วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม มีประวัติความเป็นมา ความสำคัญต่อชาติไทยอย่างไร กลอนวันปิยมหาราช https://dmc.tv/a12317

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 5 ต.ค. 2565 ] - [ ผู้อ่าน : 18265 ]

วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช 2566

วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566
 
 วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม
 วันปิยมหาราชตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม

ประวัติความเป็นมาของวันปิยมหาราช


     เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่ เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า
 
     ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ
 
     เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
 
วันปิยมหาราช
 
     วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
 

พระราชประวัติ

 
      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สี่ ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2396 ณ พระตำหนักเดิมตรงพระที่นั่งสมมติเทวราชอุบัติ ในหมู่หนึ่งของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงมีพระนามชั้นเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว สำหรับ ประดับหัวจุกของเด็กไทยโบราณี
 
"ทรงเป็นสมเด็จพระปิโยรส ของสมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัย"
 
     เมื่อทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การศึกษา ได้ทรงพระอักษร และเริ่มเรียนในสำนักพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี ขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ศิลปวิทยาการหลายแขนง ตลอดจนโบราณราชประเพณี และได้ทรงศึกษาภาษาบาลี วิชาปืนไฟ มวยปล้ำ กระบี่กระบอง คชกรรม อัศวกรรม จากสำนักเจ้านายและขุนนางอื่นๆ ที่เป็นผู้ทรงความรู้อันสมควรแก่พระราชกุมาร สมเด็จพระราชบิดาผู้ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล ทรงตระหนักดีว่าวิชาการสมัยใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ แต่ยังไม่มีในภาษาไทย จึงทรงว่าจ้างครูสตรีชาวอังกฤษมาสอนภาษาอังกฤษแก่สมเด็จพระบรมราชโอรสด้วย แม้ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ท่านก็ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษตลอดเวลา นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เมื่อเสด็จต่างประเทศก็ตรัสภาษาอังกฤษได้ดี ส่วนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ราชประเพณี โบราณคดีทั้งปวงนั้น สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานพระบรมราโชวาทฝึกสอนด้วยพระองค์เอง
 
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ 9 ในจำนวนพระราชโอรส ธิดาทั้งสิ้น 82 พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ขณะพระชันษา 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น กรมหมื่นพิฆเณศวรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. 2404 ต่อมาอีก 4 ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาใน ปีเถาะ พ.ศ. 2411 ได้ทรงกำกับราชการ ในกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมทหารบกวังหน้า ในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตามเสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยปราคา ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิด ประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 พระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสู่ สวรรคตใน ในขณะซึ่งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง 15 ปีกับ 10 วัน ทั้งยังทรงประชวรด้วยไข้ป่าอย่างหนัก เกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ได้รับให้สถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ในวันเดียวกัน แต่ด้วยที่วัยพระองค์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดี

วันปิยมหาราช
 
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนาเมื่อวันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2416 และทรงลาผนวชใน วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2416 ทรงเข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2416 ในปีต่อมาได้กระทำการสำคัญยิ่งใหญ่คือ การเลิกทาส พระองค์สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปโดยมิได้เกิดเหตุร้ายภายในขึ้นเยี่ยงการเลิกทาสในนานาประเทศ และทรงโปรดฯ ให้มีการตราพระราชบัญญัติเลิกทาส ในปี พ.ศ. 2417
 
      สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ นานถึง 42 ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ ด้วยพระจริยวัตรและพระปรีชาสามารถอย่างเฉลียวฉลาด ของพระองค์ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงประเทศ โดยการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ตลอดเวลา 42 ปี ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศไทยรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ทรงพัฒนาฟันฝ่าอุปสรรค นานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ล่าเมืองขึ้นของบรรดาชาติมหาอำนาจ ในยุคนั้นมาได้ แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติของพระองค์รอดพ้น จากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศสยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใคร ด้วยสายพระเนตรมองไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนานำความเจริญ ก้าวหน้า เร่งรัดในแขนงต่างๆ ทั้ง การพัฒนาคน พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน และความมั่นคงของบ้าน อีกทั้งพระองค์ยังทรงสนพระทัยถึงความเป็น อยู่ของประชาชน ทรงออกเยี่ยมประชาราษฎร์ อยู่เป็นเนืองนิจ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดิน
 
      การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบเสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้นรัชกาล พระองค์ทรงเสด็จประพาส สิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประเทศ ทรงเสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. 2440 และในปี พ.ศ. 2450 แนวทางความสัมพันธ์ด้วยการทูตของพระองค์ท่าน ทำให้เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และปัญหาต่างๆ ก็ได้คลายเบาบางลง ความลึกซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ทำให้ปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องของชายแดน ไทย-อังกฤษ หรือกับฝรั่งเศส ได้ผ่อนคลายในที่สุด

วันปิยมหาราช
 
      ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้ง กวี และ นักประพันธ์ ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิรยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรากฏผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า 30 เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า 500 หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์
 

"ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ
คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม"
 

      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่ง เวลา 24 นาฬิกา 45 นาที ของคืนวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระองค์ได้เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ 57 พรรษา ทรงเสวยราชย์ 42 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดินสยาม ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสุดคณานับทั้งประโยชน์ สุข ความเจริญรุ่งเรือง นำชาติให้เป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ พระคุณสุดล้นที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทยได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคนไทยเสมอมา
 
     สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐาน ของ พระบรมรูปทรงม้า (2451) พระนามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงเขียน ชมเชย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย
 
      วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกๆ ปี ประชาชนคนไทย ทั้งชาติ ถือเป็นวันแห่งการน้อมรำลึกถึงพระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระวันคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต เป็นวันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง ที่จะเทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน.
 

วันปิยมหาราชครั้งแรก

 
      พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม

คำว่าปิยมหาราช มาจากพระสมัญญาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช"

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อ พระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
 
ประวัติความเป็นมาของวันปิยมหาราช 
 เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ (ร.5) เมื่อทรงพระเยาว์ ถ่ายโดยชาวต่างชาติ
 
      เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช
 
     ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม
 
     ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน
 
ความสำคัญของวันปิยมหาราช ภาพพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5ครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อปีพ.ศ.2516 
 พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 ครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
 
     เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม

ความสำคัญของวันปิยมหาราช

 
      ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้
         
      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 หรือวันปิยมหาราชในปัจจุบันนี้ รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ทรงครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี
 

วันปิยมหาราช

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระปิยมหาราช อาทิเช่น

 
1. การเลิกทาส
 
     เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่า จะต้องเลิกทาสให้สำเร็จ แม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะทาสมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้ เมื่อไม่มีทาส บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่พอใจและก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว
 
 
 
วันปิยมหาราช ความสำคัญต่างๆ
 พระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
 
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หรือสมเด็จพระปิยมหาราชจึงตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี และพอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง จากนั้นใน พ.ศ.2448 จึงได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า "พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124" (พ.ศ.2448) เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป และการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด
         
     ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ในเวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยไม่เกิดการนองเลือดเหมือนกับประเทศอื่นๆ
 
 2. การปฏิรูประบบราชการ
 
      ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน จากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่างๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ
 
3.การสาธารณูปโภค
 
     การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2452
          
      การคมนาคม วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย
         
      นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพาน และถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคม และส่งเสริมการเพาะปลูก
          
     การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที สมเด็จพระปิยมหาราชจึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2431
          
     การไฟฟ้า สมเด็จพระปิยมหาราชพระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2433
          
     การไปรษณีย์ โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ.2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลข ซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ
 
เสด็จประพาสต้น 
 ภาพที่เกี่ยวข้องกับวันปิยมหาราชการเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่ง
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
4. การเสด็จประพาส
 
      สมเด็จพระปิยมหาราชทรงเสด็จประพาส การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2440 ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น
         
     ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวแก่สถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไป
         
     ส่วนภายในประเทศ ก็ทรงถือว่าการเสด็จประพาสในที่ต่างๆ เป็นการตรวจตราสารทุกข์สุขดิบของราษฎรได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงได้ทรงปลอมแปลงพระองค์ไปกับเจ้านายและข้าราชการ โดยเสด็จฯ ทางเรือมาดแจวไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ เพื่อแวะเยี่ยมเยียนตามบ้านราษฎร ซึ่งเรียกกันว่า "ประพาสต้น" ซึ่งได้เสด็จ 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2447 และในปี พ.ศ.2449 อีกครั้งหนึ่ง
 
5. การศึกษา
 
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา
 
 
6. การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน
         
     เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม โดยดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่ 
 
           พ.ศ.2431 เสียดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทย 
           พ.ศ.2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้ 
           พ.ศ.2447 เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี แต่ฝรั่งเศสได้ยึดตราดไว้แทน 
           พ.ศ.2449 เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับตราด และเกาะทั้งหลาย แต่การเสียดินแดนครั้งสุดท้ายนี้ไทยก็ได้ประโยชน์อยู่บ้าง คือฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยอมให้ศาลไทยมีสิทธิที่จะชำระคดีใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชาวฝรั่งเศส ไม่ต้องไปขึ้นศาลกงสุลเหมือนแต่ก่อน
         
     ส่วนทางด้านอังกฤษ ประเทศไทยได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ รวมถึงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้วย ใน พ.ศ.2454 อังกฤษจึงยอมตกลงให้ชาวอังกฤษ หรือคนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย และยอมให้ไทยกู้เงินจากอังกฤษ เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ เพื่อตอบแทนประโยชน์ที่อังกฤษเอื้อเฟื้อ ทางฝ่ายไทยยอมยกรัฐกลันตัน ตรังกานูและไทยบุรี ให้แก่สหรัฐมลายูของอังกฤษ

วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม

กิจกรรมในวันปิยมหาราช

 
กิจกรรมในวันปิยมหาราช 
 การวางพวงมาลาดอกไม้สักการะในวันปิยมหาราช
 
     ในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา รวมทั้งประชาชนจะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำบุญตักบาตอุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ในวันปิยมหาราช หน่วยงานและโรงเรียน มหาวิทยาลัย จะจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไปและที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช 23 ตุลาคมของทุกปี
 

คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับวันปิยมหาราช



คลิปสมัยรัชกาลที่ 5

 
รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปตอนที่ 1  คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับวันปิยมหาราช ที่หาชมได้ยากยิ่ง

 
รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปตอนที่ 2 
คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับวันปิยมหาราช ที่หาชมได้ยากยิ่ง
 
http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A.html
บทความที่เกี่ยวข้องกับวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช 

http://goo.gl/bvlmM


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related