มาลุตชาดกว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่

มาลุตชาดก ขึ้นชื่อว่า ทิฐิมานะ นั้นถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้วก็ยากที่จะแก้ไขได้ตราบเท่าที่ยังหลงยึดมั่นแต่ความคิดเห็นของตัวเป็นหลัก ดังตัวอย่างใน มาลุตชาดก ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ https://dmc.tv/a12190

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 17 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18255 ]

ชาดก 500 ชาติ

มาลุตชาดก-ว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่

มาลุตชาดก "เป็นเรื่องของราชสีห์และเสือโคร่ง ที่ต่างก็มีทิฐิมานะถือความคิดของตนเองเป็นใหญ่ โดยไม่ได้พิจารณาถึงสาเหตุที่แท้จริง"

ราชสีห์กับเสือโคร่งสัตว์ทั้งสองตัวเป็นเพื่อนกัน และได้อาศัยอยู่ในถ้ำเดียวกัน
 
ราชสีห์กับเสือโคร่งสัตว์ทั้งสองตัวเป็นเพื่อนกันและได้อาศัยอยู่ในถ้ำเดียวกัน
 
    ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ 2 รูป นามว่าพระกาละและพระชุนหะ ทั้งสองรูปตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในเขตชนบทหนึ่งในแคว้นโกศล พระทั้งสองรูปนั้นยังติดนิสัยตั้งแต่สมัยยังเป็นฆราวาส มาคนละอย่าง พระชุนหะชมชอบความงามของพระจันทร์เต็มดวงข้างขึ้น
 
พระกาละและพระชุนหะตั้งใจปฏิบัติธรรม อย่างเคร่งครัดในป่าเขตชนบทแห่งหนึ่ง
 
พระกาละและพระชุนหะตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดในป่าเขตชนบทแห่งหนึ่ง
 
ภิกษุสองรูป "ได้ออกบวชในพระพุทธศาสนาและได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังและเคร่งครัด"
 
    “พระจันทร์คืนนี้ช่างสวยจริงๆ แสงจันทร์นวลผ่อง ดูแล้วสบายตา จิตใจสงบดีจริงๆ” ส่วนพระกาละชอบมองหมู่ดาวที่ส่องแสงระยิบระยับจับตาในคืนข้างแรม “อืม..คืนนี้ดวงดาวเต็มฟ้าส่องแสงระยิบระยับจับใจ มองแล้วช่างสุขใจเหลือเกิน....สวยจริงๆ เลย” ในวันหนึ่งพระภิกษุทั้งสองรูปได้สนทนากันเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ
 
พระชุนหะชื่นชอบและชื่นชม ในความงามของพระจันทร์เต็มดวง
 
พระชุนหะชื่นชอบและชื่นชมในความงามของพระจันทร์เต็มดวง
  
    ด้วยความเห็นและความชอบที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้เกิดการถกเถียงกันขึ้น “ท่านรู้หรือไม่ว่าคืนไหนอากาศจะหนาวจัด” “ต้องเป็นคืนข้างแรมซิ เราสังเกตมานานแล้วนะท่าน ถ้าคืนไหนเป็นคืนข้างแรมแล้วละก็ คืนนั้นนะ จะหนาวจัดทุกทีเลยละท่าน”
 
พระกาละชื่นชมในความงดงามของ แสงดาวระยิบระยับในคืนข้างแรม
 
พระกาละชื่นชมในความงดงามของแสงดาวระยิบระยับในคืนข้างแรม
 
    พระชุนหะเมื่อได้ฟังคำตอบจากพระกาละก็มีความคิดที่ไม่เห็นด้วยจึงแย้งออกมาว่า “เราก็อยู่ป่ามานาน เราสังเกตเห็นว่าอากาศมักจะหนาวจัดคืนข้างขึ้นต่างหากละท่าน” “แต่เราว่าต้องเป็นคืนข้างแรมซิ ข้างขึ้นนะ อากาศจะอบอุ่นท่านไม่รู้รึไง” “ทำไม่เราจะไม่รู้ ท่านนั้นแหละที่ไม่รู้” “เรานะรู้ ท่านนั้นแหละที่ไม่รู้”
 
พระกาละและพระชุนหะได้ถกเถียงกัน ในเรื่องของสภาวะอากาศที่หนาวเย็น
 
พระกาละและพระชุนหะได้ถกเถียงกันในเรื่องของสภาวะอากาศที่หนาวเย็น
 
ภิกษุสองรูป "ได้เกิดการโต้เถียงกันเป็นเวลานาน จนไม่อาจจะหาข้อยุติได้"
  
    พระภิกษุทั้งสองโต้เถียงกันด้วยเรื่องนี้เป็นเวลานานแต่ไม่อาจจะหาข้อยุติได้ ในที่สุดจึงชวนกันออกเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธองค์ตัดสินให้ ภิกษุทั้งสองรูปอดทนเดินทางไกลเป็นเวลาแรมเดือนข้ามเขตแดนชนบทน้อยใหญ่มายังนครสาวัตถีเพียงเพื่อให้องค์พระศาสดา
 
ภิกษุทั้งสองออกเดินทางไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อให้พระองค์ทรงตัดสินข้อสงสัยที่เกิดขึ้น
 
ภิกษุทั้งสองออกเดินทางไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาเพื่อให้พระองค์ทรงตัดสินปัญหาให้
 
    ตัดสินปัญหาอันไม่เป็นสาระ เนื่องด้วยต่างฝ่ายต่างถือทิฐิมานะเข้าหากัน หลงยึดมั่นแต่ความคิดเห็นของตนโดยไม่พิจารณาถึงสาเหตุที่แท้จริง “ดูก่อนภิกษุเมื่อชาติก่อนโน้น เราก็ตอบปัญหานี้แก่เธอทั้งสองแล้ว แต่เธอจำไม่ได้ จึงต้องย้อนมาถามปัญหาเดิมซ้ำอีก”
 
พระบรมศาสดาทรงตรัสเล่า มาลุตชาดก เพื่อเป็นคติเตือนใจให้กับภิกษุทั้งสอง
 
พระบรมศาสดาทรงตรัสเล่า มาลุตชาดก เพื่อเป็นข้อคิดให้กับภิกษุทั้งสอง
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า "ได้ทรงตรัสเล่ามาลุตชาดก เพื่อให้ภิกษุทั้งสองได้ข้อคิดคติเตือนใจ และได้คลายความสงสัยในปัญหาที่เกิดขึ้น"
 
    พระภิกษุทั้งสองเมื่อได้ยินก็รู้สึกแปลกใจ จึงกราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องราวในอดีตชาติของตนให้ฟัง พระพุทธองค์จึงทรงแสดง มาลุตชาดก มีเนื้อความดังนี้ นานมาแล้วในป่าอันอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง ฝูงสัตว์มากมายต่างดำเนินชีวิตและอยู่รวมกันต่างปกติสุข
 
ราชสีห์กับเสือโคร่งนอนพักผ่อนอยู่ในถ้ำที่แสนอบอุ่น
 
ราชสีห์กับเสือโคร่งนอนพักผ่อนอยู่ในถ้ำที่แสนอบอุ่น
  
    ในฝูงสัตว์นั้นก็มีราชสีห์กับเสือโคร่งอยู่ด้วย ทั้งสองตัวอาศัยอยู่ถ้ำเดียวกันตลอดมา “วันนี้ไม่ออกไปหาอาหารกินรึ” “เรายังท้องอิ่มอยู่เลย ขอนอนพักดีกว่า” “เราก็เหมือนกัน นอนพักอย่างท่านดีกว่า” ตามปกติราชสีห์ชอบออกหากินในคืนเดือนหงาย ครั้นตกดึกลมแรงก็หนาวสั่น หลงเข้าใจว่าอากาศหนาวเพราะข้างขึ้น
 
ราชสีห์ชอบออกหาอาหารในคืนเดือนหงาย
 
ราชสีห์ชอบออกหาอาหารในคืนเดือนหงาย
   
    “โอ๊ย..ลมแรงจริงๆ คงข้างขึ้นซินะ ถึงได้อากาศหนาวอย่างนี้” ส่วนเสือโคร่งชอบออกล่าเหยื่อในคืนเดือนมืด พอลมพัดมาแรงจัด จึงรู้สึกหนาว จึงทึกทักเอาว่า อากาศหนาวเพราะข้างแรม “อากาศหนาวอย่างนี้ คงเป็นเพราะข้างแรมซินะ ลมยิ่งพัดแรงก็ยิ่งหนาวขึ้นอีก"
 
เสือโคร่งจะชอบออกหาอาหารในคืนเดือนมืด
 
เสือโคร่งจะชอบออกหาอาหารในคืนเดือนมืด
 
    อยู่มาวันหนึ่งสัตว์ทั้งสองก็ได้สนทนากันตามปกติ แต่แล้วก็เกิดเรื่องที่ทำให้สัตว์ทั้งสองถกเถียงกันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน “ท่านราชสีห์ ท่านว่าคืนไหนที่อากาศหนาวที่สุด” “ก็คืนข้างแรมนะซิท่าน เราออกไปหากินทีไร ก็หนาวสั่นทุกที” “อะไรกัน ต้องเป็นข้างขึ้นต่างหากที่อากาศหนาวมาก”
 
เสือโคร่งและราชสีห์ถกเถียงกันถึงอากาศ ที่หนาวเย็นในข้างขึ้นและข้างแรม
 
เสือโคร่งและราชสีห์ถกเถียงกันถึงอากาศที่หนาวเย็นในข้างขึ้นและข้างแรม
  
    “ท่านเอาอะไรมาพูด คืนข้างแรมต่างหากที่หนาวสุดๆ” “ท่านนั่นแหละ เอาอะไรมาพูด เราออกหากินข้างนอกทีไร เราก็หนาวจับใจทุกทีเลย” “คืนข้างขึ้นไม่เห็นจะหนาวเลย เรานอนอุ่นสบาย” ทั้งเสือโคร่งและราชสีห์ต่างแผดเสียงเถียงกันลั่นป่าเมื่อหาข้อยุติไม่ได้ ทั้งสองจึงชวนกันไปหาพระฤาษี
 
เสือโคร่งและราชสีห์ออกเดินทางไปหา พระฤาษีในป่าลึก ณ เชิงเขาแห่งหนึ่ง
 
เสือโคร่งและราชสีห์ออกเดินทางไปหาพระฤาษีในป่าลึก ณ เชิงเขาแห่งหนึ่ง
 
    ซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ ณ เชิงเขาแห่งนั้น “เอ้..เราว่าทะเลาะกันไปก็ไม่มีประโยชน์ เราไปถามท่านฤาษีให้รู้เรื่องกันไปเลยดีกว่า” “ได้เลย ท่านฤาษีจะต้องบอกว่า คืนข้างขึ้นอากาศหนาวที่สุดแน่ๆ” “ไม่ใช่ๆ ต้องเป็นคืนข้างแรม” สัตว์ทั้งสองอดทนเดินทางข้ามน้ำข้ามภูเขาเพื่อไปพบพระฤาษีที่อยู่ ณ เชิงเขา
 
สัตว์ทั้งสองเดินทางไกล จนได้มาถึงที่พำนักพระฤาษีในที่สุด
 
สัตว์ทั้งสองเดินทางไกลจนได้มาถึงที่พำนักพระฤาษีในที่สุด
 
พระฤาษี "ได้สอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่ทำให้สัตว์ทั้งสองต้อนรอนแรมมาไกลยังเชิงเขาทีท่านพักอาศัยอยู่"
 
    “ไกลเหมือนกันนะเนี่ย แต่ไม่เป็นไรหรอก เราอดทนได้ ยังไงๆ ท่านฤาษีก็ต้องคิดเหมือนกับเรา คืนข้างแรมต้องหนาวที่สุดอยู่แล้ว” “ไม่ใช่หรอก คืนข้างขึ้นต่างหากที่หนาว” เมื่อสัตว์ทั้งสองเดินทางมาถึงก็ได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้กับฤาษีฟัง “ท่านฤาษี ท่านบอกท่านเสือโคร่งไปเถอะ ว่าคืนข้างขึ้นเป็นคืนที่หนาวเหน็บที่สุด”
 
เสือโคร่งและราชสีห์ต่างก็พากันแย่งอธิบายเพื่อ ต้องการให้พระฤาษีตอบเข้าข้างตน
 
เสือโคร่งและราชสีห์ต่างก็พากันแย่งอธิบายเพื่อต้องการให้พระฤาษีตอบเข้าข้างตน
 
    “แหมๆ ท่านราชสีห์ ท่านไม่ต้องไปบอกท่านฤาษีหรอก เขารู้อยู่แล้วว่าคืนข้างแรมเป็นคืนที่หนาวที่สุดต่างหาก” “ไม่ใช่ต้องเป็นคืนข้างขึ้น” “ไม่ใช่ต้องเป็นคืนข้างแรมซิ” “เฮ้อพวกเจ้าทั้งสองไม่ต้องทะเลาะกันหรอกว่าจะข้างขึ้นหรือข้างแรง เมื่อมีลมพัดมา ย่อมรู้สึกหนาวเหมือนกัน เพราะความหนาวเกิดแต่ลม
 
พระฤาษีได้อธิบายให้สัตว์ทั้งสองได้เข้าใจถึง สาเหตุที่ทำให้เกิดความเย็นในยามค่ำคืน
 
พระฤาษีได้อธิบายให้สัตว์ทั้งสองได้เข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเย็นในยามค่ำคืน
 
    ไม่ได้เกิดเพราะข้างขึ้นหรือข้างแรมหรอก” “ห๊า..เป็นเพราะลมจริงหรือ ท่านฤาษี” “อ้าว..ไม่ได้เป็นเพราะข้างขึ้นข้างแรมรึเนี่ย” “ที่เจ้าทั้งสองต่างทิฐิว่าตนรู้ แต่ที่จริงไม่รู้ อุตส่าห์เดินทางข้ามน้ำข้ามภูเขามาด้วยความลำบาก เพื่อให้เราตอบคำถามที่ไม่เป็นประโยชน์อันใดเลย”
 
สัตว์ทั้งสองเดินทางกลับที่พักโดยหมดข้อสงสัย และเกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
 
สัตว์ทั้งสองเดินทางกลับที่พักโดยหมดข้อสงสัยและเกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน
 
    เมื่อราชสีห์และเสือโคร่งทราบความจริงจากฤาษีแล้วก็หมดทิฐิ กราบอำลาแล้วเดินกลับถ้ำของตนอย่างเป็นสุขใจ “เฮ้อ..คราวนี้ก็โล่งใจกันซะทีนะ ท่านเสือ ว่าแต่ว่าเราต้องเดินกลับอีกไกลเหมือนกันนะเนี่ย เหนื่อยจัง” “ฮ้า..เราไม่น่าทะเลาะกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องเลยนะเนี่ย เฮ้อ..เหนื่อยจัง” “อันความหนาวเกิดแต่ลม ไม่ว่าข้างขึ้นหรือข้างแรม เมื่อมีลมพัดพาความหนาวมา ก็ย่อมรู้สึกหนาว บัดนี้ท่านทั้งสองคงจะเข้าใจดีแล้วนะ”
 
เสือโคร่งในครั้งนั้น กำเนิดเป็น พระกาละ
ราชสีห์ กำเนิดเป็น พระชุนหะ
ฤาษี เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 

http://goo.gl/pFw9c


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ