สัมมา อะระหัง กับความหมายของคำภาวนา

ความหมายของคำว่า.. “สัมมา อะระหัง” คำว่า “สัมมา อะระหัง” เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ 2 ศัพท์ คือ “สัมมา” และ “อะระหัง https://dmc.tv/a17115

บทความธรรมะ Dhamma Articles > มหาปูชนียาจารย์
[ 13 ธ.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18290 ]
 
ความหมายของคำว่า.. “สัมมา อะระหัง”
 

     คำว่าสัมมา อะระหัง เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ 2 ศัพท์ คือ “สัมมา” และ “อะระหัง”

     “สัมมา” เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบ ในพระพุทธคุณ 9 บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ “สัมพุทโธ” เป็นสัมมาสัมพุทโธ เป็นบทแสดงพระคุณของพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้ตรัสรู้เอง โดยชอบ นอกจากนี้ยังมีใช้ในอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วย เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น

      “อะระหัง” เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อเข้าคู่กันเป็น สัมมา อะระหัง ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ

      บทบริกรรม “สัมมา อะระหัง” ของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงมีความหมายสูงและอยู่ในขอบข่ายของพุทธานุสติ

      บท “สัมมา อะระหัง” นี้ โบราณาจารย์ท่านแยกพรรณนาพระพุทธคุณทีละอักษร คือ สัม, มา, อะ, ระ, หัง ซึ่งท่านให้ความหมายแต่ละอักษรไว้ดังต่อไปนี้

     (สัม)

     สงฺขตาสงฺขเต ธมฺเม    สมฺมา เทเสติ ปาณินํ
     สํสารสฺส วิฆาเฏติ       สมฺพุทฺธํปิ นมามิหํ ฯ

1. พระพุทธองค์ทรงแสดงสังขตธรรมและอสังขตธรรมโดยชอบแก่สัตว์ทั้งหลาย
2. พระพุทธองค์ทรงทำลายการเวียนเกิดเวียนตายได้
3. พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

     พระคาถาบทนี้ท่านบอกวิธีใช้ไว้ว่า ให้ภาวนาก่อนจะเข้าสู่สงคราม หาผู้ทำร้ายมิได้แล

     (มา)

     มาตาว มานปาลิเต    มานสตฺเต ปมทฺทิ โย
     มานิโต เทวสงฺเฆหิ    มานฆาตํ นมามิหํ ฯ

1. พระพุทธองค์ทรงย่ำยีสัตว์ผู้มีมานะ (ความถือตัว) ที่มานะ (ความถือตัว) เลี้ยงไว้ดุจมารดา
2. พระพุทธองค์อันหมู่ทวยเทพยอมรับนับถือ
3. พระพุทธองค์ทรงทำลายมานะได้
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

     พระคาถาบทนี้ ภาวนาเพื่อทำคนแข็งให้อ่อน หมายความว่า ถ้าบังเอิญต้องเผชิญกับคนใจแข็ง แข็งข้อ แข็งกระด้างกับท่าน โบราณาจารย์ท่านแนะนำให้ใช้คาถาบทนี้แก้ไขเหตุการณ์

     (อะ)

     อนุสฺสาหสพฺพสตฺตานํ       อนุสฺสาเหติ โย ชิโน
     อนนฺตคุณสมฺปนฺโน       อนฺตคามี นมามิหํ ฯ

1. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนคนไม่มีอุตสาหะ ให้มีความอุตสาหะ
2. พระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมไม่สิ้นสุด
3. พระพุทธองค์ทรงถึงที่สุดแห่งทุกข์
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

     พระคาถาบทนี้ ภาวนาป้องกันเสือและจระเข้ หมายความว่า ถ้าท่านต้องเข้าป่าที่มีสัตว์ร้ายชุกชุม หรือต้องลงน้ำในย่านที่มีสัตว์น้ำอันตราย ถ้าทำใจให้เป็นสมาธิ ภาวนาคาถาบทนี้จะป้องกันสัตว์ร้ายได้

     (ระ)

     รโต นิพฺพานสมฺปตฺโต    รโต โส สตฺตโมจโน
     รมาเปติธ สตฺเต โย       รมทาตํ นมามิหํ ฯ

1. พระพุทธองค์ทรงยินดีในธรรม ทรงบรรลุถึงพระนิพพาน
2. พระพุทธองค์ทรงปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นทุกข์
3. พระพุทธองค์ทรงยังสัตว์ให้ยินดีในพระนิพพาน
4. พระพุทธองค์เป็นผู้ทรงประทานให้ซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่ยินดี
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

     พระคาถาบทนี้ ถ้าใครยึดมั่นท่องบ่นภาวนาเป็นนิจ สามารถป้องกันการกระทำคุณผีและคุณคนทั้งปวงได้

     (หัง)

     หญฺติ ปาปเก ธมฺเม    หํสาเปติ ปทํ ชนํ
     หํสมานํ มหาวีรํ    หนฺตปาปํ นมามิหํ ฯ

1. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปธรรม
2. พระพุทธองค์ยังชนให้ยินดีซึ่งทางฆ่าบาปนั้น
3. พระพุทธองค์ทรงร่าเริง
4. พระพุทธองค์ทรงกล้าหาญยิ่งใหญ่
5. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปได้แล้ว
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

     พระคาถาบทนี้ โบราณาจารย์ท่านแนะนำว่า ให้หมั่นเพียรภาวนาเมื่อจะเข้าสู่สงครามจะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้

      แต่ละอักขระของบท “สัมมา อะระหัง” ที่นำมาลงไว้พร้อมทั้งวิธีใช้นี้ สำหรับผู้ที่นับถือและเชื่อมั่นภาวนาให้จริงจังจนจิตเป็นสมาธิมั่นคง ย่อมได้ผลจริงดังใจหมาย

ที่มา : www.watpaknam.org
 

http://goo.gl/tQJ0vQ


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายฯ เพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 100 ปี
      ขอเรียนเชิญร่วมตอกเสาเข็มสถาปนาอนุสรณ์สถานบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  
  
  
  
  
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related