หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๒)

ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินทางกลับไปยังประเทศนิวซีแลนด์ ผู้เขียนได้บันทึกถึงการเดินทางครั้งนี้ไว้ว่าเป็นการเดินทางที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ที่คุ้มค่า..... https://dmc.tv/a22709

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 9 ก.ย. 2560 ] - [ ผู้อ่าน : 18257 ]
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๒)

เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
 
 

     เดือนนี้เป็นเดือนสำคัญเดือนหนึ่งในชีวิตการสร้างบารมีของผู้เขียน ทำให้ผู้เขียนย้อนระลึกนึกถึงภารกิจสำคัญชิ้นหนึ่งที่ได้รับมอบหมายมาเมื่อ ๑๕-๑๖ ปีมาแล้ว นั่นคือภารกิจสืบค้นหลักฐานธรรมกายไปทั่วโลก (ตามดำริและปณิธานของหลวงพ่อธัมมชโยที่มีมายาวนานกว่า ๓๖ ปีแล้ว) ด้วยภารกิจดังกล่าว ทำให้ผู้เขียนและคณะพยายามดำเนินการตามพันธกิจ ๗ ขั้นตอนที่ได้รับมอบหมายมานั้นให้คืบหน้าเรื่อยมา (แม้ว่าจะเกิดปัญหาอุปสรรคทำให้ต้องว่างเว้นไปนานถึง ๒๐ ปีก็ตาม) เริ่มจากการสรรหาบุคลากร การบ่มเพาะบุคลากรส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมทั้งในด้านการอ่าน การแปล การศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ การร่วมทำงานวิจัย ตลอดจนการนำผลการศึกษาวิจัยและหลักฐานธรรมกายไปนำเสนอและตีพิมพ์เผยแพร่ในเวทีระดับนานาชาติ การเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการพระพุทธศาสนา ฯลฯ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นความพยายามที่สำคัญในการทำให้พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายปักหลักมั่นคงในระดับสากลต่อไปได้
 

      อนึ่ง ปีนี้ยังนับเป็นปีสำคัญอีกปีหนึ่งของลูกศิษย์หลานศิษย์ในวิชชาธรรมกายด้วย กล่าวคือ เป็นปีแห่งการครบ ๑๐๐ ปี แห่งการบรรลุธรรมของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ซึ่งเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนหน้านี้ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีเคยตั้งสัตยาธิษฐานเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติสมาธิภาวนาจนบรรลุธรรม เข้าถึงพระธรรมกายในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ณ อุโบสถวัดโบสถ์บน บางคูเวียง ดังที่เราทราบกันมาแล้ว ดังนั้นสำหรับผู้เขียนแล้ว การที่ยังคงมุ่งมั่นดำเนินการสืบค้นหลักฐานธรรมกายของผู้เขียนและทีมงานจึงมีความสำคัญมาก เพราะในด้านหนึ่งย่อมเท่ากับเป็นการสานต่อภารกิจของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ให้เป็นจริงอีกทางหนึ่ง กล่าวคือ เป็นการยืนยันถึงความแท้จริงและการมีอยู่จริงของวิชชาธรรมกายในภาคปริยัติ (วิชาการ) ให้ปรากฏออกมา ซึ่งทั้งผู้เขียนและทีมงานสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ทุกคนต่างก็มีความตระหนักและมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้นในการทำงานอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการบูชาคุณพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ให้ดีกว่าดีที่สุดนั่นเอง ทั้งนี้เพราะเราต่างทราบกันดีว่า หากทุก ๆ คนในโลกมีความรู้ความเข้าใจและเชื่อมั่นในวิชชาธรรมกาย และมีโอกาสน้อมนำไปปฏิบัติจนบังเกิดผลอย่างกว้างขวางแล้ว สันติภาพและสันติสุขที่แท้จริงย่อมจะเกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างแน่นอน
 

      เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ผู้เขียนและคณะนักวิจัยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้รับโอกาสและความเมตตาจากนักวิชาการสำคัญทางพระพุทธศาสนาท่านต่าง ๆ โดยเฉพาะจากแวดวงวิชาการตะวันตก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการเข้าไปร่วมศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราว พระสูตรต่าง ๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนาระหว่างกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความคุ้นเคย และเกิดความซาบซึ้งในการจะเผยแผ่ความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา (ที่พบในคัมภีร์โบราณ) ออกสู่โลกและสาธารณชนในช่วงเวลาต่อ ๆ มาจนปัจจุบัน
 

     คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตกที่มีความเมตตาต่อคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) มาอย่างต่อเนื่องนั้น ได้แก่ ศาสตราจารย์ Jens Braarvig และศาสตราจารย์ Richard Salomon ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ภาษาโบราณ และคัมภีร์โบราณในพระพุทธศาสนา
 
คณะนักวิจัยเข้าเยี่ยมชมวิธีการดูแลรักษาคัมภีร์โบราณ ของมหาวิทยาลัย Oslo นอร์เวย์
คณะนักวิจัยเข้าเยี่ยมชมวิธีการดูแลรักษาคัมภีร์โบราณ
ของมหาวิทยาลัย Oslo นอร์เวย์

     ท่านทั้งสองเป็นหนึ่งในจำนวนคณาจารย์มากมายที่ให้ความอนุเคราะห์ร่วมมือกับสถาบันตลอดมา โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัยของสถาบันฯ (อาทิ พระวีรชัย เตช
งฺกุโร และ ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล1 เป็นต้น) ได้เข้าไปร่วมอ่านและศึกษาคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่คัมภีร์โบราณแต่ละชุดล้วนเป็นทรัพยากรที่หายาก และประเมินค่ามิได้ของโลก เป็นสมบัติทิพย์ที่บรรจุความรู้ เรื่องราว และหลักฐานสำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนาไว้มากมาย การได้รับโอกาสและความไว้วางใจดังกล่าวจึงเป็นประวัติศาสตร์อันงดงามที่ควรบันทึกไว้
 
ศาสตราจารย์ Jens Braarvig
ศาสตราจารย์ Jens Braarvig

ศาสตราจารย์ Richard Salomon
ศาสตราจารย์ Richard Salomon

     สิ่งที่เหมือนกันอย่างยิ่งประการหนึ่งของท่านศาสตราจารย์ Jens Braarvig และศาสตราจารย์ Richard Salomon ก็คือ การที่ท่านทั้งสองต่างก็มีความรักในการทำงานศึกษา ค้นคว้าคัมภีร์โบราณอย่างสุดจิตสุดใจ แม้แต่ในวันหยุดประจำสัปดาห์ ท่านก็ยังเดินทางมาทำงาน มาอ่าน วิเคราะห์เรื่องราวที่ค้นพบอย่างไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ท่านมีทัศนะว่า การถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญในการอ่านคัมภีร์โบราณนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะความรู้เหล่านี้คือกุญแจที่จะช่วยไขความจริงและประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในยุคก่อน ๆ ให้กระจ่างออกมาได้ ซึ่งการได้อ่าน ได้ตีความ และสังเคราะห์เรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้นี้ถือเป็น “ความสุขของชีวิต” ในหลาย ๆ ครั้ง ท่านปรารภว่า “การได้อ่าน ได้แปล ข้อความพระสูตรต่าง ๆ ที่พบนั้น ทำให้รู้สึกเสมือนว่าได้ยินเสียงของพระภิกษุผู้คงแก่เรียนมาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลให้ท่านฟังโดยตรงเลยทีเดียว” ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่งและแน่นอนที่สุดว่า คุณค่าที่เกิดขึ้นนี้ไม่อาจนำทรัพย์หรือสิ่งอื่นใดมาซื้อหาหรือทดแทนได้
 
อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสถาบันวิจัยนานาชาติ ธรรมชัย (DIRI) ตั้งอยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัย Otago เมืองดันนีดิน นิวซีแลนด์
อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสถาบันวิจัยนานาชาติ
ธรรมชัย (DIRI) ตั้งอยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัย Otago
เมืองดันนีดิน นิวซีแลนด์

     ด้วยความโชคดีมีโอกาสที่ดี ๆ ได้พบผู้รู้ที่จิตใจดีเช่นนี้ ทำให้การทำงานสืบค้นหลักฐานธรรมกายของทีมงานฯ เกิดความสำเร็จและคืบหน้ามาโดยลำดับ ทำให้สถาบันผลิตผลงานและตีพิมพ์ชิ้นงานวิจัยเกี่ยวกับหลักฐานธรรมกายที่ศึกษาโดยตรงมาจากคัมภีร์พุทธโบราณอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งศักยภาพในการสร้างนักวิจัยที่อ่านและศึกษาคัมภีร์โบราณ ภาษาโบราณ ก็เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นอัศจรรย์ ซึ่งในอนาคตนักวิจัยหลาย ๆ คน หลาย ๆ ท่านที่ศึกษาและทำงานคลุกคลีอยู่กับคัมภีร์โบราณในขณะนี้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการ “ปักหลักพระพุทธศาสนา” “ปักหลักวิชชาธรรมกาย” เชื่อมโยงความรู้ภาคปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ให้สำเร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต
 
ร่วมประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทย-โอเชียเนีย ณ เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ๑๙-๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐
ร่วมประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทย-โอเชียเนีย
ณ เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ๑๙-๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐

มอบทุนการศึกษาที่ Department of Theology and Religion มหาวิทยาลัย Otago นิวซีแลนด์
มอบทุนการศึกษาที่ Department of Theology and Religion
มหาวิทยาลัย Otago นิวซีแลนด์

     ในส่วนของผู้เขียนเองก็ได้พยายามสร้างและให้การสนับสนุนส่งเสริมนักศึกษา   นักวิจัยเพิ่มขึ้นตลอดมา โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา (ในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ๒๕๖๐) ก่อนเดินทางไปประกอบศาสนกิจที่ประเทศอังกฤษ ผู้เขียนได้ร่วมทำบุญใหญ่กับวัดสาขาทั่วทุกแห่งในโอเชียเนียในวาระโอกาสอายุวัฒนมงคล ๖๕ ปี ได้ร่วมพัฒนาวัดทั้งที่เมืองโอคแลนด์ ดันนีดิน เวลลิงตัน และซิดนีย์ ได้เข้าร่วมประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทย-โอเชียเนียในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พร้อมทั้งร่วมมอบทุนการศึกษา แก่นักศึกษาที่สอบได้คะแนนดีเยี่ยมในแต่ละปีที่ Department of Theology and Religion ณ มหาวิทยาลัย Otago ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างนั้นได้สนับสนุนการจัดหาทุนเพื่อการจัดงาน “วิสาขบูชาแห่งออสเตรเลีย” พร้อมกันไปด้วย ทำให้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา การปฏิบัติศาสนกิจส่วนใหญ่ดูจะเป็นการมุ่งเน้นไปในเรื่องการบ่มเพาะและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (ทางพระพุทธศาสนา) ร่วม ๆ ไปกับการร่วมประชุมเสวนา และการประสานความร่วมมือกับองค์กรทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากในพันธกิจ ๗ ขั้นตอนที่ได้ดำเนินการตลอดมาเช่นกัน
 
บรรยากาศภายในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย Oxford
บรรยากาศภายในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย Oxford

อาณาบริเวณต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย Oxford
อาณาบริเวณต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย Oxford

       จนเมื่อผู้เขียนเดินทางมาที่ประเทศอังกฤษในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา    ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University) ได้แวะเยี่ยมให้กำลังใจพระภิกษุทีมงาน (พระเกียรติศักดิ์ กิตฺติปัญฺโญ) ที่กำลังศึกษาและร่วมทำงานสืบค้นหลักฐานธรรมกายอยู่ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนก่อนสิ่งอื่น และได้ทราบว่าผลการศึกษาและค้นคว้าของท่านมีความก้าวหน้า ประสบความสำเร็จด้วยดีเป็นที่น่าปลื้มใจ ในระหว่างการไปเยี่ยมเยียน ผู้เขียนได้ใช้เวลาช่วงหนึ่งเพื่ออ่านและศึกษาค้นคว้าข้อมูลภายในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยด้วย ทำให้พบเห็นข้อมูลระดับปฐมภูมิที่เก่าแก่และสำคัญหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่องานพระพุทธศาสนา ได้พบเห็นและสัมผัสบรรยากาศความเป็นวิชาการในอาณาบริเวณต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ทั้งที่มหาวิทยาลัย London และมหาวิทยาลัย Oxford โดยเฉพาะที่ Keble College ภายในมหาวิทยาลัย Oxford นั้น ผู้เขียนประทับใจในความสะอาดเป็นระเบียบ การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและวิถีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมไว้อย่างมาก ทำให้ระลึกถึงเรื่องการปลูกฝังแนวคิด “ความดีสากล ๕ ประการ” (UG 5) ที่คุณครูไม่เล็กท่านดำเนินการมาโดยตลอด ว่าช่างสอดคล้องกับวัฒนธรรมทางสังคมของที่นี่อย่างมาก ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอย่างมากมายที่จะส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการในพระพุทธศาสนาในมิติต่าง ๆ ขึ้นอีกมากในอนาคต
 
ร่วมหารือกับท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ณ ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Centre for Buddhist Studies)
ร่วมหารือกับท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich
ณ ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
(Oxford Centre for Buddhist Studies)

ร่วมหารือกับท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ณ ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Centre for Buddhist Studies)
ร่วมหารือกับท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich
ณ ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
(Oxford Centre for Buddhist Studies)

       นอกจากการมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจทีมงานและนักวิจัยแล้ว ในการเดินทางมาประเทศอังกฤษในครั้งนี้ ผู้เขียนยังได้ร่วมหารือรายละเอียดความร่วมมือทางวิชาการกับท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ที่ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Centre for Buddhist Studies) ในหลาย ๆ ประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลี การสนับสนุนเรื่องการทำงานวิจัยในประเด็นใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ ฯลฯ เนื่องด้วยท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ถือเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าในวงการพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ศิษยานุศิษย์ของท่านที่มีอยู่จำนวนมากนั้นก็ล้วนแต่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยสำคัญไม่น้อยกว่า ๒๐ แห่ง จำนวนกว่า ๔๐ ท่าน ซึ่งเครือข่ายนักวิชาการดังกล่าวก็ยังคงมีบทบาทผลิตองค์ความรู้ใหม่ ๆ การค้นคว้า  ใหม่ ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา การได้มาเยี่ยมเยียนท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในแง่ของการส่งเสริมสังคหวัตถุธรรมและสามัคคีธรรมระหว่างกัน

ลงนามสัญญาความร่วมมือสนับสนุนการศึกษา กับมหาวิทยาลัย Otago นิวซีแลนด์
ลงนามสัญญาความร่วมมือสนับสนุนการศึกษา
กับมหาวิทยาลัย Otago นิวซีแลนด์

     ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินทางกลับไปยังประเทศนิวซีแลนด์ ผู้เขียนได้บันทึกถึงการเดินทางครั้งนี้ไว้ว่าเป็นการเดินทางที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ที่คุ้มค่า ทั้งนี้มิได้หมายเอาแต่เพียงความสำเร็จในการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันของผู้เขียนและผู้ทรงความรู้ต่าง ๆ หรือความสำเร็จในการส่งเสริมการศึกษาของทีมงานเท่านั้น แต่ในความรู้สึกของผู้เขียนแล้ว การเดินทางครั้งนี้ยังคุ้มค่า      ต่อการ “ค่อย ๆ ต่อภาพความสำเร็จของเรื่องราวหลักฐานธรรมกายให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย”
     ในทัศนะของผู้เขียนแล้ว แม้ว่าในระหว่างการเดินทาง เราอาจไม่พบสิ่งที่ระบุเรื่องราวของ “ธรรมกาย” ได้ในทันทีทุก ๆ ครั้ง แต่หลักฐานธรรมกายที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกนั้น มักจะ “ดำเนินเข้ามาหากันทีละก้าว ๆ” อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับที่เราเห็นในวิถีการเผยแผ่และถ่ายทอดวิชชาธรรมกายของพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ตลอดชีวิตการสร้างบารมีของท่านก็เป็นการค่อย ๆ ต่อภาพความสำเร็จของหลักฐานธรรมกายให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับที่เรากำลังทำ ต่างกันตรงที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านดำเนินจากปริยัติ เข้าไปสู่การปฏิบัติและสำเร็จลงที่ปฏิเวธ ขณะที่ยุคของเรากำลังเป็นการ “ยืนยันย้อนกลับจากปฏิเวธนั้นด้วยปริยัติธรรม” ให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สาธุชนผู้มีบุญในอนาคตได้มีข้อมูล มีความเชื่อมั่นมากเพียงพอที่จะเข้ามาพิสูจน์ มาศึกษา และค้นพบความจริงอันไพบูลย์ภายในตน เพราะธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกาลเวลา (อกาลิโก) จะต้องรู้เห็นได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ (สันทิฏฐิโก) เป็นของที่มีจริงและดีจริง (เอหิปัสสิโก) ผู้อื่นจะพลอยรู้พลอยเห็นไปด้วยมิได้ (ปัจจัตตัง เวทิตตัพโพ วิญญูหิ) ดังนี้
 
ลงนามสัญญาความร่วมมือสนับสนุนการศึกษา กับมหาวิทยาลัย Otago นิวซีแลนด์
ลงนามสัญญาความร่วมมือสนับสนุนการศึกษา
กับมหาวิทยาลัย Otago นิวซีแลนด์

     ในท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอน้อมนำบุญทุก ๆ บุญที่ได้กระทำมาด้วยดีแล้ว รวมกับบุญที่ตั้งใจสานงานสืบค้นหลักฐานธรรมกายนี้ถวายเป็นพุทธบูชา ถวายเป็นกตัญญูบูชาแด่มหาปูชนียาจารย์วิชชาธรรมกาย กับทั้งขอให้บุญนี้เป็นบุญใหญ่แผ่ไปถึงยังพุทธศาสนิกชนและท่านสาธุชนทุกท่าน ให้มีดวงปัญญา สว่างไสว รู้แจ้งเห็นจริงในปัญญาตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ติดตามตามติดพระเดชพระคุณหลวงปู่ หลวงพ่อธัมมชโย และมหาปูชนียาจารย์ทุกท่านไปจนตราบกระทั่งเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมเทอญฯ ขอเจริญพร
 
1ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล บศ.๙ : นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) แห่งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มีผลงานการวิจัยและบทความทางวิชาการที่สำคัญๆ มากมาย อาทิ ร่องรอยวิชชาธรรมกายในคันธาระและเอเชียกลาง (๒๕๕๖) หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ๑ ฉบับวิชาการ (๒๕๕๗) และชิ้นล่าสุดคือ Fragments of an Ekottarikagama Manuscript in Gandhar เขียนร่วมกับ Timothy Lenz, Lin Qian และ Richard Salomon (2016) ตีพิมพ์ใน Manuscripts in the SchØyen Collection Buddhist Manuscripts Volume IV




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related