หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๐)

แนวการสอนและการปฏิบัติของพระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นไปตามแบบของโบราณาจารย์ ซึ่งสงเคราะห์ลงได้ในหลักกายคตาสติกรรมฐานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางแบบไว้ https://dmc.tv/a22644

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 11 ส.ค. 2560 ] - [ ผู้อ่าน : 18255 ]
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๐)

เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
 
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๐)

     เมื่อใกล้ถึงเทศกาลขึ้นปีใหม่ของทุก ๆ ปีนั้น ในวัฒนธรรมของเรา คนไทยย่อมจะมีการย้อนรำลึกนึกถึงบุคคลอันเป็นที่รัก อาทิ บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณของเรา เพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เพื่อนึกถึงคุณความดีของท่านที่มีต่อตัวเรา เพื่อทบทวนคำสั่งสอนหรือบทเรียนต่าง ๆ ที่ท่านมอบให้แก่เรา ตลอดจนเพื่อทบทวนบุญที่เรากระทำเพื่อท่านในปีที่ผ่านมา ฯลฯ เพื่อที่จะนำคำสั่งสอนบทเรียนอันล้ำค่า หรือบุญกุศลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือมาทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปในปีใหม่ที่จะมาถึงนี้

     ในส่วนของผู้เขียนเองนั้น ก็คงจะเป็นเช่นเดียวกับท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่าน ที่เมื่อใกล้ถึงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่แต่ละครั้ง มักจะย้อนรำลึกนึกถึงบุคคลสำคัญท่านหนึ่งอยู่เสมอ บุคคลท่านนั้นก็คือ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย มหาปูชนียาจารย์ผู้เป็นที่เคารพยิ่งของเราทุกคน ซึ่งกล่าวได้ว่า ทั้งคำสอน ปฏิปทาต่าง ๆ ตลอดจน “วิชชาความรู้” ของท่านนั้น คือสิ่งที่ทรงคุณค่าและสามารถนำพาสันติสุขให้แก่ตัวเราและมวลมนุษยชาติได้อย่างแท้จริง การน้อมรำลึกถึงท่านในแต่ละครั้ง จึงถือว่าเป็นการน้อมนำเอาสิ่งที่ดีงาม ที่เป็นมงคลของชีวิตให้เข้ามาสู่ตัวเราอยู่เสมอไป เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการบูชาบุคคลผู้ควรบูชา ซึ่งถือว่าเป็นมงคลอันสูงสุด (ปูชา จ ปูชะนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตตมํ) ดังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

     ซึ่งก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งว่า ในตลอดหลายปีที่ผ่านมานั้น เมื่อผู้เขียนได้เดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือทำงานศึกษาวิจัยหลักฐานธรรมกายในพื้นที่แห่งใดก็ดี ก็มักจะมีโอกาสพบกับบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) อยู่เสมอไป แม้ว่าจะไม่เกิดขึ้นโดยตรงทุกครั้งในทุก ๆ ภารกิจ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีอยู่หลายครั้งทีเดียวที่ผู้เขียนได้รับข้อมูลที่สำคัญ การบอกเล่าที่สำคัญ (ในเรื่องหลักฐานธรรมกาย) จากการได้พบกับบุคคลผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระเดชพระคุณหลวงปู่ (พระมงคลเทพมุนี) โดยตรง
 
 
     บุคคลท่านหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่ผู้เขียนอยากจะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ พระเดชพระคุณดร.พระมหาผ่อง ปิยะธีโร สะมาฤกษ์ อดีตประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนสัมพันธ์ลาว (เทียบเท่าตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรัก ความเคารพ ความศรัทธาในพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย เป็นอย่างมาก ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผู้เขียนได้พบกับท่านในโอกาสต่าง ๆ ทั้งในการประกอบศาสนกิจ หรือการไปประชุมในเวทีนานาชาติหลาย ๆ ครั้ง หากมีโอกาสและเวลาเอื้ออำนวย พระเดชพระคุณดร.พระมหาผ่องก็จะสละเวลาถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าศรัทธา น่าประทับใจ ให้ผู้เขียนฟังทุกครั้ง แม้ในเรื่องที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับพระเดชพระคุณหลวงปู่ แต่ถ้าหากเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อความเข้าใจในวิชชาธรรมกายแล้ว พระเดชพระคุณ ดร.พระมหาผ่องท่านก็ไม่เคยละเลยที่จะถ่ายทอดแม้แต่สักครั้งเดียว ซึ่งในแต่ละครั้งท่านก็จะเล่าถึงเรื่องราวเหล่านั้นด้วยความเบิกบานใจ

     พระเดชพระคุณ ดร.พระมหาผ่อง ปิยะธีโร สะมาฤกษ์ นั้น เป็นพระมหาเถระผู้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประชาชนชาวไทย ในช่วงวัยต้นของชีวิตท่านนั้น เป็นที่น่าสนใจว่า ท่านเคยเดินทางมาศึกษาและเป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร รวมเวลาถึง ๑๖ ปีด้วยกัน โดยในช่วงระหว่างนั้น พระเดชพระคุณดร.พระมหาผ่อง เป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระเดชพระคุณหลวงปู่ (พระมงคลเทพมุนี) อยู่หลายครั้ง และการที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นระยะ ๆ นี้เอง ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาปฏิปทา ข้อวัตรปฏิบัติ และเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติธรรมจากพระเดชพระคุณหลวงปู่สืบต่อมา
 
พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตมหาเถร)
พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตมหาเถร)

     เมื่อกล่าวถึงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงปู่นั้น อาจกล่าวได้ว่า พระธรรมเทศนาของท่านที่แสดงเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ถือเป็นพระธรรมเทศนาครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของท่าน ทั้งนี้เพราะเป็นพระธรรมเทศนาที่ พระเดชพระคุณพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตมหาเถร) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ ทำหนังสือขออาราธนานิมนต์พระเดชพระคุณหลวงปู่ด้วยตนเอง โดยได้กำหนดหัวข้อการแสดงพระธรรมเทศนาว่าจะต้องเป็นเรื่องกัมมัฏฐานโดยตรง และในวันนั้นการแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้คนพบวิชชาธรรมกาย ก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น เป็นที่อนุโมทนาชื่นชมโดยทั่วไป
 
พระทิพย์ปริญญา (ธูป กลัมพะสุต)
พระทิพย์ปริญญา” (ธูป กลัมพะสุต)

     หนึ่งในบุคคลผู้ทรงภูมิความรู้ ซึ่งยืนยันถึงความถูกต้อง ลุ่มลึก ของพระธรรมเทศนาในครั้งนี้ไว้อย่างชัดเจนก็คือ “พระทิพย์ปริญญา” (ธูป กลัมพะสุต) ป.ธ.๖ ผู้ติดตามการสอนแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของพระเดชพระคุณหลวงปู่ (พระมงคลเทพมุนี) ในการแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๑ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ – วันที่ ๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ รวมทั้งการแสดงพระธรรมเทศนาในวันที่ ๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๐ โดยในท้ายที่สุดท่านพระทิพย์ปริญญาผู้นี้ได้ให้ข้อสรุปว่า
 

     “... หลวงพ่อ (พระมงคลเทพมุนี) ท่านมุ่งมั่นในการสอนสมาธิเป็นหลัก ไม่ว่าจะเทศน์เรื่องใด ๆ ก็ตาม สุดท้ายก็ต้องจบลงด้วยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนาให้ไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยการปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมกาย...”1

     เช่นเดียวกับที่ท่านพระเดชพระคุณพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตมหาเถร) ได้เอ่ยปากชื่นชมพระธรรมเทศนาในวันที่ ๗ ตุลาคมพุทธศักราช ๒๔๙๐ ของพระเดชพระคุณหลวงปู่เช่นกันว่า “...การเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (นั้น) ลึกซึ้ง มีลำดับ ขั้นตอน สอดแทรกบาลี นำมาขยายความให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน ทั้งศีล สมาธิ ความบริสุทธิ์ เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ สมแล้วที่เป็นนักปฏิบัติธรรมวินัย ไม่มีที่ติเลย ...”

     สำหรับตัวของท่านพระทิพย์ปริญญาเองก็ยังได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมจากการฟังพระธรรมเทศนาครั้งดังกล่าวด้วยว่า “เท่าที่ได้เคยพบปะมา พระที่เป็นฝ่ายสมถะมักไม่ใคร่แสดงธรรม (แต่) พระที่แสดงธรรมส่วนมากมักเป็นฝ่ายปริยัติ ...แต่ (สำหรับ) หลวงพ่อวัดปากน้ำนี้ ...ด้วยความที่เป็นนักปริยัติมาเก่าก่อน แนวการแสดงธรรมในเบื้องต้นแต่ละกัณฑ์ ระวังบาลีมิให้คลาดเคลื่อน”2

     การให้คำยืนยันของพระมหาเถระและบุคคลผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกข้างต้น ทำให้เราทราบว่า ในระหว่างการทำงาน การศึกษา และเผยแผ่ธรรมปฏิบัติตลอดชีวิตของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ผู้เป็นที่เคารพบูชาของเหล่าศิษยานุศิษย์ทั่วโลกนั้นมิใช่เรื่องง่าย กล่าวโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ท่านกำลังให้การถ่ายทอดความรู้ธรรมปฏิบัติมานับสิบปีนั้น ท่านต้องพบกับอุปสรรคมากมายหลายด้าน ในท่ามกลางเสียงชื่นชมอนุโมทนา ก็ยังปะปนไปด้วยเสียงโต้แย้งคัดค้านท่านเสมอมาเช่นกัน
 
พระอริยคุณาธาร (ปุสฺโสเสง)
พระอริยคุณาธาร (ปุสฺโสเสง)

      ดังเช่นในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ ก็เป็นอีกช่วงหนึ่งที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องที่ท่านแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ทำให้ทางการคณะสงฆ์ถึงกับส่ง ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสฺโสเสง) เปรียญธรรม ๖ ประโยค ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์ใหญ่จากวัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ในฐานะผู้ตรวจการภาค มาตรวจสอบเรื่องราวต่าง ๆ จนในท้ายที่สุด ท่านจึงได้มาสนทนากับพระเดชพระคุณหลวงปู่ในหลายประเด็น นับตั้งแต่เรื่องของการปฏิบัติ แนวการสอนในวิชชาธรรมกาย เรื่องพระวินัย ตลอดจนพระไตรปิฎก ฯลฯ ซึ่งจากการพบและสนทนากันในคราวนั้น ทำให้ท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสฺโสเสง) ให้ข้อสรุปถึงแนวการสอนและการปฏิบัติของพระเดชพระคุณหลวงปู่ไว้ ๓ ประการใหญ่ ๆ คือ ๑) แนวการสอนและการปฏิบัติของพระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นไปตามแบบของโบราณาจารย์ ซึ่งสงเคราะห์ลงได้ในหลักกายคตาสติกรรมฐานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางแบบไว้ (คือ การให้กำหนดจิตไว้ในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ๒) แนวการสอนนี้ถือว่าเป็นกสิณแสงสว่าง โดยสมมุติเป็นดวงแก้ว หรือจะว่าเป็นวิญญาณกสิณก็ได้ ๓) เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแน่วแน่นิมิตก็จะปรากฏ หรือถ้าเป็นการเพ่งภาพหรือวัตถุ หรือธรรมชาติ หรือเป็นมโนภาพใช้ในการแผลงฤทธิ์ที่เรียกกันว่า “วิกุพพนาฤทธิ์” ตกลงว่าวิธีการปฏิบัติและการสอนของหลวงปู่วัดปากน้ำนั้นเป็นปฏิปทาเพื่ออภิญญาโดยตรง

     การให้ข้อสรุปของท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสฺโสเสง) ในครั้งนั้น นับว่าเป็นข้อสรุปที่สำคัญและช่วยยืนยันความบริสุทธิ์ ความเป็นพระมหาเถระที่มีปฏิปทาและจริยวัตรที่งดงามของพระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เป็นอย่างดี ด้วยว่าหลังจากนั้นเป็นต้นมา เกียรติคุณของพระเดชพระคุณหลวงปู่ของเราก็ยิ่งขจรขจายไปกว้างไกลยิ่งกว่าเดิม จนการคณะสงฆ์ในยุคนั้นได้ถวายเกียรติแด่ท่าน และส่งผลให้ท่านได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ (พ.ศ. ๒๔๙๔) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามว่า “พระมงคลราชมุนี” (พ.ศ. ๒๔๙๘) และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามว่า “พระมงคลเทพมุนี” (พ.ศ. ๒๕๐๐) ในที่สุด

     จนแม้เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว ในภายหลัง สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ก็ยังได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือ “ชีวประวัติของพระมงคลเทพมุนี และอานุภาพธรรมกาย” เพื่อยืนยันถึงความมีอยู่จริงของวิชชาธรรมกายไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยทรงพระนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ครั้งยังทรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต ในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า
 
สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)
สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริมหาเถร)

     “...คำว่า ธรรมกาย นั้น พระคุณท่าน (พระมงคลเทพมุนี) ไม่ได้บัญญัติขึ้นเอง แต่หาก (เพราะ) ท่านได้ปฏิบัติธรรมมาแล้ว ซึ่งตรงกับคำที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย เมื่อท่านค้นคว้าได้มาบังเอิญไปตรงกับพระไตรปิฎกเข้า จึงเป็นเรื่องที่ท่านภูมิใจและมั่นใจว่าของจริง มีจริง และมีอยู่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ...แต่ของจริงนั้น บุคคลจะพึงได้ พึงเห็น ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงเท่านั้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะความคิดนึกและความปรารถนา...”3

    ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ใจอีกเช่นกันที่ไม่เพียงแต่พระนิพนธ์ฉบับนี้เท่านั้นที่เป็นเครื่องยืนยันความมีอยู่จริง ความเป็นสิ่งที่ดีจริงของวิชชาธรรมกาย หากแต่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามแห่งเดียวกันนี้เองที่เป็นสถานที่เก็บรักษา “พระไตรปิฎกฉบับเทพชุมนุม” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น ซึ่งภายหลังเมื่อสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ขออนุญาตเข้าไปทำการอนุรักษ์ รวบรวม จัดหมวดหมู่ ทำบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว4 ในเวลาต่อมาจึงทำให้ได้พบจารึกคัมภีร์ “ธมฺมกายาทิ” และได้พบอีกครั้งหนึ่งจากการไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหอสมุดแห่งชาติ พระนคร ในพระไตรปิฎกฉบับรองทรง ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทั้งนี้การค้นพบหลักฐานชิ้นสำคัญข้างต้นจึงเป็นเสมือนการค้นพบฐานความรู้และประวัติศาสตร์ที่สำคัญครั้งหนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเลยทีเดียว เพราะในด้านหนึ่งย่อมจะเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่า บรรพบุรุษไทยทุกยุคทุกสมัยต่างก็ทราบและรู้จักเรื่องราวของ “ธรรมกาย” มาเป็นเวลานานแล้ว และที่สำคัญที่สุดก็คือ การพบเรื่องราวหลักฐานธรรมกายนี้ เป็นการพบในสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายโดยตรง ทั้งในแง่ของบุคคล หลักฐานเอกสาร และประวัติศาสตร์ ซึ่งก็เป็นดังที่ผู้เขียนได้เกริ่นนำไว้ตั้งแต่เบื้องต้นว่า “ล้วนเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง” จริง ๆ
 

    4สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ดำเนินการในการร่วมอนุรักษ์คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา คือพระไตรปิฎก ฉบับหลวง และพระไตรปิฎกฉบับเทพชุมนุมตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ มีการนำสำเนาคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับเทพชุมนุมฉบับดิจิทัลนี้ไปจัดแสดงในนิทรรศการสัปดาห ์ วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ วันเสาร์ที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน

      ในท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอน้อมนำบุญที่ได้กระทำมาแล้วด้วยดีตลอดปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ ไม่ว่าจะเป็นบุญใดก็ตาม ขอให้ทุกท่านได้มีส่วนในทุก ๆ บุญที่ผู้เขียนและคณะทำงานสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้สร้างสมมาแล้วทุกประการ โดยเฉพาะล่าสุดที่ผู้เขียนได้ร่วมก่อตั้งกองทุนสำคัญ ๒ ทุน คือ กองทุนการเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนาจังหวัดน่าน และ กองทุนการวิจัยวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อันมี พระเดชพระคุณพระสุนทรมุนี ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติพระเดชพระคุณพระชยานันทมุนี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์นครน่าน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง มาร่วมเป็นสักขีพยาน

1 พระครูภาวนามงคล, ตามรอยธรรมกาย : หลักฐานธรรมกายของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, กรุงเทพฯ : เอส. พี. เค. เปเปอร์ แอนด์ ฟอร์ม, ๒๕๕๖, หน้า ๓๙๖-๔๐๔.

2 สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์), มุทิตาสักการะ พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม), กรุงเทพฯ: (มปท.), หน้า ๔๒-๔๔.
3 สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ), ชีวประวัติของพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) และอานุภาพธรรมกาย, ธนบุรี, โรงพิมพ์ดำรงธรรม, ๒๕๑๕, หน้า ๕๐.
4 สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้ดำเนินการในการร่วมอนุรักษ์คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา คือพระไตรปิฎกฉบับหลวง และพระไตรปิฎกฉบับเทพชุมนุมตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ มีการนำสำเนาคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับเทพชุมนุมฉบับดิจิทัลนี้ไปจัดแสดงในนิทรรศการสัปดาห ์ วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ วันเสาร์ที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related