อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 1

“ ธุดงค์ ” แปลว่า...องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส หมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติที่มีความเข้มงวดเป็นพิเศษ ที่จะช่วยกำจัดกิเลสให้หลุดร่อนออกไปจากใจได้อย่างดีเยี่ยม https://dmc.tv/a13018

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ช่วงเด่นฝันในฝัน
[ 4 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18278 ]
ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2555
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 1


อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 1
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
 
 
ประพฤติปฏิบัติธรรม  เจริญสมาธิภาวนา    
ประพฤติปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิภาวนา
 
        ธุดงค์ปีใหม่ถือเป็นกิจกรรมบุญบันเทิงที่เรา จะได้มาร่วมกันแสวงหาความสุขที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างง่ายๆ   ด้วยการตั้งใจมาประพฤติปฏิบัติธรรม  เจริญสมาธิภาวนา   และร่วมกิจกรรมงานบุญที่วัด   เพื่อเตรียมต้อนรับสิ่งที่ดีๆ ที่จะหลั่งไหลเข้ามาในชีวิต   ซึ่งการอยู่ธุดงค์ปีใหม่ในปีนี้...ลูกๆ ทุกคนก็จะได้มาร่วมกันสั่งสมบุญใหญ่   เพื่อเป็นเฉลิมฉลองต้อนรับศักราชใหม่แห่งปีมะโรง (จะเฮงใหญ่)   นั่นก็คือ...การทำบุญทอดผ้าป่าธรรมชัย นั่นเอง
 
        นอกจากลูกๆ จะได้บุญใหญ่จากการมาอยู่ธุดงค์และทอดผ้าป่าธรรมชัยกันแล้ว   ลูกๆ ทุกคนก็ยังจะได้บุญใหญ่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน   ด้วยการร่วมกันต้อนรับพุทธบุตรคณะพระธุดงค์จำนวน 1,127 รูป  ซึ่งจะเดินธุดงค์เป็นปฐมเริ่มในเส้นทางมหาปูชนียาจารย์อีกด้วย (เรียกได้ว่า...การเปิดศักราชปีใหม่ปีนี้   ลูกๆ ทุกคนจะได้รับบุญใหญ่กันหลายชั้นเลยทีเดียว)

 
“ ธุดงค์ ” แปลว่า...องค์คุณเครื่องกำจัด 
“ ธุดงค์ ” แปลว่า...องค์คุณเครื่องกำจัด
 
        และเมื่อลูกๆ ได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเรื่องการอยู่ธุดงค์และการเดินธุดงค์กันแล้ว   ลูกๆ ก็คงอยากที่จะทราบว่า การอยู่ธุดงค์และการเดินธุดงค์ซึ่งจะต้องถือธุดงควัตรนั้นได้อานิสงส์อย่างไร แต่ก่อนที่คุณครูไม่ใหญ่จะเล่าถึงอานิสงส์ดังกล่าว เราก็มาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของการถือธุดงควัตรกันก่อน คำว่า  “ ธุดงค์ ”  แปลว่า...องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส หมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติที่มีความเข้มงวดเป็นพิเศษ   ที่จะช่วยกำจัดกิเลสให้หลุดร่อนออกไปจากใจได้อย่างดีเยี่ยม
     
ฝึกให้เราเป็นผู้รักความสงบ   
ฝึกให้เราเป็นผู้รักความสงบ
                 
ซึ่งวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรนั้น ก็เป็นไปเพื่อ
 
 1. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย
 2. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษ
 3. ฝึกให้เราได้ขัดเกลากิเลสให้เบาบาง
 4. ฝึกให้เราเป็นผู้รักความสงบ 
 5. ฝึกให้เราเป็นผู้รักการแสวงหาสิ่งที่เป็นสาระที่แท้จริงของ
 ชีวิต (ซึ่งก็คือ...ธรรมะหรือ พระธรรมกายภายใน นั่นเอง)
 
 
การถือธุดงควัตรนี้ก็ไม่ได้ถูกจำกัดเอาไว้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์   
การถือธุดงควัตรนี้ก็ไม่ได้ถูกจำกัดเอาไว้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์
 
        สำหรับเรื่องการถือธุดงควัตรนี้ก็ไม่ได้ถูกจำกัดเอาไว้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์  แม้คฤหัสถ์ก็สามารถที่จะปฏิบัติได้เป็นบางข้อตามความเหมาะสมกับตัวเอง   แต่การถือธุดงควัตรสำหรับคฤหัสถ์จะต้องปฏิบัติอย่างไรนั้น   เราควรที่จะมาทำความรู้จักกับข้อปฏิบัติของธุดงควัตรทั้งหมดกันก่อน
 
        ธุดงควัตรนั้นมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 ข้อ  และแต่ละข้อก็ยังแบ่งออกเป็น 3 ระดับ (สำหรับผู้ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์  อย่างกลาง  และอย่างเบา) ดังต่อไปนี้คือ
 
1. ปังสุกูลิกังคะ  คือ
 
        การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร   หมายถึง การใช้แต่ผ้าที่ไม่มีเจ้าของ  หรือผ้าที่เขาทิ้งเอาไว้ตามที่ต่างๆ  เช่น ตามกองขยะ หรือข้างถนน เป็นต้น เท่านั้น โดยจะไม่ใช้ผ้าที่ทายกถวายเป็นอันขาด
 
 
 จะใช้แต่ผ้าที่เขาทิ้งเอาไว้ในป่าช้าหรือผ้าที่ห่อศพเท่านั้น
 จะใช้แต่ผ้าที่เขาทิ้งเอาไว้ในป่าช้าหรือผ้าที่ห่อศพเท่านั้น
 
       โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ (หรือ อย่างเข้มงวด) จะใช้แต่ผ้าที่เขาทิ้งเอาไว้ในป่าช้าหรือผ้าที่ห่อศพเท่านั้น สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง จะใช้ผ้าที่ผู้มีบุญทอดเอาไว้ด้วยความตั้งใจว่า... “ เมื่อพระภิกษุผ่านมาเห็น    จะถือเอาผ้านี้ไปใช้เป็นจีวร ” ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะรับผ้าที่ผู้มีบุญได้มาวางทอดไว้ที่ใกล้เท้าได้
 
 
ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะรับผ้าที่ผู้มีบุญได้มาวางทอดไว้ที่ใกล้เท้าได้
ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะรับผ้าที่ผู้มีบุญได้มาวางทอดไว้ที่ใกล้เท้าได้
 
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น ก็เป็นไปเพื่อ
 
1. ไม่ต้องลำบากในการรักษาจีวร และไม่ต้องกลัวโจรผู้ร้ายจะมาขโมยจีวรไป  
2. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อยและสันโดษ  คือมีความยินดีในจีวรที่ตัวเองหามาได
3. เป็นต้นบุญต้นแบบที่ดีงามแก่อนุชนรุ่นหลัง  เป็นต้น
  
การถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร  หมายถึง การใช้ผ้าแค่เพียงสามผืนเท่านั้น
การถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร หมายถึง การใช้ผ้าแค่เพียงสามผืนเท่านั้น
2. เตจีวะริกังคะ  คือ
 
        การถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร  หมายถึง การใช้ผ้าแค่เพียงสามผืนเท่านั้น (ได้แก่...ผ้าสบง, จีวร และสังฆาฏิ) โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ (หรือ...อย่างเข้มงวด) เมื่อจะทำการย้อมผ้า ก็จะนำเอาจีวรที่ยังไม่ได้ย้อมมานุ่งห่ม เพื่อทำการย้อมผ้าสบงเป็นอันดับแรกเมื่อย้อมผ้าสบงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำผ้าสบงที่ย้อมแล้วมานุ่ง เพื่อทำการย้อมผ้าจีวรต่อไป เมื่อย้อมผ้าทั้งสองเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยย้อมผ้าสังฆาฏิเป็นลำดับสุดท้าย
 
        สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง เมื่อจะทำการย้อมผ้าในโรงย้อม จะนุ่งห่มจีวร (ซึ่งเป็นของส่วนกลาง) ที่มีอยู่ในโรงย้อม แล้วก็ทำการย้อมผ้าไตรจีวรของตัวเอง ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา เมื่อจะทำการย้อมผ้า จะนุ่งห่มจีวรของพระเพื่อนหรือใช้ผ้าอื่นๆ  เช่น ผ้าปูนอน  ที่มีอยู่ในที่พักมานุ่งห่ม เป็นต้น ก็ได้ จากนั้น ก็ทำการย้อมผ้าไตรจีวรของตัวเอง 
 
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตรนั้น ก็เป็นไปเพื่อ
 
1. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษ  หรือ...มีความยินดีในสิ่งที่ตนเองมีอยู่   และเมื่อเรามีความสันโดษแล้ว...ก็จะทำให้เราไปไหนมาไหนได้โดยสะดวกและไม่มีความกังวล (ประดุจดั่งนกน้อยที่โผบินไปในอากาศ ฉะนั้น)
2. ฝึกให้เราเป็นผู้ไม่สะสมผ้า
3. กำจัดความโลภ (หรือ...ความอยากได้) อติเรกจีวร (หรือ...จีวรที่นอกเหนือจากผ้าไตรจีวรทั้ง 3 ผืน)
4. ฝึกให้เราเป็นผู้รู้จักประมาณในการใช้สอย
5. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย   เป็นต้น

การถือบิณฑบาตเป็นวัตร   หมายถึง...การฉันภัตตาหารที่ได้รับมาจากการบิณฑบาตเท่านั้น
การถือบิณฑบาตเป็นวัตร หมายถึง...การฉันภัตตาหารที่ได้รับมาจากการบิณฑบาตเท่านั้น
 
 
3. ปิณฑะปาติกังคะ  คือ
 
        การถือบิณฑบาตเป็นวัตร   หมายถึง...การฉันภัตตาหารที่ได้รับมาจากการบิณฑบาตเท่านั้นโดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ (หรือ...อย่างเข้มงวด) จะรับภัตตาหารเฉพาะในช่วงที่ออกเดินบิณฑบาตเท่านั้น สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง   เมื่อนั่งและลงมือฉันภัตตาหารแล้ว ก็ยังสามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมในระหว่างที่ฉันได้ ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา ถ้าหากมีญาติโยมมานิมนต์ให้ไปรับบิณฑบาตในวันถัดไป ก็สามารถที่จะรับนิมนต์ของญาติโยมได้  

จะรับภัตตาหารเฉพาะในช่วงที่ออกเดินบิณฑบาตเท่านั้น 
จะรับภัตตาหารเฉพาะในช่วงที่ออกเดินบิณฑบาตเท่านั้น
 
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้นก็เป็นไปเพื่อ

1. ขจัดความเกียจคร้านให้หมดไป (คือ...พระภิกษุที่ถือธุดงควัตรข้อนี้จะต้องตื่นแต่เช้าเพื่อบิณฑบาตไปโปรดญาติโยม)
2. เพื่อจะได้เป็นเนื้อนาบุญให้แก่ผู้มีบุญทั้งหลายโดยไม่จำกัดตระกูลและไม่เลือกชนชั้นวรรณะ
3. กำจัดมานะ (หรือ...ความถือตัว) ที่มีอยู่ในตน (เช่น...จากที่ตัวเองเคยได้ฉันภัตตาหารที่ประณีต   แต่ก็ยอมที่จะฉันภัตตาหารเท่าที่ได้มาจากบิณฑบาต   ซึ่งบางครั้งก็น้อย   บางครั้งก็มาก   บางครั้งอาจจะประณีต   หรือบางครั้งอาจจะไม่ประณีตก็ได้  เป็นต้น)
4. เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติอาหาร  คือ...อร่อยหรือไม่อร่อยก็ฉัน   แล้วก็จะฉันเท่าที่บิณฑบาตมาได้เท่านั้น
5. เพิ่มพูนนิสัยที่ดีงามที่มีอยู่ในตัวเราให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
6. เพื่อเป็นต้นบุญต้นแบบที่ดีงามแก่อนุชนรุ่นหลัง  เป็นต้น

การรับบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านโดยไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง
การรับบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านโดยไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง
 
 4. สะปะทานะจาริกังคะ  คือ
 
        การถือบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร   หมายถึง...การรับบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านโดยไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง   ไม่ว่าจะเป็น...บ้านของคนจนหรือบ้านของคนรวย  เป็นต้น โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ (หรือ...อย่างเข้มงวด) จะรับบิณฑบาตที่หน้าบ้านของญาติโยมเท่านั้น (คือ...ไปถึงบ้านไหนก็จะรับที่บ้านนั้น)   สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง   สามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมในระหว่างทางที่กำลังเดินบิณฑบาตหรือกำลังเดินกลับวัดได้ ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา   สามารถที่จะนั่งคอยเพื่อรอรับภัตตาหารจากญาติโยมได้ 
 
รับภัตตาหารจากญาติโยมในระหว่างทางที่กำลังเดิน 
ปฏิบัติอย่างกลาง สามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมในระหว่างทางที่กำลังเดินบิณฑบาตหรือกำลังเดินกลับวัดได้
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตรนั้นก็เป็นไปเพื่อ

1. ฝึกให้เราไม่ติดในตระกูลทั้งหลาย  
2. เพื่อจะได้เป็นเนื้อนาบุญให้แก่ผู้มีบุญทั้งหลายอย่างเท่าเทียมกัน...โดยไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง
3. ช่วยขจัดความตระหนี่ของมหาชนที่อยู่ในตระกูลทั้งหลาย
4. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย   เป็นต้น
 
ส่วนว่า...ธุดงควัตรข้อต่อไปจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรนั้น   เราก็คงจะต้องมาติดตามกันต่อในตอนต่อไป
 
 
 
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 
 
อานุภาพพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ
 
 
 
 

http://goo.gl/Y52Lu


พิมพ์บทความนี้

ไปหน้าทบทวนฝันในฝัน



บทความอื่นๆ ในหมวด

      กิจกรรมพัฒนาวัดพิชิตปิตยาราม ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
      กิจกรรมพัฒนาวัดอู่ข้าว ต.คลอง 7 จ.ปทุมธานี
      อานุภาพบุญจากการมาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนที่ 1
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ได้ตึก 18 ล้านแค่เพียงกระพริบตา
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ความทรงอภิญญาของคุณยายฯที่ผมเจอกับตัวเอง
      ประกาศผลสุดยอดสามเณรแสดงธรรมระดับโลก
      เปิดใจสามเณรแชมป์แสดงธรรมระดับภาค ชิงชัยสู่เวทีแสดงธรรมระดับโลก
      ซุปเปอร์บิ๊กบุญ ตักบาตรแสนรูป ครั้งประวัติศาสตร์
      เส้นทางสามเณร สู่เวทีแชมป์เทศน์ระดับโลก
      เล่าเรื่องคุณยาย ตอน เรื่องเหลือเชื่อของการบูชาข้าวพระที่คุณยายฯฝากไว้
      บวชเณรล้านตักบาตรแสน สานฝันคุณยาย สร้างพระแท้
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน แค่มองหน้า..ก็รู้ทั้งหมด
      แฝด 4 บวชเณรล้านอ่างทองทำลายสถิติโลก