ข้อคิดจากความตาย

ตายแล้วฟื้นได้จริงหรือ? แล้วในส่วนการทำพิธีกงเต็ก ด้วยการเผาบ้านกระดาษ เผารถกระดาษ กับการทำบุญกรวดน้ำไปให้ผู้ตาย อย่างไหนได้บุญมากกว่ากัน บุญจะส่งถึงคนตายได้อย่างไร? https://dmc.tv/a13069

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 13 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18286 ]
 
ข้อคิดจากความตาย 
 
ตายแล้วฟื้นได้จริงหรือ?
 
บุญจะส่งถึงคนตายได้อย่างไร?
 
 
     ความตายเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วก็ทุกครั้งที่มีบุคคลสำคัญในโลกใบนี้ตายไป ก็จะเกิดกระแสความเศร้าโศกเสียใจ ซึ่งก็น่าใจหาย แล้วก็เรื่องราวของความตายทุกท่านไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็เกิดคำถามขึ้นมามากมายว่า..หลังความตายคนเราไปไหนกัน บางคนก็เชื่อว่าตายแล้วสูญ...ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คืออะไรจะเป็นตัวตัดสินว่าตายจริงหรือไม่จริง ....ตายแล้วฟื้นได้จริงหรือ? แล้วในส่วนการทำพิธีกงเต็ก ด้วยการเผาบ้านกระดาษ เผารถกระดาษ กับการทำบุญกรวดน้ำไปให้ผู้ตาย อย่างไหนได้บุญมากกว่ากัน บุญจะส่งถึงคนตายได้อย่างไร?
 
     คนเราจะกลัวในเรื่องที่ตัวเองไม่รู้ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับอนาคตตัวเองว่าตายแล้วไปไหน มันสูญหมดไปหรือเปล่า เมื่อคิดว่าสิ่งที่ตนเองสร้างมา เกียรติยศ ชื่อเสียง เงินทอง ทุกอย่าง เมื่อตายไปมันก็แว็บไปหมดเลยเหรอ? เมื่อคิดว่าทุกอย่างจะสูญ จึงเกิดความกลัว แต่ถ้าคิดว่าไม่สูญยังมีการเวียนว่ายตายเกิด แล้วเราจะไปเกิดที่ไหนละ ...ไม่มั่นใจอีก เพราะคนเราทำดีก็เยอะ ทำไม่ดีก็มีบ้างเหมือนกัน ก็กลัวว่าแล้วถ้าไปไม่ดีละ จึงเกิดความกลัว สรุปก็คือว่า..ไม่รู้ ว่าชีวิตหลังความตายจะเป็นยังไง ก็เลยกลัว
 
 
ผู้ที่สั่งสมบุญกุศลมาดีแล้วจะไม่กลัวต่อความตาย
 
     แต่ถ้าเกิดว่ารู้จะไม่ค่อยกลัว ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งได้ฌานสมาบัติ ญาณทัศนะ รู้ตายก่อนตายได้ รู้ว่าตัวเองจะตายเมื่อไหร่ หรือว่าตายแล้วจะไปไหน ชีวิตหลังความตายนั้นเป็นอย่างไร พอรู้ว่าตายแล้วไม่สูญ เราก็ยังอยู่ แล้วจะไปเกิดในที่ไหน ขึ้นอยู่กับความดี บุญบาปที่ตนเองทำเอาไว้ แล้วก็มั่นใจในความดีที่ตัวเองทำไว้อย่างเพียงพอ...ว่าตายแล้วฉันไปดีแน่ๆ ถ้าอย่างนี้ละก็จะไม่ค่อยกลัวความตาย คนที่สร้างบุญสร้างกุศลเยอะๆ จะไม่กลัว...เพราะรู้ว่าตัวเองจะไปดี คนเรากลัวความไม่รู้...
 
ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าตายแล้ว ?
 
     ถ้าเกิดทางการแพทย์ก็จะมีหลายเกณฑ์ หมอแต่ละประเทศมีมาตรฐานการวินิจฉัยไม่เหมือนกัน กฎหมายแต่ละประเทศเองก็ไม่เหมือนกันอีก บางประเทศถือว่าหัวใจหยุดเต้น บางประเทศถือว่าคลื่นสมองราบ คือคลื่นสมองหยุดทำงาน ถือว่าตายแล้ว ก็ไม่รับรู้แล้ว อย่างเป็นเจ้าหญิงนิทรา เจ้าชายนิทรา หลับไม่รู้เรื่องก็ถือว่าตายแล้ว แต่บางประเทศถือว่ายังไม่ตาย เพราะงั้นแต่ละประเทศจะมีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน เพราะงั้นทางโลกเราพักไว้ก่อน แล้วถ้าถามจริงๆ ถามว่าทางธรรมในพระพุทธศาสนา เอาเป็นของจริง ไม่ใช่ความคิดหรือความเชื่อ จริงๆตายเมื่อไหร่
 
 
คำว่า ตายแล้ว ในทางพระพุทธศาสนา
 
     คำตอบก็คือว่าเมื่อลมหยุด หรือสิ้นลมนั่นเอง คือลมหายใจหยุดเมื่อไหร่ก็คือตาย แล้วบางคนบอก เอ... ถ้าจมน้ำไป หยุดหายใจไปชั่วคราวแล้วก็ผายปอด น้ำออกมาแล้ว ผายปอดซักพักแล้วกลับมาหายใจใหม่ อย่างนี้ที่หยุดหายใจชั่วขณะ มันตายหรือเปล่า อันนั้นหยุดชั่วขณะ ยังไม่ตาย เหมือนกับเรากลั้นลมหายใจ ถือว่ายังไม่ตาย เพราะลมหายใจยังไม่ขาดจริง หรือว่าบางคนที่เคยฟังข่าว เค้าว่าตายแล้ว จนจัดงานศพ เอาไปใส่โลงแล้ว อยู่ๆเคาะโลงเฉยเลย ญาติพี่น้องวิ่งเผ่นกันเลย นึกว่าผีหลอก แต่พอมาเปิดลงปั๊บปรากฏว่าฟื้นขึ้นมาไม่เป็นอะไร อย่างนี้จะเห็นได้ว่ามีข่าวออกมาเป็นระยะ แล้วตกลงจริงๆ เค้าตายหรือไม่ตาย บางจังหวะอาจจะเป็นกึ่งๆหยุดหายใจ จริงๆอาจจะเป็นลมละเอียด
 
     คือเราต้องเข้าใจอย่างว่าการหายใจ ทางปอดส่วนหนึ่ง แม้แต่เซลล์ผิวหนังก็หายใจได้ ถ้าเกิดเป็นสัตว์มีชีวิตชั้นต่ำๆ ตัวเล็กๆ พอตัวเล็กๆปั๊บ พื้นที่ผิวต่อปริมาณเซลล์มันมาก แต่ถ้าเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตบางๆ หนาแค่ 2-3 มล. พื้นที่ผิวเกือบเท่าเดิม แต่มันเฉลี่ยให้กับเซลล์แค่ 2-3มล. ถ้าอย่างนี้ปั๊บ ไม่ต้องมีปอด หายใจทางผิวหนังก็พอแล้ว อย่างนี้ก็มีนะ อันนี้ในทางชีววิทยา เพราะฉะนั้นตอนที่หายใจบางๆ จนคนนึกว่าหยุดหายใจไปแล้ว แต่ความจริง ยัง สายใยชีวิตยังอยู่  แล้วจริงๆในเชิงปฏิบัติ เมื่อไหร่ที่เรียกว่าตาย
 
     ตอบในเชิงปฏิบัติก็คือว่า เมื่อกายละเอียดหลุดจากขั้วต่อที่ศูนย์กลางกาย ก็คือสิ้นชีวิตแล้ว กายละเอียดทิ้งกายหยาบไปแล้ว แล้วก็ไปเกิดใหม่ตามแรงบุญแรงบาป ถ้าเกิดยังไม่ได้ถอดออกจากคั่ว เช่นว่าแอบไปเที่ยวแอบไปฝันกลางคืนแล้วหลับนี่ อันนั้นสายใยยังอยู่ ยังไม่ตาย แต่ถ้าเกิดวันไหนถอดคั่วปุ๊บ ก็คือทิ้งเลย คั่วต่อถอดแล้ว อาการออกมาก็คือสะอึกขึ้นมา 3 เฮือก แล้วก้อป๊อก อันนี้คือตาย บางคนก็เห็นชัด บางคนก็ 3 เฮือก ซอฟ ๆก็มี อันนั้นถือว่าตายแล้ว
  
 
ภพมนุษย์เท่านั้นที่จะสร้างความดี สั่งสมบุญได้ เมื่อสิ้นชีวิตก็หมดสิทธิ์ทำบุญ
  
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบความจริงสำคัญข้อหนึ่ง คือ ภพมนุษย์เท่านั้นที่จะสร้างความดี สั่งสมบุญได้ เมื่อสิ้นชีวิตก็หมดสิทธิ์ทำบุญ ประเด็นสำคัญของการเกิดเป็นมนุษย์อยู่ตรงนี้ แล้วทำไมต้องสั่งสมบุญ เพราะการสั่งสมบุญก็เพื่อฆ่ากิเลสในใจให้หมดสิ้นไปนิพพานนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่หมดกิเลส การสั่งสมบุญมากๆ ก็เพื่อจะได้ไปสู่สุคติ เพื่อชีวิตที่มีสุข และกลับมาเป็นมนุษย์สร้างความดี ฝึกฝนตนเองต่อ โดยที่เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติที่บริบูรณ์ หากไม่สั่งสมความดีไว้ให้มากๆ ก็มีโอกาสพลัดตกไปอบาย ต้องถูกทรมานยาวนาน ครั้นเกิดมาเป็นมนุษย์ สภาพกายและใจจะไม่สมบูรณ์ สร้างความดีก็ไม่สะดวก โอกาสจะสั่งสมความดีให้ยิ่งยวดเพื่อให้หมดกิเลสก็ยิ่งยาก และตัวเองยังต้องวนเวียนตายเกิดยาวนานไม่รู้จักจบสิ้น เพราะฉะนั้นบุญจึงเป็นเสบียงสำคัญในการเดินทางไกลในวัฏสงสาร เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ และสำคัญต่อการเดินทางไปสู่โลกหน้า คือ ปรโลก
 
ตายแล้วไม่สูญ
 
     ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายมีลักษณะอยู่ 3 ประการ คือ เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรเปลี่ยน (แก่ เจ็บ) ไปในท่ามกลาง และตายในที่สุด ซึ่งเห็นกันอยู่ทั่วไป เมื่อตายแล้วมิใช่ว่าจะสิ้นสุดกันเพียงเท่านั้น ดังที่หลายท่านเข้าใจกันจนมีคำกล่าวติดปากกันว่า “ชีวิตสิ้นสุดที่เชิงตะกอน” เข้าทำนองว่า ตายแล้วสูญ เพราะเขามองไม่เห็นการไปเกิดของสัตว์ที่ตายแล้วว่าจะไปอย่างไร แม้มีผู้ทดลองแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล จนถึงปัจจุบันคือการใช้วิทยาศาสตร์พิสูจน์ แต่ก็ไม่พบเห็นว่าสัตว์ที่ตายแล้วไปเกิดใหม่อย่างไร ทั้งนี้เพราะเขาใช้เครื่องมือไม่ถูกประเภท คือ ใช้วัตถุหยาบไปจับวัตถุละเอียดกว่า เหมือนเอาชะลอมไปจับอากาศก็ย่อมไม่ประสบความสำเร็จ มีแต่เหนื่อยเปล่า ซ้ำร้ายรังแต่จะเกิดความเห็นผิดมีความเชื่อมั่นในวิธีทดลองที่ผิดของตนเองโดยไม่รู้ตัวยิ่งขึ้นไปอีก
 
     ดังนั้นความตายจึงเป็นเพียงจุดสิ้นสุดของชีวิตในภพภูมิหนึ่งๆ เท่านั้น และความตายนี้ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวและไม่น่าปรารถนาของสรรพสัตว์ แต่ไม่ว่าเราจะปรารถนาหรือไม่ก็ตามเราทุกคนล้วนแต่ต้องตาย ในเมื่อเราทุกคนต้องตาย เราจึงควรมาศึกษาเรื่องความตายกันดีกว่า เพื่อความปลอดภัยในภพเบื้องหน้าอันเป็นชีวิตใหม่หลังความตาย
 
 
การทำบุญให้คนตาย ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ละโลกไปแล้ว
 
     การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนที่ยังเป็นอยู่ทีเดียว  เป็นสิ่งที่คนทุกชาติทุกศาสนาควรศึกษาไว้ให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในภูมิอื่น (เว้นมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน) ย่อมไม่มีการทำมาหากินเลย ผู้ล่วงลับไปจะมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับกรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองกระทำตอนเป็นมนุษย์ และเพราะอาศัยการทำบุญอุทิศให้ของผู้ที่ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์นี้เท่านั้น  และการทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับก็ต้องทำกับผู้รับที่มีศีลมีธรรมเท่านั้น เช่น พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัย บุญนั้นจึงจะถึงแก่ผู้ตายไปอย่างแน่นอน ตามภูมิตามกำเนิดที่สามารถรับผลบุญที่อุทิศให้ แต่ถ้าทำกับผู้รับที่ไม่มีศีลธรรม บุญก็จะไม่ถึงแก่ผู้ตาย
    
     ส่วนการร้องไห้คร่ำครวญ การแสดงอาการเศร้าโศก การสวดอ้อนวอนฝากกับเทพเจ้า การเล่นมหรสพ เป็นต้น ซึ่งบางท้องถิ่นยังนิยมทำกันจนเป็นประเพณี เป็นต้นว่ามีการจ้างนักร้องมาร้องเพลงเศร้า เช่น มอญครวญ มอญร้องไห้ หรือการทำพิธีกงเต็ก
 
 
การร้องไห้หน้าศพ ถือเป็นการไม่สมควรเลย
 
     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่สมควรทำเลย เพราะไม่มีประโยชน์อะไรทั้งแก่ผู้เป็นอยู่และผู้ตาย  มีแต่จะสิ้นเปลืองไป และเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี  นอกจากไม่ได้บุญกุศลอะไรแล้ว ซ้ำร้ายยังทำจิตใจให้เศร้าหมองด้วยบาปอกุศลทั้งฝ่ายคนเป็นอยู่และผู้ที่ตายไปอีกด้วย  เพราะทำไปด้วยความเห็นผิดเข้าใจผิด         
 
 
การทำพิธีกงเต็ก  ถือเป็นการสิ้นเปลือง 
 
     จากข้อความข้างต้นนี้ มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่ว่า  ถ้าผู้ตายสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย หรือศึกษาแต่ผิวเผินเพราะความไม่ใส่ใจ ไม่ทุ่มเทในการประกอบบุญกุศลในโลกนี้  เมื่อละโลกไปแล้ว  แม้มีผู้อุทิศส่วนกุศลให้ แต่ตนอนุโมทนาบุญไม่เป็นก็ย่อมไม่ได้รับส่วนบุญเท่าที่ควร นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนคือผู้ตายข้อที่ ๑
 
 
การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้คนตาย
 
     หรือลูกหลานทะเลาะกันเรื่องแบ่งสมบัติ  ซึ่งเราได้เห็นได้ยินกันอยู่ทั่วไป พ่อแม่จวนตาย ลูกหลานแย่งสมบัติกัน บางทีฆ่ากันตายก่อนพ่อแม่ก็มี ตนเองก็ต้องมาทุกข์ใจก่อนตาย  เพราะสมบัติของตนเป็นเหตุ เมื่อตายไป  จึงไม่มีใครอุทิศส่วนกุศลให้เลย เพราะตนเองมิได้คบหากับบัณฑิตทางธรรมและไมเคยทำแบบอย่างเช่นนี้ไว้ให้ลูกหลานดูเลย นี้เป็นข้อผิดพลาดของตนข้อที่ ๒     
                             
 
บุญเป็นพลังงานบริสุทธิ์ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในใจ 
 
     และข้อสุดท้าย แม้บุตรธิดาทำบุญอุทิศให้  แต่ทำไม่ถูกเนื้อนาบุญ เช่น ทำบุญกับผู้ทุศีล มีความเห็นผิด ไม่เชื่อกรรม ผลของกรรม นรกสวรรค์เป็นต้น  ทั้งนี้ก็เพราะสมัยที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ไม่เคยศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาเลย  ไม่เข้าหาพระภิกษุสามเณรผู้รู้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งสามารถชี้แจงโลกนี้โลกหน้าได้กระจ่างชัด   แต่กลับไปคบหานักบวชอื่นหรือพระภิกษุและพุทธศาสนิกชนที่ไม่เชื่อเรื่องโลกนี้โลกหน้า  จึงไม่ฉลาดในวิธีอุทิศส่วนกุศล  บุตรธิดาจึงได้แบบอย่างที่ไม่ถูกต้องตามตนเอง เมื่อถึงคราวต้องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย  จึงทำไม่ถูกวิธีเช่นกัน  นี้ก็เป็นผู้ผิดพลาดข้อที่ ๓ ของผู้ตาย
 
 
ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ ๗ วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ 
 
     ในกรณีที่ผู้ตายไปแล้วเป็นผู้ที่ทำกรรมดีและชั่วไม่มากพอ บุญบาปที่ตนทำในโลกนี้ยังไม่ส่งผลในทันที  ผู้ตายจะวนเวียนอยู่ ๗ วันเพื่อให้มีโอกาสระลึกถึงบุญกุศลได้ และเจ้าหน้าที่ยมโลก (กุมภัณฑ์) กำลังผลัดเปลี่ยนเวรกัน ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่ซึ่งจะพาตัวไปยมโลกนรก หากผู้ตายระลึกถึงบุญกุศลที่ตนเคยทำได้ หรือ หากญาติมิตรทำบุญอุทิศให้อย่างถูกวิธี และอนุโมทนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะพาไปเกิดในที่   ดี ๆ โดยไม่ต้องไปยมโลกนรก อุสสทนรก หรือ มหานรก อนึ่ง ผู้ตายที่ทำบาปกรรมไว้ เมื่อครบ ๗ วันผู้ตายต้องกลับมา ณ สถานที่ตาย หากเห็นญาติมิตรทำบุญให้ก็จะอนุโมทนาบุญ และจะไปสู่สุคติได้ เพราะฉะนั้นญาติมิตรผู้ยังเป็นอยู่ในโลกมนุษย์จึงควรศึกษาวิธีอุทิศส่วนกุศลให้ถูกวิธี และรีบทำบุญทุกบุญอย่างเต็มกำลังและอุทิศส่วนกุศลให้ในวันดังกล่าว
 
 
การนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมในงานศพ
 
     พอเข้าใจอย่างนี้ปั๊บสิ่งที่เค้าอยากได้ คือบุญ แล้วเค้าก็ไม่ได้อยากได้อย่างอื่นนะ อยากได้บุญอย่างเดียว คนไม่รู้หลักพอตายปั๊บก็ร้องไห้คร่ำครวญ มีความรู้สึกว่าเค้ายังไม่ตาย เพราะฉะนั้น ตามธรรมเนียมแล้ว ให้สวดพระอภิธรรม 7 วัน เพราะ ถ้าไม่ใช่บุญเยอะจริงๆหรือบาปหนักจริงๆ ส่วนใหญ่จะวนเวียนอยู่ 7 วัน แล้วก็ไปยมโลกรอการพิพากษา ของพญายมราช ช่วง 7 วันนั้น ยังอยู่ ยังมีสิทธิ์มาฟังพระอภิธรรมได้ มีสิทธิ์รับบุญได้เต็มที่ เพราะฉะนั้นภายใน 7 วัน ญาติพี่น้องต้องรีบทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ พอครบ 7 วันแล้ว ยมทูตจับตัวไปยังยมโลกแล้วไปรับคำพิพากษา ถ้าต้องตกไปในขุมนรกลึกปั๊บ บางทีส่งบุญแล้วไม่ถึงก็มี เพราะฉะนั้นชัวร์ๆ 7 วันนี้ยังถึงอยู่ รีบส่งบุญไปดีกว่า
 
รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

 
 
 
 
 
 

http://goo.gl/Vkjux


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related