ชายสามโบสถ์หมายความว่าอย่างไร

ชายสามโบสถ์ คือชายที่เปลี่ยนศาสนา 3 หน แต่คนไทยเอามาเรียกคนที่บวชแล้วสึก สึกแล้วบวชใหม่ บวชๆ สึกๆ ถึง 3 หน https://dmc.tv/a13017

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 5 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18285 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 
 

คำถาม: หลวงพ่อครับ ชายสามโบสถ์หมายความว่าอย่างไรครับ?

 
คำตอบ: จริงๆ แล้ว ในสมัยพุทธกาลชายสามโบสถ์ หมายถึงคนที่เปลี่ยนศาสนา 3 ครั้ง เช่น ตอนนี้เป็นพุทธ อีกพักหนึ่งกลายเป็นพราหมณ์อีกสักพักไปบวชเป็นชีปะขาว ชายสามโบสถ์ คือชายที่เปลี่ยนศาสนา 3 หน แต่คนไทยเอามาเรียกคนที่บวชแล้วสึก สึกแล้วบวชใหม่ บวชๆ สึกๆ ถึง 3 หน
 
ชายสามโบสถ์
ชายสามโบสถ์
 
        การที่คนเราจะบวชถึง 3 หน สึก 3 หน นี่ว่ากันไม่ได้ เนื่องจากแต่ละคนมีความจำเป็นไม่เหมือนกัน ในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่งบวชแล้วสึกถึง 7 หน จนในการบวชครั้งสุดท้ายได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
 
        ฉะนั้น คำๆ นี้ส่วนมากจะเป็นสำนวนเรียกคนที่ทำอะไรไม่จริง โลเล เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำอะไรแบบจับจดนะ 
 

คำถาม: บุคคลที่ตกลงใจจะบวชแล้ว แต่ยังมีหนี้สิน คือติดค้างเงินเพื่อนแล้วยังไม่ได้ชำระ จะบวชได้หรือไม่?

 
คำตอบ: วันบวช พระอุปัชฌาย์จะถามเลย ถามกันในโบสถ์เป็นภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า คุณมีหนี้ไหม?  ถ้ามีหนี้พระอุปัชฌาย์ท่านจะบอกว่า ถ้าอย่างนั้นออกไปใช้หนี้ก่อน ไม่ให้บวช ขืนให้บวชเป็นพระแล้วจะเอาอะไรมาใช้คืนเขาล่ะ ประเภทพอบวชปั๊บ ตำรวจมาเคาะประตูแจ้งข้อหา “หลวงพี่เช็คเด้งนะนี่”
 
        หลวงพี่จะเอาอะไรมาใช้คืนเขา จะบอกว่าโยม...เอาจีวรไปแทนหนี้ได้เมื่อไร หรือโยมเอาศาลานี่ไปก็แล้วกันนะ เอาไปได้อย่างไรล่ะ ของวัดของสงฆ์ส่วนรวมจะเอาไปขายล้างหนี้ให้ใครไม่ได้ทั้งนั้น
 
ถ้ามีหนี้พระอุปัชฌาย์ท่านจะบอกว่า ออกไปใช้หนี้ก่อน ไม่ให้บวช
ถ้ามีหนี้พระอุปัชฌาย์ท่านจะบอกว่า ออกไปใช้หนี้ก่อน ไม่ให้บวช
 
        ผู้ที่มีหนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อนุญาตให้บวช แต่ถ้าเราอยากบวชจะทำอย่างไร ถ้าอยากบวชจริงๆ มีวิธีหนึ่งคือไปกราบเจ้าหนี้เขาเสียดีๆ แหม..คุณลุงคุณป้า คุณน้าคุณอา ผมมีศรัทธาอยากจะบวชนะ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีเงินจะใช้หนี้คืนเลย คุณลุงคุณป้า คุณน้า คุณอา นึกว่าอนุโมทนากับการบวชของผมด้วยก็แล้วกัน ยกหนี้ให้ผมเถอะ
 
        ถ้าเขายกให้ก็บวชได้ แต่ถ้าเขาไม่ยกให้ เขารีบเรียกตำรวจจับเลย หาว่าเรากำลังจะบวชหนีหนี้ ถ้าอย่างนั้นก็ช่วยไม่ได้นะ ไปดูแก้ไขเอา ทางที่ดีหาเงินไปใช้หนี้เขาเสียให้หมดก่อน แล้วค่อยมาบวช ใครที่มีโอกาสจะมาบวชพระ รีบๆ มาบวชเสียนะ ก่อนที่จะไปทำงานทำการอะไร เพราะว่าพอทำงานแล้ว โอกาสที่จะมีหนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ยิ่งงานใหญ่ หนี้ก็ยิ่งมากนะ
 
คำถาม: คนเราถ้าตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่แล้ว จะบวชหรือไม่ก็คงได้ผลไม่แตกต่างกัน ใช่หรือไม่ครับ?
 
คำตอบ: ต่างกันแน่ๆ เพราะการตัดสินใจว่าจะบวชนี่ ไม่ใช่เรื่องง่าย ชีวิตพระชีวิตสามเณร เป็นชีวิตที่เรียกว่า บำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ ปลีกตัวออกจากครอบครัว เพราะเรื่องของครอบครัวนี้เป็นเรื่องยุ่ง
 
        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “ชีวิตฆราวาสนั้นคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี คือกิเลส บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง” มันยุ่งอย่างไรหรือ? แล้วทำไมจึงต้องปลีกตัว ขอให้ทุกคนมองอย่างนี้ ในแต่ละวันที่ชาวโลกเขาอยู่กัน เขามีเรื่องเยอะแยะ บ้างก็ก่อกรรมดีและกรรมชั่วปนๆ เปๆ กันไป ทั้งวัน ถ้าจะอุปมาว่ากรรมที่ก่อไว้เปรียบเหมือนอย่างกับเส้นด้าย ถ้าทำกรรมดีก็เปรียบเหมือนด้ายที่เป็นเส้นตรงทั้งเรียบ ทั้งเหนียว ถ้าทำกรรมชั่วก็เปรียบเหมือนกับไปขมวดปมที่เส้นด้ายไว้ตรงโน้นตรงนี้ ด้ายเส้นนั้นก็เป็นปุ่มเป็นปมไปทั้งเส้น ไม่น่าใช้
 
        ชาวโลกโดยทั่วไปมีใจขึ้นๆ ลงๆ ทั้งวัน เดี๋ยวทำดี เดี๋ยวทำชั่ว ตื่นขึ้นมาแต่เช้าตรู่ ตั้งใจทำความดี ตั้งใจที่จะตักบาตรพระ ครั้นใส่บาตรแล้วใจก็ชุ่มชื่นเบิกบานแจ่มใส แต่พอสายสักหน่อย ออกจากบ้านจะไปทำงาน ไปเจอรถติดเข้าก็อารมณ์เสีย ด่ารถที่มันแซงซ้าย ด่ามอเตอร์ไซด์ที่มันขับปาดหน้า ที่มันเฉี่ยว กว่าจะไปถึงที่ทำงานก็หน้าหงิกหน้างอทีเดียว
 
ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่
ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่
 
        พอถึงที่ทำงานได้คุยเล่นกับเพื่อนๆ จนกระทั่งใกล้เพลใกล้เที่ยงอารมณ์ชักดี คิดทำโครงการโน้นโครงการนี้ ที่มันดีๆ พอตกบ่ายตกเย็นไปกระทบเรื่องนั้นเรื่องนี้เข้าอีกแล้ว ก็ออกงิ้วออกโขน ทะเลาะทุ่มเถียงกันไป ตกลงวันหนึ่งๆ นี่กรรมที่เขาทำเอาไว้มีทั้งดีทั้งชั่ว เปรียบเหมือนเส้นด้ายเส้นยาวๆ ที่ผูกปมเอาไว้ตรงโน้นตรงนี้ เมื่อรวมเส้นด้ายแห่งกรรมที่เขาทำเอาไว้ละก็ สางกันไม่ไหว มันยุ่งไปหมด ไม่รู้จะจับต้นชนปลาย เริ่มแก้ที่ปมไหน บางปมแก้ไม่ออก และเพราะแก้ไม่ออกนี่แหละ ชีวิตของชาวโลกจึงทุกข์ร้อน วุ่นวาย สับสนกันอย่างนี้
 
        เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าชีวิตทางโลกยุ่งยากอย่างนี้ ขืนอยู่ครองเมืองคงแก้ปมชีวิตที่ยุ่งๆ ไม่ออกแน่ จึงไม่ยอมอยู่ในวังวนทรงขึ้นมากัณฐกะ เสด็จออกจากวังไปทีเดียว ออกผนวชแสวงทางพ้นทุกข์ จนกระทั่งตรัสรู้ แล้วจึงย้อนกลับมาโปรดชาวโลก สอนพระญาติของพระองค์ให้รู้จักถอนตัวออกจากวังวน ออกจากปมยุ่งๆ เหล่านั้น ด้วยการออกบวช มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ไม่ต้องไปก่อกรรมเลวร้ายใดๆ อีกแล้ว มีแต่เรื่องทำความดี ทั้งฝึกตัวเอง แล้วก็ฝึกผู้อื่นให้ทำดี ละความชั่วทั้งหลายตามไปอีกด้วย
 
        ถ้าบวชเป็นสามเณรก็รักษาศีล 10 ข้อ บวชเป็นพระภิกษุก็รักษาศีล 227 ข้อ ความระมัดระวังก็มากขึ้นตามส่วน ทำให้ใจจดจ่ออยู่ที่ศูนย์กลางกายได้นานขึ้น สติก็ดีขึ้น บุญก็เลยได้มากขึ้น ใครอยากได้บุญมากๆ อยากไปนิพพานได้เร็วๆ ก็ตามหลวงพ่อมาบวชกันนะ

http://goo.gl/KP5ID


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related