สะกดทุกสายตา ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค

เรื่องราวของบั้งไฟพญานาค


"ตุลาคม" เป็นเดือนที่ริมฝั่งโขงจะคึกคักเป็นพิเศษ กับเหตุการณ์ที่ทุกคนรอคอย ซึ่งมีแค่ครั้งเดียวในรอบปี ที่จะได้สัมผัสกับความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ "บั้งไฟพญานาค" ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 11

ลูกไฟสีแดงอมชมพู

คนที่เกิดและเติบโตในเมืองชายแดนอย่างจังหวัดหนองคาย มักจะได้ยินเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ ถึงปรากฏการณ์ลูกไฟสีแดงอมชมพู ที่พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง สูงขึ้นเป็นแนวตรง 50-150 เมตร แล้วหายไป ขนาดตั้งแต่หัวแม่มือถึงฟองไข่ไก่ ไม่มีควัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง ไม่มีการตกลงมา เดิมชาวหนองคายเรียกกันว่า "บั้งไฟผี"

ส่วนชาวเวียงจันทน์ เมืองลาว กลับเรียกว่า "ดอกไม้ไฟน้ำ" ซึ่งจะเริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่ช่วงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ไปจนถึงเวลาประมาณ 23.00 น. ของคืนวันออกพรรษา
 
ผู้คนหลั่งไหลมารอชมบั้งไฟพญานาค

ในช่วงหลายปีมานี้ เป็นยุคข้อมูลข่าวสารทำให้มีผู้คนจากทั่วสารทิศต่างหลั่งไหลเข้ามาเพื่อรอชมปรากฏการณ์นี้อย่างแน่นขนัด รวมถึงพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการต่างๆ มากขึ้น แต่ไม่ว่าบทพิสูจน์จะเป็นอย่างไร ก็ยังไม่สามารถสรุปให้คลายข้อข้องใจได้ว่า ดวงไฟที่เห็นนั้นคืออะไร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งที่ลี้ลับเหนือการพิสูจน์

ความเป็นมาของบั้งไฟพญานาค

บั้งไฟพญานาคแท้จริงแล้วก็คือ
การพ่นไฟของพญานาคเป็นดวงประทีปเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งการจะพ่นไฟถวายเป็นพุทธบูชาได้ พญานาคต้องประพฤติพรหมจรรย์ตลอด 1 พรรษา และระลึกนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเทโวโรหณะที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยใจที่ปลื้มปีติ แล้วพ่นไฟลอยขึ้นไปในอากาศ
 
บั้งไฟพญานาค
ในทรรศนะของโรงเรียนอนุบาลฯ
 
  
ลักษณะของบั้งไฟพญานาค
 
เมื่อเป็นฟองอยู่ใต้น้ำก็จะกลมๆ เวลาลอยพ้นน้ำขึ้นมา ผิวน้ำจะไม่กระเพื่อม เพราะเป็นของกึ่งหยาบกึ่งละเอียด   แล้วลอยขึ้นไปสว่างวาบบนท้องฟ้า

ลักษณะการพ่นไฟของพญานาค

การพ่นบั้งไฟของพญานาคนั้น ไม่แน่นอนว่าจะพ่นเวลาใด อาจเป็นตอนหัวค่ำ ตอนดึก หรือใกล้สว่าง ขึ้นอยู่กับความพร้อมของพญานาค คือความปีติเต็มที่ในความเลื่อมใสพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และความพร้อมของมนุษย์ ถ้ามนุษย์ไม่โหวกเหวกโวยวาย อึกทึกครึกโครม ไม่ดื่มสุราเมรัย ก็จะพ่นบั้งไฟเร็ว แต่ถ้าเอิกเกริกเฮฮามาก ดื่มสุราเมรัยมาก ก็จะพ่นช้า

การเที่ยวชมบั้งไฟพญานาค

สำหรับในปีนี้ นาย ยุทธนา ศรีตะบุตร นายกอบจ.หนองคาย เปิดเผยว่า ทางจังหวัดกำหนดจัดกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทุกท่านโดยได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น อบจ.หนองคาย, เทศบาลเมืองหนองคาย, เทศบาลที่มีพื้นที่เกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย ร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ รองรับนักท่องเที่ยว

อบจ.หนองคาย กระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยการ จัดการประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ "มนต์เสน่ห์ประทับใจ บั้งไฟพญานาค" ด้วยการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพความประทับใจในกิจกรรมต่างๆ ที่ จ.หนองคายจัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาค แล้วส่งเข้าร่วมประกวด ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 6 หมื่นบาท

ส่วนกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ในช่วงระหว่างวันที่ 20-26 ตุลาคมนี้ มีหลากหลาย อาทิเช่น กิจกรรมถนนอาหาร, การแสดงแสงสีเสียงเปิดตำนานบั้งไฟพญานาค, การประกวดกระทงยักษ์, การลอยเรือไฟบูชาพญานาค เป็น
ต้น
 

บั้งไฟพญานาค 2554

บั้งไฟพญานาคโผล่แล้ว ลูกแรกเมื่อเวลา 18.10 น. ของ 12 ตุลาคม พ.ศ.2554



 
    บทความที่เกี่ยวข้องกับพญานาค
 

[[videodmc==3957]]
 
[[videoprogram==naka]]
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages//Bung-Fai-Payanaka.html
เมื่อ 15 มิถุนายน 2567 00:58
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv