ปุราณอักษรา

เส้นจารเนื้อความพระไตรปิฎกบนแผ่นลานนอกจากจะเป็นหลักฐานแสดงการสืบทอดพุทธธรรมแล้วยังเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการอักษรโบราณบนแผ่นดินไทยอีกด้วย https://dmc.tv/a22837

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 25 พ.ย. 2560 ] - [ ผู้อ่าน : 18259 ]
ปุราณอักษรา

เรื่อง : Tipitaka (DTP)
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐
 
ปุราณอักษรา

     เส้นจารเนื้อความพระไตรปิฎกบนแผ่นลานนอกจากจะเป็นหลักฐานแสดงการสืบทอดพุทธธรรมแล้วยังเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงวิวัฒนาการอักษรโบราณบนแผ่นดินไทยอีกด้วย แม้คัมภีร์ใบลานที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันจะมีอายุไม่กี่ร้อยปี แต่อักษรขอม อักษรธรรมล้านนา และอักษรธรรมอีสานที่ใช้จารคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานก็เป็นหลักฐานสำคัญที่หลงเหลือมาสู่คนรุ่นปัจจุบันที่สามารถนำไปศึกษาร่องรอยการสืบทอดอักขรวิธีและวัฒนาการอักษรโบราณที่มีมาอย่างยาวนานของบรรพชนไทย ทีมี่ต้นกำเนิดย้อนไปถึงอักษรปลัลวะแห่งอารยธรรมอินเดียในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
 
จารึกอักษรปัลลวะสมัยพระเจ้าสิงหวรมันกษัตริย์ราชวงศ์ปัลลวะแห่งอินเดียตอนใต้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑
จารึกอักษรปัลลวะสมัยพระเจ้าสิงหวรมันกษัตริย์ราชวงศ์ปัลลวะแห่งอินเดียตอนใต้อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑

    ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนของประเทศไทยเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณมากมาย อาทิ อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรเจนละ อาณาจักรศรีวิชัยเป็นต้น แต่ละอาณาจักรต่างรับอิทธิพลด้านตัวอักษรจากดินแดนภารตะฝ่ายใต้ผ่านการค้าขายและการเผยแผ่ศาสนา ดังปรากฏหลักฐานจารึกอักษรปัลลวะหลายหลักกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย
 
จารึกเขารัง
จารึกเขารัง

     อาทิ จารึกเขารังจังหวัดสระแก้ว นับเป็นศิลาจารึกอักษรปัลลวะที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด จารด้วยภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรโบราณบนหินทรายเนื้อหยาบ กำหนดอายุตามปีมหาศักราชที่ระบุในจารึกตรงกับ พ.ศ. ๑๑๘๒ หรือจารึกเยธมฺมาฯ ซึ่งเป็นคาถาภาษาบาลีคัดจากพระวินัยปิฎก มหาวรรค มหาขันธกะ ตอนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา ปรากฏบนระเบียงด้านขวาองค์พระปฐมเจดีย์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จารึกทั้ง ๒ หลักนี้แสดงให้เห็นว่าอักษรปัลลวะในอาณาจักรยุคแรกยังคงรูปแบบสัณฐานต้นฉบับเดิมของอินเดียฝ่ายใต้ไม่เปลี่ยนแปลง
 
เหรียญสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ปรากฏอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต
เหรียญสมัยทวารวดีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ปรากฏอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต

     จากนั้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ รูปแบบอักษรที่ใช้อยู่ในอาณาจักรทวารวดีอาณาจักรเจนละและอาณาจักรศรีวิชัยมีความคลี่คลายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ยังคงรักษาอักขรวิธีเหมือนอักษรปัลลวะอยู่เรียกอักษรในยุคนี้ว่า “อักษรหลังปัลลวะ” และต่อมาช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๙พัฒนาการของอักษรในแต่ละท้องถิ่นก็ยังดำเนินไปอย่างตลอดต่อเนื่อง แม้อาณาจักรเดิมจะล่มสลายไปและมีอาณาจักรใหม่เข้ามาแทนที่ แต่รูปแบบของตัวอักษรก็ยังได้รับการพัฒนาปรับเปลี่ยนและผสมผสานเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นจนเกิดเป็นอักษรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อักษรหลังปัลลวะที่ใช้ในอาณาจักรขอมสมัยพระนครซึ่งต่อเนื่องมาจากอาณาจักรเจนละ

     มีพัฒนาการจนกลายเป็น “อักษรขอมโบราณ” อักษรหลังปัลลวะที่ใช้ในอาณาจักรหริภุญชัยซึ่งต่อเนื่องมาจากอาณาจักรทวารวดีก็กลายเป็น “อักษรมอญโบราณ” และอักษรหลังปัลลวะที่ใช้ในอาณาจักรศรีวิชัยก็พัฒนาเป็น “อักษรกวิ” จึงเห็นได้ว่าอักษรโบราณในแต่ละท้องถิ่นที่มีอาณาเขตครอบคลุมบริเวณบางส่วนของประเทศไทยในปัจจุบันต่างสืบทอดมาจากอักษรสมัยราชวงศ์ปัลลวะด้วยกันทั้งสิ้น
 
จารึกอักษรมอญโบราณ
จารึกอักษรมอญโบราณ

     ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรขอมพระนครเสื่อมอำนาจลงและได้มีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ถึงกระนั้นผู้คนในอาณาจักรสุโขทัยก็ยังนิยมใช้อักษรขอมโบราณเพื่อเขียน    ภาษาบาลี ในภายหลังจึงมีการปรับใช้อักษรขอมโบราณให้เอื้อต่อการเขียนภาษาไทยด้วยจึงเกิดเป็น “อักษรขอมไทยสมัยสุโขทัย” และเมื่ออาณาจักรอยุธยาได้สถาปนาขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ ก็ได้รับเอาอิทธิพลอักษรขอมจากสุโขทัยไปปรับใช้จนกลายเป็น “อักษรขอมไทยสมัยอยุธยา” แล้วใช้เรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เมื่อมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ อักษรขอมจึงมีรูปแบบที่เรียกว่า “อักษรขอมไทยสมัยรัตนโกสินทร์” สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
 
หนังสือสมุดไทยอักษรขอมสมัยอยุธยา
หนังสือสมุดไทยอักษรขอมสมัยอยุธยา

หนังสือสมุดไทยอักษรขอมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
หนังสือสมุดไทยอักษรขอมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

     นอกจากมีการใช้อักษรขอมสุโขทัยแล้ว อาณาจักรสุโขทัยยังมีการใช้อีกอักษรหนึ่งควบคู่กัน คืออักษรไทยสุโขทัยหรือลายสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปีมหาศักราช ๑๒๐๕ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๘๒๖
ตามที่ระบุไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ทั้งนี้นักวิชาการได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงน่าจะอาศัยอักษรขอมโบราณ และอักษรมอญโบราณซึ่งเป็นอักษรดั้งเดิมที่ใช้อยู่ในท้องถิ่นตั้งแต่ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นต้นแบบ แล้วพัฒนาจนกลายเป็นอักษรไทย ที่สำคัญคืออักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงนี้เป็นต้นแบบของอักษรไทยทุกยุคทุกสมัยจนมาถึงอักษรไทยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน
 
ตัวอย่างการใช้อักษรขอมเพื่อเขียนภาษาบาลี
ตัวอย่างการใช้อักษรขอมเพื่อเขียนภาษาบาลี

การใช้อักษรขอมเพื่อเขียนภาษาไทย
การใช้อักษรขอมเพื่อเขียนภาษาไทย

ตัวอักษรไทยย่อแบบอยุธยาตอนปลาย ข้อความว่า “ข้าพเจ้านายบุญคำ ได้สร้างพระพุทธคุณคัมภีร์ ๑ พระวินัยคัมภีร์ ๑ พระสูตรคัมภีร์ ๑ พระบรมัตถ์คัมภีร์ ๑ จบพระไตรปิฎก แลพระอภิธรรมนี้ จงเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานแก่บิดามารดาข้าพเจ้าเถิด...”
ตัวอักษรไทยย่อแบบอยุธยาตอนปลาย ข้อความว่า “ข้าพเจ้านายบุญคำ ได้สร้างพระพุทธคุณคัมภีร์ ๑
พระวินัยคัมภีร์ ๑ พระสูตรคัมภีร์ ๑ พระบรมัตถ์คัมภีร์ ๑ จบพระไตรปิฎก แลพระอภิธรรมนี้
จงเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานแก่บิดามารดาข้าพเจ้าเถิด...”

     ในขณะที่อาณาจักรสุโขทัยมีการใช้อักษรขอมไทยและอักษรไทย อาณาจักรล้านนาในภาคเหนือก็มีการใช้อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากอักษรมอญโบราณที่ใช้ในอาณาจักรหริภุญชัยประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เนื่องจากอักษรธรรมล้านนามีรูปแบบอักษรและอักขรวิธีคล้ายคลึงกับอักษรมอญโบราณมาก ประกอบกับข้อมูลประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนว่าอาณาจักรล้านนามีการติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัยมาก่อนที่พญามังรายจะผนวกอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับอาณาจักรล้านนาจึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าชาวล้านนาในอดีตจะรับวัฒนธรรมหลายด้านโดยเฉพาะด้านตัวอักษรจากอาณาจักรหริภุญชัย ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าอักษรธรรมนั้น ก็เนื่องด้วยเป็นตัวอักษรที่ใช้บันทึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
 
คัมภีร์พระไตรปิฎกทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อักษรธรรมล้านนา
คัมภีร์พระไตรปิฎกทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อักษรธรรมล้านนา

คัมภีร์พระไตรปิฎกทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อักษรธรรมอีสาน
คัมภีร์พระไตรปิฎกทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อักษรธรรมอีสาน

      อิทธิพลอักษรธรรมล้านนาสืบทอดไปยังอาณาจักรล้านช้างซึ่งอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของ ๒ อาณาจักรทำให้อาณาจักรล้านช้างรับเอาอิทธิพลด้านพระพุทธศาสนาและรับตัวอักษรธรรมล้านนาไปพัฒนาปรับใช้ในท้องถิ่นจนกลายเป็น “อักษรธรรมอีสาน” ในที่สุด

     จากจุดเริ่มต้นแห่งดินแดนภารตะตอนใต้อักษรปัลลวะ ได้เป็นแม่แบบของวิวัฒนาการอักษรโบราณในผืนแผ่นดินไทยผ่านห้วงกาลเวลาเนิ่นนานพันกว่าปี จากอักษรหนึ่งพัฒนาจนกลายเป็นอีกอักษรหนึ่งผ่านการติดต่อปฏิสัมพันธ์ ก่อเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างอาณาจักร ผสมผสานจนมีเอกลักษณ์ของตนเอง แม้อักขรวิธีและรูปแบบอักษรจะเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม แต่อักษรเหล่านั้นต่างมีกำเนิดจากที่เดียวกัน และบูรพชนชาวไทยก็ได้ใช้อักษรโบราณเหล่านี้จารึกเรื่องราวคดีโลกและคดีธรรมผ่านรุ่นสู่รุ่นไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบมา

อ้างอิง

กรรณิการ์ วิมลเกษม. ตำราเรียนอักษรไทยโบราณ อักษรขอมไทย อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
บุญเตือน ศรีวรพจน์, ประสิทธิ์ แสงทับ. สมุดข่อย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๒.
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. พัฒนาการของอักษรไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนา, ๒๕๕๖.




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related