หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

เราจะแก้ไขความฟุ้งด้วยวิธีใดได้บ้าง

    

หมวด ฟุ้ง



   ๑) อย่าไปคิดต่อว่าคืออะไร  ประกอบด้วยอะไร  เกิดอย่างไร  อยู่ที่ไหน  
       ให้ดูไปเรื่อยๆ  โดยไม่ปฏิเสธภาพที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องคิดอะไรเลย  ให้ภาพเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  มันไม่ให้ เราดูนานหรอก  ใจก็จะเริ่มคุ้นกับภาพภายใน  ซึ่งชัดบ้าง   ไม่ชัดบ้าง  ให้ดูไป  เรื่อยๆ  จากชัดน้อยไปชัดมาก  ก็ดูไปเรื่อยๆ  
       ๒) นึกนิมิต  ดวงแก้ว องค์พระ  และบริกรรมภาวนา 
      ให้กำหนดบริกรรมนิมิตคือ   นึกถึงดวงแก้วใสๆ  หรือพระแก้วใสๆ  องค์ใดองค์หนึ่งมาเป็นที่ยึดที่เกาะของใจเรา  มันก็จะช่วยให้ใจเราไม่ฟุ้งซ่าน  คือ แทนที่จะไปคิดเรื่องคน  เรื่องสัตว์  สิ่งของ  เหตุการณ์ต่างๆ  กลับมาคิดเรื่องดวงแก้ว  หรือว่าองค์พระแทน
       การกำหนดนิมิต  นั่นเหมาะสมกับคนช่างฟุ้ง  มีความสามารถในการคิดได้เยอะแยะ  คิดได้ร้อยเรื่องพันเรื่อง ทีเดียว  จะได้มีภาพให้ยึด  ให้นึกเกาะอย่างต่อเนื่อง  และเหมาะสำหรับคนที่จินตนาการเป็น  เข้าใจคำว่านึกเบา ๆ ได้นึกแล้วก็สบายใจ  ไม่ปวดหัว  ภาพก็จะค่อยๆ  ชัดขึ้นมา  หรือเหมาะสำหรับผู้ที่กราบไหว้บูชาพระทุกๆ วัน จึงจำองค์ พระบนโต๊ะหมู่ได้ง่ายเพราะว่าคุ้นเคยเห็นอยู่ทุกวัน
       ถ้ายังอดที่จะแวบไปคิดเรื่องอื่นไม่ได้  ก็ให้ประกอบบริกรรมภาวนาในใจเบาๆ  ค่อยๆ  ประคองใจไป  คำภาวนานี้  ไม่ได้หมายถึง การท่องโดยใช้กำลังแต่ให้เป็นเสียงที่ละเอียดอ่อน ที่ดังออกมาจากกลางดวงใสๆ  คล้ายๆ เสียงสวดมนต์ในใจ  ในบทที่เราคล่อง  หรือเสียงเพลงที่เราชอบ  แล้วก็มาดังในใจโดยไม่ได้ตั้งใจร้องเพลงเลย  ตรึกนึกถึงดวงใสๆ  ใจหยุดอยู่ตรงจุดกึ่งกลางของดวงใส ๆ  ภาวนาอย่างนี้ เรื่อยไป  จนกว่าใจจะหยุดนิ่งๆ  เวลาใจหยุดนิ่งมันจะทิ้งคำภาวนาไป  เราจะมีอาการคล้าย  กับเราลืมภาวนา สัมมาอะระหัง  แต่ใจไม่ฟุ้งไปคิดเรื่องอื่นๆ  หรือมีความรู้สึกว่า อยากเอาใจหยุดนิ่งเฉยๆ อยู่กลางดวงโดยไม่อยากจะภาวนา  สัมมาอะระหัง  ถ้าเกิดอาการหรือความรู้สึกอย่างนี้  ไม่ต้องย้อนกลับมาภาวนา  สัมมาอะระหังอีก ให้ตรึกนึกถึงดวงใสใจ หยุดอยู่ในกลางดวงใสๆ ให้รักษาใจให้หยุด  ให้นิ่งอย่างเดิม  อย่างนี้อย่างเดียว  เรื่อยไปเลย  ไม่ช้าใจจะถูกส่วนเอง
       ๓) ดำเนินจิตไปตามฐานทั้ง 7  ฐาน  
      มีบางท่านขนาดภาวนาแล้ว ใจก็ยังฟุ้งอยู่  ยังคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้  เพราะเราคุ้นกับการนึกคิดในสิ่งเหล่านั้นมายาวนาน  ตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นจู่ๆ จะให้มาคิดอย่างนี้  มันนึกไม่ออก  ดังนั้นท่านให้สำรวจตรวจทางเดินของจิตทั้ง ๗  ฐานจากฐานที่ ๑ มาที่ฐานที่ ๗ จากฐานที่ ๗ มาฐานที่ ๑ ฝึกให้รู้จักทางเดินของใจ  เดินบ่อยๆ  ในเส้นทางนี้ ให้คล่องทีเดียวนะ  ถ้าทำอย่างนี้ ใจจะไม่ค่อยฟุ้ง  ไม่กำหนดว่าจำนวนสักกี่ครั้ง  ถ้าสมมติว่าเราทำ ๓ รอบ แล้วใจ ไม่ฟุ้งเลย  เราก็ไม่ต้องทำรอบที่ ๔ ถ้า ๓ รอบไม่พอ  จะ ๔ รอบ ๕ รอบ ๖ รอบ   หรือกี่รอบก็แล้วแต่  ก็ทำไป ใจจะได้ วนเวียนอยู่ในเส้นทางเดินของจิต   ภายในตัวของเรา ไม่ออกนอกตัว
       ๔) ลืมตาดู   
       “ จะฟุ้งน้อยฟุ้งมากไม่ยากดอก
       แล้วจะบอกเคล็ดลับไว้ใช้แก้  
       เพียงค่อยๆ  ลืมตาเท่านั้นแล
      ฟุ้งว่าแน่ก็ยังแพ้แค่ลืมตา “
       ฟุ้งก็ลืมตา ค่อยๆ ลืมตาทีละน้อย   มาดูภาพที่ทำให้ใจเราบริสุทธิ์  ให้ใจเราสูงขึ้น  จะลืมตา มาดูภาพคุณยาย  ภาพพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ  ภาพดวงแก้ว  ภาพองค์พระ ดูให้มันสบายใจ   พอหายฟุ้งก็ค่อยๆ หรี่ตาลงไป  จนถึงในระดับที่สบาย  เราก็รักษาระดับนั้นเอาไว้  เพราะฉะนั้น  จำง่ายๆ  คือ  ง่วงก็ปล่อยให้หลับ  เมื่อยก็ขยับ  ฟุ้งก็ลืมตา แล้วก็ว่ากันใหม่  พร้อมเสมอสำหรับการเริ่มต้นในเส้นทางที่ถูกต้อง ไม่ช้าเราก็จะเอาชนะความฟุ้งได้  อย่าไปนั่งด้วยความกดดัน  หรือวิตกกังวล ให้ทำเฉยๆ  นิ่งๆ  เดี๋ยวสิ่งที่ดีก็จะมาเอง
       อย่าไปรังเกียจความคิดใดๆที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่เราปฏิบัติธรรม       ถ้าฟุ้งก็ภาวนา สัมมาอะระหัง  ภาวนาไม่อยู่  ก็ลืมตา  ลืมตามาดูคุณยาย ดูภาพพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ  ภาษีเจริญ  ดูดวงแก้ว  หรือองค์พระที่ตั้งอยู่บนโต๊ะหมู่บูชาของเรา  ถ้าไม่มีอะไรให้ดู  ก็ดูต้นหมากรากไม้  ถ้ากลางคืนก็ดูความมืด  ดูไป  พอมันหายฟุ้งก็ค่อยๆ  หรี่ตาลงมา   แล้วทำใจนิ่งๆ  แล้วก็ค่อยๆ หลับลงไปทีละน้อย  ให้ได้สักค่อนลูก  แล้วก็นิ่งเฉยต่อไป เดี๋ยวจะสมหวังดังใจ  
      
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  ทำอย่างไรใจจึงไม่ฟุ้ง ?
     -  อาการฟุ้งเป็นอย่างไร ?
     -  ลักษณะของความฟุ้งเป็นอย่างไร ?
     -  วิธีแก้ความฟุ้ง ทำอย่างไร ?
     -  ความฟุ้งเกิดขึ้นได้อย่างไรและจะแก้ไขอย่างไร ?
     -  จะกำจัดความฟุ้งให้เด็ดขาดได้ไหม ?
     -  จะแก้ไขความฟุ้งได้อย่างไร ?
     -  เราจะแก้ไขความฟุ้งด้วยวิธีใดได้บ้าง ?
     -  จะแก้ไขความฟุ้งที่ควบคุมไม่ได้อย่างไรดี ?
     -  ทำอย่างไรจึงฝืนใจไม่ให้คิดได้ ?
     -  พิจารณาอย่างไรบ้างที่ช่วยแก้ความฟุ้งได้ ?
     -  ถ้าหากผ่อนคลาย แต่ยังมีความคิดเข้ามาในใจบ้างการทำอย่างไร ?
     -  หายฟุ้งแล้วแต่ยังมืดอยู่ ควรทำอย่างไร ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม