เราจะใช้ทรัพย์อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เวลาคือทรัพย์ที่ทุกชีวิตมี เราจะใช้ทรัพย์คือเวลาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด? https://dmc.tv/a18574

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 8 ส.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18260 ]
เวลาคือทรัพย์ที่ทุกชีวิตมี
เราจะใช้ทรัพย์คือเวลาอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด?
 
หลวงพ่อตอบปัญหา
เรื่อง : พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
 
พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว)

พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง ทรงค้นพบว่า

     1 ) ชีวิตนี้เป็นทุกข์ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อมีการเกิด ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้


     2 ) ชีวิตของมนุษย์ดำเนินไปภายใต้กฎแห่งกรรม หากมนุษย์เข้าใจ รู้เท่าทันเรื่องราวของกฎแห่งกรรม ก็จะสามารถดำเนินชีวิตในโลกให้มีทุกข์น้อย และมีโอกาสพ้นทุกข์ได้

     เรื่องสำคัญในชีวิตที่จะต้องทำให้สม่ำเสมอ เพื่อทำให้ชีวิตเราสามารถเป็นที่พึ่งแก่ตนเองได้สามารถนำพาชีวิตของตนให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเกิดมาได้ นั่นคือ การศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยจะต้องศึกษาให้เข้าใจจนแจ่มชัด แล้วสามารถปฏิบัติตามธรรมนั้นได้ ชีวิตถึงจะเป็นสุข สามารถพึ่งตัวเองได้

     เมื่อเราจะศึกษาธรรมะ เราก็ต้องแบ่งเวลาเพื่อศึกษาให้เข้าใจในภาคทฤษฎีและแบ่งเวลานั่งสมาธิปฏิบัติธรรมควบคู่กันไป มิฉะนั้นการศึกษาและปฏิบัติธรรมก็จะไม่ก้าวหน้า

      พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นว่า ความก้าวหน้าในการศึกษาและประพฤติธรรมนั้น ผู้ศึกษาจะจัดลำดับความสำคัญไว้ 4 เวลา หรือ 4 กาล ได้แก่ กาลที่ 1 กาลแห่งการฟังธรรม กาลที่ 2 กาลแห่งการสนทนาธรรม กาลที่ 3 กาลแห่งการแสดงธรรม กาลที่ 4 กาลแห่งการปฏิบัติตามธรรม ดังจะอธิบายโดยย่อ ดังนี้

กาลที่ 1 กาลแห่งการฟังธรรม


     หมายถึง กาลหรือเวลาที่จะถือเป็นโอกาสได้พบพระเพื่อฟังธรรม ซึ่งมีหลากหลายจังหวะดังตัวอย่างต่อไปนี้
 
     • ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลมาแล้ว พระสงฆ์ท่านเทศน์ทุกวันพระ ฉะนั้นวันพระจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนควรหาโอกาสไปฟังธรรม
 
     • ปัจจุบันนี้โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ดาวเทียม DMC หลวงพ่อ หลวงพี่ ที่มีความรู้ ค้นคว้ามาอย่างดี ก็มาเทศน์ใน DMC ทุกวัน ญาติโยมที่มาฟังในโรงเรียนบ้าง หรือฟังอยู่หน้าจอ DMC บ้าง จัดว่าเป็นการฟังธรรมตามกาล
 
     • เมื่อใดมีการเทศน์ การบรรยายธรรม โดยท่านผู้มีความรู้ ท่านที่เป็นนักปราชญ์ บัณฑิตหลวงพ่อ หลวงปู่ หรือพระอาจารย์ที่ทรงภูมิรู้ ภูมิธรรม ก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ฟังธรรมตามกาล
 
     • เวลาว่าง เวลาสบายใจ เช่น วันนี้งานการเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ไม่มีเรื่องหนักอกค้างใจรีบไปวัด ไปกราบหลวงพ่อวัดไหนก็ได้ ยิ่งคุ้นกับท่านยิ่งดี นิมนต์หลวงพ่อเทศน์ให้ฟังสักกัณฑ์หรือจะอบรมอะไรให้ก็กราบนิมนต์ท่านเถิด เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรจะสบายใจได้อย่างนี้อีก
 
     • เวลาทุกข์อกทุกข์ใจขึ้นมา อย่าไปไหนนะ รีบไปหาหลวงพ่อวัดที่ใกล้ที่สุดเลย นี่ก็ฟังธรรมตามกาล กาลที่ทุกข์หนัก ถ้าเลือกไปที่อื่นแทนอาจจะพลาด อาจจะตัดสินใจทำอะไรผิด ๆ จะยิ่งทุกข์หนักเข้าไปอีก

     การฟังธรรมตามกาลนี้ ขอให้ฟังด้วยความเคารพ พยายามน้อมใจตาม ตรองตาม ถ้าตรองตามไม่ทัน ต้องรีบบันทึกเอาไว้ จะได้หาโอกาสไปซักถามให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปในภายหลัง ดังนั้น เวลาฟังธรรมก็ควรจะเตรียมอุปกรณ์ให้ดี มีกระดาษ ปากกา ดินสอ ไว้ด้วย แม้การแต่งกายก็ให้เรียบร้อย ตามขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การแต่งกายด้วยชุดขาวหรืออย่างน้อยก็เสื้อขาวซึ่งจะเสริมบรรยากาศของการฟังธรรม

กาลที่ ๒ กาลแห่งการสนทนาธรรม

      สำหรับผู้ที่ตั้งใจปรารถนาดีที่จะเจาะลึกธรรมะที่ได้ฟังมาตามกาลนั้นให้แตกฉานขึ้น จะได้นำเข้าไปสู่ภาคปฏิบัติ แต่อาศัยลำพังสติปัญญาและประสบการณ์ของเราคนเดียว บางทีความเข้าใจจะยังไม่ค่อยชัดนัก จำเป็นต้องมาสนทนากันก่อน มาทำความเข้าใจดูว่าที่เราเข้าใจนั้น ตรงกับที่คนอื่นเขาเข้าใจไหม

      บางทีก็เห็นตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง บางทีก็ลึกตื้นไม่เท่ากันบ้าง หลังจากการสนทนาธรรมกันแล้ว เราก็จะได้แง่มุมอีกหลาย ๆ แง่มุม ที่เราไม่เคยคิดไปถึง การสนทนาธรรมตามกาลจะทำให้เราได้วิธีที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน นี่คือคุณค่าของการสนทนาธรรม

      บูรพาจารย์เตือนเอาไว้ว่า ก่อนสนทนาธรรมตามกาล ขอให้นั่งสมาธิก่อน ถ้านั่งล่วงหน้าเป็นวันได้ยิ่งดี ต้องนั่งสมาธิทำใจให้ดี เพราะอย่างไรเมื่อสนทนากันก็ต้องเจอที่เห็นไม่ตรงกัน เมื่อเห็นไม่ตรงกัน ถ้าใครพูดแสดงความเห็นที่ไม่ตรงกันออกมาก็รู้สึกเหมือนถูกขัดคอ เมื่อคิดว่าถูกขัดคอแล้วอาจจะโกรธกันได้

     ทุกคนในโลกไม่ชอบให้ใครขัดคอ เพราะฉะนั้นเวลาจะแย้งข้อความอะไร มีสำนวนหนึ่งที่นิยมใช้แบบชาววัดด้วยกัน “ที่คุณว่าก็ดีนะ แต่ยังมีอีกแง่มุมทำนองนี้พอเป็นไปได้ไหม” ถ้อยวาจาอย่างนี้ไม่หักไม่โค่นใครให้เสียหน้า เสียความมั่นใจ ถ้าพูดจากันอย่างนี้ วงสนทนาธรรมก็จะดำเนินต่อไปได้

     ในเวลาเดียวกันใครที่ถูกเขาเสนอแนะมาอย่างนี้ ก็ต้องรู้ตัว นึกทบทวนทันทีเหมือนกันว่า ที่เราว่ามานี้มันคงจะมีอะไรพร่องอยู่ ต้องทบทวนให้ดี ถ้าต่างฝ่ายต่างทบทวน ต่างฟังซึ่งกันและกันการสนทนาธรรมตามกาลนั้นจะเกิดบุญใหญ่จริงๆ

กาลที่ 3 กาลแห่งการแสดงธรรม


     เมื่อสนทนาธรรมกันแล้ว เราจะได้ความรู้ข้อปลีกย่อยในเชิงปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีโอกาสจะถ่ายทอดให้ใครต่อขอให้รีบทำเถิด เพราะกว่าเราจะเกิดความซาบซึ้งธรรมได้ขนาดนั้นไม่ใช่ของง่าย และการนำความรู้นั้นไปแสดงให้คนอื่นรับทราบด้วย ก็เป็นการทบทวนของเราอย่างลึกซึ้งอีกที

     การแสดงธรรมที่ง่ายสำหรับเราก็คือ การถ่ายทอดให้คนข้าง ๆ ตัว อาจจะเป็นลูก หลานน้อง หรือใครก็ได้ที่อยู่ใกล้ตัว การแสดงธรรมของเราถ้าเป็นไปในลักษณะของการเล่าให้ฟัง จะดูเหมาะสม น่าฟัง

     ในการแสดงธรรมตามกาลนี้ มีสิ่งที่ควรระมัดระวัง คือ ต้องแสดงธรรมโดยยึดหลัก “หลังอิงต้นโพธิ์” หมายความว่า ทุกอย่างที่แสดงต้องมีหลักฐานยืนยันจากพระไตรปิฎกว่าเป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ พระอรหันต์ท่านนั้นท่านนี้แสดงเอาไว้ อริยบุคคลที่เป็นฆราวาสชื่อนั้นชื่อนี้พูดเอาไว้ อย่างนี้เรียกว่าหลังอิงต้นโพธิ์ เมื่อสนทนาธรรมหรือแสดงธรรมกับใครก็ตาม จงแสดงถึงความอัศจรรย์ของธรรม จงแสดงถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าแสดงว่าข้าพเจ้านี้เป็นบุคคลอัศจรรย์ที่แสดงธรรมได้ลึกซึ้ง เพราะแม้ตอนนี้เราเข้าใจธรรมลึกซึ้งในระดับหนึ่งแล้ว แต่อย่าลืมว่าเราไม่ได้คิดค้นขึ้นมาเอง เรากำลังนำธรรมของพระบรมศาสดามาแสดง เมื่อรับรู้แล้วว่าธรรมเหล่านี้มีความอัศจรรย์อย่างไร ก็ควรที่จะไปกราบไหว้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมครูของเรา

      สำหรับหลวงพ่อเอง ทุกครั้งที่มีโอกาสขึ้นแสดงธรรม จะพยายามให้ได้ประโยชน์ทั้งตัวเองและผู้ฟัง โดยจะพยายามเจาะลึกธรรมเข้าสู่ภาคปฏิบัติให้ได้ คุณยายสอนวิธีแสดงธรรมหรือวิธีเทศน์ให้หลวงพ่อว่า เรื่องที่จะเทศน์ให้นำเรื่องที่ตัวเองฝึกตัวได้แล้ว นิสัยไม่ดีที่แก้ได้ หรือที่แก้ได้บ้าง แล้วก็เอาส่วนที่ได้บ้างไปเทศน์ อย่างนี้จะไม่มีการผิดพลาดเพราะเราได้ปฏิบัติมาแล้ว เมื่อเราเคยใช้ได้ผลแล้วในระดับหนึ่ง ก็ควรที่จะแบ่งปันกันไป ใครเอาไปใช้แล้วได้ผล เราก็ได้บุญเพิ่มอีกส่วนวิธีการเทศน์ เราก็เลือกเอาวิธีการสอนของครูบาอาจารย์ที่เราเคยประทับใจการสอนของท่าน เช่น วิธีอธิบายบางอย่างของท่านนี้ดี บางอย่างท่านโน้นดี ค่อย ๆ หยิบมาทีละอย่างสองอย่างสักระยะหนึ่งเราก็จะหลอมมาเป็นบุคลิกของเราเอง ครูบาอาจารย์เหล่านั้นก็จะได้บุญกับเราด้วยที่นำวิธีการสอนของท่านมาแสดงธรรม มาถ่ายทอดธรรม

กาลที่ 4 กาลแห่งการปฏิบัติตามธรรม

      ความรู้ธรรมทั้งหมดจากการฟังธรรม สนทนาธรรม และแสดงธรรม จะบังเกิดผลได้ต้องนำไปปฏิบัติคำว่า “ปฏิบัติธรรม” นั้น มีความหมายที่กว้าง ฟังธรรมเรื่องไหนแล้วในเรื่องนั้น ๆ มีข้อที่จะต้องปฏิบัติอย่างไรก็นำไปปฏิบัติ เช่น ฟังธรรมเรื่องทาน พอฟังจบแล้วก็ไปทำทาน ฟังธรรมเรื่องศีล ฟังเสร็จแล้ว เข้าใจแล้ว ก็ทบทวนศีล แล้วก็ตั้งใจรักษาศีลให้ดี ฟังธรรมเรื่องภาวนาฟังแล้วก็ไปเจริญสมาธิภาวนา

      เมื่อภาวนามากเข้า ๆ ธรรมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นทานหรือศีล ทั้งหมดนั้นจะเนื่องเข้าหากันเป็นเนื้อเดียว คือธรรมทุกข้อจะนำเข้าสู่การภาวนา ซึ่งเป็นต้นทางแห่งการเข้าถึงธรรมภายในต้นทางแห่งการพ้นทุกข์ พบสุขแท้จริง

   เวลาทั้งหมดที่ใช้ไปเพื่อกาลทั้ง 4 นี้ เป็นเวลาเพื่อชีวิต เพื่อปิดนรก เปิดสวรรค์ สร้างเสบียงใหญ่ไปนิพพาน เมื่อเราได้ใช้เวลาที่มีในชีวิตนี้ไปกับเรื่องสำคัญ เรื่องที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวของเราทั้งในปัจจุบันชาติ ชาติหน้า ชาติต่อ ๆ ไป จนถึงที่สุดแห่งธรรมได้ นั่นคือเราได้ใช้ทรัพย์ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด ตามเยี่ยงอย่างที่ผู้มีบุญ ผู้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ในกาลก่อนได้ประพฤติปฏิบัติมา

http://goo.gl/4niEpf


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related