การดูแลผู้สูงอาย
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ     


การดูแลผู้สูงอายุ

 

 
      ปัจจุบันประเทศไทยของเรากำลังเข้าสู่ภาวะที่เรามีเด็กน้อยลง และผู้ที่ทำงานในวัยกลางคนเริ่มลดน้อยลงในแง่ของสัดส่วน แล้วก็ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นสถิติของประเทศที่พัฒนาแล้วกันทุกแห่ง ประเทศที่พัฒนาแล้วมีแนวคิดหรือค่านิยมที่จะมีบุตรจำนวนน้อย ไม่เหมือนสมัยก่อนที่นิยมมีบุตรจำนวนมาก บางครอบครัวมีเป็นสิบคน หรืออย่างน้อยก็เจ็ดคน
 
     สำหรับเมืองไทยเรานี้ อีกประมาณ 15 ปี หรือปี 2568 เมืองไทยเราจะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ คือ จะมีผู้สูงอายุเกือบจะ 30 เปอร์เซ็นต์ ประเทศที่พัฒนาต่างๆ หลายประเทศก็เริ่มที่จะมีมาตรการออกมา อย่างเช่น ญี่ปุ่น ก็มีการตั้งหมู่บ้านผู้สูงอายุ ในหลายประเทศก็มี การบังคับว่าใครที่อายุสี่สิบขึ้นไปจะต้องโดนหักเงินเดือนไปเพื่อเข้ากองทุน เพื่อนำไปใช้ในเวลาที่แก่ชรา
 
ผู้สูงอายุ 
     

คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

 
     ในประเทศไทยปัญหาใหญ่ คือ เรื่องเศรษฐกิจเกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุในประเทศไทยมีรายได้ไม่พอใช้ ในการจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้น คุณหมอบรรลุ ศิริพานิช ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยพัฒนาผู้สูงอายุ ได้เสนอแนวทางว่า ต้องเริ่มจากตัวของผู้สูงอายุก่อน โดยมีหลักอยู่ 3 ประการ คือ
 
1. การมีสุขภาพร่างกายที่ดี ทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม ทางปัญญา
2. การมีส่วนร่วมในสังคม ในกิจการงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ 
3. ความมั่นคงในชีวิต เช่น ผู้สูงอายุ สมัยวัยทำงานก็ต้องมีการเก็บเงินไว้เพื่อใช้ในเวลาสูงอายุ


การดูแลชีวิตผู้สูงอายุ

 
     การดูแลผู้สูงอายุนั้น นับวันเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ขึ้นทุกวันๆ ในสังคมบนโลกนี้ สัดส่วนของผู้สูงอายุเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการแพทย์ที่เจริญขึ้นนี้เอง  
 
     การดูแลผู้สูงอายุนั้นมีประเด็นหลัก คือ ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุตระหนักและแลเห็นคุณค่าของตัวเอง โดยส่วนมากผู้สูงอายุมักจะใจน้อย เราต้องทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เมื่อรู้สึกอย่างนี้ก็จะภูมิใจในชีวิตตนเอง สุขภาพก็จะแข็งแรงขึ้น แล้วทำอย่างไรจึงจะทำให้ท่านรู้สึกว่าชีวิตตนมีคุณค่า คำตอบคือ การปฏิบัติธรรม ถ้าให้ผู้สูงอายุได้สวดมนต์ ฟังธรรม นั่งสมาธิ แล้วให้ท่านรู้ว่าสิ่งที่ท่านทำนี้ เป็นบุญกุศลที่จะติดตัวท่านไปตลอด

 
ผู้สูงอายุ 
 

ตัวอย่างพระมหากัสสปะ ท่านเป็นผู้สูงอายุที่ชีวิตมีคุณค่ามาก

 
     มีตัวอย่างหนึ่งในครั้งพุทธกาล มีพระภิกษุรูปหนึ่ง คือพระมหากัสสปะ ท่านออกบวชตอนอายุ 80 ปี แต่ท่านฝึกตนเองจนเป็นพระอรหันต์ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านเป็นประธานในการสังคยานาพระไตรปิฎกครั้งแรก คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราเองได้มาศึกษากันนี้ ก็ได้มาจากท่านเป็นหลักที่ท่านเป็นประธานในสังคยานาตอนท่านอายุ 120 ปี ท่านเป็นผู้สูงอายุที่ชีวิตมีคุณค่าได้ทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ต่อโลกจริงๆ
 
     
      กล่าวโดยสรุปคือ ผู้สูงวัยหรือผู้สูงอายุ ที่อยู่อย่างเหงา ซึมเศร้า หรือว่าสดชื่น อยู่ที่ว่ารู้หลักในการใช้เวลาของชีวิตได้ดีหรือเปล่า ถ้าหากหมั่นสร้างบุญสร้างกุศลทุกวันล่ะก็ ทุกคืนที่ผ่านไปมีคุณค่าตลอด เราจะเป็นผู้สูงอายุที่ภูมิใจในตัวเอง มีชีวิตที่มีคุณค่า มีความหมาย ทั้งต่อตนเอง และลูกหลาน รวมทั้งสังคมรอบข้างตลอดไป


[[videoprogram==the_world_and_dhamma]]


บทความเกี่ยวกับผู้สูงอายุ

- วันผู้สูงอายุ 13 เมษายน
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/การดูแลผู้สูงอายุ.html
เมื่อ 20 เมษายน 2567 10:24
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv