ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา

ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว https://dmc.tv/a19005

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 21 ต.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18423 ]

ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา

 

     ทุกวันนี้มนุษย์ตกเป็นบ่าวเป็นทาสของกิเลสอาสวะ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ ตาย และมีการสูญเสียเกิดขึ้นมากมาย แม้กระทั่งภัยสงครามที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ล้วนเกิดมาจากกิเลส ๓ ตระกูลใหญ่ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่เข้าไปบังคับบัญชา ในจิตใจของมนุษย์ บังคับให้คิดให้พูดให้ทำลายล้างกันเอง มวลมนุษยชาติซึ่งเป็นเครือญาติกันจึงหํ้าหั่นกันเอง รบราฆ่าฟันกันเอง ไม่ได้รบกับศัตรูที่แท้จริง แต่ผู้รู้ ผู้มีธรรมจักษุ มีทัสสนะ ท่านรู้ว่าศัตรูที่แท้จริงนั้นไม่ใช่มนุษย์ แต่คือพญามาร ซึ่งเป็นศัตรูที่ร้ายกาจ เป็นคู่ต่อสู้ที่อันตรายที่สุด จะเอาชนะได้ต้องอาศัยใจหยุดใจนิ่งอย่างเดียว ใจหยุดจึงจะหลุดพ้นจากอาสวกิเลส และจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามาร

* มีวาระพระบาลีที่ปรากฏใน อปริหานิสูตร ว่า

"สีเล ปติฏฺฐิโต ภิกฺขุ     อินฺทฺริเยสุ จ สํวุโต
โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญู    ชาคริยํ อนุยุญฺชติ
  เอวํ วิหรมาตาปี         อโหรตฺตมตนฺทิโต 
        ภาวยํ กุสลํ ธมฺมํ        โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา    
  อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ      ปมาเท ภยทสฺสิ วา
    อภพฺโพ ปริหานาย       นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก

     ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว"

     การจะบรรลุจุดหมายสูงสุดของชีวิต คือพระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจากโยคะ คือกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย จำเป็นต้องดำเนินตามปฏิปทา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและผู้รู้ในกาลก่อนได้ทำไว้เป็นแบบอย่าง ท่านสอนไว้ว่า ภิกษุ หรือผู้เห็นภัยในสังสารวัฏ จำเป็นต้องชำระศีลของตน ให้สะอาดบริสุทธิ์ อย่าให้ด่างพร้อย อย่าให้ขาด หรือทะลุ เพราะศีลที่บริสุทธิ์เป็นพื้นฐานที่จะทำให้การเจริญสมาธิภาวนาก้าวหน้า ขึ้นไป ถ้าหากรักษาศีลซึ่งเป็นส่วนหยาบ คือรักษากาย และวาจาให้บริสุทธิ์ไม่ได้ การชำระใจซึ่งมีความละเอียดอ่อนยิ่งไปกว่านั้นก็จะทำได้ยาก นั่นหมายถึงว่าศีลไม่บริสุทธิ์จะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงธรรมนั่นเอง

     นอกจากนั้นต้องเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ คือสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้หลงใหล เพลิดเพลินไปกับอายตนะภายนอกที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์อันน่าใคร่น่าพอใจ เมื่อใจไม่ไปยึดติดกับวัตถุสิ่งของภายนอก จะน้อมกลับเข้ามาหยุดนิ่ง อยู่ภายในได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้เข้าถึงฝั่งแห่งใจหยุดนิ่งได้เร็วขึ้น และผู้รู้ท่านได้สอนต่อไปอีกว่า ให้รู้จักประมาณในการบริโภค หากรับประทานมากเกินไป หนังท้องตึงหนังตาก็หย่อน ซึ่งจะส่งผลให้ย่อหย่อนต่อการทำความเพียร เพราะความเพียรจะเป็นเหตุให้เข้าถึงธรรมะ ฉะนั้น ต้องไม่เห็นแก่นอน ไม่เห็นแก่การกิน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน และต้องหมั่นทำความเพียรอย่างต่อเนื่องสมํ่าเสมอ

     ผู้ที่ปฏิบัติได้เช่นนี้ แม้จะยังไม่ได้บรรลุพระนิพพาน ย่อมได้ชื่อว่ากำลังดำเนินตามปฏิปทาของพระอริยเจ้าทั้งหลาย อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ก้าวเข้าสู่หนทางพระนิพพาน เมื่อบุญบารมีเต็มเปี่ยม ถึงเวลาก็จะเข้าถึงธรรมะภายในได้อย่างแน่นอน หลักปฏิบัติพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงพระนิพพานเป็นอย่างนี้ นอกจากนี้ พระพุทธองค์ทรงยืนยันการปฏิบัติตามหลักเพื่อให้เข้าถึงพระนิพพานไว้ว่า

     เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อนั้นสัมมาสมาธิก็จะสมบูรณ์ขึ้น เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุนั้นก็จะสมบูรณ์ เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทา วิราคะของภิกษุนั้นย่อมถึงความเต็มเปี่ยม เมื่อภิกษุมีนิพพิทาและวิราคะ วิมุตติญาณทัสสนะก็ย่อมสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์ เมื่อเปลือกถึงความบริบูรณ์ กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ไปตามลำดับ

     สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาเรื่องของพระนิพพาน อาจจะสงสัยว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งนั้นเป็นอย่างไร รสแห่งการเข้าถึงพระนิพพานเป็นอย่างไร จะอุปมาอุปไมยได้หรือไม่ว่า สุขจากพระนิพพานมีมากกว่าสุขที่ยังตกอยู่ในภพสามอย่างไรบ้าง แล้วทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชักชวนให้ภิกษุเป็นผู้ยินดีในพระนิพพาน ไม่ให้ไปยินดีในเบญจกามคุณ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ และของทิพย์

     ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า นิพพานนั้น เป็นชื่อของความดับทุกข์ดับกิเลส ท่านกล่าวไว้ ๒ ประเภท คือ “สอุปาทิเสสนิพพาน” เป็นนิพพานที่สามารถเข้าถึงได้ในขณะที่มีชีวิตอยู่ อยู่ในตัวของเรานี้เอง โดยมีจุดเชื่อมโยงกันที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ถ้าหยุดใจได้ถูกส่วน มีความละเอียด ความบริสุทธิ์ถึงที่สุด ก็จะเข้าถึงได้ เป็นนิพพานของพระอริยเจ้า ที่ขจัดกิเลสอาสวะได้หมดสิ้นแล้ว แต่ว่ายังมีชีวิตอยู่ ส่วน “อนุปาทิเสสนิพพาน” เป็นเหตุว่างอยู่นอกภพสามออกไป ผู้ที่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เมื่อขันธ์ห้าดับ คือ กายเนื้อแตกทำลายไป เหลือแต่ธรรมขันธ์ หรือธรรมกาย จะดึงดูดไปสู่อายตนนิพพาน นิพพานเข้าถึงได้ในสองลักษณะเช่นนี้

     ครั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงรู้ชัดว่า รสแห่งธรรมมีรสเดียว คือวิมุตติรส เป็นรสแห่งความหลุดพ้น ที่เป็นสุขล้วนๆ ไม่มีทุกข์เจือปน ที่ทรงชี้ชวนให้ยินดีในพระนิพพานอย่างเดียว ก็เพราะพระองค์ได้ทรงสัมผัสรสแห่งความสุขที่ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์มาหมดแล้ว ทรงรู้ว่าไม่มีสุขใด ที่เป็นสุขล้วนๆ เพราะยังเจือด้วยกิเลส จึงไม่เที่ยง มีทุกข์เจือปน และบังคับบัญชาไม่ได้ ฉะนั้น การจะเปรียบเทียบระหว่างความสุขที่ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์กับความสุขที่ได้เข้าถึงสภาวะของพระนิพพานนั้น เทียบกันไม่ได้เลย

     ลำพังเพียงได้เข้าถึงธรรมกายพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันบุคคล พระพุทธองค์ยังตรัสไว้ว่า “โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในแผ่นดิน ประเสริฐกว่าสุคติโลกสวรรค์ และความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง” ดังนั้นความสุขของผู้เข้าถึงธรรมจึงเทียบไม่ได้กับความสุขในโลก หรือในสวรรค์ ความประเสริฐของชีวิตวัดกันที่ความสูงส่งของจิตใจ จิตใจที่สูงส่งหมายถึงใจที่ถูกยกระดับให้สูงขึ้นเหนือโลก เหนือวัฏฏะ เป็นผู้เข้าถึงแก่นแท้ของชีวิต คือผู้ได้บรรลุธรรมกาย ยิ่งได้บรรลุธรรมกายอรหัต เป็นพระอรหันต์ได้เมื่อไร จะเสวยเอกันตบรมสุข สุขอย่างเดียวเท่านั้น

     เราจะซาบซึ้งถึงความสุขที่เกิดจากการเข้าถึงพระนิพพานว่าเป็นอย่างไร ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจึงจะเข้าใจและซาบซึ้ง เพราะพระสัทธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้นั้นเป็นเอหิปัสสิโก คือเชิญชวนให้มาพิสูจน์ด้วยตัวเอง ผู้รู้ทั้งหลาย ท่านได้อุปมาไว้ว่า หิ่งห้อยที่มีแสงน้อยริบหรี่ มิอาจจะเอามาเปรียบกับดวงจันทร์ที่ส่องรัศมีสว่างไปทั่ว หยาดนํ้าที่ติดอยู่ปลายเส้นผม มิอาจจะเอามาเปรียบกับน้ำในมหาสมุทร ธุลีฝุ่นละอองที่ล่องลอยอยู่ในนภากาศ มิอาจจะเอามาเปรียบกับผืนปฐพี ธรรมชาติเหล่านี้ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ฉันใด ความสุขทั้งหลายในโลกและจักรวาล ก็ไม่อาจเอามาเปรียบกับสุขในพระนิพพานได้ฉันนั้น เพราะว่าพระนิพพานเป็นเยี่ยม เป็นนิพพานสมบัติอันประเสริฐ ไม่ควรแก่การเทียบด้วยสมบัติอันใด เป็นอมตสมบัติที่ยิ่งกว่าสมบัติที่มีอยู่ในมนุษยโลก เทวโลก หรือพรหมโลกทั้งหมด

     โดยเฉพาะปฏิปทาที่จะให้ถึงพระนิพพานอันประเสริฐนั้น มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา อยู่ตรงที่มีปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน มีเป้าหมายเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง ฉะนั้นการที่พวกเราเกิดมาในชาตินี้ มาพบคำสอนในพระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกาย ซึ่งยังมีสอนกันอยู่ นับว่าเป็นผู้มีโชคดีอย่างมหาศาล ซึ่งควรต้องรักษาไว้ และใช้โอกาสอันดีนี้ให้เกิดคุณค่าสูงสุด ด้วยการหมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง ให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว เราจะได้ทำพระนิพพานให้แจ้ง ชีวิตการสร้างบารมีของเราจะปลอดภัย และมีชัยชนะไปทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรมกันทุกคน

พระธรรมเทศนาโดย: พระเทพญาณมหามุนี

นามเดิม พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)  
 
* มก. เล่ม ๓๕ หน้า ๑๔๓

 


http://goo.gl/phccZg


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related