คุณสมบัติของผู้บวชในพระพุทธศาสนา

ในช่วงฤดูร้อนของทุกปีจะมีโครงการบรรพชาและอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสที่เหล่ากุลบุตรจะได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ธรรมะและปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และเพื่อการเป็นพุทธบริษัท ๔ ที่ดี https://dmc.tv/a21347

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 20 เม.ย. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18297 ]
คุณสมบัติของผู้บวชในพระพุทธศาสนา

DOU ความรู้สากล
เรื่อง : พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙
 
 
    ในช่วงฤดูร้อนของทุกปีจะมีโครงการบรรพชาและอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสที่เหล่ากุลบุตรจะได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ธรรมะและปฏิบัติธรรมเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และเพื่อการเป็นพุทธบริษัท ๔ ที่ดี แต่การที่กุลบุตรจะบวชในพระพุทธศาสนาได้นั้น นอกจากจะต้องมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาแล้ว ยังจะต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างแท้จริง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงให้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกกุลบุตรที่จะบวชไว้หลายประการ เพื่อให้การบวชเกิดประโยชน์แก่ผู้บวชและเป็นประโยชน์ต่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา ดังนั้นเพื่อให้การทำหน้าที่ของยอดกัลยาณมิตรทุกคนที่กำลังไปเชิญชวนชายแมน ๆ มาบวชในภาคฤดูร้อนนี้เป็นไปอย่างเหมาะสมและได้บุญกันอย่างเต็มที่จึงขอนำคุณสมบัติของผู้บวชในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงให้หลักการเอาไว้ มาเป็นแนวทางในการคัดกรองกุลบุตรผู้มีศรัทธาเพื่อการบวชอย่างถูกต้องตามพระธรรมวินัยทั้งในการบวชเป็นสามเณรที่เรียกว่า “บรรพชา” และการบวชเป็นพระภิกษุที่เรียกว่า “อุปสมบท” โดยผู้ที่บรรพชาและอุปสมบทต้องมีคุณสมบัติที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ ดังนี้

๑) บุคคลผู้ถูกห้ามอุปสมบทโดยเด็ดขาด

      ผู้ถูกห้ามอุปสมบทโดยเด็ดขาดมีอยู่ ๓ ประเภท คือ ผู้ที่มีเพศและภาวะบกพร่อง ผู้ที่เคยทำอนันตริยกรรม ๕ อย่าง และผู้ที่ทำผิดต่อพระพุทธศาสนา หากคณะสงฆ์ให้อุปสมบทไปโดยที่ไม่รู้ เมื่อทราบภายหลังจะต้องให้ลาสิกขา การห้ามอุปสมบทในที่นี้รวมถึงการห้ามบรรพชาเป็นสามเณรด้วย
 
     ประเภทที่ ๑ ผู้ที่มีเพศและภาวะบกพร่อง

          ๑) บัณเฑาะก์ หมายถึง กะเทย
          ๒) อุภโตพยัญชนก หมายถึง คนที่มีอวัยวะเพศ ๒ เพศ คือ มีทั้งเพศหญิงและเพศชายในคนเดียวกัน
          ๓) สัตว์ดิรัจฉาน
 
     ประเภทที่ ๒ ผู้ที่เคยทำอนันตริยกรรม

          ๑) ผู้ที่ฆ่าบิดา
          ๒) ผู้ที่ฆ่ามารดา
          ๓) ผู้ที่ฆ่าพระอรหันต์
          ๔) ผู้ที่ทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต
          ๕) ผู้ที่ทำสังฆเภทคือทำสงฆ์ให้แตกกัน
 
     ประเภทที่ ๓ ผู้ที่ทำผิดต่อพระพุทธศาสนา

          ๑) ผู้ที่เคยต้องอาบัติปาราชิก หมายถึงผู้ที่เคยบวชแล้วแต่ทำผิดร้ายแรงถึงระดับที่ขาดจากความเป็นพระภิกษุ บุคคลประเภทนี้จะกลับมาบวชอีกไม่ได้
          ๒) ผู้ที่ประทุษร้ายภิกษุณี
          ๓) คนลักเพศ หมายถึง ปลอมบวช คือเอาผ้าเหลืองมาห่มเองโดยไม่มีพระอุปัชฌาย์
         ๔) ผู้ที่ไปเข้ารีตเดียรถีย์ หมายถึงพระภิกษุ-สามเณรที่เปลี่ยนไปเป็นนักบวชนอกพระพุทธศาสนา จะกลับมาบวชไม่ได้

๒) ผู้ที่ไม่ควรได้รับการอุปสมบท
 
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงผู้ที่ไม่ควรได้รับการอุปสมบทไว้ ๒๐ ประการ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทแรก ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีพระอุปัชฌาย์หรือผู้ที่พระอุปัชฌาย์มีปัญหา เช่น พระอุปัชฌาย์เป็นกะเทย, ไปเข้ารีตเดียรถีย์, พระอุปัชฌาย์เป็นอุภโตพยัญชนกเป็นลักเพศ ประเภทที่สอง ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีบริขารเป็นของตนเอง คือ ไม่มีบาตรและจีวรบุคคลเหล่านี้ไม่ควรให้บวช หากภิกษุรูปใดบวชให้จะต้องอาบัติทุกกฎ1 แต่เมื่อใดบุคคลเหล่านี้สามารถหาพระอุปัชฌาย์ที่เหมาะสมได้และหาบริขารได้แล้วก็สามารถอุปสมบทได้

๓) ผู้ที่ไม่ควรได้รับการบรรพชา
 
     ผู้ที่ไม่ควรได้รับการบรรพชานั้นถือว่าเป็นผู้ไม่ควรได้รับการอุปสมบทด้วย เพราะอุปสมบทกรรมเป็นพิธีที่ต้องผ่านการบรรพชามาก่อน บุคคลที่ไม่ควรได้รับการบรรพชาแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ ผู้ที่มีพันธะและผู้ทำผิดกฎหมาย, ผู้พิการหรือมีอวัยวะไม่สมบูรณ์, ผู้ป่วยหนักหรือเป็นโรคร้ายแรง

     ประเภทที่ ๑ ผู้ที่มีพันธะและผู้ทำผิดกฎหมาย ได้แก่ มารดาบิดาไม่อนุญาต มีหนี้สินเป็นทาส ข้าราชการที่ไม่ได้รับอนุญาต โจรผู้ร้ายคนที่ถูกออกหมายจับ เป็นต้น

    ประเภทที่ ๒ ผู้พิการหรือมีอวัยวะไม่สมบูรณ์ ได้แก่ มือเท้าด้วน หูขาด นิ้วขาด เอ็นขาด จมูกแหว่ง นิ้วติดกันเป็นแผ่น ตาบอด ใบ้หูหนวก ง่อย เปลี้ย คอพอก ค่อม เตี้ยเกินไปเท้าปุก ชรา ทุพพลภาพ รูปร่างไม่สมประกอบคนกระจอกคือฝ่าเท้าไม่ดีต้องเดินเขย่ง เป็นต้น

    ประเภทที่ ๓ ผู้ที่ป่วยหนักหรือเป็นโรคร้ายแรง ได้แก่ โรคอัมพาต โรคเรื้อรัง โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคลมบ้าหมู โรคมองคร่อ (โรคที่มีเสมหะแห้งอยู่ในก้านหลอดลม) โรคเหล่านี้ถือว่าเป็นโรคร้ายแรงในสมัยพุทธกาลผู้ที่ป่วยจึงไม่ควรที่จะเข้ามาบวช แต่ในปัจจุบันมีโรคร้ายแรงต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น ผู้ป่วยโรคนี้ก็ไม่ควรให้บวชเช่นกัน

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า หากพระอุปัชฌาย์ท่านใดให้บุคคลเหล่านี้บรรพชาจะต้องอาบัติทุกกฎ2 แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์ให้บุคคลที่ได้รับการบวชแล้วลาสิกขาแต่อย่างใดในอรรถกถาบางแห่งกล่าวไว้ว่า หากสงฆ์ให้บุคคลเหล่านี้บวชแล้ว “ก็เป็นอันอุปสมบท ด้วยดี”3 บุคคลดังกล่าวหากได้บวชแล้วจะสามารถดำรงเพศบรรพชิตอยู่ได้หรือไม่จึงขึ้นอยู่กกับดุลพินิจของสงฆ์ในแต่ละวัด ถ้าหากข้อบกพร่องมีไม่มากก็คงให้บวชอยู่ได้ แต่ถ้าเห็นว่าหากให้บวชอยู่ต่อไปจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ที่ดีของสงฆ์ก็ควรให้ลาสิกขาไป

      จะเห็นว่าระบบระเบียบการคัดคนเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนานั้นระบุไว้อย่างละเอียดชัดเจนมาก จึงเป็นเครื่องชี้วัดว่า ผู้ที่จะมาบวชได้จะต้องมีความสมบูรณ์พร้อมจริง ๆ ทั้งเรื่องบุคลิกภาพและความประพฤติ ต้องเป็นคนที่สั่งสมบุญมาอย่างดีแล้ว มาบวชเพื่อหวังทำ   พระนิพพานให้แจ้งอย่างแท้จริง และจะได้เป็นที่พึ่งให้พระศาสนาได้ ไม่ได้มาบวชเพื่อหวังพึ่งพระศาสนา

     ดังนั้น ในการไปทำหน้าที่ชวนชายแมน ๆมาบวช ก็อย่าลืมช่วยกันพิจารณาคุณสมบัติของผู้บวชแทนพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ด้วย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ และไม่ทำให้เสียความตั้งใจในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรถ้าหากผู้ที่ชวนมาบวชไม่ผ่านคุณสมบัติของการบวช

1 พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑, มก. เล่ม ๖ ข้อ ๑๓๓ หน้า ๓๓๕-๓๓๖.
2 พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑, มก. เล่ม ๖ ข้อ ๑๓๕ หน้า ๓๔๐.
3 สมันตปาสาทิก อรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวรรค มก. เล่ม ๖ หน้า ๓๕๐.
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related