ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม ตอนที่ 3

ขณะนี้ส่วนหน้าของมวลน้ำยักษ์ที่ระบายผ่านประตูน้ำต่างๆกำลังดาหน้าเข้าโจมตีกรุงเทพฯ ไม่มีทำนบใดกั้นอยู่ ยกเว้นทำนบกั้นคลองระพีพัฒน์ https://dmc.tv/a12465

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ช่วงเด่นฝันในฝัน > ปกิณกธรรม > นานาสาระ
[ 27 ต.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18745 ]
View this page in: English

ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2554
ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม ตอนที่ 3
 
 
 
 
สถานการณ์น้ำท่วม คลองระพีพัฒน์
ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม ตอนที่ 3
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
 
        ขณะนี้ส่วนหน้าของมวลน้ำยักษ์ที่ระบายผ่านประตูน้ำต่างๆ กำลังดาหน้าเข้าโจมตีกรุงเทพฯเขตชั้นในลึกขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ไม่มีทำนบใดกั้นอยู่ ยกเว้นทำนบกั้นคลองระพีพัฒน์ เพราะทำนบกั้นคลองระพีพัฒน์ยาด้วยกาวใจที่ผนึกกำลังกันอย่างเหนียวแน่น ระหว่างพระภิกษุ, สามเณร, อุบาสก, อุบาสิกา, ผู้นำบุญ, อาสาสมัคร, พนักงานวัดพระธรรมกาย ร่วมกับชาวคลองหลวง และหน่วยงานทางราชการ
 
ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม, สถานการณ์น้ำท่วมคลองระพีพัฒน์
 
พระภิกษุ, สามเณร ร่วมแรงร่วมใจกันป้องกันอุทภัยครั้งนี้อย่างเต็มที่
 
ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม, สถานการณ์น้ำท่วมคลองระพีพัฒน์
 
ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน ป้องกันอุทกภัยในครั้งที่ทั้งกลางวันและกลางคืน
 
        ดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า...
 
1. ต้นแหล่งของมวลน้ำยักษ์นี้ มาจากทุ่งอยุธยาที่ไหลบ่าข้ามถนนพหลโยธิน ช่วงกิโลเมตรที่ 55-79 ปริมาณน้ำที่ไหลบ่าข้ามมา ประมาณวันละกว่า 100 ล้านคิว (1 คิว = 1 ลูกบาศก์เมตร) สถานีสูบน้ำจุฬาลงกรณ์ที่รังสิตสามารถสูบน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้เพียงวันละ 10 ล้านคิว คิดเป็นเพียง 1 ใน 10 ของน้ำเหนือที่ไหลบ่าข้ามถนนพหลโยธินลงมา แม้ชาวคลองหลวงจะช่วยกันรักษาทำนบกั้นคลองระพีพัฒน์ยันมวลน้ำก้อนใหญ่เอาไว้ได้ แต่เพียงแค่เศษน้ำที่ระบายผ่านประตูน้ำพระอินทร์และประตูน้ำคลองหนึ่งถึงคลองหก ก็ทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมรังสิตแล้ว เพราะมีปริมาณมากกว่าที่จะสูบลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ถึง 10 เท่า นี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำเอ่อล้นไหลบ่าไปท่วม คูคต, สายไหม, ดอนเมือง (ขณะนี้ท่วมเข้ารันเวย์สนามบินแล้ว), บางเขน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ลาดพร้าว และกำลังมุ่งหน้าไหลบ่าเข้าสู่กรุงเทพมหานคร
 
ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม, สถานการณ์น้ำท่วมคลองระพีพัฒน์
 
อุทกภัยในครั้งนี้ ถือเป็นอุทภัยครั้งร้ายแรงที่สุดของประเทศไทย ในรอบ 50 ปี
 
2. หากเรากั้นมวลน้ำจากทางเหนือไม่ให้ไหลบ่าข้ามถนนพหลโยธินลงมาได้ ภายใน 24 ชั่วโมงก็จะสามารถทยอยปิดประตูน้ำต่างๆได้ ทำให้ควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้ไหลลงไปมากเกินความสามารถของสถานีสูบน้ำออกแม่น้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำที่ท่วมรังสิต, คูคต, สายไหม, ดอนเมือง, และมุ่งเข้ากรุงเทพฯเขตชั้นใน จะเริ่มลดลง มหันตภัยที่กำลังคุกคามกรุงเทพฯเขตชั้นใน ซึ่งเป็นหัวใจของประเทศก็จะถูกควบคุมและขจัดไปได้
 
ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม, สถานการณ์น้ำท่วมคลองระพีพัฒน์
 
อุทกภัยในครั้งนี้ ถือเป็นอุทภัยครั้งร้ายแรงที่สุดของประเทศไทย ในรอบ 50 ปี
 
3. เมื่อทางรัฐบาลได้ทราบถึงต้นเหตุต้นแหล่งของมวลน้ำที่ไหลบ่าเข้าโจมตีกรุงเทพฯเขตชั้นในอยู่ในขณะนี้ จึงได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการกู้ถนนพหลโยธิน ช่วงกิโลเมตรที่ 55-79 ซึ่งจะได้ประโยชน์ถึง 3 ทาง กล่าวคือ
 
        3.1. สกัดมวลน้ำไม่ให้ไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพมหานครอีก ซึ่งเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครจะคลี่คลายอย่างรวดเร็ว สามารถรักษากรุงเทพฯเขตชั้นใน ซึ่งเป็นหัวใจของประเทศได้
 
        3.2. เมื่อกู้ถนนพหลโยธิน ซึ่งเป็นเส้นทางหลักสายเหนือของประเทศ ทำให้การลำเลียงอาหาร, น้ำ, ยา และความช่วยเหลือต่างๆไปสู่ผู้ประสบอุทกภัย ทำได้สะดวก (การขนส่งทางอากาศหรือทางเรือ ทำได้น้อยกว่ามาก เมื่อเทียบกับการขนส่งทางรถยนต์)
 
        3.3. ทำให้การขนส่งสินค้า การสัญจรของประชาชนดำเนินไปได้ ธุรกิจต่างๆ เริ่มขับเคลื่อน  คนจะได้มีงานทำ เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวม
 
4. เนื่องจากทางรัฐบาล มีภารกิจที่ต้องดูแลพื้นที่ต่างๆมากมาย ทางกระทรวงคมนาคมจึงได้ขอความร่วมมือจากทางวัดพระธรรมกาย ให้ระดมกำลังพระภิกษุ, สามเณร และประชาชน ประสานการทำงานกับหน่วยงานทางราชการ ร่วมกันกอบกู้ถนนพหลโยธิน ตัดเส้นทางน้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมกรุงเทพมหานครให้เร็วที่สุด โดยทางราชการได้ระดมเครื่องจักรหนัก เช่น รถเครน (เพื่อยกตู้คอนเทนเนอร์และถุงทรายยักษ์ วางบนพื้นถนนเพื่อขวางทางน้ำในเขตน้ำลึก) และขอให้ทางวัดพระธรรมกายระดมกำลังภาคประชาชน ช่วยกันนำกระสอบทรายขนาดเล็ก และบ่อวงซีเมนต์ ทำเป็นทำนบกั้นน้ำในช่วงที่ระดับน้ำมีความลึกไม่มาก
 
5. เมื่อวานนี้ (วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2554) กองทัพพลังประชาชน ทั้งพระภิกษุ, สามเณร, พี้น้องประชาชน จำนวนประมาณ 1,000 คน ได้กรีฑาทัพเข้าสู่สมรภูมิ เพื่อร่วมกันต้านภัยจากมวลน้ำขนาดยักษ์ด้วยความมุ่งมั่น ช่วยกันคนละไม้คนละมือ เนรมิตทำนบกั้นน้ำยาวหลายร้อยเมตรขึ้น ภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง ความรวดเร็วของภารกิจนี้ เปรียบได้กับกองทัพหนุมานจองถนนไปกรุงลงกาเลยทีเดียว ทุกคนทำงานด้วยหัวใจเกินร้อย เพราะต่างรู้ดีว่า “ตนกำลังทำภารกิจสำคัญ เพื่อกอบกู้กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวใจของประเทศ”
 
6. เมื่อเสร็จภารกิจขั้นต้น และได้เดินทางกลับแล้ว ภายหลังได้ทราบว่า มีผู้ที่พักอาศัยอยู่เหนือน้ำบางคน ไม่พอใจที่เมื่อกั้นน้ำไม่ให้ข้ามถนนพหลโยธินแล้ว ทำให้น้ำในบริเวณที่ตนเองพักอาศัยอยู่ เอ่อสูงขึ้น (ตามความเป็นจริงแล้ว ก็คงจะสูงขึ้นประมาณ 10-20 เซนติเมตรเท่านั้น เพราะพื้นที่เหนือน้ำกว้างหลายหมื่นตารางกิโลเมตร) มีผู้มาชุมนุมประท้วงกันประมาณ 30-40 คน และบังคับให้เครื่องจักรหนักของทางราชการหยุดทำงาน เรื่องนี้เราเข้าใจได้ว่า ผู้ที่อาศัยอยู่เหนือน้ำ ได้ถูกน้ำท่วมมาหลายวันคงจะเครียด เมื่อมีอะไรที่มากระทบก็ทำให้ไม่พอใจได้ง่าย เพียงแต่ปัญหาอุทกภัยครั้งนี้เป็นมหันตภัยที่คุกคามประเทศไทยของเราอย่างร้ายแรง การแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจและความเสียสละของทุกฝ่าย การจะดำเนินการแก้ไขเรื่องใดๆก็จะต้องมีผู้ได้รับผลกระทบอยู่บ้าง ขอให้ดูภาพรวมของประเทศ และทางรัฐบาลควรจะได้มีการเยียวยาช่วยเหลือผู้อยู่เหนือน้ำมากเป็นพิเศษ ถ้าพวกเราชาวไทยทุกฝ่ายเข้าใจและช่วยกันอย่างนี้ ปัญหาจะใหญ่แค่ไหน เราก็จะร่วมใจสามัคคีเอาชนะได้
 
7. ภารกิจการสกัดกั้นมวลน้ำที่ต้นแหล่งที่ไหลบ่าข้ามถนนพหลโยธิน ตอนนี้ก็คงต้องรอทางราชการทำความเข้าใจกับประชาชน เนื่องจากทางราชการเป็นหลักในการดำเนินการ ส่วนชาววัดพระธรรมกายก็จะยืนหยัดรักษาทำนบกั้นคลองระพีพัฒน์ช่วงคลองหนึ่งถึงคลองสามไว้ เพื่อยันมวลน้ำยักษ์ใหญ่ ลดผลกระทบที่มีต่อกรุงเทพมหานครให้เหลือน้อยที่สุด พร้อมกับผลิตอาหาร, น้ำดื่ม, ยา, ของใช้ที่จำเป็น วันละหลายหมื่นชุด ออกช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยอย่างเต็มกำลังต่อไป
 
 ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม, สถานการณ์น้ำท่วมคลองระพีพัฒน์
 
วัดพระธรรมกายจัดเตรียมอาหารพร้อมรับประทาน นำออกไปช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน
จากภัยน้ำท่วม ทุกวัน วันละหลายหมื่นชุด อย่างต่อเนื่อง
 
 ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม, สถานการณ์น้ำท่วมคลองระพีพัฒน์
 
วัดพระธรรมกายจัดเตรียมอาหารพร้อมรับประทาน นำออกไปช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน
จากภัยน้ำท่วม ทุกวัน วันละหลายหมื่นชุด อย่างต่อเนื่อง
 
ศูนย์ประสานงานป้องกันอุทกภัยวัดพระธรรมกาย
วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2554
 

บทความ "ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม"
ชาวคลองหลวงร่วมใจป้องกันภัยน้ำท่วม ตอนที่ 8  - กู้ถนนช่วยชาวบ้าน เปิดทางกฐิน


รับชมวีดีโอ ประมวลภาพ ร่วมแรงใจต้านภัยน้ำท่วม

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 

http://goo.gl/zVRau


พิมพ์บทความนี้

ไปหน้าทบทวนฝันในฝัน



บทความอื่นๆ ในหมวด

      กิจกรรมพัฒนาวัดพิชิตปิตยาราม ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
      กิจกรรมพัฒนาวัดอู่ข้าว ต.คลอง 7 จ.ปทุมธานี
      อานุภาพบุญจากการมาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนที่ 1
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ได้ตึก 18 ล้านแค่เพียงกระพริบตา
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ความทรงอภิญญาของคุณยายฯที่ผมเจอกับตัวเอง
      ประกาศผลสุดยอดสามเณรแสดงธรรมระดับโลก
      เปิดใจสามเณรแชมป์แสดงธรรมระดับภาค ชิงชัยสู่เวทีแสดงธรรมระดับโลก
      ซุปเปอร์บิ๊กบุญ ตักบาตรแสนรูป ครั้งประวัติศาสตร์
      เส้นทางสามเณร สู่เวทีแชมป์เทศน์ระดับโลก
      เล่าเรื่องคุณยาย ตอน เรื่องเหลือเชื่อของการบูชาข้าวพระที่คุณยายฯฝากไว้
      บวชเณรล้านตักบาตรแสน สานฝันคุณยาย สร้างพระแท้
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน แค่มองหน้า..ก็รู้ทั้งหมด
      แฝด 4 บวชเณรล้านอ่างทองทำลายสถิติโลก