พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว...ก้าวสู่รัตนโกสินทร์ตอนกลาง

แผ่นดินสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นยุคที่สยามเปิดประเทศสู่อารยธรรมตะวันตกและเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม https://dmc.tv/a20296

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 10 ก.ค. 2558 ] - [ ผู้อ่าน : 18258 ]
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว...ก้าวสู่รัตนโกสินทร์ตอนกลาง
 
เรื่อง : Tipitaka (DTP)
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๘
 
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ ๔ แสดงวิถีชีวิตของชาวสยามที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงชั้นเอก
วัดประจำรัชกาลที่ ๔ แสดงวิถีชีวิตของชาวสยามที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา

     แผ่นดินสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นยุคที่สยามเปิดประเทศสู่อารยธรรมตะวันตกและเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อปรับตัวให้ประเทศรอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ แต่สิ่งที่ยืนหยัดคู่แผ่นดินทั้งยามสุขสงบและยามเผชิญวิกฤตมิเปลี่ยนแปลง คือ พระพุทธศาสนา อันเป็นที่เคารพนับถือสูงสุดและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติมาแต่บรรพกาล


      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถทั้งทางโลกและทางธรรม อันสอดผสานกันนำพาประเทศให้ก้าวผ่านยุคที่อิทธิพลตะวันตกเริ่มเข้ามาในแผ่นดิน โดยเฉพาะความรู้ในด้านการพระศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีที่มีความรู้เรื่องพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง และเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๒ ที่มีความรู้แตกฉานในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ถัดจากพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งราชวงศ์พระร่วงสุโขทัยทั้งนี้เพราะทรงผนวชเป็นภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาอยู่นานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดๆ ตั้งแต่เจริญพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา จนพระชนมายุ ๔๗ พรรษา จึงทรงลาผนวชเพื่อสืบทอดราชบัลลังก์ รวมระยะเวลาครองสมณเพศได้ ๒๗ พรรษา

    เจ้าฟ้ามงกุฎทรงดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ มีฉายาว่า วชิรญาโณทรงเอาพระทัยใส่ศึกษาทั้งวิปัสสนาธุระและคันถธุระอย่างลึกซึ้ง ความแตกฉานในภาษามคธของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ แม้ขณะนั้นจะทรงสอบพระปริยัติธรรมได้ชั้นประโยค ๑-๕ แต่ก็ทรงพระปรีชาสามารถแปลพระปริยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ถวายต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมั่นพระราชหฤทัยในความรู้ของพระองค์ และมีพระราชศรัทธาถวายพัดเปรียญ ๙ ประโยค เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะและกรรมการในการสอบไล่พระปริยัติธรรมพระภิกษุสามเณรในเวลาต่อมา
 
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องทรงศีล ทรงฉายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องทรงศีล
ทรงฉายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐

     ความเชี่ยวชาญในภาษามคธทำให้เจ้าฟ้ามงกุฎทรงสามารถศึกษาพระไตรปิฎกได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เมื่อพิจารณามาถึงพระวินัยปิฎก ทรงเล็งเห็นว่าแบบแผนความประพฤติของคณะสงฆ์ในขณะนั้นมีความวิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติเดิมอยู่มาก จึงทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมและวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เคร่งครัดบริสุทธิ์ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เช่น การครองผ้าของพระภิกษุสามเณรตามเสขิยวัตรแห่งพระวินัย การแสดงอาบัติการทำพินทุ เป็นต้น และทรงพระราชนิพนธ์บทสวดภาษาบาลีตั้งธรรมเนียมทำวัตรเช้าและเย็นขึ้น ซึ่งบทพระราชนิพนธ์นี้ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แบบแผนธรรมเนียมที่ฟื้นฟูขึ้นนี้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่างตั้งแต่ยังทรงผนวชจนกระทั่งขึ้นเถลิงราชสมบัตินับเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาในประเทศไทยให้รุ่งเรืองขึ้นอีกวาระหนึ่งสมดั่งพระราชหฤทัยที่ตั้งไว้อย่างแน่วแน่

     ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สำรวจคัมภีร์พระไตรปิฎกในหอพระมณเฑียรธรรม และตรวจสอบคัมภีร์พระไตรปิฎกในแผ่นดิน เจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ ทรงรับเป็นธุระสำคัญในการจัดส่งสมณทูตไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากลังกากลับมาแผ่นดินสยามเพื่อนำมาคัดลอกให้สมบูรณ์ ครั้นเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สำรวจคัมภีร์พระไตรปิฎกในหอพระมณเฑียรธรรมเช่นเดียวกัน หากพบคัมภีร์ฉบับใดสูญหายหรือไม่ครบถ้วนก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างซ่อมแซมจนครบบริบูรณ์ และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างคัมภีร์พระไตรปิฎก “ฉบับล่องชาด” สำหรับหอหลวงขึ้นใหม่ คัมภีร์พระไตรปิฎกหลวงที่สร้างใหม่สำหรับรัชกาลนี้ จะปรากฏรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลอยู่ด้านซ้ายและขวาของใบลาน แต่หากเป็นคัมภีร์ที่สร้างซ่อมเพิ่มเติมจากรัชกาลก่อน จะปรากฏตราสัญลักษณ์รัชกาลก่อนทางด้านซ้าย และตราสัญลักษณ์รัชกาลหลังทางด้านขวา
 
 


    ทั้งยังทรงเผยแผ่พระสัทธรรมแห่งองค์พระบรมศาสดาให้ไปงอกงามยังดินแดนอื่น ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือ “The Status of Pāli in Cambodia : from Canonical to Esoteric Language” โดย Olivier de Bernon ว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ส่งพระไตรปิฎกฉบับครบถ้วนสมบูรณ์ไปยังสมเด็จพระหริรักษ์รามสุริยะมหาอิศวรอดิภาพ (นักองด้วง) ปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาสมัยใหม่ ซึ่งถือเป็นเอกสารด้านการสืบทอดภาษาบาลีฉบับสมบูรณ์ของประวัติศาสตร์กัมพูชาเลยทีเดียว
 

     นอกจากเจ้าฟ้ามงกุฎจะทรงมีส่วนสำคัญในการสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้ว ช่วงที่พระองค์ทรงปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้นำเทคโนโลยีการพิมพ์มาใช้เพื่อประโยชน์ทางพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกของประเทศขึ้นภายในวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำสื่อสิ่งพิมพ์ตอบโต้คำสอนของคริสต์ศาสนาที่โจมตีพุทธศาสนาผ่านสิ่งพิมพ์อย่างต่อเนื่อง และให้มีการเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการเผยแผ่คำสอนของมิชชันนารีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และเพื่อลดความซับซ้อนของอักขรวิธีในการเขียนและการพิมพ์ ทรงประดิษฐ์อักษรขึ้นใหม่ เรียกว่าอักษรอริยกะ หมายถึง อักษรของผู้เจริญ โดยทรงดัดแปลงอักษรโรมันของชาวตะวันตกมาใช้

     ในการบันทึกภาษาบาลีแทนอักษรขอมไทยที่ใช้มาแต่เดิม รูปสัณฐานคล้ายคลึงกับอักษรโรมันมีรูปพยัญชนะ ๓๓ ตัว สระ ๘ ตัว สระและพยัญชนะวางอยู่บนบรรทัดเดียวกัน คล้ายคลึงกับอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่อักษรนี้มีความแตกต่างจากอักษรไทยอยู่มาก จึงไม่เป็นที่นิยมและเลิกใช้ไปในที่สุด

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกรับราชทูตฝรั่งเศส ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออกรับราชทูตฝรั่งเศส ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์

     พระปรีชาสามารถในสรรพวิชาที่เจ้าฟ้ามงกุฎได้จากประสบการณ์ตลอด ๒๗ พรรษาภายใต้ผ้ากาสาวพัสตร์ ประกอบกับสายพระเนตรที่ยาวไกลจากการปฏิสัมพันธ์กับนานาอารยประเทศนับเป็นคุณประโยชน์ยิ่งในการปกครองราชอาณาจักรให้สงบร่มเย็นเมื่อเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเชษฐาธิราชในกาลต่อมา พระราชภารกิจสำคัญในฐานะพระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๔ แห่งสยามประเทศ ตลอดระยะเวลา ๑๘ ปี คือ การดำเนินวิเทโศบาย นำพาประเทศชาติให้รอดพ้นจากภัยคุกคามในยุคล่าอาณานิคม คงความเป็นเอกราชด้วยความสวัสดี ทั้งยังแสดงให้อารยประเทศทั้งหลายได้ประจักษ์ว่า แผ่นดินสยามเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนาที่พรั่งพร้อมไปด้วยอารยธรรมอันงดงาม

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และวิรัตน์ อุนนาทรวรางกูร. คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. พัฒนาการของอักษรไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนา, ๒๕๕๖.
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. วิวัฒน์การอ่านไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๖.
 
 

 





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related