จาก " ไอที " สู่ " ไอธรรม "

พระภิกษุรูปนี้โปรไฟล์ไม่ธรรมดา.. ท่านมีดีกรีดอกเตอร์จาก NTNU ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศนอร์เวย์ ทำให้หลายคนอยากรู้ว่าท่านคิดอย่างไรถึงมาบวช เราจึงไปเสาะหาความจริงมาเล่าสู่กันฟัง https://dmc.tv/a22035

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 19 พ.ย. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18291 ]
จาก " ไอที " สู่ " ไอธรรม "

คอลัมน์ : ลูกหลวงพ่อ
เรื่อง : กลุ่มดาวมีน

จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559
 
พระอาจารย์ปรมัย ธนิสฺสโร หรือ “หลวงพี่จอห์น” มีอายุ ๓๗ ปี พรรษา ๙
พระอาจารย์ปรมัย ธนิสฺสโร หรือ “หลวงพี่จอห์น” มีอายุ ๓๗ ปี พรรษา ๙

พระภิกษุรูปนี้โปรไฟล์ไม่ธรรมดา......

     ท่านมีดีกรีดอกเตอร์จาก NTNU ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศนอร์เวย์ ทำให้หลายคนอยากรู้ว่าท่านคิดอย่างไรถึงมาบวช เราจึงไปเสาะหาความจริงมาเล่าสู่กันฟัง

     ปัจจุบัน พระอาจารย์ปรมัย ธนิสฺสโร หรือ “หลวงพี่จอห์น” มีอายุ ๓๗ ปี พรรษา ๙ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น ๕๖ สมัยเรียนอยู่เตรียมอุดมเคยได้รับโล่รางวัลเรียนดีสูงสุดวิชาชีววิทยาของโรงเรียนด้วย

     พระอาจารย์ปรมัยเรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), ปริญญาเอกวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขา Telematicsจาก Norwegian University of Science andTechnology (NTNU) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลและบริษัทชั้นนำในประเทศนอร์เวย์ให้การสนับสนุนการทำวิจัยทางด้านนวัตกรรมเช่น บริษัท Telenor ซึ่งเป็นหุ้นใหญ่ของ dtac เป็นต้น

     ก่อนไปศึกษาปริญญาเอกที่ประเทศนอร์เวย์ พระอาจารย์ปรมัยเพิ่งจะเข้าวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรก ตอนนั้นท่านยังไม่ได้คิดเรื่องบวชเลย แต่ในฐานะชาวพุทธที่มี “ชิป” (Chip) ของความเป็นพุทธฝังอยู่ในตัวด้วยการหล่อหลอมผ่านวัฒนธรรมประเพณีแบบไทย ๆ ทำให้ท่านสนใจที่จะศึกษาทางธรรมอยู่แล้วตั้งแต่เด็ก ส่วนเรื่องการบวชนั้น ท่านคิดว่า “เอาไว้ตอนอายุมากดีกว่า ขอไปมีครอบครัวก่อน ลูกโตแล้วค่อยบวชก็ยังไม่สาย”

      แต่ยังไม่ทันได้อายุมากและยังไม่ได้มีครอบครัวอย่างที่คิดเอาไว้ ท่านก็ออกบวชเสียก่อน ทั้งที่อนาคตทางโลกแจ่มใสมาก

     ตอนเรียนปริญญาเอก (พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๑) ท่านได้ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคิดเป็นเงินไทยเดือนละแสนกว่าบาท ปัจจุบันเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกับท่านที่ทำงานอยู่ต่างประเทศได้เงินเดือนคนละหลายแสน ตัวท่านเองก็เคยคิดจะทำงานในต่างประเทศเหมือนกัน หรือถ้ากลับมาอยู่เมืองไทยก็จะเปิดบริษัทของตัวเอง
 


Hard reset >> รีเซ็ตเครื่องครั้งใหญ่


     แต่เมื่อสำรวจตัวเองดีแล้ว ท่านพบว่าเงินทอง ชื่อเสียง หน้าตา และความสุขทางโลกไม่ตอบโจทย์ชีวิตของท่าน การบวชต่างหากที่ใช่

     “ตอนที่เรียนปริญญาเอก หลวงพี่เริ่มศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรมผ่าน Case Study ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง DMC พบว่าตัวเองยังประมาทอยู่มาก ตอนนั้นกำลังจะเรียนจบปริญญาเอก เมื่อใกล้จบกลับพบว่า ตัวเองไม่ได้มีความรู้อะไรมากขึ้นเลย โดยเฉพาะเรื่องความจริงของชีวิต แต่กลับมีนิสัยเสีย ๆ เกิดขึ้นอีกเพียบ เช่น ขี้หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญใจยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ฯลฯ หลังจากศึกษาธรรมะและได้ปฏิบัติธรรมมาระดับหนึ่ง ก็เริ่มเข้าใจความแตกต่างของชีวิตทางโลกกับทางธรรมมากขึ้น และรู้ว่าชีวิตนี้เกิดมาเพื่ออะไร หลวงพี่จึงมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่ชัดเจนว่าต้องออกบวช เพราะการอยู่ในเพศสมณะจะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่าที่สุดและคุ้มที่สุดสำหรับการเกิดมาในชาตินี้ หลวงพี่จึงคิดว่าน่าจะถึงเวลาเท คือ ตัดใจเสียดีกว่า เพราะถ้าไม่เริ่มบวชตอนนี้ จะไปรอบวชวันหน้าก็ไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าโอกาสนั้นจะมาถึง”

     การบวชของพระอาจารย์ปรมัยมีความเป็นมาเป็นไปแบบนี้ ซึ่งดูแล้วห่างไกลจากคำว่า “บวชหนีโลก” ในนิยามของผู้พ่ายแพ้ต่อชีวิตมากมายนัก

Deleting program >> ลบโปรแกรม “ฆราวาส” ทิ้งไป


    หลังจากบรรพชาอุปสมบทแล้ว ชีวิตที่สงบเย็นใต้ร่มกาสาวพัสตร์ซึ่งเหมาะแก่การบ่มเพาะศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้พระอาจารย์ปรมัยบวชต่อมาเรื่อย ๆ ด้วยความสุขใจ

     “ตอนนี้บวชไปวันต่อวัน อีกทั้งเมื่อมองกลับไปยังชีวิตในอดีต ก็รู้สึกว่าไม่ได้อยากกลับไปมีชีวิตแบบนั้นอีกแล้ว มองเห็นถึงความคับแคบในความคิด และโอกาสในการสร้างบุญบารมีก็ดูจะติดขัดไปหมด และชีวิตสมณะทำให้รู้สึกถึงอิสระ ซึ่งก็แปลกเพราะตอนแรกนึกว่า การต้องปฏิบัติตามสิกขาบท ๒๒๗ ข้อจะทำให้อึดอัด เพราะปกติหลวงพี่ไม่ชอบทำอะไรตามกรอบ แต่เมื่อได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของศีลและปฏิบัติตาม กลับทำให้รู้สึกถึงความปลอดโปร่งของใจที่ไร้ขีดจำกัด”

Choosing Operating System >>เลือกระบบ

     อย่างไรก็ตาม การที่ท่านเลือกไปบวชที่วัดพระธรรมกายยังเป็นปริศนาอยู่ในใจของหลาย ๆ คนว่า “ทำไมถึงบวชวัดนี้ ?”

     แน่นอนว่า การตัดสินใจครั้งสำคัญของคนเราย่อมมีเหตุผลรองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เรียนมาทางสายวิทยาศาสตร์ถึงระดับปริญญาเอก คงไม่ตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตใหม่โดยไม่คิดให้ดีเสียก่อน

     “เมื่อตัดใจสละทางโลกมาสู่ทางธรรมแล้ว ก็อยากจะเลือกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาตนเอง โดยพิจารณาตามหลัก วุฒิธรรม ๔ ประการ คือ "หาครูดีให้พบ ฟังคำครูให้ชัด ตรองคำครูให้ลึก แล้วก็ปฏิบัติตามคำครูให้ได้" หลวงพี่จึงเลือกที่จะบวชอยู่กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อ”

     พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) “ครูดี”
ที่พระอาจารย์ปรมัยเคารพรักและ ศรัทธาอย่างยิ่งนั้น คือแรงบันดาลใจและต้นแบบในการทำความดีอีกมากมายของท่าน

      “หลวงพี่เดินทางไปทั่วโลก เคยพบเจอผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย แต่ยังไม่เคยเจอบุคคลที่มีสติปัญญาเฉียบแหลมเช่นหลวงพ่อมาก่อนนอกจากนี้ท่านยังมีความอดทนและความเมตตาเป็นเลิศ เป็นผู้ที่มีศิลปะในการสอนทำให้ผู้ฟังเข้าใจธรรมะได้ง่าย แจ่มแจ้งในธรรมะที่ฟัง ร่าเริง ไม่เบื่อหน่ายในการฟัง และอาจหาญ ที่จะนำธรรมะนั้นไปเปลี่ยนแปลงชีวิตของตน ตัวหลวงพี่เองก็เป็นแฟนพันธุ์แท้ที่คอยติดตามการเทศน์สอนของท่านทุกวันทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง DMC และตั้งแต่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของท่าน ก็สามารถมองโลกในแง่บวกมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการมองบวกนี้หลวงพี่คิดว่าเป็นต้นทางของมรรคมีองค์ ๘ เลยทีเดียว ซึ่งมรรคมีองค์ ๘ หรือข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ เป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่ทำให้พ้นทุกข์ได้”

     สภาพแวดล้อมข้างต้นคือสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาตนเองให้เป็นพระแท้ สิ่งนี้ถือเป็นประโยชน์ส่วนตนที่พระอาจารย์ปรมัยได้รับไปเต็ม ๆ

     ส่วนการพัฒนาตนเองเพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นนั้น ท่านเห็นว่าวัดพระธรรมกายเป็นสถานที่ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาศักยภาพในการเผยแผ่พระศาสนา ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระภิกษุ
 
     “หลวงพี่ยังเห็นว่า วัดพระธรรมกายมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นจำนวนมาก ทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาก่อนบวชหลวงพี่เคยคิดว่า เราก็หนึ่งในใต้หล้าเหมือนกัน แต่เมื่อมาอยู่ในวัดแล้วกลับรู้สึกว่าทุกคนรอบ ๆ ตัวเก่งกว่าเราเสียอีก เหมือนเรียนหนังสืออยู่ห้องคิงที่ทุก ๆ คนสอบได้เกรด ๔.๐๐ กันทั้งหมด หรือถ้าเปรียบกับนักกีฬาอาชีพ ถ้ามีโอกาสนักกีฬาทุกคนย่อมอยากจะเล่นกับทีมเก่ง ๆ และอยากอยู่กับผู้จัดการทีมที่มีความสามารถกันทั้งนั้น เพราะว่าจะได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองถึงขีดสุด จนกระทั่งเป็นนักกีฬาที่เก่งระดับโลกได้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ แม้ในวัดพระธรรมกายจะมีแต่คนเก่ง ๆแต่ทุกคนกลับทำงานเป็นทีมได้ ไม่มีใครอยากเด่นกว่าใคร เรียกว่าอยู่แล้วสบายใจก็เลยอยู่มาเรื่อยๆ”
 
 


Password >> รหัสผ่านประตูใจ

     ในความเป็นจริง แม้พระอาจารย์ปรมัยสละทางโลกมาแล้ว ก็มิใช่ว่าท่านจะทิ้งโลกโดยสิ้นเชิง ยิ่งมารับหน้าที่เผยแผ่ไปทั่วโลกย่อมต้องมีปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างชาติอยู่ไม่ใช่น้อย ในประเด็นนี้ พระอาจารย์ปรมัยพบว่าการเป็นพระภิกษุก็เสมือนมี “รหัสผ่าน” ที่ใช้เปิดประตูใจชาวต่างชาติต่างภาษา ทำให้เข้าไปชวนพวกเขามาฝึกสมาธิได้สะดวกขึ้นชี้ทางสว่างให้เขาได้ง่ายขึ้น

     “ภาพของพระในสายตาชาวต่างประเทศเป็นภาพแห่งสันติ ส่วนใหญ่ชาวต่างประเทศไม่เคยสนทนากับพระ ทำให้สนใจที่จะซักถามเกี่ยวกับชีวิตพระ แรงบันดาลใจที่ทำให้ทิ้งชีวิตทางโลกเพื่อบวชเป็นพระ และมักจะจบลงด้วยการฝึกสมาธิด้วยกัน”

     ปัจจุบัน พระอาจารย์ปรมัยเป็นหัวหน้ากองสมาธิเพื่อสันติภาพ ดูแลการพัฒนาระบบเว็บไซต์ สื่อการเรียนการสอนสมาธิภาษาต่างประเทศ ฝึกอบรมสมาธิและความดีสากลให้แก่ชาวต่างประเทศที่เดินทางมานั่งสมาธิในประเทศไทย นอกจากนี้ ท่านยังเดินทางไปสอนสมาธิในต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาท่านไปสอนมาแล้วกว่า ๔๐ ประเทศและในอนาคตยังมีเป้าหมายที่ไกลกว่านี้

     “ก่อนหน้านี้หลวงพี่คาดหวังไว้ต่ำมากคือไม่ได้หวังอะไรเลย แต่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นแรงบันดาลใจให้เราเค้นศักยภาพตัวเองออกมาแบบสุด ๆ ท่านสอนไม่ให้เราดูถูกตัวเอง แต่ต้องดูตัวเองให้ถูก เช่น ตอนนี้มีความสามารถอยู่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จะทุ่มเทต่ำกว่า ๑๐๐ ไม่ได้เด็ดขาด ต้องมองไป ๑๕๐ หรือ ๒๐๐ บางทีเป็น ๑,๐๐๐ เปอร์เซ็นต์ก็มีใจเราก็เริ่มขยายตามท่านไปด้วย ท่านบอกว่าจำนวนประเทศในโลกนี้มีแค่ ๒๐๐ กว่าประเทศเท่านั้น เราอย่าไปคาดหวังให้มากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น จะคาดก็คาดแค่พอดี ๆ คือ แค่เอาให้ครบก็พอ”

Check-in >> เช็กอินทั่วโลก


     ด้วยภารกิจที่มีอยู่มากมาย แน่นอนว่าหลายครั้งย่อมต้องเจอปัญหาและเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอยู่บ้าง แต่ผลงานที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ท่านลืมคำว่า “เหนื่อย” ไปเลย

     “๙ พรรษาที่ผ่านมา หลวงพี่เดินทางไปสอนสมาธิมาแล้วหลายสิบประเทศ รู้สึกมีความสุขหลังจากนำปฏิบัติธรรมทุกครั้งแล้วได้เจอประกายระยิบระยับจากแววตาของผู้ปฏิบัติธรรม เมื่อเราบอกว่า ‘You may now open your eyes.’ พวกเขาต่างแทบไม่เชื่อในความรู้สึกที่ได้รับจากการปฏิบัติธรรมในรอบนั้น เช่น ตัวหาย, เห็นดวงสว่าง, บางคนมีความสุขจนน้ำตาซึม, เวลาในขณะนั่งสมาธิผ่านไปรวดเร็วมาก ฯลฯ และหลายคนไม่คิดว่าสมาธิจะดีแบบนี้”

     และที่พระอาจารย์ปรมัยรู้สึกดียิ่งกว่านี้ก็คือ “บางครั้งเขาก็ส่งข้อความมาว่า เขายังนั่งสมาธิกันอยู่แม้หลายปีผ่านไป และขอบคุณที่เราไปแนะนำการนั่งสมาธิ ซึ่งแม้จะเจอกันช่วงสั้น ๆ แต่การเจอกันก็สร้างประโยชน์ให้เขาได้ตลอดชีวิต นี้เป็นความประทับใจและภาคภูมิใจทุกครั้งที่ได้ทำหน้าที่นำธรรมะและสมาธิไปแบ่งปันให้แก่ชาวโลก”

     แต่ในบรรดากำลังใจทั้งหมดไม่มีอะไรมากไปกว่าถ้อยคำเหล่านี้

     “ที่ปลื้มที่สุดก็คือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อบอกว่า ลูกเป็นส่วนหนึ่งในการทำความปรารถนาของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมุนี) ที่จะนำสมาธิวิชชาธรรมกายไปเผยแผ่ทั่วโลกให้เป็นจริง”

     เช่นนี้แล้วจึงไม่แปลกที่พระอาจารย์ปรมัยจะทุ่มกายเทใจทำหน้าที่ของท่านตลอด ๗ วัน โดยไม่คิดจะมีวันหยุดเลย จนกระทั่งฝรั่งที่มาฝึกสมาธิด้วยยังเคยถามว่า “พระไม่เคยมีวันหยุดเลยหรือ ?”

Logging off >> หยุดใจเสียบ้าง

     ถึงแม้งานมากจนไม่มีวันหยุด แต่พระอาจารย์ปรมัยไม่ปล่อยให้เครื่องร้อน การทำสมาธิเป็นสิ่งที่ช่วยให้ใจของท่านสงบเย็นพร้อมจะทำหน้าที่ด้วยความเบิกบานและเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ผู้อื่นด้วย ดังนั้นท่านจึงจัดเวลาทำสมาธิไว้อย่างลงตัวเพื่อเข้าสู่โหมดหยุดใจ “ปิดโลกภายนอก เปิดโลกภายใน”นอกจากนี้ขณะที่กายเคลื่อนไหว ท่านก็ทำใจให้หยุดนิ่งไปด้วย

     “หลวงพ่อบอกว่าให้เน้นประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้สมบูรณ์ กล่าวคือ ประโยชน์ตนก็ให้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสมาธิ ส่วนประโยชน์ท่านก็คือ ให้นำประสบการณ์ที่เราฝึกฝนอบรมตนเองได้ไปแบ่งปันแก่ชาวโลก ถ้าเราพูดในสิ่งที่เราเป็นและพูดด้วยความปรารถนาดี คำพูดเราจะมีพลังเพียงพอที่จะไปเปลี่ยนใจของผู้ฟังได้”

Let's connect >> ถึงเวลาเชื่อมใจกัน

     จากประสบการณ์ที่ไปสอนสมาธิแก่ชาวโลกในประเทศต่าง ๆ พระอาจารย์ปรมัยเห็นว่า ยังมีผู้คนจำนวนมากที่กระหายจะเรียนรู้วิธีสร้างความสุขภายในด้วยการทำสมาธิ แต่ว่าภารกิจปันความสุขแก่ชาวโลกจำนวนมหาศาลให้ทั่วถึงกันมิใช่เรื่องเล็ก ๆ ดังนั้นจึงต้องการ“คนมีใจ” จำนวนมากมายมาช่วยกัน

     “พระเดชพระคุณหลวงพ่อย้ำเสมอว่าเรายังมีภารกิจที่จะต้องทำกันอีกเยอะมาก ๆสำหรับภารกิจส่วนตัวของหลวงพี่เอง เมื่อคำนวณระยะทางที่เราเดินมาได้ในปัจจุบัน ก็ยังรู้สึกเหมือนกับเป็นจุดสว่างจุดเล็ก ๆ ในท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ กว่าจะพัฒนาให้กลายเป็นทะเลแห่งดวงดาว ที่สว่างพอจะจรรโลงใจมนุษย์ทั้ง ๗,๐๐๐ กว่าล้านคนได้นั้น เรายังมีงานที่จะต้องทำอีกเยอะ จึงอยากเชิญชวนทุก ๆ ท่านที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศและระบบคอมพิวเตอร์มาร่วมมือกัน เพื่อใช้เวลาที่เราเหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่เช่นนั้นเราก็คงจะเปรียบเสมือนจุดสว่างที่รอวันมอดดับลงเท่านั้นไม่สามารถส่องสว่างค้างฟ้าอยู่นิจนิรันดร์ได้”
 


Shutting down >> สักวันต้องปิดเครื่อง

     เราทุกคนมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้เพียงชั่วคราว อีกไม่นานก็ต้องจากโลกนี้ไป ในฐานะมนุษย์ผู้มีปัญญาจึงควรใช้มโนทัศน์ (Concept) ในเรื่องความตายมาพิจารณาถึงความไม่เที่ยงของชีวิต เพื่อประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ของเราให้มากที่สุด

     “ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก บางทีเราควรจะเปลี่ยนวิธีนับอายุเสียใหม่ คือแทนที่จะนับขึ้นแล้วก็มาเฉลิมฉลองว่าเราแก่ขึ้นทุกปี ควรจะนับจำนวนปีที่เหลืออยู่แทน เช่น อายุขัยเฉลี่ย ๗๕ ปี ถ้าเราเกิดมา ๓๐ ปีแล้ว วันเกิดปีนี้เราก็เตือนตัวเองว่ายังมีอายุเหลืออยู่ ๔๕ ปีเท่านั้นและไม่มีหลักประกันเลยด้วยซ้ำว่าจะอยู่ไปถึงวันนั้นจริง ๆ ดังนั้นเราควรจะหันมาศึกษาว่าในช่วงอายุที่เหลืออยู่นี้ เราควรจะทำอะไรให้คุ้มค่ากับการได้เกิดมาเป็นมนุษย์บ้าง เมื่อใดที่เรามองย้อนกลับไปในชีวิตที่ผ่านมาแล้วไม่รู้สึกว่าใช้เวลาอย่างสูญเปล่าในการสร้างบุญสร้างบารมีเลย นั้นแหละคือชีวิตที่มีค่ามากที่สุด”

     เรื่องราวการออกบวชตั้งแต่ยังหนุ่มของพระอาจารย์ปรมัย มิเพียงแสดงถึงความทุ่มกายเทใจสร้างบารมีของพระภิกษุรูปหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความจริงจังจริงใจในการสร้างบารมีของหมู่คณะวัดพระธรรมกาย ที่มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นต้นแบบได้ด้วยและที่สำคัญ เรื่องราวชีวิตท่านยังเป็นเสมือนการนำเลเซอร์พอยเตอร์ (Laser Pointer) มาชี้ให้เห็นพุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งได้ชัดขึ้น คือ
 
“อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ โก ชญฺญา มรณํ สุเว”
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related