ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์

ประเพณีรดน้ำดำหัว ประเพณีรดนํ้าดําหัวผู้ใหญ่ รดน้ำขอพรวันสงกรานต์ รดน้ำขอขมา ขอโทษ ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ https://dmc.tv/a17807

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 12 เม.ย. 2565 ] - [ ผู้อ่าน : 18288 ]
ประเพณีรดน้ำดำหัว
 
ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์

      ประเพณีรดน้ำดำหัวเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นประเพณีที่ แสดงถึงความเคารพนบน้อบต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประ เพณีสงกรานต์ จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์

      คำว่ารดน้ำดำหัวเป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมา (ขอโทษ) ผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งจะมีการอาบน้ำจริง ๆ คืออาบทั้งตัวและดำหัวคือสระผมด้วยสิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด
       
     การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการ “สระผม” แต่ในพิธีกรรม โดยเฉพาะในเทศกาลสงกรานต์ของทุก ๆ ปี หมายถึง การชำระสะสาง สิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิตให้วิปลาสปราดไป ด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระจึงใช้คำว่า ดำหัว มาต่อท้ายคำว่า รดน้ำ ซึ่งมีความหมายคล้ายกันกลายเป็นคำซ้อน คำว่า “รดน้ำดำหัว” ประเพณีรดน้ำดำหัวถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามอีกประเพณีหนึ่ง ที่ประชาชนชาวไทยถือปฏิบัติสืเวลาที่ยาวนาน ซึ่งการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ หรือญาติผู้ใหญ่ บุคคลผู้ที่ตนให้ความเคารพนับถือ การรดน้ำดำหัวนั้นจะเป็นการขอโทษขออภัย ซึ่งกันและกัน ที่เคยล่วงเกินกันในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการล่วงเกินทางกาย ล่วงเกินทางวาจาหรือว่าการล่วงเกินทางใจ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตาม ประเพณีรดนำดำหัว หรือบางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีปีใหม่เมืองจะมีในระหว่าง วันที่ 13 15 เดือนเมษายนของทุกปี หรือวันสงกรานต์นั่นเอง

     ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะกระทำกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ เพียงวันเดียวหรือวันเถลิงศกนั่นเอง แต่การรดน้ำดำหัวพระสงฆ์นั้นจะ มีลักษณะคล้ายๆ กันแต่พิธีการรดน้ำดำหัวพระสงฆ์จะมีพิธีการมากกว่า คือก่อนที่จะรดน้ำพระสงค์จะต้องรดน้ำพระพุทธรูปก่อน แล้วจึงค่อยรดน้ำดำหัวพระภิกษุสงฆ์ จากนั้น ก็รับพรจากพระภิกษุสงฆ์ พอเสร็จพิธีก็จะมีการเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนาน และการรดน้ำดำหัวพระภิกษุนั้นจะทำทุกวัน
 
ประเพณีรดน้ำดำหัว
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่

     ประเพณีรดน้ำดำหัว เป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องกันมายาวนานในปีใหม่ไทย เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อบิดามารดา ผู้ใหญ่ และผู้มีพระคุณ ด้วยความเชื่อที่ว่า เป็นการขอขมาลาโทษ พร้อมทั้งรับคำอวยพรเพื่อสิริมงคลของชีวิต และประเพณีนี้ยังทรงคุณค่ามาจนทุกวันนี้

พิธีกรรมในการดำหัวในเทศกาลสงกรานต์ล้านนา มี 3 กรณี คือ

     กรณีแรก ดำหัวตนเอง คือทำพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นศิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ
    
     กรณีที่สอง ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน อันเป็น พิธีกรรมต่อเนื่องจากกรณีแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูกศีรษะภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (ในกรณีที่สาม) มาลูบศีรษะตนเองเสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะ หรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง
    
     กรณีที่สาม ดำหัวผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น กรณีนี้อาจไปดำหัวด้วยตนเอง บางครั้งอาจพาญาติพี่น้องไปเป็นกลุ่ม หรือไปเป็นคณะโดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือของชุมชน
    
     การดำหัวในกรณีที่สามนี้ ถือเป็นประเพณีที่สำคัญยิ่ง ถือได้ว่าเป็นประเพณีที่สามารถจรรโลงความสันติสุขให้กับสังคม ได้เป็นอย่างดี การดำหัวผู้ใหญ่ด้วยตนเองอาจจะไม่มีพิธีรีตองมากนัก แต่การดำหัวผู้ใหญ่ที่ต้องไปเป็นหมู่คณะ ย่อมมีกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น
 
ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์


คุณค่าที่ไม่ควรมองข้าม


      พ่อแม่หลายคนอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรดน้ำดำหัวเท่าที่ควร มองว่าเป็นเพียงประเพณีหนึ่งที่อยู่ในวันสงกรานต์ และมักใช้เวลาไปกับการเดินห้างสรรพสินค้า แต่หากมองให้ดี การรดน้ำดำหัวล้วนให้คุณค่ากับเด็กเล็กมากมาย

     1. ความสัมพันธ์ในครอบครัว ข้อนี้คุณแม่หลายคนคงเดาถูก เพราะว่าการที่เด็กๆ ได้ไปพบญาติผู้ใหญ่ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้เด็กได้พบกับญาติๆ ที่นอกจากจะสนุกและยังอบอุ่นแล้ว ยังปลูกฝังให้เด็กมีความเคารพและมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่

     2. พัฒนาการของเด็ก อันนี้คุณแม่คงเดาไม่ออกว่า การที่ลูกได้รดน้ำดำหัวปู่ย่าตายาย จะส่งเสริมพัฒนาการด้านใดบ้าง

     - ด้านอารมณ์ การที่เด็กได้อยู่กับครอบครัว และได้รดน้ำผู้ใหญ่พร้อมๆ กับคุณพ่อคุณแม่ จะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นใจ ใจเย็น มีสมาธิมากขึ้น
     - ด้านสังคม การเข้าสังคมสามารถเริ่มได้จากสังคมเล็กๆ อย่างครอบครัว และพัฒนาไปเรื่อยๆ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสังคมที่ใหญ่ขึ้นต่อไป
     - ด้านจิตใจ เด็กจะได้เรียนรู้ถึงประเพณีอันดีงามและควรสืบสาน ทั้งยังช่วยให้ลูกเห็นความสำคัญของคำว่าครอบครัวที่มีมากกว่าพ่อแม่ลูกด้วย
     - ด้านร่างกาย หลังการรดน้ำดำหัวแล้ว หากมีการชวนกันไปทำบุญที่วัดก็มักมีการก่อเจดีย์ทราย ถือเป็นการเล่นตามประเพณีไทยอย่างหนึ่ง ที่ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อมือ แขน และขาไปในตัว

เทคนิคการชวนลูกรดน้ำดำหัว


     1. ให้ลูกมีส่วนร่วม ในการเตรียมดอกไม้ น้ำหอม น้ำปรุง แล้วเมื่อทำซ้ำๆ ทุกปี ช่วงเวลาแบบนี้จะเป็นช่วงที่เด็กๆรอคอยและรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญกับเรื่องนี้

     2. ทำให้ลูกเห็น เพราะต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจก่อน ว่าการรดน้ำดำหัวนั้นคืออะไร และเราทำไปทำไม ถือเป็นการปูพื้นความรู้ขั้นต้นให้กับเด็ก แถมยังเป็นตัวอย่างที่ดีอีกด้วย

     3. ชี้ชวนให้ลูกทำ ขณะที่รดน้ำ แล้วบอกว่า “คุณแม่กำลังรดน้ำคุณตานะ เดี๋ยวคุณตาจะอวยพรให้แม่แข็งแรง อยู่กับลูกไปนานๆ ไงล่ะคะ” พอคุณแม่รดน้ำเสร็จแล้วก็ให้ลูกลองได้รดน้ำดำหัวบ้าง พร้อมกับคอยแนะนำอยู่ใกล้ๆ

     ข้อสำคัญที่สุดคือ...คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก หาเวลาไปพบปะญาติผู้ใหญ่บ่อยๆ และรดน้ำดำหัวอย่างสม่ำเสมอทุกปี เพื่อเป็นการเน้นย้ำว่าครอบครัวของเราให้ความสำคำกับประเพณีที่ดีงามแบบนี้มากแค่ไหน แล้วสิ่งเหล่านี้จะถูกปลูกฝังไปในตัวลูกโดยปริยาย
 
ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์

4 สิ่งที่ต้องนำไปใช้ในการรดน้ำดำหัว

     1. น้ำอบไทยหรือน้ำหอม น้ำส้มป่อย
     2. ดอกมะลิและดอกกุหลาบ หรือดอกไม้อื่นๆ ที่ปลูกอยู่ในบ้านก็ได้
     3. ขันเงินหรือขันทองเหลือง พานข้าวตอก ดอกไม้ และธูปเทียน
     4. ผ้าตัดเสื้อ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม หรือของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อมอบให้แก่ผู้ใหญ่

     หมายเหตุ: สิ่งที่ต้องเตรียมเหล่านี้ถ้าไม่มีเวลาเตรียมครบทุกอย่างก็อนุโลมได้ เพราะหากทำด้วยใจแล้วจะเตรียมการได้ดีมากน้อยแค่ไหนไม่ใช่เรื่องใหญ่แล้วล่ะ
 



http://goo.gl/IA7hdz


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related