วัดของโลก เพื่อฟื้นฟูศีลธรรม

การฟื้นฟูศีลธรรมโลก ฟื้นฟูศีลธรรม คือ การฟื้นฟูนิสัยรักศีล รักธรรมรักความถูกต้อง รักความดีงามการที่ประชาชนในชาติจะมีนิสัยรักศีลรักธรรมได้นั้นจะต้องได้รับการฝึก การอบรม บ่มเพาะนิสัยอย่างถูกต้องจากบุคคลที่มีความรู้เรื่องศีลธรรมและสามารถนำความรู้นั้นมาประพฤติปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย https://dmc.tv/a16402

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พระพุทธศาสนา
[ 15 ส.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18256 ]
วัดของโลก เพื่อฟื้นฟูศีลธรรม
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้นกำเนิดศีลธรรมโลก
 
      สันติภาพโลกที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างอุทิศชีวิตเป็น เดิมพันจนกระทั่งรู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ 4 และบรรลุพระนิพพานในตัว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ค้นพบการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 ในระดับชีวิตประจำวัน และระดับการปราบกิเลส ซึ่งในยุคปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดเคยค้นพบมาก่อน พระองค์จึงทรงอยู่ในฐานะผู้ทรงเป็นต้นกำเนิดศีลธรรมโลกโดยปริยาย

สันติสุขภายในใจของมนุษย์แต่ละคน
คือจุดเริ่มต้นแห่งสันติภาพโลก
หนทางเดียวที่สันติสุขภายในจะเกิดขึ้นได้ คือ
การเพาะนิสัยรักศีล รักธรรม รักความถูกต้องดีงาม
ให้เกิดขึ้นภายในใจ
ฟื้นฟูศีลธรรม คือ การฟื้นฟูนิสัยรักศีล รักธรรม
รักความถูกต้อง รักความดีงาม
การที่ประชาชนในชาติจะมีนิสัยรักศีลรักธรรมได้นั้น
จะต้องได้รับการฝึก การอบรม บ่มเพาะนิสัยอย่างถูกต้อง
จากบุคคลที่มีความรู้เรื่องศีลธรรม
และสามารถนำความรู้นั้นมาประพฤติปฏิบัติ
จนติดเป็นนิสัย

 
โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก

เก่งอย่างเดียว เท่ากับศูนย์
ต้องทับทวีคูณด้วยความดี


“ สถาบันทั่วโลก ต่างมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง
แต่มีเพียงไม่กี่สถาบัน ที่ทุ่มเทฝึกฝนผู้เรียนให้เป็นคนดี
ทั่วโลกจึงมากด้วยคนเก่ง แต่น้อยด้วยคนดี
โลกจึงต้องประสบแต่ปัญหาตลอดมา ”

 
โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
 
     การปลูกฝังวิชาความรู้เพียงอย่างเดียว มิใช่หลักประกันว่าจะได้คนดีที่โลกต้องการเพราะการที่จะนำวิชาความรู้ไปใช้ในทางที่ถูกที่ควรได้ ต้องอาศัยความดีเป็นตัวกำกับ ดังนั้นเยาวชนจึงควรมีความรู้ควบคู่ศีลธรรม คือ มีทั้ง “ความเก่ง” และ “ความดี” อยู่ในตนเอง

เก่งอย่างเดียว เท่ากับศูนย์ ต้องทับทวีคูณด้วยความดี
 
     โครงการที่มุ่งหวังจะสร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม หรือ “ดาวแห่งความดี” (The Virtuous Star หรือ V-star) โดยผ่านบทฝึก ในกิจวัตรประจำวันอย่างต่อเนื่อง จนเป็นนิสัย ควบคู่กับการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม และการเรียนรู้ เพื่อพัฒนา ศักยภาพเยาวชนโดยความร่วมมือ ของสถาบันหลักในสังคมไทย คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทย ที่จะช่วยปลูกฝังรากลึกทางศีลธรรม และคุณธรรมเข้าสู่จิตใจของผู้นำเยาวชน ต้นแบบได้อย่างยั่งยืน และสามารถถ่ายทอดศีลธรรม คุณธรรม ความดี แนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง สู่เพื่อนเยาวชน คนรอบข้าง สังคมไทยและสังคมโลกต่อไป

  
โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน

โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน

      อุบาสิกา คือ ตำแหน่งของสตรีผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ทำหน้าที่ในการอุปถัมภ์บำรุงและปกป้องคุ้มภัยให้แก่พระพุทธศาสนามาตลอดอายุ พุทธกาล ดังเช่น มหารัตนอุบาสิกาวิสาขา ผู้สร้างบุพพาราม วัดสำคัญในสมัยพุทธกาล จวบจนถึงปัจจุบันอุบาสิกาก็ยังคงเป็น 1 ใน 4 เสาหลักแห่งความมั่นคงของพระพุทธศาสนาเหมือนเมื่อครั้งพุทธกาล

     อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน หมายถึง อุบาสิกาผู้มีศีล 8 เป็นอาภรณ์ประดับกาย วาจา ใจ และปฏิบัติตามทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมงดงามและบริสุทธิ์ ประดุจดอกไม้แก้วแรกแย้ม กายภายนอกก็ผุดผ่องใสด้วยอานุภาพแห่งศีล กายธรรมภายในที่เป็นหน่อเนื้อแห่งพุทธะ ก็สุกใสสว่าง ด้วยอานุภาพแห่งสมาธิและปัญญา เช่นนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นอุบาสิกาผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ยิ่งบังเกิดขึ้นมากเพียงใด ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาก็ยิ่งมั่นคงถาวรเพียงนั้น
 
โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน 
 
    จากโครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 แสนคน  5 แสนคน และ 1 ล้านคนที่ผ่านมา ทำให้สตรีชาวพุทธหลายล้านคน    ได้มีโอกาสบวชเป็นอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ได้เรียนรู้ธรรมะทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ แม้หลังอบรมไปแล้ว ก็ตั้งใจรักษาศีล ปฏิบัติธรรมเป็นปกติ เกิดกระแสการทำความดี กระแสการปฏิบัติธรรม ไปทุกภาคส่วนในสังคมไทย

งานลอยโคมวิสาขประทีปเป็นพุทธบูชา  ณ ประเทศมองโกเลีย
 
 
พิธีลอยโคมวิสาขประทีป ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ดินแดนมองโกเลีย วันวิสาขบูชาที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
พิธีลอยโคมวิสาขประทีป ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 2 วันวิสาขบูชาที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
พิธีลอยโคมวิสาขประทีป ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 3 วันวิสาขบูชาที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
พิธีลอยโคมวิสาขประทีป ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 4 วันวิสาขบูชาที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
พิธีลอยโคมวิสาขประทีป ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 5 วันวิสาขบูชาที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555
พิธีลอยโคมวิสาขประทีป ถวายเป็นพุทธบูชา ครั้งที่ 6 วันวิสาขบูชา 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
 
งานลอยโคมวิสาขประทีปเป็นพุทธบูชา  ณ ประเทศมองโกเลีย
 
        วันงานชาวมองโกลหลายท่านสวมใส่ชุดประจำชาติมาอย่างเต็มยศ ตั้งใจ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา จุดโคมขอพร รวมทั้งกล่าวคำแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อตอกย้ำว่าพวกเขาจะนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันสูงสุดไปจนตลอดชีวิต นอกจากนี้ผู้ร่วมงานยังอุทิศบุญกุศลในครั้งนี้แก่บรรพบุรุษผู้สร้างชาติด้วย ทำให้บรรยากาศดูสงบ ศักดิ์สิทธิ์ น่าประทับใจอย่างยิ่ง
 
วิสาขบูชา ประเทศมองโกเลีย
 
      บัดนี้ประทีปธรรมภายนอกได้ถูกจุดขึ้นอีกครั้ง พร้อม ๆ กับประทีปธรรมภายในที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรม ซึ่งจะยังคงสว่างไสวอยู่ ณ กลางใจของ ผู้มีบุญชาวมองโกเลียต่อไป เพื่อรอวันที่ลูกหลานของ ท่านเจงกีสข่านจะได้ช่วยกันทำหน้าที่กัลยาณมิตร เพื่อเผยแผ่คำสอนดั้งเดิมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแห่งนี้อีกครั้ง เหมือนดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา...
 
      หลังจากชาวพุทธในมองโกเลียร่วมกันจัดพิธีจุดวิสาขประทีปมาแล้ว 6 ครั้ง “พิธีจุดวิสาขประทีปและลอยโคมถวายเป็นพุทธบูชา” ก็กลายเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธในประเทศมองโกเลียไปโดยปริยาย เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนชาวมองโกลจะเริ่มรู้แล้วว่า ควรบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการจุดประทีปและลอยโคม อธิษฐานจิตขอพรให้ครอบครัว ซึ่งนับเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งที่สัญญาณแห่งสันติภาพอันแท้จริงได้หยั่งรากลงในประเทศมองโกเลียอย่างมั่นคงแล้ว

 
พิธีจุดประทีปสันติภาพ The Light of PEACE in Philippines
 
The Light of PEACE in Philippines
 
      พิธีจุดประทีปสันติภาพ The Light of PEACE in Philippines วันวิสาขบูชาที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ วิทยาเขตวิซาย่า เมืองเมียเกา จ.อิโลอิโล ประเทศฟิลิปปินส์     
 
The Light of PEACE in Philippines 
พิธีจุดประทีปสันติภาพ The Light of PEACE in Philippines
ปล่อยโคมลอยจำนวนมากที่สุดในโลก 15,185 ดวง
 
 
โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป “ถวายเป็นพุทธบูชา” ฉลอง พุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม
 
การตักบาตรคือประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
 
     พิธีตักบาตรในครั้งนี้เป็นหนึ่งในโครงการตักบาตรพระ 1 ล้านรูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย  ได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นปี 2551 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาโดยตลอดทุกจังหวัดจนถึงปัจจุบัน ด้วยความร่วมมือของคณะสงฆ์ องค์กรทางพระพุทธศาสนา หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน จนถึงปัจจุบัน (ก.พ. 2555) ได้จัดตักบาตรในจังหวัดต่างๆ กว่า 450 ครั้ง จำนวนพระมารับบิณฑบาต ประมาณ 900,000 รูป ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ เครือข่ายองค์กรภาคีจึงได้ร่วมใจกันจัดตักบาตรพระ จำนวน 6 ครั้ง กว่า 100,000 รูป ในเขตชุมชนของกรุงเทพมหานคร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและร่วมฉลองตักบาตรครบ 1,000,000 รูป 

      นำข้าวสารอาหารแห้งที่ได้จากการตักบาตรไปช่วยเหลือคณะสงฆ์ 323 วัด และพุทธบริษัทใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปแล้วกว่า 200 คันรถสิบล้อ รวมน้ำหนักกว่า  2,400 ตัน เฉพาะปี 2554 นำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้ำท่วม 30 จังหวัด จำนวน 400,000 ชุด
 
ครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป “ถวายเป็นพุทธบูชา” ฉลอง พุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม
 
        นอกจากนี้  โครงการตักบาตรพระที่จัดขึ้น ยังก่อให้เกิดภาพมหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ ของการรวมใจเหล่าพุทธบุตรทั่วประเทศ   โดยนำข้าวสารอาหารแห้งที่ได้จากการบิณฑบาตไปช่วยเหลือพระสงฆ์ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งได้รับความลำบากเดือดร้อนอย่างมาก   จากเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมถึงผู้ประสบภัยทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ในเมืองไทยเมื่อปีที่ผ่านมา
 
      โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย  ไม่ใช่เป็นเพียงโครงการนำร่อง   อย่างที่เข้าใจกันเท่านั้น แต่เป็นโครงการต้นแบบที่พร้อมจะพัฒนาเป็นประเพณีสำคัญของชาวพุทธต่อไปในอนาคต  เพราะการ  ให้ทาน  นับเป็นก้าวแรกของการปลูกฝังคุณธรรมขั้นพื้นฐาน  นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกระดับชั้น  และถือเป็นหน้าที่สำคัญของพวกเราชาวพุทธทุกคน  ในการอุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
โครงการตักบาตรพระ 2,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย


ประมวลภาพตักบาตรสมุทรปราการ พระ 11,111  รูป
 
      ในที่สุดชาวไทยก็ได้รับบุญใหญ่ด้วยการตักบาตรพระครบ 1,000,000 รูป เมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2555 ที่ผ่านมา นับเป็นมหากุศลที่ยิ่งใหญ่ของชาวไทย โดยเฉพาะชาวกรุงเทพมหานคร เพราะปิดท้ายโครงการฯนี้อย่างงดงามด้วยโครงการตักบาตรพระ 6 แห่ง ย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ ถือเป็นการตักบาตร 6 แห่งเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสที่โครงการฯ จัดตักบาตรพระครบ 1,000,000 รูปอีกด้วย

     และเพื่อให้วัตถุประสงค์ของโครงการบรรลุผลสำเร็จ พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) จึงมีดำริให้โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป ขยายโครงการฯ เป็น 2,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย จนกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ คือ ฟื้นฟูศีลธรรมโลก สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา รักษาวัฒนธรรมชาวพุทธให้เข้มแข็ง รวมพลังชาวพุทธเป็นขวัญและกำลังใจส่งไปยังพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ และผู้ประสบภัยทั่วโลก

     การทำบุญตักบาตรต่อพระภิกษุสามเณร สาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอริยประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน  ถือว่าเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณรผู้เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ เป็นแบบแผนอันดีของบรรพบุรุษไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งเป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาแห่งเหตุและผล  ที่นำมาซึ่งสันติสุขอย่างแท้จริง
  
โครงการอุปสมบทหมู่ เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย
 
พิธีบรรพชาและคล้องอังสะธรรมทายาทในวันบรรพชา

     แผ่นดินไทยได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินธรรม ที่พระพุทธศาสนาปักหลักอย่างมั่นคงมายาวนานนับพันปี กระแสธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ซึมแทรกไปในทุกจังหวะชีวิตของชาวไทย เกิดเป็นประเพณี วัฒนธรรมชาวพุทธอันงดงาม จนได้รับการกล่าวขานเป็น “สยามเมืองยิ้ม” ดินแดนแห่งความสุขบนมนุษยโลก

      คำตอบของการดำรงความรุ่งเรืองและความสุขของประชาชาติไทยก็คือ การดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงคู่ผืนแผ่นดินไทย ซึ่งหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ ศาสนทายาทที่มั่นคงในพุทธธรรม ดังนั้น การสืบทอดรักษาประเพณีการบวชของชายไทย จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการธำรงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นภาระรับผิดชอบของพุทธบริษัทไทยทุกคน

     จากโครงการบวชครั้งประวัติศาสตร์ คือโครงการอุปสมบทหมู่ 7,000 รูป 7,000 ตำบล, โครงการอุปสมบทหมู่ 100,000 รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย, โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ในปีพ.ศ.2553, 2554 และปีพ.ศ.2555 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม คณะสงฆ์ สาธุชนและองค์กรภาคีที่ร่วมโครงการ ต่างปลื้มปีติเป็นล้นพ้นและเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะช่วยกันฟื้นฟูประเพณีการบวช ให้กลับมาเป็นค่านิยมกระแสหลักของชายไทย ดังเช่นบรรพกาล
 
พิธีขอสรณคมน์และศีลของธรรมทายาทในวันบรรพชา

       คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดินร่วมกับคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร, วัดพระธรรมกาย, มูลนิธิธรรมกาย, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัด “โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ภาคเข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย” ขึ้น ระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้พุทธบริษัทไทยได้สร้างบุญใหญ่อีกวาระหนึ่ง และจะเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นดินแดนแห่งสันติสุขอย่างยั่งยืนสืบต่อไป
 
 
โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก

      ศีลธรรม มาจาก ศีล ซึ่ง คือ ปกติ กับธรรม คือธรรมชาติ ศีลธรรม คือความปกติมีมีอยู่แล้วในธรมชาติของมนุษย์ ปกติ ซึ่งคือศีลนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้ 5 ข้อด้วยกัน คือ
 
     1. การไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่า
     2.การไม่ลักทรัพย์หรือใช้ให้คนอื่นลัก
     3.การไม่ประพฤติผิดในกาม
     4.การไม่พูดจาส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
     5.การไม่ดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

     ดังนั้น การที่วัดของโลก จะจัดการฟื้นฟูศีลธรรมจึงไม่ใช่เรื่องยาก หากมีความตั้งใจจริง นั่นคือ การนำเอาศีลธรรมให้หวนกลับคืนเข้าไปสู่ใจของทุกๆ คนในสังคม โดยเฉพาะเยาวชนที่จะเติบโตเป็นอนาคตของสังคมต่อไป

     ดังจะเห็นได้จากวิถีชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน แวดล้อมไปด้วยสิ่งมอมเมา สิ่งที่เป็นอบายมุข ตัวอย่างพฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมก็มีให้เห็นการมากขึ้นตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าว โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หนัง ละคร ดารานักแสดง น้อยนักจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับเยาวชนต้นกล้าของความดี

วัดจึงมีความสำคัญเป็นอยางมากที่จะหยิบยื่นสิ่งที่กำลังจะหายไป
ให้กลับคืนมาสู่สังคม

       โครงการฟื้นฟูศีลธรรม จึงเป็นโครงการที่วัดได้จัดกิจกรรมต่างๆ โดยนำธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามากระตุ้นเตือนให้เมล็ดพันธุ์แห่งความดีงาม ซึ่งมีอยู่แล้วในจิตใจของทุกๆ คน ให้เจริญงอกงามขึ้น รดน้ำ พรวนดิน ให้เติบโตเป็นกล้าแห่งความดี และทำให้โลกนี้งดงามด้วยศีลธรรมในที่สุด

     1.โครงการเด็กดี V-Star เป็นการปลุกฝังคุณธรรมขั้นพื้นฐาน ให้เด็กๆ ได้ฝึกหักขัดเกลานิสัยของตนเอง ผ่านกิจวัตรกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยแบ่งบทฝึกเป็น 5 ห้อง สร้างนิสัย เช่น การพับเก็บที่นอนทันที การไหว้พ่อกับแม่ก่อนไปและหลังกลับจากโรงเรียน การจับดีผู้อื่น เป็นต้น

       2.โครงการบวชอุบาสิกาแก้ว เป็นโครงการที่อบรมศีลธรรมให้กับสตรี แม่บ้าน ด้วยการมาบวช รักษาศีลแปด เรียนรู้ธรรมะจากพระอาจารย์ ได้นั่งสมาธิขัดเกลาตนเอง ทำให้เป็นคนใจเย็น และมีธรรมะนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้ครอบครัวอบอุ่น มีความเข้าใจกันมากขึ้น ก็ส่งผลต่อสังคมในวงกว้าง

     3.โครงการอุปสมบทหมู่ ทุกหมู่บ้านทั่วไทย เป็นโครงการที่ฟื้นฟูธรรมเนียมการบวช 1 พรรษา ซึ่งเป็นสิ่งที่คนโบราณเห็นความสำคัญว่าชายไทยต้องบวชเพื่อเรียนรู้ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อมีครอบครัวจะได้มีธรรมะไปใช้ในการประคับประครองชีวิตครอบครัวให้มีความสุข เมื่อมีปัญหาสามารถนำธรรมะมาปรับใช้ได้เหมาะสม ซึ่งประเพณีที่ดีงามของการบวช 1 พรรษาค่อยๆ ถูกลดความสำคัญลงไป ดังนั้น วัดจึงต้องนำธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของการบวช 1 พรรษา ให้หวนกลับมาอีกครั้ง

        โดยมีการบวชทุกหมู่บ้านขึ้นมาแล้ว นอกจากจะได้คนดีในสังคมเพิ่มมากขึ้น บางครั้งผู้ที่มาบวชมีความซาบซึ้งในธรรมะของพระพุทธองค์ มีความประสงค์ขอบวชอยู่ต่อเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา เพื่อเรียนรู้ธรรมะ และเป็นเนื้อนาบุญให้แก่ญาติโยมต่อไปก็มี จึงทำให้เป็นโอกาสได้มีพระภิกษุ หรือครูผู้สอนศีลธรรม มาเป็นอายุพระศาสนาได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย


http://goo.gl/rjMU3N


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีทอดกฐินสามัคคีสร้างทุกสิ่ง ณ ธุดงคสถานแก้วโนนแดง
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนแท่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจันทสโร
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนลำดวนสวรรค์ จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างทุกสิ่ง
      วัดพระธรรมกาย จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2564
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จัดงานบุญพิธีทอดกฐินสามัคคี
      ธุดงคสถานแก่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม
      ธุดงคสถานนครธรรม จัดพิธีบุพเปตพลีออนไลน์
      วัดพระธรรมกายออเรกอน จัดพิธีบูชาข้าวพระ
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมพัทลุง จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ถวายเครื่องปรับอากาศ
      ศูนย์อบรมเยาวชนเถินเทิดธรรม จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างทุกสิ่ง
      บรรยากาศชวนบวชโครงการอุปสมบท บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมเพชรบูรณ์ จัดพิธีทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างหอฉัน
      วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพให้แก่ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 ชุด