ธุดงค์ธรรมชัย สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ เพื่อฟื้นฟูจิตใจ สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน

เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ครั้งนี้ คือเส้นทางที่พระนักปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกายใช้เป็นเส้นทาง เดินธุดงค์ธรรมชัยเพื่อแสวงบุญและตรึกลำรึกถึงคุณอนันต์ยิ่งของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ https://dmc.tv/a12902

บทความธรรมะ Dhamma Articles > มหาปูชนียาจารย์
[ 23 ธ.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18258 ]
View this page in: English
 
ธุดงค์ธรรมชัย 6 จังหวัด – 365 กิโลเมตร
ต้อนรับปีพุทธศักราชใหม่ 2555
ปัดเป่าผองภัย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
 
 
 
 
“ สมณานัญจะ ทัสสะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
การได้เห็นสมณะ เป็นมงคลอันสูงสุด ”

 
 
ธุดงค์ธรรมชัย สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
เพื่อฟื้นฟูจิตใจ สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
 
1. หลักการและเหตุผล 

        ด้วยชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ร่วมกับ กรมการศาสนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษากว่า 7,000 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั่วประเทศ ได้จัดโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก ครั้งที่ 6 เพื่อสร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม (V-Star) ที่มีคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ และเป็นพุทธศาสนิกชน ถวายเป็นพุทธบูชา โดยผ่านบทฝึกในกิจวัตรประจำวันอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัยควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม และการเรียนรู้เรื่องพระรัตนตรัย โดยความร่วมมือของสถาบันหลักในสังคมไทย คือ บ้าน วัด และโรงเรียน เพื่อปลูกฝังลงสู่เยาวชนต้นแบบ ขยายผลสู่เพื่อน เยาวชน คนรอบข้าง สังคมไทย และสังคมโลกต่อไป

        อนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้ประสบปัญหาอุทกภัยขึ้นในหลายจังหวัด ส่งผลให้เศรษฐกิจและจิตใจของประชาชนได้รับความกระทบกระเทือน โดยเฉพาะในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ อยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ดังนั้น คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน ร่วมกับชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ และองค์กรภาคี 24 องค์กร จึงได้ร่วมกันจัด กิจกรรมเดินธุดงค์ธรรมชัย ในระหว่างวันที่ 2-25 มกราคม พ.ศ.2555 ในพื้นที่ 6 จังหวัดดังกล่าว โดยพระสงฆ์ทั่วประเทศ จำนวน 1,127 รูป เพื่อให้นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัดดังกล่าวได้มาร่วมทำกิจกรรมต้อนรับพระธุดงค์ และปฏิบัติธรรม เพื่อปลุกกระแสศีลธรรม ขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ อุปสรรคต่างๆ เสริมสร้างความเป็นสิริมงคล ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจ รวมทั้งยังได้ปลูกฝังให้นักเรียน และประชาชนได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่ยกระดับความคิด และจิตใจให้สูงส่งด้วยศีลธรรม ฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธให้กลับคืนสู่บ้าน วัด โรงเรียน อย่างยั่งยืน ฝึกให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามหลักธรรม “อปจายนมัย” ของพระพุทธเจ้า ทำให้สังคมไทย สงบสุข ยั่งยืนด้วยบารมีธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

2. วัตถุประสงค์

  1. สร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรมที่มีคุณธรรมพื้นฐาน และเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง และพัฒนาสู่การเป็นกลุ่ม/เครือข่ายผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม ถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
  2. เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านศีลธรรมให้แก่เครือข่ายบ้าน วัด โรงเรียน ในทุกระดับของสังคม ทั่วประเทศ
  3. ฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธที่ดีงามกลับคืนสู่สังคมไทย ให้สมกับที่นานาประเทศเลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก
  4. ปลุกกระแสศีลธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และความเป็นสิริมงคลในกับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติธรรมชาติ

3. เป้าหมาย

ปริมาณ

  • พระภิกษุเดินธุดงค์ 1,127 รูป
  • นักเรียน ประชาชน ในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมประมาณร้อยละ 40

คุณภาพ

  • เกิดกลุ่มผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม มีผลงานด้านศีลธรรมร่วมกับชุมชน อย่างน้อย 2 กิจกรรม และเกิดวัดคู่พัฒนาศีลธรรมกับโรงเรียนอย่างน้อยโรงเรียนละ 1 วัด

4. ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน
  2. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
  3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
  4. หน่วยงานทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการ
  5. โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ
  6. ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

5. ระยะเวลาดำเนินการ

  • เตรียมงาน วันที่ 10 ธันวาคม 2554 – 1 มกราคม พ.ศ.2555
  • พระภิกษุเดินธุดงค์ธรรมชัย วันที่ 2 – 25 มกราคม พ.ศ.2555
  • นักเรียน ประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม วันที่ 2 – 25 มกราคม พ.ศ.2555

6. สถานที่

พื้นที่ประสบภัยพิบัติ 6 จังหวัด ได้แก่ อยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

7. วิธีการดำเนินการ

  1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา โรงเรียน และสถาบันการศึกษา ประชาชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ประชาชน/โรงเรียน/สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ปฐมนิเทศ รับชุดสื่อการเรียนรู้ คู่มือการทำกิจกรรมต้อนรับพระธุดงค์
  3. ร่วมกันทำกิจกรรมต้อนรับพระธุดงค์ โปรยกลีบดอกกุหลาบตามเส้นทางพระธุดงค์ และปฏิบัติธรรม
  4. ขยายเครือข่ายด้านศีลธรรมในโรงเรียน วัด และชุมชน

8. ผู้อุปถัมภ์โครงการ

พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย

9. ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ

องค์กรภาคี 24 องค์กร

  1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
  3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  6. สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  7. สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
  8. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ
  9. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  10. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
  11. กรมการศาสนา
  12. กรมประชาสัมพันธ์
  13. สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
  14. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม
  15. มูลนิธิร่มเกล้าเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
  16. มูลนิธิธรรมกาย
  17. สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย
  18. สมาคมเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์แห่งประเทศไทย
  19. สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว
  20. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  21. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  22. คุรุสภา
  23. สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อเยาวชน
  24. ชมรมพุทธศาสตร์สากล

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดเครือข่ายและผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม ที่มีคุณธรรมพื้นฐานและเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง
  2. เครือข่ายบ้าน วัด และโรงเรียน ในทุกระดับของสังคม เกิดความเข้มแข็งทางศีลธรรม
  3. หน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษา เกิดพลังในการขับเคลื่อนงานด้านศีลธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม
  4. วัฒนธรรมชาวพุทธที่ดีงามกลับคืนสู่สังคมไทย ตลอดจนมาตรฐานศีลธรรมของเยาวชนไทย เยาวชนโลก และพลโลกถูกยกระดับให้สูงขึ้น
  5. ประชาชนเกิดกระแสศีลธรรมขึ้นในใจ เกิดความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต มีกำลังใจในการทำสิ่งที่ดีงามต่อตนเอง และประเทศชาติ
 
 
 
การเดินธุดงค์ธรรมชัย คือ การเดินตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การเดินธุดงค์ธรรมชัย คือ การเดินตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
        การเดินธุดงค์ธรรมชัย คือ การเดินตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น Super Big Cleaning ทางใจอย่างแท้จริง เพราะจำกำจัดบาป อกุศล สิ่งสกปรก วิบากกรรม วิบากมารให้หมดสิ้นไป เพราะได้เดินบนเส้นทางพระผู้ปราบมาร ผู้มีส่วนในบุญนี้ทั้งหมด ทั้งพระ ทั้งโยม ทั้งเด็กดี V-Star ที่จะมาคอยต้อนรับคณะพระธุดงค์ด้วยการโปรยกลีบกุหลาบบูชาพระรัตนตรัย ล้วนได้บารมี 10 ทัศทั้งสิ้น
 
 
การเดินธุดงค์ธรรมชัย ระหว่างวันที่ 2 – 25 มกราคม พ.ศ.2555 มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
 
 
1. เพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
 
        เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ คือ เส้นทางของสถานที่สำคัญ 6 แห่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย พระผู้ปราบมาร ได้แก่
 
1. สถานที่เกิดรูปกายเนื้อ: อนุสรณ์สถาน มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
2. สถานที่เกิดในเพศสมณะ: วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
3. สถานที่เกิดรูปกายธรรม (ธรรมกาย): วัดโบสถ์บน บางคูเวียง จังหวัดนนทบุรี
4. สถานที่เผยแผ่วิชชาธรรมกาย (หลังบรรลุธรรมครั้งแรก): วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
5. สถานที่ทำวิชชาปราบมาร (จนกระทั่งละสังขาร): วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
6. สถานที่สืบสานวิชชาธรรมกาย (เผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ไปทั่วโลก): วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี
 
        เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ครั้งนี้ คือเส้นทางที่พระนักปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกายใช้เป็นเส้นทาง เดินธุดงค์ธรรมชัยเพื่อแสวงบุญและตรึกลำรึกถึงคุณอนันต์ยิ่งของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)ที่ท่านได้ค้นพบวิชชาธรรมกาย และการเดินธุดงค์ธรรมชัยในครั้งนี้ เพื่อแสวงหาสิ่งที่มีความสำคัญทางจริยธรรมต่อจิตใจ เพราะถือว่าได้เดินตามรอยของมหาปูชนียาจารย์
 
        เป็นการเดินทางไปยังเส้นทางที่มีความสำคัญต่อความความศรัทธาของพระธุดงค์ธรรมชัยในครั้งนี้ และทุกๆเส้นทางและทุกๆย่างก้าวของพระธุดงค์ธรรมชัยทุกท่านจะเดินด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้าต่อพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ถือได้ว่าการเดินธุดงค์ธรรมชัยเพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของพุทธศาสนา
 
 
2.ฟื้นฟูจิตใจ ผู้ประสบอุทกภัย
 
        ทุกเหตุการณ์อุทกภัยต่างๆที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อจิตใจของประชาชนทั้งสิ้น ความเดือดร้อนครั้งนี้ทำให้ประชาชนมีความทุกข์อยู่ในใจ ธรรมะ นั้นสามารถที่จะเยียวยาจิตใจและเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดในยามนี้ เพราะฉะนั้นการเดินธุดงค์ธรรมชัยเพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการเดินเพื่อไปปลอบชโลมจิตใจของประชาชน เพราะประชาชนสามารถออกมาต้อนรับพระธุดงค์ที่จะไปแสวงบุญในครั้ง
 
        ซึ่งสีจีวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเข้าไปช่วยชโลมจิตใจของประชาชนให้ดีขึ้น และอีกทั้งประชาชนที่จะมาคอยต้อนรับคณะพระธุดงค์ด้วยการโปรยกลีบกุหลาบบูชาพระรัตนตรัย ล้วนได้บารมี 10 ทัศทั้งสิ้นเพราะฉะนั้นแล้วการเดินธุดงค์ธรรมชัยเพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ในครั้งนี้ จึงมีความสำคัญยิ่งเพราะไม่เพียงแต่ให้พระภิกษุเดินเพื่อแสวงบุญแต่การเดินครั้งนี้ยังเพื่อที่จะเข้าไปปลอบชโลมจิตใจของประชาชนให้เข้มแข็งขึ้นอีกด้วย
 
3.สืบสานธุดงควัตรของพระภิกษุ
 
        หลังออกพรรษาก็ถึงคราที่พระภิกษุสงฆ์จะเที่ยวจาริกในที่ต่าง ๆ เพื่อหาสถานที่อันสัปปายะ เพื่อเจริญสมณธรรม รวมทั้งเผยแผ่ธรรม ซึ่งเรามักจะได้ยินว่าออก “ ธุดงค์ ” และมักจะนิยมเรียกพระสงฆ์ที่จาริกไปเช่นนี้ว่า “ พระธุดงค์ ”ธุดงค์ หมายถึง องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส , ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น 
       
        เรามักจะเห็นพระธุดงค์ เดินธุดงค์จำนวนไม่มาก แต่เราก็จะมีปีติทุกครั้งที่ได้เห็น และการเดินธุดงค์ธรรมชัยเพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ในครั้งนี้จะสร้างความปีติเป็นอย่างยิ่งกับผู้ที่พบเห็นประชาชนจะเห็นทิวแถวของพระธุดงค์ธรรมชัยในครั้งนี้ที่ยาวสง่างามเป็นอย่างยิ่ง จะเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาต่อผู้พบเห็น เพราะการจาริกธุดงค์ธรรมชัยในครั้งนี้เพื่อสืบสานธุดงค์วัตรของพระภิกษุอีกด้วย เพราะสิ่งที่เราพบเห็นในปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นพระธุดงค์สักเท่าไหร่นี่คือการปูทางสว่าง เป็นการปฐมเริ่มและนี่คือยุคบุกเบิกของการสืบสานธุดงควัตรของพระภิกษุ
 
4.สร้างความสามัคคีกลมเกลียว ในชุมชน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน
 
        ในปัจจุบันยุคเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของประชาชน สิ่งที่เรามักพบเจอหรือเคยเห็นในยุคก่อนๆ ก็จะเลือนหายไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทยแล้วล้วนแล้วไม่จางหายไปกับเทคโนโลยีและการจาริกเดินธุดงค์ธรรมชัย ของพระภิกษุผู้เปี่ยมล้นไปด้วย บุญ ในครั้งนี้ก็จะตอกย้ำซ้ำเติมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาชนให้แน่นยิ่งขึ้น
 
        และการจาริกในครั้งนี้ยังผ่านไปทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชมตลอดเส้นทางเดิน สีจีวรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สีนี้จะปลูกฝังเยาวชนให้มีใจที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพราะการจาริกในครั้งนี้พระภิกษุท่านจะได้พัฒนาชุมชม พัฒนาวัด และจะสร้างความกลมเกลียวให้ชาวบ้านหันหน้าเข้าวัดและหันหน้าเข้าหาพระพุทธศาสนามากขึ้น
 
        ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการเดินธุดงค์ธรรมชัยเพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ในครั้งนี้เป็นได้ด้วยประโยชน์คุณอนันต์ มากเพียงไร การจาริกของพระภิกษุผู้เปี่ยมล้นไปด้วยความศรัทธาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกย่างก้าวที่ท่านจาริกไปจะสร้างความผาสุข ตลอดเส้นทางที่ท่านจาริกไป
 
        เพราะฉะนั้นเรียนเชิญทุกท่านออกมาต้อนรับพระธุดงค์ธรรมชัย เพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ในครั้งนี้โดยการเตรียมกลีบกุหลาบมาโปรยให้ท่านตลอดระยะเส้นทางที่ท่านจาริก บุญกุศลครั้งนี้ถือเป็นทานบารมีอันยิ่งใหญ่ท่านจะได้ร่วมสร้างบุญกับสงฆ์คณะใหญ่
 
 
เรียนเชิญออกมาต้อนรับคณะพระธุดงค์ธรรมชัยเพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
ในวันจันทร์ ที่ 2 – 25 มกราคม พ.ศ.2555
 
 
 
บทความที่เกี่ยวข้อง
 
Posted on December 23, 2011 by Chinnapat

http://goo.gl/S7AIw


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายฯ เพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 100 ปี
      ขอเรียนเชิญร่วมตอกเสาเข็มสถาปนาอนุสรณ์สถานบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559