเทือกเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์
๑๖.สาลวโนทยาน สวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ราชาผู้ครองแคว้นมัลละ ตั้งอยู่ใกล้เมืองกุสินารา พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานภายใต้ร่มไม้ต้นสาละใหญ่ ๒ ต้นในสาลวโนยาน
ในยามค้ำของวันเพ็ญเดือน ๖ ปีมะเส็ง วันสุดท้ายก่อนเริ่มพุทธศักราช

๑๗. หิมพานต์ ป่าหิมพานต์เป็นป่าใหญ่เชิงเขาหิมพานต์
ซึ่งเป็นภูเขาสูงใหญ่ทางตอนเหนือของชมพูทวีป
พระนาลกะ หนึ่งในพระมหาสาวก หลานชายของอสิตดาบสออกบวชตามคำแนะนำของลุง
และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ ป่าหิมพานต์
ครั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏปทา (ข้อปฏิบัติธรรมที่ทำให้เป็นปราชญ์)
และกลับไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าหิมพานต์ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว
ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน ก็ปรินิพานในป่าแห่งนี้

๑๘. อนุปิยอัมพวัน สวนป้าไม้มะม่วง อนุปิยอัมพวัน อยู่ในเขตอนุปิยนิคม
แขวง มัลลชนบท พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม
ณ ที่นี้ ๗ วัน ครั้ง วันที่ ๘ จึงเสด็จดำเนินจากอนุปิยอัมพวันเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
แคว้นมคธ โดยกิริยาสงบอยู่ในอาการสังวร
สมควรแก่ภาวะของสมณะเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของทุกคนที่ได้เห็น
พวกราชบุรุษนำความที่ได้พบเห็นไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิศาร
มีรับสั่งให้สะกดรอยติดตามเพื่อทราบความเท็จจริงของพรรพชิตเศษรูปนี้
ครั้นทรงสดับความจริงแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงพระประสงค์ จะได้พบกับพระมหาบุรุษ
ต่อมาเจ้าชายศากยวงศ์ทั้ง ๖ คือพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ
พระกิมพิละ พระเทวทัต และมีอบาลีอำมาตย์ ช่างกัลบก รวมเป็น ๗
พร้อมใจออกบรรพชา ได้ออกบวช ณ สวนป่าไม้ มะม่วงอนุปิยอัมพวันแห่งนี้

๑๙.อัมพปาลีวัน สวนที่หญิงแพศยาชื่อ อัมพปาลี ถวายเป็นสังฆาราม
ไม่นานก่อนพุทธปรินิพพาน อยู่ในเขตเมือเวสาลี แคว้นวัชชี
(แพศยา หมายถึง หญิงหาเงินในทางร่วมประเวณี หรือ โสเภณีในปัจจุบัน)

๒๐. อิสิปตนมฤคทายวัน คือป่าที่ให้อภัยแก่เนื้อชื่อ อิสิปตนะ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี
ณ ป่าแห่งนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร
(พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป)ประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ รูป
ในวันเพ็ญ เดือน ๘ พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ได้เกิดขึ้นบริบูรณ์ในกาลนั้น ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

ไฟล์แนบ



#2 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 February 2006 - 01:20 PM

สาธุด้วยครับ แต่รู้สึกจะยังมีอีกป่าหนึ่ง คือ ป่าประดู่ลาย นะครับ
คือ ตอนที่พระองค์กำใบไม้มาหนึ่งกำแล้วบอกว่า ธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้มีมากมายเหมือนใบไม้ในป่า แต่ธรรมะที่พระองค์นำมาแสดงแก่พระสาวกมีปริมาณเท่าใบไม้ในกำมือ แต่แค่ใบไม้ในกำมือที่พระองค์แสดงก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้สรรพสัตว์หลุดพ้นจากวัฏฏสงสารครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#3 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 23 February 2006 - 06:14 PM

Well done and Excellent kah!!! Sa thu kah happy.gif
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 February 2006 - 10:05 PM

**** ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ ป่า

บางส่วนจาก สิ่งแวดล้อมในพระไตรปิฎก



นิยาม “ป่า” ในภยเภรวสูตร

กล่าวถึงเนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าเปลี่ยวหรือป่ารกชัฏว่ายากที่อยู่ได้ ยากที่จะทำความยินดีได้
และชักพาใจที่ยังไม่ได้สมาธิให้ไขว้เขวได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า
“แม้เราเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนการตรัสรู้ทางมีความดำริเช่นนั้น
พอหลังตรัสรู้แล้วจึงประจักษ์แจ้ง”
และทรงสอนว่า
“สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีการดำรงชีพไม่บริสุทธิ์
เสพเสนาสนะสงัดที่เป็นป่าและป่าเปลี่ยว ย่อมมีความกลัว
และความขลาดเพราะความไม่บริสุทธิ์ของตน”

ดังนั้น ป่าและป่าเปลี่ยว (อรัญญวนปัตถ) หมายถึง เสนาสนะที่สามารถใช้ปฏิบัติอรัญญิกธุดงค์ได้
ซึ่งห่างจากชุมชนประมาณ ๒๕ เส้นหรือ ๕๐๐ ช่วงคันธนูขึ้นไป

คำว่า “ป่าเปลี่ยว” หมายถึง
๑) เสนาสนะที่อยู่ไกล
๒) เสนาสนะที่อยู่ในราวป่า
๓) เป็นสถานที่น่ากลัว
๔) เป็นสถานที่ที่ทำให้ขนลุก
๕) เป็นสถานที่อยู่ชายแดน หรือไกลมาก
๖) เป็นสถานที่ไม่มีผู้คนไปมาบ่อย
๗) เป็นสถานที่ที่ไม่มีการไถหว่าน
๘) เป็นสถานที่เลยท้ายหมู่บ้าน หรือห่างจากชุมชนออกไป

..........

มหาโคสิงคสาลสูตร ขณะพระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่ามหาโคสิงคสาลวันกับพระเถระที่มีชื่อเช่น
พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระเรวตะ พระอานท์ พระสารีบุตรได้ตั้งคำถามว่าป่ามหาสิงคสาลนี้งดงามเหมาะสมกับภิกษุประเภทใด

พระอานนท์ตอบว่า งามสำหรับภิกษุผู้พหูสูตร
พระมหากัสสปะตอบว่า งามสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า
พระเถระอื่น ๆ ตอบว่า งามสำหรับภิกษุผู้มีคุณธรรมระดับต่าง ๆ

ปรากฏว่าความห็นแตกต่างกันออกไป เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงพากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสว่า
“ป่านี้งดงามสำหรับภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต นั่งคู้บัลลังก์ (นั่งสมาธิ)
ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า ตั้งใจว่า จะไม่เลิกนั่งสมาธิ
ตราบใดที่จิตยังไม่พ้นจากกิเลสาสวะ ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน”
( ม. มู. ๑๒ / ๓๘ / ๒๘๙ )

เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ป่ามิใช่จะงดงามเหมาะสมเฉพาะพระภิกษุ หรือผู้ที่มีคุณธรรมชั้นสูงเป็นผู้เลอเลิศอยู่แล้วตามทัศนะของพระเถระทั้งหลายเท่านั้น แต่ป่างดงามเหมาะสมสำหรับพระภิกษุที่ยังไม่บรรลุคุณธรรมชั้นสูง
ซึ่งมีความเพียรและตั้งใจมั่นว่า ตราบใดที่ยังไม่พ้นจากกิเลสาสวะจะไม่เลิกบำเพ็ญสมาธิ

ดังนั้น ผู้ที่ควรอยู่ป่าอย่างยิ่งก็คือผู้ที่ยังไม่พ้นจากกิเลสาสวะจะไม่เลิกบำเพ็ญสมาธิ
ดังนั้น ผู้ที่ควรอยู่ป่าอย่างยิ่งก็คือผู้ที่ยังไม่บรรลุคุณธรรมใด ๆ
ต่างหากที่ควรเข้าไปแสวงหาความสงัดวิเวก ในป่าเพื่อบำเพ็ญเพียรขัดเกลากิเลสาสวะต่อไป พระสูตรทำนองเดียวกันนี้ยังมีปรากฏในพระไตรปิฎกอีกมากมาย

…………..

การอยู่ป่าต้องเป็นไปตามความสมัครใจ ขณะพระพุทธเจ้าประทับ ณ เวฬุวนาราม
พระเทวทัตได้เสนอวัตรปฏิบัติ ๕ ข้อ เพื่อบังคับให้ภิกษุปฏิบัติตาม
แต่พระพุทธองค์ตรัสว่า

“ผู้ใดปรารถนาอยู่ป่า ก็จงอยู่ ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาต ก็จงเที่ยวไป
ผู้ใดปรารถนาจะรับกิจนิมนต์ ก็จงรับนิมนต์ได้ ผู้ใด้ปรารถนาจะรับผ้าบังสุกุล ก็จงรับ ฯลฯ
เราอนุญาตที่นั่งที่นอน ณ โคนไม้ตลอดเวลานอกฤดูฝน ๘ เดือน ฯ”

จะเห็นได้ว่า แม้พระพุทธองค์จะทรงสรรเสริญการอยู่ป่าของพระไว้มาก
แต่ก็ไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้มีการบังคับตามที่พระเทวทัตเสนอ ทรงเห็นว่าการอยู่ป่าต้องเป็นไปตามความสมัครใจและบารมีธรรมทานของแต่ละท่าน

..................

อยู่ป่าแต่ห้ามทำลายป่า
ในปาจิตตีย์กัณฑ์แห่งภูตคามวรรค
กล่าวถึงภิกษุชาวเมืองกาฬวีทำการก่อสร้าง ได้ตัดไม้เองบ้างสั่งให้ผือื่นตัดบ้าง
พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่ง
จึงทรงบัญญัติปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุที่ทำให้ต้นไม้ (ภูตคาม)
และคำว่า “ต้นไม้” ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์หมายถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ

๑. มีหัวเป็นพืช เช่น ขิง

๒. มีลำต้นเป็นพืช เช่น ไทร

๓. มีปล้องเป็นพืช เช่น อ้อย ไม้ไผ่

๔. มียอดเป็นพืช เช่น ผักชี

๕. มีเมล็ดเป็นพืช เช่น ข้าว ถั่ว

......

คนกับการเผาป่า

พระพุทธเจ้าทรงปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุเผาป่า เรียกว่า
อยู่ป่าแต่ห้ามเผาป่า ยกเว้นกรณีที่มีไฟป่าไหม้ลามมา
ทรงอนุญาตให้จุดไฟเผาเป็นแนวป้องกันการลุกลามได้

กำหนดโทษรุนแรงแก่ภิกษุที่นำไม้หวงห้ามไปใช้สอย ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
กล่าวถึงพระธนิยะและภิกษุอีกหลายรูป ทำกุฎีหญ้าอยู่จำพรรษาใกล้ภูเขาอิสิคิลิ
พอออกพรรษาแล้วรื้อกุฎี เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้วจาริกไปที่อื่น
แต่พระธนิยะคงอยู่ที่เดิมต่อไปตลอดฤดู
วันหนึ่งขณะที่ท่านเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านก็ถูกคนเก็บหญ้าขโมยหญ้าและไม้จากกุฎีท่านถึง ๓ ครั้ง
ท่านจึงได้สร้างกุฎีดินเผาสีแดงสวยงาม
พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงรับสั่งให้ทุบทำลาย
และทรงบัญญัติอาบัติทุกกฎ ห้ามทำกุฎิด้วยดินล้วน
เพราะการขุดดินออกอาจทำสัตว์ให้ตายได้

พระธนิยะ ได้เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเก็บไม้หลวง และออกปากขอไม้หลวง
แต่ถูกปฏิเสธว่ามีแต่ไม้ของพระราชาที่เก็บไว้ซ่อมพระนคร
พระธนิยะได้นำไม้ท่อนเล็กน้อยใส่เกวียนไปทำกุฎีไม้
เมื่ออำมาตย์ผู้ใหญ่มาตรวจพบว่า ไม้หายไป จึงได้นำความถวายทูลพระเจ้าพิมพิสาร
พระองค์รับสั่งให้นำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าเฝ้า ซึ่งพระธนิยะได้ขอตามไปด้วย
พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการแล้วตรัสถามว่า
“พระองค์ได้ถวายไม้ไปจริงหรือเปล่า?”
พระธนิยะตอบว่า “จริง” พร้อมชี้แจงรายละเอียดว่า ในวันเสวยราชย์นั้น
ทรงมีพระราชดำรัสว่า
“หญ้า ไม้ และน้ำเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าถวายแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ขอจงใช้สอยเถิด”
พระองค์ตรัสตอบว่า
“หมายเอาสมณะและพราหมณ์ผู้มีความละอายใจรังเกียจความชั่ว ใคร่ต่อการศึกษา ผู้มีความเพียร และสิ่งของที่ถวายหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า”

..........

คนอยู่ป่า ๕ ประเภท ตามคติทางพระพุทธศาสนา
แม้พระพุทธองค์จะทรงสรรเสริญการอยู่ป่าของพระไว้มากมายก็ตาม
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพอเข้าไปอยู่ป่าแล้วจะดีเลิศกว่าใครไปหมด
ตรงกันข้ามพระองค์ได้ทรงเตือนไว้ว่าพระที่ไปอยู่ป่า
จำแนกได้ ๕ ประเภทคือ
๑) อยู่ป่าเพราะโง่ ไม่รู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ เห็นเขาอยู่ก็อยู่ตาม

๒) อยู่ป่าเพราะมีความปรารถนาอันเป็นบาปคือ อยากได้ชื่อเสียง คำสรรเสริญ เป็นต้น

๓) อยู่ป่าเพราะจิตฟุ้งซ่าน เสียสติ อยู่ในที่ชุมชนกับเขาไม่ได้ ต้องหลบไปอยู่ป่า

๔) อยู่ป่าเพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้าและบัณฑิตสรรเสริญ

๕) อยู่ป่าเพราะมุ่งความมักน้อย สันโดษ ปรารถนาความวิเวก ฝึกหัดขัดเกลาตน

คนอยู่ป่าได้ และอยู่ไม่ได้ ๒ ประเภท คือ

ก. คนที่ไม่สมควรอยู่ป่า ผู้ที่ไม่สมควรอยู่ในเสนาสนะสงัดในราวป่ามี ๔ ประเภท

๑) เป็นผู้มีปัญญาทรามเพราะกามวิตก
๒) เป็นผู้มีพยาบาลวิตก
๓) เป็นผู้มีวิหิงสาวิตก
๔) เป็นผู้โง่เขลาบ้าน้ำลาย

ข. คนที่สมควรอยู่ป่า สำหรับผู้ที่สมควรกับเสนานะสงัดในราวป่าต้องมีคุณธรรม ๔ ประการ คือ

๑) เป็นผู้มีปัญญา เพราะเนกขัมมวิตก
๒) เป็นผู้ไม่มีพยาบาทวิตก
๓) เป็นผู้ไม่มีวิหิงสาวิตก
๔) เป็นผู้ไม่โง่เขลา ไม่บ้าน้ำลาย

.....

คุณสมบัติของผู้อยู่ป่า
ในตติยปัณณาสก์หมวดที่ ๕๐
ข้อที่ ๑ กล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงแสดงคุณธรรมของผู้ที่สมควรเสนาสนะป่าอันสงัด ๕ ประการ คือ

๑) เป็นผู้มีศีล
๒) มีการสดับตรับฟังมาก
๓) ยินดีในปัจจัย ๔ ตามมีตามได้
๔) ได้ฌาน ๔ (ฌานที่ ๑ – ๔) ตามปรารถนา
๕) แจ้งในเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ

...........

จากพุทธประวัติและประวัติวัดในพระพุทธศาสนา ถ้าใช้วิจารณญาณอย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นและดำรงอยู่กับป่ามาโดยตลอดนานกว่า ๒,๕๐๐ ปี
เพราะแม้พระพุทธเจ้าเอง พระองค์ประสูติใต้ต้นไม้สาละ ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์
แสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ปรินิพพานใต้ต้นสาละ

และวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างถวายกเป็นป่าไผ่ ชื่อว่า “วัดเวฬุวัน”

วัดในระยะต่อมาจึงนิยมสร้างในป่าเป็นจำนวนมาก วัดสำคัญที่มีชื่อเสียงได้แก่
วัดเชตวัน - ป่าเจ้าเชต,
วัดชีวกัมพวัน – ป่ามะม่วงของหมอชีวก,
วัดป่ามหาวัน – ป่าใหญ่ วัดปาลิกัมพวัน เป็นต้น

จะสังเกตเห็นได้ว่า วัดในสมัยพุทธกาลล้วนแต่มีชื่อต่อท้ายด้วยคำว่า
“วัน” หรือ “วนาราม” ซึ่งแปลว่า ป่าแทบทั้งสิ้น

ในอีกแง่หนึ่ง ป่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เป็นแหล่งกำเนิดพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสถานที่สำคัญในการวางรากฐานทางพระพุทธศาสนา เช่น
การทำสังคายนา เป็นแหล่งบ่มเพาะประสบการณ์ของพระพุทธเจ้า
และเหล่าสาวก ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง เีรียบง่าย และฝึกหัดขัดเกลาพัฒนาตนเอง
ดังนั้น ในแง่พุทธประวัติ และประวัติวัด จึงมีพัฒนาการคู่กับป่ามาโดยตลอดจนแยกไม่ออก

............

การแยกตัวไปอยู่ป่า หาใช่การเอาตัวรอดของปัจเจกไม่ ใน อรัญญิกธุดงควัตร อันเป็นวัตรปฏิบัติที่ดำเนินมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

สมัยพุทธกาลมีพระสงฆ์หลายรูปได้ปฏิญาณถือการอยู่ป่าตลอดชีวิต
และท่านที่มีชื่อเสียงและบทบาทสำคัญก็คือ พระมหากัสสปเถระ ผู้เป็นประธานในการทำปฐมสังคายนา ซึ่งเป็นต้นแบสำคัญในการสืบอายุพระพุทธศาสนาในระยะต่อมา

เรื่องการปลีกตัวไปอยู่ป่าชั่วคราว หรืออยู่ป่าตลอดชีพ เช่น
พระมหากัสสปเถระ หรือแม้แต่การวิถีชีวิตของพระป่าในประเทศไทยที่เป็นอยู่ก็ดี
ได้เกิดการตีความผิดกันมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักปรัชญาตะวันตกหลายท่าน
ที่บอกว่าการปฏิบัติตัวของพระสงฆ์มีลักษณะเป็นปัจเจกมากเกินไป
เป็นลักษณะของคนหนีโลกแยกขาดจากโลกภายนอก
หวังความหลุดพ้นเฉพาะตัว ไม่มีความสัมพันธ์เกื้อกูลกัน

ความจริงแล้ว นักบวชที่อยู่ป่าแบบหนีโลก
ตัดความสัมพันธ์กบโลกภายนอกไม่ต้องรับผิดชอบต่อโลกหรือสังคม
ชุมชนนั้นมีอยู่กลุ่มเดียวคือ พวกฤษี ชีไพร แต่นักบวชในพระพุทธศาสนาหาเป็นเช่นนั้นไม่

ดังกรณีพระมหากัสสปเถระเป็นตัวอย่าง ซึ่งถึงแม้ว่าท่านจะปฏิญญาณตนดำรงชีวิตอยู่ป่าตลอดไป
ก็หาได้ตัดความรับผิดชอบต่อสังคมไม่
และโดยหลักการทางวินัยบัญญัติแล้วก็ทำไม่ได้ด้วย
เพราะพระต้องอยู่กันเป็นชุมชนสงฆ์ หรือสังฆะ มีความรับผิดชอบร่วมกัน
พระมหากัสสปเถระต้องออกจากป่า มาทำหน้าที่เป็นประธานการสังคายนาพระธรรมวินัย
เมื่อคราวพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ ๆ
ดังนั้น เราจึงเห็นว่า เมื่อสังคมเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ
พระสงฆ์ต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ

๗. ความสัมพันธ์กับป่าในเชิงคุณค่าแบบ “กตัญญู”
ในเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของอังกุรเปรต กล่าวถึง พราหมณ์พ่อค้าคนหนึ่ง
เห็นของทิพย์ออกจากมือรุกขเทวดาจึงเกิดความโลภขึ้น ได้บอกแก่อังกุรพาณิชโพธิสัตว์ว่า

เราทั้งหลายเที่ยวหาทรัพย์ ไปสู่แคว้นกัมโพชเพื่อประโยชน์สิ่งใด
เทพบุตรนี้เป็นผู้ให้สิ่งที่เราอยากได้นั้น
พวกเราจักนำเทพบุตรนี้ไปหรือจักจับเทพบุตรนี้
ข่มขี่เอาด้วยการวิงวอนหรืออุ้มใส่ยานรีบนำไปสู่ทวารนครโดยเร็ว

อังกุรพาณิชเมื่อจะห้ามพราหมณ์พ่อค้านั้น จึงได้กล่าวคาถาความว่า

“บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น
เพราะการประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม”

พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า

ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใดตลอดราตรีหนึ่ง หรือพึงได้ข้าวน้ำ ในที่ใด
ไม่ควรคิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจความเป็นผู้กตัญญู
สัปบุรุษสรรเสริญ บุคคลพึงพักอาศัยในเรือนของบุคคลใดแม้เพียงคืนหนึ่ง
พึงได้รับบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ก็ไม่พึงคิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจ
บุคคลผู้มีมืออันไม่เบียดเบียน ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตร ผู้ใดทำความดีไว้ในก่อน
ภายหลังเบียดเบียนด้วยความชั่ว ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นคนอกตัญญู ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย

( ขุ. เปต. ๒๖ / ๑๐๖ / ๑๕๐ )

......

ในด้านคำสอนหรือพระสูตรมีประเด็นที่ควรนำมาสรุปย้ำก็คือ

๑. คำว่า ป่า ในความหมายของธุดงควัตร คือ
สถานที่ที่มีบรรยากาศสงบสงัดเกื้อกูลแก่การเข้าไปอาศัย
เพื่อฝึกหัดขัดเกลาพัฒนาตนเองของพระภิกษุ และอยู่ห่างจากชุมชนประมาณ ๒๕ เส้นขึ้นไป

คำว่า “ป่า” ในความหมายทั่วไป หมายถึง
“อาณาบริเวณที่อยู่ห่างไกลปราศจากการไถ่หว่าน ไม่มีผู้คนไปมาบ่อย เป็นที่น่าหวาดกลัว และขนลุก”

๒. การอยู่ป่าของพระ ถือเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา
เพราะเมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงหัวใจพระพุทธศาสนาที่ว่า “ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจ ให้ผ่องใส” แล้ว ยังทรงแสดงต่อไปอีกว่าให้อยู่เสนะสนะอันสงัด
คือทรงแนะนำให้ภิกษุอยู่ป่า ใช้ป่าอันสงบเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม

๓. การเจริญภาวนาที่พระพุทธองค์ทรงใช้มากที่สุดคือ
การเจริญอานาปานสติ โดยการใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
เพื่อให้จิตเป็นสมาธิและเกิดปัญญาญานขึ้น
สิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลที่สุดก็คือป่า
พระองค์จึงทรงแนะนำว่า
“นั่นป่า นั่นโค่นไม้ นั่นเรือนวาง ภิกษุพึงเจริญภาวนาในที่เช่นนั้น จะได้ไม่ต้องเสียใจในภายหลัง”

๔. การที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ภิกษุใช้ป่าเป็นที่บำเพ็ญเพียร
เพราะป่าเป็นสภาพแวดล้อมอันวิเวก เกื้อกูลแก่การบำเพ็ญสมณธรรมฝึกหัดขัดเกลาพัฒนาตัวเอง
ทำให้กายประสบกับภาวะวิเวก เมื่อกายวิเวกก็ง่ายที่จะช่วยให้จิตวิเวก

เมื่อจิตสงบดี ก็ง่ายแก่การกำจัดกิเลสาสวะน้อยใหญ่ให้เบาบาง หรือหมดสิ้นไปได้
แล้วจะได้นำสันติธรมไปเผยแผ่แก่มหาชนในทุกสถาน
ให้เกิดสันติสุขในชีวิต และสันติภาพในสังคมต่อไป

๕. เมื่อป่าเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญเพียรทางจิต และการขจัดกิเลสแล้วพระอยู่ป่าจึงเข้าใจป่า เห็นคุณค่าทั้งระบบได้อย่างลึกซึ้งละเอียดอ่อนตากกฎธรรมชาติ
หรือ กฎแห่งอิทัปปัจจยตาอันเป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์ที่สุดของธรรมชาติ

๖. เมื่อพระใช้ชีวิตสัมพันธ์กับป่า ได้รับความสัมพันธ์กับป่าพัฒนาตนเอง
จากสิ่งแวดล้อมที่เป็นป่าธรรมชาติแล้ว พระท่านได้ช่วยสั่งสอนประชาชนให้เข้าใจและเห็นคุณค่าของป่า
รวมทั้งการพิทักษ์รักษาป่าไว้ในรูปของ ป่าวัฒนธรรม ป่าชุมชน ป่าสาธารณะ
และวัดป่า เป็นต้นนับเป็นการอนุรักษ์ทั้งป่า สัตว์ป่า พันธุ์พืช
และพุทธประเพณีในการอยู่ป่าของพระสงฆ์เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกด้วย

๗. การมีวัด หรือสำนักสงฆ์ในป่า ได้ช่วยสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมประเทศชาติ
และพระพุทธศาสนาได้ถึง ๒ ชั้นคือ

ชั้นแรก การมีวัดในป่าทำให้พระและผู้ต้องการพัฒนาตน
ได้อาศัยความสงัดของป่า เป็นที่ขัดเกลาพัฒนาตนเอง
เป็นที่หลีกเร้นอยู่อย่างสงบจนได้รับประโยชน์จากความสงบสงัด
นับเป็นแหล่งพัฒนาคุณภาพของบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่ดีที่สุดทางหนึ่ง

ชั้นที่ ๒
ธรรมที่เกิดจากความสงบสงัดของป่า
พระสงฆ์ได้เป็นภาระช่วยนำออกไปเผยแผ่แก่ประชาชน
ให้เข้าใจะธรรมะและความสำคัญของป่าคู่กันไป
นับเป็นการร่วมกันพิทักษ์ทั้งธรรมะและป่าให้คงอยู่คู่มนุษยชาต
ิและสอดคล้องกับกระแสหลักของโลกในปัจจุบันและอนาคต
เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบนิเวศของโลกไว้ให้ดีที่สุดอีกด้วย

๘. เมื่อพระสงฆ์และประชาชนได้รับประโยชน์สุขจากป่า
เข้าใจป่าและเห็นคุณค่าของป่าแล้ว มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอนุรักษ์ตามวัฒนธรรม
และประเพณีแต่ละท้องถิ่น เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนาป่าตามธรรมชาติของมัน
จนเป็นรูปธรรม เ
มื่อเป็นเช่นนี้ รัฐและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งรีบให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
มิใช่จะมัวมาสร้างเงื่อนไขทางกฎหมาย และระเบียบราชการในการขับไล่พระ และประชาชนออกจากป่า อย่างขาดความเข้าใจในรากฐานทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาไทย

๙. กรณีพระกับป่าเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของสังคมไทยโดยส่วนรวม
เมื่อมีการทำลายป่า และการขับไล่พระออกจากป่าด้วยวิธีการที่รุนแรง เช่น
การจับกุมพระสงฆ์เข้าห้องขัง และรื้อถอนสำนักสงฆ์ เป็นต้น ก็ย่อมจะกระทบกระเทือนต่อจิตใจคนไทยและนักอนุรักษ์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และได้สร้างภาพลบแก่ผู้กระทำอย่างยากแก่การไถ่บาปให้หมดไปได้

ดังนั้นรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องควรใช้วิจารณญานให้รอบคอบ และสอดคล้องกับภูมิปัญญาไทยและถือเอาพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการแก้ไขปัญหากับพระป่า

๑๐. กรณีคนกับป่าหรือพระกับป่า รัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ควรนำปัญหามาแก้ปัญหา แต่ควรใช้หลักการและข้อมูลที่เป็นจริงในการแก้ปัญหาจะเหมาะสมกว่าและเกิดประโยชน์แก่สังคม
ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนาได้มากกว่า

หลักการในที่นี้หมายถึงหลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระกับป่า
รวมทั้งชาวบ้านกับป่า ซึ่งที่ผ่านมารัฐมักเสนอข้อมูลทางฝ่ายตนด้านเดียว
ทั้ง ๆ ที่ในการแก้ไขปัญหาระยะยาวได้ดีนั้น
จะต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นจริงและเที่ยงตรงเท่านั้น

............




ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  R452_8.jpg   39.64K   21 ดาวน์โหลด


#5 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 26 February 2006 - 01:14 AM

สาธุกับพี่แดงดีด้วยนะครับ (แต่วันหน้าขอความกรุณาแบ่งเป็นตอนๆ ได้ไหมครับ? เยอะอย่างนี้อ่านเหนื่อยเลยครับ)

#6 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 18 March 2007 - 04:01 PM

สาธุ