หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

จะกำจัดความฟุ้งให้เด็ดขาดได้ไหม

    

หมวด ฟุ้ง



   การทำภาวนาในระยะแรกๆ  นั้น  เราต้องยอมรับว่า  ใจของเรานั้น  อาจจะคิดฟุ้งไปในเรื่องราวต่างๆ บ้าง เพราะความเคยชิน  คือ  เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ปฏิบัติใหม่ จะต้องพบปะเจอะเจอกับสิ่งเหล่านี้  ให้ถือเป็นเรื่องปกติ   อย่าไปหงุดหงิด   หรือรำคาญกับความคิดเหล่านั้น   
       ให้ยอมรับว่า  นี่เป็นเรื่องปกติ  ที่เราจะต้องเจอ   “ จงปล่อยมันไป  อย่าไปฝืน”  เมื่อเรารู้ตัว  ก็กลับมาภาวนา ใหม่   เริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ   ภาวนาสัมมา  อะระหัง ๆ ๆ  แล้วก็ตรึกนึกถึงดวงใส  เอาใจไปหยุดที่กลางความใสต่อไป
        อย่ารำคาญ ถ้ามีความฟุ้งเกิดขึ้น  อย่าไปต่อต้าน  ให้ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้  อย่าไปรำคาญ   อย่าไปกังวลว่า  เมื่อไรความฟุ้งจะหมดไป  ให้ทำใจหยุด  ใจนิ่ง  ใจเฉยๆ  สบายๆ  ที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว   อย่าต่อต้าน  ปล่อยมันไปก่อน   อนุญาตให้ใจของเราฟุ้งบ้าง  และถ้าฟุ้งไม่ยอมหยุด  ก็ช่างมัน   หรือไม่ก็เปลี่ยนเรื่องคิด  คิดถึงเรื่องที่ทำ ให้ใจเราสบายใจ  เช่นเรื่องบุญกุศล  ความดี   หรือเรื่องธรรมชาติที่สบายๆ  เมื่อจิตใจของเราสบาย  หายตึงเครียดแล้ว  ก็มาเริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ คือ  ทำใจหยุดใจนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายใหม่อย่างสบายๆ  ใจเย็นๆ  ไปเรื่อยๆ  
       ให้โอกาส อนุญาตให้ใจเราฟุ้งบ้าง  คือ  ปล่อย  เปิดโอกาสให้ความคิดที่สะสมอยู่ใน  ใจของเราตั้งยาวนานนั้น  ค่อยๆ คลายตัวออกมา  อีกหน่อยความฟุ้งก็ค่อยๆ  หมดไป
       ไม่ไปสนใจมัน ไม่เอาใจใส่  ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้  ใจก็จะหยุดนิ่ง  พอหยุดนิ่งบ่อยเข้า ก็จะ เกิดความคุ้นเคย  จะหยุดนิ่งได้นานขึ้น   จะเห็นแสงสว่างนานขึ้น  เห็นดวงธรรมนานขึ้น  เมื่อมีความคิดผ่านเข้ามาในใจ  เราก็ปล่อยมันไปก่อน  อย่าไปฝืน  อย่าไปเพ่งไล่ความคิด  แต่พอเรารู้ตัว  ก็กลับมาภาวนาใหม่ ฝึกสลัดละทิ้ง ปล่อยวาง   ใจที่ซัดส่ายไปมาในเรื่องราวต่างๆ  ด้วยความเคยชินนั้น  
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  ทำอย่างไรใจจึงไม่ฟุ้ง ?
     -  อาการฟุ้งเป็นอย่างไร ?
     -  ลักษณะของความฟุ้งเป็นอย่างไร ?
     -  วิธีแก้ความฟุ้ง ทำอย่างไร ?
     -  ความฟุ้งเกิดขึ้นได้อย่างไรและจะแก้ไขอย่างไร ?
     -  จะกำจัดความฟุ้งให้เด็ดขาดได้ไหม ?
     -  จะแก้ไขความฟุ้งได้อย่างไร ?
     -  เราจะแก้ไขความฟุ้งด้วยวิธีใดได้บ้าง ?
     -  จะแก้ไขความฟุ้งที่ควบคุมไม่ได้อย่างไรดี ?
     -  ทำอย่างไรจึงฝืนใจไม่ให้คิดได้ ?
     -  พิจารณาอย่างไรบ้างที่ช่วยแก้ความฟุ้งได้ ?
     -  ถ้าหากผ่อนคลาย แต่ยังมีความคิดเข้ามาในใจบ้างการทำอย่างไร ?
     -  หายฟุ้งแล้วแต่ยังมืดอยู่ ควรทำอย่างไร ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม