วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2562

ประวัติความเป็นมา ความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์นักวิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์กลอนวันวิทยาศาสตร์ประวัติวันวิทยาศาสตร์
 
18 สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

 

ความเป็นมาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี ให้มีวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" วันวิทยาศาสตร์แห่งชาตินี้เป็นเพราะพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ ต่อไปมาศึกษาที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  
 
รับชมคลิปวีดีโอ พระพุทธศาสนากับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์


[[videodmc==32355]]


ที่มาของชื่อ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาติให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

 
 
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

รัชกาลที่ 4 กับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทยในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนาคือวิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดานไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง และถือเป็นเหตุของที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอีกทางหนึ่ง 

  

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง, วันวิทยาศาสตร์ 2554

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง

ดาราศาสตร์ไทยและวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลาพระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์ 

โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์

โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ 

ทรงพิสูจน์ผลการคำนวนทางดาราศาสตร์-วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

            ต่อมาใน วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวนของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 
ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง-ที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
            โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว 
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
ที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
          เหตุการณ์ดังกล่าว เซอร์แฮรี ออด ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ไว้ และเมื่อ พ.ศ.2518 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ทำการแปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้" 

            ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์  
 
สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554
 
สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

สถาปนาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

          ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็น วันวิทยาศาสตร์ ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"  พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ เนื่องในการสถาปนาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  

          ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึงบิดาแห่งวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
 
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก
 
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ 8
 
            เนื่องจากวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๓ พระราชทานนามว่า "หอชัชวาลเวียงชัย" ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ
ดาวหางฟลูกเกอร์กูส วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฏมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า " ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" แจ้งแก่ประชาชน"
ดาวหางโดนาติ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
     ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ 2401 และคืนต่อๆมา จนถึงวันที่ 4มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา ๙ เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401 ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่างๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า "ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่างๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิ ได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล"
 
นิทรรศการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 
นิทรรศการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ดาวหางเทพบุท วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

     ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet ) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์ มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์
 
        นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อจัดงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จนได้รับความสนใจเข้าร่วมงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาตินี้ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เพราะมีเหตุมาจากวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ระหว่าง วันที่ 18 - 24 สิงหาคม
 
ร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
 
ร่วมกิจกรรมในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ความหมายของคำศัพท์ในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
    วิทยาศาสตร์ หมายถึง
 
        วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
 
        การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ
 

ภาพกิจกรรมเนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

กิจกรรมวันงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554
 
กิจกรรมวันงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 
 
ร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ2554 กันดารานักแสดง
 
ร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติกันดารานักแสดง

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ


    2532 พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2533 เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2534 ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย

   2536 วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

    2537 ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2538 เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง

    2539 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า

    2540 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2541 พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย

    2542 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น

    2543 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2544 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

    2545 เหมือนกับช่วงปี 2544

    2546 เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    2547 เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

    2548 วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ

    2549 เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2550 วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม

    2551 วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต

    2552 วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า

    2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

    2554 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

    2555 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร

   2556  ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน

   2557 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

   2558 :  จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

   2559 :  จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

   2560 :   จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

   2561 :   จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม

 
บทความที่เกี่ยวกับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันเยาวชนแห่งชาติ
วันสื่อสารแห่งชาติ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ 

บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ-2554.html
เมื่อ 19 มีนาคม 2567 18:22
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv