คาถากันยักษ์ ตอนที่ ๑

พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้โคตมโคตร ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม https://dmc.tv/a15924

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 14 มิ.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]
คาถากันยักษ์  ตอนที่ ๑
 
 
 
     การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับตัวของเรา และมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ชีวิตได้เข้าถึงความบริสุทธิ์ภายใน และความสุขที่แท้จริง วัตถุประสงค์ที่เราเกิดมาในภพชาติหนึ่งๆ ก็เพื่อมุ่งแสวงหาความบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ จากการเป็นบ่าวเป็นทาสของพญามาร หนทางสายกลางที่จะดำเนินจิตเข้าไปสู่ภายใน เป็นทางรอดทางเดียวเท่านั้น เป็นหนทางสู่อิสรภาพจากอาสวกิเลสทั้งหลาย  ดังนั้นเราควรจะดำเนินจิตของเราเข้าสู่เส้นทางสายกลางของพระอริยเจ้าให้ได้ จะได้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานไปด้วย
 
มีวาระแห่งภาษิตใน อาฏานาฏิยสูตร ความว่า

                              "เย จาปิ นิพฺพุตา โลเก  ยถาภูตํ วิปสฺสิสุํํ ํ
                               เต ชนา อปิสุณา        มหนฺตา วีตสารทา
                               หิตํ เทวมนุสฺสานํ        ยํ นมสฺสนฺติ โคตมํ
                               วิชฺชาจรณสมฺปนฺนํ       มหนฺตํ วีตสารทํ

 
     “พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้โคตมโคตร ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม"
 
     นี่คือถ้อยคำของท้าวเวสสวัณมหาราช เทพผู้มีศักดิ์ใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งกล่าวด้วยความเคารพเลื่อมใสต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ท้าวเวสสวัณ เป็นหนึ่งในท้าวมหาราชทั้ง ๔  เป็นจอมเทพปกครองหมู่ยักษ์ทั้งหลาย ครั้งนี้หลวงพ่อจะเล่าเรื่องราวที่ควรรู้เกี่ยวกับยักษ์ให้ได้ศึกษา ซึ่งเรื่องของยักษ์นั้น มีทั้งยักษ์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิด้วย
 
     * ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏใกล้เมืองราชคฤห์ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และเทวดาทั้งหลายปรารถนาจะได้บุญพิเศษ จึงได้จัดตั้งกองทัพเพื่อคุ้มครองป้องกันอันตรายให้กับพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้ง ๔ ทิศ กองทัพมีทั้งเสนายักษ์ เสนาคนธรรพ์ เสนากุมภัณฑ์ เสนานาค มีตั้งแต่ระดับชั้นผู้ใหญ่ไปจนถึงระดับผู้น้อย ประมาณเที่ยงคืน เทวดาผู้มีบุญเหล่านี้ต่างทำภูเขาคิชฌกูฏให้สว่างไสวด้วยรัศมีของตน ด้วยการพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
 
     การเข้าเฝ้าครั้งนี้ แบ่งเป็นหลายกลุ่ม มีทั้งยักษ์ที่ถวายบังคมพระผู้พระภาคเจ้า บางกลุ่มเพียงแค่สนทนาปราศรัยกับพระพุทธองค์ พอให้เป็นเครื่องระลึกนึกถึงกัน บางกลุ่มนั่งประนมอัญชลีไปทางที่พระพุทธองค์ประทับด้วยความเคารพเลื่อมใส บางกลุ่มต้องการจะให้พระพุทธองค์รู้จักตัวเอง ก็ประกาศชื่อและโคตร แต่มีบางกลุ่มนั่งนิ่ง ไม่แสดงความเคารพ และไม่กล่าวสิ่งใดทั้งสิ้น
 
     เมื่อท้าวเวสสวัณมหาราชประทับนั่งและเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น ได้กราบทูลตามความเป็นจริงว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงมีทั้งที่ไม่เลื่อมใสและเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ยักษ์ชั้นกลางมีทั้งไม่เลื่อมใสและเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่นกัน ยักษ์ชั้นต่ำมีทั้งไม่เสื่อมใสและเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี
 
     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ยักษ์เหล่านั้นไม่เลื่อมใสในพระองค์ เหตุเพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อให้ทุกคนดำรงอยู่ในศีลทั้งห้า คือ งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท และงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แต่โดยส่วนมากแล้ว ยักษ์เหล่านี้ งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร มิได้งดเว้นจากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท จึงเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้พวกยักษ์ไม่ชอบใจ ทำให้แสดงอาการแตกต่างกันพระเจ้าข้า
 
     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า บางกลุ่มชอบอยู่ในเสนาสนะกลางป่าลึกที่เงียบสงบ มีผู้คนน้อย ไม่พลุกพล่าน ควรแก่การปฏิบัติทำกรรมอันเร้นลับ อีกทั้งเป็นสถานที่ที่ควรแก่การปฏิบัติธรรม เพื่อบำเพ็ญเพียร ยักษ์ชั้นสูงบางพวกก็อาศัยอยู่ในป่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใจของยักษ์มีต่างกันพระเจ้าข้า ขอให้สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเรียนวิธีการที่จะทำให้ยักษ์เหล่านั้นเลื่อมใส ซึ่งเรียกว่า อาฏานาฏิยรักษ์ เพื่อให้ยักษ์พวกที่ไม่เลื่อมใสในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดความเลื่อมใส และเพื่อเป็นการคุ้มครองรักษาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า" หลังจากกราบทูลเช่นนี้ ทรงดูทีท่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงรับรู้การอนุญาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงกล่าวบทที่ท่านได้ขนานนามว่าอาฏานาฏิยรักษ์ในเวลานั้นว่า
 
     “ขอนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุ มีพระสิริ ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า ขอนอบน้อมแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลส มีความเพียร ขอนอบน้อมแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงย่ำยีมารและเสนามาร ขอนอบน้อมแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ขอนอบน้อมแด่พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้พ้นพิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ขอนอบน้อมแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า ผู้ศากยบุตร ผู้มีพระสิริ
 
     พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงธรรมนี้ อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดผู้ดับแล้วในโลก ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้ามต่ออาสวกิเลสทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้โคตมโคตร ทรงเกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม”
 
     เมื่อท้าวเวสสวัณกราบทูลข้อความเหล่านี้กับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระองค์ได้ทูลต่อไปอีกว่า “พระอาทิตย์มีมณฑลใหญ่ขึ้นทางทิศตะวันออก ในเมื่อยามพระอาทิตย์อุทัย ราตรีก็หายไป เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นย่อมเรียกกันว่า กลางวัน แม้ห้วงน้ำในเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้นก็เป็นสมุทรลึก มีน้ำเต็มเอ่อล้นทั่วอาณาบริเวณ ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วงน้ำนั้นว่ามหาสมุทรที่มีน้ำแผ่เต็มไปทั่ว”
 
     ท้าวเวสสวัณอธิบายต่อไปว่า “ทิศนี้เรียกว่าปุริมทิศ มีท้าวมหาราชผู้ทรงยศเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของคนธรรพ์ทรงนามว่าท้าวธตรฐ มีหมู่คนธรรพ์แวดล้อม ท้าวมหาราชนี้ทรงโปรดปรานการฟ้อนรำขับร้อง ดูแลรักษาในทิศนี้อยู่ ข้าพระองค์ทราบมาว่า ท้าวเธอมีพระโอรสถึง ๙๑ พระองค์ และที่น่าอัศจรรย์คือ แต่ละองค์นั้นมีพระนามเหมือนกันหมด คือมีพระนามว่าอินทะ มีพระกำลังมาก ท้าวธตรฐและพระโอรสเหล่านั้น มีความนอบน้อม มีความเคารพเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า สมบูรณ์พร้อมด้วยบุญญาธิการ พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้ากันแต่ไกล เทวดากลุ่มนี้มีความเคารพเลื่อมใสในพระองค์พระเจ้าข้า ต่างกับบริวารของข้าพระองค์ ที่ยังแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย ด้วยเหตุนี้ ข้าพระองค์จึงต้องบอกวิธีที่จะดูแลรักษาเหล่าพระภิกษุสามเณร ภิกษุณี พุทธสาวกผู้ปฏิบัติธรรมในถิ่นของบริวารเหล่านั้น พระเจ้าข้า”
 
     เหตุการณ์เรื่องราวที่ท้าวเวสสวัณทูลพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ยังไม่จบ ยังมีต่ออีก หลวงพ่อจะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป เพราะเป็นเรื่องที่เราควรศึกษา จะได้ป้องกันภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากยักษ์และอมนุษย์ทั้งหลาย แม้เทพผู้มีศักดิ์ใหญ่ก็ยังมีวิธีป้องกันภัย ด้วยการกล่าวสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์  ดังนั้น การเจริญพุทธานุสตินี้จึงมีอานิสงส์ใหญ่ พวกเราต้องหมั่นเจริญพุทธานุสติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ และหมั่นสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัยกันทุกคน

 
พระธรรมเทศนาโดย: พระเทพญาณมหามุนี
 
นามเดิม พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) 
 
* มก. เล่ม ๑๖ หน้า ๑๒๓
 
 

http://goo.gl/mw6W0


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  
  
  
  
  
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related