บูชายัญ บูชายัญคืออะไร บูชายัญในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร

บูชายัญคืออะไร คนเราจะโชคดีจากการเข่นฆ่า ทำร้ายผู้อื่น บูชายัญได้หรือไม่ การบูชายัญในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร https://dmc.tv/a20015

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 6 พ.ค. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18268 ]

บูชายัญ

บูชายัญ บูชายัญคืออะไร
การบูชายัญในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร

การบูชายัญ

บูชายัญ บูชายัญคืออะไร

  แม้กาลเวลาจะผ่านมายาวนาน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแผ่ออกไปในวงกว้าง แต่ในบางประเทศกลับยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการบูชายัญ มีการฆ่าและเบียดเบียนชีวิตสัตว์เป็นจำนวนมาก เพียงเพื่อบูชาต่อสิ่งที่ตนเคารพ พวกเขาเชื่อว่าการบูชายัญ จะนำความโชคดีมาให้ ปรารถนาสิ่งใดก็จะสมหวัง แท้จริงแล้วมันเป็นเช่นนั้น หรือไม่ . . .

    ในประเทศเนปาลมีพิธีกรรมบูชายัญที่จัดขึ้นทุกๆ 5 ปี ด้วยการฆ่าฟันคอสัตว์ วัว ควาย แพะ หรือแม้แต่หนู มีชาวบ้านเป็นจำนวนมากกว่า 2 ล้านคน มาร่วมกันประกอบพิธีบูชายัญ พวกเขาทั้งหลายเหล่านี้มีความเชื่อตรงกันว่า บูชายัญ จะนำความโชคดีมาให้

สาเหตุของการบูชายัญ

1. อยากได้ของที่พวกตนปรารถนา ซึ่งล้วนแต่ยังเป็นของที่มีความเสื่อมความชรา ทำให้แปรเปลี่ยน เพราะอาศัยความอยาก จึงบูชายัญ
2. มุ่งลาภที่ตนหวัง จึงพูดสรรเสริญการบูชายัญ รำพันถึงสิ่งที่ตนปรารถนา

การบูชายัญในสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล

      ครั้งหนึ่ง ในกาลสมัยที่พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งเป็นพระราชาแห่งแคว้นโกศล ได้ทรงบรรทมหลับในยามราตรี และทรงฝันเห็นนิมิตยืดยาวถึง 16 ประการ

    ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตกพระทัยตื่นขึ้นในกลางดึก เมื่อทรงรู้สึกตัวแล้ว พระองค์ทรงเกิดความหวาดกลัวต่อมรณภัย จนไม่สามารถที่จะข่มพระเนตรหลับต่อไปได้อีก ครั้นรุ่งเช้าพระองค์ตรัสเล่าความฝันให้พราหมณ์ปุโรหิตฟัง พวกพราหมณ์พากันจับยามดู แม้อาศัยหลักโหราศาสตร์ก็วิเคราะห์ไม่ได้ ครั้นจะทูลว่าไม่รู้ก็กลัวจะเสียภูมิโหราจารย์ จึงกราบทูลแบบเดาสุ่มไปว่า
 
     "ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระสุบินนี้ร้ายกาจนัก อันตรายจะบังเกิดขึ้นแก่ราชสมบัติ แต่พวกข้าพระองค์จักพยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อแก้ไขอันตรายในครั้งนี้ โดยจะต้องบูชายัญด้วยสัตว์แต่ละประเภทอย่างละ 4 ตัว"  พระราชาทรงกลัวมรณภัยมาก จึงรับสั่งให้จัดพิธีบูชายัญทันที พวกพราหมณ์ออกคำสั่งให้ทำหลุมบูชายัญที่นอกเมือง และให้จับฝูงสัตว์ทั้ง 2 เท้า 4 เท้า อีกทั้งสัตว์ปีกมามัดไว้ที่หลักบูชายัญ
 
     เมื่อพระนางมัลลิกาเทวีเห็นการบูชายัญใหญ่โตเช่นนั้น ได้รีบเข้าไปทูลถามเรื่องราวทั้งหมดกับพระราชา เนื่องจากพระนางเป็นคนฉลาดมีปฏิภาณดี จึงทูลแนะนำพระราชาว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ชื่อว่าเป็นสัพพัญญูผู้รู้แจ้งโลก เป็นยอดของพราหมณ์ทั้งหลายในโลก ขอเชิญพระองค์เสด็จไปทูลถามพระพุทธองค์เถิด”

การบูชายัญ
การบูชายัญในทางพระพุทธศาสนา

     จากนั้นพระนางทูลขอให้หยุดการทำบูชายัญไว้ก่อน แล้วพาพระราชาเสด็จไปถวายบังคมพระบรมศาสดา พระราชากราบทูลเรื่องพระสุบิน และการทำนายของพวกพราหมณ์แด่พระพุทธองค์ แล้วทูลขอให้พระพุทธเจ้าทำนายมหาสุบิน

     พระพุทธเจ้าเคยตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า "... พวกพราหมณ์ทั้งหลายทำนายว่า จะมีภัยพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่มหาบพิตรนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพราะพวกพราหมณ์เหล่านั้น มีความปรารถนาลามกคิดอยากจะได้ทรัพย์สมบัติจากมหาบพิตรนั่นเอง ดังนั้น มหาบพิตรจงรับสั่งให้ยกเลิกพิธีบูชายัญดังกล่าวเสียเถิด แล้วเปลี่ยนเป็นให้อภัยทานแก่มหาชนและสัตว์ทั้งหลายแทน"

     ครั้นพระบรมศาสดา ทรงทำนายความฝันทุกข้อของพระราชาแล้ว ทรงรับสั่งให้พระเจ้าปเสนทิโกศลเลิกบูชายัญ เพราะผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ให้ชีวิตย่อมได้ชีวิต เมื่อให้อายุย่อมได้อายุ เพราะเป็นเหตุให้มีอายุขัยยืนยาว เมื่อให้อภัยและให้ความอิสระเสรีแก่สัตว์อื่น ย่อมมีอิสรภาพไปทุกภพทุกชาติ พระราชาทรงปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำด้วยการประทานชีวิตให้กับสัตว์ทั้งหลาย ทำให้หมู่สัตว์ได้รับความปลอดภัยโดยถ้วนหน้า

พระเจ้าปเสนทิโกศลจะทำการบูชายัญเพราะพระสุบินถึง เสียงประหลาด "ทุ สะ นะ โส"

    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเคลิ้มหลับไป แล้วทรงพระสุบิน คือฝันว่าได้ยินเสียงประหลาด 4 คำว่า “ทุ สะ นะ โส”  เมื่อรุ่งเช้าพระองค์จึงตรัสเล่าความฝันให้ปุโรหิตฟัง ปุโรหิตแม้ไม่ทราบว่าเป็นเสียงอะไร แต่ด้วยความโลภอยากได้เครื่องสักการะต่างๆ จึงกราบทูลว่า พระสุบินนี้เป็นลางร้าย จะมีอันตรายเกิดแก่พระองค์หรือราชสมบัติ แล้วแนะให้ทำการบูชายัญใหญ่

     พระนางมัลลิกาอัครมเหสีทรงทราบเรื่อง จึงทรงกราบทูลพระราชาให้เสด็จมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระราชากราบทูลเรื่องที่ทรงพระสุบินถึงคำทั้ง ๔ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ความเสื่อมหรือความเจริญมิได้มีแก่มหาบพิตร แต่เสียงกล่าวคำนั้นเป็นเสียงของสัตว์นรก 4 ตน” แล้วตรัสเล่าว่า 

การบูชายัญ
การบูชายัญ

     ในอดีตกาล พระนครนี้มีบุตรเศรษฐี 4 คน แม้มีทรัพย์สมบัติมากมาย ก็ไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ กลับเป็นผู้ประมาททำแต่บาปอกุศล ไม่ตั้งอยู่ในศีล ประพฤติผิดในภรรยาคนอื่น เมื่อละโลกแล้วได้ไปบังเกิดในโลหกุมภีนรก รับทุกข์ทรมานมานาน 60,000 ปี สัตว์นรก 4 ตนนั้น เมื่อขึ้นมาถึงขอบปากโลหกุมภี แต่ละตนต่างปรารถนาจะบอกความในใจของตน จึงเปล่งคำพูดออกมา โดยสัตว์นรกตนแรกต้องการจะกล่าวว่า
 
     “พวกเราเมื่อมีโภคทรัพย์สมบัติอยู่ ไม่ได้ให้ทาน ไม่ได้ทำที่พึ่งสำหรับตน จัดว่ามีชีวิตอยู่อย่างชั่วช้า” แต่กล่าวได้เพียงอักษรตัวแรกเป็นภาษาบาลีว่า “ทุ” เท่านั้น ก็ต้องจมลงไป  
 
     ตนที่ 2 ต้องการจะกล่าวว่า “เราไหม้อยู่ในนรกตั้ง 60,000 ปีเต็ม  เมื่อไรจักสิ้นสุดกันเสียที” แต่กล่าวได้เพียงอักษรตัวแรกว่า “สะ” เท่านั้น ก็จมลงไป   
 
     ตนที่ 3 ต้องการจะกล่าวว่า “ไม่มีสิ้นสุด จะสิ้นสุดได้แต่ที่ไหน ความสิ้นสุดไม่ปรากฏเลย พวกเราเอ๋ย ก็เพราะข้ากับเจ้าทำบาปกรรมไว้มากในครั้งนั้น” แต่กล่าวได้เพียงคำว่า “นะ” เท่านั้น ก็จมลงไปอีก  
 
     ตนที่ 4 ต้องการจะกล่าวว่า “ถ้าเราพ้นไปจากโลหะกุมภีนรกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์ จักให้ทาน รักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จักสร้างกุศลไว้ให้มาก” แต่กล่าวได้เพียงคำว่า “โส” เท่านั้น ก็จมลงเสวยผลกรรมต่อไป   
 
     สัตว์นรกเหล่านั้น ไม่อาจกล่าวคำเหล่านี้ได้หมดประโยค กล่าวได้แต่อักษรตัวแรกเท่านั้น แล้วก็จมลงไปอีก ภัยที่เกิดจากเสียงนั้นมิได้มีแก่พระองค์ แต่กรรมที่พระองค์จะบูชายัญด้วยการเข่นฆ่าสัตว์มีชีวิตจำนวนมากมาย จะทำให้ต้องไปตกนรกได้รับทุกข์ทรมานเป็นเวลายาวนาน” พระราชาได้สดับความจริงแล้วทรงหวั่นพระทัย เกิดหิริโอตตัปปะ และบังเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ ที่ได้ให้ความแจ่มแจ้งในพระสุบิน

เรื่องราวการบูชายัญในสมัยพระเจ้าพรหมทัต

    ครั้งหนึ่งพระโพธิ์สัตว์ปรารถนาฉันอาหารที่มีรสชาติต่างจากผลไม้ในป่าใหญ่บ้าง จึงออกจากป่าหิมพานต์เที่ยวบิณฑบาตเดินทางมาจนถึงเมืองพาราณสี ได้พำนักอยู่ที่พระราชอุทยาน ประมาณเที่ยงคืนของวันหนึ่งขณะพระราชาประทับอยู่บนพระแท่นสิริไสยาสน์ พระองค์ได้สดับเสียงร้อง 8 ชนิด คือ เสียงร้องของนกยางในพระราชอุทยาน ยังไม่ทันขาดหาย เสียงของแม่กาซึ่งอาศัยอยู่ที่เสาระเนียดที่โรงช้างร้องขึ้นอีก ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน แมลงภู่ที่อาศัยอยู่บนช่อฟ้าเรือนหลวงก็ร้องขึ้น นกดุเหว่า เนื้อ วานร และกินนรที่เลี้ยงไว้ในเรือนหลวง ต่างร้องขึ้นไล่เลี่ยกันไปตามลำดับ ในขณะที่เสียงกินนรยังไม่ทันขาดหาย พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มาถึงพระราชอุทยาน ได้เปล่งเสียงอุทานขึ้นเป็นเสียงที่แปด
 
     พระเจ้าพรหมทัตสดับเสียงเหล่านั้นในเวลาไล่เลี่ยกันเช่นนี้ ทรงตกพระทัยกลัวยิ่งนัก ด้วยเกรงจะเกิดเภทภัยกับพระองค์และสิริราชสมบัติ ทำให้บรรทมไม่หลับทั้งคืน รุ่งขึ้น จึงตรัสถามพวกพราหมณ์ พราหมณ์เหล่านั้น แท้ที่จริงก็ตอบไม่ได้ แต่เกรงจะทำให้พระราชากริ้ว จึงทูลเท็จว่า “ข้าแต่มหาราช อันตรายจะเกิดขึ้นกับพระองค์ หากพระองค์อนุญาตให้ทำพลีกรรม บูชายัญด้วยสัตว์ทั้งหลายอย่างละ 4 ตัว พระองค์ก็จะรอดพ้นจากอันตรายได้” พระราชาจึงตรัสอนุญาตให้ทำพลีกรรมตามที่พราหมณ์เหล่านั้นเสนอทันที
 
     ท่ามกลางผู้ที่เห็นแก่ตัว มักมีผู้ที่เปี่ยมด้วยความเสียสละ ท่ามกลางผู้ที่โง่เขลา มักไม่ไร้ผู้มีปัญญา สมัยนั้นก็เช่นกัน มาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณ์เป็นหัวหน้างานพิธีกรรมบูชายัญในครั้งนั้น เป็นผู้มีปัญญาและเป็นบัณฑิต เมื่อเห็นการกระทำของพวกพราหมณ์ จึงคิดว่า การทำพลีกรรมที่หยาบช้าเช่นนี้ ไม่ใช่การกระทำที่เป็นประโยชน์เลย จึงกล่าวกับอาจารย์ว่า “ข้าแต่อาจารย์ ยัญญกรรมเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่ดีงาม ขอท่านอย่าให้พระราชาสร้างกรรมเช่นนี้” แต่ถูกอาจารย์ห้ามว่า “เจ้าช่างไม่รู้อะไร การทำอย่างนี้ จะทำให้เรามีเนื้อกินมากมาย”

การบูชายัญ
การบูชายัญในทางพระพุทธศาสนาด้วยการเข่นฆ๋าผู้อื่น ไม่มี


     เมื่อมาณพห้ามไม่ได้ ก็รำพึงขึ้นว่า สมณะผู้ทรงศีลท่านใดหนอที่จะห้ามพระราชาได้ จึงเข้าไปพระราชอุทยาน เห็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญเพียรอยู่ เขารีบเข้าไปไหว้พลางกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้ทรงศีล ขอท่านโปรดอนุเคราะห์สรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยเถิด” เขาได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น พระโพธิสัตว์ตอบว่า "เราเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดดี ขอให้เจ้าไปทูลพระราชาให้เสด็จมาที่นี่เถิด เราจะแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งปวงเอง" มาณพฟังดังนั้น เขาดีใจมากรีบกลับไปกราบทูลพระราชาถึงเรื่องราวที่ไปพบพระโพธิสัตว์ พระราชาไม่รอช้า รีบเสด็จไปหาพระโพธิสัตว์ทันที หลังจากกราบนมัสการแล้วทรงทูลถามว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมรู้ว่า ท่านเป็นผู้รู้ฉลาดในเรื่องราวทั้งปวง ขอท่านโปรดชี้แนะด้วยเถิด”
 
     พระโพธิสัตว์ตรัสว่า “มหาบพิตร เสียงที่พระองค์ได้ยินทั้ง 8 เสียงนั้น ไม่มีอันตรายใดๆ กับพระองค์ นกยางถูกความหิวครอบงำจึงพูดขึ้นว่า เมื่อก่อนนี้สระมงคลโบกขรณีอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่บิดาเรา แต่บัดนี้แห้งขอดแล้ว แม้จะอดอยาก เราก็จะไม่ย้ายที่อยู่ หากพระองค์จะอนุเคราะห์ ขอจงดูแลไขน้ำเต็มสระเถิด  แม่กาอยู่เสาระเนียด ถูกควาญช้างแกล้งทุกวัน โกรธนายควาญช้างนั้น จึงพูดว่า ใครหนอที่สามารถทำลายนัยน์ตาของคนผู้นี้ได้ หากจะช่วยกา ขอพระองค์จงตรัสบอกควาญช้าง อย่าได้แกล้งกาอีก  ส่วนแมลงภู่ที่ช่อฟ้า กัดกินกระพี้ไม้จนถึงแก่น เมื่อมันเจาะแก่นไม้ไม่ได้ ติดอยู่ในนั้นออกไม่ได้จึงร้องขึ้น ขอพระองค์ให้ใครช่วยมันออกมาเถิด
 
     นกดุเหว่าที่พระองค์เลี้ยงไว้ ร้องว่า เมื่อไรเราจะพ้นจากกรงสักที จะได้มีชีวิตอิสระ  เนื้อที่พระองค์เลี้ยงไว้คิดถึงนางเนื้อ จึงร้องเป็นเสียงที่ห้า ส่วนวานรที่เลี้ยงไว้ก็เช่นกัน คิดถึงนางวานรที่อยู่ในป่าก็เลยส่งเสียงขึ้นเป็นเสียงที่หก  ส่วนกินนรก็เหมือนกันคิดถึงนางกินรีที่เคยครองคู่ด้วยกันที่ป่าก็ร้องเป็นเสียงที่เจ็ด ขอให้พระองค์ปลดปล่อยสัตว์เหล่านั้นไปเถิด  ส่วนเสียงที่แปดนั้น เป็นเสียงที่เปล่งอุทานถึงพระนิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าก่อนที่จะปรินิพพานว่า มหาชนใดได้ร่วมบุญบูชาพระธาตุของเราย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ขณะนี้พระองค์ปรินิพพานแล้ว ขอมหาบพิตรจงบำเพ็ญบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้าเถิด”
 
     พระราชาสดับดังนี้ ทรงดีพระทัยยิ่งนัก สั่งยกเลิกการบูชายัญทั้งหมด และทำตามคำแนะนำของพระโพธิสัตว์ ได้ฌาปนกิจสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยสักการะใหญ่ ทั้งได้บูชาและดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์จนตลอดชีวิตของพระองค์
 
     จะเห็นว่า การที่ได้ผู้รู้เป็นกัลยาณมิตร นับเป็นโชคดีอย่างมหาศาล เพราะผู้รู้ผู้บริสุทธิ์ จะช่วยประคับประคองเรา ให้ดำรงอยู่ในเส้นทางชีวิตที่ถูกต้องดีงามตลอดไป โดยเฉพาะผู้รู้ภายใน คือพระธรรมกาย เป็นผู้รู้ที่เมื่อเข้าใกล้แล้ว จะมีแต่ความสุข ความปลอดภัยในชีวิต บุญบารมีของเราก็เพิ่มขึ้นด้วย  ดังนั้น พวกเราต้องเข้าไปใกล้ชิดท่านผู้รู้ที่อยู่ภายในให้ได้กันทุกคน

ฆ่าสัตว์บูชายัญ
ฆ่าสัตว์บูชายัญ

 

การฆ่าสัตว์บูชายัญทางนำพาให้ไปความหลุดพ้นนั้นไม่จริง

   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นอุดมการณ์ของชาวพุทธ ข้อที่ 3) ว่า..  นหิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํวิเหฐยนฺโต บรรพชิตผู้ฆ่าสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าสมณะเลย

     คำว่า "บรรพชิต" แปลว่า “นักบวช” ซึ่งนักบวชในพระพุทธศาสนานั้น ต้องประพฤติปฏิบัติธรรม นอกจากจะสั่งสอนตนเองแล้ว ยังต้องออกทำหน้าที่กัลยาณมิตร ออกเกื้อกูลแก่ชาวโลก ซึ่งต่างจากนักบวชต่างศาสนา ที่นอกจากจะไม่ปฏิบัติธรรมกันแล้ว ยังมีความเห็นผิด มีการฆ่าสัตว์บูชายัญกันมากมาย เพราะคิดว่า การฆ่าเป็นทางนำพาให้ไปความหลุดพ้นได้ เป็นต้น
 
    ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว มนุษย์ล้วนเป็นเสมือนเครือญาติ เป็นพี่น้องกัน หายใจอากาศเดียวกันอยู่ตลอดเวลา ดื่มน้ำจากฟ้าเดียวกัน อาศัยอยู่ภายใต้ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวเดียวกัน เราต้องอยู่ร่วมกันในโลกใบนี้นับตั้งแต่เกิดมา จนกระทั่งวินาทีสุดท้ายของชีวิต เราจึงควรมีความเสมอภาคและไม่ควรเบียดเบียนกันเอง เพราะเราไม่ใช่ศัตรูกันมาตั้งแต่กำเนิด ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ธรรมชาติสร้างให้ดำรงชีพอยู่ได้ ด้วยการกินกันเองเป็นอาหาร เราล้วนเป็นพี่น้องกัน เหมือนนกที่ฟักออกจากไข่ในรังเดียวกัน เราเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น


วิธีแก้กรรมฆ่าสัตว์บูชายัญ

1. วิธีแก้ไขต้องทำบุญทุกบุญแล้วอุทิศไปให้คู่กรรมบ่อยๆ อีกทั้งต้องปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกายจึงจะพ้นวิบากกรรมได้
2. มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด
3. สั่งสมบุญทุกบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา หรือไปซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่ามาปล่อยบ่อยๆ แล้วอุทิศบุญกุศลนี้ให้กับสัตว์ที่เราไปเบียดเบียนเขาเอาไว้

ฆ่าสัตว์บูชายัญ
ฆ่าสัตว์บูชายัญ

 

การบูชายัญในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร

    การฆ่าหรือประทุษร้ายร่างกายผู้อื่น รวมไปถึงสัตว์ทั้งหมดด้วย ล้วนชื่อว่านำความทุกข์กายทุกข์ใจมาสู่ตนและผู้อื่นมากกว่านำความโชคดีมาให้ การทำลายชีวิตผู้อื่นแม้เพียงครั้งเดียว แต่ผลที่ตามมา จะกลับมาทำลายตัวเราอีกหลายครั้งอย่างคาดไม่ถึง ดังเรื่องราวอันน่าสะเทือนใจของผู้ที่ต้องชดใช้ความผิดด้วยชีวิตของตนครั้ง แล้วครั้งเล่า

การบูชายัญ
การบูชายัญในทางพระพุทธศาสนา

     อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เช่น บางคนกำลังเดินบนฟุตปาธ ก็ถูกรถเสียหลักพุ่งเข้าชนจนเสียชีวิตทันที, หรือรถพ่วงที่บรรทุกของหนักบนทางด่วน ทำของตกลงมา แล้วหล่นใส่คนที่ยืนอยู่ข้างล่างเสียชีวิตทันที, บางคนนอนเล่นอยู่บนเรือ แต่ถูกรถตกจากสะพานลงมาทับตายคาที่ ซึ่งเป็นการตายที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น ผู้ตายอายุก็ยังน้อย ชีวิตทางโลกกำลังเจริญรุ่งเรือง แต่ทุกสิ่งก็สามารถเกิดขึ้นได้เพราะเหตุในอดีตทั้งสิ้น เหตุในอดีตคือ กรรมที่ตนเองเคยทำเอาไว้ซึ่งจ้องหาโอกาสตามมาส่งผลเสมอ

พุทธศาสนากับการบูชายัญ

     ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาของเหตุและผล เชื่อในผลของกรรม คือการกระทำของตนเอง ไม่ใช่การสวดอ้อนวอน บวงสรวง บูชายัญเทพเจ้า เพื่อให้ท่านบันดาลในสิ่งที่ตัวเองปรารถนา ไม่ว่าเรื่องส่วนตัวหรือส่วนรวม ในทางพระพุทธศาสนาจะสอนให้ทุกคน ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส มีเป้าหมายสูงสุด คือ ขจัดกิเลสซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้น แล้วไปนิพพาน ส่วนสวรรค์นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภพ 3 และยังอยู่ในวัฏฏะไม่พ้นจากทุกข์

การบูชายัญที่มีผลดีจริงตามหลักสัมมาทิฏฐิเป็นอย่างไร

      การเซ่นสรวงหรือการบูชาที่มีผลจริงตามหลักพระพุทธศาสนา การนำสิ่งของที่สมควรไปสักการะ หรือมอบให้ผู้ที่ควรบูชา ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดีทั้งแก่ตนและผู้อื่น จุดมุ่งหมายของการบูชา เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ผู้มีพระคุณต่อเรา เป็นการยอมรับนับถือ ประกาศเกียรติคุณของท่านเหล่านั้นให้โลกรู้ และยึดไว้เป็นแบบอย่าง เป็นการส่งเสริมให้เกิดกำลังใจในการทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป และการบูชาบุคคลผู้ควรบูชา ถือเป็นมงคลอันสูงสุดอย่างหนึ่งในชีวิตอีกด้วย

     จึงเห็นได้ว่าการบูชายัญด้วยการเข่นฆ่า ทำร้ายผู้อื่นให้ถึงแก่ชีวิตนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ผิดหลักมนุษยธรรม ผิดศีลข้อที่ 1 ซึ่งมีผลทำให้ผู้กระทำต้องตกนรก รับวิบากกรรมอย่างทุกข์ทรมาน และวนเวียนอยู่ในวงจรของการฆ่า ดังนั้นแล้ว เราควรยึดมั่นในหลักศีล 5 ให้ดี และบูชาต่อบุคคลที่ควรบูชาอันได้แก่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า บูชาต่อผู้มีพระคุณได้แก่ บิดามารดาครูบาอาจารย์ของเราเป็นต้น แผ่เมตตาอยู่เป็นนิตย์ เราก็จักถึงพร้อมด้วยความสวัสดีมีชัย ปลอดภัยในทุกที่ทุกสถาน

     ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน เมตตาสูตร ความว่า 

“โย จ เมตฺตํ ภาวยติ อปฺปมาณํ ปฏิสฺสโต
ตนู สํโยชนา โหนฺติ ปสฺสโต อุปธิกฺขยํ
โย น หนติ น ฆาเตติ น ชินาติ น ชาปเย
เมตฺตโส สพฺพภูตานํ เวรนฺตสฺส น เกนจิ

     ผู้ใดมีสติมั่นคง เจริญเมตตาอันหาประมาณมิได้ สังโยชน์ของผู้นั้น ผู้เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส ย่อมเบาบาง ผู้ใดมีเมตตาจิตในสรรพสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์เอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร”

การบูชายัญ
การบูชายัญในทางพระพุทธศาสนา

 

บทความน่าอ่านเกี่ยวกับการบูชายัญ

ศีลธรรม-มนุษยธรรม
ศีล 5 คืออะไร มารักษาศีล 5 กันเถอะ

ทุมเมธชาดก ชาดกว่าด้วยการใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์ 
ผู้นำแห่งสันติภาพ ว่าด้วยอุบายไม่ให้ผู้ใดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อบูชายัญ
ถูกตัดคอ เพราะในอดีตเคยตัดศีรษะของสัตว์มากมาย เพื่อบูชายัญเทพเจ้า
วันแห่งความรักสากลของโลก
คนไร้ศาสนา 
ความต้องการของคน 6 ประเภท 

ความฝัน 16 ประการของพระเจ้าปเสนทิโกศล

ธรรม ะเพื่อประชาชนเกี่ยวกับการบูชายัญ

จันทกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี (๔)
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ประมาทแล้วต้องตั้งต้นใหม่ (๑)
โลมสกัสสปะ กับบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์อย่างละ ๑๐๐ตัว
พิธีบูชายัญใหญ่โตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อทรงเห็นพระสุบินนิมิต
พุทธพยากรณ์ ๒ ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล
บรรดาหมู่มนุษย์ในโลกนี้ อาศัยอะไรจึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ตรัสพระคาถาไว้ใน อามคันธสูตร 
เสียงร้องปริศนา ของพระเจ้าพรหมทัต กับการบูชายัญ
ได้โปรดอภัยเถิด
ทำพลีกรรมด้วยการควักนัยน์ตาของพระราชา ๑,๐๐๐ พระองค์ ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว 
พระเจ้าปเสนทิโกศล สั่งบูชายัญเพราะเสียงในฝันว่า "ทุ สะ นะ โส"
โจรโปริสาท จับพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีป เพื่อบูชายัญรุกขเทวดา
โจรนำตัวพระเตมีย์ไปเพื่อฆ่าบูชายัญ แต่ทำอย่างไรก็ฆ่าท่านไม่สำเร็จ
ฆ่าสัตว์จำนวนนับพันเพื่อบูชายัญ แต่การกระทำนั้น ก็ไม่ถึงส่วนเสี้ยวแห่งผลของทาน

ผู้นำแห่งสันติภาพ ว่าด้วยอุบายไม่ให้ผู้ใดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อบูชายัญ


Case Study เกี่ยวกับเรื่องการบูชายัญ

ปล้นจับคนมาบูชายัญเพื่อให้ตายแทน
จับเด็กผู้หญิงบริสุทธิ์ไปบูชายัญ ปัดเป่ามรสุมใหญ่
ฆ่าสัตว์ที่ตั้งท้องบูชายัญ
บูชายัญด้วย สาวพรหมจรรย์ ตำนานมาดามเปเล่ ศิลาอาถรรพ์
วิบากกรรมฆ่าสัตว์บูชายัญเทพเจ้าในหลาย ๆ ชาติ
สมรภูมิข้ามภพ
ฆ่าสัตว์บูชายัญ เพื่อต่ออายุตัวเอง
ภูตพิศวาส, พยาบาทข้ามชาติ อายุสั้น ฆ่าเพื่อเซ่นสรวง บูชายัญ เทพที่ตนนับถือ
เป็น “อัมพาต” เพราะ ...กรรม “ฆ่าสัตว์บูชายัญ”
ป่วยเป็น “เจ้าชายนิทรา” เพราะกรรมในอดีตได้เคยมัดขาและฆ่าสัตว์บูชายัญ
ฆ่าตัดคอ ความเชื่อฆ่าตัดคอสัตว์บูชายัญ
บูชายัญเทพเจ้าที่ตัวนับถือ เพื่อให้ท่าน บันดาลในสิ่งที่ตัวเองปรารถนา 

 

สัมมาทิฏฐิ 10 ประการ


http://goo.gl/39vIMD


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related