ไหว้เจ้าที่

ของไหว้เจ้าที่

ของไหว้เจ้าที่!
เจ้าที่คือใคร ??

ของไหว้เจ้าที่ที่ถูกหลัก ควรไหว้เจ้าที่ด้วยของอะไรดี???

เรื่องของไหว้เจ้าที่

ศึกษาเรื่องราวของการไหว้เจ้าที่และของไหว้เจ้าที่ผ่านเทศกาลตรุษจีน

ตำนานเจ้าที่กับเทศกาลตรุษจีน

     ใกล้เทศกาลตรุษจีนเข้ามาแล้ว หลายๆ คนที่เกิดในสังคมชาวจีน ย่อมคุ้นเคยกับประเพณีที่ดีงามอย่างหนึ่งนั่นคือ ประเพณีตรุษจีน ประเพณีนี้นับเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน ซึ่งจะตรงกันกับวันที่ 1 เดือน 1 ของจีนตามวันทางจันทรคติ ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ของปี และยังเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ตรุษจีนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมความรักใคร่กลมเกลียวกันในครอบครัว เป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูที่คนในครอบครัวมีต่อบรรพบุรุษของเขา ด้วยการมารำลึก ผ่านการเซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วยสิ่งของ อาหาร ผลไม้ต่างๆ 


      ส่วนการไหว้เจ้าในวันตรุษจีนนั้น น่าจะมาจากการที่สังคมชาวจีนส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม เมื่อจะเริ่มต้นทำนาทำสวน จึงมีการบวงสรวงต่อเทพยดาฟ้าดิน การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ อธิษฐานให้ได้พืชผลอุดมสมบูรณ์


เจ้าที่คือใคร..??

     เจ้าที่คือใคร ทำไมเราจึงต้องมีการไหว้เจ้าที่ แล้วเราต้องไหว้เจ้าที่ด้วยของอะไรบ้าง..?? บ้านที่อยู่อาศัยของเรามักพบเห็นศาลพระภูมิ หรือ ตี่จู๋เอี๊ยะ ซึ่งตามความเชื่อของคนที่ไหว้เจ้านั้น ศาลพระภูมิ หรือ ตี่จู๋เอี๊ยะ คืออะไร เรามาศึกษากันค่ะ
 
าลพระภูมิ (พระภูมิเจ้าที่)
      ศาลพระภูมิ เป็นแท่นบูชาอย่างหนึ่ง สำหรับให้วิญญาณ พระภูมิเจ้าที่ หรือเทวดาได้อยู่อาศัย พบได้ทั่วไปในประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา มีลักษณะเป็นบ้านหรือวิหารหลังเล็กตั้งอยู่บนเสาเดี่ยวหรือปะรำทำจากปูนหรือไม้เป็นต้น ตั้งไว้ในจุดที่เป็นมงคลตามความเชื่อ จุดที่เป็นมงคลนี้ถูกกำหนดโดยพราหมณ์ ซึ่งมักจะอยู่ริมรั้วหรือมุมหนึ่งนอกบ้าน และบ้านหนึ่งก็อาจมีศาลพระภูมิมากกว่าหนึ่งหลัง ศาลพระภูมิมีการเรียกชื่ออื่นๆ อีกเช่น ศาลเจ้าที่, ศาลเพียงตา, ศาลอากาศเทวดา หรือเพียงแค่ ศาล (วิกิพีเดีย)
 
ศาลเจ้าที่ (พระภูมิเจ้าที่)

การไหว้เจ้าที่และของไหว้เจ้าที่


     การบวงสรวงศาลพระภูมิเป็นการถวายพวงมาลัย ดอกไม้ และอาหาร ให้กับวิญญาณที่สถิตอยู่ในศาล ซึ่งมักจะทำก่อนพิธีกรรมของบ้านนั้นหรือเนื่องในวันสำคัญ ศาลพระภูมิที่ถอนแล้วมักจะนำไปไว้ที่วัดหรือทิ้งไว้ตามข้างทางแยก
(วิกิพีเดีย)
 
ตี่จู๋เอี๊ยะ ศาลเจ้าที่จีน
      ตี่จู้เอี๊ยะ ความหมายของตี่จู้เอี๊ยะ  ตี่ หมายถึง ดิน และ จู้ หมายถึง เจ้า
 
     ความสำคัญของตี่จู๋เอี๊ยะ ในตำราจีนกล่าวไว้ว่า ตี่จู๋เอี๊ยะ คือ เทพที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด เป็นเจ้าที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักษ์รักษาผู้ที่อยู่อาศัยในบ้าน ดังนั้น เวลาเราไปบางบ้านก็อาจจะพบว่าเจ้าของบ้านได้จัดสถานที่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่อยู่อาศํยให้กับเทพที่คุ้มครองคนในบ้าน คนที่มีความเชื่อในเรื่องนี้ ก็จะมีวิธีการวางตำแหน่งตี่จู๋เอี๊ยะ โดยเชื่อว่าว่าแบบไหนๆแล้วจะช่วยเสริมดวงชะตาของเจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจ บารมี สุขภาพ ร่างกาย และยังรวมไปถึงความผาสุกของคนในบ้าน
 
ไหว้เจ้าที่

ไหว้เจ้าที่ตี่อู้ (ตี่จู๋เอี๊ยะ) หรือศาลเจ้าที่จีน
 
     ความเป็นมาของศาลเจ้าที่ ตี่จู๋เอี๊ยะ  หรือศาลเจ้าที่จีน

     ในอดีตความเชื่อถือเรื่องเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนโบราณให้ความสำคัญต่อการเคารพกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และมีการอัญเชิญมายังบ้านเรือน เพื่อให้ช่วยคุ้มครองรักษาและให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต มีความร่มเย็นเป็นสุข คนยุคต่อๆ มาจึงได้สืบทอดต่อกันมาจนเป็นประเพณี เจ้าที่ตี่อู้ (ตี่จู๋เอี๊ยะ) หรือศาลเจ้าที่จีน


ของไหว้เจ้าที่

     ของไหว้เจ้าที่ที่เรามักพบเห็นกันในเทศกาลตรุษจีน ได้แก่ ผลไม้ต่างๆ 

ของไหว้เจ้าที่อื่นๆ นอกจากผลไม้ ก็มี ได้แก่. . .


1. กระถางธูป จะใช้ผงธูปปนธัญพืช 5 อย่าง ได้แก่ ข้าวเปลือก เสริมความงอกงาม หรือข้าวสาร เสริมความร่ำรวยมั่งคั่ง, ข้าวเหนียวแดง เสริมความโชคดี, เมล็ดถั่วเขียว หมายถึง มีลูกหลานมากมาย ความอุดมสมบูรณ์, เมล็ดถั่วแดง หมายถึงความเป็นสิริมงคล สภายศ, เม็ดสาคู หมายถึงความสุข และที่ด้านข้างกระถางมักพันรอบด้วยผ้าแดง
2. ธูป 5 ดอก
3. เหรียญสิบ 5 เหรียญ
4. แจกันพร้อมดอกไม้สด
5. น้ำชา 5 ถ้วย
6. เหล้า 5 ถ้วย
7. ผลไม้ 5 อย่าง (ได้แก่ ส้ม สับปะรด องุ่น)
8. ฮวกก้วย (คล้ายขนมถ้วยฟู) 1 ชิ้น
9. ขนมอี้ (สาคูแดง) 5 ถ้วย
10. ขนมจันอับ
11. ข้าวสวย 5 ถ้วย
12. เจฉ่าย
13. ซาแซ หรือ โหง่วแซ

ความหมายของไหว้เจ้าที่ที่เป็นผลไม้มงคล

1. แอปเปิ้ล หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
2. ลูกพลับ หมายถึง ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ความขยันขันแข็ง
3. สาลี่ หายถึง เงินทองไหลมาเทมา
4. ส้ม หมายถึง ความมีอำนาจ มั่งคั่ง
5. องุ่น หมายถึง ความสมบูรณฺ พูนสุข
6. ลูกท้อ หมายถึง ความยั่งยืน
7. สับปะรด หมายถึง ความรอบรู้ กว้างไกล
8. ลิ้นจี่ หมายถึง ความเป็นมงคล
9. ลำไย หมายถึง ความมีอำนาจวาสนา ความเป็นผู้นำ
10. กล้วย หมายถึง ลูกหลานบริวาร

ขนมเทียน ขนมไหว้เจ้าและบรรพบุรุษของชาวจีน

     ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว
 
     ขนมเทียน หรือ ขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียกว่า ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญของชาวเชียงใหม่โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมจ็อกออกไปหลากหลายมาก
 
     การทำขนมเทียนมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นประเพณีของคนโบราณที่มักจะทำขนมเทียนไปทำบุญหรือทำ เพื่อประเพณีต่างๆ ซึ่งวิธีการทำขนมเป็นวิธีการดังเดิมและเป็นที่เลื่องลือทางรสชาติความอร่อย
 
ของไหว้เจ้าที่

 

  ขนมเทียน ขนมของไหว้เจ้าที่
 

ขนมเข่ง ขนมไหว้เจ้าและบรรพบุรุษของชาวจีน

   ขนมไหว้เจ้า อีกอย่างหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี คือ "ขนมเข่ง" ขนมเข่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยเฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากประชากรจำนวนมากเป็นชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งเรียกว่า ทิกอย (tikoy) หรือ ตีโก้ย 甜粿 (tikoe เรียกในหมู่ชาวฮกเกี้ยนใน มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ภูเก็ต) และเรียกว่า ทิเค (tikay) ในภาษาพม่า

     ขนมเข่งจะรับประทานได้ตลอดปี แต่จะเป็นที่นิยมที่สุดในช่วงตรุษจีน คนนิยมรับประทานขนมเข่งในช่วงนี้ เพราะคำว่า เหนียนเกา ออกเสียงเหมือนคำว่า ปีที่สูงขึ้น ในภาษาจีน เหนียนเกา, เค้กข้าว, เค้กประจำปี หรือ เค้กตรุษจีน นั่นเอง โดยนำมาใช้ในการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษในวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน

    ขนมเข่งในประเทศไทยบ้านเราไม่ค่อยนิยมรับประทานกัน เพราะแป้งมักจะแข็ง (เพราะทำมาจากแป้งข้าวเจ้า ผสมน้ำ น้ำตาลทราย) หรือเวลาจะรับประทานต้องนำมาดัดแปลง ด้วยการหั่นขนมเข่งออกเป็นชิ้นๆ แล้วชุบไข่ทอด ต่อมามีผู้คิดค้นสูตรขนมเข่งที่รับประทานง่ายขึ้น อร่อยขึ้น นั่นคือ "ขนมเข่งสูตรมะพร้าวอ่อน" แทนที่จะใช้น้ำเปล่าก็เปลี่ยนมาใช้น้ำมะพร้าวพร้อมเนื้อมะพร้าวอ่อนลงไปด้วย ทำให้อ่อนนุ่ม น่ารับประทานขึ้น
 
 
ของไหว้เจ้าที่
 
ขนมไหว้เจ้าที่ "ขนมเข่ง"

ของไหว้เจ้า ขนมของไหว้วันตรุษจีน...มีความหมายอะไรบ้าง

ขนมเข่ง หมายถึง ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์
ขนมถ้วยฟู
หมายถึง ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง เฟื่องฟู
จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ปิ่นโต หมายถึง ความหวาน ที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป
ขนมสาลี่ หมายถึง รุ่งเรือง เฟื่องฟู
ขนมไข่ หมายถึง ความเจริญเติบโต
ซาลาเปา หรือ หมั่นโถว หมายถึง ไหว้เพื่อให้เปาไช้ แปลว่าห่อโชค

ขนมเทียน เป็นขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากชาวจีนโพ้นแผ่นดิน ดัดแปลงมาจากขนมใส่ไส้ ซึ่งเป็นขนมท้องถิ่นของไทย จากขนมใส่ไส้ที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิ เปลี่ยนมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน หมายถึง ความหวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลมมีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์

ไหว้เจ้าที่...ในทรรศนะของโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

ไหว้เจ้าที่ (ตี่จู๋เอี๊ยะ และ ศาลพระภูมิ)
ในทรรศนะของโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา


     คำถามจากนักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เรื่องศาลพระภูมิ ตี่จู๋เอี๊ยะ มีจริงหรือไม่

     ศาลตี่จู๋เอี๊ยะ และศาลพระภูมิ บางคนตั้งตามประเพณี บางคนตั้งตามความเชื่อว่า มีผีบ้าน ผีเรือน บางคนเชื่อตามประเพณีว่ามี บางคนว่าไม่มี ส่วนที่มีก็จะเป็นภุมมเทวาหรือ พวกผีบ้าน ผีเรือน ส่วนใหญ่เป็นบรรพบุรุษหรือญาติของครอบครัวนั้นที่ยังไม่ไปเกิด วนเวียนอยู่ในบ้าน เพราะฉะนั้นบางศาลที่ตั้งไว้ก็ไม่มีพวกนี้อยู่ บางศาลก็ตั้งไปตามธรรมเนียม ไม่ตั้งเดี๋ยวโดนตำหนิ บางศาลก็ตั้งเผื่อเหนียว เพราะไม่มั่นใจว่ามีหรือไม่


     ผีบ้าน ผีเรือน ก็เป็นภุมมเทวาประเภทหนึ่ง แต่ว่าชั้นล่าง ท่านไม่ได้อยู่ที่ตี่จู๋เอี๊ยะและศาลพระภูมิ ทั้งสองสิ่งนี้เป็นเพียงแค่สื่อเชื่อมถึงท่านเท่านั้น เพราะภพภูมิเขาอยู่ซ้อนกับมนุษย์ บางทีเขาก็นั่งหรือนอนอยู่กับเรา ถ้ามีบุญขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่ง ก็จะมีห้องเป็นส่วนตัวของเขา อยู่ในมุมหนึ่ง ของบ้าน ถ้าบ้านพัง หรือรื้อบ้าน ก็ต้องย้ายเพราะหมดบุญ หรือบางทีก็อยู่ตรงนั้น

     ดังนั้น จะตั้งศาลพระภูมิหรือไม่ตั้งก็ไม่แตกต่างกัน เพราะผีบ้าน ผีเรือนไม่ได้อยู่ที่ศาลพระภูมิ หรือที่ตี่จู๋เอี๊ยะ แต่อยู่ในวิมานของตน ครูไม่ใหญ่เห็นว่า ไม่ควรตั้ง เพราะจะได้มีที่โล่งๆ และไม่เป็นที่หวาดกลัวของลูกหลาน ว่าเห็นนั่นเห็นนี่ หรือเป็นเครื่องกังวลว่าจะปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องก็กลัวจะมีโทษ เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ใจได้ เพราะฉะนั้นที่จะติดต่อกับผีบ้าน ผีเรือนที่เป็นบรรพบุรุษ ก็ให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ซึ่งก็จะเป็นที่พึงพอใจของท่านเหล่านั้น

      ส่วนท่านที่ตั้งไปแล้วก็อัญเชิญออกไป โดยการใช้คำพูดที่ไพเราะว่า สถานที่เหล่านี้ไม่เหมาะสมกับบารมีของท่าน ให้ไปอยู่ที่วิมานดีๆ ที่สวยงามกว่านี้ แล้วจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ พูดเสร็จก็อัญเชิญออกไปเลย จะได้ไม่เป็นภาระ พูดง่ายๆ ก็คือ รักต้องรื้อ

 

ของไหว้เจ้าที่คนกินได้ไหม?

          กินได้ แต่จะชืดๆ ไม่อร่อย เพราะขาดโอชะที่เป็นของละเอียดที่ผีเร่ร่อนมากินไปแล้ว

ไม่จุดธูป เจ้าที่จะได้รับของไหว้หรือไม่

ไม่จุดธูป เจ้าที่จะได้รับของไหว้หรือไม่

การจุดธูปไหว้เจ้าที่

          การจุดธูป มีวัตถุประสงค์เพื่อคือ เป็นการบูชาด้วยของหอม ส่วนการจุดเทียนเป็นการบูชาด้วยแสงสว่าง วัตถุประสงค์อยู่ตรงนั้น จะไหว้พระรัตนตรัยก็เช่นเดียวกัน จะไหว้ถึงบรรพบุรุษ หรือเจ้าที่เจ้าทางต่างๆ ก็ในทำนองเดียวกันเช่นกัน ถามว่าไม่ได้จุดธูปแล้วเจ้าที่จะได้ไหม

     จริงแล้วเจ้าที่ เป็นลักษณะเป็นกายสัมภเวสี ที่เร่ร่อนอยู่นั่นเอง ไม่ว่าเราจะจุดธูป หรือไม่จุดธูป ผลที่เกิดขึ้นเท่ากัน เมื่อเราเองเจตนา ที่เรียกว่าของเซ่นวางเอาไว้ กายสัมภเวสีที่อดอยากเขาก็อาศัยมารับประทานในส่วนของละเอียดนั่นเอง ไม่ใช่ว่าเอาหมูเห็ดเป็ดไก่ไปทานจริงๆ เราก็ยังเห็นหมูเห็ดเป็ดไก่เหมือนเดิม แต่โอชะหรือของละเอียดเขาทานในส่วนนั้นไป

 

การเซ่นไหว้บรรพุบุรุษด้วยหัวหมู เป็ดไก่ ท่านจะได้รับไหม?

     คำถาม : ตรุษจีนเซ่นไหว้ด้วยหัวหมู เห็ด เป็ด ไก่ ของเซ่นไหว้จะไปถึงบรรพบุรุษไหมครับ?

     พระอาจารย์ :
เราต้องมาดูก่อนว่า การเซ่นไหว้ด้วยหมู เห็ด เป็ด ไก่จะถึงใคร จริงๆคนที่ได้รับก็คือ ผีเร่ร่อนแถวๆ นั้น เราไปเซ่น เขาก็จะมากินโอชะที่เป็นของละเอียด ส่วนของหยาบที่เป็นหมู เห็ด เป็ด ไก่ ยังเหลืออยู่นะ เราก็มารับประทานได้ ลองสังเกตดูก็จะพบว่า ของเซ่นไหว้ พอเอามาทานมันก็จะชืดๆ เพราะจริงๆมันขาดโอชะของละเอียด ที่พวกผีเร่ร่อนทานไปแล้ว ถ้าหากว่าบรรพบุรุษเราเอง เผอิญตายแล้วไปเกิดเป็นผีเร่ร่อนก็จะได้รั­บ แต่ว่าถ้าหากท่านสร้างบุญไว้เยอะ ไปเกิดเป็นเทวดา นางฟ้าบนสวรรค์ ท่านไม่ได้รับหรอก เพราะว่าบนสวรรค์มีอาหารทิพย์ที่เลิศรสกว่­าบนโลกมนุษย์เยอะ หรือถ้าท่านไปตกนรก เป็นต้น ท่านก็ไม่ได้รับ วิธีการที่จะส่งให้ท่านได้รับจริงๆ คือเราต้องไปสร้างบุญ แล้วก็นึกอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน อย่างนี้ล่ะก็ เป็นการส่งความรักความปรารถนาดี แล้วก็นำสิ่งที่มีคุณต่อบรรพบุรุษของเราเอ­งไปถึงท่านจริงๆ

เจ้าที่มีจริงหรือไม่ โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ

     คำถาม : พระอาจารย์คะ เจ้าที่มีจริงๆ หรือเปล่าคะ ?

     พระอาจารย์ : คุณโยม เจ้าที่มีจริงๆ อยากจะรู้ว่าใคร วิธีการที่ชัดเจนมากคือ ให้ไปเปิดโฉนดดู ถ้าเปิดโฉนดแล้วเป็นของคนอื่น แสดงว่าเรามาเช่าบ้านเขาอยู่ เช่าที่เขาอยู่ สิ้นเดือนรีบเอาค่าเช่าไปเซ่นเขาเสียดีๆ ไม่เช่นนั้นเขาจะเอาเรื่องเป็นคดีความฟ้องร้องขึ้นมา ถ้าเปิดโฉนดแล้วถ้าเจ้าที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ของเราเอง ตั้งใจอยู่ในโอวาทของท่าน ทำตัวเป็นลูกที่ดี เป็นเด็กดี ถ้าเปิดโฉนดดูแล้วเป็นชื่อเราเอง ถ้าเช่นนั้นเราเองนั่นแหละคือเจ้าที่ ก็ต้องตั้งใจประพฤติปฏิบัติตนให้ดี จะได้รักษาทรัพย์สมบัติได้ และเจริญรุ่งเรืองให้ยิ่งๆ ขึ้นไป นี่แหละเจ้าที่ตัวจริง แต่เจ้าที่เจ้าทาง ที่เขาถือว่าเป็นเจ้าป่าเจ้าเขาตั้งศาลพระภูมิต่างๆ นั่นเจ้าที่ตัวปลอม มาอาศัยที่ของเราอยู่

เจ้าที่ เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงหรือไม่?


     ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง

 
     ถ้าเราเป็นพุทธศาสนิกชน สิ่งที่เราต้องมีคือ สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง การที่เราจะไปเคารพกราบไหว้ใคร ก็ให้นึกคุณธรรมและความดีงามในตัวของเขา
 
     เราเกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้งและแสวงบุญ ต้องให้รู้หลักตรงนี้ให้ดี จับหลักให้ได้ จับหลัก ตรงนี้ได้ก็เอาตัวรอดและปลอดภัยได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็เอาตัวไม่รอดแล้วก็ไม่ปลอดภัยในชีวิตด้วย เราเป็นชาวพุทธจะต้องรู้ว่า อะไรเป็นสรณะ ถ้าไม่รู้สิ่งที่ถูก เราก็ไม่รู้สิ่งที่ผิด สิ่งที่ถูก คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก มีทุกข์เราก็พึ่งท่านได้ มีสุขก็ไปหาท่านได้ และควรนึกถึงท่านบ่อยๆ นึกถึงท่านแล้วก็ปลื้ม มีทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกก็หมายถึงพระพุทธเจ้า หรือพุทธปฏิมากร พระธรรมก็พระคัมภีร์ทั้งหลายที่อยู่ในตู้พระไตรปิฎก พระสงฆ์ก็ที่เราเห็นกัน

     ส่วนพระรัตนตรัยภายในนั้น ได้แก่ พระธรรมกายในตัว เป็นพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย คือธรรมรัตนะ และพระธรรมกายละเอียด คือ สังฆรัตนะ 3 อย่าง อยู่ร่วมกัน แต่คนละอันกัน เหมือนเพชรที่มีทั้งแวว ทั้งสี ทั้งเนื้อ
 
     ถ้าเรารู้ว่าที่พึ่งที่ระลึกมีอยู่แค่นี้ ก็แปลว่าแค่นี้ ถ้าเกินกว่านี้ไม่ใช่ เช่น ปู่เต่า แมว 2 หัว จิ้งจก 2 หาง วัว 5 ขา อย่างนี้ หรือรูปแกะสลักด้วยไม้ ด้วยวัสดุอะไรต่างๆ ก็แล้วแต่ ที่แตกต่าง จากพระรัตนตรัยแล้วก็ไม่ใช่
 
 
เรื่องผีๆ
 

 

ไสยศาสตร์ไสยเวท เมื่อโดนคุณไสย วิธีแก้กรรม

บทความน่าศึกษาของการไหว้เจ้าที่

บุญก็ทำ เจ้าก็ไหว้
ไหว้ศาลพระภูมิ พอเลิกไหว้แล้วกังวลใจ ควรทำอย่างไรดี?
การแสดงความเคารพต่อเจ้าที่เจ้าทางนั้น สมควรหรือไม่?
เมื่อทำบุญแล้ว ควรอุทิศให้แก่เจ้าที่เจ้าทางเจ้ากรรมนายเวรหรือไม่?
การเอาอาหารไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้นท่านจะได้รับหรือไม่?
ของไหว้เจ้าที่เสร็จแล้วเอาไปใส่บาตรต่อได้หรือไม่
บรรพบุรุษผู้ล่วงลับสามารถรับอาหารเช่นไหว้หน้าหลุมศพได้หรือไม่
เจ้าที่มีจริงหรือไม่
ไม่จุดธูป เจ้าที่จะได้รับของไหว้หรือไม่

Case Study น่าศึกษาของการไหว้ศาลเจ้าที่

เจ้าที่แรง
ตักบาตรเสียเปล่า ไหว้เจ้าได้กิน
บุญก็ทำ เจ้าก็ไหว้
ศาลเจ้าที่ และสมบัติใต้ต้นมะขามยักษ์
 

บทความน่าอ่านเกี่ยวกับวันตรุษจีน

วันสารทจีน
วันตรุษจีน
คำอวยพรวันตรุษจีน สวัสดีปีใหม่จีน
เพลงวันตรุษจีน
การ์ดวันตรุษจีน ส่งฟรีถึงผู้รับ
ไหว้เจ้าที่  
ของไหว้เจ้าที่
กินเจ ความรู้เกี่ยวกับเทศกาลกินเจ



วิธีเลิกกลัวผี
ผีถ้วยแก้ว
ผีกระสือ


 พระถังซำจั๋งมีจริงไหม

ประวัติหลวงพ่อธัมมชโย
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/scoop/ของไหว้เจ้าที่.html
เมื่อ 19 มีนาคม 2567 10:07
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv