การสนทนากับพระสงฆ์

การสนทนากับพระสงฆ์ การสนทนากับพระสงฆ์ควรปฏิบัติอย่างไร วิธีปฏิบัติขณะสนทนากับพระ การใช้คำพูดกับพระสงฆ์ต่างชั้นสงฆ์ ระเบียบปฏิบัติการไปหาพระสงฆ์ที่วัด วิธีปฏิบัติขณะถึงที่อยู่ของพระสงฆ์ ระเบียบปฏิบัติการรับสิ่งของจากพระสงฆ์ https://dmc.tv/a16569

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 4 ก.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 19308 ]

การสนทนากับพระสงฆ์

 
การสนทนากับพระสงฆ์ควรปฏิบัติอย่างไร
 
การสนทนากับพระสงฆ์
วิธีปฏิบัติขณะสนทนากับพระสงฆ์

วิธีปฏิบัติขณะสนทนากับพระสงฆ์

    - ถ้าพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น  เป็นพระเถระผู้ใหญ่  นิยมประณมมือพูดกับท่าน  ทุกครั้งที่กราบเรียนท่าน  และรับคำพูดของท่าน

    - ขณะสนทนาอยู่กับพระสงฆ์นั้น  ไม่นิยมพูดล้อเล่นกับท่านไม่นิยมพูดคำหยาบโลนกับท่าน  ไม่นิยมนำเอาเรื่องส่วนตัวไปเล่าให้ท่านฟัง  ไม่นิยมแสดงอาการยกตนตีเสมอท่านคล้ายเพื่อนเล่น  หรือยกตนสูงกว่าท่าน

    - เฉพาะสตรีเพศทั้งหมด  แม้จะเป็นญาติกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นก็ตาม  ไม่นิยมสนทนากับพระภิกษุสองต่อสองทั้งภายในห้องและภายนอกห้อง  ทั้งในที่ลับตาและในที่ลับหู  เพราะผิดพระวินัยพุทธบัญญัติ

    - เมื่อเสร็จธุรกิจแล้ว  นิยมรีบลาท่านกลับ  ไม่ควรสนทนาอยู่นานเกินควร  เพราะเป็นการรบกวนเวลาของท่าน

    - เมื่อจะลาท่านกลับ  นิยมนั่งคุกเข่า (ตามเพศ) กราบท่านด้วยเบญจางคประดิษฐ์  3  ครั้ง  แล้วเดินเข่าออกไป

ระเบียบปฏิบัติการใช้คำพูดกับพระสงฆ์ต่างชั้น

การใช้คำทูลสมเด็จพระสังฆราช

    คำแทนตัวพระองค์ท่าน ว่า “ฝ่าพระบาท” หรือ “ฝ่าบาท”
    คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “เกล้ากระหม่อม” หรือ “กระหม่อม”
    คำแทนตัวผู้พูด (หญิง) ว่า “กระหม่อมฉัน” หรือ “หม่อมฉัน”
    คำรับพระดำรัส (ชาย) ว่า “พ่ะย่ะค่ะ”  หรือ  “กระหม่อม”
    คำรับพระดำรัส (หญิง) ว่า “เพคะ”

การใช้คำพูดกับสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป

    คำแทนตัวท่าน ว่า “พระเดชพระคุณ” หรือ ใต้เท้า”
    คำแทนตัวผู้พูด (ชาย) ว่า “เกล้ากระผม” หรือ “เกล้า ฯ”
    คำแทนตัวผู้พูด  (หญิง) ว่า “ดิฉัน”  หรือ “อีฉัน”
    คำรับคำพูด  (ชาย) ว่า “ขอรับกระผม” หรือ “กระผม” หรือ “ครับผม”
    คำรับคำพูด  (หญิง) ว่า “เจ้าค่ะ”

การใช้คำพูดกับพระราชาคณะชั้นสามัญลงมา

- พระราชาคณะใช้คำแทนตัวท่านว่า  “ท่านเจ้าคุณ”  หรือ  “ท่าน”
- พระครูสัญญาบัตรและพระครูฐานานุกรม  ใช้คำแทนตัวท่านว่า  “ท่านพระครู”  หรือ  “ท่าน”
- พระเปรียญ  ใช้คำแทนตัวท่านว่า  “ท่านมหา”  หรือ  “ท่าน”
- พระอันดับธรรมดา  ใช้คำแทนตัวท่านว่า  “พระคุณเจ้า”  หรือ  “ท่าน”
- พระผู้เฒ่า  ใช้คำแทนตัวท่านว่า  “หลวงพ่อ”  หรือ  “หลวงปู่”
- ถ้าพระสงฆ์นั้นเป็นญาติกับผู้พูด  นิยมใช้คำพูดแทนตัวท่านตามฐานะที่เป็นญาติกัน  เช่น  ใช้คำแทนตัวท่านว่า  “หลวงปู  หลวงตา  หลวงพ่อ  หลวงลุง  หลวงอา  หลวงน้า  หลวงพี่ “  เป็นต้น
 
คำแทนตัวผู้พูด (ชาย)      ว่า “กระผม” หรือ  “ผม”
คำแทนตัวผู้พูด (หญิง)     ว่า “ดิฉัน” หรือ  “อีฉัน”
คำรับผู้พูด        (ชาย)      ว่า “ครับ”
คำรับผู้พูด        (หญิง)    ว่า “เจ้าค่ะ” หรือ “ค่ะ”

การใช้คำพูดกับพระธรรมดาสามัญทั่วไป

    - ถ้าผู้พูดไม่รู้จักกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น  ไม่ทราบว่าท่านมีสมณศักดิ์ชั้นไหน  นิยมใช้คำพูดสามัญเป็นกลางๆ ดังนี้

    คำแทนตัวพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น     ว่า  “พระคุณเจ้า”  หรือ  “พระคุณท่าน”  หรือ  “ท่าน”
    คำแทนตัวผู้พูด  (ชาย)              ว่า  “กระผม”         หรือ  “ผม”
    คำแทนตัวผู้พูด  (หญิง)             ว่า  “ดิฉัน”           หรือ  “อีฉัน”   หรือ  “ฉัน”
    คำรับคำพูด       (ชาย)              ว่า  “ครับ”

    คำรับคำพูด       (หญิง)             ว่า  “เจ้าค่ะ”         หรือ  “ค่ะ”
 
วิธีปฏิบัติขณะสนทนากับพระสงฆ์
ชาวพุทธชายหญิงทั้งหลายผู้ประสงค์จะไปหาพระสงฆ์ที่วัด พึงสังวรระวังอยู่เสมอว่าเราไปหาท่านที่ควรเคารพบูชา
นิยมรักษากิริยามารยาททางกาย ทางวาจาตลอดถึงจิตใจ ให้เรียบร้อยอันแสดงออกถึงความมีศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง

ระเบียบปฏิบัติการไปหาพระสงฆ์ที่วัด

ฐานะของพระสงฆ์

     - พระภิกษุสงฆ์นั้นดำรงอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคลที่พุทธศาสนิกชนชายหญิงทั้งหลาย สมควรเคารพ สักการะบูชากราบไหว้  ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา  เพราะว่าพระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีประพฤติซื่อตรง  ประพฤติเพื่อให้ออกไปจากทุกข์  ประพฤติถูกต้องอย่างดียิ่ง และเป็นบุญเขตเนื้อนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของชาวโลก

     - พระสงฆ์เป็นผู้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ ด้วยการทรงเพศบรรพชิต และศึกษาเล่าเรียนทรงจำพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้มิให้เสื่อมสูญ

     - พระสงฆ์เป็นผู้นำเอาพระศาสนธรรมนั้น  มาเทศนาชี้แจงอบรมสั่งสอนชาวพุทธให้ทราบว่า  สิ่งใดดี  สิ่งใดชั่ว  สิ่งใดควรทำ  สิ่งใดไม่ควรทำ

     - พระสงฆ์เป็นผู้แนะนำพร่ำสอนชาวพุทธ ให้เลิกละความชั่วและชักจูงชาวพุทธให้เกิดความยินดีพอใจในการทำความดี

     - พระสงฆ์เป็นสักขีพยานเป็นตัวอย่างแห่งความประพฤติดีปฏิบัติชอบ  ตามพระศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  อีกด้วย

การเตรียมตัวเบื้องต้น


     - เพราะพระสงฆ์ดำรงอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคล ดังกล่าวแล้ว ฉะนั้น  ชาวพุทธชายหญิงทั้งหลายผู้ประสงค์จะไปหาพระสงฆ์ที่วัด พึงสังวรระวังอยู่เสมอว่าเราไปหาท่านที่ควรเคารพบูชา นิยมรักษากิริยามารยาททางกาย ทางวาจาตลอดถึงจิตใจ ให้เรียบร้อยอันแสดงออกถึงความมีศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง

     -    ถ้าบุคคลผู้ไปหาพระสงฆ์นั้น เพื่อประสงค์จะขออาราธนานิมนต์ท่านไปประกอบพิธีงานมงคล  หรือ  งานอวมงคลก็ตามนิยมมีเครื่องสักการะบูชา  เช่น  ดอกไม้ธูปเทียน  เป็นต้น  ใส่พานนำไปถวาย  เพื่อเป็นเครื่องแสดงความเคารพบูชาท่านด้วย  ทั้งนี้เพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของมหาอุบาสกและมหาอุบาสิกา  เช่น  อนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขามหาอุบาสิกา  ได้ประพฤติเป็นตัวอย่าง  กล่าวคือ

     - เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเวลาเช้าก่อนเที่ยงวัน  ก็นิยมนำภัตตาหารคาวหวานไปถวายพระพุทธเจ้า  และพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวก

     - เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเวลาบ่ายหลังจากเที่ยงวันไปแล้วก็นิยมนำเภสัช  5  มีเนยใส  เนยข้น  น้ำมัน  น้ำผึ้ง  น้ำอ้อย  เป็นต้น  ไปถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์พุทธสาวก  เป็นประจำตลอดมา

     - ชาวพุทธชายหญิงผู้จะไปหาพระสงฆ์ที่วัดนั้น  นิยมแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ไม่นิยมแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์สีฉูดฉาดบาดตา  ไม่นิยมนุ่งน้อยห่มน้อย  หรือเปลือยหน้าเปลือยหลัง  ชะเวิกชะวาก  เป็นต้น

วิธีปฏิบัติขณะถึงที่อยู่ของพระสงฆ์

    - ก่อนจะเข้าพบท่าน นิยมไต่ถามพระภิกษุสามเณร หรือศิษย์วัด ผู้อยู่ใกล้เคียงว่า ท่านอยู่ หรือ ไม่อยู่ ท่านว่าง หรือ ไม่ว่างท่านกำลังทำอะไรอยู่ สมควรจะเข้าพบท่านได้หรือไม่ และนิยมแจ้งความจำนงขออนุญาตเข้าพบท่านก่อน เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าพบได้ จึงเข้าพบท่าน

    - ถ้าไม่พบผู้ใดที่พอจะไต่ถามได้ นิยมรอคอยดูจังหวะที่สมควร และก่อนที่จะเข้าพบท่าน ขณะท่านอยู่ภายในห้อง นิยมกระแอม หรือไอ หรือ เคาะประตูให้เสียงก่อน เพื่อให้ท่านได้ทราบล่วงหน้า เมื่อท่านอนุญาตแล้วจึงนิยมเปิดประตูเข้าไป (เฉพาะชาย) ส่วนหญิงไม่นิยมเข้าไปหาพระสงฆ์ในห้องเด็ดขาด

    - เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว ผู้ไปหานิยมนั่งคุกเข่า กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ (ชาย กราบแบบชาย หญิงกราบแบบหญิงดังกล่าวแล้วในระเบียบปฏิบัติการกราบข้างต้นนั้น) 3 ครั้ง

    - เมื่อกราบเสร็จแล้ว นิยมนั่งพับเพียบ ไม่นิยมนั่งบนอาสนะเสมอกับพระสงฆ์ เช่น นั่งบนพรม หรือ เสื่อผืนเดียวกัน หรือ นั่งเก้าอี้เสมอกับพระสงฆ์ เป็นต้น

    - กิริยาอาการที่นั่งพับเพียบนั้น นิยมนั่งพับเพียบแบบเก็บเท้าดังกล่าวแล้ว (ในระเบียบปฏิบัติการนั่งพับเพียบข้างต้น) เฉพาะสตรีเพศ นิยมสังวรระวังเครื่องนุ่งห่ม โดยปกปิดอวัยวะที่ควรปกปิดให้เรียบร้อย

    - ขณะที่พระสงฆ์อยู่ชั้นล่าง คฤหัสถ์ชายหญิงไม่นิยมขึ้นไปชั้นบนของกุฏิ และไม่นิยมเข้าไปภายในห้องส่วนตัวของท่าน

ระเบียบปฏิบัติการรับสิ่งของจากพระสงฆ์

ขณะพระสงฆ์ยืนอยู่ หรือนั่งบนอาสนะสูง

    - เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม  โดยไม่เร็วหรือช้าเกินไป  เมื่อเข้าใกล้พอสมควร  ประมาณพอยื่นมือเข้าไปรับสิ่งของได้พอดี

    - ยืนตรง  น้อมตัวลงยกมือไหว้  และยื่นมือทั้งสองเข้าไปรับพร้อมกับน้อมตัวลงเล็กน้อย  สำหรับชายรับสิ่งของจากมือท่านสำหรับหญิงแบมือทั้งสองชิดกันคอยรองรับสิ่งของ

    - เมื่อรับสิ่งของแล้ว  ถ้าสิ่งของเล็ก  นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พร้อมกับสิ่งของที่อยู่ในมือ  ถ้าสิ่งของที่รับนั้นใหญ่  หรือ  หนัก  นิยมไม่ต้อยยกมือไหว้  แล้วก้าวเท้าซ้ายถอยหลังออกไป  1  ก้าว  ชักเท้าขวามาชิด  แล้วหันหลังกลับเดินไปได้

ขณะพระสงฆ์นั่งเก้าอี้


    - เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม  เมื่อเข้าไปใกล้ประมาณ  2  ศอก  แล้วยืนตรง  ก้าวเท้าขวาออกไป  1  ก้าวแล้วนั่งคุกเข่าซ้ายชันเข่าขวาขึ้น  น้อมตัวลงยกมือไหว้แล้วยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าวแล้ว

    - เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของนั้นเล็ก นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ พร้อมกับสิ่งของที่อยู่ในมือ ถ้าสิ่งของที่อยู่ในมือ ถ้าสิ่งของนั้นใหญ่ หรือ หนัก นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างตัว ด้านซ้ายมือน้อมตัวลงยกมือไหว้ แล้วยกสิ่งนั้นด้วยมือทั้งสองประคองยกขึ้นยืนขึ้น ชักเท้าข้างขวากลับมายืนตรง  ก้าวเท้าซ้ายถอยหลังไป  1  ก้าว  แล้วซักเท้าขวาชิด  หันหลังกลับเดินไปได้

ขณะพระสงฆ์นั่งกับพื้น


    - เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม  เมื่อถึงบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้  นั่งคุกเข่าลง แล้วเดินเข่าเข้าไป  เมื่อถึงที่ใกล้ประมาณ 1 ศอกเศษ นั่งคุกเข่า (ตามเพศ) กราบ 3 หน ยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าวแล้ว

    - เมื่อรับสิ่งของแล้ว นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างหน้าด้านขวามือ กราบ 3 หน แล้วหยิบสิ่งของนั้นถือด้วยมือทั้งสองประคอง เดินเข่าถอยหลังออกไปจนสุดบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้แล้วลุกขึ้นยืนกลับไปได้

    - กิริยาอาการเดินเข่านั้น  นิยมตั้งตัวตรง  ถ้าไม่ได้ถือสิ่งของมือทั้งสองห้อยอยู่ข้างตัว  ถ้าถือสิ่งของ  มือทั้งสองประคองถือสิ่งของยกขึ้นอยู่ระดับอก  ศอกทั้งสองข้างแนบชิดกับชายโครง

    - ขณะเดินเข่า  ร่างกายส่วนบนไม่เคลื่อนไหว  ไม่ซัดส่ายไม่โยกโคลงไปมา  ไม่เอียงขวา  เฉพาะร่างกายส่วนล่างเท่านั้นที่เคลื่อนไหว  และขณะเดินเข่าเข้าไปหรือ  ถอยหลังออกมานั้น  นิยมให้ตรงเข้าไปและตรงออกมา


บทแผ่เมตตา คำกรวดน้ำบทสวดมนต์ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นบทแผ่เมตตา อัปปมัญญาศีล 8 คำอาราธนาศีล 8 พร้อมคำแปล

http://goo.gl/RqU9wO


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  
  
  
  
  
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related