ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

กรรมนิยาม 5 คืออะไร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ~ นู๋แก้ม ~

~ นู๋แก้ม ~
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 August 2006 - 02:21 PM

คือนู๋ต้องทำงานพระพุทธเรื่องนี้ และยังหาข้อมูลไม่ได้เลย
ใครช่วยนู๋ได้จะขอบคุณมากค่ะ


#2 Dsu

Dsu
  • Members
  • 30 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 August 2006 - 03:36 PM

กรรมนิยาม 5 คืออะไร (น่าจะหมายถึง ธรรมนิยาม 5 หรือเปล่า ซึ่งรวมถึงกรรมนิยามด้วย)

พระองค์ทรงทราบว่าเกิดขึ้นจากกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ธรรมนิยาม เรื่องธรรมนิยามนี้พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้คร่าว ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งในภายหลังอรรถกถาจารย์ผู้มีความแตกฉานในธรรมะได้ขยายความเพิ่มเติม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ในอรรถกถาแห่งทีฆนิกาย อรรถกถาจารย์ได้จำแนกนิยามออกได้ 5 ประการ[๘] คือ

1. อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุม ความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เช่น ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แม้กระทั่งการเกิดและการดับสลายของโลกก็เป็นไปตามกฎธรรมชาติข้อนี้ ในตำราพุทธศาสนาที่เขียนโดยขาวฝรั่ง มักใช้คำว่า คนอินเดียในสมัยพุทธกาลสงสัยกันว่า อะไรคือสิ่งกำหนดให้มีความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุ เช่นความสม่ำเสมอของฤดูกาล ซึ่งทางพระพุทธศาสนาตอบปัญหานี้ว่า สิ่งที่กำหนด คือ อุตุนิยาม

2. พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ กฎธรรมชาตินี้ เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นไม้ที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือ ช้างเมื่อคลอดลูกออกมาแล้วก็ย่อมเป็นลูกลิงเสมอ ความเป็นระเบียบนี้พุทธศาสนาเชื่อว่าเป็นผลมาจากการควบคุมของพีชนิยาม

3. จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนาเชื่อว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ จิตมีกฎเกณฑ์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นฉบับเฉพาะตัว

4. กรรมนิยาม (Kamic Laws) คือ กฎการให้ผลของกรรม กรรมคือ การกระทำที่ประกอบด้วยความตั้งใจ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมตอบสนองในทางดี กรรมชั่วย่อมตอบสนองในทางชั่ว นี่คือ กฎแห่งกรรมนั่นเอง

5. ธรรมนิยาม (General Laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุม ความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้ [๙]

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ แต่ไม่ทรงสอนทั้งหมด พระองค์ทรงสอนธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับจิตตนิยามและและกรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในลักษณะกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่สนใจกรรมนิยามและสนใจในจิตนิยามเล็กน้อย นี่คือจุดเน้นที่ต่างกันระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องกรรมนิยามและจิตนิยามก็จริง ถึงกระนั้นพระพุทธศาสนาก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เองพระพุทธศาสนาจึงไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้เอง ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบแล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นก็เพียงเพื่อให้พ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต

http://dou_beta.trip...L101_01_th.html


#3 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 28 August 2006 - 09:26 AM

ช่วยหาโดยคัดลอกมาจากคุณฐานาฐานะ เมื่อ 11 สิงหาคม 2546 (ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยค่ะ)
.......................................................................

นิยาม 5 [ กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ ]

1. อุตุนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฎการ์ณธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ ]

2. พีชนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธ์ มีพันธุ์กรรมเป็นต้น ]

3. จิตตนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต ]

4. กรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของกระทำ ]

5. ธรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย ]

หมายเหตุ :-
คัดลอกจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวธรรม ของ พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๓๕

4. กรรมนิยาม ดู
- จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
http://84000.org/tip...=...7623&Z=7798

- มหากัมมวิภังคสูตร (๑๓๖)
http://84000.org/tip...=...7799&Z=8027

- กระทู้หัวข้อ เรื่องของกรรม . . . พร้อม อรรถกถา .
http://dharma.school...-bin/kratoo.pl/ 006311.htm

5. ธรรมนิยาม ดู
- อุปปาทสูตร
http://84000.org/tip...=...7520&Z=7533



#4 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 August 2006 - 01:34 PM

สาธุ ขอขอบคุณ และอนุโมทนากับทุกคว่ามเห็นครับ
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#5 ~ นู๋แก้ม ~

~ นู๋แก้ม ~
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 August 2006 - 07:44 PM

ขอบคุณทุกท่านที่ให้คำตอบนะคะ

แต่นู๋ก้อยังมะแน่ใจอ่ะนะ

ว่ากรรมนิยามเนี่ย มันอยู่ในนี้ หรือต้องแยกออกมา

เลยไม่กล้าทำอ่ะคะ

คัยมั่นใจกรุณามาบอกนู๋นะคะ

ขอบคุณค่ะ

#6 Dsu

Dsu
  • Members
  • 30 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 August 2006 - 08:14 AM

แต่นู๋ก้อยังมะแน่ใจอ่ะนะ

ว่ากรรมนิยามเนี่ย มันอยู่ในนี้ หรือต้องแยกออกมา


อยู่ในนี้แน่นอน..

(ถ้ายังไม่แน่ใจก็ลองถามอาจารย์ใหม่ว่า ให้ทำรายงานเรื่อง กรรมนิยาม 5 หรือ ธรรมนิยาม 5 กันแน่)

#7 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 07 October 2006 - 10:22 PM

อนุโมทนาด้วยเด้อ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#8 พยัคฆ์ร้ายห่างภูไพรไร้ศักดา

พยัคฆ์ร้ายห่างภูไพรไร้ศักดา
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 November 2008 - 09:22 PM

ดูพระไตรปิฎกเล่มที่13 หน้า 100-101

#9 **สุริยา**

**สุริยา**
  • Guests

โพสต์เมื่อ 06 August 2011 - 06:57 AM


สมุทัย


สมุทัย:ธรรมที่ควรละ
หลังธรรมทางพระพุธทศาสนาที่สรุปลงมาเป็นหัวในข้อ สมุทัย ธรรมที่ควนละของอริยสัจ ๔ มีอยู่หลากหลายหมวดหลายหัวข้อด้วยกัน กรรมนิกาย (กรรม ๑๒) มิจฉาข-วณิชชา ๕ และกามตัณหา
อริยสัจ ๔: สมุทัย : กรรมนิยาม : กรรม ๑๒

กรรมนิยาม (Law of Kamma, Moral laws)

กรรมนิยาม คือ กฎการให้ผลของกรรม หรือกฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือกระบวนการที่ก่อให้เกิดการกระทำและการให้ผลของการกระทำ มี ๒ ประการคือ การกระทำดี ย่อมได้รับผลดี กระทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว

กรรม ๑๒ (kamma, action) กรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จะก่อให้เกิดกรรมดีเมื่อมีเจตนาจะทำความดี และจะก่อให้เกิดกรรมชั่วเมื่อมีเจตนาจะทำความชั่ว ในที่นี้ หมายถึง กรรมประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมเหล่านั้นกรรม ๑๒ แบ่งออกเป็น ๓ หมวดใหญ่ ๆ แต่ละหมวดแบ่งย่อยออกเป็น ๔ ดังนี้คือ

หมวดที่ ๑ กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา คือจำแนกตามเวลาที่ให้ผล แบ่งเป็น

๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน หรือในชาตินี้ เป็นกรรมที่มีพลังแก่กล้ามากจึงให้ผลในปัจจุบัน ฝ่ายกุศล ได้แก่ ศีล ทาน ที่ได้บำเพ็ญอยู่สม่ำเสมอ หรือกระทำกุศลอย่างแรงกล้า เช่น ยินดีเสียสละความสุขหรือแม้แต่ชีวิตของตน เพื่อรักษาศีลให้บริสุทธิ์ จะได้รับผลจากการกระทำในชาตินี้ ตัวอย่างเช่น ปุณณทาสชายเข็ญใจ ยินดีเสียสละโดยนำเอาอาหารที่ภรรยาตั้งใจนำมาให้ตนรับประทานนั้นน้อยถวายแด่พระสารีบุตรพระอรหันต์เจ้า เมื่อคราวที่ท่านออกจากนิโรธสมาบัติมาใหม่ ๆ ทานนั้นได้อำนวยผลให้ปุณณทาสผู้เข็ญใจ กลับกลายไปเป็นมหาธนเศรษฐี ภายในเวลาไม่นานนัก และฝ่ายอกุศล อันได้แก่อกุศลหนักเช่น ประทุษร้ายบิดามารดา หรือผู้มีศีลบริสุทธิ์ ตลอดจนความชั่วที่กระทำอยู่เสมอ เช่นค้ายาเสพติด ย่อมถูกจับและถูกประหารชีวิตในที่สุด เป็นต้น

๒. อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลที่ชาติหน้าหรือภพหน้า ได้แก่ กรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม ที่กระทำในขณะชาตินี้ จะให้ผลในชาติหน้า

๓. อปราปริยเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ได้แก่กรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม จะให้ผลในชาติต่อ ๆ ไปเรื่อย ๆ ไม่มีกำหนดว่ากี่ชาติ สุดแต่ว่าจะได้โอกาสเมื่อไร ก็จะให้ผลเมื่อนั้น ถ้ายังไม่มีโอกาสก็จะรอคอยอยู่ ตราบใดที่ผู้นั้นยังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ กรรมนี้ก็จะคอยติดตามอยู่ตลอดเวลา ตามทันเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น

4. อโหสิกรรม หมายถึง กรรมที่เลิกให้ผล ได้แก่กรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะให้ผลภายในเวลาที่จะตอบสนองผลของการกระทำนั้น ๆ กรรมนั้นก็จะสิ้นสุด ถือว่าเป็นการหมดกรรม

หมวดที่ ๒ กรรมที่ให้ผลโดยกิจ คือกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ แบ่งเป็น

๕. ชนกกรรม หมายถึง กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ได้แก่ กรรมคือเจตนาดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ที่เป็นตัวให้เกิดดุจบิดามารดา คือให้ผลในการปฏิสนธิ เช่น กระทำกรรมดี ได้เกิดในตระกูลที่เป็นเศรษฐี เป็นต้น

๖. อุปัตถัมภกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน หรือกรรมอุปถัมภ์ เป็นกรรมที่คอยสนับสนุนชนกกรรม เช่น เกิดมาในตระกูลยากจน แต่กระทำความดีช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ไม่ขาด อาจได้รับความเวทนาสงสารจากบุคคลอื่น ให้ได้รับการศึกษา ได้มีงานทำ มีหน้าที่การงานก้าวหน้า จนสามารถยกฐานะของตนเองดีขึ้น เป็นต้น

๗. อุปปีฬกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น หรือกรรมเบียดเบียน คือกรรมที่คอยบีบคั้น เบียดเบียน ทำให้กรรมที่ให้ผลอยู่ก่อนเบาบางลง เช่น เมื่อชนกกรรมนำไปเกิดในครอบครัวที่มั่งคั่ง แต่ถ้าเคยทำอกุศลกรรมอยู่เสมอ ครั้นเมื่อชนกกรรมหมดหน้าที่ เลิกให้ผล อกุศลกรรมซึ่งรอโอกาสอยู่ ก็จะเข้ามาทำหน้าที่เบียดเบียนทันที อาจจะทำให้ยากจนลง หรือถูกกระทำให้พลัดพรากจากครอบครัวตกระกำลำบาก เป็นต้น

๘. อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่มีอำนาจมากเป็นพิเศษ จะให้ผลอย่างรุนแรงในทันที สามารถขจัดหรือทำลายกรรมที่ให้ผลอยู่ก่อนแล้วให้พ่ายแพ้หมดอำนาจลงได้ จากนั้นกรรมตัดรอนก็จะเข้ามาให้ผลแทนต่อไป เช่น เกิดมาเป็นมหาเศรษฐี มีความสุขสบาย อยู่ได้ไม่นานก็ถูกฆ่าตาย จัดเป็นกรรมตัดรอนฝ่ายชั่ว หรือเกิดมายากจน แต่ได้รับลาภใหญ่กลายเป็นเศรษฐีถือเป็นกรรมตัดรอนฝ่ายดี เป็นต้น
หมวดที่ ๓ กรรมที่ให้ผลตามความแรง คือกรรมที่ให้ผลตามความหนัก-เบา แบ่งเป็น

๙. ครุกรรม หมายถึง กรรมหนัก ได้แก่กรรมที่ให้ผลแรงมาก ฝ่ายดีได้แก่สมาบัติ ๘ (การบรรลุชั้นสูง) ฝ่ายชั่วได้แก่ การกระทำอนันตริยกรรม คือ ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ประทุษร้ายพระพุทธเจ้า และทำให้สงฆ์แตกกัน ที่เรียกว่า สังฆเภท ผู้ใดกระทำกรรมเหล่านี้ แม้เพียงประการใดประการหนึ่งก็ตาม กรรมจะให้ผลอย่างหนัก และให้ผลก่อนกรรมอื่น ๆ ไม่มีกุศลกรรมใด ๆ จะสามารถเข้ามาช่วยเหลือได้

๑๐. หหุลกรรม หรืออาจิณณกรรม หมายถึง กรรมสะสม ได้แก่กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ประพฤติมาก ๆ หรือทำบ่อย ๆ สั่งสมไปเรื่อย ๆ กรรมไหนสะสมบ่อยและมาก ๆ ก็จะให้ผลกรรมเช่นนั้น

๑๑. อาสันนกรรม หมายถึง กรรมเมื่อใกล้ตาย คือกรรมที่ระลึกได้เมื่อใกล้ตาย จะมีอิทธิพลในการเกิดในชาติใหม่ หรือชนกกรรม เช่น เมื่อใกล้ตายระลึกว่าชาตินี้ยากจน ได้ทำบุญกุศลไว้ไม่มากนัก อยากเกิดเป็นลูกเศรษฐีจะได้ทำบุญกุศลให้มาก ๆ เมื่อมาจุติในชาติต่อไปก็จะเกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง เป็นต้น

๑๒. กตัตตากรรม หมายถึง กรรมเล็ก ๆ น้อย หรือสักว่าทำ ได้แก่ กรรมที่ทำด้วยเจตนาอันอ่อน หรือไม่ตั้งใจทำ ทำความดีหรือทำความชั่วเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เคยทำไว้ เมื่อกรรมอื่นๆ ให้ผลหมดแล้ว กรรมชนิดนี้ถึงจะให้ผล ซึ่งเป็นกรรมที่มีอิทธิพลในการให้ผลน้อยที่สุด
อริยสัจ ๔ : สมุทัย : มิจฉาวณิชชา ๕

มิจฉาวณิชชา ๕

มิจฉาวณิชชา คือ การค้าขายที่ผิด หรือไม่ชอบธรรม หมายถึง บุคคลไม่ควรค้าขายสิ่งเหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อเพื่อนมนุษย์ต่อสัตว์และต่อสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย

๑. สัตถวณิชชา คือ การขายอาวุธ ได้แก่ อาวุธปืน อาวุธเคมี ระเบิด นิวเคลียร์ อาวุธอื่น ๆ เป็นต้น อาวุธเหล่านี้หากมีเจตนาเพื่อทำร้ายกัน จะก่อให้เกิดการทำลายล้างซึ่งกันและกัน โลกจะไม่เกิดสันติสุข นอกจากนั้นยังก่อมลพิษต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย

๒. สัตตวณิชชา หมายถึง การค้าขายมนุษย์ ได้แก่ การค้าขายเด็ก ตลอดจนการใช้แรงงานเด็กและสตรีอย่างทารุณ

๓. มังสวณิชชา หมายถึง การขายเนื้อสัตว์ เป็นการส่งเสริมให้ทำผิดศีลข้อที่ 1 คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต โดยเฉพาะสัตว์ที่กำลังสูญพันธุ์ทุกชนิด

๔. มัชชวณิชชา หมายถึง การค้าขายน้ำเมา ตลอดจนการค้าสารเสพติดทุกชนิด

๕. วิสวณิชชา หมายถึง การค้าขายยาพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ รวมทั้งเป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมด้วย


#10 stepeverday

stepeverday
  • Members
  • 23 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 05 June 2015 - 11:28 AM

สาธุครับ